[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤษภาคม 2567 20:50:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 144 145 [146] 147 148 ... 1120
2901  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - เปิดเซฟ "เสธ.ไก่อู-ภรรยา" รวย 135 ล้าน เฉพาะเครื่องประดับของภรรยา 63 ล้าน เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 16:34:36
เปิดเซฟ "เสธ.ไก่อู-ภรรยา" รวย 135 ล้าน เฉพาะเครื่องประดับของภรรยา 63 ล้าน
         


เปิดเซฟ "เสธ.ไก่อู-ภรรยา" รวย 135 ล้าน เฉพาะเครื่องประดับของภรรยา 63 ล้าน" width="100" height="100  ป.ป.ช. เปิดเผยบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด และ เอ๋ ณิชุบล ภรรยา มีทรัพย์สินรวมกว่า 135 ล้าน
         

https://www.sanook.com/news/9150878/
         
2902  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'ไอโอ' โจมตีผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯ รัฐบาลแจง ไทยมีกฎหมายคุ้มครองอยู่แล้วหล เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 16:08:28
'ไอโอ' โจมตีผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯ รัฐบาลแจง ไทยมีกฎหมายคุ้มครองอยู่แล้วหลายฉบับ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-21 15:28</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>องค์กร Protection International เผยความคืบหน้ากรณีไอโอโจมตี อังคณา – อัญชนา สองผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯ ระบุ 7 ธ.ค 66 ที่ผ่านมา รัฐไทยได้ทำหนังสือชี้แจง 5 ประเด็นใหญ่ตามข้อสงสัยของคณะผู้เชี่ยวชาญ UN เน้นย้ำว่าไทยมีกฎหมายหลายฉบับดูแลนักป้องสิทธิฯ ขณะที่สองผู้หญิงนักปกป้องสิทธิชี้หนังสือตอบกลับ มองแค่ระบบโครงสร้างไม่ได้มองการปฏิบัติ ระบุการตอบของรัฐบาลไทยเป็นการตอบแบบมาตราการทั่วๆ ไปยังไม่เป็นรูปธรรมที่ใช้ได้จริง แนะรัฐต้องมีมาตรการที่จำเป็นหรือกฎหมายเฉพาะ คุ้มครองนักปกป้องสิทธิฯ</p>
<p> </p>
<p>21 ธ.ค. 2566 องค์กร Protection International ซึ่งทำงานสนับสนุนนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและอำนวยความสะดวกให้กับอังคณา นีละไพจิตร ผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ สมาชิกคณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจ องค์การสหประชาชาติ (UN Human Rights Expert- WGEID)  และ  อัญชนา หีมมิหน๊ะ อดีตอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน  สองผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนได้เข้าถึงความยุติธรรมกรณีการถูกโจมตีและละเมิดสิทธิออนไลน์โดยการทำไอโอ ได้เผยแพร่เอกสารแปล (อย่างไม่เป็นทางการ) ของรัฐบาลไทยตอบกลับผู้รายงานพิเศษสหประชาชาติ 6 คณะ ซึ่งประกอบด้วย คณะทำงานว่าด้วยการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิง , ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพด้านความเห็นและการแสดงออก, ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุมอย่างสงบ และการสมาคม , ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน; ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและทนายความ และผู้รายงานพิเศษว่าด้วยความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิง ที่ก่อนหน้านี้ได้ส่งหนังสือ(ลำดับที่ AL THA 3/2023 ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2566 ถึงรัฐบาลไทยเพื่อให้ชี้แจงข้อเท็จจริงจากการขาดความรับผิดและมาตรการคุ้มครองต่อการข่มขู่และการคุกคามทางออนไลน์ ต่ออังคณา และอัญชนา สองผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนสองทั้งหมด 5 ข้อ โดยหนังสือตอบกลับของรัฐไทยลงวันที่ 7 ธันวาคม 2566 ลงนามโดยผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การสหประชาชาติ นครเจนีวา</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เปิดหนังสือตอบกลับ 5 ข้อ ของรัฐไทย ระบุมีกฎหมายหลายฉบับดูแลนักป้องสิทธิฯ</span></h2>
<p>โดยข้อที่ 1 หนังสือตอบกลับของรัฐอ้างว่า แม้ศาลเห็นชอบว่าบุคคลทั้งสองเป็นผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและเป็นผู้เสียหายจากการกระทำดังกล่าวแต่ได้ยกฟ้องฐานที่ขาดข้อพิสูจน์ว่าเว็บไซต์ pulony.blogspot.com มีส่วนเกี่ยวข้องกับ กอ.รมน. หรือกองทัพไทย นอกจากนั้น เลขาธิการกอ.รมน. ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวระบุว่าเว็บไซต์ดังกล่าวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐแต่ได้ถูกขึ้นบัญชีติดตามและตรวจสอบโดยกอ.รมน.</p>
<p>ส่วนข้อที่ 2 ที่ยูเอ็นให้รัฐไทยระบุถึงมาตรการที่รัฐบาลจะประกันว่าผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยเฉพาะผู้ซึ่งทำหน้าที่เก็บและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนจะสามารถดำเนินงานที่ชอบธรรมในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเกื้อหนุนได้โดยไม่ต้องหวาดกลัวต่อภัยคุกคามหรือไม่ต้องเสี่ยงที่จะเผชิญกับการข่มขู่และการตอบโต้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ประเด็นนี้หนังสือตอบกลับระบุว่า นักปกป้องสิทธิมนุษยชนเป็นกลุ่มบุคคลสำคัญภายใต้ทั้งแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 5และแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ฉบับที่ 2</p>
<p>นอกจากนี้ในหนังสือตอบกลับยังย้ำอีกว่า รัฐบาลสนับสนุนบทบาทของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนรวมทั้งผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยผ่าน การแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา  การประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย กำหนดมาตรการคุ้มครองและเยียวยาสำหรับผู้เสียหายไม่เพียงจากการทำให้สูญหายและการทรมานเท่านั้นหากยังรวมถึงการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรี</p>
<p>และยังอ้างเพิ่มเติมว่า ได้ดำเนินงานเพื่อผลักดันร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปาก ที่คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการและได้ส่งร่างกฎหมายไปให้กับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งเสนอแนะให้นำเนื้อหาของร่างเข้าไปผนวกเป็นส่วนหนึ่งของร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต</p>
<p>นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่ามีกองทุนยุติธรรมให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายซึ่งให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย การไกล่เกลี่ย ความคุ้มครองและความช่วยเหลือด้านกฎหมายกับบุคคลทุกคนและในหนังสือตอบกลับยังอ้างอีกว่า กอ.รมน.ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการสอบสวนตามรายงานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและในการประกันให้การปฏิบัติหน้าที่ต่าง  ๆ มีความสอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศความร่วมมือเช่นนี้รวมถึงการจัดอบรมประจำปีให้กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเกี่ยวกับกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนอีกด้วย</p>
<p>ส่วนข้อ 3 ที่ยูเอ็นได้ขอให้รัฐไทยระบุถึงมาตรการที่นำมาใช้เพื่อประกันให้เกิดความรับผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการเข้าถึงความจริง ความยุติธรรม การชดเชยและหลักประกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำในกรณีของสองผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนรายละเอียดในหนังสือตอบกลับระบุว่า อังคณาและอัญชนาสามารถเข้าถึงระบบยุติธรรมและมีสิทธิในการฟ้องคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมถึงสิทธิอุทธรณ์คดีต่อศาลอุทธรณ์ ในการพิจารณาของศาลสูง และหากพบว่าหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมีส่วนรับผิดชอบต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อบุคคลทั้งสอง หน่วยงานดังกล่าวย่อมถูกศาลสั่งให้รับผิดสอดคล้องตามหลักกฎหมาย และอาจมีคำสั่งให้ต้องชดเชยและเยียวยา  และตามข้อมูลของ กอ.รมน. หากพบว่าเจ้าหน้าที่คนใดละเมิดกฎหมายและทำให้เกิดความเสียหายและอันตรายต่อบุคคลอื่น กอ.รมน.จะทำการสอบสวนภายในอีกด้วย</p>
<p>ส่วนข้อ 4 ในกรณีที่ยูเอ็นถามถึงมาตรการเป็นการเฉพาะใด ๆ ที่ได้นำมาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการโจมตีด้วยเหตุทางเพศสภาพ ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ รวมทั้งการใส่ร้ายป้ายสีทางออนไลน์ต่อผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ในหนังสือตอบกลับได้อ้างว่า มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้คุ้มครองพลเมืองไทยจากการเลือกปฏิบัติและความรุนแรงหลายมาตราแล้วในกรณีการโจมตีทางออนไลน์ รวมทั้งการโจมตีด้วยเหตุแห่งเพศสภาพหนังสือตอบกลับได้อ้างว่าเป็นกรณีที่อยู่ใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2560</p>
<p>และในส่วนข้อที่ 5  ที่คณะทำงานยูเอ็นให้รัฐไทยระบุถึงมาตรการที่ได้นำมาใช้เพื่อประกันบูรณภาพทางกายและใจของอังคณา นีละไพจิตร และอัญชนา หีมมิหน๊ะเมื่อคำนึงถึงภัยคุกคามและการข่มขู่ที่ทั้งสองคนต้องเผชิญอย่างต่อเนื่อง  หนังสือตอบกลับระบุอีกว่า ทั้งสองสามารถเข้าถึงระบบยุติธรรมรวมทั้งมีสิทธิในการฟ้องคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีสิทธิอุทธรณ์คดีต่อศาลอุทธรณ์ บุคคลทั้งสองยังสามารถเข้าถึงมาตรการเยียวยารวมทั้งผ่านพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50565432497_b1d64eb550_b.jpg" style="width: 1024px; height: 768px;" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">แฟ้มภาพ 'อังคณา นีละไพจิตร' และ 'อัญชนา หีมมิหน๊ะ'</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การตอบของรัฐบาลไทยเป็นการตอบแบบมาตรการทั่วๆ ไปยังไม่เป็นรูปธรรมที่ใช้ได้จริง</span></h2>
<p>ปรานม สมวงศ์  จาก Protection International กล่าวถึงหนังสือตอบกลับของรัฐบาลที่มีออกมาในครั้งนี้ว่า “เป็นเรื่องดีที่ประเทศไทยยืนยันว่า ไทยตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศ แต่การตระหนักอย่างเดียวไม่พอ การตอบของรัฐบาลไทยเป็นการตอบแบบมาตราการทั่วๆไปยังไม่เป็นรูปธรรมที่ใช้ได้จริงเพื่อจะคุ้มครอง ยังไม่ระบุมาตรการกลไกที่นำมาใช้เป็นหลักประกันในการคุ้มครองได้จริงเพื่อให้เกิดความรับผิดต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการเข้าถึงความจริง ความยุติธรรม การเยียวยา และการประกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดซ้ำต่อผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ตัวอย่างเช่น แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนที่ยังยกมาอีก ก็ยังไม่มีการกำหนดมาตรการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อคุ้มครองและยอมรับการดำเนินงานของผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ยังไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย โดยถือเป็นเพียงมติของหน่วยงานฝ่ายบริหารภายใต้รัฐบาลไทย และมีสถานะเป็นเพียง “กฎ” ทำให้ให้ไม่มีน้ำหนักหรือไม่มีศักยภาพในการบังคับใช้ตามกฎหมาย  และในกรณีของผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯ สองท่านนี้ก็ไม่ได้รับการช่วยเหลือจากกองทุนยุติธรรม/ความช่วยเหลือด้านกฎหมายจากกระทรวงยุติธรรม</p>
<p>“อังคณา” ชี้ กอ.รมน.แจงทำงานร่วมกับกสม.ในการสอบสวนตามรายงานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องต้องระมัดระวังเหตุ กอ.รมน.เป็นผู้ถูกร้องจึงไม่ควรเข้ามาเกี่ยวข้องในการสอบสวนและ กสม.ต้องมีความเป็นอิสระ มีความเป็นธรรม ไม่ลำเอียง จึงควรระมัดระวังอย่างมากในเรื่องการถูกแทรกแซง</p>
<p>ด้านอังคณา กล่าวว่า ชื่นชมที่รัฐบาลไทยตอบข้อกล่าวหาของคณะผู้เชี่ยวชาญ สหประชาชาติ กรณีการข่มขู่และการคุกคามต่อผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดีส่วนตัวเห็นว่าคำตอบของหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐรวมถึง กอ.รมน. เป็นการตอบคำถามเชิงนโยบายอย่างกว้าง ในเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การจัดอบรม หรือการทำแผนชาติด้านสิทธิมนุษยชนต่าง ๆ โดยไม่ได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงต่อปัญหาการปฏิบัติ หรือข้อจำกัดต่างๆที่ทำให้ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนไม่สามารถเข้าถึงการเยียวยา ทั้งด้านความยุติธรรม การนำคนผิดมาลงโทษ รวมถึงการเยียวยาทางจิตใจได้จริง</p>
<p>เพื่อให้ปฏิบัติได้จริงตามที่รัฐบาลได้ตอบคำถามคณะผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ รัฐบาลต้องมีการออกมาตรการที่จำเป็น เช่น รับรองแนวปฏิบัติด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (UN Guidelines on Human Rights Defenders) หรือมีการออกกฎหมายเฉพาะเพื่อคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน รวมถึงให้มีการชดใช้เยียวยาเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และรัฐไม่ควรมองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนเป็นศัตรู ซึ่งศาลได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า แม้รัฐธรรมนูญจะบัญญัติให้มีการเยียวยากรณีการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะเรื่องการเยียวยากรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำให้การชดใช้เยียวยาไม่เกิดขึ้นจริง”</p>
<p>“อีกประการที่กังวล คือ คำตอบของ กอ.รมน. ที่ระบุว่า ‘กอ.รมน.ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในการสอบสวนตามรายงานว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ..’ เห็นว่าเนื่องจาก กอ.รมน. ในสถานะผู้ถูกร้อง จึงไม่สมควรเป็นผู้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน อีกทั้งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ถือเป็นสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ ที่ต้องมีความเป็นอิสระ มีความเป็นธรรม และไม่ลำเอียง จึงควรระมัดระวังอย่างมากในเรื่องการถูกแทรกแซง โดยเฉพาะการให้ผู้ถูกร้องมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ เพราะนอกจากอาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแล้ว ยังอาจทำให้ผู้เสียหายเกิดความหวาดกลัวในการร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนอีกด้วย” อังคณากล่าว</p>

<p>“อัญชนา”ระบุหนังสือตอบกลับของรัฐบาลไทยที่มีออกมาในครั้งนี้เป็นการมองแค่ระบบโครงสร้างไม่ได้มองการปฏิบัติว่าเป็นอย่างไร</p>
<p>ขณะที่อัญชนาระบุว่า หนังสือตอบกลับของรัฐบาลไทยที่มีออกมาในครั้งนี้เป็นการมองแค่ระบบโครงสร้างไม่ได้มองการปฏิบัติว่าเป็นอย่างไร รวมถึงการเข้าถึงสิทธิของผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เมื่อมีการอ้างถึงกฎหมายป้องกันการฟ้องปิดปาก รวมถึงกฎหมาย พ.ร.บ คอมฯ ที่บอกนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหรือประชาชนที่ได้รับการละเมิดสามารถที่จะนำกฎหมายเหล่านี้มาใช้ได้ แต่ในความเป็นจริงในเคสของตนและคุณอังคณานั้นเมื่อได้มีการดำเนินการขอแจ้งความเพื่อหาผู้โพสต์ในเฟสบุ๊ค ซึ่งเป็นโดเมนของเว็บไซต์ไอโอ แต่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องก็บอกว่าไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะโดเมนเนม อยู่ต่างประเทศรวมถึงกระทรวงที่เกี่ยวข้องโดยตรงเอง เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ก็ตรวจสอบไม่ได้ แสดงว่าระบบของรัฐมีปัญหา เมื่อระบบไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้แล้วจะทำให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิได้อย่างไร</p>
<p>นอกจากนี้ในส่วนของเรื่องของ พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ก็ไม่ได้มีความชัดเจนในเรื่องของเงินเยียวยาแม้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะตอบคำถามกับคณะทำงานยูเอ็นว่าผู้กระทำเป็นรัฐถึงจะเยียวยาได้ แต่ในความเป็นจริงศาลไม่ได้ระบุแบบนี้ ทุกวันนี้เหมือนทุกคนลอยตัวอยู่เหนือปัญหาไม่มีระบบการเยียวยาที่สามารถพิสูจน์ได้ และการเยียวยาแบบมีเงื่อนไข ระบุว่าผู้ถูกกระทำต้องพิสูจน์ว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐทำ จึงจะมีโอกาสในการเข้าถึงการเยียวยาได้แต่ยาก เพราะพิจารณาจากคำพิพากษา</p>
<p>ทนายความชี้ รัฐควรสร้างเครื่องมือที่เป็นกฎหมายมารองรับหากมีประชาชนถูกละเมิดสิทธิจากการใช้สิทธิหรือทำหน้าที่ปกป้องสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชนต้องมีเครื่องมืออะไรที่จะมาคุ้มครองที่เป็นรูปธรรม</p>
<p>ขณะที่สัญญา เอียดจงดี ทนายความในคดีนี้ กล่าวว่า จากกรณีที่รัฐได้ทำหนังสือตอบกลับคณะผู้แทนของยูเอ็นไปนั้นจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าวิธีคิดของรัฐไทยยังผลักภาระให้กับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ ซึ่งกระบวนการยุติธรรมทั้งห้าข้อที่รัฐได้พยายามชี้แจงใส่ในหนังสือตอบกลับคณะทำงานยูเอ็นนั้น เป็นกระบวนการยุติธรรมที่ผลักภาระให้กับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิที่ต้องไปพิสูจน์ว่าตนเองถูกละเมิด และใครเป็นคนละเมิดแล้วถ้าบุคคลที่ละเมิดนั้นเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ก็ยังต้องมาพิสูจน์อีกว่าเสียหายยังไง เท่าไหร่ ทำไมเราไม่มองกลับกันว่าคนที่ถูกกล่าวอ้างเป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกหน้าว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐไทยเป็นผู้กระทำ มันจึงควรมีเครื่องมือที่กำหนดให้ ภาระการพิสูจน์ ตกแก่รัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องพิสูจน์ว่าตนเองไม่ได้ทำ เราจะไปถึงจุดนี้ได้อย่างไร</p>
<p>และในเรื่องที่เราถูกกระทำนั้นในบางครั้งเราไปใช้สิทธิทางกฎหมาย ก็ถูกฟ้องกลับ  ซึ่งหากพิจารณาตาม มาตรา มาตรา 161/1 และ 165/2 ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งให้อำนาจศาลในการตรวจสอบกรณีที่ประชาชนฟ้องกันโดยไม่สุจริต แต่ในทางปฏิบัติที่เราทำกันมา ในส่วนมาตรานี้ศาลไม่เคยลงมาตรวจสอบอย่างจริงจัง ซึ่งทำไมประธานศาลฎีกาไม่ออกข้อกำหนดหรือแนวระเบียบปฏิบัติว่าในกรณีที่เป็นการฟ้องปิดปาก ให้รัฐไต่สวนคำร้องตรงนี้ก่อน ว่ามีมูลหรือไม่ ก่อนที่จะมีการไต่สวนมูลฟ้องว่ามีมูลหรือไม่มีมูลซึ่งตรงส่วนนี้จะโอเคกว่าและจะแบ่งเบาภาระไปได้เยอะ และรัฐบาลควรทำงานเชิงรุกเมื่อมีการกล่าวหาและควรแบ่งเบาภาระของผู้เสียหายด้วยการออกกฎหมายภายในมารองรับมาตรการระหว่างประเทศต่างๆที่มีออกมาเพื่อมุ่งที่จะเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้สิทธิ์ตรงนี้</p>
<p>“สรุปคือ รัฐควรสร้างเครื่องมือที่เป็นกฎหมายมารองรับเลยว่าถ้ามีคนกล่าวอ้างว่าถูกละเมิดสิทธิจากการใช้สิทธิหรือทำหน้าที่ปกป้องสิทธิชุมชน สิทธิมนุษยชน ต้องมีเครื่องมืออะไรที่จะมาคุ้มครองเขาได้บ้าง มีเครื่องมืออะไรที่จะมาเยียวยาได้บ้าง ต้องทำให้ชัดเจนเลย” ทนายความกล่าว</p>
<p> </p>

<p> </p>
<p><strong>ดาวน์โหลดเอกสารตอบกลับของรัฐบาลไทยได้ที่ลิงค์นี้</strong></p>
<p>https://spcommreports.ohchr.org/TMResultsBase/DownLoadFile?gId=37847</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107318
 
