[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
17 เมษายน 2567 05:53:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 1111
321  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "ประตูไมโครเวฟ" ควรปิดทันทีหลังใช้งานไหม? หลายคนเข้าใจผิด บริษัทดังมาเฉลย เมื่อ: 02 เมษายน 2567 00:07:37
"ประตูไมโครเวฟ" ควรปิดทันทีหลังใช้งานไหม? หลายคนเข้าใจผิด บริษัทดังมาเฉลย
         


"ประตูไมโครเวฟ" ควรปิดทันทีหลังใช้งานไหม? หลายคนเข้าใจผิด บริษัทดังมาเฉลย" width="100" height="100  ประตูไมโครเวฟ ควรปิดทันทีหลังการใช้งานหรือไม่? บริษัทดังมาเฉลย ใช้ผิดวิธีอาจทำให้เกิดประกายไฟและการระเบิดได้
         

https://www.sanook.com/news/9313146/
         
322  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ศาลปกครองฯไม่รับคำฟ้องผู้ประกันตนฟ้อง ก.แรงงาน ปมไม่เร่งจัดเลือกตั้งบอร์ดประ เมื่อ: 01 เมษายน 2567 22:52:26
ศาลปกครองฯไม่รับคำฟ้องผู้ประกันตนฟ้อง ก.แรงงาน ปมไม่เร่งจัดเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคม-เลือกปฏิบัติ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-04-01 21:16</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ตัวแทนแรงงานผู้ประกันตน ฟ้องกระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และปลัดกระทรวงแรงงาน กรณีไม่เร่งดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม และขอให้เพิกถอนระเบียบหลักเกณฑ์ ที่มีการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ</p>
<p>1 เม.ย.2567 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.) ว่า ศาลปกครองสูงสุดชี้ขาดคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ตัวแทนแรงงานผู้ประกันตน ฟ้องกระทรวงแรงงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และปลัดกระทรวงแรงงาน 'กรณีไม่เร่งดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม และขอให้เพิกถอนระเบียบหลักเกณฑ์ ที่มีการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติ'</p>
<p>จิรารัตน์ มูลศิริ ทนายความและผู้รับมอบอำนาจ  ข้อสังเกตในคดีนี้ แรงงานข้ามชาติที่ได้เข้าสู่ระบบผู้ประกันตนประกันสังคม กว่าหนึ่งล้านคนทั่วประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ในประกันสังคมได้ด้วยตนเอง ด้วยเหตุของความเข้าใจในข้อกฎหมาย ภาษา หรือปัจจัยอื่น การออกหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคมที่จำกัดสิทธิของตนเองนั้นยังไม่มีทางออก แต่หากการที่แรงงานข้ามชาติได้เข้าถึงการใช้สิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม ไม่ใช่เพียงแต่ลูกจ้างที่ได้ประโยชน์ จะยังมีฝ่ายนายจ้าง และภาคส่วนอื่นที่เป็นภาคีประกันสังคมได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน นับว่าเป็นประโยชน์อย่างกว้างในหลายมิติและเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตรงตามความต้องการที่เหมาะสม ต่อการบริหารกองทุนประกันสังคมที่เป็นเงินของผู้ใช้แรงงาน</p>
<p>สมชาย หอลออ ประธานมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนากล่าวว่า การที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับวินิจฉัยคดีนั้น อาจทำให้ถูกมองไปได้ว่า ศาลไทยปฏิเสธที่จะให้ความยุติธรรมและเยียวยาแก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน</p>
<p>มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้</p>
<div class="note-box">
<p style="margin-left: 40px;">1. ราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 22 มิ.ย. 2558 ลงประกาศ พระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558 มาตรา 8 กำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการประกันสังคม” ประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐ กับตัวแทนฝ่ายนายจ้างและตัวแทนฝ่ายผู้ประกันตนฝ่ายละ 7 คน โดยให้ผู้แทนของฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตน ต้องมาจากการเลือกตั้ง โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตน สัดส่วนระหว่างหญิงและชาย รวมทั้งการมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิผลของคนพิการ และผู้ด้อยโอกาส ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนด ซึ่ง กระทรวงแรงงาน และประกันสังคมจะต้องดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้ง</p>
<p style="margin-left: 40px;">2. การกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้งกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคมต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น ซึ่งไม่รวมถึงผู้ประกันตนที่ไม่มีสัญชาติไทยด้วย  ซึ่งผู้ประกันตนไม่ได้แต่เพียงผู้ประกันตนสัญชาติไทยเท่านั้น แต่ยังมีผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานต่างชาติด้วย แต่ถูกจำกัดสิทธิในการเข้าถึงการเลือกตั้ง เนื่องมาจากระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2564 ข้อ 16 กำหนดว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติ ต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น</p>
<p style="margin-left: 40px;"> เหตุแห่งที่มาของคดีนี้</p>
<p style="margin-left: 40px;">1. สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2566 เวลา 13.00 ที่ศาลปกครอง ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร  ได้มี ธนพร วิจันทร์ พร้อมตัวแทนผู้ประกันตนทั้งแรงงานสัญชาติไทยและสัญชาติอื่น จำนวน 6 คน ได้ยื่นฟ้องกระทรวงแรงงาน เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามคน ดำเนินการจัดการเลือกตั้ง เพื่อให้มีผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตน (ลูกจ้าง) เป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม และขอให้มีคำสั่งเพิกถอนระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ.2564 ที่กำหนดว่า ผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคมต้องมีสัญชาติไทย และผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น</p>
<p style="margin-left: 40px;">2. เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2566 ศาลปกครองได้มีหนังสือ ลงวันที่ 23 พ.ค. 2566  เรื่องแจ้งคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา โดยมีรายละเอียดว่า “..ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 197 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ในการพิจารณาคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ว่าจะเป็นการออกกฎหมาย คำสั่งหรือกระทำอื่นใด คดีพิพาทเกี่ยวกับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร</p>
<p style="margin-left: 40px;">ศาลปกครองให้ความเห็นว่า เรื่องนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 บัญญัติว่า ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ในคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามฎหมายว่าด้วยประกันสังคม แต่ระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2564 ข้อ 16 กำหนดว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) มีสัญชาติไทย…”</p>
<p style="margin-left: 40px;">3. ผู้ฟ้องคดีทั้งหกอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง  เนื่องจากการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงานและปลัดกระทรวงแรงงาน ปล่อยปละละเลย ไม่เร่งดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม ถือเป็นอำนาจของศาลปกครองโดยตรงที่ต้องพิจารณาการไม่จัดให้มีการเลือกตั้ง  ประกอบกับการตั้งหลักเกณฑ์และระเบียบในเรื่องสัญชาติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งที่เป็นสมาชิกประกันสังคม ถือเป็นการกีดกันและเลือกปฏิบัติต่อผู้ประกันตนที่ลูกจ้างต่างชาติ และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 27 กับหลักกติการะหว่างประเทศ อาทิ อนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม หรือ International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (CESCR) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR)</p>
<p style="margin-left: 40px;">4. วันที่ 28 มี.ค. 2567 เวลา 14:00 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งชี้ขาดคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา ผลแห่งคำสั่งในคดีนั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีที่ 3 และ 4 เป็นแรงงานข้ามชาติ ได้รับควาทเดือดร้อนเสียหายหรืออาจเดือดร้อนเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จากการออกระเบียบกระทรวงแรงงานว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ. 2564 ข้อ 16 (1) กำหนดว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องมีสัญชาติไทยเท่านั้น จึงเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542  แต่ศาลได้พิจารณาต่อว่า ผู้ฟ้องคดีที่ 3 และ 4 มิได้นำคดีมายื่นฟ้องภายในระยเวลาที่กำหนด ไม่ทำตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ที่กำหนดให้จะต้องยื่นฟ้องภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี เมื่อระเบียบดังกล่าวลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2564 มีผลบังคับใช้วันที่ 9 ก.ค. 2564 จะต้องฟ้องภายในวันที่ 7 ต.ค. 2564 หากแต่นำคดีมาฟ้องวันที่ 2 พ.ค. 2566 ศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าแรงงานข้ามชาติผู้ฟ้องคดีต้องรู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีแล้ว จึงเป็นการยื่นฟ้องเกินระยะเวลาที่กำหนด ประกอบกับไม่ใช่คำฟ้องที่มีเหตุจำเป็นหรือเป็นคดีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ตามกำหนดแห่งข้อ 30 ของระเบียบที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดปกครอง พ.ศ. 2543 ศาลจึงไม่รับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีที่ 3 และที่ 4 ไว้พิจารณา</p>
<p style="margin-left: 40px;">5. จิรารัตน์ มูลศิริ ทนายความและ ผู้รับมอบอำนาจ  ข้อสังเกตในคดีนี้ แรงงานข้ามชาติที่ได้เข้าสู่ระบบผู้ประกันตนประกันสังคม กว่าหนึ่งล้านคนทั่วประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ในประกันสังคมได้ด้วยตนเอง ด้วยเหตุของความเข้าใจในข้อกฎหมาย ภาษา หรือปัจจัยอื่น การออกหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคมที่จำกัดสิทธิของตนเองนั้นยังไม่มีทางออก แต่หากการที่แรงงานข้ามชาติได้เข้าถึงการใช้สิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคม ไม่ใช่เพียงแต่ลูกจ้างที่ได้ประโยชน์ จะยังมีฝ่ายนายจ้าง และภาคส่วนอื่นที่เป็นภาคีประกันสังคมได้รับประโยชน์ด้วยเช่นกัน นับว่าเป็นประโยชน์อย่างกว้างในหลายมิติและเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตรงตามความต้องการที่เหมาะสม ต่อการบริหารกองทุนประกันสังคมที่เป็นเงินของผู้ใช้แรงงาน</p>
<p style="margin-left: 40px;">“การที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับวินิจฉัยคดีนั้น อาจทำให้ถูกมองไปได้ว่า ศาลไทยปฏิเสธที่จะให้ความยุติธรรมและเยียวยาแก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน” สมชายกล่าว</p>
<p style="margin-left: 40px;">สมชาย หอลออ ประธานมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ได้ให้ความเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดในคดีนี้ น่าจะไม่ชอบด้วยหลักของความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้เพราะ ประการแรก สิทธิของผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานข้ามชาติในการเลือกตั้งกรรมการประกันสังคมนั้น เป็นสิทธิมนุษยชน มิใช่เป็นสิทธิส่วนบุคคล และการฟ้องคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีมิได้มีความมุ่งหมายที่จะให้ศาลคุ้มครองเยียวยาสิทธิในการเลือกตั้งกรรมการประกันสังคมของผู้ฟ้องคดีเท่านั้น แต่เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติซึ่งเป็นผู้ประกันตนทั้งปวงด้วย ดังนั้นจึงถือว่าเป็นการฟ้องคดีเพื่อประโยชน์สาธารณะ ประการสุดท้าย ผู้ฟ้องคดีขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนระเบียบกระทรวงแรงงาน ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตนเป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม พ.ศ.2564 ด้วย ดังนั้น ตราบใดที่ระเบียบฉบับนี้ยังมีผลใช้บังคับอยู่ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากระเบียบดังกล่าว ย่อมฟ้องคดีได้เสมอ ศาลจะอ้างว่าผู้ฟ้องคดีไม่ฟ้องภายในกำหนด 90 วันไม่ได้ การที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับวินิจฉัยคดีนั้น อาจทำให้ถูกมองไปได้ว่า ศาลไทยปฏิเสธที่จะให้ความยุติธรรมและเยียวยาแก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/04/108662
 
323  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - หมอยังบ่นเสียดาย หญิงแค่ขาพลิก สุดท้ายต้อง "ตัดขา" ทั้งสองข้าง เพราะยาที่ซื้ เมื่อ: 01 เมษายน 2567 21:30:52
หมอยังบ่นเสียดาย หญิงแค่ขาพลิก สุดท้ายต้อง "ตัดขา" ทั้งสองข้าง เพราะยาที่ซื้อใช้เอง!
         


หมอยังบ่นเสียดาย หญิงแค่ขาพลิก สุดท้ายต้อง &quot;ตัดขา&quot; ทั้งสองข้าง เพราะยาที่ซื้อใช้เอง!" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;หมอยกเคสเตือน ป้าขาพลิกตอนอุ้มหลาน ชะล่าใจซื้อยาใช้เอง สุดท้ายต้อง "ตัดขา" รักษาชีวิต
         

