[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 17:51:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 [2] 3 4 ... 23
21  นั่งเล่นหลังสวน / หน้าเวที (มุมฟังเพลง) / taloy swift- cruel summer เมื่อ: 01 กันยายน 2565 11:10:51
 

taylor swift - cruel summer

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=ic8j13piAhQ" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=ic8j13piAhQ</a>








22  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / โรคงวงช้าง เมื่อ: 01 กันยายน 2565 11:06:29

โรคงวงช้าง

          โรคงวงช้าง (Frontoethmoidal Encephalomeningocele) เป็นความพิการแต่กำเนิด โดยมีก้อนงอกออกมาตรงบริเวณดั้งจมูก ระหว่างตาทั้งสองข้าง พบได้ทั้งขนาดเล็กเท่าเมล็ดถั่วเขียว จนถึงขนาดใหญ่เท่าศีรษะ มีลักษณะคล้ายงวงของช้าง จึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคงวงช้าง” ที่เรียกกันในชุมชน

          โรคงวงช้าง สามารถพบได้ในอัตราส่วน 1 ต่อ 6,000 ถึง 36,000 คนของเด็กแรกเกิด พบมากในประเทศแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย พม่า อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ โดยในประเทศไทยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลางตอนบน  มักพบในครอบครัวไทยแท้ มีฐานะยากจน และในการตั้งครรภ์หลังๆ ของมารดา โดยเป็นการตั้งครรภ์ที่ห่างจากครั้งก่อนประมาณ 7 ปี



สาเหตุ

            ความผิดปกติที่ทำให้เกิดโรคงวงช้าง มีขึ้นตั้งแต่ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ โดยเกิดจากรูรั่วที่ฐานกะโหลกศีรษะด้านหน้าทำให้เนื้อสมองและเยื่อหุ้มสมองยื่นออกไปกลายเป็นก้อนบริเวณจมูก  นอกจากความผิดปกติที่มีก้อนบนใบหน้าแล้ว ผนังกระบอกตาด้านในจะถูกเบียดให้ห่างจากกันมากกว่าปกติ มีจมูกยาวกว่าปกติ ฯลฯ และมักมีความผิดปกติในสมองร่วมสูงถึง 68%

การตรวจวินิจฉัยและแนวทางการรักษา

          การวินิจฉัยโรคนี้ยืนยันได้ด้วย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CAT scan)  และควรได้รับการผ่าตัดอย่างถูกต้องเหมาะสมตามความรุนแรงของโรค เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจตามมา เช่น ปัญหาการทำงานของสมอง การมีแผลที่ก้อนและมีน้ำหล่อสมองไขสันหลังรั่ว ปัญหาสายตาเสื่อมเพราะถูกบดบังโดยก้อน รวมถึงปัญหาความสวยงามและการเข้าสังคม เป็นต้น


         การรักษาโรคงวงช้าง สามารถทำได้ด้วยวิธี “จุฬาเทคนิค” ซึ่งเป็นการผ่าตัดกระดูกตรงโคนดั้งจมูกเป็นรูปตัว T เล็ก ๆ  เพื่อตัดก้อนเนื้อออก และเย็บปิดรูรั่ว จากนั้นตกแต่งกระบอกตาด้านในและเสริมจมูก ซึ่งเป็นวิธีผ่าตัดที่ทำได้ง่ายและได้ผลดี เพราะสมองของผู้ป่วยจะได้รับความกระทบกระเทือนน้อย ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อย ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ และทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น


สามารถติดต่อขอรับการรักษาและคำปรึกษาได้ที่
ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
อาคาร สก ชั้น 14 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ในเวลาทำการ จันทร์ถึงศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ เวลา 8.00-16.00 น.
โทรศัพท์ 0-2256-4330
www.craniofacial.or.th
Line : @Thaicraniofacial

23  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / จำกันได้มั้ย! "ทอกกิ้งดิก" เครื่องแปลภาษาอัจฉริยะ ในยุค 90 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2565 21:09:41

จำกันได้มั้ย! "ทอกกิ้งดิก" เครื่องแปลภาษาอัจฉริยะ ในยุค 90

https://us-fbcloud.net/wb/data/1351/1351671-img.v4k3i2.ya6e.jpg


           “Talking-Dict” ในวันนั้นยุคที่คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมากๆๆๆๆ  สิ่งนี้เลยเปรียบเสมือนสัญลักษณ์แห่งการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ไม่เคยหยุดนิ่งของพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์สมบูรณ์แบบ กับเทคโนโลยีขั้นสูง ดีไซน์ทันสมัย สะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น พร้อมแทรกความบันเทิงนอกเหนือจากความรู้กันเลยในยุค 90  มีมาขายในไทยน่าจะช่วงปี​ 1993​ ราวๆนั้น​ และนิยมใช้อยู่หลายปี​
โดยนายร็อคกี้ ควอค กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเนียน เซ้นซ์ เทคโนโลยี จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย Talking-Dict พจนานุกรมอัจฉริยะแบบพกพาอันดับ 1 ได้จัดงานแถลงข่าว “Keep Talking by Talking-Dict” เพื่อเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ถึง 7 รุ่นที่มาพร้อมกับฟังก์ชั่นเพิ่มพิเศษในการใช้งาน ด้วยคุณสมบัติอันโดดเด่นไม่ว่าจะเป็น Episode Learning – การเรียนภาษาในรูปแบบวีดีโอ, Chinese Stroke Learning – โปรแกรมการสอนเขียนภาษาจีน, Tons of Words – คำศัพท์นับล้านที่มาพร้อมคำแปลครบถ้วน, Library in Your Hand – ห้องสมุดแบบพกพา, Smart Organizer – เครื่องมือในการวางแผนการทำงานอย่างชาญฉลาด หรือแม้กระทั่ง Relax & Fun – ผ่อนคลายแบบสบายๆ กับ E-book, Game & MP3

https://us-fbcloud.net/wb/data/1351/1351671-img.v4k3i2.25keu.jpg


           บางรุ่นมาพร้อมกับ จำนวนพจนานุกรมมากที่สุดกว่า 100 เล่ม ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์แท้จาก ศ.ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม (ผู้รวบรวมพจนานุกรมมากที่สุดในประเทศไทย) พร้อมการรองรับพจนานุกรมต่างๆ มากมายในอนาคตพจนานุกรมอังกฤษ-ไทย และไทย-อังกฤษ ของ ศ.ดร. วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม เป็นพจนานุกรมที่ได้รับการยอมรับและนำไปบรรจุในMicrosoft Windows และ Microsoft Office จนถึงฉบับล่าสุดอย่างเป็นทางการทุกชุดบรรจุพจนานุกรมภาษาต่างประเทศที่แยกออกเป็นแต่ละเล่ม ซึ่งให้ความหมายที่ละเอียดครบถ้วนกว่าพจนานุกรมที่มีหลายภาษาแต่อยู่ในเล่มเดียวกันหน่วยความจำภายใน (Flash Memory) มากที่สุด ถึง 2 GB และรองรับการ์ด Micro SD สูงสุดกว่า 4 GB    เครื่องแรกและเครื่องเดียวที่มีพจนานุกรมจีน-ไทยและไทย-จีน, พจนานุกรมญี่ปุ่น-ไทยและไทย-ญี่ปุ่น, พจนานุกรมเกาหลี-ไทยและไทย-เกาหลี   ฟังก์ชั่นทบทวนคำศัพท์หลากหลายเทคนิค เพื่อฝึกการท่องคำศัพท์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ    เครื่องที่สามารถออกเสียงคำศัพท์ภาษาไทยได้ ด้วยระบบเสียง Human Voice เสียงมนุษย์จริง 100%   ฟังก์ชั่นอีบุ๊คพูดได้ ซึ่งสามารถอ่านหนังสือให้คุณฟังได้ทั้งเล่ม (อ่านออกเสียงได้ 2 ภาษา อังกฤษและจีน)  ฟังก์ชั่นมัลติมีเดียที่สมบูรณ์ด้วยภาพและเสียง ดูหนัง, ฟังเพลง, อัลบั้มรูปภาพ, บันทึกเสียง, เกมส์
[/size]