2903  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ศาลอาญายกฟ้อง ‘นารา เครปกะเทย’ คดีม.112 เห็นว่าแค่แสดงเพื่อขายสินค้า ไม่ได้หมิ่น เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 14:34:57
ศาลอาญายกฟ้อง ‘นารา เครปกะเทย’ คดีม.112 เห็นว่าแค่แสดงเพื่อขายสินค้า ไม่ได้หมิ่นหรืออาฆาต
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-21 13:26</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพจาก เพจของ นารา เครปกะเทย</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ศาลยกฟ้อง “นารา เครปกะเทย” คดีม.112 เหตุแสดงโฆษณาแคมเปญ 5.5 ให้ลาซาด้า ศาลเห็นว่าเป็นการแสดงบทบาทสมมติเพื่อขายสินค้าและบริการเท่านั้น แม้อาจมีคนเห็นแล้วไม่สบายใจแต่ไม่ใช่การดูหมิ่น หมิ่นประมาทหรืออาฆาตมาดร้าย อีกทั้งไม่ได้แสดงความเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันเช่น การรณรงค์แก้ม.112 การตีความกฎหมายอาญาต้องตีความอย่างเคร่งครัด</p>
<p>21 ธ.ค.2566 ที่ศาลอาญา รัชดาภิเษก มีนัดอ่านคำพิพากษาคดีของ อนิวัติ ประทุมถิ่น หรือนารา เครปกะเทย ที่อัยการฟ้องข้อหาหมิ่นประมาทกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 พ.ร.บคุ้มครองผู้บริโภค และพ.ร.บ.ขายตรง จากกรณีที่ถ่ายคลิป โฆษณาลาซาด้า 5.5 ร่วมกับธิดาพร ชาวคูเวียงหนูรัตน์และกิตติคุณ ธรรมกิติราษฎร์ หรือ มัมดิวเมื่อปี 2565</p>
<p>ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้พิพากษาเริ่มอ่านคำพิพากษาโดยกล่าวถึงพยานฝ่ายโจทก์ที่เบิกความถึงกระบวนการทำคลิปวิดีโอโฆษณาดังกล่าวของอนิวัติว่าอนิวัติได้รับจ้างผลิตสื่อโฆษณาออนไลน์โดยมีการตั้งบริษัทจดทะเบียนไว้ และบริษัทอินเตอร์เซคต์ดีไซน์ แฟคตอรี่ได้มาว่าจ้างให้บริษัทของอนิวัติทำโฆษณาให้กับบริษัทลาซาด้าในแคมเปญเลขเบิ้ล 5 เดือน 5 โดยทางลาซาด้าจะกำหนดเพียงแค่ชื่อแคมเปญและข้อความที่จะปรากฏในโฆษณา ส่วนอื่นๆ ของโฆษณาทางอนิวัติจะเป็นคนกำหนด และหลังจากทางอนิวัติจัดทำเสร็จแล้วจะมีการส่งให้ทั้งบริษัทอินเตอร์เซคต์ ดีไซน์ แฟคตอรี่และลาซาด้าตรวจสอบก่อนโพสต์คลิปในช่องทางสื่อออนไลน์ของตัวเอง</p>
<p>ต่อมามีผู้พบเห็นโฆษณาชิ้นดังกล่าวในช่องทางสื่อออนไลน์ของอนิวัติ ซึ่งเป็นภาพที่อนิวัติ ธิดาพรใส่ชุดไทยนั่งบนรถเข็นที่ในภาพมีเครื่องหมายของลาซาด้าปรากฏอยู่ และภาพที่สองที่อนิวัติ ธิดาพรและกิตติคุณ ถ่ายภาพร่วมกันโดยมีอนิวัตินั่งที่พื้น ธิดาพรนั่งบนรถเข็นและ กิตติคุณนั่งบนเก้าอี้ ซึ่งศาลต้องพิจารณาว่าการกระทำดังนี้เป็นความผิดตามกฎหมายมาตรา 112 หรือไม่</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411639303_4a66667ee5_o.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพจากคลิปที่หนึ่ง</span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53410544257_6d071489af_b.jpg" /></span></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพจากคลิปที่สอง</span></p>
<p>ผู้พิพากษาได้กล่าวถึงบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิเสรีภาพด้านต่างๆ ของบุคคลเอาไว้ ซึ่งร่วมถึงเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งมีขึ้นเพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้รัฐเข้าไปรุกล้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนเกินไปซึ่งเป็นหลักสำคัญของความเป็นประชาธิปไตยการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญจึงทำไม่ได้เว้นแต่ใช้อำนาจตามกฎหมายและทำเมื่อจำเป็นและได้สัดส่วนโดยไม่กระทบกระเทือนเสรีภาพนั้นและใช้เป็นการทั่วไปไม่ได้ใช้เฉพาะกับกรณีใดกรณีหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ในทางกลับกันการใช้สิทธิเสรีภาพก็มีขอบเขตจำกัดไม่ได้ใช้อย่างไรก็ได้และมีหน้าที่ต้องใช้ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญด้วยคือการไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของคนอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญและศีลธรรมอันดีของประชาชน</p>
<p>ทั้งนี้โจทก์ได้ฟ้องว่าการทำคลิปของอนิวัติเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 112 จึงต้องพิจารณาการรับโทษตามวิธีในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอย่างเคร่งครัด โดยพิจารณาจำแนกตามองค์ประกอบความผิดของมาตรา 112 คือเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายหรือไม่</p>
<p>ทางฝ่ายโจทก์ได้นำอานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ มาเป็นพยานเบิกความว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ที่ระบุว่าพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิด กล่าวหาฟ้องร้องไม่ได้ แต่การกระทำของอนิวัติเป็นการทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธาไม่เคารพสถาบันกษัตริย์จึงเป็นความผิดตามมาตรา 112</p>
<p>ประเด็นนี้ศาลเห็นว่าตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 นั้น มุ่งหมายให้ความคุ้นกันพระมหากษัตริย์จากการถูกฟ้องคดีต่อศาลและเป็นผู้ทรงใช้อำนาจผ่านทางรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี และศาล ตามมาตรา 3 ในรัฐธรรมนูญ การที่ระบุว่าผู้ดจะละเมิดไมได้จึงเป็นการจัดวางสถาบันกษัตริย์ให้อยู่เหนือการเมือง คือกษัตริย์ไม่สามารถทำความผิดได้โดยหมายความว่าการดำเนินภารกิจทางการเมืองต่างๆ กษัตริย์ไม่ได้กระทำเองโดยตรงแต่เป็นการกระทำของสถาบันทางการเมืองที่มีหน้าที่รับผิดชอบ สอดคล้องกับใจความตามประกาศสถาบันพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นเอกสารหลักฐานในคดีที่มีการระบุถึงว่าพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ทรงดำรงสถานะอยู่เหนือการเมืองและสถานะเป็นกลางทางการเมืองจากเหตุการณ์ที่ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ฯ อยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับเลือกเพื่อเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยรักษาชาติ ดังนั้นประกาศดังกล่าวจึงไม่ได้เกี่ยวข้องหรือเป็นหลักเกณฑ์ในการประกอบพิจารณาตามองค์ประกอบความผิดของมาตรา 112 ตามที่โจทก์อ้าง</p>
<p>ศาลระบุว่ากฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ที่กล่าวว่าต้องตีความโดยเคร่งครัดตามหลักที่ว่าถ้ากฎหมายไม่บัญญัติไว้ให้การกระทำใดเป็นความผิดจะลงโทษบุคคลนั้นไม่ได้ ถ้าจะมีการลงโทษจะต้องมีตัวบทกฎหมายบัญญัติการกระทำนั้นไว้และบุคคลนั้นต้องกระทำการที่เป็นความผิดตามกฎหมายโดยชัดเจน ถ้าไม่ได้มีการกระทำโดยตรงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ไม่สามารถปรับกฎหมายมาเทียบเคียงให้การกระทำของบุคคลนั้นเป็นความผิดไปด้วยไม่ได้</p>
<p>ทั้งนี้ศาลก็ได้ระบุด้วยว่าบทบัญญัติข้างต้นไม่ใช่การตีความประมวลกฎหมายอาญาโดยตรง แต่เป็นเรื่องการบังคับใช้กฎหมายที่ต้องมีความชัดเจนแน่นอนเท่านั้น ดังนั้นการตีความกฎหมายอาญาจึงไม่ใช่การตีความขยายความไม่ได้เลย แต่ต้องตีความตามตัวอักษรให้สอดคล้องไปกับความมุ่งหมายหรือเจตนารมณ์ตามกฎหมายควบคู่กันไป จะใช้ตัวอักษรให้เกินกว่าเจตนารมณ์ไม่ได้และจะใช้เจตนารมณ์เกินกว่าตัวอักษรไม่ได้  เมื่อกฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติความหมายของ “ดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย” ไว้เป็นการเฉพาะแต่มีบทบัญญัติความผิดลักษณะเดียวกันไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 ที่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและมาตรา 393 ที่เป็นฐานดูหมิ่นไว้</p>
<p>ศาลเห็นว่าการตีความองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 112 ที่ว่าดูหมิ่นและหมิ่นประมาทจึงต้องตีความไปตามฐานเดียวกันกับมาตรา 326 และ 393 แต่เนื่องจากบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญาเป็นไปเพื่อจำกัดการใช้สิทธิเสรีภาพ หากการตีความการกระทำอย่างเดียวกันไปได้หลายทางและเป็นไปอย่างกว้างแล้วอาจทำลายคุณค่าที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองในด้านอื่นๆ การตีความว่าเป็นการหมิ่นประมาทหรือไม่จึงต้องใช้สามัญสำนึกของวิญญูชนทั่วไป ประกอบกับข้อความหรือท่าทางต่างๆ ว่าเป็นการใส่ความที่หมายถึงการยืนยันข้อเท็จจริงที่เป็นการให้ร้ายป้ายสีกล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังไม่ว่าข้อความนั้นจะเป็นจริงหรือเท็จก็ตาม ในขณะที่การดูหมิ่นจะต้องเป็นการเหยียดหยาม สบประมาททำให้อับอายด้วยวาจาหรือกริยาท่าทาง</p>
<p>ศาลกล่าวต่อไปว่า ในส่วนของการแสดงความอาฆาตมาดร้ายที่ไม่ได้มีการบัญญัติการกระทำความผิดไว้ในกฎหมายแต่ศาลได้ยกความหมายตามพจนานุกรมว่าหมายถึงการพยาบาทมุ่งจะทำร้ายให้ได้ แม้โจทก์จะนำสืบว่าอนิวัติว่าการทำคลิปโฆษณาดังกล่าวเป็นการล้อเลียน จาบจ้วง ล่วงเกินด้อยค่า ดูหมิ่น และหมิ่นประมาท สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอโดยพยานฝ่ายโจทก์ต่างเบิกความสนับสนุนไปในทำนองเดียวกันว่าหลังดูคลิปโฆษณาทั้งสองคลิปแล้วรู้สึกว่าไม่เหมาะสมเป็นการล้อเลียนและกระทบต่อสถาบันกษัตริย์ก็ตาม แต่การตีความการกระทำใดว่าเป็นการหมิ่นประมาทหรือไม่นั้นไม่ได้วิเคราะห์จากความนึกคิดของความเข้าใจของผู้กล่าวหาหรือพยานคนใดคนหนึ่งเนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าความรู้สึกของคนในสภาวะแวดล้อมของสังคมอาจมีความเข้าใจและความเห็นแตกต่างกันตามแต่ละบุคคล</p>
<p>ศาลระบุด้วยว่า พยานทั้งหลายที่ฝ่ายโจทก์อ้างมาในคดีล้วนเป็นคนที่จงรักภัคดีต่อสถาบันกษัตริย์การรับฟังความเห็นของบุคคลธรรมดาจึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งเพื่อนำมาประกอบพยานหลักฐานอื่นๆ ในการวินิจฉัยของศาลเท่านั้น เมื่อพิจารณาคลิปทั้ง 2 คลิปแล้วศาลเห็นว่าเป็นการจัดทำขึ้นมาเพื่อโฆษณาสินค้าของตนและส่งเสริมการขายสินค้าของลาซาด้า โดยในโฆษณาที่มีการแต่งชุดไทยซึ่งหากมองด้วยความเป็นกลางแล้วก็เห็นว่าคนทั่วไปก็แต่งกายเช่นนี้ได้ การพูดในคลิปก็เป็นคำสามัญไมได้แสดงเครื่องหมายสัญลักษณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันกษัตริย์ เช่น การเรียกร้องแก้ไขมาตรา 112 ไม่มีสัญลักษณ์ ธงหรือตราประจำพระองค์หรืออย่างอื่นที่เป็นลักษณะเดียวกัน</p>
<p>ศาลกล่าวต่อไปว่า ถึงโจทก์จะนำสืบว่าการกระทำของจำเลยเป็นการล้อเลียนเสียดสี แม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะไม่เหมาะสมและสร้างความไม่สบายใจให้กับประชาชนบางกลุ่มอยู่บ้าง แต่เป็นเพียงแค่การแสดงบทบาทสมมติเพื่อใช้โฆษณาสินค้าเช่นนี้ยังไม่ถึงกับเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงให้ปรากฏขึ้นจนเป็นการใส่ความแล้วทำให้ประชาชนที่เห็นรู้สึกดูหมิ่นเกลียดชังบุคคลที่โจทก์เห็นว่าถูกล้อเลียนอยู่ และยังไม่ใช่การสบประมาท เหยียดยาม หรือใช้คำหยาบคายด่าทอให้เกิดความเสียหายที่จะเป็นการดูหมิ่น แต่เป็นการแสดงเพื่อโฆษณาส่งเสริมการขายตามที่มีผู้ว่าจ้าง และยังเป็นเพียงการแสดงสมมติเหตุการณ์อย่างหนึ่งไม่ได้ยืนยันว่าจะมุ่งทำร้ายบุคคลใดที่จะเป็นการอาฆาตมาดร้าย</p>
<p>ศาลจึงเห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่พอฟังได้ว่าการกระทำของอนิวัติและพวกเข้าองค์ประกอบความผิดดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย ตามมาตรา 112 เมื่อการกระทำไม่เข้าองค์ประกอบความผิดแล้วจึงไม่ต้องพิจารณาต่อไปว่าอนิวัติได้เจตนาทำความผิดต่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์และสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอหรือไม่เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป</p>
<p>ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าคลิปดังกล่าวเป็นความผิดตามมาตรา 14 ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์หรือไม่ ประเด็นนี้ศาลเห็นว่าโฆษณาดังกล่าวเป็นการโฆษณาสินค้าที่มีอยู่จริงและไม่ได้มีส่วนใดที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ การที่อนิวัติทำคลิปแล้วนำเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ของตนจึงไม่เป็นความผิด</p>
<p>ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าคลิปที่หนึ่งเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภคมาตรา 22 48  และ 50, กฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรืออาจก่อผลเสียต่อสังคม ข้อ 2 และ 7, พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง มาตรา 29 ศาลเห็นว่าการแสดงแต่งกายและท่าทางของผู้แสดงไม่ได้เป็นการยืนยันว่าผู้พิการหรือผู้ป่วยเป็นคนไร้ค่า ด้อยค่าคนพิการ ไม่ได้มีการยั่วยุปลุกระดมให้เกิดความขัดแย้งในสังคม และข้อความที่มีการพูดในคลิปที่เป็นการโฆษณาแคมเปญสินค้าและบริการที่มีการพูดถึงการให้ของแถมหรือสิทธิประโยชน์แม้ไม่ระบุปีในโฆษณาแต่ช่วงเวลาที่มีการเผยแพร่นั้นเป็นเวลาต่อเนื่องกันย่อมเพียงพอที่จะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ว่าเป็นปีเดียวกันกับที่มีการโฆษณาและเมื่อผู้สนใจเข้าไปในแอพลิเคชั่นของลาซาด้าก็มีการโฆษณาสินค้าและขั้นตอนการใช้แล้วจึงไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดในสาระสำคัญแล้วเกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค</p>
<p>ศาลจึงเห็นว่าการกระทำของอนิวัติไม่เป็นความผิด พิพากษายกฟ้องทุกข้อหา</p>
<p>ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากศาลมีคำพิพากษายกฟ้องแล้วและก่อนหน้านี้ศาลจะเคยให้อนิวัติปล่อยตัวชั่วคราวในคดีนี้ แต่อนิวัติจะยังถูกคุมขังในเรือนจำต่อไปเนื่องจากยังมีคดีฉ้อโกงประชาชนอยู่อีก</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107317
 
2904  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ประวัติ แพทริค ปวริศ The One You Know หนุ่มหล่อโปรไฟล์ปังที่มีข่าวกับ เบสท์ คำสิงห์ เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 14:04:19
ประวัติ แพทริค ปวริศ The One You Know หนุ่มหล่อโปรไฟล์ปังที่มีข่าวกับ เบสท์ คำสิงห์
         


ประวัติ แพทริค ปวริศ The One You Know หนุ่มหล่อโปรไฟล์ปังที่มีข่าวกับ เบสท์ คำสิงห์" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;รู้จัก "แพทริค SPD" หรือ "แพทริค ลูกเจ้าสัว" หนุ่มหล่อรวยที่คอยอยู่เคียงข้าง "เบสท์ คำสิงห์"
         

https://www.sanook.com/news/9140626/
         
2905  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - อดีตลูกจ้างโรงงาน 3 บริษัท ถูกลอยแพ ไร้เงินชดเชย เดินขบวนไปกระทรวงแรงงาน เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 13:03:20
อดีตลูกจ้างโรงงาน 3 บริษัท ถูกลอยแพ ไร้เงินชดเชย เดินขบวนไปกระทรวงแรงงาน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-21 10:56</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>อดีตลูกจ้างโรงงาน 3 บริษัท ถูกลอยแพ ไร้เงินชดเชย เดินขบวนไปกระทรวงแรงงาน เข้ามารับผิดชอบ และช่วยเหลือ โดยใช้เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจ่ายชดเชยคนทำงาน และทางภาครัฐไปตามเงินกับนายจ้างอีกที </p>
<p> </p>
<p>21 ธ.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (20 ธ.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อดีตลูกจ้างโรงงาน 3 บริษัท ได้แก่ แอลฟ่า สปินนิ่ง เอเอ็มซี และบอดี้แฟชั่น ซึ่งถูกนายจ้างลอยแพ และไม่จ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย เดินขบวนไปยื่นหนังสือถึงกระทรวงแรงงาน ให้มีการรับผิดชอบ และช่วยเหลือโดยใช้กองทุนเงินสงเคราะห์ลูกจ้าง จ่ายชดเชยให้อดีตลูกจ้างโรงงาน 3 บริษัท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แรงงานก่อน และให้กระทรวงแรงงานใช้อำนาจไปตามเงินกับนายจ้างที่ลอยนวลอีกที </p>
<p>คนงานมองว่าภาครัฐมีส่วนต้องรับผิดชอบเนื่องจากปล่อยปละละเลยในการบังคับใช้กฎหมาย และปล่อยให้นายจ้างทำผิดกฎหมายให้ลอยนวล และก่อนหน้านี้ แรงงานเคยมาร้องเรียนกับพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แต่ว่าไม่มีความคืบหน้า </p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411461663_47747f3431_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53410367037_b0fca71f30_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411617064_eb3553b2ca_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53410365782_32ba5e2fb0_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e74c3c;">รูป (ซ้าย) วัน อายุ 51 ปี และ (ขวา) ใหม่ อายุ 55 ปี</span></p>
<p>ผู้สื่อข่าว สัมภาษณ์ 'วัน' อดีตลูกจ้างโรงงานผลิตชุดชั้นใน 'บอดี้แฟชั่น' ชาวนครสวรรค์ อายุ 51 ปี และ 'ใหม่' อดีตลูกจ้างโรงงานผลิตชุดชั้นใน 'บอดี้แฟชั่น' ชาวนครสวรรค์ อายุ 55 ปี วันนี้เรามาจากนครสวรรค์ เหมารถมาตั้งแต่ตี 4 ตั้งใจมาที่กระทรวงแรงงาน เพื่อขอให้ช่วยเหลือและรับผิดชอบ </p>
<p>สำหรับโรงงานบอดี้แฟชั่น เป็นโรงงานผลิตชุดชั้นในให้กับแบรนด์หลายแบรนด์ เช่น Victoria's Sceret Triumph, Marks &amp; Spencer, HOM และอื่นๆ ตั้งอยู่ที่ จ.นครสวรรค์ โรงงานบอดี้แฟชั่น ทยอยเลิกจ้างเมื่อ 2562 หรือเกือบ 4 ปี แต่ค้างจ่ายค่าจ้าง โบนัส และเงินชดเชยจากการถูกเลิกจ้างตามกฎหมาย </p>
<p>กรณีของวัน และใหม่ พวกเธอเล่าให้ฟังว่าถูกทางบริษัทค้างเงิน รวมราวแสนกว่าบาท และมีเพื่อนของเธอประสบชะตากรรมเดียวกันอีกราว 1,174 คน ซึ่งบริษัทค้างจ่ายเงินอดีตพนักงานรวมเป็นจำนวนเงินขั้นต่ำ 101,941,799 บาท </p>
<p>"เขาไม่เคยให้เหตุผลอะไรเลย ก่อนหน้านี้ เขาบอกให้ไปเอาเงินจากของที่กรมบังคับคดี อายัดทรัพย์มา แต่ของมันขายไม่ได้ 4 ปีแล้ว ยังขายไม่ได้เลย นายจ้างไม่เคยดูดำดูดีเลย" วัน และใหม่ ระบุ </p>

<p>ใหม่ วัย 55 ปี เธออยากให้กระทรวงแรงงาน ไปตามนายจ้างให้มาจ่ายเงินคนงาน หรือใช้เงินสงเคราะห์ลูกจ้าง จ่ายให้คนงานก่อน เพราะตอนนี้เดือดร้อนมาก โดนเลิกจ้างตอนอายุมาก หางานก็ยาก จึงต้องมาเรียกร้องให้รัฐบาลส่งเสียงไปถึงนายจ้างให้มารับผิดชอบคนงาน </p>
<p>สำหรับใหม่ เธออยากได้เงินส่วนนี้เพื่อไปใช้หนี้สิน ขณะที่วัน อยากนำเงินไปใช้ในชีวิตประจำวัน และค่ารักษา </p>
<p>"อยากได้เงินมาใช้จ่ายชีวิตประจำวัน ต้องส่งลูกหลานไปโรงเรียน ทำมาหากินเอง เรามีโรคประจำตัวต้องมีหาหมอทุก 4-6 เดือน เดือดร้อนอยู่ ค่าใช้จ่ายแต่ละวันมันเยอะมาก เงินวันละ 100-200 บาท มันไม่พอ" วัน กล่าว </p>