https://www.sanook.com/news/9258794/
         
324  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - การย้ายฐานผลิตบริษัทรองเท้าจากจีนไปยังอาเซียน ส่งผลกระทบต่อสิทธิแรงงาน เมื่อ: 01 เมษายน 2567 21:20:14
การย้ายฐานผลิตบริษัทรองเท้าจากจีนไปยังอาเซียน ส่งผลกระทบต่อสิทธิแรงงาน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-04-01 12:19</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<p><strong>Summary</strong></p>
<ul>
<li>บริษัท Pou Chen ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายรองเท้าระดับโลกสัญชาติไต้หวัน ย้ายฐานการผลิตจากจีนไปยังประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลต่อการเพิ่มผลกำไรของบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา</li>
<li>การย้ายฐานการผลิตของ Pou Chen ส่งผลให้เกิดการประท้วงหยุดงานของเหล่าพนักงานในโรงงานที่ตั้งอยู่ในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ตัวอย่างเช่น พนักงานในประเทศเวียดนาม อย่างต่อเนื่องและรุนแรงเพื่อเรียกร้องค่าจ้างที่สูงขึ้น </li>
<li>แม้ว่าบริษัทอย่าง Pou Chen จะมีสิทธิ์ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่นก็ตาม แต่ China Labour Bulletin ชี้ว่าโรงงานต่าง ๆ ควรมีกลไกการสื่อสารเพื่อรับฟังเสียงของพนักงานและปรับปรุงสภาพการทำงานให้ดีขึ้น</li>
<li>เพื่อปกป้องสิทธิแรงงานได้ดียิ่งขึ้น China Labour Bulletin แนะนำว่าสหภาพแรงงานในประเทศกำลังพัฒนา ควรได้รับการสนับสนุนด้านการต่อรองร่วม (collective bargaining) เพื่อให้สามารถเจรจากับแบรนด์ดังระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ</li>
</ul>
</div>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53616591450_0b8fce7c98_o_d.png" /></p>
<p>กรณีโรงงาน Baoyi ในหยางโจวซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Pou Chen ผู้ผลิตรองเท้าสัญชาติไต้หวัน ตั้งอยู่ในมณฑลเจียงซูของจีน ปิดตัวลงในเดือน ธ.ค. 2023 ซึ่งสื่อที่ติดตามประเด็นแรงงานในประเทศจีนอย่าง China Labour Bulletin (CLB) ได้ติดตามสถานการณ์ดังกล่าว โดยมุ่งเน้นไปที่การรวมตัวของเหล่าพนักงาน รวมถึงการตรวจสอบการรับมือของรัฐบาลท้องถิ่นและสหภาพแรงงาน</p>
<div class="more-story">
<p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p>
<ul>
<li>การย้ายฐานของบริษัทผลิตรองเท้าชั้นนำ เผยถึงความไร้ประสิทธิภาพของท้องถิ่นและสหภาพแรงงานในจีน</li>
</ul>
</div>
<p>สำหรับรายงานชิ้นนี้ของ CLB วิเคราะห์ผลกระทบจากการย้ายฐานการผลิตของ Pou Chen ออกจากจีนไปยังประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนำไปสู่การประท้วงหยุดงานในโรงงานของบริษัทฯ ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคดังกล่าว </p>
<h2><span style="color:#3498db;">กลยุทธ์การลดต้นทุนของ Pou Chen ย้ายฐานการผลิตจากจีนสู่เวียดนามและอินโดนีเซีย</span></h2>
<p>Pou Chen ก่อตั้งขึ้นในปี 1969 เป็นบริษัทสัญชาติไต้หวัน ที่เน้นการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์รองเท้า บริษัทอ้างว่าเป็นบริษัทผลิตรองเท้ารายใหญ่ที่สุดในโลก โดยเป็นผู้ผลิตให้กับแบรนด์ระดับสากลมากมาย อาทิ Nike, Adidas, Asics, New Balance, Timberland และ Salomon เคยมีนิตยสารฉบับหนึ่งไว้ว่า "1 ใน 5 ของรองเท้าที่ผลิตทั่วโลกนั้นมาจาก Pou Chen"</p>
<p>เริ่มแรก Pou Chen ได้เปิดโรงงานในจูไห่ มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีนตั้งแต่ช่วงต้นปี 1988 แตกต่างจากบริษัทไต้หวันบางแห่งที่มุ่งเน้นขยายฐานการผลิตไปในจีนแผ่นดินใหญ่ Pou Chen ได้วางแผนขยายการผลิตไปยังประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 โดยมีการจัดตั้งโรงงานในอินโดนีเซียและเวียดนามในช่วงต้นปี 1992 และ 1994 ตามลำดับ</p>
<p>เริ่มต้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา Pou Chen ได้มีการปรับเปลี่ยนการกระจายตัวของโรงงานเพิ่มมากขึ้น จุดเริ่มต้นของการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ คือ วิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี 2008 การหดตัวของตลาดรองเท้าทั่วโลกในปี 2009 ประกอบกับระดับค่าแรงที่เพิ่มสูงขึ้น และกฎหมายสัญญาจ้างแรงงานที่เพิ่งมีการบังคับใช้ในประเทศจีน กระตุ้นให้กลุ่มบริษัทไต้หวันต้องปรับการลงทุนในโรงงานของตนเองท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ รายงานที่เผยแพร่โดย IBTS Investment Consulting Group ในปี 2010 ประมาณการว่าสายการผลิตของบริษัทในเวียดนามและอินโดนีเซียจะเพิ่มขึ้น 8.1% และ 8.5% ตามลำดับ ในขณะที่การเติบโตในโรงงานผลิตที่จีนมีเพียง 5.5% เท่านั้น</p>
<p>หลังปี 2011 รัฐบาลจีนได้เริ่มบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมอย่างเข้มงวดมากขึ้น กฎหมายเหล่านี้มุ่งเป้าไปที่การขยายการเข้าถึงประกันสังคมให้กับพนักงานข้ามชาติและแรงงานอพยพ รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนประกันสังคม ส่งผลให้ผลกำไรของ Pou Chen ลดลงอย่างชัดเจน รายงานประจำปีของ Pou Chen ระบุว่ารายได้จากการดำเนินงานลดลงมากกว่า 20% ในปี 2014 อัตรากำไรสุทธิก็ลดลงจากปี 2013 เนื่องจากจีนมีการจัดเก็บเงินสมทบประกันสังคมรวมถึงการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ</p>
<p><img alt="" src="https://clb.org.hk/sites/default/files/inline-images/image3_3.png" /></p>
<p>Yue Yuen ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ Pou Chen บริหารโรงงานผลิตรองเท้าขนาดใหญ่ในตงกวน มณฑลกวางตุ้ง ในเดือน เม.ย. 2014 คนงานกว่า 40,000 คน ได้หยุดงานประท้วงเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เนื่องจากการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญไม่ครบถ้วน รวมถึงความกังวลที่ว่าโรงงานในตงกวนจะถูกปิดตัวลง ในขั้นต้น เวียดนามได้กลายเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมในการย้ายฐานการผลิตจากจีนแผ่นดินใหญ่ โดยส่วนแบ่งการผลิตรองเท้าของเวียดนามได้เพิ่มขึ้นเป็น 42% ในปี 2015 ในขณะที่ส่วนแบ่งของจีนลดลงเหลือเพียง 25%</p>
<p>ในปี 2020 การระบาดครั้งใหญ่ของโรคโควิด-19 ทั่วโลก ได้ทำให้เกิดการหดตัวทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่อีกครั้ง Pou Chen ประสบกับภาวะขาดทุนทางการเงินอย่างหนักถึง 2 พันล้านดอลลาร์ไต้หวันในปีนั้น การชะลอตัวของเศรษฐกิจที่ตามมาในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาหมายความว่าบริษัทไม่สามารถกู้คืนรายได้และผลกำไรจากการดำเนินงานให้กลับสู่ระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดได้</p>
<p>การลดลงของรายได้ ประกอบกับนโยบายการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดของจีน และความตึงเครียดทางการค้าที่เพิ่มขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และจีน ผลักดันให้ Pou Chen เร่งเพิ่มการย้ายฐานการผลิตออกจากจีน จากรายงานประจำปีของ Pou Chen ในปี 2015 ประมาณ 25% ของการผลิตของ Pou Chen อยู่ในประเทศจีน แต่ในปี 2019 ตัวเลขดังกล่าวลดเหลือเพียง 13% และ ณ ปี 2022 ได้ลดลงเหลือเพียง 10% เท่านั้น ในขณะเดียวกัน กำลังการผลิตในอินโดนีเซียได้เพิ่มขึ้นจาก 32% เป็น 46% ในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนอีกประมาณ 40% ที่เหลือจะอยู่ที่เวียดนาม</p>
<p><img alt="" src="https://clb.org.hk/sites/default/files/inline-images/image1_6.png" /></p>
<h2><span style="color:#3498db;">การประท้วงเรียกร้องเพิ่มค่าแรงของแรงงานเวียดนาม </span></h2>
<p>ขณะที่ Pou Chen ย้ายฐานการผลิตไปยังเวียดนามมากขึ้น การประท้วงและการหยุดงานของเหล่าแรงงานก็เริ่มเกิดขึ้นในโรงงานต่าง ๆ หลังปี 2010 มีการบันทึกเหตุการณ์การประท้วงอย่างน้อย 7 ครั้งในโรงงานของ Pou Chen ที่เวียดนาม (ดูตารางด้านล่าง) การประท้วงเหล่านี้มีขนาดใหญ่และเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ทำให้ประสบความสำเร็จในการหยุดยั้งนโยบายบางอย่างของฝ่ายบริหารโรงงาน และนำไปสู่การที่ Pou Chen ตัดสินใจจำกัดการขยายกิจการในประเทศ</p>
<p><img alt="" src="https://clb.org.hk/sites/default/files/inline-images/image2_6.png" /></p>
<p>การหยุดงานประท้วงส่วนใหญ่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่การเรียกร้องค่าจ้างที่ดีขึ้น ในเดือน มิ.ย. 2011 คนงานมากกว่า 93,000 คน ใน 2 โรงงานของ Pou Chen ได้หยุดงานประท้วง ซึ่งถือเป็นครั้งใหญ่ที่สุดในเวียดนามจนถึงปัจจุบัน เหล่าคนงานไม่พอใจกับค่าจ้างที่ต่ำ ค่าล่วงเวลา โบนัส และอาหารโรงอาหารที่คุณภาพต่ำ พวกเขาเรียกร้องให้มีการเพิ่มค่าจ้างรายเดือน 500,000 ดอง (ประมาณ 25 ดอลลาร์สหรัฐฯ) แต่การเจรจาล้มเหลวหลังจากที่บริษัทตกลงเพิ่มให้เพียง 200,000 ดอง (ประมาณ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ)</p>
<p>ในปี 2016 ได้เกิดการหยุดงานประท้วงเกี่ยวกับค่าจ้างอีกครั้ง พนักงานจำนวน 17,000 คน จากทั้งหมด 21,600 คน ของ Pou Chen ในเบียนหัว ได้หยุดงานเป็นเวลา 3 วันในเดือน ก.พ. 2016 คนทำงานต่อต้านการจัดรูปแบบใหม่ที่ใช้เวลาทำงานในการคำนวณโบนัส ซึ่งคนทำงานเชื่อว่าจะนำไปสู่การลดเงินเดือนอย่างไม่เป็นธรรม ในที่สุด Pou Chen ก็ยอมจำนนต่อข้อเรียกร้องของคนทำงานและยกเลิกนโยบายดังกล่าว รวมถึงยินยอมจ่ายค่าจ้างให้กับคนทำงานสำหรับช่วง 3 วันที่หยุดงานประท้วงด้วย เหตุการณ์ที่คล้ายกันนี้ถูกบันทึกไว้ในเดือน มี.ค. 2018 เมื่อฝ่ายบริหารเปิดตัวนโยบายค่าจ้างใหม่ การประท้วงที่เกี่ยวข้องกับคนทำงานหลายพันคนซึ่งปิดกั้นทางหลวงระหว่างนครโฮจิมินห์และดงไน บังคับให้ฝ่ายบริหารต้องถอนนโยบายดังกล่าวออก</p>
<p>เหล่าคนทำงานผู้แข็งกร้าวที่โรงงานของ Pou Chen ในเมืองเบียนหัว ได้หยุดงานประท้วงอีกครั้งในปี 2022 หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก คนทำงานระบุว่าบริษัทลดโบนัสสิ้นปีของพวกเขาลง เหลือเพียง 1-1.5 เดือน จาก 1.9-2.2 เดือนในปีก่อน ๆ</p>
<p>คล้ายกับจีน สหภาพแรงงานในเวียดนามถูกควบคุมโดยรัฐ และสหภาพแรงงานที่ถูกกฎหมายเพียงแห่งเดียวคือสมาพันธ์แรงงานเวียดนาม (VGCL) ซึ่งครอบงำโดยรัฐบาล แม้จะมีการทดลองต่าง ๆ ในช่วงหลายปีก่อนหน้านี้ ซึ่งรวมถึงการเจรจาต่อรองร่วม มีการจัดการกรณีพิพาทแรงงานได้ดีขึ้น และอนุญาตให้คนทำงานจัดตั้งองค์กรตัวแทนแรงงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับสหภาพแรงงาน VGCL ในองค์กรต่าง ๆ</p>
<p>อาจเป็นเพราะความขัดแย้งด้านแรงงานที่เพิ่มขึ้นในเวียดนาม ทำให้ Pou Chen ยินดีที่จะร่วมมือกับสหภาพแรงงานมากขึ้น บริษัทประกาศว่าพวกเขาได้บรรลุข้อตกลงกับสหภาพแรงงานก่อนที่จะประกาศลดโบนัสสิ้นปีในทั้งปี 2022 และ 2023 อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้ช่วยแก้ไขความไม่พอใจของคนทำงานได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากคนทำงานยังคงหยุดงานประท้วงในปี 2022</p>
<p>อย่างไรก็ตาม Pou Chen ก็ไม่ได้ยอมรับสหภาพแรงงานตลอดเวลา ในเมียนมา Pou Chen ปราบปรามสหภาพแรงงานด้วยการไล่พนักงานเกือบ 30 คน ออกหลังจากการประท้วงในปี 2022 ที่เรียกร้องให้มีการเพิ่มค่าจ้าง</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ความจำเป็นในการเสริมสร้างการต่อรองร่วมในประเทศกำลังพัฒนา</span></h2>
<p>การที่บริษัท Pou Chen ย้ายฐานการผลิตไปยังอินโดนีเซียในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อใช้ประโยชน์จากคนทำงานที่มีอยู่จำนวนมากและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับคนทำงานเวียดนาม ส่งผลให้สหภาพแรงงานของอินโดนีเซียรู้สึกกดดันมากขึ้นในการรวมตัวปกป้องสิทธิของเหล่าพนักงาน</p>
<p>จากประสบการณ์ของคนทำงานจีนและเวียดนาม แสดงให้เห็นว่าบริษัทลูกของ Pou Chen ดำเนินการอย่างรวดเร็วและเด็ดขาดเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลกำไร ซึ่งอาจรวมถึงการเลิกจ้างพนักงานจำนวนมาก การปรับนโยบายค่าจ้าง และการลดโบนัส</p>
<p>ความสำเร็จเบื้องต้นของแรงงานเวียดนาม ยังชี้ให้เห็นว่าการต่อสู้กับการลดต้นทุนของนายจ้าง ไม่เพียงแค่เป็นการตัดสินใจทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นการตัดสินใจทางการเมืองที่อาศัยพลังอำนาจการรวมตัวของคนทำงาน  หากเสียงของคนทำงานไม่แข็งแกร่งพอที่จะต่อรองกับบริษัท บริษัทก็จะดำเนินการตัดสินใจเหล่านั้นได้อย่างเบ็ดเสร็จ</p>
<p>ในระหว่างการเยือนอินโดนีเซียเมื่อปี 2023 องค์กร CLB ได้เข้าพบกับ สหภาพแรงงานแห่งชาติอินโดนีเซีย (SPN) และรับทราบเกี่ยวกับข้อตกลงร่วม (Collective Agreement) ระหว่าง Pou Chen และสหภาพแรงงาน แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ดีที่เห็นสหภาพแรงงานมีส่วนร่วมในการต่อรองร่วมกับบริษัท แต่ตัวแทนของ SPN ก็ได้เน้นย้ำถึงความท้าทายที่สำคัญ คือ แบรนด์ระดับโลกไม่เต็มใจที่จะเข้าร่วมกระบวนการต่อรองและเปิดเผยรายละเอียดของคำสั่งซื้อจากโรงงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขึ้นค่าจ้างให้แก่คนทำงาน</p>
<p>เพื่อปรับปรุงสภาพการทำงานในภูมิภาคเหล่านี้ สหภาพแรงงานและองค์กร NGO ในประเทศพัฒนาแล้ว ควรสนับสนุนความพยายามในการต่อรองร่วมในประเทศกำลังพัฒนา อย่างแข็งขัน สหภาพแรงงานภายใต้ห่วงโซ่อุปทาน ควรร่วมมือกันกดดันให้แบรนด์ระดับโลกเข้าร่วมในการเจรจาค่าจ้างและหารือเกี่ยวกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานระหว่างการต่อรองร่วม ความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทาน เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปกป้องสิทธิแรงงานทั่วโลก</p>
<p><strong>ที่มา:</strong>
Shift of strikes to Pou Chen's factories in southeast Asia underscores need for support in unions' collective bargaining (China Labour Bulletin, 27 March 2024)</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพิhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/04/108654
 
325  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - เลขาฯ ครม.แจง 'ประชาไท' ปมประกาศพระราชทานเครื่องราชฯให้ชาวต่างปท.ไม่ปรากฎชื เมื่อ: 01 เมษายน 2567 19:50:04
เลขาฯ ครม.แจง 'ประชาไท' ปมประกาศพระราชทานเครื่องราชฯให้ชาวต่างปท.ไม่ปรากฎชื่อผู้รับสนองฯ ถูกต้องแล้ว
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-04-01 18:25</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>สำนักเลขาฯ ครม. แจง 'ประชาไท' ปมประกาศพระราชทานเครื่องราชฯให้แก่ชาวต่างประเทศ ไม่ปรากฎชื่อผู้รับสนองพระบรมราชโองการเหมือนก่อนหน้านั้น ถูกต้องแล้ว ย้ำเป็นพระราชอํานาจ ตามรัฐธรรมนูญ ม.9 </li>
<li>พร้อมย้อนดูการเปลี่ยนจากประกาศสำนักนายกฯ โดยมีนายกฯ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนาม เป็นพระบรมราชโองการ 3 ฉบับล่าสุด ที่ไม่ปรากฎชื่อผู้รับสนองพระบรมราชโองการ </li>
</ul>
</div>
<p>จากกรณีตัวแทนกองบรรณาธิการข่าวประชาไท ยื่นหนังสือถึง เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เพื่อสอบถามถึงเหตุผลที่ไม่ปรากฏชื่อนายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ 2 ฉบับล่าสุด รวมทั้งเหตุใด 2 ฉบับดังกล่าวถึงไม่ออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเหมือนฉบับก่อนหน้านี้ นั้น</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53625114930_99cae1d340_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53625001474_1b0d69833b_b.jpg" /></p>
<p>ล่าสุด วันนี้ (1 เม.ย.67) สารบรรรณกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ส่งหนังสือ  เลขที่ นร0508/ท1747 ผ่านอีเมล saraban@soc.go.th ถึง เทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการบริหารประชาไท เรื่อง ขอทราบหลักเกณฑ์การลงประกาศในราชกิจจานุเบกษากรณีการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ ลงวันที่ 29 มี.ค. 2567 ลงชื่อ นรุตม์ ธัญวงษ์ ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ระบุว่า การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศดังกล่าวเป็นไป ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 9 ซึ่งบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจที่จะพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประกอบระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2564 ข้อ 7 ซึ่งกําหนดให้เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่บุคคลใดให้สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป  </p>
<p>พร้อมยืนยันว่า ในการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษาสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2566 ข้อ 9 และข้อ 12 รายละเอียดตามสิ่งที่มาด้วย 2 ซึ่งเห็นว่า ถูกต้องแล้ว</p>
<p>ซึ่งหนังสือดังกล่าวยังแนบ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2564 และ ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจา นุเบกษา พ.ศ. 2566 มาด้วย</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>‘ประชาไท’ ส่งจม.ถาม ‘สุรยุทธ์’ ปมไม่ปรากฏชื่อลงนามรับสนองฯ ตั้ง ‘ประยุทธ์’ เป็นองคมนตรี และ 2 คนก่อน</li>
<li>พบประกาศพระราชทานเครื่องราชฯ ให้แก่ชาวต่างปท. เปลี่ยนจากนายกฯ เป็นผู้รับสนองฯ เป็นไม่ปรากฎชื่อ</li>
<li>
<p>สนง.ปลัดสำนักนายกฯ แจ้ง 'ประชาไท' ส่งคำถามปมไม่ปรากฏชื่อนายกฯ ลงนามรับสนองฯ ให้ สำนักเลขาฯ ครม.แล้ว</p>
</li>
</ul>
</div>
<p>ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2564 ข้อ 7 บัญญัติไว้ว่า</p>
<div class="ืnote-box">
<div class="note-box">
<p style="margin-left: 40px;">ข้อ 7 เครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นเครื่องหมายแห่งเกียรติยศ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานแก่ผู้กระทำควำมดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน ตามที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควร เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชู เกียรติยศอย่างสูงแก่ผู้ได้รับพระราชทาน</p>
<p style="margin-left: 40px;">เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่บุคคลใด ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป</p>
</div>
</div>
<p>ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2566 ข้อ 9 และข้อ 12 บัญญัติว่า</p>
<div class="note-box">
<p style="margin-left: 40px;">ข้อ 9 หน่วยงานเจ้าของเรื่องหน่วยงานใดมีเรื่องที่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถ้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดเป็นอย่างอื่น ให้ส่งเรื่องพร้อมทั้งเอกสารแนบ (ถ้ามี) ที่ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีก่อนวันที่ประสงค์ จะให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจส่งล่วงหน้าได้ ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องประสานกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นกรณี ๆ ไป</p>
<p style="margin-left: 40px;">ในกรณีเรื่องที่ส่งมาประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นเรื่องที่ต้องมีลายมือชื่อของผู้มีอำนาจ ในการทำเรื่องนั้น ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องส่งเอกสารที่เป็นต้นฉบับที่มีลายมือชื่อของผู้มีอานาจดังกล่าว ให้สานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพร้อมกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งด้วย</p>
<p style="margin-left: 40px;">การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามลักษณะ รูปแบบ ขนาด วิธีการ และหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีกาหนด</p>
<p style="margin-left: 40px;">ข้อ 12 เมื่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้รับเรื่องที่จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา จากหน่วยงานเจ้าของเรื่องที่ถูกต้องครบถ้วนและสมบูรณ์แล้ว ให้ดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยเร็วซึ่งต้องไม่ช้ากว่าเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง เว้นแต่เลขำธิการคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรประกาศ ภายหลังกำหนดเวลาดังกล่าวหรือหน่วยงานเจ้าของเรื่องกำหนดวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไว้เป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีระบบในการสืบค้นจากประเภท ลักษณะ ชื่อของข้อมูล เนื้อเรื่อง ความเกี่ยวข้อง หรือเรื่องอื่นๆ ที่จะทำให้สะดวกและรวดเร็วในการค้นหาด้วย</p>
</div>
<p>ทั้งนี้เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2566 ตัวแทนกองบรรณาธิการข่าวประชาไทเข้ายื่นหนังสือถึง เศรษฐา นายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกของรัฐบาล 1111 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อสอบถามถึงเหตุผลที่ไม่ปรากฏชื่อนายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ 2 ฉบับล่าสุด รวมทั้งเหตุใด 2 ฉบับดังกล่าวถึงไม่ออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเหมือนฉบับก่อนหน้านี้ โดยการยื่นหนังสือดังกล่าว ได้รับหมายเลขรับเรื่อง นร01660004370 จนต่อมา นลินี มหาขันธ์ ผอ.ศูนย์บริการประชาชน ปฏิบัติราชการแทนปลัดสำนักนายกฯ ลงวันที่ 5 ม.ค.ที่ผ่านมา ว่าทางสำนักงานปลัดสำนักนายกฯ ได้ประสานส่งเรื่องให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจรับผิดชอบกรณีที่ กองบรรณาธิการข่าวประชาไท ได้มีหนังสือคำร้องมาเพื่อพิจารณา โดยขอให้แจ้งผลให้ท่านทราบโดยตรงด้วยแล้ว นั้น</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ย้อนดูการเปลี่ยนจากประกาศสำนักนายกฯ โดยมีนายกฯ เป็นผู้ลงนามรับสนองฯ มาเป็น 3 ฉบับล่าสุด</span></h2>
<p>ก่อนหน้านั้น 13 พ.ย. 2566 ประชาไท พบว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ [1. นางทาเลีย เจรัลดีน ลิน (Mrs. Thalia Geraldine Lyn) 1. นายโฮเซ กิเยร์โม โรโม โรเมโร (Mr. José Guillermo Romo Romero)] ซึ่งเปลี่ยนจากประกาศสำนักนายกฯ โดยมีนายกฯ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนาม เป็นพระบรมราชโองการ และไม่ปรากาฎชื่อผู้รับสนองพระบรมราชโองการเหมือนก่อนหน้า </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53331583110_9a685d8704_h.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">เปรียบเทียบประกาศพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ จาก 21 เม.ย.2566 และก่อนหน้านั้น ที่ออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี และมีนายกฯ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ กับประกาศเมื่อวันที่ 13 พ.ย.2566 ออกเป็นพระบรมราชโองการ และไม่ปรากาฎชื่อผู้รับสนองพระบรมราชโองการเหมือนก่อนหน้า</span></p>
<p>และจากการสืบค้นในเว็บไซต์เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา พบว่า ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ พบ 3 ครั้งล่าสุดนี้ ไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ โดยครั้งก่อนหน้าคือวันที่ 10 ต.ค.2566 ในพระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ [1. นางทาเลีย เจรัลดีน ลิน (Mrs. Thalia Geraldine Lyn) 2. นายโฮเซ กิเยร์โม โรโม โรเมโร (Mr. José Guillermo Romo Romero)] และล่าสุดเมื่อวันที่ 26 มี.ค.2567 พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ [นายตีแยรี มาตู (Mr. Thierry Mathou) ก็ไม่ปรากฏชื่อผู้ลงนามรับสนองฯ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53331351923_ebf518dbb5_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพตัวอย่างการสืบค้น ประกาศพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ จากเว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ย้อนหลัง</span></p>
<p>ทั้งที่ก่อนหน้านั้นออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี และมีนายกฯ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เช่น เมื่อวันที่ 21 เม.ย.2566 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี  เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ [จำนวน 4 ราย 1.นายว็อล์ฟกัง คีสลิง (Mr. Wolfgang Kiessling) ฯลฯ] 19 ม.ค.2566 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ [จำนวน 3 ราย 1. นายอาคิลเล เบนัซโซ (Mr. Achille Benazzo) ฯลฯ] หรือ 31 พ.ค.2565 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ [จำนวน 5 ราย 1. นายโยะชิฮิโระ มิวะ (Mr. Yoshihiro Miwa) ฯลฯ] เป็นต้น</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/04/108659
 