เจ้าของกระทู้เคยใช้ด้วยนะคะ สมัยอยู่มัธยมตอนต้นและปลาย   ใครเกิดทันยุคนี้บ้างคะ  ขำ ขำ ขำ




           อ้างอิงจาก:http://www.talkingdict.com/2008/th/about/index.asp] [url]http://www.talkingdict.com/2008/th/about/index.asp
                          https://pantip.com/topic/35743584[/url]




24  นั่งเล่นหลังสวน / หน้าเวที (มุมฟังเพลง) / 이하이 (LeeHi) - 'ONLY' Official MV เมื่อ: 27 สิงหาคม 2565 20:58:58

이하이 (LeeHi) - 'ONLY' Official MV


<a href="http://www.youtube.com/watch?v=KmOVNVZEP9o" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=KmOVNVZEP9o</a>


   

25  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / Re: ทำไมต้องกล่าวคำ "อนุโมทนาบุญ สาธุ เมื่อ: 27 สิงหาคม 2565 20:46:35
ขอบคุณสำหรับความรู้ทางธรรมดีๆ ครับ



ยินดีค่ะ

26  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / ต้นกำเนิดของซูชิ เมื่อ: 27 สิงหาคม 2565 18:38:28


ต้นกำเนิดของซูชิ

          ต้นกำเนิดของซูชิ หลายๆคนคงอาจจะเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่าซูชินั้นมีที่มาจากประเทศแถวภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้อย่างประเทศไทยและลาว แต่ก็ยังมีอีกหลายๆคนที่ยังไม่รู้ว่าจริงๆแล้ว ต้นกำเนิดของซูชิ นั้นมีความเป็นมาอย่างไร และในวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักเกี่ยวกับซูชิอาหารประจำชาติของชาวญี่ปุ่นที่คนทั่วโลกต่างรู้จักกันว่ามันมีที่มาและที่ไปอย่างไรบ้าง

           จุดเริ่มต้น และ ต้นกำเนิดของซูชิ
          สมัยก่อนข้าวและปลาถือเป็นอาหารจานหลักโดยทั่วไปของคนญี่ปุ่นในยุคโบราณ เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมปลูกข้าวและการจับปลาตามแม่น้ำและในนาข้าวมาทำเป็นอาหาร ซึ่งในสมัยก่อนนั้นเราคงทราบกันดีว่าการจะเก็บรักษาความสดใหม่ของอาหารเอาไว้นั้นไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะในสมัยก่อนนั้นไม่มีทั้งตู้เย็นหรือเครื่องทำความเย็นเพื่อรักษาความสดใหม่ของปลาให้อยู่ได้นานๆเหมือนอย่างในสมัยนี้ อีกทั้งปัญหาทางด้านภูมิศาสตร์เกี่ยวกับฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงบ่อย อาจทำให้เกิดสภาวะแห้งแล้งและฝนตกหนัก ทำให้ไม่สามารถหาอาหารประเภทโปรตีนจำพวกเนื้อสัตว์หรือเนื้อปลามารับประทานกันได้ตลอดทั้งปี และเหตุนี้เองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำ ซูชิ ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 700 โดยประมาณ โดยได้รับอิทธิพลมากจากอาหารหมักอย่าง “ปลาร้า” หรือ “ปลาส้ม” ที่ทำกันในประเทศแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเชียงใต้ ทางฝั่งแม่น้ำโขงอย่างลาวและไทย รวมถึงทางตอนใต้ของประเทศจีน

           โดยการทำ ซูชิ นั้นก็คือกระบวนการหมักชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการนำข้าวที่มีมาหมักกับปลาและเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งในกระบวนการทำซูชินั้นจะทำให้สารที่มีชื่อว่า แลกติก หรือแอซิดแบคทีเรียตามธรรมชาติในข้าวเจริญเติบโตและทำปฏิกิริยากับแป้งข้าวเปลี่ยนให้เป็นกรดแลกติก ซึ่งเจ้าแบททีเรียตัวนี้จะช่วยป้องกันการเน่าเปื่อยของเนื้อปลาและเนื้อสัตว์ได้ (คล้ายๆกับการทำนมเปรี้ยว) ซึ่งถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านของชาวญี่ปุ่นในยุคโบราณอย่างแท้จริง และจุดประสงค์หลักๆในการทำซูชิขึ้นมานั้นก็เพื่อ เก็บรักษาและถนอมอาหาร ทำให้อาหารเป็นขนาดพอดีคำและสามารถพกพาไปเพื่อใช้เป็นเสบียงในการเดินทางได้อีกด้วย

           ประเภทของซูชิ
          ถึงคนส่วนใหญ่จะนิยมเรียกกันว่าซูชิแต่จริงๆแล้วซูชิไม่ได้มีแค่เเบบเดียวเท่านั้นแต่สามารถแบ่งออกได้ถึง 5 ประเภทดังนี้

1. นิกิริซูชิ (Nigiri Sushi) หรือซูชิที่พบได้บ่อยในโรงแรมหรือภัตตาคารมีลักษณะข้าวเป็นก้อนรูปทรงวงรี แล้ววางด้วยเนื้อปลาดิบ เนื้อวัว เนื้อหมึก หรือของคาวอื่น ๆ ไว้ข้างบน อาจจะเสริมรสหรือตกแต่งด้วยสาหร่ายทะเลหรือวาซาบิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นซูชิที่คนส่วนใหญ่นิยมรัปประทานกันมากที่สุด


2. มากิซูชิ (Maki Sushi) ซูชิแบบนี้ถือได้ว่าเป็นที่นิยมในตลาดระดับล่างหรือพูดง่ายๆก็คือซูชิทั่วๆไปที่มีขายในซูเปอร์มาร์เก็ต และ ตลาดนัด เนื่องจากตัววัตถุดิบที่นำมาทำมีราคาไม่สูงมาก และมีหลากหลายรูปแบบคนส่วนใหญ่จึงรู้จักกันดี โดยมีวิธีทำ 3 แบบด้วยกัน

      แบบม้วนข้าวไว้ข้างในและสาหร่ายห่ออยู่ข้างนอก
      แบบม้วนสลับกับแบบแรกโดยที่สาหร่ายจะอยู่ข้างในแทนส่วนข้าวอยู่ด้านนอกห่อเป็นรูปกรวย



3. ชิราชิซูชิ (Chirashi Sushi) เป็นการจัดเรียงในรูปแบบที่คล้ายๆกับข้าวกล่อง โดยการนำเอา ปลาดิบ กุ้ง ปลาหมึก และผักชนิดต่างๆมาวางเรียงอยู่ด้านบนของข้าวที่ใส่อยู่ในกล่อง


4. โอชิซูชิ (Oshi Sushi) จากเมืองโอซาก้าหรือเรียกว่ารูปแบบคันไซนั่นเอง โดยจะมีรูปแบบการทำโดยการเอาข้าวมาอัดลงในแม่พิมพ์รูปสี่เหลี่ยมตามยาวโดยวางเนื้อปลาเอาไว้ด้านบน และนำมาหั่นให้เป็นขนาดพอดีคำ