<p>ท้ายสุด ใหม่ และวัน อยากให้กระทรวงแรงงาน อยากให้ไปดำเนินคดีจากนายจ้าง เพื่อนำเงินมาจ่ายให้เรา ตอนนี้ลำบากอยู่ เศรษฐกิจไม่ดีด้วย </p>
<p>" อยากให้ช่วยลูกจ้าง 4 ปีแล้วที่รอมา อยากให้นายจ้างมาจ่ายเงินไวๆ จะอดตายอยู่แล้ว มีภาระหนี้สินด้วย" วัน และใหม่ ทิ้งท้าย </p>

<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411617034_c3f1d4bda6_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411286946_cbbcdc7a66_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411461588_1c61e72c6b_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411286901_13d178dd06_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411286896_d61a04e662_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411461628_253684f5c9_b.jpg" /></p>
<p>เมื่อเวลา 10.13 น. ขบวนแรงงานกำลังตั้งขบวนอยู่ และเตรียมตัวจะเดินทางไปกระทรวงแรงงาน</p>
<p>เวลา 10.26 น. ขบวนแรงงานเดินขบวนถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107315
 
2906  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - อดีตลูกจ้างโรงงาน 3 บริษัท ถูกลอยแพ ไร้เงินชดเชย เดินขบวนไปกระทรวงแรงงาน เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 11:33:12
อดีตลูกจ้างโรงงาน 3 บริษัท ถูกลอยแพ ไร้เงินชดเชย เดินขบวนไปกระทรวงแรงงาน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-21 10:56</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>อดีตลูกจ้างโรงงาน 3 บริษัท ถูกลอยแพ ไร้เงินชดเชย เดินขบวนไปกระทรวงแรงงาน เข้ามารับผิดชอบ และช่วยเหลือ โดยใช้เงินกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างจ่ายชดเชยคนทำงาน และทางภาครัฐไปตามเงินกับนายจ้างอีกที </p>
<p> </p>
<p>21 ธ.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (20 ธ.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ อดีตลูกจ้างโรงงาน 3 บริษัท ได้แก่ แอลฟ่า สปินนิ่ง เอเอ็มซี และบอดี้แฟชั่น ซึ่งถูกนายจ้างลอยแพ และไม่จ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย เดินขบวนไปยื่นหนังสือถึงกระทรวงแรงงาน ให้มีการรับผิดชอบ และช่วยเหลือโดยใช้กองทุนเงินสงเคราะห์ลูกจ้าง จ่ายชดเชยให้อดีตลูกจ้างโรงงาน 3 บริษัท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แรงงานก่อน และให้กระทรวงแรงงานใช้อำนาจไปตามเงินกับนายจ้างที่ลอยนวลอีกที </p>
<p>คนงานมองว่าภาครัฐมีส่วนต้องรับผิดชอบเนื่องจากปล่อยปละละเลยในการบังคับใช้กฎหมาย และปล่อยให้นายจ้างทำผิดกฎหมายให้ลอยนวล และก่อนหน้านี้ แรงงานเคยมาร้องเรียนกับพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แต่ว่าไม่มีความคืบหน้า </p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411461663_47747f3431_b.jpg" /></p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53410367037_b0fca71f30_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411617064_eb3553b2ca_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53410365782_32ba5e2fb0_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e74c3c;">รูป (ซ้าย) วัน อายุ 51 ปี และ (ขวา) ใหม่ อายุ 55 ปี</span></p>
<p>ผู้สื่อข่าว สัมภาษณ์ 'วัน' อดีตลูกจ้างโรงงานผลิตชุดชั้นใน 'บอดี้แฟชั่น' ชาวนครสวรรค์ อายุ 51 ปี และ 'ใหม่' อดีตลูกจ้างโรงงานผลิตชุดชั้นใน 'บอดี้แฟชั่น' ชาวนครสวรรค์ อายุ 55 ปี วันนี้เรามาจากนครสวรรค์ เหมารถมาตั้งแต่ตี 4 ตั้งใจมาที่กระทรวงแรงงาน เพื่อขอให้ช่วยเหลือและรับผิดชอบ </p>
<p>สำหรับโรงงานบอดี้แฟชั่น เป็นโรงงานผลิตชุดชั้นในให้กับแบรนด์หลายแบรนด์ เช่น Victoria's Sceret Triumph, Marks &amp; Spencer, HOM และอื่นๆ ตั้งอยู่ที่ จ.นครสวรรค์ โรงงานบอดี้แฟชั่น ทยอยเลิกจ้างเมื่อ 2562 หรือเกือบ 4 ปี แต่ค้างจ่ายค่าจ้าง โบนัส และเงินชดเชยจากการถูกเลิกจ้างตามกฎหมาย </p>
<p>กรณีของวัน และใหม่ พวกเธอเล่าให้ฟังว่าถูกทางบริษัทค้างเงิน รวมราวแสนกว่าบาท และมีเพื่อนของเธอประสบชะตากรรมเดียวกันอีกราว 1,174 คน ซึ่งบริษัทค้างจ่ายเงินอดีตพนักงานรวมเป็นจำนวนเงินขั้นต่ำ 101,941,799 บาท </p>
<p>"เขาไม่เคยให้เหตุผลอะไรเลย ก่อนหน้านี้ เขาบอกให้ไปเอาเงินจากของที่กรมบังคับคดี อายัดทรัพย์มา แต่ของมันขายไม่ได้ 4 ปีแล้ว ยังขายไม่ได้เลย นายจ้างไม่เคยดูดำดูดีเลย" วัน และใหม่ ระบุ </p>

<p>ใหม่ วัย 55 ปี เธออยากให้กระทรวงแรงงาน ไปตามนายจ้างให้มาจ่ายเงินคนงาน หรือใช้เงินสงเคราะห์ลูกจ้าง จ่ายให้คนงานก่อน เพราะตอนนี้เดือดร้อนมาก โดนเลิกจ้างตอนอายุมาก หางานก็ยาก จึงต้องมาเรียกร้องให้รัฐบาลส่งเสียงไปถึงนายจ้างให้มารับผิดชอบคนงาน </p>
<p>สำหรับใหม่ เธออยากได้เงินส่วนนี้เพื่อไปใช้หนี้สิน ขณะที่วัน อยากนำเงินไปใช้ในชีวิตประจำวัน และค่ารักษา </p>
<p>"อยากได้เงินมาใช้จ่ายชีวิตประจำวัน ต้องส่งลูกหลานไปโรงเรียน ทำมาหากินเอง เรามีโรคประจำตัวต้องมีหาหมอทุก 4-6 เดือน เดือดร้อนอยู่ ค่าใช้จ่ายแต่ละวันมันเยอะมาก เงินวันละ 100-200 บาท มันไม่พอ" วัน กล่าว </p>

<p>ท้ายสุด ใหม่ และวัน อยากให้กระทรวงแรงงาน อยากให้ไปดำเนินคดีจากนายจ้าง เพื่อนำเงินมาจ่ายให้เรา ตอนนี้ลำบากอยู่ เศรษฐกิจไม่ดีด้วย </p>
<p>" อยากให้ช่วยลูกจ้าง 4 ปีแล้วที่รอมา อยากให้นายจ้างมาจ่ายเงินไวๆ จะอดตายอยู่แล้ว มีภาระหนี้สินด้วย" วัน และใหม่ ทิ้งท้าย </p>

<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411286946_cbbcdc7a66_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411461588_1c61e72c6b_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411286901_13d178dd06_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411286896_d61a04e662_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53411461628_253684f5c9_b.jpg" /></p>
<p>เมื่อเวลา 10.13 น. ขบวนแรงงานกำลังตั้งขบวนอยู่ และเตรียมตัวจะเดินทางไปกระทรวงแรงงาน</p>
<p>เวลา 10.26 น. ขบวนแรงงานเดินขบวนถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107315
 
2907  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ใครเห็นก็สงสาร เจ้าสาวกดดัน "ขอเงิน" จนพ่อสามีร้องไห้ สุดท้ายได้ "สะใภ้คนโต&q เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 11:28:54
ใครเห็นก็สงสาร เจ้าสาวกดดัน "ขอเงิน" จนพ่อสามีร้องไห้ สุดท้ายได้ "สะใภ้คนโต" ช่วยปราบ!
         


ใครเห็นก็สงสาร เจ้าสาวกดดัน &quot;ขอเงิน&quot; จนพ่อสามีร้องไห้ สุดท้ายได้ &quot;สะใภ้คนโต&quot; ช่วยปราบ!" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;เจ้าสาวไม่ยอมลงจากรถ สั่งให้เอาเงินมากอง 4 แสน พ่อ-แม่เจ้าบ่าวอ้อนวอนทั้งน้ำตา ใครเห็นก็สงสาร สะใภ้คนโตสุดทน ออกโรงจัดการแทน


         

https://www.sanook.com/news/9147678/
         
2908  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - วิกิพีเดีย เผย 5 อันดับ เรื่องที่ถูกค้นหามากที่สุดในปี 2023 "แชตจีพีที" มาแรงแซงท เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 08:57:05
วิกิพีเดีย เผย 5 อันดับ เรื่องที่ถูกค้นหามากที่สุดในปี 2023 "แชตจีพีที" มาแรงแซงทุกเรื่อง!
         


วิกิพีเดีย เผย 5 อันดับ เรื่องที่ถูกค้นหามากที่สุดในปี 2023 &quot;แชตจีพีที&quot; มาแรงแซงทุกเรื่อง!" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;สารานุกรมเนื้อหาเสรี วิกิพีเดีย (Wikipedia) รวบรวมและจัดอันดับเนื้อหาที่ได้รับการค้นหามากที่สุดแห่งปี 2023 และพบว่า แชตจีพีที (ChatGPT) เป็นเนื้อหาที่ได้รับการค้นหามากที่สุดในปีนี้ ตามรายงานของเอพี


         

https://www.sanook.com/news/9150226/
         
2909  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [การเมือง] - ราชทัณฑ์แจงแล้ว! สถานที่ที่ "เหมาะสม" ในหลักเกณฑ์คุม "ทักษิณ" อยู่นอกคุก คือ เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 07:59:30
ราชทัณฑ์แจงแล้ว! สถานที่ที่ "เหมาะสม" ในหลักเกณฑ์คุม "ทักษิณ" อยู่นอกคุก คืออะไร?
         


ราชทัณฑ์แจงแล้ว! สถานที่ที่ &quot;เหมาะสม&quot; ในหลักเกณฑ์คุม &quot;ทักษิณ&quot; อยู่นอกคุก คืออะไร?" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ราชทัณฑ์ แจงรอแนวปฏิบัติระเบียบคุมขังนอกเรือนจำเสร็จก่อน ส่วน "ทักษิณ" เข้าหลักเกณฑ์ ต้องพิจารณาสถานที่ "เหมาะสม"


         

https://www.sanook.com/news/9149286/
         
2910  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ตะลึงความงาม "เจ้าสาว" นึกว่าเป็นนางเอก ตอบปังปมคนวิจารณ์หน้าตาเจ้าบ่าว เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 06:26:56
ตะลึงความงาม "เจ้าสาว" นึกว่าเป็นนางเอก ตอบปังปมคนวิจารณ์หน้าตาเจ้าบ่าว
         


ตะลึงความงาม &quot;เจ้าสาว&quot; นึกว่าเป็นนางเอก ตอบปังปมคนวิจารณ์หน้าตาเจ้าบ่าว" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ความงามของ "เจ้าสาว" สร้างเรื่องจนกลายเป็นไวรัล ถูกยกเทียบราชินีวงการบันเทิง ตอบปังปมคนวิจารณ์หน้าตาเจ้าบ่าว-แต่งเพราะฝ่ายชายรวย?
         