326  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - หวยลาววันนี้ 1 เมษายน 2567 ผลหวยลาววันนี้ ออกอะไร เมื่อ: 01 เมษายน 2567 18:55:58
หวยลาววันนี้ 1 เมษายน 2567 ผลหวยลาววันนี้ ออกอะไร
         


หวยลาววันนี้ 1 เมษายน 2567 ผลหวยลาววันนี้ ออกอะไร" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ลุ้นสด หวยลาววันนี้ 1/4/67 ถ่ายทอดสดหวยลาว หวยลาวล่าสุด หวยลาวพัฒนา 1 เม.ย. 67
         

https://www.sanook.com/news/9312890/
         
327  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - วันแรกเกณฑ์ทหาร 67 สส.ก้าวไกล จี้รัฐบาลตอบให้ชัดลดยอดกำลังพลปีนี้เหลือเท่าไร เมื่อ: 01 เมษายน 2567 18:19:54
วันแรกเกณฑ์ทหาร 67 สส.ก้าวไกล จี้รัฐบาลตอบให้ชัดลดยอดกำลังพลปีนี้เหลือเท่าไร
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-04-01 16:48</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก แฟ้มภาพ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ประเดิมวันแรกเกณฑ์ทหาร 2567 ‘ธนเดช’ ชี้ก้าวแรกพลทหารต้องปลอดภัย ก้าวต่อไปต้องยกเลิกเกณฑ์ทหาร จี้รัฐบาลตอบให้ชัดลดยอดกำลังพลปีนี้เหลือเท่าไร หวังทุกพรรคสนับสนุนร่างกฎหมายยกเลิกเกณฑ์ทหารของก้าวไกลในสภาฯ</p>
<p>1 เม.ย. 2567 ทีมสื่อพรรคก้าวไกล รายงานต่อสื่อมวลชนว่า วันนี้ (1 เม.ย.) ธนเดช เพ็งสุข สส.กรุงเทพฯ เขต 13 พรรคก้าวไกล และในฐานะรองประธาน กมธ.การทหาร แถลง Policy Watch เนื่องในวันแรกของการเกณฑ์ทหาร 1 เมษายน 2567 โดยกล่าวว่า หลายคนเคยคาดหวังว่าวันนี้หากก้าวไกลเป็นรัฐบาล การยกเลิกเกณฑ์ทหารจะต้องเกิดขึ้น แต่ก็น่าผิดหวังอย่างยิ่งที่รัฐบาลปัจจุบันยังไม่ได้ผลักดันเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทำให้ประชาชนหลายคนยังต้องเสี่ยงจับใบดำใบแดง</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ก้าวแรกที่เราทำคือโครงการ “พลทหารปลอดภัย” ของ กมธ.ทหาร ริเริ่มโดย วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ประธาน กมธ. โครงการนี้เกิดขึ้นจากเงื่อนไขปัจจุบันที่รัฐบาลยังไม่ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร และยังมีปัญหาตั้งแต่อดีต คือประชาชนไม่รู้สึกไว้วางใจกองทัพ สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดคือการคุ้มครองกำลังพล ให้มีศักดิ์ศรีและความปลอดภัย เป็นพื้นที่ให้ครอบครัวได้อุ่นใจว่าผู้แทนราษฎรจะอยู่เคียงข้าง ทั้งในยามทุกข์และยามสุข</p>
<p>สำหรับความมุ่งหวังของโครงการพลทหารปลอดภัย คือ (1) รับข้อร้องเรียนจากพลทหาร ญาติของพลทหาร หรือผู้พบเหตุ โดยสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนไปยัง LINE OA ของ กมธ.ทหาร ทาง กมธ. จะเข้าช่วยเหลือแก้ไขวิกฤตทันที และในกรณีที่พบว่าพลทหารถูกทำร้าย ถูกธำรงวินัยอย่างผิดระเบียบ หรือถูกซ้อมทรมาน หรือถูกกระทำการใดๆ ที่ไม่เป็นธรรม ทาง กมธ.ทหาร จะมุ่งระงับเหตุอย่างทันท่วงทีผ่านการประสานงานโดยตรงกับกระทรวงกลาโหม หรือตัวแทนเหล่าทัพที่ประจำ กมธ.</p>
<p>(2) หากการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นและเราไม่สามารถยับยั้งได้ทันท่วงที หรือเป็นเหตุให้เกิดการจำหน่าย หรือพลทหารต้องเสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บร้ายแรง กมธ.ทหาร จะประสานกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือสำนักการสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีกับนายทหารผู้กระทำและผู้บังคับบัญชาตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 อย่างตรงไปตรงมา</p>
<p>(3) กรณีพลทหารหนีทหาร กมธ.ทหาร จะนำพลทหารกลับสู่กรมกองด้วยความปลอดภัย เพื่อคืนสิทธิ์คืนศักดิ์ศรีในการใช้ชีวิต ขอให้กำลังพลที่หนีออกไปประสานงานกลับมาที่ กมธ. ได้</p>
<p>(4) จากเหตุการณ์ช่วงที่ผ่านมาที่มีพลทหารกระทำอัตวินิบาตกรรมระหว่างอยู่ในค่ายทหาร พบว่าสาเหตุทั้งหมดมาจากความเครียด วิตกกังวล กมธ.ทหาร จึงมีแนวนโยบายนำจิตแพทย์เข้าพบกำลังพล เพื่อให้กระทรวงกลาโหมได้ดูเป็นเยี่ยงอย่างในการนำไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพชีวิตของกำลังพล </p>
<p>ธนเดช กล่าวต่อไปว่า พรรคก้าวไกลเคยยื่นร่างกฎหมายยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร เป็นร่างการเงิน จนถึงวันนี้นายกฯ ยังไม่เซ็นรับรอง พรรคจึงยื่นร่างกฎหมายอีกฉบับ ไม่เป็นร่างการเงิน จะนำไปสู่การยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร ด้วยการแก้ไข พ.ร.บ.รับราชการทหาร 2497 ตัดสิทธิกองทัพในการบังคับคนไปเป็นทหารในห้วงเวลาที่ไม่ใช่สถานการณ์สงคราม เพื่อให้กองทัพประกอบด้วยคนที่สมัครใจเท่านั้น เหตุผลที่เลือกใช้วิธีนี้เพราะเป็นวิธีที่มีกรอบเวลาชัดเจน สามารถกำหนดเวลาให้กองทัพปรับตัวได้ และเป็นแรงกดดันให้กองทัพต้องยกระดับตัวเอง </p>
<p>ทั้งนี้ การยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหารในปัจจุบันมี 2 วิธี คือ (1) เลิกแบบลุ้นปีต่อปี (2) เลิกแบบการันตีไม่มีเกณฑ์ จากปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยความต้องการกำลังพลประมาณ 90,000 นายต่อปี มีคนสมัครประมาณ 30,000 คน เท่ากับ 1 ปีจะมีคนอีกประมาณ 60,000 คนต้องเสี่ยงเข้าไปจับใบดำใบแดงทั้งที่ไม่ได้อยากเป็นทหาร และการมีอยู่ของการเกณฑ์ทหารไม่ได้ส่งผลดี เนื่องจากทุกคนที่ถูกเกณฑ์ล้วนมีต้นทุนต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิเสรีภาพ ความเจริญเติบโตในหน้าที่การงาน การดูแลครอบครัว</p>
<p>การยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหารของพรรคก้าวไกล ยืนยันว่าจะไม่กระทบต่อการรักษาความมั่นคงของประเทศ ข้อเสนอของเราคือให้กองทัพทำตาม 2 เงื่อนไขหลัก คือลด Demand หรือยอดกำลังพล ซึ่งหากกองทัพตั้งใจแก้ปัญหา เช่น ยอดผี การจำหน่ายไปอยู่บ้านนาย น่าจะลดยอดกำลังพลเหลือประมาณ 50,000-60,000 คนได้ ควบคู่ไปกับการเพิ่ม Supply คือการเพิ่มสวัสดิการให้กับคนที่สมัครใจเป็นทหาร ทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิต การประกันรายได้ หรือการคุ้มครองความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน หากทำได้ มั่นใจว่าจะมีประชาชนไม่น้อยที่สมัครใจเข้าไปเป็นกำลังพล</p>
<p>ธนเดช กล่าวสรุปว่า จากสถานการณ์ปัจจุบัน การแถลงข่าวของ รมว.กลาโหม ไม่ได้สอดคล้องกับแนวทางก่อนการเลือกตั้ง ดูเหมือนรัฐบาลจะเลือกใช้การยกเลิกเกณฑ์ทหารแบบที่ 1 คือลุ้นปีต่อปี โดยรัฐบาลพยายามให้ข่าวว่าจะค่อยๆ ลดจำนวนความต้องการ แต่จนถึงตอนนี้ยังไม่มีตัวเลขหรือรายละเอียดที่ชัดเจนออกมา ว่าปีนี้ ปีหน้า หรือในช่วงเวลา 4 ปี จำนวนความต้องการกำลังพลจะลดลงเหลือเท่าไร แบบนี้เป็นวิธีที่กองทัพทำมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ใช่วิธีที่ประชาชนต้องการ</p>
<p>“ในเมื่อร่างกฎหมายของพรรคก้าวไกลเข้าสภาฯ แล้ว หวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลที่มีนายกฯ ชื่อเศรษฐา ทวีสิน ที่เคยป่าวประกาศว่าทหารต้องมาจากความสมัครใจ ไม่ใช่การเกณฑ์ จะกล้าหาญพอที่จะเซ็นผ่านร่างนี้ เพื่อบรรจุเข้าสู่สภาฯ และนี่คือห้วงเวลาวัดใจเพื่อน สส. ด้วยว่าวันที่ท่านพูดกับพี่น้องประชาชน ท่านมีความจริงใจแค่ไหน จึงหวังว่าจะให้การสนับสนุนและเดินหน้าไปสู่การยกเลิกเกณฑ์ทหารร่วมกัน แต่หากพวกท่านไม่สนับสนุน ก็อาจหมายความว่าสิ่งที่พวกท่านพูดก่อนหน้านี้ เป็นเพียงการโฆษณาเพื่อให้ได้คะแนนเสียงเท่านั้น” ธนเดชกล่าว</p>
<p>ธนเดชทิ้งท้ายว่า หวังเป็นอย่างยิ่งว่าในอนาคต ร่างกฎหมายยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหารที่ก้าวไกลเสนอจะผ่านสภาฯ และจะดีไปกว่านี้ ถ้าปีหน้าประเทศไทยไม่ต้องมีการเกณฑ์ทหารอีก ขอให้รัฐบาลเร่งยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหารโดยเร็วที่สุดไม่ว่าด้วยวิธีใด</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/04/108658
 