5. อินะริ ซูชิ (Inari Sushi) เป็นซูชิประเภทหนึ่ง ที่ตัวข้าวและเนื้อสัตว์จะถูกห่ออยู่ในเต้าหู้มีลักษณะคล้ายกับไข่ยัดไส้ คนไทยส่วนใหญ่จะไม่ค่อยรู้จักกันดีเท่าไหร่นัก เพราะไม่ค่อยมีคนนิยมทำมาขาย

ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจเลยหากจะบอกว่าซูชิเป็นอาหารที่คนทั่วโลกนิยมรับประทาน เพราะไม่ได้มีแค่หน้าตาและความอร่อยเท่านั้นแต่มันยังถูกหล่อหลอมมาด้วยประวัติศาสตร์และความเป็นมาที่ยาวนานด้วยการวิวัฒนาการวิธีการทำซูชิตามแบบฉบับวิธีชนพื้นบ้านที่แปลเปลี่ยนไปตามกาลเวลานั่นเอง


ขอบขอบคุณข้อมูลดีๆจาก fhsredraiderfootball



จะว่าไปแล้วเจ้าของกระทู้ก็พึ่งรู้เหมือนกันว่ามันมีหลายประเภท  และก็หิวขึ้นมาทันที แฮร่!! หัวเราะลั่น หัวเราะลั่น


27  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / ท่านอนที่เหมาะสม สำหรับคนท้อง และท่านอนที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อ: 27 สิงหาคม 2565 18:26:22

ท่านอนที่เหมาะสม สำหรับคนท้อง และท่านอนที่ควรหลีกเลี่ยง


ท่านอนที่เหมาะสมของแม่ตั้งท้อง
            ท่านอนของคุณแม่ที่กำลังมีการตั้งท้องมีความสำคัญไม่น้อยเลยนะคะ เพราะท่านอนที่ถูกต้อง นอกจากจะช่วยทำให้คุณแม่นอนหลับสบายแล้ว ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดตะคริวได้อีกด้วย

https://www.enfababy.com/sites/thailand/files/Suitable-pregnant-person-position.jpg

ท่านอนของคนท้องที่เหมาะสม
              สำหรับท่านอนของคนท้องที่เหมาะสมที่สุดก็คือ นอนตะแคงซ้าย (ไหล่ซ้ายติดกับพื้น) จะช่วยป้องกันไม่ให้มดลูกกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ จะทำให้เลือดจากขาไหลย้อนกลับเข้าสู่หัวใจได้ดีขึ้น ช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดี ทำให้ไตสามารถขับถ่ายของเสียได้ตามปกติ ควรหาหมอนใบเล็กๆ นุ่มๆ มารองท้อง เพื่อช่วยรับน้ำหนักท้องและไม่ให้ท้องโย้ลงต่ำมากไป เพราะจะทำให้คุณแม่รู้สึกตึงและถ่วงท้องมากเกินไป


ท่านอนที่ควรหลีกเลี่ยง
              ท่าที่ควรหลีกเลี่ยงคือ ท่านอนหงาย เนื่องจากมดลูกตั้งแต่อายุครรภ์ 16 สัปดาห์ขึ้นไป จะเริ่มมีขนาดโตอาจไปกดทับเส้นเลือดใหญ่บริเวณกลางลำตัวทำให้เกิดอาการเท้าบวม เส้นเลือดขอดริดสีดวงทวารหรือบางครั้งอาจจะกดทับจนเลือดไหลกลับ ไม่ได้ทำให้ความดันโลหิตต่ำลง เกิดอาการใจสั่นหรือวิงเวียนศีรษะเป็นลมได้
            ขณะนอนควรหาหมอนหลายๆ ใบมาหนุนรองตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย จะทำให้นอนหลับสบายขึ้น การนอนกอดหมอนข้างจะช่วยรองรับน้ำหนักบริเวณแขนและขา รวมทั้งช่วยป้องกันบริเวณหน้าท้องจากแรงกระแทกที่อาจเกิดจากสามีดิ้นมาโดนได้ด้วย สำหรับคุณแม่ที่ท้องแก่มากขึ้น ควรใช้หมอนวางไว้ใต้ขา โดยใช้ขาพาดหมอนข้างไว้จะทำให้คุณแม่รู้สึกสบายขึ้นค่ะ



28  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / เด็กหญิงที่หลับยาวถึง “9 ปี” เมื่อ: 23 สิงหาคม 2565 21:33:28

เด็กหญิงที่หลับยาวถึง “9 ปี”


https://t1.blockdit.com/photos/2022/08/630486d8c62bb76743462735_800x0xcover_PJSZGCSU.jpg

          “เอลเลน แซดเลอร์ (Ellen Sadler)” คือเด็กหญิงที่นอนหลับยาวนานถึงเก้าปี และยังเป็นที่พิศวงจนถึงทุกวันนี้  เธอเกิดในปีค.ศ.1859 (พ.ศ.2402) ในครอบครัวใหญ่ที่มีลูกถึง 12 คน โดยเธอเป็นคนที่ 10 โดยครอบครัวของเธอนั้นอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆ ของประเทศอังกฤษที่ชื่อ “เทอร์วิลล์ (Turville)”  พ่อของเอลเลนนั้นเสียชีวิตตั้งแต่ยังหนุ่ม ทำให้แม่ของเอลเลนต้องแต่งงานใหม่ ซึ่งพ่อเลี้ยงนั้นก็รักและดูแลเอลเลนอย่างดี

https://t1.blockdit.com/photos/2022/08/63048879afd615cfea21e2c6_800x0xcover_b3N5wkMH.jpg


          ในปีค.ศ.1871 (พ.ศ.2414) ขณะมีอายุได้ราวๆ 12 ปี เอลเลนได้เข้านอนพร้อมกับพี่น้องเช่นเดียวกับคืนอื่นๆ หากแต่ที่ต่างไป ก็คือเมื่อถึงวันต่อมา เอลเลนนั้นไม่ตื่น  ผู้เป็นแม่ทั้งตะโกน ทั้งเขย่าตัว ทำทุกวิธี แต่เอลเลนก็ยังไม่ตื่น ในทีแรก ทุกคนเข้าใจว่าเอลเลนนั้นเสียชีวิตไปแล้ว หากแต่เมื่อลองตรวจดู ก็พบว่าเธอยังมีชีพจร อีกทั้งร่างก็ยังอุ่นอยู่ ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วประเทศต่างตรงมายังบ้านของเอลเลน และทุกคนก็เห็นตรงกันว่าไม่เคยเจออะไรอย่างนี้มาก่อน  เรื่องราวของเอลเลนนั้นถูกเล่าแพร่หลายไปทั่ว ผู้คนจำนวนมากเดินทางมาเพื่อดูเอลเลน และต่างก็บริจาคเงินให้ครอบครัวของเอลเลน   หลายคนที่มาเยี่ยมบ้าน ต่างอาสาจะช่วยปลุกเอลเลน โดยมีการคิดวิธีการสารพัด หากแต่ก็ไม่ได้ผล  จากนั้น เรื่องราวของเอลเลนก็ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารและสื่อต่างๆ ทำให้เธอโด่งดังไปนอกประเทศอังกฤษด้วย และทุกคนต่างก็สงสัยว่าเธอมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร ในเมื่อไม่ได้รับน้ำและอาหาร  ผู้เป็นแม่ จะทำการป้อนข้าวต้ม นม และไวน์ใส่น้ำตาลให้เอลเลนทุกวัน โดยป้อนผ่านกาน้ำชาเล็กๆ  แต่แล้วในปีค.ศ.1880 (พ.ศ.2423) แม่ของเอลเลนก็ได้เสียชีวิตจากหัวใจวาย ซึ่งแพทย์กล่าวว่าเกิดจากความเครียดและซึมเศร้า เนื่องจากผู้เป็นแม่ทำใจแล้วว่าเอลเลนคงจะไม่ฟื้นขึ้นมาแน่ๆ