https://www.sanook.com/news/9149658/
         
2911  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ‘บึงห้วยโจด’ เมื่อแหล่งน้ำธรรมชาติกลายเป็นบ่อบำบัดน้ำเสีย เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 05:24:07
‘บึงห้วยโจด’ เมื่อแหล่งน้ำธรรมชาติกลายเป็นบ่อบำบัดน้ำเสีย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-12-20 18:17</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ตติยา ตราชู รายงาน/ถ่ายภาพ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>บึงห้วยโจด ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสาธารณะกว่า 600 ไร่ ที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ในอดีตเคยเป็นแหล่งหาปลาของชาวบ้านและแหล่งน้ำสำหรับเพาะปลูก ได้กลายเป็นที่ทิ้งน้ำบำบัดจากโรงงาน ก่อนที่จะระบายลงแม่น้ำพองอีกทีหนึ่ง ในช่วงปี 2535-2541 เคยเกิดมลพิษน้ำเสียจนทำให้ปลาตาย หน่วยงานราชการต้องสั่งปิดโรงงานเพื่อให้แก้ไขหลายครั้งก่อนกลับมาเปิดโรงงานใหม่ และปัญหาคุณภาพน้ำกลายเป็นปัญหายืดเยื้อเรื้อรังในพื้นที่มาถึง 37 ปีแล้ว</li>
<li>ขณะเดียวกันบึงห้วยโจด ยังอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน ในขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเทศบาลตำบลกุดน้ำใส ไม่ใช่หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง</li>
<li>เมื่อเกิดปัญหาขึ้นเทศบาลตำบลกุดน้ำใสจึงทำได้เพียงเฝ้าระวัง และตรวจสอบอาคารสถานประกอบการให้เป็นไปตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังต้องเฝ้าระวังไม่ให้ดินตะกอนใต้บึงห้วยโจดที่มีปริมาณสารเคมีตกค้างปนเปื้อน ฟุ้งกระจายออกสู่ลำน้ำพอง จนก่อปัญหามลพิษทางน้ำ #ท้องถิ่นสร้างสื่อสอบ</li>
</ul>
</div>
<p>“คุณ (โรงงาน) โชคดีนะ ที่มาอยู่ตรงนี้ เพราะคุณมีบ่อพักน้ำเสียโดยธรรมชาติรองรับไว้แล้ว ก่อนที่จะลงแม่น้ำพอง…เพราะเขาเอา(น้ำเสีย) ไปใช้ในพื้นที่โปรเจ็กกรีน คือเอาธรรมชาติไปบำบัด” ภราดร ศรีโพธิ์ นายกสมาคมรักษ์สิ่งแวดล้อมลุ่มแม่น้ำพองเพื่อคุณภาพชีวิต กล่าวอย่างรวบยอดเพื่ออธิบายถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ ฟินิคซ์ ในจังหวัดขอนแก่น </p>
<p>ข้อความที่ฟังดูเหมือนการประชดประชันเช่นนี้บอกให้รู้ว่า บึงห้วยโจด ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสาธารณะตั้งอยู่ที่ ตำบล กุดน้ำใส อำเภอ น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ ที่ในอดีตเคยเป็นแหล่งหาปลาของชาวบ้าน และแหล่งน้ำสำหรับเพาะปลูก ได้กลายเป็นที่ทิ้งน้ำจากระบบบำบัดของโรงงาน ก่อนที่จะระบายลงแม่น้ำพองอีกทีหนึ่ง จนกลายเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อเรื้อรังมานานนับถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลาถึง 37 ปีแล้ว</p>
<p>โรงงานผลิตเยื่อกระดาษของบริษัทฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่บนพื้นที่ 1,065 ไร่ในเขตตำบาลกุดน้ำใส อำเภอน้ำพอง เริ่มก่อร่างสร้างตัวขึ้นในเขตอำเภอน้ำพองเมื่อปี 2518 ทำการก่อสร้างตัวโรงงานจนสามารถเดินเครื่องทำการผลิตได้ในปี 2525 แต่หลังจากนั้นอีกเพียง 4 ปี เริ่มพบปัญหาสิ่งแวดล้อมเมื่อแม่น้ำเกิดเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น สัตว์น้ำล้มตายเป็นเบือ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53409752156_ed8bcdb6b6_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">สาคร ประสา ชาวบ้านห้วยโจด</span></p>
<p>สาคร ประสา ชาวบ้านห้วยโจดเล่าว่าเมื่อครั้งชาวบ้านยังใช้น้ำจากบึงเพื่อทำนา คุณภาพน้ำยังพอหาปลาได้ จนเมื่อโรงงานปล่อยน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วมาที่บึงห้วยโจด “น้ำมีกลิ่นแรง ซึ่งเขาได้รับอนุญาต มีเครื่องมือวัดค่าคุณภาพน้ำติดตั้งตรงสะพาน”</p>
<p>“พ่อแม่เคยหาปลาในบึงโจด เดี๋ยวนี้ไม่ทำแล้ว เพราะมีผักตบชวาเยอะกว่าเดิมและน้ำไม่ดี เกิดจากการทับถมของผักตบชวาและโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียลงมา” วรากร เสาศิริ ชาวบ้านบ้านห้วยโจดอีกคนหนึ่งเล่า</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53409752116_8637790d83_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">เครื่องวัดคุณภาพน้ำตั้งอยู่บริเวณริมบึงห้วยโจด แสดงค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) และปริมาณค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำ (ตติยา ตราชู/ถ่ายภาพ)</span></p>
<h3><span style="color:#2980b9;">โรงงานที่ถูกปิดถึง 3 ครั้งยังอยู่ได้</span></h3>
<p>โรงงานผลิตเยื่อกระดาษของบริษัทฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด น่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมบ่อยครั้งแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนับแต่เริ่มการผลิตเมื่อเกือบ 4 ทศวรรษก่อน</p>
<p>โรงงานแห่งนี้ถูกสั่งปิดครั้งแรกในเดือน เมษายน 2535 เนื่องจากขยายกำลังผลิตจนไม่สามารถบำบัดน้ำเสียได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ทำให้น้ำมีค่ามลพิษสูง ครั้งที่สองในเดือนพฤษภาคมปีถัดมาต้องหยุดการผลิตเพื่อปรับปรุงระบบน้ำเสียหลังจากที่ละเมิดการปล่อยน้ำเสียตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จนเป็นเหตุให้ปลาตายตั้งแต่บึงโจดจนถึงฝายชลประทานหนองหวายยาวถึง 15 กม.
ครั้งที่ 3 ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2541 - มกราคม 2542 ถูกสั่งปิดเนื่องจากตรวจพบความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปล่อยน้ำเสียซึ่งทำความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังอย่างมาก และที่สำคัญคือโปรเจ็กกรีน ซึ่งเป็นการใช้แปลงปลูกยูคาลิปตัสเป็นที่รองรับน้ำเสียจากโรงงาน ที่เคยใช้เป็นข้ออ้างว่าจะสามารถแก้ปัญหาน้ำเสียได้จนทางการยอมให้โรงงานฟินิคซขยายกำลังการผลิตเป็น 200,000 ตันต่อปี กลับสร้างปัญหาเสียเอง</p>
<p>ภราดร ศรีโพธิ์ นายกสมาคมรักษ์สิ่งแวดล้อมลุ่มแม่น้ำพองเพื่อคุณภาพชีวิต กล่าวว่าเหตุผลสำคัญที่สุดในการสั่งปิดโรงงานครั้งที่ 3 นั้นเนื่องมาจากโครงการโปรเจ็กกรีนซึ่งน่าจะเป็นตัวช่วยแก้ไขปัญหาแต่สุดท้ายน้ำจากโปรเจ็กกรีนนั่นเองได้ไหลซึมออกมาสู่ลำน้ำพองจนน้ำเสีย</p>
<p>แต่ใช่ว่าการสั่งปิดโรงงานถึง 3 ครั้งแล้วจะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด เพราะหลังจากนั้นประชาชนในท้องถิ่นยังคงรวมตัวกันร้องเรียนต่อกระทรวงอุตสาหกรรมอีกบ่อยๆ เช่น ในปี 2544 ชาวบ้านจากอำเภอน้ำพองต้องเดินทางเข้าไปประท้วงที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเรียกร้องให้ทางการยกเลิกโครงการโปรเจ็กกรีนเสีย เพราะยังปรากฏว่ายังมีน้ำเสีย ส่งผลกระทบต่อการทำการเกษตร และปลาที่เลี้ยงในกระชังตาย ได้รับความเสียหาย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53409833481_4f4554700b_k.jpg" /></p>
<div class="summary-box">
<h3><span style="color:#2980b9;">ตำนานการปิดโรงงานฟินิคซ</span></h3>
<ul>
<li>27 เมษายน 2535 ศักดา อ้อพงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น มีคำสั่งปิดโรงงานเยื่อกระดาษฟินิคซ เป็นเวลา 60 วันอันเนื่องมาจากการขยายกำลังการผลิตให้ได้ถึง 100,000 ตันต่อปี ทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียไม่สามารถรองรับได้ตามมาตรฐานที่กำหนด น้ำทิ้งมีปริมาณมากและมีความสกปรกสูง เป็นเหตุให้น้ำในบึงโจด ห้วยโจด และ แม่น้ำพองเน่าเสีย จนไม่สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้</li>
<li>29 พฤษภาคม 2535 ปลอดประสพ สุรัสวดี แจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทฟินิคซ ในข้อหาปล่อยวัตถุมีพิษลงในแหล่งจับสัตว์น้ำ และ ทำการเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำ ศาลมีคำพิพากษาในวันที่ 26 เมษายน 2536 สั่งปรับบริษัท 20,000 บาท แต่เนื่องจากรับสารภาพจึงลดให้กึ่งหนึ่งเหลือ 10,000 บาท</li>
<li>24 พฤษภาคม 2536 ปิดโรงงานฟินิคซอีกเป็นเวลา 30 วัน เพื่อให้ปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เคยให้ไว้ หลังจากประชาชนในท้องถิ่นพบปลาตายในแม่น้ำพองตั้งแต่บึงโจดลงไปจนถึงหน้าฝายชลประทานหนองหวาย เป็นระยะทางยาวถึง 15 กิโลเมตร น้ำในแม่น้ำเน่าเสีย ขุ่น มีตะกอนขุ่นขาว เฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหน้าฝายพบว่ามีปลาตายเป็นจำนวนมากถึง 3 ตัน</li>
<li>24 มิถุนายน 2536 กรมโรงงานอุตสาหกรรม อนุญาตให้เปิดโรงงานฟินิคซอีกครั้ง ภายใต้เงื่อนไขให้นำน้ำทิ้ง 25 เปอร์เซ็นต์มาใช้ในการเกษตรด้วยการนำไปรดต้นยูคาลิปตัส เพื่อลดปริมาณน้ำทิ้งลงในห้วยโจด</li>
<li>27 กรกฎาคม 2541 กรมโรงงานอุตสาหกรรม สั่งปิดโรงงานฟินิคซ (โรงที่ 1) อีกครั้งหนึ่งเป็นเวลา 180 วัน หลังจากพบว่า ปลาที่เลี้ยงในกระชังตายเป็นจำนวนมาก สร้างความเสียหายให้เกษตรกรคิดเป็นมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท เพราะสาเหตุสำคัญคือ น้ำเสียจากโครงการซึมลงแม่น้ำพอง มีน้ำเสียจากบ่อเก็บกากของเสียไม้ไผ่ และปรากฏว่ามียาฆ่าแมลงที่ใช้กับกองวัตถุดิบถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ</li>
<li>29 กรกฎาคม 2541 บริษัทฟินิคซปิดโรงงานแห่งที่สอง หยุดรับซื้อไม้จากเกษตรกรเพื่อเป็นการตอบโต้คำสั่งปิดโรงงานแห่งแรก</li>
<li>31 สิงหาคม 2541 กรมโรงงานอุตสาหกรรมยอมให้โรงงานฟินิคซ เปิดดำเนินการอีกครั้ง</li>
</ul>
</div>
<p>ผู้บริหารบริษัท ฟินิคซ ได้ยืนยันต่อสาธารณะเรื่อยมาว่า โรงงานของบริษัทในจังหวัดขอนแก่น หยุดปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำธรรมชาติตั้งแต่ ปี 2540 คุณภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลงไป หรือ แม้แต่ปลาที่เลี้ยงในกระชังตายไม่เกี่ยวข้องกับทางโรงงาน ขณะที่ในการชี้แจงกับสื่อมวลชนในเดือนมกราคม 2557 ตัวแทนฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ยืนยันว่าจะดำเนินการตรวจสอบเรื่องกลิ่นเหม็นและน้ำเสียจากกระบวนการผลิตอย่างเร่งด่วน โดยคำนึงถึงสุขภาพ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ รวมทั้งหาทางออกที่เหมาะสมสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง</p>
<p>ส่วนภาครัฐนั้น มีรายงานข่าวว่า ได้เข้าตรวจสอบติดตามการดำเนินงานของบริษัทตามกำหนดระยะเวลา เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 (ขอนแก่น) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment--EIA) โครงการโรงงานผลิตเยื่อกระดาษของบริษัทฟินิคซโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการรับฟังการบรรยายและเข้าตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการในพื้นที่การผลิตเยื่อกระดาษ โรงไฟฟ้า และระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงาน</p>
<p>ทุกครั้งที่มีการตรวจสอบเจ้าหน้าที่จะต้องแจ้งให้โรงงานฯปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งตรวจสอบการปนเปื้อนโลหะหนักที่พบในบึงโจดมีความเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตของโรงงานหรือไม่ เฝ้าระวังป้องกันการเกิดอุบัติเหตุสารเคมีรั่วไหล และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องกลิ่นที่อาจเป็นเหตุรำคาญให้กับประชาชนโดยรอบอย่างต่อเนื่อง  โดยคำนึงถึงการดำรงอยู่ร่วมกับราษฎรรอบโรงงานให้เกิดความยั่งยืนต่อไป</p>
<p>จากข้อมูลคุณภาพน้ำลุ่มน้ำชีตอนบนของสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 10 กรมควบคุมมลพิษ เมื่อเดือนมกราคม 2566 พบว่า คุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (WQI) ของพื้นที่บริเวณบึงโจด จากสถานีวัดคุณภาพน้ำ 3 แห่งใน ต.กุดน้ำใส อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น มีแนวโน้มเปลี่ยนจากเกณฑ์พอใช้ (61-70) ไปเป็นเสื่อมโทรม (31-60)</p>
<p>น้ำในบึงโจด ห้วยโจด มีค่านำไฟฟ้าค่อนข้างสูง ค่าความเค็มค่อนข้างสูง เพราะรองรับน้ำทิ้งปริมาณมากจากการประกอบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในพื้นที่ ทำให้น้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ และควรใช้ทำการเกษตร (โดยทั่วไป) อย่างระมัดระวัง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53381606673_a2906f21ed_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ตารางแสดงค่าคุณภาพน้ำผิวดิน สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10
ที่มา: สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษภาค 10 ขอนแก่น</span></p>
<p><span style="color:#e67e22;"> </span></p>
<h3><span style="color:#2980b9;">กลิ่นของปัญหาในปัจจุบัน</span></h3>
<p>สมพร เสาศิริ ชาวบ้านบ้านห้วยโจด กล่าวว่าระบบปัจจุบันมีการส่งน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วให้ชาวบ้านใช้ผ่านระบบท่อ แม้ว่าจะข้อดีอีกอย่างคือทำให้บริษัทยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปได้และประชาชนในท้องถิ่นมีงานทำ แต่ข้อเสียคือมันทำลายระบบนิเวศจากการปล่อยน้ำเสียที่ไม่สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้ แถมคุณภาพอากาศก็แย่ลงเพราะมีกลิ่นเหม็น โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายน ลมพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ขึ้นมาทางทิศเหนือที่เป็นที่ตั้งหมู่บ้านห้วยโจด</p>
<p>อย่างไรก็ตาม น้ำทิ้งนั้นก็ยังคงปนเปื้อนด้วยสารพิษที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพและธรรมชาติ ภราดร นายกสมาคมรักษ์สิ่งแวดล้อมลุ่มแม่น้ำพอง ยกตัวอย่างสารเคมีในตัวอย่างน้ำ เช่น แคดเมียม โครเมียม ปรอท นิกเกิล และสังกะสี ฯลฯ ส่งผลกระทบทำให้สิ่งมีชีวิตเป็นโรคมะเร็ง โรคฉี่หนู โรคง่อยเปลี้ยเพลียแรง และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ดังที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53408830752_4bcc05b4f9_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">โรงงานตั้งอยู่ติดกับหมู่บ้าน 4 หมู่ ในเทศบาลตำบลกุดน้ำใส อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น</span></p>
<p>ฉลวย พริศักดิ์ ชาวบ้านในพื้นที่เล่าว่า นาน ๆ ทีกลิ่นเหม็นจากโรงงานจะมีมา โดยเฉพาะเมื่อความกดอากาศสูงหรือช่วงฤดูฝนที่อากาศไม่ถ่ายเท แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็เคยชินกับสภาพแบบนี้ไปแล้ว  เขายังเสริมอีกว่า อยากพัฒนาบึงโจดให้มากขึ้นกว่าเดิม ทำเป็นสวนสาธารณะ ให้ชาวบ้านหรือผู้อาศัยอยู่รอบ ๆ ไปใช้ประโยชน์ เพิ่มแสงสว่างทำเป็นลู่วิ่งให้ออกกำลังกาย คงจะดีกว่านี้ เพราะตอนนี้ทางกรมชลประทานซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบแหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง ก็เริ่มขุดลอกตะกอนกากของเสีย เพราะเกิดน้ำเน่าเสียซ้ำซากทุกปี แต่ในอนาคตไม่รู้เขาจะทำเป็นอะไร ทราบเพียงปัจจุบันเริ่มทำคล้ายเขื่อนกั้นกักน้ำไว้ และโรงงานออกมาพูดคุยกับชาวบ้านบ่อยกว่าเทศบาลด้วยซ้ำ</p>
<p>“เท่าที่เขามาประชาสัมพันธ์พบปะชุมชน โรงงานเขาก็ปรับปรุง มีโครงการดูดซับกลิ่นก่อนปล่อยออกมา มีการซักถามเพื่อนำไปปรับปรุง มีไลน์กลุ่มชาวบ้านรอบโรงงานที่สามารถเข้าไปร้องเรียนได้ว่าพบเจอปัญหาอะไร” ฉลวยกล่าว</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ทางออกของบึงห้วยโจด</span></h3>
<p>บึงโจดเป็นพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ใช่หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เมื่อเกิดปัญหาขึ้น หน่วยงานในท้องถิ่นอย่างเทศบาลตำบลกุดน้ำใสจึงทำได้เพียงเฝ้าระวัง และมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบอาคารสถานประกอบการให้เป็นไปตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น โครงการขุดลอกบึงโจดนั้นทางเทศบาลมีกรรมการควบคุม ดูแล และเฝ้าระวังการฟุ้งกระจายของตะกอนใต้น้ำที่อาจไหลลงลำน้ำพอง และดินที่ขุดจากบึงโจดซึ่งมีสารตกค้างปนเปื้อน จะอยู่ในบึงโจด ห้ามเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ โดยแผนจะนำเอามาทำถนน ขยายถนนเส้นทางเข้าบึงโจด ทำลายพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมของชาวบ้าน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53410194485_978b0d21e0_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">สภาพน้ำในบึงห้วยโจดมีลักษณะเป็นสีดำ มีฟองสีน้ำตาลลอยอยู่ผิวน้ำ</span></p>
<p>“ผมเคยอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรม โรงงานเหล่านั้นมีการกำจัดกากของเสียเหล่านั้น (โลหะหนักต่างๆ) อย่างดี เขามีความรับผิดชอบ อันนี้ปล่อยลงน้ำเฉยเลย” ภราดร โพธิ์ศรีกล่าวถึงความคาดหวังที่จะเห็นการแก้ไขอย่างจริงจัง</p>
<p>เช่นเดียวกันกับ ฉลวย พิรศักดิ์ที่ได้คาดหวังทิ้งท้ายว่าต้องการให้ทางโรงงานและทางการรับฟังชาวบ้านว่าต้องการอะไร มีอะไรให้ปรับปรุงบ้าง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53381606813_4243ce45b4_k.jpg" /></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107309
 
2912  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 2 กองทุนลงนาม MOU ดูแลสุขภาพผู้ประกันตน 10 ล้านคน เข้าถึง 'บริการส่งเสริมสุขภาพแล เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 03:52:07
2 กองทุนลงนาม MOU ดูแลสุขภาพผู้ประกันตน 10 ล้านคน เข้าถึง 'บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-12-20 23:44</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>สำนักงานประกันสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ MOU ความร่วมมือดูแลสุขภาพผู้ประกันตน 10 ล้านคน เข้าถึง “บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค” สิทธิประโยชน์ 2 กองทุน ช่วยลดภาวะเจ็บป่วยกลุ่มวัยแรงงาน เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณ</p>
<p> </p>
<p>20 ธ.ค. 2566 ทีมสื่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) รายงานต่อสื่อมวลชนว่า วันนี้ (20 ธ.ค.) พิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และ รศ.นพ.เชิดชัย ตันติศิรินทร์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ร่วมเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือการดำเนินงาน และการบริหารจัดการในการบูรณาการจัดระบบบริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ระหว่างสำนักงานประกันสังคม และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดย บุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงกับ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยมี ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารสำนักงานประกันสังคม ผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พร้อมผู้แทนสถานพยาบาล เข้าร่วมพิธีที่ห้องประชุมกระทรวงแรงงาน ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร </p>
<p>พิพัฒน์  กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคม และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีภารกิจการสร้างหลักประกันด้านสุขภาพให้กับคนไทย “เน้นการป้องกันดีกว่าการรักษา เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยืนยาว” โดยปี 2566 สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการผลักดันการขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้แก่ผู้ประกันตน ผ่านโครงการค้นหาความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดในพื้นที่เป้าหมายนำร่อง จำนวน 13 จังหวัด มีผู้ประกันตนเข้าร่วมโครงการ 277,654 คน และในส่วนของ สปสช. ให้ความสำคัญกับวัยทำงาน จึงได้กำหนดให้การส่งเสริมสุขภาพเป็นรายการบริการพื้นฐาน โดยการลงนามบันทึกฯ ความร่วมมือของ 2 หน่วยงานในวันนี้ นอกจากลดค่าใช้จ่ายภาพรวมด้านสาธารณสุข ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นแล้ว ที่สำคัญคือผู้ประกันตนจะได้รับประโยชน์เพิ่มเติมนอกจากรายการตรวจพื้นฐาน ผ่านระบบบริหารจัดการมาตรฐานการรักษาหนึ่งเดียวที่เป็นเลิศ  </p>
<p>รศ.นพ.เชิดชัย กล่าวว่า เป็นที่น่ายินดีที่ 2 หน่วยงานได้บูรณาการความร่วมมือและสิทธิประโยชน์บริการสร้างเสริมสุขภาพฯ ร่วมกัน ทำให้สามารถดูแลประชาชนได้ครอบคลุม โดยเฉพาะผู้ประกันตนที่มีจำนวนเกือบสิบล้านคน ส่วนใหญ่ทำงานในสถานประกอบการ ให้ได้รับบริการสร้างเสริมสุขภาพฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ด้วยชุดสิทธิประโยชน์กลุ่มวัยทำงาน ตั้งแต่การคัดกรองสุขภาพ และเมื่อพบความเสี่ยงจะได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เมื่อป่วยก็ได้รับการดูแลรักษาและป้องกันความพิการด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นการดูแลทั้งระบบ และในวันนี้จะนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือการดูแลสุขภาพของผู้ประกันตนในบริการสาธารณสุขอื่น ๆ เพิ่มขึ้นต่อไปในอนาคต</p>
<p>นพ.จเด็จ กล่าวว่า สิทธิประโยชน์สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อมุ่งสร้างเสริมสุขภาพที่ดีให้กับคนไทย ลดภาวะเจ็บป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากโรคที่ป้องกันได้ เป็นบริการที่ครอบคลุมให้กับคนไทยทุกคนทุกสิทธิอย่างทั่วถึง รวมถึงผู้ประกันตนที่เป็นกลุ่มวัยทำงาน แต่ที่ผ่านมาพบว่า การรับบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในสัดส่วนของผู้ประกันตนอยู่ในอัตราไม่มาก ดังนั้นเพื่อเป็นการร่วมดูแลสุขภาพผู้ประกันตนได้นำมาสู่ “การลงนามบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้  </p>
<p>สำหรับความร่วมมือ 2 หน่วยงานนี้ สิ่งที่จะดำเนินการ่วมกัน ได้แก่ การขึ้นทะเบียนสถานพยาบาลในระบบประกันสังคมให้เป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้บริการตรวจสุขภาพประจำปี และบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, การสร้างการรับรู้ให้ผู้ประกันตนเข้ารับบริการสร้างเสริมสุขภาพฯ ที่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ทุกแห่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย, การจัดระบบเบิกจ่ายค่าบริการผ่านช่องทางเดียวกันเพื่อลดความซ้ำซ้อนของงบประมาณในการดูแลผู้ประกันตนของ 2 กองทุน เป็นต้น </p>
<p>บุญสงค์ กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมมุ่งมั่นพัฒนาสิทธิประโยชน์ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้ผู้ประกันตนมีสุขภาพที่ดี เน้นหลักการ “ป้องกันดีกว่ารักษา” สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ประกันตนในการเข้าถึงบริการรักษาที่มีมาตรฐานตลอดมา และในปี 2567 จากนี้ สำนักงานประกันสังคมพร้อมบูรณาการร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมขับเคลื่อนภารกิจสำคัญในการจัดบริการส่งเสริมสุขภาพฯ ให้กับประชาชนคนไทยทุกสิทธิ ซึ่งผู้ประกันตนสามารถเข้ารับบริการในสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนเรื่องส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพและสำนักงานประกันกันคมทั่วประเทศ ซึ่งจะส่งผลทำให้วัยทำงานมีสุขภาพดี มีคุณภาพชีวิตที่ยืนยาว ลดความเหลื่อมล้ำ โดยบูรณาการงานด้านบริการทางการแพทย์อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107312
 
2913  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "เนเน่ พรนับพัน" แต่งเรียบง่ายแต่ออร่าฟุ้งกระจาย ช็อตนี้ปิดความสวยไม่อยู่แล เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 03:32:22
"เนเน่ พรนับพัน" แต่งเรียบง่ายแต่ออร่าฟุ้งกระจาย ช็อตนี้ปิดความสวยไม่อยู่แล้ว
         


&quot;เนเน่ พรนับพัน&quot; แต่งเรียบง่ายแต่ออร่าฟุ้งกระจาย ช็อตนี้ปิดความสวยไม่อยู่แล้ว" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;แอบส่องลุคสุดชิล เนเน่ พรนับพัน มองมุมไหนก็สะดุดตาไปหมด สวยออร่าจับมากจริงๆ
         

https://www.sanook.com/news/9149026/
         
2914  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'เพื่อนนักกิจกรรมไทยและเมียนมา' จัดกิจกรรม ‘สามัญชนไร้พรมแดน’ หวังปลุกพลัง เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 02:11:26
'เพื่อนนักกิจกรรมไทยและเมียนมา' จัดกิจกรรม ‘สามัญชนไร้พรมแดน’ หวังปลุกพลังเปลี่ยนแปลงในสังคม
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-21 00:15</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กลุ่มเพื่อนนักกิจกรรมไทยและเมียนมา จัดกิจกรรม THE RESISTANCE OF COMMONERS ‘สามัญชนสนทนา ใต้เงาเผด็จการ’ หวังปลุกพลังเปลี่ยนแปลงในสังคม ที่บันทึกเรื่องการต่อสู้ผ่าน นิทรรศการ ละครเวที หนังสั้น เสวนา และบทเพลง เพียงเพราะเชื่อว่านี่คือย่างก้าวสำคัญในการเชื่อมโยงความคิด ชีวิต มิตรภาพ</p>
<p>20 ธ.ค.2566 สำนักข่าว Lanner รายงานว่า ระหว่างวันที่ 17-18 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ SOME SPACE Gallery จ.เชียงใหม่ กลุ่มเพื่อนนักกิจกรรมไทยและเมียนมา จัดกิจกรรม THE RESISTANCE OF COMMONERS ‘สามัญชนสนทนา ใต้เงาเผด็จการ’ ที่เชื่อว่าพลังของสามัญชนคนธรรมดาที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงในสังคม จึงก่อการบันทึกเรื่องการต่อสู้ผ่าน นิทรรศการ ละครเวที หนังสั้น เสวนา และบทเพลง เพียงเพราะเชื่อว่านี่คือย่างก้าวสำคัญในการเชื่อมโยงความคิด ชีวิต มิตรภาพ</p>
<p>ภายในงานมีการจัดนิทรรศการ [บันทึกโดยสามัญชน เพื่อสามัญชน] โครงการบันทึกประวัติศาสตร์สามัญชนภาคเหนือ “The Story of North Commoner” ยกตัวอย่างเช่น บันทึกช่วงเวลาการต่อสู้ตั้งแต่ยุคสมัยผญาผาบ ครูบาศรีวิชัย นิสิต จิรโสภณ เกษตรกรคนจนปลดแอก เป็นต้น นิทรรศการภาพวาดของชาวเมียนมา ที่บอกเล่าวิถีชีวิต ความรุนแรงของกองทัพทหาร และเสาหลักของประเทศไทย เบื้องล่างเต็มไปด้วยร่องรอยของการต่อสู้ ไล่ระดับเป็นทหาร และจุดสูงสุดคือกรอบรูปสีทองอร่าม, ขับขานเพลงธรรมดาสามัญชน โดย ชวด สุดสะแนน, Performance Art Lu (มนุษย์) โดย Kelvin Shine Ko อีกทั้งละครเวทีเรื่อง ‘THE ORDINARY’ ละครโรงเล็กหัวใจใหญ่ในรูปแบบที่สอดประสานเสียงของไวโอลินและการเดินเรื่องอันธรรมดา อิสรภาพและความยุติธรรม</p>
<p>รวมไปถึงกิจกรรมรับชมหนังสั้น และการนำเสนอจาก 2 ฟากฝั่ง เมียนมาและไทย ที่จะฉายภาพ น้ำเสียง บรรยากาศ การต่อสู้ของคนธรรมดาที่ไม่ยอมสงบต่ออำนาจเผด็จการ ทั้งหมด 3 เรื่อง ได้แก่ Under One Sky โดย Poe po, The Nightmare and a Dream โดย Friends Without Borders Foundation, Human Rights Violantions in Myanmar by Kyi Phyu และการนำเสนอ KHRG Presentation โดย Sue เหมือนพรมแดนที่คอยขวางกั้นเราเอาไว้พังทลายลง และมีมวลมิตรเข้ามาแทนที่ เราคือเพื่อนกัน เพื่อนที่ร่วมชะตากรรมเดียวกัน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53409398727_9206456f56_b.jpg" /></p>
<p>พรสุข เกิดสว่าง มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน Friends without borders (FWB) กล่าวเปิดงาน THE RESISTANCE OF COMMONERS อย่างเป็นทางการว่า งานที่จัดขึ้นนี้ เสมือนการพบปะกันของสามัญชนธรรมดามากกว่า เราในฐานะของ เพื่อนไร้พรมแดน เราชอบที่จะเปิดพื้นที่หรือเปิดเวที งานที่เกิดขึ้นจึงเสมือนการเป็นการเฉลิมการต่อสู้ของสามัญชนและมิตรภาพ</p>
<h3> “หากเราไม่เห็นคุณค่าของกันและกัน ก็จะไม่มีวันได้เห็นการเปลี่ยนแปลง” พรสุข กล่าว</h3>