328  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - “แฟรงค์” เพื่อนตะวัน การ์ด WeVo และคดีบีบแตรตำรวจขบวนเสด็จ เมื่อ: 01 เมษายน 2567 16:49:01
“แฟรงค์” เพื่อนตะวัน การ์ด WeVo และคดีบีบแตรตำรวจขบวนเสด็จ
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-04-01 12:53</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สรวุฒิ วงศ์ศรานนท์ สัมภาษณ์/เรียบเรียง</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ทำความรู้จัก “แฟรงค์” คู่คดีของ “ตะวัน” ผ่านสายตาของเพื่อน ในวันที่ยังต้องลุ้นว่าจะได้ปล่อยตัวก่อนหรือพวกเขาจะต้องอดอาหารต่อเพราะไม่ได้สิทธิประกันตัวพร้อมกับความเสี่ยงถึงชีวิต</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53601309863_d57901f55f_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ตะวันและแฟรงค์กำลังถูกนำตัวไป สน.พหลโยธินหลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าแสดงหมายจับ ภาพ แมวส้ม</span></p>
<p>เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาแฟรงค์ ณัฐนนท์ ไชยมหาบุตรปรากฏตามหน้าสื่อต่างๆ หลังจากถูกดำเนินคดีม.116 พร้อมกับตะวัน หรือ ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ จากกรณีที่พวกเขาบังเอิญไปเจอขบวนเสด็จบนทางด่วนแล้วบีบแตรแสดงความไม่พอใจต่อตำรวจที่มาปิดกั้นเส้นทาง</p>
<p>จากเหตุการณ์วันนั้น ทั้งสองคนถูกขังระหว่างรอการสืบสวนสอบสวนของตำรวจโดยไม่ได้รับสิทธิประกันตัวมาจนถึงวันนี้ทั้งที่คดีก็ยังไม่ถึงที่สุด แล้วล่าสุดตำรวจก็ยังไปขอฝากขังต่อด้วยการให้เหตุผลแปลกๆ ว่ารอตรวจหลักฐานวิดีโอหน้ารถของพยานในเหตุการณ์ที่พวกเขาไม่มีทางเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานนี้ได้แต่ศาลก็ยังคงอนุญาตให้ขังพวกเขาต่อตามความเห็นตำรวจ</p>
<p>“เห็นว่า คดีนี้อยู่ในชั้นฝากขังใกล้ครบระยะเวลาฝากขังแล้ว และศาลนี้เคยมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม” คือเหตุผลของศาลอาญา รัชดาฯ ให้ขังพวกเขาต่อในการยื่นประกันตัวครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมาหลังจากทั้งสองคนถูกฝากขังมา 44 วันแล้วและกำลังจะครบ 48 วันในวันนี้ (1 เม.ย.) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ศาลจะมีอำนาจขังพวกเขาไว้ได้ตามกฎหมายหากอัยการยังไม่ส่งฟ้องต่อศาลในวันนี้และถ้าหากอัยการส่งฟ้องทันพวกเขาก็อาจจะถูกขังต่อในชั้นพิจารณาคดีของศาลต่อได้หากศาลไม่ให้ประกันตัวในชั้นพิจารณา</p>
<p>จากเหตุผลข้างต้นทำให้แฟรงค์กับตะวันอดอาหารประท้วงเพื่อทวงสิทธิประกันตัวต่อเนื่องมาตั้งแต่วันแรกที่ถูกขังจนเกือบจะถึง 50 วัน จนร่างกายทรุดโทรมมากแล้วทั้งคู่ แฟรงค์ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ส่วนตะวันแพทย์ก็มีความเห็นว่าเสี่ยงที่หัวใจจะหยุดเต้นจากสภาวะโพแทสเซียมต่ำ</p>
<p>อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ แฟรงค์ หนุ่มวัย 23 ปี ทำงานรับจ้างส่งของคนนี้ก็ได้ปรากฏตามหน้าสื่อต่างๆ ที่แม้หลายคนอาจจะไม่คุ้นหน้าแต่เขาก็ไม่ได้เป็นนักกิจกรรมหน้าใหม่ เพราะเขาไม่ได้เป็นแกนนำแถวหน้าออกมาพูดความคิดตัวเองทั้งในที่ชุมนุมและในหน้าสื่อเท่าไหร่</p>
<p>ต่อให้ย้อนไปหาข่าวก็จะเห็นแค่ข่าวที่เขาได้รับบาดเจ็บจากการถูกรถคุมขังที่นำตัวพริษฐ์ ชีวารักษ์ หรือเพนกวินและภานุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ไปเรือนจำเข้าชนจนจักรยานยนต์ล้มแล้วถูกลากไปทำให้แฟรงค์ได้รับบาดเจ็บและรถจักรยานยนต์เสียหาย ซ้ำร้ายเขายังถูกดำเนินคดีเพราะถูกกล่าวหาว่าจะแย่งตัวผู้ต้องขังด้วย แม้ว่าตัวเขาเองจะบอกว่าวันนั้นเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคนที่อยู่ในนั้นเป็นใครแล้วเขาก็แค่เพิ่งเสร็จจากเติมน้ำมันที่ปั๊มและกำลังจะกลับบ้านเท่านั้น</p>
<p>สำหรับเพื่อนๆ ของแฟรงค์หรือคนที่เข้ามาร่วมชุมนุมทางการเมืองกับขบวนการเยาวชนก็อาจจะได้เจอเขาบ้างตั้งแต่ช่วงปี 2563 แล้ว จากช่วงแรกที่แค่ช่วยงานหลังเวทีปราศรัยในที่ชุมนุมของแนวธรรมศาสตร์และการชุมนุมก่อนที่จะเข้ามาร่วมเป็นการ์ดผู้ชุมนุมกับกลุ่ม WeVo จนกระทั่งได้มาร่วมกับกลุ่มของตะวันและเพื่อนๆ ในปัจจุบัน</p>
<p>นอกจากจะไม่ค่อยเห็นแฟรงค์ได้พูดความคิดของตัวเองในที่สาธารณะเท่าไหร่แล้ว กับเพื่อนๆ ของแฟรงค์เองก็ดูเหมือนว่า แฟรงค์ก็ถือว่าเป็นคนพูดน้อยเอาเรื่อง แต่ในมุมมองของเพื่อนๆ ที่ได้รู้จักกันมาก็ดูจะเห็นตรงกันว่าแฟรงค์ดูจะเป็นทนเห็นสิ่งที่ “ไม่ถูกต้อง” และ “ไม่ยุติธรรม” ไม่ได้</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53624294061_d643b0ab7e_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ข้าวปั้น(เสื้อเขียว) และแฟรงค์(ขวาบน) ตอนเป็น WeVo ด้วยกัน ภาพจาก ข้าวปั้น</span></p>
<p>“แฟรงค์เขาเป็นคนเข้าใจไม่ยาก เขาแค่ไม่ชอบสิ่งที่เป็นอยู่ อะไรที่มันไม่ถูกต้องหรือมันไม่พูดไม่ได้เขาจะไม่สามารถทนเห็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องได้ เขาก็เลยมาเข้าร่วม” ธนพ อัมพะวัต หรือ ข้าวปั้น เพื่อนของแฟรงค์ตอนอยู่ WeVo พูดถึงแฟรงค์ที่เขารู้จัก</p>
<p>ข้าวปั้นบอกว่า เขาได้มาเจอกันเพราะวันหนึ่งได้เห็นภาพของแฟรงค์เข้าไปเผชิญหน้ากับตำรวจในคืนวันที่ 16 ต.ค.2563 ที่การชุมนุมของเยาวชนถูกตำรวจเข้าใช้กำลังสลายการชุมนุม พวกเขาเห็นว่าแฟรงค์หน่วยก้านดีเลยชักชวนแฟรงค์เข้ามาร่วมกับกลุ่มของพวกเขา</p>
<p>“ความยุติธรรมของมันก็คือ ถ้ามึงผิดอะมึงก็ต้องรับผิดนั่นแหละ ถ้ากูผิดกูก็ต้องได้รับผิด ตรงไปตรงมา มันเป็นคนตงฉินไม่ตอแหลโกหก” อรวรรณ ภู่พงษ์ หรือแบมพูดถึงมุมมองเรื่องความยุติธรรมของแฟรงค์จากสิ่งที่เขาแสดงออกผ่านการกระทำ</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53575333122_8cea520e33_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">แบม ยื่นหนังสือขอให้ศาลพิจารณาทบทวนคำสั่งอนุญาตฝากขังทั้งสองคนเมื่อ 9 มี.ค.2567 ภาพ แมวส้ม</span></p>
<p>แบม เป็นเพื่อนคนหนึ่งของแฟรงค์ที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันมาตั้งแต่เจอกันตอนเธอกับตะวันอดอาหารทวงสิทธิประกันตัว เธอบอกว่าอย่างเรื่องขบวนเสด็จก็เป็นเรื่องหนึ่งที่แฟรงค์รู้สึกทนไม่ได้และไม่ยุติธรรม แต่กลับไม่มีใครตั้งคำถามว่าขบวนเสด็จผ่านแค่ไม่กี่นาทีแต่ทำไมตํารวจต้องมาปิดถนนแล้วคนรับผิดชอบคือใครทั้งที่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนจริงๆ</p>
<p>แบมยังเล่าถึงกรณีที่ชาวนาชุมนุมเรียกร้องอยู่บริเวณหน้ายูเอ็นแล้วถูกให้ย้ายที่ชุมนุมเพราะกำลังจะมีขบวนเสด็จผ่านก็เป็นเรื่องที่แฟรงค์และตะวันรู้สึกว่าไม่ถูกต้อง แล้วคดีล่าสุดที่เกิดขึ้นก็เพราะพวกเขาไปเจอขบวนเสด็จบนทางด่วนโดยบังเอิญในขณะที่แฟรงค์รีบพาตะวันที่กำลังไม่สบายกลับไปพักผ่อนหลังเพิ่งเสร็จจากงานศพของเพื่อนนักกิจกรรม</p>
<p>“ความโกรธของมัน(แฟรงค์) อาจจะแรงกว่าที่มันบีบแตรออกมาด้วยซ้ำ คงส่งไปไม่ถึงขบวนเสด็จหรอก แต่การบีบแตรก็เพื่อให้คนรอบข้างรู้ว่านี่แม่งเกิดอะไรขึ้น เพื่อให้ตำรวจรู้ว่ากูเดือดร้อน”  แบมยังมองว่าเหตุการณ์วันนั้นแฟรงค์กับตะวันเพียงแค่ต้องการตั้งคำถามและแสดงความไม่พอใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นจนเป็นความปกติเท่านั้น</p>
<p>แบมเห็นว่า เมื่อเทียบกับกระแสความไม่พอใจขบวนเสด็จทั้งในออฟไลน์และออนไลน์ตอนช่วงปี 63-64 จนเกิด #ขบวนเสด็จ ขึ้นมา สิ่งที่พวกเขาทั้งสองคนทำก็กลายเป็นเรื่องเล็กไปเลย แต่กลับกลายเป็นเรื่องใหญ่อย่างที่เธอเองก็คาดไม่ถึงหลังจากไลฟ์เหตุการณ์นั้นของตะวันกลายเป็นไวรัลทั้งใน TikTok และ IG จากนั้นทั้งสองคนก็ถูกดำเนินคดีด้วยด้วยมาตรา 116 เพราะเรื่องนี้</p>
<p>แต่ถ้าพูดถึงความคาดหวังของแฟรงค์ที่ออกมาทำกิจกรรมแล้ว แฟรงค์เองก็เป็นคนหนึ่งที่อยากเห็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างถูกต้องและเป็นรัฐบาลที่รับฟังเสียงของประชาชนด้วย</p>
<p>“เขาต้องการเห็นพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งอย่างถูกต้องแล้วก็เห็นหัวประชาชน ฟังเสียงประชาชน หลายครั้งเราก็เถียงกับแฟรงค์เพราะเราชอบพรรคไหนเป็นพิเศษ แต่แฟรงค์จะไม่เลย เห็นพรรคไหนทำผิดก็ด่าออกมาตรงๆ หรือแม้แต่กับคนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยด้วยกันเองทำผิดก็พร้อมจะด่าออกมาเสมอ” ข้าวปั้นเล่า</p>
<p>แม้เรื่องที่เกิดจะดูเหมือน แฟรงค์ เป็นสายลุยทั้งการไปเป็นการ์ดและการแสดงออกตรงๆ ถึงความรู้สึกของตัวเอง แต่ในสายตาของเพื่อนๆ เขาเป็นคนเงียบๆ เข้าสังคมไม่ค่อยเก่งเท่าไหร่แต่ก็เป็นคนตลกอย่างคาดไม่ถึง</p>
<p>“ตอนเริ่มรู้จักแฟรงค์เนี่ยจริงๆ ก็แอบเกร็งๆ เพราะมันไม่พูดอะไรเลย มันเหมือนรําคาญเราด้วยซ้ำแต่จริงๆ ไม่ได้รําคาญมันแค่อินโทรเวิร์ทเลเวลสูงแหละ” แบมบอกว่าเขาเป็นคนเงียบๆ ไม่ค่อยเข้าสังคม จะคุยกับคนที่สนิทด้วยจริงๆ ถึงกับเคยชวนไปวันเกิดที่บ้านแต่พอถึงบ้านแฟรงค์ก็ไปหลบมุมเล่นเกม แต่ถึงแบมจะรู้สึกว่าแฟรงค์เป็นคนพูดน้อยดูเฉยเมย แต่ก็เป็นคน “ติงต๊อง”</p>
<p>ข้าวปั้นเล่าว่าสมัยแฟรงค์อยู่กับ WeVo เขามักจะเป็นคนที่คอยเรียกเสียงหัวเราะให้กับเพื่อนๆ อย่างตอนที่แฟรงค์ถูกดำเนินคดีครั้งแรกก็ไปพูดจาติดตลกตอนให้การกับตำรวจจนทนายความบ่นก็แล้วแต่ดูจะหยุดความเป็นคนกวนประสาทของเขาไม่ได้พลอยทำเพื่อนๆ ที่นั่งรอให้กำลังใจอยู่หัวเราะไปด้วย แต่เมื่อถึงเวลาจริงจังแฟรงค์ก็เป็นคนที่จริงจังกับหน้าที่ของตัวเองและพึ่งพาได้คอยช่วยเหลือให้เพื่อนรอดจากการถูกตำรวจเข้าสลายชุมนุมได้</p>
<p>ความคอยเป็นห่วงเพื่อนๆ นี้ของแฟรงค์ไม่ใช่แค่ตอนที่เขาอยู่ในที่ชุมนุม แบมเล่าว่าเขาเป็นคนรับผิดชอบชีวิตคนอื่นด้วยแม้จะไปแฮงค์เอ้าท์ด้วยกันเขาก็ไม่ดื่มเพื่อขับรถส่งเพื่อนถึงบ้านจนครบ แล้วแฟรงค์ก็เป็นเด็กกตัญญูที่คอยทำงานหาเลี้ยงยายที่เลี้ยงเขามาจนโต อีกทั้งก็ยังชอบช่วยเหลือคนอื่นเป็นคนอ่อนไหวมาก</p>
<p>“มันก็แบบอุดหนุนเขาถ้าเขามาขายของก็ซื้อแบบมีเด็กมาขายกล้วยทอดมันก็ซื้อ อย่างเราถ้าเราเห็นก็จะแบบมึงไปสนับสนุนให้เค้าลําบากต่อนะ เราก็มีมายด์เซ็ตของเรา แต่สําหรับมันก็คือว่า เออก็เค้าลําบากตอนนี้เราก็อยากอุดหนุนเค้า เราเห็นมันก็มีมุมอ่อนโยนเหมือนกัน"</p>
<p>แต่ความเป็นคนอ่อนไหวของแฟรงค์พอมีเพื่อนต้องเดินหน้าเข้าคุกก็เครียด แบมเล่าด้วยว่าความเป็นคนพูดน้อยไม่ค่อยยอมเล่าปัญหาพอเครียดถึงที่สุดก็ยังแค่เปรยๆ ออกมาจนเธอต้องคอยถามไถ่พยายามถามให้ได้คุยระบายออกมาบ้าง</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53599469180_ed48ecfb84_b.jpg" style="width: 1024px; height: 683px;" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพ แมวส้ม</span></p>
<p>“หนูเป็นพวกแบบชอบถามไง ถามนั่นถามนี่ถามไปเรื่อยก็ถึงจะพูดก็ต้องเค้นนะว่ามันรู้สึกอย่างนี้ บางทีเราเห็นละอย่างแฟรงค์มันเซนซิทีฟง่ายมึงหงุดหงิดเริ่มรำคาญละ อีนี่เริ่มเข้ามาวุ่นวายก็เริ่มรำคาญละ แต่เรามองมันออกก็เข้าไปคุยในรถมันถึงพูดว่ามันรู้สึกยังไง เราก็โอเครู้สึกยังไงก็พูดมาเลยตรงนี้เป็นเซฟโซนพูดกับกูได้ทุกอย่าง”  แบมเล่า</p>