          แต่เพียงห้าเดือนหลังการจากไปของผู้เป็นแม่ เอลเลนก็ได้ตื่นขึ้นจากนิทรา หลังจากที่หลับไปยาวถึงเก้าปีเต็ม เอลเลนหลับไปตอนอายุ 12 ปี และตื่นขึ้นมามีอายุ 21 ปี วันที่เธอตื่น คือวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.1880 (พ.ศ.2423) และวันต่อมา วันปีใหม่ค.ศ.1881 (พ.ศ.2424) หนังสือพิมพ์ก็ลงข่าวของเอลเลน  เมื่อเอลเลนตื่นจากนิทรา พี่น้องของเธอก็ได้บอกเธอว่าผู้เป็นแม่นั้นเสียชีวิตไปแล้ว โดยเอลเลนนั้นไม่ได้ฝันอะไรทั้งนั้น แค่หลับไป

https://t1.blockdit.com/photos/2022/08/63049da2596e033db684bbc5_800x0xcover_5FqAaJxZ.jpg


          ถึงแม้ในเวลาที่ตื่นขึ้นมา เอลเลนจะมีอายุ 21 ปี แต่ทางด้านพัฒนาการและจิตใจ เธอยังคงเป็นเด็กหญิงวัย 12 ปี เนื่องจากช่วงเวลาที่หลับไหลนั้น เธอไม่ได้รับการศึกษาหรือรับรู้ความเป็นไปของโลก ทำให้เธอต้องปรับตัวอย่างหนัก เงินบริจาคที่ได้มาในช่วงที่เอลเลนหลับ ก็ถูกใช้ไปหมดแล้ว ทำให้เอลเลนต้องทำงาน โดยเธอทำงานเป็นคนขายสร้อยลูกปัด ไม่กี่ปีต่อมา เอลเลนได้แต่งงานกับชาวนารายหนึ่ง และมีลูกด้วยกันหกคน และเอลเลนก็ได้เสียชีวิตในปีค.ศ.1901 (พ.ศ.2444) โดยไม่มีบันทึกสาเหตุการเสียชีวิต รวมทั้งไม่มีบันทึกเรื่องราวชีวิตที่ผ่านมามากนัก

          ภายหลังจากที่เอลเลนตื่นจากนิทราในปีค.ศ.1880 (พ.ศ.2423) ก็ได้มีความพยายามที่จะหาคำตอบในกรณีของเอลเลน โดยในปีนี้เอง แพทย์จึงได้เข้าใจถึงอาการป่วยชนิดหนึ่งที่ทำให้หลับยาวนาน ซึ่งปัจจุบันก็คือ “โรคลมหลับ (Narcolepsy)”  อาการนี้ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกง่วงและหลับเป็นเวลานาน ไม่สามารถตื่นได้  ถึงแม้ว่าโรคลมหลับจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ หากแต่สำหรับผู้ที่หลับไปยาวนานเช่นเอลเลน ก็อาจจะส่งผลต่อสภาพจิตใจได้


ื          ที่มา: https://www.indiatimes.com/trending/human-interest/ellen-sadler-slept-for-9-years-straight-566270.html]https://historyofyesterday.com/the-little-girl-who-slept-for-9-years-straight-4970013f4ef0
                  [url]https://www.indiatimes.com/trending/human-interest/ellen-sadler-slept-for-9-years-straight-566270.html

                  https://www.timesnownews.com/web-stories/viral/ellen-sadler-the-sleeping-girl-of-turville-who-slept-for-9-years-straight/photostory/90683917.cms
[/url]
29  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / เฮอร์แปงไจน่า โรคระบาดในช่วงฤดุฝนและอันตรายกับลูกน้อย เมื่อ: 22 สิงหาคม 2565 17:09:55


ทำความรู้จัก โรคเฮอร์แปงไจนา (HERPANGINA) โรคติดต่อเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายกับลูกน้อย

           ทำความรู้จัก โรคเฮอร์แปงไจนา (Herpangina)
          โรคติดต่อเชื้อไวรัสที่เป็นอันตรายกับลูกน้อย มักระบาดในช่วงฤดูฝน และพบบ่อยในเด็กอายุ 2 ถึง 10 ปี เป็นโรคที่พบได้ทุกช่วงอายุ แต่จะพบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคนี้จะติดต่อกันได้ในสถานที่ที่มีเด็กๆ อยู่รวมกันจำนวนมาก เช่น โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก  โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มคอกซากีไวรัสกรุ๊ปเอ (Coxsackie viruses A sero type 1 – 10, 16 และ 22) และเอ็นเทอร์โรไวรัส (Enterovirus)

https://www.paolohospital.com/Resource/Image/Article/shud.jpg


          โดยโรคนี้สังเกตได้จากการเกิดแผลขนาดเล็กในลำคอ มีไข้ อ่อนเพลีย ทำให้เด็กๆ เบื่ออาหาร ไม่ยอมกินข้าว อาจมีการอาเจียนด้วย เด็กเล็กจะซึม งอแง สำหรับเด็กโตมักพบอาการเจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดคอ  โดยพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูร้อน โรคนี้แพร่เชื้อผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ อุจจาระ หรือการแพร่เชื้อที่ปนเปื้อนมาในน้ำ อาหาร ภาชนะ มือ ของเล่น โต๊ะเก้าอี้ วัสดุต่างๆ ผ่านเข้าทางปาก ซึ่งไวรัสกลุ่มนี้มีศักยภาพสูงมากในการก่อโรค การได้รับเชื้อเพียงแค่ 10-100 ตัวก็สามารถเกิดการติดเชื้อได้  ลักษณะอาการใกล้เคียงโรคเท้าปากอาจทำให้สับสน

          อาการของโรค
           อาการของโรคแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน ที่พบได้คือ มีไข้แบบเฉียบพลัน ได้รับยาลดไข้แล้วไม่ดีขึ้น และอาจมีไข้สูง 40 องศา เด็กบางคนอาจมีอาการชักจากไข้สูง กลืนลำบาก ทำให้ปฏิเสธอาหาร เบื่ออาหาร น้ำลายไหล อาเจียน อาจพบมีภาวะร่างกายขาดน้ำ เช่น ริมฝีปากแห้ง ตาโหล ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อย พบแผลในปาก เป็นแผลเล็กๆ หลายแผลบริเวณเพดานอ่อน ต่อมทอนซิล ผนังคอด้านหลัง ลักษณะของแผลที่พบจะเกิดใน 2 วันหลังการติดเชื้อ โดยแผลมีขนาด 2-4 มิลลิเมตร สีขาวหรือเทาอ่อนมีขอบแดง 