<p>พรสุขกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า มองเห็นอนาคตจากทุกคนในที่นี้ ซึ่งคำว่าอนาคตไม่ได้หมายถึงอายุ ฉะนั้นทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นจากที่ตัวเรา จะวางตัวเราให้เป็นอนาคตที่ดี หรือจะเป็นตัวฉุดรั้ง โดยสำหรับเพื่อนไร้พรมแดน เราพร้อมที่จะก้าวไปในอนาคต และพร้อมที่จะเป็นบ้านที่พร้อมให้การสนับสนุนทุกคน</p>
<p>วิศรุต ศรีจันทร์ จากสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ ได้กล่าวถึงจุดเริ่มต้นในการเข้ามาทำงานในประเด็นที่ดิน การจัดการทรัพยากร และสิทธิชุมชนท้องถิ่น เพื่อเรียกร้องการเข้าถึงสิทธิในที่ดินทำกินและของเกษตรกรรายย่อยและกลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายและกฏหมายของรัฐว่า เขานั้นเป็นลูกหลานเกษตรมาตั้งแต่เด็ก ช่วงการเรียนมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 4 ได้มีโอกาสมาฝึกงานมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ ในขณะนั้นเกิดรัฐประหารปี พ.ศ.2557 เขาได้พบเจอเหตุการณ์ที่ไม่เป็นธรรมต่อพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ การโดนคดีบุกรุกป่าอันร้ายแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้เขาเกิดการตั้งคำถามกับสังคม “ซึ่งสิ่งที่เราเห็นนั้น มันเป็นสิ่งที่ค้นพบได้บ่อย ภายใต้การยึดอำนาจรัฐเผด็จการ” ต้นต่อของปัญหาไม่ใช่เพียงแค่นโยบายของรัฐ แต่รวมไปถึงระดับโครงสร้างของสังคม วัฒนธรรม จารีต ที่ยึดโยงกันล้วนส่งผลต่อคนตัวเล็กตัวน้อยทั้งสิ้น ทั้งหมดจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เขาเลือกมาอยู่ในจุดนี้ ต่อสู้เพื่อพี่น้องที่ถูกกดขี่</p>
<h3> “พอมีรัฐประหาร กลับเหมือนชีวิตเข้าไปในความมืด” วิศรุต กล่าว</h3>

<p>ทางด้าน Poe po นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักเคลื่อนไหว ชาว Karenni ประเทศเมียนมา ได้บอกเล่าแรงบันดาลใจในการปกป้องสิทธิมนุษยชนว่า Poe po นั้น เป็นประชาชนคนเมียนมาธรรมดาคนนึง กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีสิทธิน้อยอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นคือเธอเติบโตอยู่ในบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา จึงถูกจำกัดสิทธิในการศึกษาหรือการทำมาหากิน เธอต้องดิ้นรนเพื่อที่จะได้เรียนสังคมศาสตร์ เพื่อจะนำวิชาความรู้ว่าช่วยประเทศของตัวเอง แต่หลังจากเรียนจบได้เพียงสองวัน แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคือ “รัฐประหาร” เธอกล่าวเพิ่มเติมว่า ก่อนที่จะไปเรียนต่อ เธอมีความหวังที่อยากจะพัฒนาชุมชนของเธอ ท้ายที่สุดจึงกลับไปยังพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา เช่นเคย เพื่อทำงานปกป้องสิทธิของประชาชนผู้บริสุทธิ์ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เธอต้องเข้ามาทำงานตรงนี้</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53410652214_82046fd903_b.jpg" /></p>
<p>ธันย์รัตนราม ชีพนุรัตน์ นักการละครอิสระ ผู้ขับเคลื่อน และเรียกร้องสิทธิมนุษยชนผ่านละครเวที กล่าวถึงชีวิตในวัยเด็กของตัวเองว่า เขาเกิดและใช้ชีวิตอยู่ที่จังหวัดหนองคาย ระหว่างพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว ธันย์รัตนรามได้พบเจอความเหลื่อมล้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนชินตา มีการใช้อำนาจศาลเตี้ยจากผู้มีอิทธิพล ตอนเด็กเขารู้สึกว่าเรื่องการกดขี่ การคุกคามโดยไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ พอเขาได้ย้อนกลับไปนึกถึงเหตุการณ์เหล่านี้ ในช่วงเวลานั้นว่า หากคนในชุมชนไม่เลือกที่จะเงียบ แล้วเกิดการต่อสู้กับผู้มีอิทธิพล มันก็เหมือนกับว่าตัวเขาเอง ลูกหลาน ทรัพย์สินก็จะไม่ปลอดภัย พวกเขาจึงเลือกที่จะเงียบเฉย เลือกที่จะสยบยอม</p>
<h3>“แต่ในความเป็นจริงเราไม่ได้จะสยบยอม แต่เราไม่สิทธิ์ที่จะทำไปมากกว่านั้น” ธันย์รัตนราม กล่าว </h3>

<p>แต่ก็เพราะเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและครอบครัว พอเขาได้มีโอกาสได้เรียนการละคร จึงใช้ละครนำมาสื่อสารประเด็นต่าง ๆ ตั้งแต่วัยเด็ก ถ่ายทอดเรื่องราวประเด็นในสังคม ทั้งความขัดแย้ง อยุติธรรม ความไม่อิสระเสรีภาพที่เคยประสบพบเจอ เพื่อให้สังคมได้รับรู้ ตระหนักในสิ่งเหล่านั้น</p>
<p>สามัญชน คนธรรมดามิใช่เจ้าชีวิตใคร ในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน ความเหมือนและความแตกต่างของความเป็นสามัญชนระหว่างไทย และเมียนมา แน่นอนว่าการปกครองด้วยรัฐบาลทหาร และเกิดรัฐประหารบ่อยครั้ง เราล้วนถูกกดขี่ และจำกัดสิทธิเสรีภาพไม่ต่างกัน  ธันย์รัตนราม ชีพนุรัตน์  นักการละครอิสระ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า เราต่างถูกจัดการโดยการปกครองที่ไม่ตอบโจทย์บางอย่าง พวกเขาพยายามกลบเราด้วยบางอย่าง ทั้งความเชื่อ อำนาจ Poe po นักปกป้องสิทธิมนุษยชน เมียนมา ได้เสริมประเด็นนี้ว่า สิ่งที่เหมือนกันของประเทศพวกเราคือ การเมือง วัฒนธรรม สิทธิเสรีภาพในการพูด อย่างเมียนมาก็มีผู้คนออกมาแสดงพลังกันเยอะมากขึ้น คนรุ่นใหม่เข้ามา เพื่อต่อสู้อำนาจที่ไม่ยุติธรรม เพื่อสร้างชุมชนที่สงบสุข และความคิดเห็นสุดท้าย จาก วิศรุต ศรีจันทร์ เขากล่าวว่า ทั้งไทยและเมียนมา มีสถานะการไม่ต่างกันมาก  ​ “ที่ใดมีการกดขี่ ทุกที่มีการต่อสู้” เพราะเสมือนการมาวนลูปฉายภาพซ้ำ จึงมีการลุกขึ้นมาต่อสู้ในหลายรูปแบบ เพื่อมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก</p>
<p>“ทหารเมียนรถทำสิ่งที่ไร้เหตุผล เพื่อขู่และไม่ให้ประชาชนต่อสู้ แต่ทางกลับกัน สิ่งนี้ได้เป็นแรงผลักดันในการสู้ครั้งต่อไป”</p>
<p>Poe po นักปกป้องสิทธิมนุษยชน นักเคลื่อนไหว ชาว Karenni ประเทศเมียนมา บอกเล่าถึงความท้าทายในการทำงาน มีสองประเด็น ประเด็นแรกคือเรื่องความปลอดภัย เหตุเพราะประเทศไทย กำจัดสิทธิเสรีการพูด การแสดงออก ในการพูด ถูกอุ้มหาย ทำร้าย เหมือน ๆ กันกับประเทศเมียนมาที่เพียบแค่ทางแค่การกดไลก์ กดแชร์ เกี่ยวข้องกับการต่อต้านรัฐประหาร อีกประเด็นคือ สิ่งที่เป็นการขว้างกั้นประชาชน สิ่งที่ไม่ยุติธรรม ไม่ให้ประชาชนเข้าร่วม ตัวอย่างเช่น เทศกาลคริสต์มาส ปี พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา รัฐทหารได้จับกลุ่มคนการเมือง 40 คน ขึ้นหลังรถไปสิบคัน แล้วเอาน้ำมันราดเผาทั้งเป็น ซึ่งในที่นี่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง เป็นเพียงชาวบ้านธรรมดา ไม่มีเหตุผล จะเห็นได้ว่าเผด็จการได้ทำร้ายประชาชนตามใจชอบ ไร้ซึ่งความยุติธรรม</p>
<p>วิศรุต ศรีจันทร์ จากสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ กล่าวว่า บทเรียนวิธีการศึกษาการต่อสู้ ทั้งพัฒนาการต่อสู้แต่ละช่วงสมัย มีภาวะบางอย่างที่อุปสรรคตัวเดียวกันที่ทำให้ไม่บรรลุ เหมือนกับคำที่ว่า “ไม่อยากจบที่รุ่นเรา” ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ท้าท้ายอย่างยิ่งในอนาคตที่สังคมจะได้เรียนรู้ และสู้กับรัฐทหาร สู่วันที่ประชาชนจะได้รับชัยชนะอย่างแท้จริง</p>
<p>ด้าน ธันย์รัตนราม ชีพนุรัตน์  นักการละครอิสระ กล่าวปิดท้ายว่าในส่วนของการทำละคร สิ่งที่ท้าทายคือการสื่อสารไปยังผู้ชม ในประเด็นที่เขาต้องการอยากจะสื่อสาร โดยผ่านละคร ไม่ว่าจะประเด็นปัญหาที่ละเอียดอ่อน การเมือง สังคม วัฒนธรรม บางสิ่งไม่สามารถพูดได้โดยตรง จึงต้องมีสัญญะ หรือสิ่งที่สามารถสื่อสารได้แยบยล แต่ยังคงเข้าใจในสารเดียวกัน</p>
<p> </p>
<p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107314
 
2915  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ญาติคาใจ สาววัย 25 ปวดฟันแก้มบวม หมอถอนออก 2 ซี่ ผ่านไป 1 เดือน ดับสลด เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 00:50:18
ญาติคาใจ สาววัย 25 ปวดฟันแก้มบวม หมอถอนออก 2 ซี่ ผ่านไป 1 เดือน ดับสลด
         


ญาติคาใจ สาววัย 25 ปวดฟันแก้มบวม หมอถอนออก 2 ซี่ ผ่านไป 1 เดือน ดับสลด" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;สาวสวยวัย 25 ปี ปวดฟันแก้มบวม หาหมอโรงพยาบาลดังถอนฟันกรามให้ 2 ซี่ ไม่หายบวม ตรวจเซลล์มะเร็งไม่เจอ สุดท้ายผ่านไป 1 เดือน เสียชีวิตปริศนา
         

https://www.sanook.com/news/9149650/
         
2916  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'โฆษกกลาโหม' อ้างเพียง 90 วัน เคลื่อนเป็นรูปธรรม ลดเกณฑ์ทหาร กับโครงการ ปีใหม่ เมื่อ: 21 ธันวาคม 2566 00:40:22
'โฆษกกลาโหม' อ้างเพียง 90 วัน เคลื่อนเป็นรูปธรรม ลดเกณฑ์ทหาร กับโครงการ ปีใหม่ ทหารใหม่ โอกาสใหม่
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-12-20 18:04</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>จิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม อ้างเพียง 90 วันได้ถูกขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้ เช่น ลดการเกณฑ์ทหารไปถึงการยกเลิก เริ่มคิ๊กออฟ รับสมัครทหาร ในโครงการ ”ปีใหม่ ทหารใหม่ โอกาสใหม่“ สมัครทหารยุคใหม่ ได้อะไรมากกว่าที่คิด ดีเดย์ 26 ธ.ค.นี้  ส่วนที่ดินทหารให้ปชช.ใช้นายกคิ๊กออฟ หนองวัวซอโมเดล เป็นของขวัญปีใหม่ 12 ม.ค.นี้</p>
<p> </p>
<p>20 ธ.ค.2566 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล รายงานว่า วันนี้ (20 ธ.ค.66) สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะนายกสภาทหารผ่านศึก เป็นประธานในการประชุมสภาทหารผ่านศึก ครั้งที่ 4/2566</p>
<p>โดยที่ประชุมฯ ได้รับทราบผลการดำเนินงานต่างๆ อาทิ 1) ผู้มาขอรับการสงเคราะห์ในด้านต่างๆ ของทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก และทหารนอกประจำการ ประจำปีงบประมาณ 2566 (1 ต.ค.65 - 30 ก.ย.66) จำนวน 1,522,281 ครั้ง (สวัสดิการและการศึกษา, อาชีพด้านเกษตรกรรม, การให้สินเชื่อ, การรักษาพยาบาล และการส่งเสริมสิทธิและเกียรติ) 2) การจัดงานวันที่ระลึกทหารอาสาสงครามโลก ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 เมื่อ 6 - 8, 11 พ.ย.66 ที่ผ่านมา เพื่อระลึกถึงคุณความดีและความเสียสละของทหารอาสาฯ โดยมี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์วางพวงมาลา  3) การประชุมคณะกรรมการบริหารสมาพันธ์ทหารผ่านศึกอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมสมัชชาสมาพันธ์ทหารผ่านศึกอาเซียน ครั้งที่ 22 ระหว่าง 26 - 30 พ.ย.66 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เพื่อความร่วมมือในการกระชับความสัมพันธ์อันดีต่อกันในกลุ่มประเทศอาเซียน และเป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ความคิดเห็น รวมทั้งการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการสงเคราะห์ทหารผ่านศึก 4) การจัดงานวันทหารผ่านศึก ประจำปี 2567 ระหว่าง 30 ม.ค. - 3 ก.พ.67 ภายใต้ชื่องาน “เชิดชูเกียรติทหารกล้า 3 กุมภาพันธ์ วันทหารผ่านศึก” โดยมีการจัดพิธีและกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการสดุดีวีรกรรมของเหล่าผู้กล้าที่ได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตในการปกป้องประเทศชาติ </p>
<p>ในการนี้ ยังได้ร่วมกันพิจารณาเรื่องที่สำคัญต่างๆ และที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ดังนี้
1. มอบเหรียญเกียรติคุณ ชั้นที่ 1 ให้แก่อดีตกรรมการสภาทหารผ่านศึก จำนวน 5 ท่าน ซึ่งขณะที่ดำรงตำแหน่งได้ช่วยเหลือการดำเนินงานและกิจการต่างๆ ของ อผศ. ให้ได้รับประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ พล.อ.สัณทัศน์ นันทิภาคย์หิรัญ พล.อ.อ.คงศักดิ์ จันทร์โสภา พล.ร.อ.วุฒิชัย สายเสถียร ร.น. พล.อ.ชิติพัทธ์ บุญช่วย พล.ต.ท.ณัฐ สิงห์อุดม
2. แต่งตั้งอนุกรรมการของสภาทหารผ่านศึก ประเภททหารผ่านศึกประจำการ จำนวน 3 นาย ได้แก่ พล.อ.อนุสรรค์ คุ้มอักษร พล.ร.อ.โกวิท อินทร์พรหม ร.น. ปละ พล.ต.ท.ยงเกียรติ มนปราณีต
3. โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ของ สำนักงานสงเคราะห์ทหารผ่านศึกเพิ่มเติม จำนวน 3 เขต (จ.เลย, จ.ร้อยเอ็ด และ จ.เพรบูรณ์) เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการสงเคราะห์ และอำนวยความสะดวกให้แก่ทหารผ่านศึกมากยิ่งขึ้น
4. แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ว่าด้วยการบริหารงานและดำเนินกิจการหน่วยงานกิจการพิเศษขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ.2558</p>
<p>ทั้งนี้ ภายหลังเสร็จสิ้นวาระการประชุมฯ สุทิน ได้แสดงความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พ.ร.บ.องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกฯ และการลงนามในบันทึกความเข้าใจเรื่อง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้กับทหารกองประจำการ เพื่อส่งเสริมการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E- Training) ในการพัฒนาความรู้ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานอาชีพ ซึ่งทหารผ่านศึกและครอบครัวสามารถเข้าร่วมเรียนรู้ในดังกล่าวได้ โดยให้ อผศ. ประสานการดำเนินการต่อไป ตลอดจนแจ้งว่า ใน 26 ธ.ค. 2566 จะดำเนินการเริ่มต้น หรือ Kickoff จัดให้มีโครงการ “ปีใหม่ ทหารใหม่ โอกาสใหม่" เพื่อรับสมัครทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ โดยวิธีร้องขอ (กรณีพิเศษ) ด้วยระบบออนไลน์ ประจำปี 2567 พร้อมกันในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ณ พื้นที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ศรีสมาน)</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">'จิรายุ' อ้าง 90 วันผลงานเป็นรูปธรรม ลดการเกณฑ์ทหาร กับโครงการ ปีใหม่ ทหารใหม่ โอกาส </span></h2>
<p>วันเดียวกัน ทีมสื่อพรรคเพื่อไทย รายงานต่อสื่อมวลชนว่า จิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกกระทรวงกลาโหมฝ่ายการเมือง เปิดเผยว่าตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้รับนโยบายจากท่านนายกรัฐมนตรีในการพัฒนาปรับปรุงกองทัพเพื่อให้สอดรับกับนโยบาย เพื่อให้พัฒนาความมั่นคงไปพร้อมกับการพัฒนา เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศได้นั้น โดยนโยบายต่างๆ เพียง 90 วันได้ถูกขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้ เช่น ลดการเกณฑ์ทหารไปถึงการยกเลิก วันนี้นำไปปฏิบัติได้จริงแล้ว โดยกองทัพจะเริ่มคิ๊กออฟ รับสมัครทหาร ในโครงการ ”ปีใหม่ ทหารใหม่ โอกาสใหม่“ สมัครทหารยุคใหม่ ได้อะไรมากกว่าที่คิด โดยทุกเหล่าทัพได้เตรียมสิทธิประโยชน์ ต่างๆ ในการสมัครใจเข้าเป็นทหาร พร้อมกันทั่วประเทศแบบออนไลน์ เรียบร้อยแล้ว โดยจะเริ่มโครงการ ในวันอังคารที่ 26 ธันวาคม นี้ ที่ ลานเอนกประสงค์ หน้าสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนน ศรีสมาน ปากเกร็ด นนทบุรี ตั้งแต่ 10 .00-21.00 น. โดยไฮไลท์ จะอยู่ช่วงเวลา 17.00-21.00 น. </p>
<p>“รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้สั่งการให้นำสิทธิประโยชน์ แจ้งต่อพี่น้องประชาชน และต้องบอกให้ชัดเจนว่า สวัสดิการ เป็นอย่างไร ทหารยุคใหม่ได้อะไร ซึ่งจะต้องลบภาพ ทหารเกณฑ์ในยุคอดีตให้ได้  เพราะเมื่อปีใหม่แล้ว เป็นทหารใหม่แล้ว ในโอกาสใหม่ที่สมัครใจเข้ามา จะได้อะไรบ้าง เช่นเงินเดือน ความรู้ การฝึกฝน และการศึกษา โดยเฉพาะเรื่องการทำข้อตกลงด้านการศึกษาระหว่างทหารประจำการ ที่กระทรวงกลาโหมได้ลงนามความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุดมศึกษาฯ สถาบันคุณวุฒิฯเมื่อวานนี้ เพื่อกำหนดสายการศึกษาให้ตรงต่อความต้องการเช่น สายช่าง  สายสามัญหรือการเรียนผ่าน กศน. ในกองทัพเพื่อให้น้องๆที่เข้ามาอยู่ตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี ได้มีโอกาสรับคุณวุฒิ หรือประกาศณียบัตร ในการไปสมัครงานหรือประกอบอาชีพ หรือสมัครเข้ารับราชการกับกองทัพต่อไปอีกด้วย”</p>
<p>จิรายุกล่าวต่อไปว่า ส่วนเรื่องการให้ประชาชนได้ใช้พื้นที่ของกองทัพ จะเป็นอีก1ของขวัญปีใหม่ ของรัฐบาล และกระทรวงกลาโหม โดยในวันที่ 12 ม.ค. 2567 นายกรัฐมนตรีและ สุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะร่วมเปิดโครงการมอบพื้นที่ ทำกินให้กับประชาชนที่อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี นี้ซึ่งขณะนี้กำลังรสรุปผลการศึกษา ในความต้องการของประชาชนในแต่ละพื้นที่ซึ่งมีไม่เหมือนกัน  ในบางพื้นที่อาจต้องการ ทำเพียงแค่ระยะสั้น แต่ปริมาณมาก บางพื้นที่อาจต้องการมากกว่า 3 ปี  และปัญหาที่ดินทหารต่างๆ ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้จะนำมาหารือเพื่อสรุปเป็นหลักเกณฑ์ให้พี่น้องประชาชนใช้พื้นที่ของกองทัพ ที่ประเทศได้ประโยชน์สูงสุด และเป็นนโยบายกองทัพยุคใหม่ ของรัฐอย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้ ก่อนการเปิดโครงการในวันที่ 12 ม.ค.2567 </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">“โครงการ ปีใหม่ ทหารใหม่ โอกาสใหม่”</span></h2>
<p>ในวันอังคารที่ 26 ธ.ค. 2566  นี้ โดยในภูมิภาค ตามที่ แต่ละกองทัพกำหนด สำหรับ ส่วนกลางจะจัดขึ้นที่ ลานเอนกประสงค์ หน้าสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนศรีสมาน อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีตั้งแต่ 10.00-21.00 น. รายละเอียดการจัดงานนิทรรศการ ประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์ในการสมัครใจเข้าเป็นทหาร การออกร้านสินค้าราคาถูก ส่วนไฮไลต์สำคัญจะเริ่มช่วงเวลา 17.00 ไปถึง 21.00 น.  ซึ่งภายในงานดังกล่าว จะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ อีกมากมาย ได้แก่ การบริการทางการแพทย์ การแจกยาสามัญประจำบ้าน การบริการตัดผม การฝึกอาชีพขั้นพื้นฐาน การเปิดร้านค้าเพื่อส่งเสริมรายได้ การจำหน่ายสินค้าและอาหารราคาถูก การแสดงศิลปวัฒนธรรม  การแสดงและพูดคุยเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ของพลทหารกองประจำการ อาทิ ต้าห์อู๋ พิทยา แซ่ฉั่ว หนึ่งในสมาชิกวง LAZ1 และ ร้อยโท สมบัติ บัญชาเมฆ หรือ “บัวขาว บัญชาเมฆ” ยอดมวยไทยคนดังแห่งยุค รวมทั้งนิทรรศการแสดงผลงานของกองทัพ การแสดงดนตรีจากวงดุริยางค์จากกองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ทั้งนี้ ยังมีอีกหลายๆ กิจกรรมที่น่าสนใจภายในงานดังกล่าวที่จะมอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2567 ให้แก่ประชาชนอีกด้วยโดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้นำเหล่าทัพ จะร่วมเปิดงานช่วงเวลา 17.30 น. เป็นต้นไป</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107308
 