<p>แบมบอกว่าตอนเธอกับตะวันเข้าเรือนจำไปอดอาหารตอนนั้นยังพอมีเวลาตั้งตัว แต่รอบนี้แฟรงค์เข้าไปโดยไม่ได้ตั้งตัวก็เครียดแล้วยังเห็นเพื่อนอย่างสายน้ำกับสื่อก็มาโดนคดีอีก จนเธอรู้สึกว่าการที่พวกเขาต้องมาโดนคดีแบบนี้ก็เหมือนกับอดีตที่ผ่านมาที่ประชาชนโดนข่มขู่ข่มขวัญกันแบบนี้ไปจนถึงการล่าแม่มด</p>
<p>“ก็น่าเอือมระอากับการเมืองไทย แม่งโสโครกฉิบหายเลย มึงทำกับเด็กคนนึงอย่างนี้ได้ยังไง มันไม่ใช่แค่ตะวันหรอก การเมืองมันจะไปเคาะประตูหน้าบ้านแล้ว แล้ววินาทีนั้นมึงจะเลือกใช้ชีวิตยังไงมันมีผลหมด” แบมสะท้อนถึงความรู้สึกของเธอต่อสิ่งที่ตะวันกับแฟรงค์เผชิญอยู่ในตอนนี้</p>
<p>ข้าวปั้นมองว่าสังคมที่แฟรงค์กำลังเผชิญอยู่นี้เป็นสังคมที่การพูดเรื่องไหนสักเรื่องไม่ได้หรือพูดถึงสาเหตุของปัญหาในสังคมไม่ได้ซึ่งกำลังสะท้อนถึงสังคมที่ไม่มีวุฒิภาวะอยู่เลย</p>
<p>“สังคมที่เราพูดไม่ได้กันทุกเรื่องหรือว่าเราพูดเรื่องไหนแล้วสุดท้ายเราจะถูกห้ามพูดแล้วทะเลาะกันเป็นเรื่องใหญ่โต ผมว่าเราเป็นสังคมที่ผู้ใหญ่ไม่มากพอ เราต้องยอมรับว่าแฟรงค์ พวกเราเองหลายๆ คนอายุไม่เท่าไหร่ เราแค่ต้องการเห็นประเทศที่ดีกว่านี้ แล้วเราก็อยากให้ผู้ใหญ่ในสังคมรับฟังพวกเรามากกว่านี้”</p>
<p>“เราเข้าใจความเด็ดเดี่ยวของแฟรงค์อยู่แล้ว เรารู้จักกันมาเรารู้ว่าแฟรงค์เป็นคนยังไง แต่อยากให้แฟรงค์คิดว่าการรักษาตัวเองไว้สู้ในระยะยาวก็อาจจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าแฟรงค์จะตัดสินใจยังไงเราก็เคารพแฟรงค์เสมอ อยากให้แฟรงค์ได้ออกมาไวๆ” ข้าวปั้นฝากถึงแฟรงค์</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/04/108655
 
329  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - งวดนี้แตก 18 ล้าน! เศรษฐีใหม่เฮลั่นบ้าน ถูกรางวัลที่ 1 ไม่คิดฝันจะถึงคราวตัวเอง เมื่อ: 01 เมษายน 2567 16:24:25
งวดนี้แตก 18 ล้าน! เศรษฐีใหม่เฮลั่นบ้าน ถูกรางวัลที่ 1 ไม่คิดฝันจะถึงคราวตัวเอง
         


งวดนี้แตก 18 ล้าน! เศรษฐีใหม่เฮลั่นบ้าน ถูกรางวัลที่ 1 ไม่คิดฝันจะถึงคราวตัวเอง" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;เศรษฐีใหม่ นอนอยู่เฉยๆ ก็รวยเงินล้าน เฮลั่นบ้านไม่คิดจะเป็นตัวเอง งวดนี้ ลอตเตอรี่พลัส แตก 18 ล้าน!
         

https://www.sanook.com/news/9312950/
         
330  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ร้องผู้ว่าฯนราฯยกเลิกคำสั่งแต่งตั้ง 'คณะทำงานแก้ไขปัญหาการประกาศเขตอุทยานฯ เมื่อ: 01 เมษายน 2567 15:18:28
ร้องผู้ว่าฯนราฯยกเลิกคำสั่งแต่งตั้ง 'คณะทำงานแก้ไขปัญหาการประกาศเขตอุทยานฯ ซีโป'
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-04-01 13:02</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>Tanah Kita Network ส่งหนังสือด่วนถึงผู้ว่าฯนราธิวาสขอให้ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้ง “คณะทำงานแก้ไขปัญหาการประกาศเขตอุทยานฯ ซีโป” เพราะไม่เป็นไปตามข้อตกลง ไม่นำไปสู่การแก้ปัญหา และขาดความจริงใจต่อประชาชน</p>
<p> </p>
<p>1 เม.ย.2567 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า “เครือข่ายประชาชนปกป้องสิทธิในที่ดินรอบพื้นที่เตรียมประกาศเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป” หรือ Tanah Kita Network ส่งหนังสือด่วนถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ยกเลิกคำสั่ง “แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาที่ดินในการกำหนดพื้นที่เป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโปอย่างมีส่วนร่วม” โดยระบุว่าเพราะไม่เป็นไปตามข้อตกลง ไม่นำไปสู่การแก้ปัญหา และขาดความจริงใจต่อประชาชน</p>
<p>รายละเอียดดังนี้ : </p>
<div class="note-box">
<p>ตามที่ประชาชนใน 8 ตำบลในจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ ต.ซากอ ต.เชิงคีรี และ ต.ศรีบรรพต อ.ศรีสาคร ต.เฉลิม และ ต.กาลิซา อ.ระแงะ ต.ลาโล๊ะ และ ต.มะรือโบตก อ.รือเสาะ และ ต.ดุซงญอ อ.จะแนะ ประสบปัญหาความเดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกิน อันเนื่องมาจากการเตรียมประกาศจัดตั้งอุทยานแห่ชาติน้ำตกซีโป และ จากการที่ชาวบ้านไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินทำกินแม้จะตั้งถิ่นฐานมานานตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ ทั้งนี้ ในการเตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป ปรากฎว่าแนวเขตที่จะประกาศนั้นยังซ้อนทับที่ดินทำกินของชาวบ้านอยู่จำนวนมาก และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก็ไม่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดเขตของอุทยานฯ แต่อย่างใด </p>
<p>ที่ผ่านมาผู้ที่เดือดร้อนได้รวมตัวกันเป็น “เครือข่ายประชาชนปกป้องสิทธิในที่ดินรอบพื้นที่เตรียมประกาศเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป” หรือ Tanah Kita Network และได้ร้องเรียนปัญหาไปยังหลายภาคส่วน กระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้จังหวัดนราธิวาสได้ออกคำสั่งจังหวัดนราธิวาส เรื่อง “แต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาที่ดินในการกำหนดพื้นที่เป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโปอย่างมีส่วนร่วม” โดยให้อ้างว่า “เพื่อให้การดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงแลและแก้ไชปัญหาที่ดินในการกำหนดพื้นที่เพื่อเป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โปร่งใส และเป็นธรรม” โดยระบุให้ตัวแทน Tanah Kita Network เข้าร่วมเป็น 1 ในคณะทำงานที่มีทั้งหมดรวม 16 คน นั้น</p>
<p>Tanah Kita Network มีความวิตกกังวลอย่างอย่างยิ่งว่าคำสั่งจังหวัดนราธิวาสฉบับนี้ จะยิ่งสร้างอุปสรรคต่อการปกป้องสิทธิในที่ดินทำกินของประชาชน และจะไม่นำมาสู่การมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริง อีกทั้งคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานดังกล่าวดูจะเป็นเพียงยุทธวิธีที่ไม่มีความจริงใจของหน่วยงานรัฐเพื่อตอบโต้กลับต่อการท้วงติงของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติแห่งชาติน้ำตกซีโป มากกว่าที่จะคำนึงถึงความเดือดร้อนและชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน  ดังนั้น Tanah Kita Network จึงทำหนังสือด่วนถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสขอให้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าว</p>
<p>ทั้งนี้ เหตุผลที่ทำให้ Tanah Kita Network มีความวิตกกังวลต่อคำสั่งฯ นี้ ประกอบด้วย</p>
<p>1) คำสั่งจังหวัดนราธิวาสฉบับนี้ไม่เป็นไปตามข้อตกลงร่วมกันจากเมื่อครั้งที่ Tanah Kita Network ได้เข้าพบและประชุมร่วมกับนายสนั่น พงศ์อักษร ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส (ในขณะนั้น) และตัวแทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 เวลา 15.30 – 18.00 น. ณ ห้องประชุมศูนย์ดำรงธรรม ศาลากลางจังหวัดนราธิวาส (แห่งใหม่) ในการประชุมครั้งนั้นหัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโปได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า พร้อมจะดำเนินการเดินแนวเขตใหม่ร่วมกันกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบในทันที โดยในการประชุมดังกล่าวไม่มีการหารือถึงการตั้ง คณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาที่ดินในการกำหนดพื้นที่เป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโปอย่างมีส่วนร่วม แต่อย่างใด</p>
<p>2) คำสั่งจังหวัดนราธิวาสนี้เป็นการมัดมือชกให้ Tanah Kita Network ต้องเข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงฯ ในขณะที่องค์ประกอบของคณะทำงานตามคำสั่งฉบับนี้มีตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐมากถึง 14 หน่วยงาน ส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานด้านป่าที่มีความขัดแย้งกับกับประชาชนในเรื่องสิทธิในที่ดินทำกิน อีกทั้งยังมีตัวแทนจาก กอ.รมน. ภาค 4 ซึ่งไม่ควรเข้ามาเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ ท่ามกลางวงล้อมของตัวแทนจากหน่วยงานรัฐซึ่งพรั่งพร้อมไปด้วยสรรพกำลัง งบประมาณ เทคโนโลยีด้านแผนที่ ข้อมูล/ความรู้ และกฎหมายและระเบียบต่างๆ นั้น ตัวแทนจากเครือข่ายฯ ซึ่งเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดาย่อมเสียเปรียบ ทำให้พวกเราไม่เชื่อมั่นในการทำงานของคณะทำงานชุดนี้ว่าจะเป็นไปเพื่อการแก้ไขปัญหาจริงๆ โดยคณะทำงานนั้นถูกตั้งขึ้นเพื่อเอื้อต่อทางการในการผลักดันการประกาศอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโปให้ได้ตามแผนและเส้นแนวเขตที่หน่วยงานกำหนดไว้แล้วตั้งแต่ต้น</p>
<p>3) ที่สำคัญ การกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะทำงานฯ ให้มีหน้าที่ประชาสัมพันธ์ชี้แจงทำความเข้าใจ การประสานงานกับผู้นำชุมชน และการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้น เป็นหน้าที่ตามกฎหมายของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยตรง ไม่จำเป็นต้องให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะทำงานไปทำหน้าที่แต่อย่างใด  </p>
<p>ทั้งนี้ Tanah Kita Network มีข้อเสนอต่อจังหวัดนราธิวาส เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง  ดังนี้</p>
<p>1) ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสยกเลิกคำสั่งดังกล่าวทันที</p>
<p>2) ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสสั่งการให้ทางหัวหน้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโป (เตรียมการ) ดำเนินการนัดหมายกับทาง Tanah Kita Network เพื่อร่วมกันกำหนดแนวเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกซีโปใหม่เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสมาชิกเครือข่ายฯ ในการประกอบอาชีพ และเพื่อเป็นการรับรู้แนวเขตอุทยานที่จะประกาศร่วมกัน เพื่อจะได้เป็นผลดีต่อการจัดรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียในลำดับต่อไป ทั้งนี้ ในการนัดหมายต้องถือเอาความสะดวกของประชาชนเป็นสำคัญ</p>
<p>3) เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในระยะยาว จึงขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสสั่งการให้สำนักงานที่ดินจังหวัดนราธิวาสเข้ามาทำโครงการเดินสำรวจเพื่อออกโฉนดที่ดินให้กับประชาชนด้วย</p>
<p>4) ในระหว่างดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาสสั่งการไม่ให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้และเจ้าหน้าที่ กอรมน. เข้ามาข่มขู่ คุกคามประชาชนในพื้นที่ด้วยประการใดๆ และให้ประชาชนทำมาหากินตามปกติต่อไป หากทางเจ้าหน้าที่ต้องการจะเข้ามาตรวจสอบในพื้นที่เป็นครั้งคราวตามความจำเป็นก็ขอให้ประสานงานกับทางองค์กรปกครองท้องถิ่นและทาง Tanah Kita Network เพื่อที่จะได้ไปตรวจสอบพื้นที่ร่วมกัน</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/04/108656
 