           โรคมือ เท้า ปาก VS เฮอร์แปงไจน่า แตกต่างกันอย่างไร?
           แม้ว่า “โรคมือ เท้า ปาก” และ “เฮอร์แปงไจน่า” เกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกัน แต่อาการแสดงแตกต่างกัน คือ โรค มือ เท้า ปาก จะมีไข้ มีผื่น ตุ่มน้ำใสหรือเม็ดแดงๆ ในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า บางรายอาจมีอาการ อาเจียน ถ่ายเหลวรุนแรง ร่างกายขาดน้ำ ปอดบวมน้ำ หอบเหนื่อย ซึม ชัก เกร็ง ช็อกเสียชีวิต ส่วน “โรคเฮอร์แปงไจน่า” จะไม่พบผื่นบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า จะสังเกตอาการของโรคนี้ได้ค่อนข้างลำบากในช่วงแรก ต่อเมื่อเริ่มมีผื่นขึ้น คออักเสบ จึงจะสามารถสังเกตอาการได้ บางรายอาจพบเพียงผื่นและแผลตื้น ๆ กราย ๆ ในช่องปาก เท่านั้น  แต่หากเด็กมีไข้สูง ได้ยาลดไข้แล้วไม่ดีขึ้น ไม่ยอมดื่มน้ำ นม หรือรับประทานอาหารไม่ได้ หายใจหอบ มีอาการแขนขาอ่อนแรง หรือชัก  ผู้ปกครองควรรีบพาเด็กมาพบแพทย์โดยเร็ว

          การรักษา
           ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสที่จะรักษาโรคเฮอแปงไจน่า สามารถหายเองได้ภายใน 7-10 วัน มีวิธีการรักษาตามอาการ ดังนี้
           1.หากมีไข้ เช็ดตัวจนกว่าไข้จะลดลง ให้ยาลดไข้ พาราเซตามอลหรือให้ไอบูโปรเฟน เพื่อลดความเจ็บปวดจากผื่นแผลในปาก
           2.ให้เด็ก จิบ ดื่มน้ำเย็นบ่อยๆ หรือดื่มนมเย็นที่มีรสไม่หวานมาก
           3.ให้อาหารจืด อ่อน ย่อยง่าย
           4.หากไข้ขึ้นสูงและเด็กไม่ยอมรับประทานอะไรเลย ควรพาไปพบแพทย์
           5.แพทย์อาจใช้ยาที่มีส่วนผสมของยาชา เพื่อลดอาการคออักเสบ


          การป้องกันโรคเฮอร์แปงไจน่า
           1.วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ ล้างมือให้สะอาด ด้วยน้ำสบู่ และน้ำสะอาด
           2.ระวังการสัมผัส น้ำลาย น้ำมูก ข้าวของเครื่องใช้ของเด็กที่เป็นโรค ซึ่งรวมทั้งของเล่นต่างๆ ด้วย หากเด็กป่วยให้งดไปโรงเรียน 7 วัน
           3.ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในชุมชน พื้นที่สาธารณะ ที่มีคนอยู่จำนวนมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า ในช่วงที่มีการระบาด




           คลินิกเด็ก 24 ชม. โรงพยาบาลเปาโล พระประแดง
           โทร . 02 818 9000 ต่อ 113

30  นั่งเล่นหลังสวน / หน้าเวที (มุมฟังเพลง) / Re: จดหมายถึงพ่อ เมื่อ: 18 สิงหาคม 2565 23:39:54

หนูยังรอวันพ่อกลับบ้าน
กล้ามะละกอที่พ่อนั่งหว่าน
ยังปลูกไม่นานลูกโตน่าดู
กระถินริมรั้วสูงขึ้นเลยบ่า
พุ่มกระดังงาเลื้อยซุ้มประตู
ทานตะวันชูคอ ชูช่อรออยู่
คงชะเง้อดูคอยพ่อกลับมา
แม่อธิบายที่พ่อไปทำงาน
เพื่อเงินเพื่อบ้าน และเพื่อลูกยา
จะมีบ้านโตมีรถโก้สง่า
มีหน้ามีตาเหมือนดังใคร ๆ



พ่อไปคราวนี้แม้จะยาวนาน
พวกเราทางบ้านเป็นกำลังใจ
แต่บางคืนแม่สะอื้นร้องไห้
หนูแกล้งหลับไป สงสารแม่จัง
ส่วนน้องหญิงยิ่งยามเย็นย่ำ
อ้อนประจำเหตุผลไม่ฟัง
ไม่เอาบ้านโตไม่เอาทุกอย่าง
จะเอาขี่หลังของพ่อคนเดียว
สุดท้ายนี้ขออวยพรให้
พ่ออยู่แดนไกลมีใจเด็ดเดี่ยว
ขอพระคุ้มครอง ยามใจห่อเหี่ยว
บกพร่องแลเหลียว ร่ำรวยกลับมา
กระถินริมรั้วสูงขึ้นเลยบ่า
พุ่มกระดังงาเลื้อยซุ้มประตู
ทานตะวันชูคอ ชูช่อรออยู่
คงชะเง้อดูคอยพ่อกลับมา
กระถินริมรั้วสูงขึ้นเลยบ่า
พุ่มกระดังงาเลื้อยซุ้มประตู
ทานตะวันชูคอ ชูช่อรออยู่
คงชะเง้อดูคอยพ่อกลับมา
กระถินริมรั้วสูงขึ้นเลยบ่า
พุ่มกระดังงาเลื้อยซุ้มประตู
ทานตะวันชูคอ ชูช่อรออยู่
คงชะเง้อดูคอยพ่อกลับมา
กระถินริมรั้วสูงขึ้นเลยบ่า
พุ่มกระดังงาเลื้อยซุ้มประตู
ทานตะวันชูคอ ชูช่อรออยู่
คงชะเง้อดูคอยพ่อกลับมา



31  นั่งเล่นหลังสวน / หน้าเวที (มุมฟังเพลง) / จดหมายถึงพ่อ เมื่อ: 18 สิงหาคม 2565 23:38:28

จดหมายถึงพ่อ

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=wEXIF79cpZQ" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=wEXIF79cpZQ</a>









32  นั่งเล่นหลังสวน / หน้าเวที (มุมฟังเพลง) / Re: ลาวดวงเดือน - บี พีระพัฒน์ x ลิเดีย ศรัณย์รัชต์ เมื่อ: 18 สิงหาคม 2565 23:30:30


     ในบทความ "ชานพระศรี" ได้เล่าถึงเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)มาแล้ว คงจะเห็นว่าฝีมือทางด้านการกวีของท่านมีไม่น้อยเลย เพียงแต่ท่านอาจจะไม่ได้จับงานด้านนี้เป็นล่ำเป็นสันเท่านั้น
ใจรักทางศิลปะของท่านไปออกทางด้านศิลปะการแสดง โรงละครของเจ้าพระยามหินทรฯในสมัยรัชกาลที่ ๔ จนถึงต้นรัชกาลที่ ๕ ขึ้นชื่อลือชาว่า " เครื่องแต่งตัวสวย และแต่งตัวสมจริง" เพราะท่านลงทุนมาก ถ้าเล่นเรื่องมอญตัวละครก็แต่งมอญ เล่นจีนก็แต่งจีน เล่นเรื่องลาวก็แต่งลาว สิ้นเปลืองเท่าไรก็ไม่ว่า เป็นที่นิยมของคนดูมาก นอกจากนี้ท่านยังมีวงมโหรีปี่พาทย์ส่วนตัวอีกด้วย
เช่นเดียวกับขุนนางผู้ใหญ่ในสมัยนั้นที่นิยมนำบุตรีขึ้นถวายตัวรับราชการฝ่ายใน ธิดาของเจ้าพระยามหินทรฯ ต่อมาคือเจ้าจอมมารดามรกฏในรัชกาลที่ ๕ มีพระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกเธอ ๒ พระองค์ คือพระองค์เจ้าจุฑารัตนราชกุมารี และพระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์ ทรงกรมเป็นกรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
พระองค์เจ้าชายเพ็ญพัฒนพงศ์เสด็จไปศึกษาที่อังกฤษ เช่นเดียวกับพระเจ้าลูกยาเธออีกหลายพระองค์ เมื่อกลับมาสยาม ก็ทรงรับราชการได้เป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงเกษตราธิการ
กรมหมื่นพิไชมหินทโรดมน่าจะทรงได้รับสายเลือดศิลปินจากเจ้าพระยามหินทรฯ ขรัวตาของท่านอยู่ไม่มากก็น้อย จึงได้นิพนธ์เพลงขึ้นมาเพลงหนึ่ง ชื่อ ลาวดำเนินเกวียนระหว่างเสด็จไปราชการตามหัวเมือง สมัยนั้นก็ค่อนข้างลำบาก เพราะทางรถไฟยังไปไม่ทั่วถึง มีแต่ทางเกวียนเป็นส่วนใหญ่
เพลงนี้ เนื้อร้องเดิมของแท้มีอยู่ว่า