2917  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ‘บึงห้วยโจด’ เมื่อแหล่งน้ำธรรมชาติกลายเป็นบ่อบำบัดน้ำเสีย เมื่อ: 20 ธันวาคม 2566 23:08:08
‘บึงห้วยโจด’ เมื่อแหล่งน้ำธรรมชาติกลายเป็นบ่อบำบัดน้ำเสีย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-12-20 18:17</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ตติยา ตราชู รายงาน/ถ่ายภาพ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>บึงห้วยโจด ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสาธารณะกว่า 600 ไร่ ที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ในอดีตเคยเป็นแหล่งหาปลาของชาวบ้านและแหล่งน้ำสำหรับเพาะปลูก ได้กลายเป็นที่ทิ้งน้ำบำบัดจากโรงงาน ก่อนที่จะระบายลงแม่น้ำพองอีกทีหนึ่ง ในช่วงปี 2535-2541 เคยเกิดมลพิษน้ำเสียจนทำให้ปลาตาย หน่วยงานราชการต้องสั่งปิดโรงงานเพื่อให้แก้ไขหลายครั้งก่อนกลับมาเปิดโรงงานใหม่ และปัญหาคุณภาพน้ำกลายเป็นปัญหายืดเยื้อเรื้อรังในพื้นที่มาถึง 37 ปีแล้ว</li>
<li>ขณะเดียวกันบึงห้วยโจด ยังอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน ในขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเทศบาลตำบลกุดน้ำใส ไม่ใช่หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง</li>
<li>เมื่อเกิดปัญหาขึ้นเทศบาลตำบลกุดน้ำใสจึงทำได้เพียงเฝ้าระวัง และตรวจสอบอาคารสถานประกอบการให้เป็นไปตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังต้องเฝ้าระวังไม่ให้ดินตะกอนใต้บึงห้วยโจดที่มีปริมาณสารเคมีตกค้างปนเปื้อน ฟุ้งกระจายออกสู่ลำน้ำพอง จนก่อปัญหามลพิษทางน้ำ #ท้องถิ่นสร้างสื่อสอบ</li>
</ul>
</div>
<p>“คุณ (โรงงาน) โชคดีนะ ที่มาอยู่ตรงนี้ เพราะคุณมีบ่อพักน้ำเสียโดยธรรมชาติรองรับไว้แล้ว ก่อนที่จะลงแม่น้ำพอง…เพราะเขาเอา(น้ำเสีย) ไปใช้ในพื้นที่โปรเจ็กกรีน คือเอาธรรมชาติไปบำบัด” ภราดร ศรีโพธิ์ นายกสมาคมรักษ์สิ่งแวดล้อมลุ่มแม่น้ำพองเพื่อคุณภาพชีวิต กล่าวอย่างรวบยอดเพื่ออธิบายถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากโรงงานผลิตเยื่อกระดาษ ฟินิคซ์ ในจังหวัดขอนแก่น </p>
<p>ข้อความที่ฟังดูเหมือนการประชดประชันเช่นนี้บอกให้รู้ว่า บึงห้วยโจด ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสาธารณะตั้งอยู่ที่ ตำบล กุดน้ำใส อำเภอ น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ประมาณ 600 ไร่ ที่ในอดีตเคยเป็นแหล่งหาปลาของชาวบ้าน และแหล่งน้ำสำหรับเพาะปลูก ได้กลายเป็นที่ทิ้งน้ำจากระบบบำบัดของโรงงาน ก่อนที่จะระบายลงแม่น้ำพองอีกทีหนึ่ง จนกลายเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อเรื้อรังมานานนับถึงปัจจุบันนี้เป็นเวลาถึง 37 ปีแล้ว</p>
<p>โรงงานผลิตเยื่อกระดาษของบริษัทฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่บนพื้นที่ 1,065 ไร่ในเขตตำบาลกุดน้ำใส อำเภอน้ำพอง เริ่มก่อร่างสร้างตัวขึ้นในเขตอำเภอน้ำพองเมื่อปี 2518 ทำการก่อสร้างตัวโรงงานจนสามารถเดินเครื่องทำการผลิตได้ในปี 2525 แต่หลังจากนั้นอีกเพียง 4 ปี เริ่มพบปัญหาสิ่งแวดล้อมเมื่อแม่น้ำเกิดเน่าเสีย ส่งกลิ่นเหม็น สัตว์น้ำล้มตายเป็นเบือ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53409752156_ed8bcdb6b6_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">สาคร ประสา ชาวบ้านห้วยโจด</span></p>
<p>สาคร ประสา ชาวบ้านห้วยโจดเล่าว่าเมื่อครั้งชาวบ้านยังใช้น้ำจากบึงเพื่อทำนา คุณภาพน้ำยังพอหาปลาได้ จนเมื่อโรงงานปล่อยน้ำทิ้งที่บำบัดแล้วมาที่บึงห้วยโจด “น้ำมีกลิ่นแรง ซึ่งเขาได้รับอนุญาต มีเครื่องมือวัดค่าคุณภาพน้ำติดตั้งตรงสะพาน”</p>
<p>“พ่อแม่เคยหาปลาในบึงโจด เดี๋ยวนี้ไม่ทำแล้ว เพราะมีผักตบชวาเยอะกว่าเดิมและน้ำไม่ดี เกิดจากการทับถมของผักตบชวาและโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียลงมา” วรากร เสาศิริ ชาวบ้านบ้านห้วยโจดอีกคนหนึ่งเล่า</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53409752116_8637790d83_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">เครื่องวัดคุณภาพน้ำตั้งอยู่บริเวณริมบึงห้วยโจด แสดงค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) และปริมาณค่าออกซิเจนที่ละลายน้ำ (ตติยา ตราชู/ถ่ายภาพ)</span></p>
<h3><span style="color:#2980b9;">โรงงานที่ถูกปิดถึง 3 ครั้งยังอยู่ได้</span></h3>
<p>โรงงานผลิตเยื่อกระดาษของบริษัทฟินิคซ พัลพ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด น่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมบ่อยครั้งแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนับแต่เริ่มการผลิตเมื่อเกือบ 4 ทศวรรษก่อน</p>
<p>โรงงานแห่งนี้ถูกสั่งปิดครั้งแรกในเดือน เมษายน 2535 เนื่องจากขยายกำลังผลิตจนไม่สามารถบำบัดน้ำเสียได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ทำให้น้ำมีค่ามลพิษสูง ครั้งที่สองในเดือนพฤษภาคมปีถัดมาต้องหยุดการผลิตเพื่อปรับปรุงระบบน้ำเสียหลังจากที่ละเมิดการปล่อยน้ำเสียตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จนเป็นเหตุให้ปลาตายตั้งแต่บึงโจดจนถึงฝายชลประทานหนองหวายยาวถึง 15 กม.
ครั้งที่ 3 ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2541 - มกราคม 2542 ถูกสั่งปิดเนื่องจากตรวจพบความเสียหายทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปล่อยน้ำเสียซึ่งทำความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในกระชังอย่างมาก และที่สำคัญคือโปรเจ็กกรีน ซึ่งเป็นการใช้แปลงปลูกยูคาลิปตัสเป็นที่รองรับน้ำเสียจากโรงงาน ที่เคยใช้เป็นข้ออ้างว่าจะสามารถแก้ปัญหาน้ำเสียได้จนทางการยอมให้โรงงานฟินิคซขยายกำลังการผลิตเป็น 200,000 ตันต่อปี กลับสร้างปัญหาเสียเอง</p>
<p>ภราดร ศรีโพธิ์ นายกสมาคมรักษ์สิ่งแวดล้อมลุ่มแม่น้ำพองเพื่อคุณภาพชีวิต กล่าวว่าเหตุผลสำคัญที่สุดในการสั่งปิดโรงงานครั้งที่ 3 นั้นเนื่องมาจากโครงการโปรเจ็กกรีนซึ่งน่าจะเป็นตัวช่วยแก้ไขปัญหาแต่สุดท้ายน้ำจากโปรเจ็กกรีนนั่นเองได้ไหลซึมออกมาสู่ลำน้ำพองจนน้ำเสีย</p>
<p>แต่ใช่ว่าการสั่งปิดโรงงานถึง 3 ครั้งแล้วจะแก้ปัญหาได้ทั้งหมด เพราะหลังจากนั้นประชาชนในท้องถิ่นยังคงรวมตัวกันร้องเรียนต่อกระทรวงอุตสาหกรรมอีกบ่อยๆ เช่น ในปี 2544 ชาวบ้านจากอำเภอน้ำพองต้องเดินทางเข้าไปประท้วงที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเรียกร้องให้ทางการยกเลิกโครงการโปรเจ็กกรีนเสีย เพราะยังปรากฏว่ายังมีน้ำเสีย ส่งผลกระทบต่อการทำการเกษตร และปลาที่เลี้ยงในกระชังตาย ได้รับความเสียหาย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53409833481_4f4554700b_k.jpg" /></p>
<div class="summary-box">
<h3><span style="color:#2980b9;">ตำนานการปิดโรงงานฟินิคซ</span></h3>
<ul>
<li>27 เมษายน 2535 ศักดา อ้อพงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น มีคำสั่งปิดโรงงานเยื่อกระดาษฟินิคซ เป็นเวลา 60 วันอันเนื่องมาจากการขยายกำลังการผลิตให้ได้ถึง 100,000 ตันต่อปี ทำให้ระบบบำบัดน้ำเสียไม่สามารถรองรับได้ตามมาตรฐานที่กำหนด น้ำทิ้งมีปริมาณมากและมีความสกปรกสูง เป็นเหตุให้น้ำในบึงโจด ห้วยโจด และ แม่น้ำพองเน่าเสีย จนไม่สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้</li>
<li>29 พฤษภาคม 2535 ปลอดประสพ สุรัสวดี แจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทฟินิคซ ในข้อหาปล่อยวัตถุมีพิษลงในแหล่งจับสัตว์น้ำ และ ทำการเปลี่ยนแปลงที่จับสัตว์น้ำ ศาลมีคำพิพากษาในวันที่ 26 เมษายน 2536 สั่งปรับบริษัท 20,000 บาท แต่เนื่องจากรับสารภาพจึงลดให้กึ่งหนึ่งเหลือ 10,000 บาท</li>
<li>24 พฤษภาคม 2536 ปิดโรงงานฟินิคซอีกเป็นเวลา 30 วัน เพื่อให้ปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เคยให้ไว้ หลังจากประชาชนในท้องถิ่นพบปลาตายในแม่น้ำพองตั้งแต่บึงโจดลงไปจนถึงหน้าฝายชลประทานหนองหวาย เป็นระยะทางยาวถึง 15 กิโลเมตร น้ำในแม่น้ำเน่าเสีย ขุ่น มีตะกอนขุ่นขาว เฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหน้าฝายพบว่ามีปลาตายเป็นจำนวนมากถึง 3 ตัน</li>
<li>24 มิถุนายน 2536 กรมโรงงานอุตสาหกรรม อนุญาตให้เปิดโรงงานฟินิคซอีกครั้ง ภายใต้เงื่อนไขให้นำน้ำทิ้ง 25 เปอร์เซ็นต์มาใช้ในการเกษตรด้วยการนำไปรดต้นยูคาลิปตัส เพื่อลดปริมาณน้ำทิ้งลงในห้วยโจด</li>
<li>27 กรกฎาคม 2541 กรมโรงงานอุตสาหกรรม สั่งปิดโรงงานฟินิคซ (โรงที่ 1) อีกครั้งหนึ่งเป็นเวลา 180 วัน หลังจากพบว่า ปลาที่เลี้ยงในกระชังตายเป็นจำนวนมาก สร้างความเสียหายให้เกษตรกรคิดเป็นมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท เพราะสาเหตุสำคัญคือ น้ำเสียจากโครงการซึมลงแม่น้ำพอง มีน้ำเสียจากบ่อเก็บกากของเสียไม้ไผ่ และปรากฏว่ามียาฆ่าแมลงที่ใช้กับกองวัตถุดิบถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ</li>
<li>29 กรกฎาคม 2541 บริษัทฟินิคซปิดโรงงานแห่งที่สอง หยุดรับซื้อไม้จากเกษตรกรเพื่อเป็นการตอบโต้คำสั่งปิดโรงงานแห่งแรก</li>
<li>31 สิงหาคม 2541 กรมโรงงานอุตสาหกรรมยอมให้โรงงานฟินิคซ เปิดดำเนินการอีกครั้ง</li>
</ul>
</div>
<p>ผู้บริหารบริษัท ฟินิคซ ได้ยืนยันต่อสาธารณะเรื่อยมาว่า โรงงานของบริษัทในจังหวัดขอนแก่น หยุดปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำธรรมชาติตั้งแต่ ปี 2540 คุณภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลงไป หรือ แม้แต่ปลาที่เลี้ยงในกระชังตายไม่เกี่ยวข้องกับทางโรงงาน</p>
<p>ส่วนภาครัฐนั้น มีรายงานข่าวว่า ได้เข้าตรวจสอบติดตามการดำเนินงานของบริษัทตามกำหนดระยะเวลา เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10 (ขอนแก่น) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment--EIA) โครงการโรงงานผลิตเยื่อกระดาษของบริษัทฟินิคซโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการรับฟังการบรรยายและเข้าตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการในพื้นที่การผลิตเยื่อกระดาษ โรงไฟฟ้า และระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงาน</p>
<p>ทุกครั้งที่มีการตรวจสอบเจ้าหน้าที่จะต้องแจ้งให้โรงงานฯปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งตรวจสอบการปนเปื้อนโลหะหนักที่พบในบึงโจดมีความเกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตของโรงงานหรือไม่ เฝ้าระวังป้องกันการเกิดอุบัติเหตุสารเคมีรั่วไหล และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องกลิ่นที่อาจเป็นเหตุรำคาญให้กับประชาชนโดยรอบอย่างต่อเนื่อง  โดยคำนึงถึงการดำรงอยู่ร่วมกับราษฎรรอบโรงงานให้เกิดความยั่งยืนต่อไป</p>
<p>จากข้อมูลคุณภาพน้ำลุ่มน้ำชีตอนบนของสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 10 กรมควบคุมมลพิษ เมื่อเดือนมกราคม 2566 พบว่า คุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดิน (WQI) ของพื้นที่บริเวณบึงโจด จากสถานีวัดคุณภาพน้ำ 3 แห่งใน ต.กุดน้ำใส อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น มีแนวโน้มเปลี่ยนจากเกณฑ์พอใช้ (61-70) ไปเป็นเสื่อมโทรม (31-60)</p>
<p>น้ำในบึงโจด ห้วยโจด มีค่านำไฟฟ้าค่อนข้างสูง ค่าความเค็มค่อนข้างสูง เพราะรองรับน้ำทิ้งปริมาณมากจากการประกอบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในพื้นที่ ทำให้น้ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ และควรใช้ทำการเกษตร (โดยทั่วไป) อย่างระมัดระวัง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53381606673_a2906f21ed_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ตารางแสดงค่าคุณภาพน้ำผิวดิน สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 10
ที่มา: สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษภาค 10 ขอนแก่น</span></p>
<p><span style="color:#e67e22;"> </span></p>
<h3><span style="color:#2980b9;">กลิ่นของปัญหาในปัจจุบัน</span></h3>
<p>สมพร เสาศิริ ชาวบ้านบ้านห้วยโจด กล่าวว่าระบบปัจจุบันมีการส่งน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วให้ชาวบ้านใช้ผ่านระบบท่อ แม้ว่าจะข้อดีอีกอย่างคือทำให้บริษัทยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปได้และประชาชนในท้องถิ่นมีงานทำ แต่ข้อเสียคือมันทำลายระบบนิเวศจากการปล่อยน้ำเสียที่ไม่สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้ แถมคุณภาพอากาศก็แย่ลงเพราะมีกลิ่นเหม็น โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายน ลมพัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ขึ้นมาทางทิศเหนือที่เป็นที่ตั้งหมู่บ้านห้วยโจด</p>
<p>อย่างไรก็ตาม น้ำทิ้งนั้นก็ยังคงปนเปื้อนด้วยสารพิษที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพและธรรมชาติ ภราดร นายกสมาคมรักษ์สิ่งแวดล้อมลุ่มแม่น้ำพอง ยกตัวอย่างสารเคมีในตัวอย่างน้ำ เช่น แคดเมียม โครเมียม ปรอท นิกเกิล และสังกะสี ฯลฯ ส่งผลกระทบทำให้สิ่งมีชีวิตเป็นโรคมะเร็ง โรคฉี่หนู โรคง่อยเปลี้ยเพลียแรง และโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ดังที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53408830752_4bcc05b4f9_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">โรงงานตั้งอยู่ติดกับหมู่บ้าน 4 หมู่ ในเทศบาลตำบลกุดน้ำใส อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น</span></p>
<p>ฉลวย พริศักดิ์ ชาวบ้านในพื้นที่เล่าว่า นาน ๆ ทีกลิ่นเหม็นจากโรงงานจะมีมา โดยเฉพาะเมื่อความกดอากาศสูงหรือช่วงฤดูฝนที่อากาศไม่ถ่ายเท แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็เคยชินกับสภาพแบบนี้ไปแล้ว  เขายังเสริมอีกว่า อยากพัฒนาบึงโจดให้มากขึ้นกว่าเดิม ทำเป็นสวนสาธารณะ ให้ชาวบ้านหรือผู้อาศัยอยู่รอบ ๆ ไปใช้ประโยชน์ เพิ่มแสงสว่างทำเป็นลู่วิ่งให้ออกกำลังกาย คงจะดีกว่านี้ เพราะตอนนี้ทางกรมชลประทานซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบแหล่งน้ำธรรมชาติโดยตรง ก็เริ่มขุดลอกตะกอนกากของเสีย เพราะเกิดน้ำเน่าเสียซ้ำซากทุกปี แต่ในอนาคตไม่รู้เขาจะทำเป็นอะไร ทราบเพียงปัจจุบันเริ่มทำคล้ายเขื่อนกั้นกักน้ำไว้ และโรงงานออกมาพูดคุยกับชาวบ้านบ่อยกว่าเทศบาลด้วยซ้ำ</p>
<p>“เท่าที่เขามาประชาสัมพันธ์พบปะชุมชน โรงงานเขาก็ปรับปรุง มีโครงการดูดซับกลิ่นก่อนปล่อยออกมา มีการซักถามเพื่อนำไปปรับปรุง มีไลน์กลุ่มชาวบ้านรอบโรงงานที่สามารถเข้าไปร้องเรียนได้ว่าพบเจอปัญหาอะไร” ฉลวยกล่าว</p>
<h3><span style="color:#2980b9;">ทางออกของบึงห้วยโจด</span></h3>
<p>บึงโจดเป็นพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานชลประทานที่ 6 กรมชลประทาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ใช่หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เมื่อเกิดปัญหาขึ้น หน่วยงานในท้องถิ่นอย่างเทศบาลตำบลกุดน้ำใสจึงทำได้เพียงเฝ้าระวัง และมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบอาคารสถานประกอบการให้เป็นไปตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม อย่างเช่น โครงการขุดลอกบึงโจดนั้นทางเทศบาลมีกรรมการควบคุม ดูแล และเฝ้าระวังการฟุ้งกระจายของตะกอนใต้น้ำที่อาจไหลลงลำน้ำพอง และดินที่ขุดจากบึงโจดซึ่งมีสารตกค้างปนเปื้อน จะอยู่ในบึงโจด ห้ามเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ โดยแผนจะนำเอามาทำถนน ขยายถนนเส้นทางเข้าบึงโจด ทำลายพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมของชาวบ้าน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53410194485_978b0d21e0_k.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">สภาพน้ำในบึงห้วยโจดมีลักษณะเป็นสีดำ มีฟองสีน้ำตาลลอยอยู่ผิวน้ำ</span></p>
<p>“ผมเคยอยู่ในแวดวงอุตสาหกรรม โรงงานเหล่านั้นมีการกำจัดกากของเสียเหล่านั้น (โลหะหนักต่างๆ) อย่างดี เขามีความรับผิดชอบ อันนี้ปล่อยลงน้ำเฉยเลย” ภราดร โพธิ์ศรีกล่าวถึงความคาดหวังที่จะเห็นการแก้ไขอย่างจริงจัง</p>
<p>เช่นเดียวกันกับ ฉลวย พิรศักดิ์ที่ได้คาดหวังทิ้งท้ายว่าต้องการให้ทางโรงงานและทางการรับฟังชาวบ้านว่าต้องการอะไร มีอะไรให้ปรับปรุงบ้าง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53381606813_4243ce45b4_k.jpg" /></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107309
 