331  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - เพราะอะไร? "กางเกงชั้นในผู้หญิง" มักเป็นรูบริเวณเป้า สิ่งนี้สะท้อนสุขภาพ "จ เมื่อ: 01 เมษายน 2567 13:53:56
เพราะอะไร? "กางเกงชั้นในผู้หญิง" มักเป็นรูบริเวณเป้า สิ่งนี้สะท้อนสุขภาพ "จิ๊มิ"
         


เพราะอะไร? &quot;กางเกงชั้นในผู้หญิง&quot; มักเป็นรูบริเวณเป้า สิ่งนี้สะท้อนสุขภาพ &quot;จิ๊มิ&quot;" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;หากสาวๆ สังเกตเห็นว่า "กางเกงใน" ที่ใส่มักจะมีรูตรงเป้าทั้งที่เก็บไว้อย่างดีแล้ว ไม่น่าโดนหนูแทะ และกางเกงในก็ยังอยู่ในสภาพใหม่
         

https://www.sanook.com/news/9312738/
         
332  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ยูนิเซฟเรียกร้องให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อเด็กเป็นอันดั เมื่อ: 01 เมษายน 2567 13:48:22
ยูนิเซฟเรียกร้องให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อเด็กเป็นอันดับแรก
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-04-01 13:20</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ยูนิเซฟและโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเพิ่มการลงทุนในเด็ก โดยทั้ง 2 หน่วยงานร่วมนำเสนอข้อมูลเชิงประจักษ์แก่สำนักงบประมาณของรัฐสภาและสำนักงานเลขาธิการของสภาผู้แทนราษฎร</p>
<p> </p>
<p>1 เม.ย.2567 ฝ่ายสื่อสารองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย รายงานต่อสื่อมวลชนว่า องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย และโครงการพัฒนาแห่<wbr></wbr>งสหประชาชาติ (UNDP) เรียกร้องให้รัฐบาลไทยเพิ่<wbr></wbr>มการลงทุนในเด็ก โดยทั้ง 2 หน่วยงานร่วมนำเสนอข้อมูลเชิ<wbr></wbr>งประจักษ์แก่สำนักงบประมาณของรั<wbr></wbr>ฐสภาและสำนักงานเลขาธิ<wbr></wbr>การของสภาผู้แทนราษฎรในงานสั<wbr></wbr>มมนา "เสริมพลังอนาคตไทย: บทบาทสภาผู้แทนราษฎรต่<wbr></wbr>อการยกระดับการลงทุนเพื่อเด็<wbr></wbr>กในประเทศไทย" ซึ่งจัดขึ้นที่รัฐสภาเมื่อวันที่<wbr></wbr>28 มีนาคมที่ผ่านมา</p>
<p>รายงานระบุด้วยว่างานสัมมนาครั้งนี้มุ่งเน้<wbr></wbr>นการหาแนวทางในการเพิ่มการลงทุ<wbr></wbr>นในเด็กเพื่อให้เกิดประโยชน์สู<wbr></wbr>งสุดต่อชีวิตและพัฒนาการของเด็กๆ โดยยูนิเซฟได้นำเสนอข้อมูลสถานก<wbr></wbr>ารณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยล่<wbr></wbr>าสุดเมื่อปี 2565 จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ<wbr></wbr>และยูนิเซฟ  ซึ่งเป็นการสำรวจด้านเด็<wbr></wbr>กและสตรีที่ครอบคลุมที่สุดเพื่<wbr></wbr>อให้ผู้กำหนดนโยบายมีข้อมู<wbr></wbr>ลในการประกอบการตัดสินใจ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมสัมมนาครั้<wbr></wbr>งนี้ ประกอบไปด้วย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็<wbr></wbr>นคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญจากยูนิเซฟ และตัวแทนคณะกรรมการที่ปรึ<wbr></wbr>กษาเยาวชนยูนิเซฟ</p>
<p>ผลสำรวจสถานการณ์เด็กล่าสุดชี้<wbr></wbr>ให้เห็นว่า แม้ความเป็นอยู่ของเด็<wbr></wbr>กในประเทศไทยจะมีความก้าวหน้<wbr></wbr>าในหลายด้าน เช่น การเข้าถึงวัคซีน หรือการเข้าเรียนในระดับชั้<wbr></wbr>นประถมศึกษา แต่ก็ยังมีแนวโน้มที่น่ากังวล โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึ<wbr></wbr>กษาและการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยพบว่าอัตราการเข้าเรียนระดั<wbr></wbr>บปฐมวัยลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่<wbr></wbr>านมา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความพร้<wbr></wbr>อมและพัฒนาการของเด็กเล็ก นอกจากนี้ยังพบว่า เด็ก 1 ใน 4 คนไม่ได้อาศัยอยู่กับพ่อแม่ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อพั<wbr></wbr>ฒนาการของเด็กๆ โดยเฉพาะในขวบปีแรก ซึ่งเป็นช่วงสำคัญของการพั<wbr></wbr>ฒนาตลอดชีวิต</p>
<p>คยองซอน คิม ผู้อำนวยการองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า รัฐสภาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสภาผู้<wbr></wbr>แทนราษฎร มีบทบาทสำคัญในกระบวนการจั<wbr></wbr>ดสรรงบประมาณเพื่อให้แน่ใจว่<wbr></wbr>าความต้องการของเด็กในด้านต่างๆ จะได้รับการตอบสนอง ในฐานะตัวแทนของประชาชนซึ่งได้<wbr></wbr>รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่<wbr></wbr>กำหนดอนาคตของชาติ ท่านสามารถสร้างความแตกต่างได้<wbr></wbr>อย่างมหาศาลต่ออนาคตของเด็ก ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว</p>
<p>ยูนิเซฟได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกั<wbr></wbr>บแนวทางการจัดการด้<wbr></wbr>านงบประมาณและการจัดสรรทรั<wbr></wbr>พยากรอย่างมีประสิทธิผล เพื่อส่งเสริมสิทธิเด็กในด้านต่<wbr></wbr>าง ๆ เช่น การศึกษา สุขภาพ และการคุ้มครองเด็ก พร้อมชี้ให้เห็นว่าประเทศที่ให้<wbr></wbr>ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์<wbr></wbr>มีแนวโน้มที่จะเติบโตทางเศรษฐกิ<wbr></wbr>จสูงกว่าในระยะยาว นอกจากนี้ ดัชนีทุนมนุษย์ของธนาคารโลก ยังระบุว่า เด็กไทยที่เกิดในวันนี้จะเติ<wbr></wbr>บโตขึ้นและสามารถมีผลิตภาพได้<wbr></wbr>เพียงร้อยละ 61 เมื่อพวกเขาอายุครบ 18 ปี แต่หากประเทศไทยลงทุนเด็<wbr></wbr>กและเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิ<wbr></wbr>ภาพ จะมีโอกาสเพิ่มผลิตภาพได้อีกร้<wbr></wbr>อยละ 39 ของที่สูญเสียไป</p>
<p>เรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่<wbr></wbr>งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “บทบาทสำคัญของสมาชิกสภาผู้<wbr></wbr>แทนราษฎรเกี่ยวข้องกั<wbr></wbr>บกระบวนการจัดสรรงบประมาณ ได้แก่ การทบทวน อนุมัติ และติดตามการใช้จ่ายของรัฐบาล ซึ่งงานสัมมนาที่จัดขึ้นโดยสำนั<wbr></wbr>กงานงบประมาณรัฐสภา ยูนิเซฟ และ ยูเอ็นดีพี มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ว่<wbr></wbr>าการจัดสรรงบประมาณตอบโจทย์<wbr></wbr>ความท้าทายที่เด็กไทยเผชิญอย่<wbr></wbr>างไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความท้าทายที่<wbr></wbr>เราพบจากผลสำรวจสถานการณ์เด็<wbr></wbr>กและสตรี ทั้งนี้สหประชาชาติได้พัฒนาเครื่<wbr></wbr>องมือหลายอย่างที่สนับสนุนให้<wbr></wbr>สมาชิกรัฐสภาใช้บทบาทของตนได้ ตั้งแต่ การจัดสรรงบประมาณที่คำนึงถึงมิ<wbr></wbr>ติหญิงชาย ไปจนถึงการจัดกลุ่มเพื่อติ<wbr></wbr>ดตามงบประมาณด้านการเปลี่<wbr></wbr>ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ก็เพื่อให้มั่นใจว่าเป้<wbr></wbr>าหมายการพัฒนาประเทศ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยื<wbr></wbr>นและงบประมาณของประเทศมี<wbr></wbr>ความสอดคล้องกัน”</p>
<p> </p>
<p>“การลงทุนเพื่อสิทธิเด็กไม่ได้<wbr></wbr>เป็นเพียงสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้<wbr></wbr>น แต่ยังเป็นการลงทุนทางเศรษฐกิ<wbr></wbr>จที่ชาญฉลาด เราทุกคนรู้ดีว่าประเทศไทยกำลั<wbr></wbr>งเผชิญกับความท้าทายด้านประชากร อัตราการเกิดที่ลดลงและการเป็<wbr></wbr>นสังคมผู้สูงอายุอาจเป็นภัยคุ<wbr></wbr>กคามที่ร้ายแรงที่สุดต่อการพั<wbr></wbr>ฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ดังนั้น การลงทุนด้านการศึกษา สาธารณสุข และการคุ้มครองทางสังคม ไม่เพียงแต่จะส่งเสริมให้<wbr></wbr>ประชาชนมีบุตรมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เด็กที่เกิดใหม่มี<wbr></wbr>จุดเริ่มต้นชีวิตที่ดีและเติ<wbr></wbr>บโตขึ้นอย่างมีศักยภาพในการสร้<wbr></wbr>างอนาคตที่สดใสให้กั<wbr></wbr>บประเทศไทยอีกด้วย” คิมกล่าวเสริม</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/04/108657
 
333  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - UN พบผู้ลี้ภัยถูก ‘ทหาร ตำรวจ กลุ่มค้ามนุษย์ กลุ่มอาชญากร’ ล่วงละเมิด เมื่อ: 01 เมษายน 2567 12:08:57
UN พบผู้ลี้ภัยถูก ‘ทหาร ตำรวจ กลุ่มค้ามนุษย์ กลุ่มอาชญากร’ ล่วงละเมิด
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-03-31 17:35</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>รายงานพิเศษจาก 'เบนาร์นิวส์' ระบุสหประชาชาติ (UN) พบผู้ลี้ภัยบางส่วนในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทยถูก ‘ทหาร ตำรวจ กลุ่มค้ามนุษย์ กลุ่มอาชญากร’ ล่วงละเมิด</p>
<p>เบนาร์นิวส์ รายงานว่าจากรายงานของสหประชาชาติที่เผยแพร่เมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค. 2567 พบว่าถึงแม้ผู้ลี้ภัยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3 ใน 4 ในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย จะอ้างว่าพวกเขาต้องทุกข์ทรมานจากการถูกเครือข่ายลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานล่วงละเมิดในรูปแบบต่าง ๆ ระหว่างที่หลบหนีออกจากประเทศบ้านเกิด กว่าครึ่งยังยืนยันว่า พวกเขาพร้อมที่จะหลบหนีอีกครั้ง</p>
<p>สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก (United Nations Office on Drugs and Crime - UNODC) จัดทำแบบสำรวจผู้อพยพและผู้ลี้ภัยเกือบ 4,800 คน ในทั้งสามประเทศดังกล่าวที่ตัดสินใจใช้บริการเครือข่ายผิดกฎหมายเพื่อลักลอบเข้าสู่เขตแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงานภูมิภาคของ UNODC ในกรุงเทพมหานครกล่าวในรายงาน</p>
<p>รายงาน “การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ระบุว่า พวกเขาถูก “ทหาร ตำรวจ ผู้ลักลอบค้ามนุษย์ เจ้าหน้าที่รักษาชายแดน หรือกลุ่มอาชญากร” ข่มเหง ซึ่งกลุ่มผู้ลี้ภัยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้มาจากประเทศอัฟกานิสถาน บังกลาเทศ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว เมียนมา ปากีสถาน โซมาเลีย และเวียดนาม รวมถึงชาวโรฮิงญา</p>
<p>“การลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานมิใช่การลงมือโดยตั้งใจหรือเป็นทางเลือกที่เสรี แต่เป็นการลงมือด้วยความสิ้นหวังเพื่อเสาะหาความมั่นคง ปลอดภัย หรือโอกาส หรือแม้กระทั่งอิสรภาพจากการลงมือข่มขู่ทำร้าย กดขี่ หรือคดโกงผู้อื่น” นายมาซุด คาริมิ ผู้แทนจากสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก กล่าว</p>
<p>“ข้อมูลระบุว่าผู้ลักลอบขนย้ายผู้อพยพเหล่านี้อาจจะเป็นปัจเจกผู้ดำเนินการเพียงลำพัง มีเครือข่ายเชื่อมต่อกับอาชญากรหรือกลุ่มองค์กรอาชญากรรมแบบไม่แน่นแฟ้น ดังนั้นการนำพวกเขาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการปกป้องผู้ที่กำลังแสวงหาชีวิตที่ปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น” เขาเอ่ยในแถลงการณ์ที่แนบมากับรายงานที่ระบุว่า เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจมีแนวโน้มที่จะก่อความรุนแรงทางร่างกาย ขอสินบนหรือขู่กรรโชก ทำร้ายจนถึงแก่ชีวิต และล่วงละเมิดทางเพศระหว่างที่กำลังเดินทางโยกย้ายถิ่นฐาน </p>
<p>“ความรุนแรงที่ไม่ใช่เชิงกายภาพ (เช่น การคุกคาม) พบบ่อยในกลุ่มตัวอย่างผู้ชาย (18% ของผู้อพยพเพศชายที่มีส่วนร่วมในแบบสำรวจ) มากกว่าผู้หญิง (13%) ส่วนผู้หญิง 11 % และผู้ชาย 6% ให้ข้อมูลว่าเคยมีประสบการณ์โดนล่วงละเมิดทางเพศ ในขณะที่ผู้ชาย 9% และผู้หญิง 6% มีประสบการณ์ในการเห็นเหยื่อเสียชีวิต” รายงานระบุ</p>
<p>ส่วนสาเหตุของความต้องการในการลักลอบโยกย้ายถิ่นฐาน ราวหนึ่งในสี่ของกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลว่า ปัญหาสภาพภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง หรืออุณหภูมิที่แปรปรวนสูงของโลก กระตุ้นให้พวกเขาออกค้นหาผู้ที่สามารถลักลอบพาตัวเองเข้าไปในเขตแดนใหม่</p>
<p>รายงานระบุอีกว่า ปัญหาวิกฤตสภาพภูมิอากาศมีส่วนเชื่อมโยงกับชาวบังกลาเทศที่ต้องการลักลอบหนีออกนอกประเทศอย่างชัดเจน สามในสี่ของกลุ่มตัวอย่างชาวบังกลาเทศอ้างว่า ประเด็นเรื่องสภาพภูมิอากาศแปรปรวนหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกระตุ้นให้พวกเขาตัดสินใจหลบหนีออกนอกประเทศ ในขณะที่กลุ่มผู้อพยพจำนวนใกล้เคียงกันก็กล่าวว่า พวกเขาถูกบังคับให้ติดสินบนเจ้าหน้าที่ มอบสิ่งของตอบแทน หรือรับใช้พวกเขาตามคำสั่งระหว่างการเดินทาง</p>
<p>รายงานยังระบุอีกว่า ผู้อพยพเหล่านี้เชื่อว่า พวกเขาต้องใช้ผู้ช่วยลักลอบเข้าเขตแดนอื่นเพื่อเป็นกันชนจัดการกับเจ้าหน้าที่ที่ทุจริต” และถึงแม้ว่าพวกเขาจะต้องพบเจอกับการล่วงละเมิดที่รุนแรง จำนวนผู้ลี้ภัยกว่าครึ่ง (48%) ยืนยันว่า ตนเองก็ตัดสินใจที่จะใช้บริการการลักลอบโยกย้ายถิ่นฐานอยู่ดี ในขณะที่ผู้ลี้ภัย 40% ปฏิเสธที่จะใช้บริการ และอีก 12% ไม่สามารถตัดสินใจได้</p>
<p>สองในสามของกลุ่มตัวอย่างให้ข้อมูลว่า พวกเขา ครอบครัว หรือเพื่อนเป็นฝ่ายเริ่มติดต่อกับผู้ลักลอบขนผู้ลี้ภัยเข้าเมืองผ่านทางโซเชียลมีเดีย ทางโทรศัพท์ หรือไปติดต่อพบเจอด้วยตนเอง พวกเขาจ่ายค่าธรรมเนียมโดยเฉลี่ย 2,380 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 119,291.96 บาท) และเกือบ 90% ของผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญากล่าวกับผู้สัมภาษณ์ว่า พวกเขาใช้บริการลักลอบย้ายถิ่นฐานเพื่อเดินเข้าสู่ประเทศมาเลเซีย ไทย หรืออินโดนีเซีย</p>
<p>สืบเนื่องจากรายงานฉบับนี้ของ UNODC เบนาร์นิวส์ติดต่อสัมภาษณ์ชาวโรฮิงญาจำนวน 3 ราย ที่ตัดสินใจใช้บริการเครือข่ายลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานเพื่อแสวงหาแผ่นดินใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นอกเหนือจากประเทศเมียนมา</p>
<p>ช็อบเบียร์ ฮุสเซน หนึ่งในผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาอายุ 18 ปี เป็นอีกหนึ่งผู้ลี้ภัยจากบรรดาชาวโรฮิงญา 2,000 คนที่พักพิงอยู่ในภูมิภาคอาเจะฮ์ ประเทศอินโดนีเซียตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2566 เขาเดินทางจากค่ายผู้ลี้ภัยค็อกซ์บาซาร์ ประเทศบังกลาเทศ ล่องเรือหลายสัปดาห์กว่าจะมาถึงอาเจะห์เบซาร์รีเจนซี่ในวันที่ 10 ธันวาคมพร้อมกับชาวโรฮิงญาราว 130 ราย</p>
<p>ช็อบเบียร์ระบุว่า ครอบครัวส่งเขาออกนอกประเทศเพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า</p>
<p>“การใช้ชีวิตในค่ายผู้ลี้ภัยค็อกซ์บาซาร์ บังกลาเทศไม่ปลอดภัยอีกต่อไปแล้วเพราะมีการก่อความรุนแรง ลักพาตัวและขู่กรรโชกบ่อยครั้ง แต่กลับกลายเป็นว่าการเดินทางออกมาจากที่นั่นก็ไม่ได้เป็นไปตามที่ผมคาดหวังอีกเช่นเดียวกัน” เขากล่าว</p>
<p>4 เดือนหลังจากที่เขาเดินทางมาถึงอาเจะฮ์ ช็อบเบียร์เผยว่าชีวิตของเขาไม่แตกต่างไปจากตอนใช้ชีวิตอยู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัยในบังกลาเทศเสียเท่าไหร่ เพราะเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการกินข้าวและนอนหลับ</p>
<p>“ที่นี่ไม่มีอะไรให้ทำเลยแม้ว่าผมจะอยากออกไปเรียนหนังสือหรือทำงานก็ตาม”</p>
<p>ช็อบเบียร์กล่าวว่า พ่อของเขาจ่ายเงินให้กับผู้ลักลอบค้ามนุษย์เพื่อพาเขาเดินทางขึ้นเรือไม้ล่องไปตามทะเลอันดามันเป็นเวลา 45 วัน เพื่อเดินทางไปยังประเทศอินโดนีเซีย หลังจากที่พวกเขาให้คำมั่นสัญญาถึงชีวิตที่ดีกว่าในอินโดนีเซียหรือมาเลเซีย ช็อบเบียร์ไม่ทราบว่าพ่อเขาต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนเท่าไหร่ในการลักลอบย้ายถิ่นฐานครั้งนี้</p>
<p>พ่อ แม่ และพี่น้องอีก 7 คนของเขาใช้ชีวิตอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยแสนแออัดยัดเยียดที่ค็อกซ์บาซาร์หลังจากที่ถูกบังคับให้เดินทางออกจากรัฐยะไข่ ภายหลังการโจมตีอันโหดร้ายของกองทัพเมียนมาในปี 2560</p>
<p>“บ้านของเราถูกเผาและทหารยิงหนึ่งในน้องชายคนเล็กของผมตาย เราถึงได้ตัดสินใจย้ายมาอยู่ที่บังกลาเทศ” เขากล่าว</p>
<p>ชาฮีดุลลาห์ โมด โฮเซน ผู้ลี้ภัยอีกรายในมาเลเซียกล่าวว่า ครอบครัวของเขาจ่ายเงินให้กับผู้ลักลอบเพื่อหนีออกจากค่ายผู้ลี้ภัยอันแออัดเพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าในประเทศอื่น เดิมทีเขาอาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยกูตูปาลองในบังกลาเทศหลังจากที่ครอบครัวหลบหนีการถูกดำเนินคดีในเมียนมา โดยครอบครัวของเขาและชาวโรฮิงญาอีกราวหนึ่งล้านคนต้องอยู่ร่วมกันในค่ายผู้ลี้ภัยและตั้งถิ่นฐานอยู่ด้านในและรอบๆ ค็อกซ์บาซาร์</p>
<p>ชาฮีดุลลาห์เผยว่า เขามองไม่เห็นอนาคตตัวเองจากการอยู่ในค่าย</p>
<p>“มีกลุ่มผู้ร้ายมากมายที่จับคนมาเรียกค่าไถ่ และถ้าครอบครัวของเหยื่อไม่ยอมจ่าย พวกเขาก็ขู่จะฆ่าเหยื่อคนนั้น” ชาฮีดุลลาห์ในวัย 29 ปีบอกกับเบนาร์นิวส์ และยังเสริมอีกว่า กลุ่มผู้ร้ายลงมือวางเพลิงที่อยู่อาศัยของคนในค่ายผู้ลี้ภัยที่เบียดเสียดยามค่ำคืน ส่งผลให้หลายครอบครัวต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน</p>
<p>ชาฮิดุลเลาะห์กล่าวว่า เขาติดต่อองค์กรเพื่อจัดเตรียมการเดินทางไปยังมาเลเซีย ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน องค์กรดังกล่าวก็เรียกค่าใช้จ่ายจากแม่ของเขาจำนวน 500,000 ตากาบังกลาเทศ (ราว 4,565 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือ166,095 บาท) เพื่อส่งเขาไปที่ประเทศมาเลเซีย โดยเขาเดินทางมาถึงมาเลเซียในเดือนกันยายน ปี 2566</p>
<p>“ผมไม่รู้ว่าแม่หาเงินมาได้ยังไง แต่หลังจากนั้นไม่กี่วัน ผมก็ถูกส่งให้ขึ้นเรือกับชาวโรฮิงญาอีกราว 100 คน เราใช้เวลาเดินทางเป็นเวลาหนึ่งเดือน บวกกับการปีนเขาเพื่อข้ามแดนไปยังมาเลเซีย เราไม่มีอาหารกินเลยตลอดเส้นทาง จึงต้องหากินเท่าที่ได้ในพื้นที่ตรงนั้น” เขากล่าว และเสริมว่าผู้ลี้ภัยต้องฝืนกินใบไม้เพื่อประทังชีวิตในระหว่างที่ปีนเขาอยู่ในป่า</p>
<p>การเดินทางของชาฮิดุลลาห์จบลงในเดือนกันยายน ปีที่ผ่านมาในเมืองอัมปัง ใกล้กับเมืองหลวงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อเขาถูกส่งตัวไปอยู่ที่ชุมชนชาวต่างชาติโรฮิงญา</p>
<p>ที่บังกลาเทศ หญิงสาวชาวโรฮิงญากลับมาที่ค่ายผู้ลี้ภัยแล้วหลังจากที่พยายามเดินทางไปยังเมียนมาเพื่อเข้าสู่พิธีการแต่งงานที่ถูกจัดตั้งไว้แล้ว จนต้องถูกตัดสินให้จำคุกอยู่ในเรือนจำที่เมียนมาเป็นเวลามากกว่าหนึ่งปี</p>
<p>ฮาลิมา คาตุนเห็นพ่อของเธอถูกกองทัพทหารเมียนมาปลิดชีวิตกับตาในรัฐยะไข่ในวันที่ 25 สิงหาคม 2560 แม่ของเธอจึงพาเธอและน้องสาวอีก 2 คนหลบหนีข้ามชายแดนมาอยู่ที่ค่ายผู้ลี้ภัยบังกลาเทศในค่ายเทคนาฟ เวลานั้นฮาลิมาอายุ 18 ปี เธอบอกว่าเธอหลบหนีออกจากค่ายผู้ลี้ภัยที่นั่นในปลายปี 2565 เพื่อเดินทางไปยังประเทศมาเลเซียโดยกลุ่มค้ามนุษย์ เป็นผู้ดำเนินการพาหลบหนี แต่หลังจากนั้นกลับถูกเจ้าหน้าที่เมียนมาจับกุมเนื่องจากเครื่องยนต์เรือเสียหายระหว่างที่เดินทางอยู่ในทะเล  เธอจึงต้องใช้ชีวิต 13 เดือนอยู่ในเรือนจำที่เมียนมา </p>
<p>“ครอบครัวตามหาร่องรอยของฉันไม่เจอเลยในระหว่าง 13 เดือนนั้น พวกเขาจึงได้แต่คิดว่าฉันคงจมน้ำทะเลตายหรือไม่ก็เสียชีวิตด้วยสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง” เธอให้สัมภาษณ์กับเบนาร์นิวส์</p>
<p>หลังจากที่เธอได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำ ฮาลิมาเดินทางกลับบังกลาเทศในเดือนกุมภาพันธ์จากความช่วยเหลือของญาติชาวเมียนมา</p>
<p>“การแต่งงานของฉันกับฮาบิเบอร์ ราห์มัน ชายหนุ่มชาวโรฮิงญาในมาเลเซียถูกจัดการไว้แล้ว เขาเป็นคนที่พยายามจะติดต่อองค์กร ‘ดาลาล’ เพื่อส่งฉันไปที่นั่น” เธอกล่าว คำว่าดาลาลหมายถึงนายหน้า</p>
<p>“หนึ่งในนายหน้าที่พาฉันเดินทางไปยังมาเลเซียเป็นชาวโรฮิงญาที่อาศัยอยู่ในเมียนมา ส่วนอีกคนเป็นชาวบังกลาเทศ” ฮาลิมากล่าว</p>
<p>กลุ่มค้ามนุษย์เรียกร้องเงินจำนวน 800,000 ทากา (ราว 7,289 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 265,246 บาท) เป็นค่าจัดการเดินทางส่งเธอไปยังประเทศมาเลเซีย ฮาลิมาร่วมเดินทางไปกับหญิงและชายชาวโรฮิงญา และชาวบังกลาเทศอีกหลายราย</p>
<p>“หลังจากที่เดินทางออกมาจากชามิลา (หมู่บ้านในรัฐยะไข่) เราก็ใช้ชีวิตอยู่บนเรือเป็นเวลา 22 วันก่อนที่จะย้ายไปยังเรือที่เล็กกว่าอีก 2 วัน 2 คืน แต่หลังจากที่เครื่องยนต์เรือเสีย พวกลูกเรือก็หลบหนีไป จากนั้น ‘เจ้าหน้าที่ทหาร’ ก็เดินทางมาช่วยเรา และรถของเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ขับพาเรามาขังไว้ที่นั่นเป็นเวลา 12 วัน” เธอให้ข้อมูล</p>
<p>หลังจากที่ถูกตัดสินจำคุก 2 ปีที่เรือนจำในเมียนมา ฮาลิมาก็ถูกคุมขังเป็นเวลา 13 เดือน จนกระทั่งเมื่อ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ฮาลิมาก็จ่ายเงินให้กับนายหน้าเพื่อเดินทางหลบหนีโดยการนั่งเรือข้ามแม่น้ำนาฟไปยังประเทศบังกลาเทศ</p>
<p>เธอบอกว่าชายหนุ่มที่เคยสัญญาว่าจะแต่งงานกับเธอได้แต่งงานกับหญิงสาวชาวโรฮิงญาอีกคนซึ่งมาจากค่ายผู้ลี้ภัยที่บังกลาเทศไปแล้ว และพาหล่อนหนีไปที่ประเทศมาเลเซีย</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108644
 