โอ้ละหนอ ดวงเดือนเอย
ข้อยพี่มาเว้า รักเจ้าสาวคำดวง
โอ้ดึกแล้วหนอ ข้อยขอลาล่วง
โอ๊ะพี่เป็นห่วง รักเจ้าดวงเดือนเอย

ขอลาแล้ว เจ้าแก้วโกสุม
ข้อยนี้รักเจ้าหนอ ขวัญตาเรียม
จะหาไหนมาเทียม เจ้าดวงเดือนเอย
หอมกลิ่นเกสร เกสรดอกไม้
หอมกลิ่นคล้าย คล้ายเจ้าสูเรียมเอย
หอมกลิ่นกรุ่นครัน หอมนั้นยังบ่เลย
เนื้อหอมทรามเชย เราละเหนอ
โอ้ละหนอ นวลตาเอย
ข้อยนี้รัก แสนรักดังดวงใจ
โอ้เป็นกรรม ต้องจำจากไป
โอ๊ะพี่อาลัย เจ้าดวงเดือนเอย
เห็นเดือนแรม เริศร้างเวหา
ข้อยเบิ่งดูฟ้า(ละหนอ) เห็นมืดมน
พี่จะทนทุกข์ทน เจ้าดวงเดือนเอย
เสียงไก่ขันขาน มันหวานเจื้อยแจ้ว
ช่างหวานสุดแล้ว หวานแจ้วเจื้อยเอย
ถึงจะหวานเสนาะ หวานเพราะกระไรเลย
บ่เหมือนทรามเชย เราจะเหนอ


      เนื่องจากบทร้องพระนิพนธ์ขึ้นต้นว่า " โอ้ละหนอดวงเดือนเอย" และตอนที่จบท่อนก็มักจะมีคำว่า "ดวงเดือน" ก็เลยเป็นที่จดจำกันถึงคำนี้มากกว่าชื่อแท้จริงของเพลง และยังฟังไพเราะเหมาะสมกับทำนองและเนื้อร้องมากกว่า ก็เลยกลายเป็น ลาวดวงเดือน อย่างที่รู้จักกันทุกวันนี้
มีเบื้องหลังเล่าว่ากรมหมื่นพิไชยฯนิพนธ์เพลงนี้ด้วยพระทัยผูกพันในตัวเจ้าหญิงองค์หนึ่ง ในราชสำนักเชียงใหม่ที่เคยเสด็จไปเยือน ในฐานะพระราชอาคันตุกะจากเมืองหลวง ถึงขั้นใคร่จะขออภิเษกด้วย แต่ก็ทรงไม่ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงผิดหวังกับความรักครั้งนี้มาก แต่ต่อมาก็ได้อภิเษกไปกับกุลสตรีอื่น ทรงเป็นต้นราชสกุล " เพ็ญพัฒน์"
กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดมสิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุเพียง ๒๘ พรรษา มีพระนิพนธ์เพลง ลาวดวงเดือน ทิ้งไว้เป็นสมบัติยั่งยืนของวัฒนธรรมไทย



       แหล่งที่มา : vcharkarn.com




33  นั่งเล่นหลังสวน / หน้าเวที (มุมฟังเพลง) / ลาวดวงเดือน - บี พีระพัฒน์ x ลิเดีย ศรัณย์รัชต์ เมื่อ: 18 สิงหาคม 2565 23:28:32

รัก ลาวดวงเดือน - บี พีระพัฒน์ x ลิเดีย ศรัณย์รัชต์  รัก


<a href="http://www.youtube.com/watch?v=SDBdQZ4IXvg" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=SDBdQZ4IXvg</a>







34  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / ตำข้าวกล้อง ได้ข้าวซ้อมมือ เหตุใดจึงเรียก “ข้าวซ้อมมือ” ? เมื่อ: 18 สิงหาคม 2565 23:22:41

ตำข้าวกล้อง ได้ข้าวซ้อมมือ เหตุใดจึงเรียก “ข้าวซ้อมมือ” ?



        ข้าวซ้อมมือ หรือข้าวซ้อม ตามความหมายของราชบัณฑิตยสถาน ว่า “ข้าวกล้องที่นำมาตำ เยื่อรำจะหลุดไป เหลือแต่เมล็ดข้าว”  ก่อนที่จะมาเป็นข้าวซ้อมมือ เป็นข้าวกล้องมาก่อน.....ข้าวกล้อง ก็คือข้าวที่ตำหรือสีเอาเปลือกออกครั้งแรก ยังมีจมูกข้าวและเยื่อสีแดง ๆ หุ้มเมล็ดข้าวอยู่ โดยในอดีตเมื่อยังไม่มีโรงสี ชาวบ้านต้องเปลี่ยนข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารด้วยการตำในครกตำข้าว ซึ่งมีทั้งชนิดตำด้วยสากมือถือ กับสากติดคานกระเดื่อง หรือที่เราเรียกกันว่า ครกกระเดื่อง

         การตำข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารนั้น พอใส่ข้าวเปลือกลงไปตำ จะทำให้เปลือกเมล็ดข้าวถูกกะเทาะ ต่อจากนั้นจึงตักข้าวใส่กระด้งไปฝัด เปลือกของข้าวที่กะเทาะออกแล้วลอยหลุดตกจากกระด้ง เรียกว่า แกลบ ส่วนเมล็ดข้าวที่หนักกว่าซึ่งตกลงยังกระด้งดังเดิม เรียกว่า ข้าวกล้อง แต่ข้าวกล้องนี้ยังมีส่วนของเปลือกข้าวปนอยู่ จึงต้องนำมาตำอีกครั้ง และการตำซ้ำรอบที่สามก็เป็นที่มาของคำว่า ข้าวซ้อมมือ

         เรื่องนี้ วีระพงศ์ มีสถาน อธิบายไว้ในบทความ “ข้าวกล้อง” (ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมีนาคม 2554) ว่า “ข้าวกล้องตามความหมายแต่เดิมมา จะนำมานึ่งหรือหุงกินไม่ได้ (เว้นเสียแต่จะโปรยให้นกให้ไก่กิน) จึงต้องมีการตำรอบสองและรอบสาม ในวัฒนธรรมลาวสอนกันไว้เลยว่า ตำรอบสองเรียกว่า ต่าว (ในภาษาไทยภาคกลางเรียกว่า ทวน ซึ่งมีความหมายว่า หวนคืน กระทำอีกครั้ง) ส่วนตำรอบสามเรียกว่า ซ้อม ในภาษาไทยก็เรียกเช่นนี้เหมือนกัน ดังที่จะคุ้นหูจากการเรียกว่า ข้าวซ้อมมือ…