2918  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - ลูกสาวทำการบ้านในห้อง จู่ ๆ ร้องโหยหวน แม่แอบดูเห็นสภาพแล้วอึ้ง ครูช่วยไขปริศน เมื่อ: 20 ธันวาคม 2566 22:17:06
ลูกสาวทำการบ้านในห้อง จู่ ๆ ร้องโหยหวน แม่แอบดูเห็นสภาพแล้วอึ้ง ครูช่วยไขปริศนา
         


ลูกสาวทำการบ้านในห้อง จู่ ๆ ร้องโหยหวน แม่แอบดูเห็นสภาพแล้วอึ้ง ครูช่วยไขปริศนา" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;คุณแม่แอบดูด้วยความสงสัย ทุกครั้งที่ลูกสาวทำการบ้าน จะได้ยินเสียงกรีดร้องโหยหวน เห็นสภาพแล้วอึ้ง สุดท้ายปริศนานี้ไขกระจ่างโดยคุณครูประจำชั้น
         

https://www.sanook.com/news/9149602/
         
2919  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ศาล รธน.ไม่รับคำร้องของกลุ่มปกป้องสถาบันฯ ‘ปดิพัทธ์’ ละเมิด รธน. กรณีโพสต์รูปก เมื่อ: 20 ธันวาคม 2566 21:36:07
ศาล รธน.ไม่รับคำร้องของกลุ่มปกป้องสถาบันฯ  ‘ปดิพัทธ์’ ละเมิด รธน. กรณีโพสต์รูปกระป๋องเบียร์
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-12-20 18:20</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้องของแกนนำกลุ่มประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบันกรณีร้องขอศาลวินิจฉัยว่า “ปดิพัทธ์” โพสต์คู่กระป๋องเบียร์ท้องถิ่นของพิษณุโลกเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญ</p>
<p>20 ธ.ค.2566 เพจของศาลรัฐธรรมนูญเผยแพร่คำวินิจฉัยคำร้องที่ทรงชัย เนียมหอม เป็นผู้ร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213 ว่า ปดิพัทธ์ สันติภาดา สส.จังหวัดพิษณุโลก และรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 (ผู้ถูกร้อง) ละเมิดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 4 มาตรา 25 วรรคสามและวรรคสี่ มาตรา 27 และมาตรา 50 (3) กรณีเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงกระทําการอันเป็นการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยใช้สิทธิพิเศษของตนเอง เป็นการกระทําฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา 3 และมาตรา 32</p>
<p>ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคําร้องและเอกสารประกอบคําร้อง ไม่ปรากฏว่า ผู้ร้องถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพและได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพโดยตรงจากการกระทําของผู้ถูกร้องอย่างไร กรณีไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาล รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 46 วรรคหนึ่งและวรรคสอง ซึ่งมาตรา 46 วรรคสาม บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่ง ไม่รับคําร้องไว้พิจารณา ดังนั้น ผู้ร้องไม่อาจยื่นคําร้องดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 213  จึงมีมติเป็นเอกฉันท์สั่งไม่รับคําร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย</p>
<p>ทรงชัย เนียมหอม แกนนำกลุ่มประชาภักดิ์พิทักษ์สถาบัน และแน่งน้อย อัศวกิตติกร ประธานกลุ่มศูนย์ช่วยเหลือด้านกฎหมายผู้ถูกล่วงละเมิด Bully ทางสังคมออนไลน์(ศชอ.) เข้ายื่นคำร้องต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อ 6 ธ.ค.2566 ขอให้วินิจฉัยกรณีปดิพัทธ์โพสต์ข้อความพร้อมกระป๋องเบียร์คราฟต์ท้องถิ่น จ.พิษณุโลก เป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 32 พ.ร.บ.ควบคุมแอลกอฮอล์ และเขาให้เหตุผลว่าปดิพัทธ์ซึ่งเป็นรองประธานสภาทำผิดเสียงเองและทำตัวอยู่เหนือกฎหมายไม่เกรงกลัวความผิด แม้จะมีการปรับเงินตามที่กฎหมายกำหนดแล้วก็ตาม</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107310
 