334  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "แก้มบุ๋ม-แม่ลี" รับตัวเองไม่ได้ ขอโทษและสัญญาจะเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิม เมื่อ: 01 เมษายน 2567 11:20:25
"แก้มบุ๋ม-แม่ลี" รับตัวเองไม่ได้ ขอโทษและสัญญาจะเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิม
         


&quot;แก้มบุ๋ม-แม่ลี&quot; รับตัวเองไม่ได้ ขอโทษและสัญญาจะเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิม" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ล่าสุด แก้มบุ๋ม และ แม่ลี ได้ออกมาขอโทษถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น พร้อมเผยขอมูฟออน จะเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิม
         

https://www.sanook.com/news/9312442/
         
335  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - 'MMN' ร้องต่างชาติมีมาตรการช่วยเหลือผู้อพยพเมียนมาจากนโยบายภาษีไม่เป็นธรรม- เมื่อ: 01 เมษายน 2567 10:38:43
'MMN' ร้องต่างชาติมีมาตรการช่วยเหลือผู้อพยพเมียนมาจากนโยบายภาษีไม่เป็นธรรม-บังคับเกณฑ์ทหาร
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-03-31 17:37</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: ปฏิภัทร จันทร์ทอง (OXFAM)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>MMN แถลง "ผลกระทบจากนโยบายของเมียนมาเกี่ยวกับการบังคับส่งเงิน การเก็บภาษีซ้ำซ้อน และการเกณฑ์ทหารของผู้ย้ายถิ่น" ซึ่งจะทำให้มีชาวเมียนมาโยกย้ายอย่างผิด กม. และมีผู้อพยพจำนวนมาก พร้อมข้อเสนอถึงประเทศปลายทาง เพื่อช่วยเหลือชาวเมียนมาที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว</p>
<p> </p>
<p>31 มี.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า เครือข่ายการย้ายถิ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (MMN) ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2567 หัวข้อ "ผลกระทบจากนโยบายของเมียนมาเกี่ยวกับการบังคับส่งเงิน การเก็บภาษีซ้ำซ้อน และการเกณฑ์ทหารของผู้ย้ายถิ่น" และมีข้อเสนอถึงประเทศปลายทางที่ชาวเมียนมาอาศัย เพื่อช่วยเหลือชาวเมียนมาที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว</p>
<p>รายละเอียดแถลงการณ์ระบุว่า ทางองค์กรมีข้อกังวลเรื่องมาตรการของกองทัพพม่าต่อผู้โยกย้ายถิ่นฐาน หรือแรงงานข้ามชาติชาวพม่า ที่อาศัยในต่างประเทศ ประกอบด้วย 1. มาตรการส่งเงินกลับ 2. มาตรการจ่ายภาษีซ้ำซ้อน เพื่อแลกกับการทำเอกสารสำคัญในสถานทูต และ 3. มาตรการเกณฑ์ทหารที่จะผลักดันให้คนหนุ่มสาวที่ไม่ต้องการเข้าร่วมกับกองทัพ เดินทางออกนอกประเทศมากขึ้น</p>
<p>"มาตรการที่เหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เหล่านี้ประกาศใช้โดยรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อรีดไถส่วนต่างของอัตราเงินต่างประเทศจากแรงงานข้ามชาติจำนวนมากซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายได้น้อย ขณะเดียวกัน ก็บีบบังคับให้คนหนุ่มสาวเข้าสู่สังเวียนการต่อสู้ในสงครามกลางเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ภายในประเทศ" MMN กล่าวในแถลงการณ์ และระบุต่อว่า มาตรการเหล่านี้จะส่งผลต่อการโยกย้ายถิ่นฐานแบบผิดปกติ และมีผู้โยกย้ายถิ่นแบบไม่มีเอกสารเพิ่มมากขึ้น</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มาตรการการบังคับส่งเงินกลับ</span></h2>
<p>ที่มาที่ไปของมาตรการส่งเงินกลับ มีการรายงานของสื่อในวันที่ 1 ก.ย. 2566 มีการบังคับให้แรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาที่ทำงานในต่างแดน ต้องส่งรายได้ในอัตราส่วน 1 ใน 4 ของรายได้กลับประเทศ โดยโอนเงินผ่านธนาคารที่อยู่ในสังกัดภายใต้การควบคุมของธนาคารกลางเมียนมา [1] ในขณะเดียวกัน มีการปราบปรามการส่งเงินในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่เป็นทางการอีกด้วย [2] </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53209893150_415ca9fc41_h.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">บรรยากาศการชุมนุมหน้า UNESCAP ถ.ราชดำเนินนอก เมื่อ 24 ก.ย. 2566</span></p>
<p>นอกจากนี้ ทางการเมียนมายังมีการรวบรวมข้อมูลแรงงานข้ามชาติจากสมาชิกในครอบครัวของพวกเขาที่อยู่ในเมียนมา [3] สำหรับบทลงโทษผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม จะไม่ได้รับการอนุญาตให้เดินทางออกนอกประเทศเป็นระยะเวลา 3 ปี [4]</p>
<p>MMN มีข้อกังวลว่าข้อบังคับนี้อาจส่งผลกระทบต่อผู้โยกย้ายถิ่นฐานไปทำงานต่างประเทศอย่างถูกหมาย และอาจทำให้เกิดการย้ายถิ่นแบบผิดปกติมากขึ้น </p>
<p>MMN มองว่า ตามหลักการแล้วมาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการที่ไม่สามารถยอมรับได้ เพราะถือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ย้ายถิ่นในการบริหารจัดการรายได้ของตนเองตามที่พวกเขาเห็นสมควร การส่งเงินกลับบ้านถือเป็นเรื่องส่วนตัว และควรเป็นไปตามความสมัครใจ และนอกจากนี้ อาจทำให้ผู้โยกย้ายถิ่นฐานอาจตกเป็นเป้าหมายการคว่ำบาตรจากนานาชาติ เพราะถูกบังคับส่งเงินผ่านธนาคารที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวพันกับการซื้ออาวุธสงครามใช้ทำร้ายพลเรือน [5] </p>
<p>จากประสบการณ์ของ MMN ผู้ย้ายถิ่นไม่ได้มีความไว้วางใจในการส่งเงินผ่านระบบธนาคารของเมียนมา เนื่องจากค่าธรรมเนียมสูงและอัตราแลกเปลี่ยนต่ำกว่าที่มีอยู่ในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด </p>
<p>ตัวแทนจากสมาคมแรงงานยองชิอู (Yaung Chi Oo Workers Association - YCOWA) หนึ่งในองค์กรสมาชิกของ MMN กล่าวแสดงความรู้สึกว่า "แรงงานข้ามชาติรู้สึกว่าพวกเขากำลังถูกหลอกใช้โดยรัฐบาลเผด็จการทหาร และเงินที่พวกเขาส่งกลับไปจะถูกนำไปซื้ออาวุธเพื่อสังหารคนในครอบครัวของพวกเขาเอง"</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>แรงงานพลัดถิ่นเตรียมชุมนุมหน้า UN ไม่พอใจ รบ.ทหารพม่าบังคับส่งเงินกลับบ้านผ่านระบบที่ทางการรับรอง</li>
<li>ชาวเมียนมารณรงค์ขอแรงงานอย่าส่งรายได้ 25% ผ่านระบบธนาคารพม่า หวั่น รบ.ทหารเอาเงินซื้ออาวุธปราบ ปชช.</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">การเก็บภาษีซ้ำซ้อน แลกทำ VISA-ใบอนุญาตทำงาน</span></h2>
<p>เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2566 รัฐบาลทหารได้แก้ไขกฎหมายภาษีของสหภาพ เพื่อให้ชาวเมียนมาในต่างประเทศต้องจ่ายภาษีเงินได้สำหรับผู้มีรายได้จากต่างประเทศ ภายใต้การแก้ไขดังกล่าว กฎหมายภายในประเทศว่าด้วยการห้ามจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนได้ถูกยกเลิก [6] และมีการปรับเพดานภาษีเงินได้จากรายได้ต่างประเทศ [7] สำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีดังกล่าว รัฐบาลทหารจะทำการระงับการออกหนังสือเดินทาง และหนังสือรับรองประจำตัวต่างๆ รวมถึงการลงโทษอื่นๆ เช่น การเพิกถอนหนังสือเดินทาง การห้ามเดินทาง หรือการดำเนินคดีทางแพ่งหรืออาญา ดังนั้น พลเมืองเมียนมาที่ประสงค์จะต่ออายุหนังสือเดินทางในต่างประเทศจะต้องชำระภาษีคงค้างทั้งหมดให้กับสถานทูตหรือสถานกงสุลโดยตรงเป็นเงินก้อน จึงจะสามารถดำเนินการยื่นคำร้องต่างๆ ได้ [8]</p>
<p>สมาชิก MMN ยังมีความกังวลว่า สถานะการเข้าเมืองและอยู่อาศัยของแรงงานข้ามชาติที่ไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจ่ายภาษีเงินจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากพวกเขาจะไม่สามารถต่อวีซ่า และใบอนุญาตทำงาน หากหนังสือเดินทางของพวกเขาถูกเพิกถอนหรือไม่ได้รับการต่ออายุ ผลที่ตามมาคือผู้ย้ายถิ่นจำนวนมากเสี่ยงต่อการกลายเป็นแรงงานไร้เอกสาร สถานะของพวกเขาจะเปราะบาง <strong>เพิ่มโอกาสที่จะถูกแสวงหาผลประโยชน์ในตลาดแรงงานมากขึ้น</strong> การบังคับใช้กฎหมายเก็บภาษีซ้ำซ้อนและมาตรการบังคับการส่งเงินจะทำให้แรงงานข้ามชาติยากจนดลง เพิ่มความรู้สึกกดดันให้กับผู้ย้ายถิ่นจากประเทศเมียนมาที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว </p>
<p>ตัวแทนองค์กรสมาชิก MMN จาก YCOWA อธิบายว่า "เหล่านายจ้างกำลังฉกฉวยประโยชน์จากปริมาณแรงงานข้ามชาติที่เกินความต้องการและแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงาน ตัวอย่างเช่น โรงงานทอผ้าในแม่สอดได้เพิ่มโควต้าการทำงานของแรงงานในแต่ละวัน แรงงานคนไหนที่ไม่สามารถทำตามโควต้าก็จะถูกไล่ออก"</p>
<p>ตัวแทนจากมูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (MAP Foundation) ตั้งข้อสังเกตว่า "มันไม่ใช่แค่การจ่ายภาษี หรือการถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการรักษาสถานะเอกสารประจำตัวของผู้ย้ายถิ่นที่ทำให้ผู้ย้ายถิ่นเป็นกังวล แต่ผู้ย้ายถิ่นต้องติดต่อสถานทูตหรือสถานกงสุล และให้ข้อมูลส่วนตัวแก่หน่วยงานปกครองที่พวกเขาไม่ไว้วางใจ เป็นอีกหนึ่งในอุปสรรคในการรักษาสถานะทางกฎหมายของพวกเขาเอาไว้"</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>ชาวพม่าโวยนโยบายจ่ายภาษีให้เผด็จการ เชื่อรีดเงินประชาชนซื้ออาวุธสงคราม</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">การเกณฑ์ทหาร จะทำให้คนหนุ่มสาวออกจากประเทศ ย้ายเข้ามาในประเทศไทย</span></h2>
<p>สำหรับนโยบายการเกณฑ์ทหารสืบเนื่องเมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2567 กฎหมายการรับราชการทหารของเมียนมามีผลใช้บังคับ กฎหมายนี้เดิมประกาศใช้ในปี 2010 ระบุว่า ผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 35 ปี และผู้หญิงอายุระหว่าง 18 ถึง 27 ปี ต้องเข้ารับการฝึกทหารและรับราชการในกองทัพเป็นเวลาไม่เกิน 24 เดือน [9] แต่ในกฎหมายฉบับนี้ได้ขยายช่วงอายุสำหรับผู้ชายสูงสุดถึง 45 ปี และสูงสุด 35 ปีสำหรับผู้หญิงที่เป็น "ผู้เชี่ยวชาญ" ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ได้แก่ แพทย์ วิศวกร ช่างเทคนิค หรือเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพนั้นๆ [10] สามารถรับราชการทหารไม่เกิน 36 เดือน [11] ทั้งนี้ สามารถขยายระยะเวลาเข้ารับราชการทหารได้สูงสุดถึง 5 ปี หากประเทศยังอยู่ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน [12] </p>
<p>นอกจากนี้ ภายใต้ภาวะฉุกเฉินของประเทศ ผู้ที่ผ่านการรับราชการทหารแล้วสามารถถูกเรียกระดมพลได้ทุกเมื่อ [13] อย่างไรก็ตาม รัฐบาลทหารได้ขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ยึดอำนาจในปี 2564 [14] และมีแนวโน้มว่าจะยังคงบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะมีการเลือกตั้ง</p>
<p>ข้อมูลจากเครือข่าย MMN ระบุด้วยว่า ในขณะจัดเตรียมแถลงการณ์ฉบับนี้ มีรายงานว่าทางการเมียนมาได้เริ่มนำส่งออกหมายเรียกเกณฑ์ทหารแล้วดังที่ตัวแทนจากมูลนิธิ 'EMPOWER' หนึ่งในองค์กรสมาชิกของ MMN อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับกระบวนการเกณฑ์ทหารในระดับหมู่บ้านว่า "เรา (ชาวบ้าน) ได้รับแจ้งจากผู้ใหญ่บ้านว่าจะมีเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามารวบรวมรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติ จากนั้นจะมีการจับสลากใครที่ได้รับเลือกก็จะต้องเข้าร่วมกองทัพ"</p>
<p>การบังคับใช้กฎหมายการรับราชการทหารได้เพิ่มอัตราการย้ายถิ่นแบบ "ผสมผสาน" (mixed-migration) จากเมียนมา [15] เพราะนับตั้งแต่มีการประกาศระดมพลมีแนวโน้มที่คนหนุ่มสาวจะข้ามชายแดนเข้ามายังประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ในขณะที่จำนวนคิวของผู้ขอวีซ่า ณ เอกอัครราชทูตไทยในนครย่างกุ้ง เมียนมา มีภาพปรากฏบนหลายสื่อว่า มีการต่อคิวยาวขึ้นกว่าปกติ นอกจากนี้ ยังเกิดอุบัติเหตุการเหยียบกันจนทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ณ สำนักงานหนังสือเดินทางในเมืองมัณฑะเลย์และย่างกุ้ง [16] ในขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยมหาวิทยาสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่ ประกาศงดรับสมัครนักศึกษาชาวเมียนมาเนื่องจากมีผู้สมัครจำนวนมากเกินไป [17]</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53546305567_2b07b12fb8_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ชาวเมียนมาแห่ขอวีซาไทย หน้าสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงย่างกุ้ง (ที่มาเฟซบุ๊ก กัณวีร์ สืบแสง)</span></p>
<p>ตัวแทนจากมูลนิธิ EMPOWER กล่าวถึงภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกที่คนหนุ่มสาวเมียนมาเผชิญว่า “รัฐบาลทหารบีบพวกเขาให้จนมุม พวกเขาเผชิญกับทางเลือกที่น่ากลัว เพราะจะหนีก็เสี่ยงตายหรือไม่หนีก็ตายอยู่ดี"</p>
<p>ตัวแทนจากมูลนิธิรักษ์ไทย แสดงความกังวลด้วยว่า "เราได้รับเคสหลายเคสจากผู้หญิงที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศและถูกข่มขืนระหว่างเดินทางมาประเทศไทย เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับเราที่จะให้ช่วยเหลือในกรณีเหล่านี้ เนื่องจากผู้เสียหายเข้ามาผ่านช่องทางที่ไม่เป็นทางการ และไม่มีเอกสารประจำตัว"</p>
<p>MMN กังวลว่า แม้ตัวผู้ย้ายถิ่นจะอยู่ในต่างประเทศ แต่พวกเขายังคงเสี่ยงต่อการถูกเกณฑ์ทหาร เนื่องจากกฎหมายการรับราชการทหาร ระบุว่า “หากไม่พบบุคคลนี้ ให้ส่งมอบ (หมายเรียกเข้ารับราชการทหาร) ให้กับสมาชิกในครอบครัวที่อาศัยอยู่ด้วยกันต่อหน้าพยาน คำสั่งให้ปฏิบัติเสมือนเป็นการส่งโดยตรงไปยังผู้ถูกเกณฑ์เข้ารับราชการทหาร” การเกณฑ์ทหารนี้จะทำให้ผู้ย้ายถิ่นลดการติดต่อกับสถานทูตเมียนมา เพื่อต่ออายุหนังสือเดินทาง และเพิ่มโอกาสที่พวกเขากลายเป็นผู้ย้ายถิ่นที่ไร้เอกสารประจำตัว นอกจากนี้ ยังอาจเพิ่มจำนวนการขอลี้ภัยโดยพลเมืองเมียนมาในประเทศปลายทาง </p>
<p>โดยตัวแทนจากมูลนิธิ EMPOWER ได้อธิบายว่า "ผู้ย้ายถิ่นกังวลเรื่องการหลบหนีคำสั่งเกณฑ์ทหาร เพราะรัฐบาลทหารขู่จะดำเนินคดีทางกฎหมายต่อสมาชิกในครอบครัวโดยมีโทษจำคุกและการริบทรัพย์สิน"</p>
<p>ทั้งนี้ มีอัพเดทข่าวระบุว่า เมื่อ 21 ก.พ. 2567 กองทัพพม่ามีการประกาศยกเลิกเกณฑ์ทหารหญิงชั่วคราวไปก่อน</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>เผยเอกสารของอำเภอแม่สอด ขอกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน สกัดกั้นจับกุมชาวเมียนมาหนีเกณฑ์ทหารเข้าไทย</li>
<li>กองทัพพม่าประกาศเว้นผู้หญิงจากการเกณฑ์ทหารก่อนชั่วคราว</li>
<li>ผลกระทบจากการบังคับเกณฑ์ทหารและนโยบายเก็บภาษีแรงงานข้ามชาติของรัฐบาลทหารเมียนมาต่อประเทศไทย</li>
<li>สมาชิกรัฐสภาอาเซียนฯ ประณามการบังคับใช้กฎหมายเกณฑ์ทหารของรัฐบาลเมียนมา</li>
</ul>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อเสนอถึงประเทศปลายทาง ปกป้องสิทธิและช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติเมียนมาที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายที่ไม่เป็นธรรมของกองทัพพม่า</span></h2>
<p>ด้าน MMN มีข้อเสนอดังนี้ ต่อประเทศปลายทางที่ชาวเมียนมาเดินทางไปทำงาน 1. เรียกร้องให้รัฐบาลและนายจ้างประเทศปลายทางของชาวเมียนมา ออกมาปกป้องสิทธิของแรงงานข้ามชาติในการตัดสินใจเกี่ยวกับการออม และการส่งรายได้ของพวกเขา ให้พวกเขามีอิสระในการเลือกธนาคารและช่องทางการโอนเงิน รวมไปถึงจำนวนเงินที่พวกเขาจะออมและส่งกลับบ้าน</p>
<p>2. เรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศปลายทางและอาเซียนใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกับแรงงานข้ามชาติ 3. สำหรับผู้มีบทบาทในภาคเอกชน เช่น ธนาคารและบริษัทจัดหางานต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกในการบังคับส่งเงินและนโยบายการเก็บภาษีซ้ำซ้อนตามที่อธิบายไว้ข้างต้น MMN เรียกร้องให้ยุติความร่วมมือกับรัฐบาลเผด็จการทหารของเมียนมาและตัวแทนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลทหาร</p>
<p>4. เนื่องจากความไม่ชอบธรรมของทหารในการปกครองประเทศ และบังคับคนหนุ่มสาวเข้ารับราชการทหาร นำมาซึ่งการบังคับใช้แรงงานที่ไม่เป็นธรรมกับผู้ย้ายถิ่นรายใหม่จากเมียนมา ดังนั้น เราจึงขอเรียกร้องให้ประเทศเพื่อนบ้านใช้การตอบสนองด้านมนุษยธรรมต่อผู้ย้ายถิ่นรายใหม่ทุกกรณี</p>
<p>5. เราขอเรียกร้องให้ประเทศปลายทางทำทุกวิถีทางเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำให้ผู้ย้ายถิ่นชาวเมียนมาที่เพิ่งเข้ามามีสถานะถูกต้องตามกฎหมาย และทำการปรับเปลี่ยนกระบวนการในการต่ออายุใบอนุญาตทำงาน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ย้ายถิ่นจะไม่กลายเป็นบุคคลไร้เอกสาร นอกจากนี้ เรายังต้องการเรียกร้องให้ประเทศปลายทางปรับปรุงการให้บริการด้านการดูแลสุขภาพและการศึกษาแก่ผู้ย้ายถิ่นทุกคน</p>
<p> </p>
<p><strong>อ้างอิง </strong></p>
<p>[1] "Cash-Starved Junta Milks Myanmar Migrant Workers With New Remittance Rule", The Irrawaddy, 12 September 2023, accessible at https://www.irrawaddy.com/news/burma/cash-starved-junta-milks-myanmar-migrant-workers-with-new-remittance-rule.html.</p>
<p>[2] "CBM Intensifies Crackdown on Illegal Hundi Businesses", Global New Light of Myanmar, 14 January 2024, accessible at https://www.gnlm.com.mm/cbm-intensifies-crackdown-on-illegal-hundi-businesses/.</p>
<p>[3] "Junta Requires Workers Abroad to Send Money Home Via Approved Banks", Radio Free Asia, 13 September 2023, accessible at https://www.rfa.org/english/news/myanmar/worker-remittances-09132023092811.html. For further details also see the statement from the Central Bank of Myanmar, accessible at https://www.cbm.gov.mm/content/8440 (in Burmese).</p>
<p>[4] See Radio Free Asia, Ibid.</p>
<p>[5] See US Department of State, "Transactions with Sanctioned Burmese Banks Must Be Wound Down by August 5, 2023", 4 August 2023, accessible at https://www.state.gov/transactions-with-sanctioned-burmese-banks-must-be-wound-down-by-august-5-2023/; Australian Minister of Foreign Affairs, "Further Sanctions on the Myanmar Military Regime", 1 February 2024, accessible at https://www.foreignminister.gov.au/minister/penny-wong/media-release/further-sanctions-myanmar-military-regime.</p>
<p>[6] In accordance with s 31 (a)(iv) of The Union Taxation Law, 2023, State Administration Council Law No.18/2023, income tax was exempted from “income from the head salary earned in the foreign currency</p>
<p>of a citizen residing abroad”. English translation accessible at https://ird.gov.mm/sites/default/files/UTL_2023%28english%20version%29.pdf.</p>
<p>[7] "Myanmar’s Military Reaches into Migrant Pockets", The News Lens, 27 October 2023, accessible at https://international.thenewslens.com/article/186630.</p>
<p>[8] Aung Naing, "Myanmar Regime to Require Proof of Paying Taxes for Passport Renewals", Myanmar Now, 18 October 2023, accessible at https://myanmar-now.org/en/news/myanmar-regime-to-require-proof-of-paying-taxes-for-passport-renewals/.</p>
<p>[9] As per Public Military Service Law (2010), ss 2(b) and s 3(a). English translation accessible at https://www.lincolnmyanmar.com/wp-content/uploads/2024/02/National-Service-Law.pdf.</p>
<p>[10] Ibid., s 2(d).</p>
<p>[11] Ibid., s 3(c).</p>
<p>[12] Ibid., s 4.</p>
<p>[13] Ibid., s 21(a).</p>
<p>[14] See, "Myanmar Military Extends State of Emergency, Vows to ‘Crush’ Opposition", Al Jazeera, 31 January 2024, accessible at https://www.aljazeera.com/news/2024/1/31/myanmar-military-extends-emergency-rule-for-another-six-months.</p>
<p>[15] See, "Fears of Mass Migration from Myanmar as Military Plans to Draft Thousands", Al Jazeera, 10 March 2024, accessible at https://www.aljazeera.com/news/2024/3/10/fears-of-mass-migration-from-myanmar-as-military-plans-to-draft-thousands; and MMN, "Neighbours in Need: Examining Thailand’s Response to Mixed Migration from Post-Coup Myanmar", August 2023, accessible at https://mekongmigration.org/wp-content/uploads/2023/09/Book_Neighbours-in-Need_EN.pdf.</p>
<p>[16] Nay Min Ni, "Two Women Trampled to Death as Thousands Attempt to Enter Mandalay Passport Office", Myanmar Now, 19 February 2024, accessible at https://myanmar-now.org/en/news/__trashed/.</p>
<p>[17] See Radio Free Asia, at n 16 above.</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกตhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108645
 