         คําผญาลาวมีบทที่กล่าวถึงการตำครั้งที่สามหรือซ้อมว่า ‘มีครกบ่มีสากซ้อม ตำได้ข้าวบ่ขาว’ (ครก และข้าว เขียนอย่างภาษาไทยภาคกลาง) การตำทวนหรือตำต่าวนี้ เพื่อให้ข้าวเปลือกที่ประสมเป็นข้าวกล้องนั้นลดจำนวนลง ให้เป็นเมล็ดข้าวสารมากขึ้น เปลือกข้าวถูกตำ ถูกกระแทกประสมอยู่กับเมล็ดข้าวและเมื่อฝัดแล้วจะได้รำแก่เก็บไว้ใช้เลี้ยงหมู ส่วนการตำซ้อม เพื่อทำให้ข้าวขาวขึ้น เมื่อฝัดแล้ว นอกจากจะได้เนื้อเมล็ดข้าวสารที่ขาวกว่าเดิมแล้ว ยังได้รำอ่อนและปลายข้าวอีกด้วย“

         การตำข้าวหรือสีข้าวจำนวนครั้งมาขึ้นจะทำให้เส้นใยและจมูกข้าวบางส่วนหลุดไป หากตำหรือขัดสีข้าวซ้อมมืออีกหลายครั้ง ก็จะกลายเป็น “ข้าวขาว” ซึ่งปัจจุบันมีความนิยมรับประทานข้าวกล้องมากกว่า เพราะอุดมด้วยคุณประโยชน์มากกว่าข้าวขาว


           


           ...ผู้เขียน     หนุ่มบางโพ
           ...เผยแพร่    วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ.256

35  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / สุขศาลา” สถานพยาบาลในอดีต เมื่อ: 18 สิงหาคม 2565 23:16:50

สุขศาลา” สถานพยาบาลในอดีต




          "สุขศาลา" เป็นชื่อเรียกสถานพยาบาลตามท้องที่ต่างๆ ในอดีต ซึ่งปัจจุบันกลายมาเป็นสถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชน หรือโรงพยาบาลอำเภอ กล่าวได้ว่าสุขศาลามีความสำคัญต่อพัฒนาการของระบบสุขภาพของคนในสังคมไทยอยู่ไม่น้อยเนื่องจากเป็นสถานที่ให้บริการสุขภาพที่ใกล้ชิดกับผู้คนมานับแต่อดีต

          หากย้อนกลับไปถึงความเป็นมาของสุขศาลา เราคงต้องย้อนไปตั้งแต่สมัยที่มีการจัดตั้ง “โอสถศาลา” สถานที่จำหน่ายยาให้แก่ราษฎร ในช่วงปีพ.ศ. 2439-2445 เคยมีการตั้งโอสถศาลาในหัวเมืองต่างๆ ขึ้น ได้แก่ หัวเมืองพิษณุโลก เมืองอุตรดิตถ์ เมืองอุทัยธานี เมืองปราจีนบุรี เพื่อเป็นสถานที่ในการจำหน่ายยาราคาถูกให้แก่ราษฎรตามหัวเมือง แต่ก็ต้องมีอันยกเลิกไปเนื่องจากรัฐบาลขาดทุนมาโดยตลอด กระทั่งในปี พ.ศ. 2456 จึงได้มีการตั้งโอสถศาลาใหม่ขึ้นในบางจังหวัดเพื่อเป็นสถานที่บำบัดโรคและจำหน่ายยา โดยต่อมาได้พัฒนาเป็น "สุขศาลา" และในเวลาต่อมาก็พัฒนาเป็นสถานีอนามัย เป็นศูนย์การแพทย์และอนามัยชนบท เป็นศูนย์การแพทย์และอนามัย เป็นโรงพยาบาลอำเภอ และโรงพยาบาลชุมชนในปัจจุบัน

          ในปี พ.ศ. 2475 โอสถศาลาได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สุขศาลา” โดยสุขศาลายังแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ กล่าวคือ ท้องถิ่นใดมีประชากรหนาแน่นทางราชการจะส่งแพทย์ไปประจำเรียกสุขศาลานั้นว่า “สุขศาลาชั้นหนึ่ง” ส่วนสุขศาลาที่ไม่มีแพทย์ประจำเรียกว่า “สุขศาลาชั้นสอง”  และเมื่อมีการสถาปนากระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2485 กรมการแพทย์ซึ่งอยู่ในสังกัดกระทรวงดังกล่าวได้รับโอน “สุขศาลาชั้นหนึ่ง” ที่ตั้งอยู่ตามอำเภอใหญ่ๆ และในบางจังหวัด ไปปรับปรุงขึ้นเป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอ โรงพยาบาลประจำจังหวัด ในขณะที่บางแห่งให้เทศบาลรับไปดำเนินการ ส่วน“สุขศาลาชั้นหนึ่ง “ที่ไม่ได้โอนไปอยู่กับเทศบาลและไม่ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลให้อยู่ภายใต้การดูแลของกรมอนามัย “สุขศาลาชั้นหนึ่ง” เหล่านี้จึงพัฒนามาเป็น “สถานีอนามัยชั้นหนึ่ง” ในปี พ.ศ. 2497 และได้มีการพัฒนาต่อเนื่องเป็น “ศูนย์การแพทย์อนามัยชนบท” ในปี พ.ศ.2515 เป็น “ศูนย์การแพทย์และอนามัย” ในปี พ.ศ. 2517 และเป็น “โรงพยาบาลอำเภอ” ในปี พ.ศ. 2518 จนถึงปัจจุบัน 

          สำหรับ “สุขศาลาชั้นสอง” ส่วนใหญ่อยู่กับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “สถานีอนามัยชั้นสอง” ในปีพ.ศ.2495 และเป็น “สถานีอนามัย” ในปี พ.ศ. 2515 จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2551 หลังจากได้มีการผลักดันให้พัฒนาและยกระดับสถานีอนามัยสู่การเป็น “โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล” ตามนโยบายของรัฐบาลสมัยนั้น ซึ่งดำเนินการในระหว่างปีพ.ศ. 2552-2555 อย่างไรก็ตาม หากมองย้อนกลับไปจะพบว่าจุดเปลี่ยนสำคัญของพัฒนาการของหน่วยบริการสุขภาพระดับตำบลอยู่ในช่วงของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3-4 (2515-2524) ซึ่งทำให้เกิดการยกฐานะ “สุขศาลาชั้นหนึ่ง” ขึ้นเป็นโรงพยาบาลอำเภอ พร้อมกับการขยายเป้าหมายให้มีโรงพยาบาลครบทุกอำเภอ ทั้งนี้อาจมองได้ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับสุขศาลาชั้นสองหรือสถานีอนามัยในระดับตำบลว่าเป็นการบริการสุขภาพเบื้องต้น รวมทั้งการคัดกรองคนป่วยก่อนไปยังโรงพยาบาลอำเภอที่มีเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์สูงกว่า การดูแลสุขภาพในระดับปฐมภูมิจึงถูกจัดให้ไปอยู่ปลายสุดของระบบบริการสุขภาพ ทั้งที่มีความสำคัญต่อผู้คนและใกล้ชิดชุมชนเป็นอย่างมาก



เก็บความจาก

วิชัย โชควิวัฒน, โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ (บรรณาธิการ), รอยเวลา: เส้นทางประวัติศาสตร์สุขภาพ, 2556