2920  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (3) อิสระ-ปลอดจากการคุกคามแทรกแซง หัวใจหลัก 'วา เมื่อ: 20 ธันวาคม 2566 21:36:06
‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (3) อิสระ-ปลอดจากการคุกคามแทรกแซง หัวใจหลัก 'วารสารศาสตร์สันติภาพ'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-12-20 18:44</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล : รายงาน</p>
<p>กิตติยา อรอินทร์ : ภาพปก</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>‘รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การรายงานข่าวการประท้วง: บทบาทของสื่อมวลชนไทยในการชุมนุมและความรุนแรงทางการเมือง’ พรรษาสิริ กุหลาบ จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดินทางมาถึงบทสรุป ซึ่งแสดงให้เห็นอาการเหวี่ยงไหวด้านจุดยืนทางการเมืองของสื่อไทย</p>
<p>รวมถึงปัจจัยที่ทำให้สื่อสามารถช่วยลดหรือเพิ่มเงื่อนไขความรุนแรง ซึ่งข้อค้นพบหนึ่งที่น่าสนใจก็คือฉันทามติของชนชั้นนำต่อข้อเรียกร้องของการชุมนุม เพราะหากชนชั้นนำเห็นพ้องในแนวทางเดียวกัน สื่อก็จะมีเสรีภาพเปิดกว้างในการนำเสนอข่าวต่อให้ข้อเรียกร้องนั้นจะขัดกับระบอบประชาธิปไตย</p>
<p>ในทางกลับกัน หากชนชั้นนำไม่เห็นพ้องกับข้อเรียกร้อง สื่อก็มักนำเสนอข่าวสอดคล้องกับชนชั้นนำ ละเลยความต้องการของผู้ชุมนุม เลือกนำเสนอประเด็นที่ปลอดภัยจากแรงกดดันจากชนชั้นนำ รัฐ และกลุ่มทุน ซึ่งเป็นการเพิ่มเงื่อนไขให้แก่การใช้ความรุนแรง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/49756476126_3eaf7c998f_b.jpg" /></p>
<div>
<div class="more-story">
<ul>
<li>‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (1) สื่อมองการชุมนุมอย่างไร การรายงานข่าวก็เป็นแบบนั้น</li>
<li>‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (2) มุ่งรายงาน 'กรอบสันติภาพ-ขัดแย้ง' หรือ 'กรอบการสู้รบ-รุนแรง' </li>
<li>‘สื่อและความรุนแรงทางการเมือง’ (3) อิสระ-ปลอดจากการคุกคามแทรกแซง หัวใจหลัก 'วารสารศาสตร์สันติภาพ'</li>
</ul>
</div>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">พฤษภา 35, พันธมิตรฯ, กปปส. สื่อกระแสหลักต้านความรุนแรง เพิ่มอำนาจผู้ชุมนุม</span></h2>
<p>หากจะสรุปแนวทางการรายงานของการชุมนุมทางการเมืองของสื่อนับตั้งแต่เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 ถึงการชุมนุมของเยาวชนนักศึกษาในปี 2562-2563 ย่อมเห็นได้ว่ามีทั้งแนวทางการรายงานข่าวที่สร้างความชอบธรรมให้กับการใช้ความรุนแรงและแนวทางการรายงานข่าวที่ลดเงื่อนไขในการใช้ความรุนแรง</p>
<p>สิ่งที่เห็นชัดเจนคือในช่วงการชุมนุมพฤษภาประชาธรรมปี 2535 การชุมนุมที่นำโดยกลุ่มพันธมิตรฯ ระหว่างปี 2549-2551 และกลุ่ม กปปส. ในช่วงปี 2556-2557 ที่สื่อมวลชนมักนำเสนอภาพตัวแทนเชิงบวกเกี่ยวกับกิจกรรมการประท้วงและการปราศรัย องค์กรวิชาชีพยังประกาศจุดยืน ‘ต่อสู้กับรัฐบาลเผด็จการ-อยู่ข้างประชาชน’ อีกทั้งการชุมนุม 2 ครั้งหลังยังมีองค์กรสื่อที่มีสายสัมพันธ์กับผู้จัดการชุมนุมและช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ชุมนุมที่ทำหน้าที่สื่อสารประเด็นต่างๆ จากพื้นที่การชุมนุมโดยไม่เผชิญการปิดกั้นจากรัฐบาลมากนัก และเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ชุมนุมและคุกคามสื่อมวลชน กองบรรณาธิการและองค์กรวิชาชีพก็แสดงจุดยืนว่าความรุนแรงโดยรัฐเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ผ่านแถลงการณ์และกรอบการรายงาน</p>
<p>กล่าวได้ว่าสื่อมวลชนกระแสหลักสร้างอำนาจต่อรองให้ผู้ชุมนุมและลดความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐผลการศึกษายังพบว่าในระหว่างการชุมนุมที่นำโดยกลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่ม กปปส. เจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่ไม่มีท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์ต่อผู้ชุมนุมและสื่อมวลชน</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/3696/11287868535_03fab25811_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพ สุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่ม กปปส.</span></p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>'นิค นอสติทซ์' หวิดโดนการ์ด กปปส.รวบ หน้าศาล รธน.</li>
<li>บันทึกของนิค นอสติทซ์ 'เหตุปะทะด้วยอาวุธปืนที่หลักสี่'</li>
<li>
<p>2 นักข่าวเยอรมันให้การกรณีแท็กซี่ถูกยิงที่ราชปรารภ ยันกระสุนมาจากฝั่งทหาร</p>
</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">นปช. และการชุมนุมของเยาวชน สื่อเลือกความเป็นกลาง ลดทอนอำนาจผู้ชุมนุม</span></h2>
<p>ขณะที่การชุมนุมของกลุ่ม นปช. และการเรียกร้องประชาธิปไตยที่นำโดยเยาวชนในช่วงปี 2563-2564 สื่อกลับแสดงจุดยืนว่าต้อง ‘เป็นกลาง’ ในการรายงานข่าว เพราะเป็นประเด็นที่สังคมยังถกเถียงและประชาชนจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม และให้เหตุผลว่าสื่อมวลชนต้องเป็นพื้นที่ให้สังคมได้ฟังเสียงจากทุกฝ่าย</p>
<p>และเมื่อเกิดการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่หรือมวลชนฝ่ายตรงข้ามและการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่รัฐด้วยอาวุธจนทำให้สื่อมวลชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในการชุมนุม 2 ครั้งนี้ สื่อและองค์กรวิชาชีพก็แสดงท่าทีต่างออกไปว่าการชุมนุมต้องไม่เกิดความรุนแรงไม่ว่าจากฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐหรือผู้ชุมนุม เหตุนี้สื่อกระแสหลักจึงมุ่งรายงานเหตุปะทะ แต่มักขาดการตรวจสอบว่าปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐตั้งอยู่บนฐานคิดเรื่องการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและหลักการสากลในการจัดการกับการชุมนุมหรือไม่แนวทางการรายงานเช่นนี้จึงมีแนวโน้มลดทอนอำนาจต่อรองของผู้ชุมนุมในฐานะผู้แสดงทางการเมืองและชี้ให้เห็นความจำเป็นในการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐ</p>
<p>ทว่า อีกด้านหนึ่งก็มีองค์กรสื่อและผู้ผลิตสื่อเกิดใหม่ที่พยายามเสนอเนื้อหาเชิงวิพากษ์กระแสสังคม โดยเฉพาะสื่อออนไลน์และสื่อพลเมืองทั้งทางช่องทางดั้งเดิมและสื่อสังคมออนไลน์ โดยสื่อสารประเด็นที่เกี่ยวกับข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมและตั้งคำถามต่อการใช้ความรุนแรงโดยรัฐซึ่งช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองของผู้ชุมนุม แต่ก็มักเผชิญการปิดกั้นจากรัฐบาล</p>
<p>ข้อสังเกตอีกประเด็นหนึ่งเกี่ยวกับการรายงานในช่วงการชุมนุมของกลุ่ม นปช. และการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยในช่วงปี 2563-2564 คือจำนวนสื่อมวลชนที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการใช้ความรุนแรงโดยรัฐหรือในเหตุปะทะที่มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้องมีมากกว่าช่วงการชุมนุมที่นำโดยกลุ่มพันธมิตรฯ และ กปปส. แต่ผู้ให้ข้อมูลที่มีประสบการณ์ทำงานข่าวมานานระบุว่าเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้เนื่องจากถูกตอบโต้โดยผู้ชุมนุม ขณะที่คนทำงานรุ่นใหม่ โดยเฉพาะช่างภาพข่าว ไม่มีประสบการณ์ในการรายงานการชุมนุมและไม่มีอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการสังเกตการณ์จากระยะไกลเพื่อเลี่ยงการเข้าพื้นที่ปะทะการดำเนินงานที่แตกต่างกันของสื่อมวลชนในการรายงานการชุมนุมที่เป็นกรณีศึกษา นำไปสู่การสังเคราะห์เป็นแนวทางการรายงานที่สร้างความชอบธรรมให้กับการใช้ความรุนแรง และลดเงื่อนไขการใช้ความรุนแรง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50616492556_c846238fff_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพการชุมนุมที่ด้านหน้าอาคารรัฐสภา 17 พ.ย.2563</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สื่อกับจุดยืนประชาธิปไตยที่เหวี่ยงไหวไปมา</span></h2>
<p>จะเห็นได้ว่าการศึกษาการชุมนุมทั้ง 5 ครั้ง จุดยืนของสื่อต่อข้อเรียกร้องของการชุมนุมแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา ซึ่งมีผลต่อแนวทางการรายงานข่าว โดยการชุมนุมเดือนพฤษภาคม 2535, การชุมนุมของพันธมิตรฯ ปี 2549-2551 และการชุมนุมของ กปปส. ในช่วงปี 2556-2557 สื่อกระแสหลักมุ่งเน้นการรายงานที่เพิ่มอำนาจต่อรองให้แก่ผู้ชุมนุมและพยายามลดเงื่อนไขความรุนแรง แม้ว่าจุดมุ่งหมายทางอุดมการณ์ประชาธิปไตยของการชุมนุมครั้งแรกกับสองครั้งหลังจะแตกต่างกัน</p>
<p>ส่วนการชุมนุมของ นปช. และการเรียกร้องประชาธิปไตยที่นำโดยเยาวชนในช่วงปี 2563-2564 สื่อกลับใช้ข้ออ้าง ‘ความเป็นกลาง’ ในการรายงานข่าวโดยมุ่งไปที่ปรากฏการณ์เบื้องหน้าที่เห็นได้ชัด เช่น การปะทะคารม การใช้กำลังโต้ตอบ หรือความวุ่นวายต่างๆ แต่ละเลยที่มาที่ไปของการชุมนุม ข้อเรียกร้อง ปมความขัดแย้ง หรือการนำเสนอข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน ทำให้การรายงานข่าวการชุมนุมทั้งสองครั้งนี้ส่งผลให้เกิดการสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้ความรุนแรงและลดอำนาจต่อรองของผู้ชุมนุม</p>
<p>พรรษาสิริอ้างอิงงานศึกษาจากต่างประเทศเรื่อง ‘กระบวนทัศน์การประท้วง (Protest Paradigm)’ ที่ McLeod (2007) เสนอไว้ รวมถึงข้อค้นพบของ Gitlin (1980) Murdock (1981) Cottle (2006) และ Lewis และคณะ (2011) ว่า</p>
<p>“วิธีคิดในการทำงานข่าวที่เน้นภาพความหวือหวา ตื่นตาตื่นใจ และความขัดแย้งระดับปัจเจก เพื่อให้สามารถผลิตเนื้อหาที่แข่งขันกับองค์กรอื่นๆ ได้และไม่ตกกระแส รวมถึงการอ้างหลักความเป็นภววิสัย (objectivity) ที่ต้องให้พื้นที่ต่อ ‘ทั้งสองฝ่ายเท่าๆ กัน’ โดยไม่พิจารณาความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่สมดุลระหว่างรัฐกับประชาชน แนวทางเช่นนี้ทำให้การรายงานข่าวไม่สามารถอธิบายความซับซ้อนของความขัดแย้งได้ อีกทั้งยังหนุนเสริมให้มีการใช้ความรุนแรงทั้งจากฝั่งผู้ชุมนุมเนื่องจากเห็นว่าการรวมกลุ่มกันยังไม่สามารถทำให้บรรลุข้อเรียกร้องได้และสร้างความชอบธรรมให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้กำลังเข้าจัดการกับผู้ชุมนุม”</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>ภูมิทัศน์สื่อไทยมีผู้เล่นมากขึ้น จากความนิยม-เข้าถึงดิจิทัล เพิ่มโอกาสช่วงการเมืองเดือด-กระจายอำนาจ</li>
<li>สื่ออิสระไทยเจอปัญหาอะไรในปี 2565 [คลิป]</li>
<li>ภูมิทัศน์สื่อไทยในวิกฤติการเมือง EP.1: โฉมหน้าที่เปลี่ยนไปในสนามข่าวสาร</li>
<li>ภูมิทัศน์สื่อไทยในวิกฤติการเมือง EP.2: ความอยู่รอดของอุตสาหกรรมสื่อไทย</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">ปัจเจกและองค์กรวิธีคิดต่อการชุมนุม-รายได้ส่งผลต่อการรายงานข่าว</span></h2>
<p>ทั้งนี้พรรษาสิริสรุปอีกครั้งถึงปัจจัยที่มีผลต่อการรายงานข่าวการชุมนุมทางการเมืองของสื่อโดยแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ระดับคือระดับปัจเจก การรับรู้และความเข้าใจเรื่องความขัดแย้งและความรุนแรง เธอพบว่าสื่อที่มีประสบการณ์รายงานข่าวการเมืองและมีคลังแหล่งข่าวที่มีอิทธิพลทางการเมืองมักให้น้ำหนักกับการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ในการเคลื่อนไหวและปฏิกิริยาของผู้แสดงทางการเมืองเหล่านี้ เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรในการรายงานข่าวการเมือง นอกจากนี้ยังสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะภาครัฐ ผ่านเครือข่ายแหล่งข่าวของตนเองและกองบรรณาธิการเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์สถานการณ์และวางแผนงานข่าว</p>
<p>ขณะที่ผู้เคยเป็นนักกิจกรรมที่มีความสนใจหรือเคยทำงานด้านสิทธิมนุษยชนจะมีเครือข่ายแหล่งข่าวภาคประชาสังคมหรือเน้นการผลิตรายงานเชิงลึก มักให้ความสำคัญต่อเรื่องราวของผู้ชุมนุมเพื่อถ่ายทอดปัญหาและความต้องการของประชาชน ทั้งยังนำหลักการประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพมาพิจารณาควบคู่กับวิธีการเคลื่อนไหวและข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม รวมถึงแนวทางการรับมือกับการชุมนุมของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐ</p>
<p>ประการที่ 2 คือระดับองค์กร ความเป็นเจ้าของ โครงสร้าง นโยบาย ลักษณะการดำเนินงาน และวัฒนธรรมองค์กร องค์กรสื่อที่เน้นนำเสนอเนื้อหาประเภทข่าวสารสาระและมีจำนวนบุคลากรมากพอที่จะแบ่งกองบรรณาธิการออกเป็นโต๊ะข่าวต่างๆ ได้มักเป็นองค์กรขนาดใหญ่และใช้ช่องทางสื่อดั้งเดิมมาก่อน มีการวางแผนงานข่าวเพื่อให้สามารถรายงานสถานการณ์การชุมนุมและปฏิกิริยาจากผู้แสดงทางการเมืองฝ่ายต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยมอบหมายให้มีผู้สื่อข่าวสายการเมืองไปประจำตามจุดสำคัญๆ จัดสรรให้ผู้ปฏิบัติงานจากฝ่ายอื่นๆ ไปหมุนเวียนกันรายงานจากพื้นที่การชุมนุม จึงทำให้สื่อกระแสหลักสามารถรายงานเหตุการณ์ได้รวดเร็ว โดยเฉพาะก่อนที่สื่อออนไลน์จะเป็นที่นิยม และสามารถรายงานเหตุการณ์จากหลายจุด พร้อมกับเสนอทรรศนะจากหลายฝ่ายได้โดยตรงโดยเฉพาะแหล่งข่าวระดับสูง</p>
<p>ขณะที่องค์กรสื่อขนาดกลางและเล็กที่มีทรัพยากรไม่มากมักติดตามสถานการณ์จากสื่อขนาดใหญ่และทางสื่อสังคมออนไลน์ แล้วไปเลือกเน้นประเด็นที่แตกต่างหรือไม่ได้รับความสนใจจากสื่อกระแสหลัก เช่น การชุมนุมขนาดย่อม เรื่องราวของผู้ชุมนุมที่ไม่ใช่แกนนำ ประเด็นต่อยอดจากการปราศรัยหรือพูดคุยในพื้นที่ชุมนุม เป็นต้น ปัจจัยนี้ทำให้องค์กรขนาดเล็กมีความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการรายงาน สามารถนำเสนอแง่มุมที่ช่วยขยายความเกี่ยวกับการชุมนุมและผู้ชุมนุม รวมถึงบางครั้งก็เป็นผู้เปิดประเด็นจนทำให้สื่อกระแสหลักต้องมารายงานตาม พรรษาสิริ กล่าวว่า</p>
<p>“องค์กรสื่อที่ดำเนินงานเชิงพาณิชย์ต้องคำนึงถึงการหารายได้ควบคู่กับการหลีกเลี่ยงการแทรกแซงจากภาครัฐหรือกลุ่มทุนมุ่งเพื่อรักษาความมั่นคงของธุรกิจ ดังนั้นจึงมักเลือกไม่นำเสนอเนื้อหาหรือลงทุนกับการรายงานที่ตั้งคำถามหรือตรวจสอบภาครัฐหรือกลุ่มทุนที่อาจทำให้เกิดการลดหรือยกเลิกการซื้อพื้นที่สื่อ ฟ้องร้อง หรือสร้างแรงกดดันในรูปแบบอื่นๆ ได้ แล้วถ้ารายงานประเด็นที่ท้าทายหรือถูกมองว่าเบี่ยงเบนไปจากค่านิยมหลักในสังคม เช่นข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ของผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย ก็ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์หรือการโต้กลับจากสาธารณะ และส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรซึ่งจะมีผลต่อการหารายได้จากโฆษณาต่อไป</p>
<p>“ส่วนองค์กรสื่อบริการสาธารณะและองค์กรที่ไม่แสวงกำไรก็เผชิญกับการแทรกแซงจากรัฐบาลและแรงกดดันทางสังคมที่สั่นคลอนความมั่นคงขององค์กรและความเป็นอิสระของกองบรรณาธิการด้วยเหตุผลเดียวกัน แต่ด้วยหลักการทำงานที่เน้นตอบสนองประโยชน์สาธารณะและไม่ต้องมุ่งสร้างกำไรก็ทำให้องค์กรสื่อประเภทนี้จำเป็นต้องแสดงบทบาทในการตรวจสอบ ตั้งคำถาม และส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากกว่าองค์กรสื่อเชิงพาณิชย์”</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50494024686_c8c1177d6a_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพการทำงานของสื่อ ในภาพเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2563 ที่ชั้น 5 อาคารไทยซัมมิททาวเวอร์ ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า แถลงข่าวความเห็นต่อการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และการดำเนินคดีกรณีขบวนเสด็จ ในเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร 2563 เมื่อวันที่ 14 ต.ค.2563  ทีมสื่อคณะก้าวหน้า </span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เมื่ออุตสาหกรรมสื่อทถูกขับเคลื่อนด้วยความไว ปริมาณ และกลุ่มเป้าหมาย</span></h2>
<p>ระดับต่อมาคือระดับอุตสาหกรรมสื่อ เมื่อการแข่งขันในอุตสาหกรรมสื่อถูกขับเคลื่อนด้วยความรวดเร็วในการนำเสนอเนื้อหามาตั้งแต่ยุคช่องทางสื่อดั้งเดิม พอถึงยุคดิจิทัล นอกจากไวแล้ว ยังต้องเน้นปริมาณมาก และสามารถดึงดูดความสนใจของผู้รับสารเพื่อเพิ่มยอดการเข้าถึงและการปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาเพื่อสร้างรายได้ จุดนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้สื่อให้ความสำคัญของการรายงานที่เน้นความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ การปะทะคารม การใช้กำลังตอบโต้ระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่รัฐหรือฝ่ายที่เห็นต่าง เพราะมีองค์ประกอบข่าวด้านความรวดเร็ว ความขัดแย้ง และความเร้าอารมณ์ แล้วลดการรายงานเชิงลึกที่ต้องลงทุนมาก มีความเสี่ยงสูง และไม่รับประกันว่าจะสร้างยอดการเข้าถึงและรายได้ โดยเฉพาะกับข้อเรียกร้องที่สวนกระแสความสนใจและค่านิยมของสังคม สื่อก็อาจเลือกไม่รายงานหรือนำเสนออย่างผิวเผิน</p>
<p>เว้นเสียแต่ว่าประเด็นที่ผู้ชุมนุมสื่อสารเป็นเรื่องที่สังคมหรือกลุ่มผู้รับสารเป้าหมายขององค์กรสื่อให้ความสนใจ แม้จะเป็นเรื่องที่ยังเป็นที่ถกเถียงและอาจเกิดกระแสโต้กลับ แต่กองบรรณาธิการก็สามารถยืนยันเหตุผลในการนำเสนอประเด็นและผลิตรายงานเชิงลึกได้ เพราะหากเพิกเฉยก็ตกกระแสและไม่สามารถแข่งขันกับสื่อเจ้าอื่นหรือไม่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้รับสารเป้าหมายที่ต้องพึ่งพาเพื่อให้มียอดการเข้าถึงเนื้อหา</p>
<p>“อาจกล่าวได้ว่า กระแสสังคมและความต้องการของผู้บริโภคเป็นปัจจัยหนึ่งที่กำหนดให้สื่อมวลชนรายงานหรือไม่รายงานประเด็นใด ซึ่งกรณีนี้เชื่อมโยงกับระดับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพสื่อ</p>
<p>“แต่การตอบสนองความสนใจของกลุ่มผู้รับสารเป้าหมายในยุคดิจิทัลที่กระจัดกระจายและแยกส่วนมากขึ้นก็อาจเปิดโอกาสให้องค์กรสื่อหรือผู้ผลิตเนื้อหารายย่อยเลือกนำเสนอเฉพาะบางแง่มุมและใช้วิธีการเล่าเรื่องที่สอดคล้องกับความเชื่อและความนิยมของผู้รับสารเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่มหลักที่จะเข้าถึงและมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหา ซึ่งจะทำให้ผู้รับสารไม่ได้รับข้อมูลและมุมมองที่หลากหลายรอบด้าน หรือแม้กระทั่งบิดเบือนจากข้อเท็จจริง การนำเสนอเช่นนี้นอกจากไม่เอื้อต่อการทำความเข้าใจฐานคิดของการชุมนุมและความขัดแย้ง แต่ยังสามารถสร้างความชอบธรรมให้กับการใช้ความรุนแรงทั้งในระดับปัจเจกและความรุนแรงโดยรัฐได้”</p>
<p>พรรษาสิริยังย้ำประเด็นการให้น้ำหนักกับการรายงานข่าวการชุมนุมในกรุงเทพฯ และละเลยการชุมนุมในต่างจังหวัดบนพื้นที่สื่อ ทำให้เกิดข้อจำกัดหลายประการ เช่น องค์กรและผู้ปฏิบัติงานสื่อในส่วนภูมิภาคต้อเผชิญข้อจำกัดในพื้นที่ทำให้ไม่สามารถรายงานการชุมนุมหรือตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐได้เต็มที่จึงไม่ได้รับพื้นที่สื่อ ทั้งยังขาดกลไกช่วยเฝ้าระวังการใช้ความรุนแรงและทำให้ความหมายของการชุมนุมประท้วงจำกัดอยู่เพียงประเด็นการเมืองระดับประเทศเท่านั้น</p>
<p>ขณะที่องค์กรวิชาชีพสื่อแม้จะมีบทบาทสำคัญในการแสดงจุดยืนต่อต้านการปิดกั้นคุกคามเสรีภาพสื่อและการรับประกันความปลอดภัยให้กับผู้ปฏิบัติงาน แต่บทบาทเหล่านี้ไม่ครอบคลุมสื่อทางเลือกและสื่อพลเมืองที่ไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพ และเมื่อเกิดเหตุคุกคามทำร้ายสื่อ องค์กรวิชาชีพมักเลือกเจรจากับผู้กระทำหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากกว่าใช้กระบวนการฟ้องร้องหรือตรวจสอบอย่างเป็นทางการเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าหรือแรงกดดันที่จะตามมา ซึ่งไม่ช่วยสร้างบรรทัดฐานในการตรวจสอบและเรียกร้องการรับผิดรับชอบจากผู้กระทำความรุนแรงอย่างเป็นระบบ</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ฉันทามติของชนชั้นนำ ยิ่งเห็นพ้อง เสรีภาพยิ่งถูกจำกัด</span></h2>
<p>ระดับสุดท้ายคือระดับสังคมซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 4 ประการ ได้แก่ ระดับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพสื่อว่ามีมากเพียงใด หากรัฐต้องการปิดกั้นหรือผู้ชุมนุมไม่ไว้ใจสื่อก็ล้วนเป็นอุปสรรคสำคัญในการรายงานการชุมนุมที่รอบด้านทั้งสิ้น</p>
<p>ปัจจัยต่อมาคืออุดมการณ์ บรรทัดฐาน และความเข้าใจของสังคมต่อความขัดแย้งและความรุนแรง หมายความว่าถ้าสังคมมองการชุมนุมว่าเป็นการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ หรือท้าทายค่านิยมหลัก ก็มีแนวโน้มที่สังคมจะต่อต้านและให้ความชอบธรรมต่อการใช้ความรุนแรงในการจัดการไม่ว่าจะโดยรัฐหรือมวลชนที่คัดค้าน</p>
<p>ในทางกลับกัน ถ้าการชุมนุมแสดงออกตามขนบของชนชั้นนำหรือชนชั้นกลาง ประเด็นการเรียกร้องสอดคล้องกับค่านิยมของสังคมก็มีแนวโน้มที่จะป้องกันหรือประณามการใช้ความรุนแรง การรายงานของสื่อจึงผันแปรไปตามบรรยากาศในสังคมเพราะต้องผลิตเนื้อหาที่สามารถดึงดูดผู้รับสารอันจะนำไปสู่การสร้างการเข้าถึงและปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาได้</p>
<p>พรรษาสิริยกตัวอย่างกรณีสถาบันกษัตริย์กับการเมืองว่า ถ้าข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุมส่งเสริมการใช้อำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการจัดการความขัดแย้งทางการเมือง ข้อเสนอนั้นมักได้รับการเห็นพ้องจากชนชั้นนำและสังคม สื่อมวลชนก็สามารถนำไปรายงานต่อได้อย่างอิสระ แต่ถ้าข้อเรียกร้องเป็นการตั้งคำถาม ตรวจสอบ หรือเสนอให้สถาบันพระมหากษัตริย์ถอยห่างจากการใช้อำนาจทางการเมืองข้อเสนอนั้นมักถูกกระแสโจมตีจากชนชั้นนำ สาธารณะ และถูกปิดกั้นจากรัฐอย่างเข้มงวด</p>
<p>“ประเด็นนี้สอดคล้องกับข้อค้นพบที่ว่าฉันทามติของชนชั้นนำและกระบวนการทางการเมืองมีอิทธิพลต่อการทำงานของสื่อมวลชน เมื่อชนชั้นนำเห็นพ้องต้องกันอย่างเหนียวแน่นต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่งและการชุมนุมเกิดขึ้นในช่วงที่สิทธิเสรีภาพถูกจำกัด สื่อมวลชนก็จะนำทรรศนะเหล่านั้นมารายงานเสมือนเป็นบรรทัดฐานของสังคม จนกลายเป็นเครื่องขยายเสียงให้กับชนชั้นนำในการลดทอนความชอบธรรมของผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ และสร้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรงโดยรัฐ แต่หากชนชั้นนำมีความเห็นแตกต่างหลากหลาย สื่อมวลชนก็จะมีโอกาสในการแสดงให้เห็นเสียงที่แตกต่างและนำไปสู่การอภิปรายถกเถียงต่อไปได้</p>
<p>“แม้นิเวศสื่อเช่นนี้จะดูโกลาหล แต่การปะทะกันทางความคิดและข้อมูลข่าวสารอาจสั่นคลอนวิธีคิดและแนวปฏิบัติเดิมๆ ช่วยสร้างความเข้าใจใหม่ๆ และช่วยลดโอกาสการใช้ความรุนแรงกับการชุมนุมและความขัดแย้งได้บ้าง ที่สำคัญ ด้วยเทคโนโลยีทางการสื่อสารในยุคดิจิทัลรัฐจึงปิดกั้นไม่ง่ายเหมือนกับช่องทางสื่อดั้งเดิม ก็เอื้อให้ผู้ผลิตสื่อใหม่ๆ รวมทั้งสื่อมวลชนลักษณะต่างๆ หาหนทางในการรายงานประเด็นที่ยังเป็นที่ถกเถียง รวมถึงตรวจสอบการใช้ความรุนแรงได้มากขึ้น”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สร้าง ‘พื้นที่กลาง’ ที่ปลอดภัยให้เกิดการสนทนา</span></h2>
<p>นอกจากนี้ สภาพความขัดแย้งแบ่งขั้วที่ต่างฝ่ายเลือกใช้ช่องทางการสื่อสารและรับเนื้อหาจากองค์กรสื่อที่สอดคล้องกับความคิดความเชื่อของตน แต่ขาด ‘พื้นที่กลาง’ ที่ปลอดภัยให้ทุกฝ่ายร่วมกันอภิปรายถกเถียงและสร้างข้อตกลงที่จะนำไปสู่การแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง ทำให้สื่อมวลชนทำงานภายใต้แรงกดดันและการแทรกแซงจากรัฐ กลุ่มทุนที่สนับสนุนรัฐ และถูกคุกคามจากผู้ชุมนุมที่ไม่พอใจ ทำให้สื่อมีแนวโน้มจะมองการชุมนุมว่าเป็นการแข่งขันแย่งชิงอำนาจของชนชั้นนำโดยมวลชนของแต่ละขั้วเป็นเพียงผู้แสดงฝ่ายสนับสนุนที่ไม่มีอำนาจต่อรอง สื่อภายใต้แรงกดดันเช่นนี้จึงขาดความเป็นอิสระและเสรีภาพหรือในบางครั้งก็แสดงบทบาทที่ค้ำชูระบอบอำนาจนิยมเพื่อความอยู่รอด หลีกเลี่ยงหรือไม่สามารถตรวจสอบรัฐและรายงานเกี่ยวกับการชุมนุมได้อย่างรอบด้าน</p>
<p>“แม้ภูมิทัศน์สื่อออนไลน์ที่แผ่กว้างจากปริมาณผู้เล่นที่เพิ่มขึ้นจะเปิดให้มีการปะทะและตอบโต้กันระหว่างข้อมูลชุดต่างๆ รวมถึงผู้ชุมนุมมีโอกาสในการสื่อสารสู่สาธารณะได้มากกว่ายุคสื่อดั้งเดิม และในบางกรณีอาจโต้แย้งคำอธิบายของรัฐหรือชนชั้นนำได้ แต่หากภาครัฐปิดกั้นพื้นที่สำหรับการสนทนาที่ปลอดภัยและเป็นอิสระ ไม่ยึดมั่นในการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและสิทธิทางการสื่อสารของประชาชน และใช้การปราบปรามด้วยความรุนแรงเช่นเดียวกับการขจัดภัยคุกคามอื่นๆ</p>
<p>“ขณะที่ผู้ชุมนุม ผู้เห็นต่าง หรือสาธารณะก็ใช้ความรุนแรงตอบโต้ พื้นที่การสื่อสารที่เสรีและปลอดภัยก็จะถูกปิดกั้นและหดแคบลง โอกาสที่จะเกิดความรุนแรงเชิงกายภาพระหว่างมวลชนที่เห็นต่าง หรือการที่รัฐใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุม การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังทั้งในพื้นที่ออนไลน์และออฟไลน์ซึ่งเป็นความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม รวมถึงความรุนแรงเชิงโครงสร้างอย่างการดำเนินคดีกับผู้วิจารณ์รัฐหรือการรัฐประหารก็เพิ่มขึ้น กล่าวคือ ถึงจะมีจำนวนคนส่งเสียงจนเสียงดังมากกว่าเดิม แต่ก็เป็นเพียงเสียงตะโกนอย่างระเบ็งเซ็งแซ่ที่ปราศจากความหมาย เพราะไม่ได้นำไปสู่บทสนทนาที่จะคลี่คลายความขัดแย้งได้ ในทางตรงกันข้าม พื้นที่สื่อสารเช่นนี้กลับกระตุ้นให้มีการใช้ความรุนแรงมากขึ้น”</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>ตัวแทนสถานทูตญี่ปุ่นวางดอกไม้ จุดที่ ‘ฮิโรยูกิ’ ถูกยิง 10 เม.ย.53</li>
<li>เปิดแสดง 'ภาพสุดท้าย' ของ 'ฟาบิโอ โปเลนกี' ก่อนถูกยิงในเหตุการณ์พ.ค. 53</li>
<li>ศาลสรุปช่างภาพอิตาลีตายจากกระสุนฝั่งทหาร</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">สิ่งที่ต้องทำเพื่อลดเงื่อนไขความรุนแรง</span></h2>
<p>จากที่กล่าวมาทั้งหมด พรรษาสิริมีข้อเสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการชุมนุมว่า จะยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยและการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพสื่อ รักษาและพัฒนาพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการอภิปรายถกเถียงเพื่อแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง ทั้งทางช่องทางการเมืองปกติ สื่อมวลชน และพื้นที่อื่น ๆ ที่สาธารณะสามารถเข้าถึงได้ ในระดับประเทศ ภูมิภาค และชุมชน</p>
<p>รัฐต้องอำนวยความสะดวกให้เกิดการสื่อสาร สนทนา และอภิปรายถกเถียงที่ปลอดภัยในสังคม ไม่ปิดกั้น และแทรกแซงช่องทางและพื้นที่การสื่อสาร ป้องกันการข่มขู่คุกคามและการใช้ความรุนแรงต่อประชาชน ผู้ใช้สิทธิการสื่อสาร ผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ และสื่อมวลชน</p>
<p>นอกจากนี้ รัฐ องค์กรสื่อ และองค์กรวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนต้องให้ความสำคัญต่อการทำความเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเสรีภาพสื่อ ความรุนแรงและปฏิบัติการไม่ใช้ความรุนแรง รวมถึงหลักการสากลในการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพเหล่านี้</p>
<p>พัฒนาและจัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับกระบวนการและกลไกในการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบโดยไม่ใช้ความรุนแรง จัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อการลดการใช้ความรุนแรงและการรักษาความปลอดภัยให้กับผู้ชุมนุม ผู้สังเกตการณ์ชุมนุม สื่อมวลชนทุกประเภทและประชาชนทั่วไป และต้องมีระบบและกลไกการเฝ้าระวัง ป้องปราม หาข้อเท็จจริง และตรวจสอบการใช้ความรุนแรงต่อผู้ใช้สิทธิการสื่อสารและสื่อมวลชนที่เป็นธรรม มีประสิทธิภาพ ลดเงื่อนไขและภาระของผู้ได้รับผลกระทบ และดำเนินการเพื่อให้ผู้กระทำความรุนแรงต้องแสดงความรับผิดรับชอบ ทั้งระดับผู้ปฏิบัติงานและองค์กร</p>
<p>ในส่วนขององค์กรสื่อและองค์กรวิชาชีพด้านสื่อสารมวลชนยังต้องคัดค้าน ต่อต้าน และตรวจสอบการจัดการความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองที่เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยและละเมิดสิทธิมนุษยชน  ส่งเสริมและพัฒนาระบบและกลไกในการปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและสิทธิแรงงานของผู้ปฏิบัติงานสื่อทุกระดับ รวมถึงผู้ปฏิบัติงานอิสระ</p>
<p>พัฒนาระบบและจัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับแนวทางในการรักษาสวัสดิภาพของผู้ปฏิบัติงานสื่อและกองบรรณาธิการในการรายงานความขัดแย้งและความรุนแรงทางการเมืองอย่างสม่ำเสมอ จัดสรรทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อการลดความเสี่ยงต่อผู้ปฏิบัติงานทั้งทางกายภาพและช่องทางออนไลน์ รวมถึงการรักษาเยียวยาจิตใจในระยะยาว พร้อมกับสร้างเครือข่ายและประสานงานกับหน่วยงานราชการ ภาควิชาการ และองค์กรภาคประชาสังคมที่ทำงานปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในการพัฒนาระบบและแนวทางการติดตามและเฝ้าระวังการใช้ความรุนแรง</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53217107810_1e32785d0b_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อิสระ ความปลอดภัยจากการคุกคามและแทรกแซง หัวใจหลักของแนวทางวารสารศาสตร์สันติภาพ</span></h2>
<p>ในแง่ระบบตลาดของสื่อ เช่น ตัวกลางการซื้อขายพื้นที่สื่อภาคเอกชน (ผู้ซื้อโฆษณา) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม องค์กรผู้ให้ทุนสนับสนุนการดำเนินงานของสื่อมวลชนก็ส่งเสริมและพัฒนาการหารายได้จากการรายงานเชิงวารสารศาสตร์และการสร้างสรรค์เนื้อหารูปแบบอื่นๆ ที่ช่วยทำความเข้าใจสิทธิมนุษยชน ความขัดแย้ง ความรุนแรงทางการเมือง ประเด็นทางสังคม การเมือง วัฒนธรรม และเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะการเปิดพื้นที่สื่อให้กับกลุ่มผู้ถูกละเมิดสิทธิและกลุ่มเปราะบาง</p>
<p>ในส่วนผู้ให้บริการแพลตฟอร์มควรพัฒนาแนวทางการจัดการเนื้อหา (content moderation) อย่างมีส่วนร่วมที่เอื้อต่อการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ควบคู่กับการรักษาพื้นที่การสื่อสารที่ปลอดภัยคุ้มครองกลุ่มเปราะบาง และปกป้องความเป็นส่วนตัว เพื่อให้สังคมยังคงเฝ้าระวังการใช้
หน้า:  1 ... 144 145 [146] 147 148 ... 1120
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.939 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 27 กันยายน 2566 07:20:57