336  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - รร.ชายแดนไม่กล้ารับ นร.ไร้สัญชาติ กลัวซ้ำรอย 'ไทยรัฐวิทยา' ด้านวิกฤตเด็กชายแ เมื่อ: 01 เมษายน 2567 09:08:35
รร.ชายแดนไม่กล้ารับ นร.ไร้สัญชาติ กลัวซ้ำรอย 'ไทยรัฐวิทยา' ด้านวิกฤตเด็กชายแดนทรุด เจอปัญหาสารพัด
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-03-31 18:37</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: ที่มา: สำนักข่าวชายขอบ </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>กสม.ประชุมองค์กรประชาสังคม หาทางออกเด็กไร้สัญชาติ 19 รายที่มาบวชเรียนที่ลพบุรี ถูกส่งกลับเชียงราย พร้อมเผยปัญหาสถานศึกษาชายแดนวิตกไม่กล้ารับเด็กไร้สัญชาติ กลัวซ้ำรอยกรณีไทยรัฐวิทยา 126 คนที่ถูกส่งกลับพม่า ด้านวิกฤตเด็กชายแดนทรุด เผชิญปัญหาสารพัด ยาเสพติด-เศรษฐกิจ-ครอบครัว-ขาดเอกสาร-ถูกทำร้าย</p>
<p> </p>
<p>31 มี.ค. 2567 ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวชายขอบ รายงานวานนี้ (30 มี.ค.) ต่อกรณีความคืบหน้าเด็กไร้สัญชาติ 19 คนที่ถูกส่งกลับจาก จ.ลพบุรี ไปยัง จ.เชียงราย ระหว่างบวชเรียน ทำให้หลายฝ่ายหวั่นเกรง ซ้ำรอยกรณีที่หน่วยงานราชการไทยร่วมผลักดันเด็กไร้สถานะทางทะเบียนราษฎร 126 คนจากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา จ.อ่างทาง กลับประเทศเมียนมาเมื่อปีที่แล้ว (2566) ส่งผลให้เด็กต้องออกเรียนหนังสือกลางคัน และจนถึงขณะนี้หลายคนยังไม่สามารถหาที่เรียนได้เพราะหลายโรงเรียนต่างกลัวว่าหากรับเข้าไปเรียนแล้วจะกลายเป็นปัญหา ขณะที่หน่วยงานราชการต่างยืนยันว่าจะไม่มีการผลักดันเด็กไร้สัญชาติ 19 คนกลับเมียนมา ซึ่งกำลังเกิดสงครามภายในประเทศ</p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง </p>
<ul>
<li>19 เด็กไร้สัญชาติถูกออกการเรียน เสี่ยงถูกรัฐส่งกลับพม่า มูลนิธิบ้านครูน้ำร้อง กสม.สอบละเมิดสิทธิเด็ก</li>
<li>หลายฝ่ายค้านส่ง 19 เด็กไร้สัญชาติที่มาเรียนที่วัดลพบุรี กลับพม่า 'ก้าวไกล' ช่วยประสานชะลอส่งกลับ</li>
<li>กรมกิจการเด็กฯ เผยที่ประชุมมีมติชะลอส่งกลับ ปม 19 นร.ไร้สัญชาติที่มาเรียนลพบุรี</li>
</ul>
</div>
<p>โดยล่าสุด คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ลงพื้นที่ จ.เชียงราย เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีนี้</p>
<p>เมื่อ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมวัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ศยามล ไกยูรวงศ์ กสม. พร้อม สุรพงษ์ กองจันทึก ผู้ทรงคุณวุฒิ กสม. และ เตือนใจ ดีเทศน์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา จ.เชียงราย พร้อมทีมงานมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) ได้ประชุมร่วมกับภาคประชาสังคม และองค์กรเอกชนที่ทำงานคุ้มครองสิทธิเด็กในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและตะเข็บชายแดนที่ติดต่อกับประเทศเมียนมา และ สปป.ลาว ประกอบด้วย มูลนิธิบ้านครูน้ำ Drop In โครงการบ้านใกล้สะพาน มูลนิธิศึกษาพัฒนาประชาชนบนที่สูง มูลนิธิ "Nesux mission" รวมถึงครูโรงเรียนในพื้นที่ที่ได้ดูแลเด็กไร้สัญชาติ และผู้ใหญ่บ้าน</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53621579867_49aa27f0ed_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ที่ประชุมระหว่าง กสม. และภาคประชาสังคม ณ ห้องประชุมวัดพระธาตุผาเงา อ.เชียงแสน จ.เชียงราย (ที่มา: สำนักข่าวชายขอบ)</span></p>
<p>ศยามล กล่าวว่า เนื่องจากเห็นว่าเรื่องนักเรียนไร้สัญชาติ 19 คนเป็นเรื่องเร่งด่วน เกรงว่าจะถูกส่งกลับไปทางเมียนมา โดยวันนี้เป็นการรับฟังจากองค์กรเอกชน หรือมูลนิธิบ้านครูน้ำ ซึ่งพื้นที่ชายแดนที่มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่เข้าๆ ออกๆ มากน้อยอย่างไร แล้วองค์กรดำเนินการอย่างไร การจะให้ได้อักษร G อย่างไร จะดำเนินการเรื่องสถานะอย่างไร และในส่วน พม. มีกระบวนการดูแลและส่งต่ออย่างไร โดยอุปสรรคเรื่องกฎหมาย กสม.ได้ฟังจากครูและคนทำงานคุ้มครอง เพราะเราหลีกหนีสถานการณ์ไม่ได้ จึงต้องร่วมมือกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน</p>
<p>หลังจากการรับฟังจากที่ประชุม ทาง กสม.ได้ขอเอกสารเกี่ยวกับเด็กนักเรียนทั้ง 20 คน โดยเป็นเด็กไร้สัญชาติ 19 คน และคนไทย 1 คน เพื่อจะได้รวมรวมส่งต่อไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย เพื่อติดตามสอบถามสถานการณ์ของเด็กทั้งหมดเป็นรายบุคคล เป็นการทำงานร่วมกัน เพื่อคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิทธิเด็ก </p>
<p>สุรพงษ์ กองจันทึก ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านผู้ด้อยโอกาสและเด็ก กสม. กล่าวว่า จากการรับฟังข้อมูลทั้ง 2 วันจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และจากภาคประชาสังคมในพื้นที่ เห็นว่าทุกฝ่ายปรารถนาดีต่อเด็ก และต้องการคุ้มครองให้เด็กได้อยู่ในไทยและมีโอกาสได้เรียนหนังสือ แต่ระบบของพื้นที่ปัจจุบัน เนื่องจากขาดทรัพยากรและงบประมาณทำให้เด็กมีล้นระบบที่จะรองรับได้</p>
<p>สุรพงษ์ กล่าวว่า อดีตการบวชเรียนนั้น เด็กชายแดนจะได้เรียนทั้งทางโลกและทางธรรม เป็นวิถีได้มีความรู้ และทั้งกรณีเด็กที่อ่างทอง และลพบุรี ไม่มีอะไรขัดต่อกฎหมาย ปัจจุบัน พระเณรของไทยน้อย จึงเป็นช่องทางที่เด็กเหล่านี้จะได้สืบทอดศาสนา และตามมติคณะรัฐมนตรี 5 ก.ค. 2548 เด็กทุกคนที่อยู่ประเทศสามารถเรียนได้ และเห็นว่าเป็นการลงทุนที่ต่ำที่สุด แต่ช่วยสนับสนุน กล่อมเกลา การสอนเด็กในโรงเรียน หรือสถานศึกษาทำให้พวกเขาเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคม</p>
<p>"เป็นเรื่องน่าเสียดาย เป็นควาเข้าใจคลาดเคลื่อน ที่มีการตรวจสอบ การผลักดัน มีการให้สึกพระเณร เมื่อเรามองว่าการบวชพระได้บุญ การไปสึกพระสึกเณรก็เสียดายกับการสืบทอดพุทธศาสนา เป็นการกดดันเด็กเหล่านี้ ที่อยู่ในระบบที่ไม่ได้ผิดกฎหมาย" สุรพงษ์ กล่าว </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53622668018_bc5bd68daa_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">(ที่มา: สำนักข่าวชายขอบ)</span></p>
<p>ผู้ทรงคุณวุฒิ กสม. กล่าวว่า เมื่อเด็กได้กลับมาเชียงราย ก็ต้องได้เรียนและมีบ้านที่อบอุ่น หรือจะเป็นบ้านครูน้ำ ที่เคยดูแลเขาก็สามารถทำได้ โดยให้ผู้ที่มีความพร้อมที่จะดูแลคุ้มครองเด็ก แต่ปัจจุบันยังอยู่ในกระบวนการขั้นตอนที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) เชียงราย จะทำตามกระบวนการของเขาในการสืบหาครอบครัว การยืนยันตัวตนเด็ก และการคัดกรองตามกระบวนการ แต่จะไม่มีการผลักดันเด็กไปสู่อันตราย ซึ่งปัจจุบัน นอกจากเรื่องสิทธิเด็ก และ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก แล้ว ยังมี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2465 ที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถส่งคนไปเสี่ยงนอกประเทศ หรือชายแดน ซึ่งฟังสถานการณ์แล้วชายแดนแม่สาย จ.เชียงราย ก็มีความเสี่ยงที่ยังมีการสู้รบภายในประเทศ และรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ที่ได้เข้าร่วมประชุมรับปากว่าจะดูแลอย่างเต็มที่ โดยเมื่อเปิดเทอมก็จะหาที่เรียนให้ แม้เอกสารหรือกระบวนการยังไม่เสร็จสิ้น </p>
<p>ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้มีการพูดถึงอุปสรรคการทำงานของภาคประชาสังคม และเครือข่ายที่ทำงานปกป้องสิทธิเด็ก ซึ่งผลกระทบเป็นอย่างมากตั้งแต่เกิดกรณีที่หน่วยงานราชการผลักดันเด็ก 126 คนจากโรงเรียนไทยรัฐวิทยา จ.อ่างทาง กลับประเทศพม่า พร้อมทั้งดำเนินคดีกับครูและทีมงาน ปัจจุบันทำให้การเซ็นรับรองจากผู้ใหญ่บ้านเพื่อส่งเด็กไปเข้าเรียนในสถานศึกษาทำได้ยากขึ้น เพราะผู้บริหารสถานศึกษาไม่กล้าที่จะรับเด็กเข้าเรียน จนเด็กจำนวนไม่น้อยไม่สามารถหาที่เรียนได้ และไม่มีทางเลือกจึงต้องกลับไปสู่พื้นที่อันตราย </p>
<p>ในที่ประชุมยังได้ระบุว่า ปัจจุบันมีเด็กตามแนวตะเข็บชายแดนต้องประสบปัญหามากขึ้น โดยเด็กหลายคนมีสัญชาติไทยแต่ขาดเอกสาร เด็กไทยที่พ่อแม่ติดคุก ติดยาเสพติด มีปัญหาครอบครัว มีปัญหาเศรษฐกิจ เด็กขาดการดูแลและถูกทำร้าย เด็กไร้สัญชาติที่พ่อแม่ไม่สามารถดูแลได้ และไม่มีโรงเรียน ไม่มีสถานพยาบาล เด็กอยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่แหล่งผลิตยาเสพติด เสี่ยงที่จะเป็นผู้ค้ารายใหม่หรือผู้เสพรายใหม เข้าเป็นเครือข่ายยาเสพติด ดังนั้น โรงเรียนและบ้านพักที่จะดูแลเด็กปัจจุบันในตะเข็บชายแดนจึงไม่เพียงพอ เมื่อมีสถานศึกษาหรือวัดไหนมีศักยภาพ องค์กรหรือมูลนิธิ เครือข่ายภาคประชาสังคมจึงพยายามส่งต่อเพื่อให้เด็กพ้นจากความเสี่ยงในพื้นที่ที่มีรอบด้าน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108646
 
337  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - คุณแม่หน้าเด็กเป็นเหตุ เจอสาวที่มาจีบลูกชายด่า คิดว่าเป็นกิ๊ก เฉลยอายุเท่าไหร เมื่อ: 01 เมษายน 2567 08:49:25
คุณแม่หน้าเด็กเป็นเหตุ เจอสาวที่มาจีบลูกชายด่า คิดว่าเป็นกิ๊ก เฉลยอายุเท่าไหร่
         


คุณแม่หน้าเด็กเป็นเหตุ เจอสาวที่มาจีบลูกชายด่า คิดว่าเป็นกิ๊ก เฉลยอายุเท่าไหร่" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;คุณแม่หน้าเด็ก เล่าประสบการณ์สุดพีก เจอสาวของลูกชายด่า เข้าใจผิดคิดว่าเป็นกิ๊ก เผยเวลาไปส่งลูก ครูยังไม่เชื่อ ต้องเอาหลักฐานไปยืนยัน
         

https://www.sanook.com/news/9312294/
         
338  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - เครือข่ายทนายความสิทธิฯ เลื่อนยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ 9 ราย คดีตากใบออกไปก่อน เมื่อ: 01 เมษายน 2567 07:35:23
เครือข่ายทนายความสิทธิฯ เลื่อนยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ 9 ราย คดีตากใบออกไปก่อน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-03-31 19:34</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>หมายเหตุ : เวลา 2.08 น. วันที่ 1 เม.ย.2567 ประชาไทอัพเดทพาดหัวและเนื้อข่าวประเด็นเลื่อนการยื่นฟ้องออกไปก่อน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และศูนย์นิติธรรมสมานฉันท์จังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาทนายความ เลื่อนยื่นฟ้องออกไปก่อน จากเดิมเตรียมยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ 9 ราย ในคดีตากใบวันที่ 1 เม.ย. 2567 ที่ศาลนราธิวาส</p>
<p>1 เม.ย.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ไทยพีบีเอส รายงานเมื่อเวลา 15.33 น วันที่ 31 มี.ค.2567 ว่า เนื่องจากชาวบ้านหลายคนยังไม่พร้อม บางคนยังอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านจึงเลื่อนการยื่นฟ้องออกไปก่อน จากกำหนดการเดิมคือวันที่ 1 เม.ย.นี้</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53622777018_1c8c765ea6_o_d.png" /></p>
<p>31 มี.ค. 2567 มูลนิธิผสานวัฒนธรรมแจ้งข่าวว่า ทีมทนายความจากมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม มูลนิธิผสานวัฒนธรรม และศูนย์นิติธรรมสมานฉันท์จังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาทนายความ จะเดินทางไปศาลนราธิวาสเพื่อยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐจำนวน 9 คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของประชาชนจำนวนมากในระหว่างการขนย้ายหลังถูกจับกุมในการสลายการชุมนุมหน้า สภอ.ตากใบเมื่อ 25 ต.ค. 2547</p>
<p>การฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ 9 รายดังกล่าว ทีมทนายความตั้งข้อหาว่ามีการหน่วงเหนี่ยวกักขัง อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 309 และมาตรา 310 การฆ่าผู้อื่นและกระทำในลักษณะที่โหดร้าย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 และ 289 (5) และยังเป็นเจ้าพนักงานที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อผู้อื่น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157</p>
<p>ผู้เสียหายและญาติผู้ตายส่วนหนึ่งที่ได้ร่วมกันเป็นโจทก์และมอบหมายให้ทีมทนายความทำคดีมีความตั้งใจมุ่งมั่นว่า การฟ้องร้องดำเนินคดีครั้งนี้ กระทำเพื่อจะแสวงหาความยุติธรรมให้กับผู้ตาย พวกเขาไม่ได้หวังผลเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ</p>
<p>ก่อนหน้านี้มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชนของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ติดตามความคืบหน้าของการดำเนินคดีอันควรมีเนื่องมาจากการสลายการชุมนุมที่หน้าสภ.อ.ตากใบดังกล่าว และคณะกรรมาธิการฯได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงด้วยการเรียกเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องไปชี้แจงแล้ว ปรากฏจากข้อมูลที่มีการชี้แจงต่อกรรมาธิการว่า ในสำนวนคดีไต่สวนการตาย พนักงานสอบสวนได้สรุปว่าไม่รู้ตัวผู้กระทำความผิดและไม่ทราบถึงสถานะและความมีอยู่ของสำนวนคดี ข้อเท็จจริงนี้ทำให้เห็นว่าเส้นทางการดำเนินคดีอาญาที่พึงริเริ่มโดยเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้เกิดขึ้น ในขณะที่อายุความของการเป็นคดีอาญากำลังจะสิ้นสุดลงในอีกไม่กี่เดือนหน้า</p>
<p>แม้เหตุการณ์ตากใบจะผ่านมาแล้วเกือบ 20 ปี แต่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนขวัญ มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากและด้วยวิธีการที่ทารุณโหดร้าย แม้ญาติผู้เสียชีวิตจะได้รับการเยียวยาจากภาครัฐไปแล้ว แต่ผลพวงของเหตุการณ์ยังคงเป็นที่รับรู้กันทั่วไปทั้งเครือญาติครอบครัวที่สูญเสียและประชาคมที่ติดตามกรณีนี้ที่ต่างต้องการความยุติธรรม แต่ขณะนี้เป็นที่ชัดเจนอย่างมากแล้วว่า กระบวนการทางคดีอาญาไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ได้</p>
<p>เพื่อจะหาตัวผู้กระทำความผิดให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดี เพื่อให้มีการค้นหาความจริงและพฤติกรรมที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้มีการลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมาย ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นการเยียวยาความรู้สึกของครอบครัวและผู้เกี่ยวข้อง มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ร่วมกับมูลนิธิผสานวัฒนธรรม และศูนย์นิติธรรมสมานฉันท์จังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาทนายความ ได้ร่วมกันรับมอบหมายจากผู้เสียหายและญาติผู้เสียชีวิตบางส่วนให้ดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีอาญากับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์สลายการชุมนุมและการขนย้ายดังกล่าว ทั้งครอบครัวผู้เสียหายและทีมทนายความเชื่อว่า การทำความจริงให้กระจ่างและสร้างความยุติธรรมโดยอาศัยกระบวนการทางศาลเช่นว่านี้จะส่งผลด้านดีอย่างมากต่อกระบวนการสร้างสันติภาพในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความขัดแย้งยืดเยื้อมายาวนานถึง 20 ปี</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108649
 
339  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวมาแรง] - ชูยุทธศาสตร์ '3 ขา' ก้าวไกลดันกระจายอำนาจ ก้าวหน้าเก็บเกี่ยวความรู้-สร้างแรง เมื่อ: 01 เมษายน 2567 06:04:02
ชูยุทธศาสตร์ '3 ขา' ก้าวไกลดันกระจายอำนาจ ก้าวหน้าเก็บเกี่ยวความรู้-สร้างแรงบันดาลใจ-พัฒนานโยบาย
 


<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-04-01 01:39</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'ธนาธร' รับเชิญติวเข้ม 'ปลดล็อกท้องถิ่น' สมาชิกก้าวไกลชลบุรีเตรียมสู้ศึกนายก อบจ. ชูยุทธศาสตร์ '3 ขา' ก้าวไกลผลักดันกระจายอำนาจ ก้าวหน้าเก็บเกี่ยวความรู้-สร้างแรงบันดาลใจ-พัฒนานโยบาย ประชาชนร่วมติดตาม-ขยายความสนใจการเมืองท้องถิ่น</p>
<p>31 มี.ค. 2567 ทีมสื่อพรรคก้าวไกล รายงานต่อสื่อมวลชนว่า วันนี้ (31 มี.ค.)ที่โรงแรมแมนดาริน อีสต์ วิลล์ พัทยา จ.ชลบุรี พรรคก้าวไกล จ.ชลบุรี จัดเวทีพบปะสมาชิกและผู้สนับสนุนพรรคก้าวไกล “ก้าวไกล ก้าวต่อไป อบจ.” พร้อมเสวนาปลดล็อกท้องถิ่น โดยมี ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานมูลนิธิคณะก้าวหน้า ร่วมเสวนา นอกจากการบรรยายถึงหลักการของการกระจายอำนาจ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านมาของการกระจายอำนาจในประเทศไทยแล้ว ธนาธรยังได้ย้ำว่าการกระจายอำนาจเป็นวาระที่ใหญ่และสำคัญต่ออนาคตของประเทศมาก และเป็นหนึ่งในวาระที่พรรคอนาคตใหม่มาจนถึงพรรคก้าวไกลเห็นว่าเป็นวาระ 1 ใน 3 อันดับแรกที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงประเทศ </p>
<p>วันนี้แนวโน้มของสังคมเป็นไปในทางบวกมากขึ้น มีผู้คนให้ความสนใจกับการกระจายอำนาจมากขึ้น มีคนเข้าใจมากขึ้นว่าโครงสร้างการบริหารประเทศไทยต้องถูกออกแบบกันใหม่ และที่สำคัญเราได้เห็นการพัฒนาการในการเมืองท้องถิ่นที่ดีขึ้นมาก แม้จะยังมีการเมืองท้องถิ่นแบบที่มุ่งเข้าไปเพื่อรักษาอำนาจและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอยู่ แต่การเมืองท้องถิ่นที่มีคุณภาพก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน</p>
<p>ธนาธรกล่าวต่อไปว่าแม้จะยังมีอิทธิพลของการเมืองท้องถิ่นแบบเก่าอยู่อีกมาก แต่สิ่งที่เราทำได้ในการร่วมยกระดับการเมืองท้องถิ่น คือการทำให้ประชาชนเห็นว่าการเมืองท้องถิ่นสำคัญกับชีวิตของตัวเองจริงๆ อย่างเช่นที่คณะก้าวหน้าที่ผ่านมาได้เข้าไปสนุบสนุนเทศบาลและ อบต. หลายแห่งในการพัฒนาน้ำประปาดื่มได้ จนมี อปท. หลายแห่งติดต่อขอดูงานและนำไปขยายผลต่อในพื้นที่ของตัวเองมากมาย นั่นคือการใช้แรงบันดาลใจในการยกระดับการเมืองท้องถิ่น</p>
<p>อีกแง่หนึ่งก็คือการที่ประชาชนมีความใส่ใจในการเมือง โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นที่มีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของประชาชนมากกว่าการเมืองในระดับชาติเสียอีก เช่น ยกตัวอย่างใน จ.ชลบุรีเอง ท่านทราบหรือไม่ว่า อบจ.ชลบุรีเป็นหนึ่งใน อบจ.ที่ได้รับงบประมาณเยอะที่สุดในประเทศนอกจากกรุงเทพมหานคร แข่งกันระหว่างชลบุรีกับสมุทรปราการมาตลอดหลายปี มีงบประมาณอยู่ราว 4 พันล้านบาทต่อปี รวม 4 ปีในวาระของ อบจ. เป็นจำนวนถึง 1.6 หมื่นล้านบาท </p>
<p>คำถามที่ตามมาคือท่านรู้หรือไม่ว่างบประมาณเหล่านั้นใช้ไปในการทำอะไรบ้าง? ใน จ.ชลบุรีเอง อบต. และเทศบาลหลายแห่งมีงบประมาณไม่ใช่น้อย แค่เมืองพัทยาก็ปีละ 2 พันล้านบาทแล้ว แต่ละปีใช้ไปทำอะไรบ้างท่านรู้หรือไม่? </p>
<p>“ผมจึงอยากชักชวนให้ประชาชนทุกคนมาร่วมกันสนใจการเมืองท้องถิ่นในพื้นที่ของตัวเองด้วย การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่แข็งขันของประชาชนจะเป็นตัวกำหนดให้ประชาชนไม่ออกนอกลู่นอกทาง ถ้าท่านสนใจการเมืองท้องถิ่น ใช้อำนาจในฐานะผู้ทรงสิทธิ ท่านจะได้รับการตอบสนอง ยิ่งแข็งขันในการตรวจสอบติดตามยิ่งทำให้เขาอยู่ในร่องในรอยมากขึ้น” ธนาธรกล่าว</p>
<p>ธนาธรยังกล่าวตอนหนึ่ง ว่าสิ่งที่เราทำร่วมกันได้ในวันนี้ คือการที่พรรคก้าวไกลผลักดันการกระจายอำนาจ คณะก้าวหน้าเก็บเกี่ยวความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ พัฒนานโยบายท้องถิ่นสู่การออกแบบนโยบายระดับชาติ สำหรับประชาชน ตนขอฝากทุกท่านให้ติดตามสนใจการเมืองท้องถิ่นในบ้านของเราเอง ทำให้ประชาชนเข้าใจว่า อปท. ที่ทำงานดีสามารถทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของเราดีขึ้นได้</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/04/108652
 
340  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ร้านน้ำชา / [ข่าวเด่น] - "ยุ้ย จีรนันท์" ท้อง 9 เดือน เปิดคลิปอัลตราซาวด์ นับถอยหลังอีกไม่กี่วันคลอดลูก เมื่อ: 01 เมษายน 2567 06:04:02
"ยุ้ย จีรนันท์" ท้อง 9 เดือน เปิดคลิปอัลตราซาวด์ นับถอยหลังอีกไม่กี่วันคลอดลูก
         


&quot;ยุ้ย จีรนันท์&quot; ท้อง 9 เดือน เปิดคลิปอัลตราซาวด์ นับถอยหลังอีกไม่กี่วันคลอดลูก" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;ใกล้แล้ว! "ยุ้ย จีรนันท์" ท้อง 9 เดือน เปิดคลิปอัลตราซาวด์ นับถอยหลังอีกไม่กี่วันคลอดลูก
         

https://www.sanook.com/news/9310566/
         
หน้า:  1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 1111
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.077 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กันยายน 2566 18:24:59