ประคอง แก้วนัย, พัฒนาการสุขศาลาจากอดีตถึงปัจจุบัน, 2552

แหล่งที่มา : ประวัติศาสตร์สุขภาพชุมชน, นิตยสารสุขศาลา ปีที่ 2 ฉบับที่ 8 ตุลาคม-ธันวาคม 2552

36  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / ทำไมถึงเรียก “ข้าวสวย” และความหมายที่ควรจะเป็นของคำนี้คืออะไร? เมื่อ: 04 สิงหาคม 2565 08:24:35


ทำไมถึงเรียก “ข้าวสวย” และความหมายที่ควรจะเป็นของคำนี้คืออะไร?


https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2019/01/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7-696x522.jpg


          กรอบแนวคิดรวบยอด (concept) ของคนวัฒนธรรมไท มักคิดเปรียบเพื่อจําแนกสิ่งที่ตรงกันข้าม เช่น สูง-ต่ำ, ดํา-ขาว, หน้า-หลัง, อ่อน-แข็ง, มืด-แจ้ง, ซ้าย-ขวา, ไพร่-เจ้า, ฟ้า-ดิน ดังนี้เป็นต้น    วัฒนธรรมของชาวสยามรวมถึงหมู่กลุ่มของผู้คนในประเทศเพื่อนบ้านละแวกเอเชียอาคเนย์นี้ เป็นคนที่บริโภคข้าวโดยตรง คือนํามาหุง ต้ม นึ่ง ไม่นําไปทําเป็นโรตี หรือขนมปัง มีบ้างที่นําไปทําเป็นเส้นอย่างทําขนมจีนหรือทําเป็นเส้นหมี่อย่างวัฒนธรรมมอญหรือจีน แต่ก็ยังถือว่าเป็นคนบริโภคข้าว    คนตระกูลไทก็จําแนกข้าวออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือข้าวเหนียว กับข้าวเจ้า จ้าว (ซึ่งเคยกล่าวไว้ในศิลปวัฒนธรรมว่า เจ้า/จ้าว ในภาษาไทยใหญ่ยังเหลือค้างความหมายที่แปลว่า ร่วน หรือ ซุย)   แต่เพราะคําว่า เจ้า/จ้าว ซึ่งมีความหมายว่าร่วน หรือ ซุย นี้ ชาวไทยภาคกลางของประเทศไทยไม่ได้นําไปใช้ในปริบทอื่น นอกเสียจากผูกติดอยู่หลังคําว่า ข้าว เรียกว่าเป็น คําที่เกิดควงกันเสมอ จนถึงขั้นมีการตีความไปว่า ข้าวเจ้า เป็นข้าวของผู้นําหรือของกษัตริย์หรือบรรดาเจ้ากิน

         เมื่อเจ้าตรงข้ามกับไพร่ ตามครรลองของภาษาในสังคมไทย จึงเกิดความเข้าใจไปอีกว่า ข้าวเหนียวก็พึงเป็นข้าวที่พวกไพร่กิน เรียกว่าเป็นการจับคู่เทียบความหมายที่ไม่แยแสปริบทวัฒนธรรม และความเป็นจริงทางธรรมชาติกันเลยทีเดียว   หากดูตามแนวอรรถศาสตร์อันเป็นวิชาว่าด้วยเรื่องของความหมาย ถ้านําเอาความหมายของคําว่า (ข้าว)เจ้า ซึ่งแปลว่า ซุย หรือ ร่วน ไปเรียกเป็นชื่อ ข้าว ก็จะได้อีกชื่อหนึ่งว่า ข้าวซุย หรือ ข้าวร่วน ได้ แต่คําพูดของคนในสังคมไทยภาคกลางไม่พากันเรียกขานเช่นนี้ มีแต่เรียกข้าวเจ้ากันเรื่อยมา เมื่อคน ส่วนใหญ่เรียกเช่นนี้ก็เกิดการรับรู้กันทั่วไป

         คําว่า ซุย มีความหมายคล้ายคํา ว่า ร่วน คือมีลักษณะไม่เกาะกันหนีบ เหนียว อย่างเช่นการพรวนดินให้ซุย เป็นต้น ซึ่งคํานี้สันนิษฐานว่าเป็นที่มา ของคําว่า สวย ในคําว่า ข้าวสวย และ คําว่า ซุย กับ สวย มีส่วนที่พ้องกันใน ทางสัทศาสตร์หลายประการ ดังนี้
         ตัวอักษร ซ และ ส เป็นหน่วยเสียง (phoneme) เดียวกันคือ /s/ ซึ่ง อักษรตัว ช เป็นอักษรต่ํา ส่วนตัว ส เป็นอักษรสูง คือมีลักษณะเสียงวรรณยุกต์จัตวาติดตรึงอยู่ประจําตัวเองเสมอ เมื่อไปประสมสระยาว หรือไปอยู่ในรูปคําเป็นก็จะแสดงค่าเป็นระดับวรรณยุกต์จัตวาอยู่ร่ำไป โดยไม่ต้องทําเครื่อง หมายจัตวามากํากับ เช่น สี สอย สวย สาง สิน เป็นต้น

         ซุย และ สวย มีหน่วยเสียง พยัญชนะท้าย (ตัวสะกด) ด้วยหน่วยเสียงเดียวกัน คือ (/y/ หรือเสียง /ย/

         ซุย ประสมด้วยสระ อุ หรือ หน่วยเสียงสระ /u/

         ส่วน สวย ประสมด้วยสระ อัวะ หรือ สระอัว ในทางสัทศาสตร์ถือเป็นหน่วยเสียงสระประสมระหว่างสระ อุ กับสระ อะ (ถ้าเป็นเสียงสั้น) หรือสระ อุ กับสระ อา (ถ้าเป็นเสียงยาว) เมื่อเขียนสัทอักษร มักเขียนด้วยหน่วยเสียงสระ /ua/ ถ้าเปล่งเสียง อุอะ เร็วๆ ก็จะเป็น อัวะ ถ้าเปล่งเสียง อุอา หรือ อูอา
         ก็จะเป็น อัว อย่างไรก็ดี แม้ว่าทั้ง 2 คำจะประสมด้วยสระที่ต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นแก่นของฐานเสียงสระเดียวกันคือ หน่วยเสียงสระ /อุ/ อีกประการหนึ่งนั้น มีเสียงตัวสะกด /ย/ เหมือนกัน ทําให้ทั้ง 2 คํามีสภาพเป็น คําเป็น                                                                                             
         
         เมื่อเขียน ซุย และ สวย ด้วย สัทอักษร จะได้รูปร่าง /suy/ และ /suay/ ตามลําดับ

         จะเห็นได้ว่า รูปคํา ซุย และ สวย เมื่อเขียนเป็นสัทอักษร หน่วยเสียงหลักๆ ยังคงเหมือนกัน สิ่งที่เพิ่มเข้ามาในคําว่า สวย คือหน่วยเสียงวรรณยุกต์จัตวา และมีหน่วยเสียงสระ อะ /a/ มาประสมกับหน่วยเสียง /u/ จึงกลายเป็นสระ อัวะ ไปในที่สุด   เคยได้ยินคนแก่ชาวโคราชถามหลานตัวเล็กว่า “เอ๋งจ๊ะกิ๋นเข่าเหนียวรึเข่าซุย” ครั้นจะกลับไปสอบถามว่ายายคนที่พูดนี้ชื่ออะไร อยู่บ้านไหน ก็เห็นจะลําบาก เพราะได้ยินมาเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว   กล่าวมายาวๆ ด้วยหลักวิชาการนี้ สรุปเป็นคําพื้นบ้านทั่วไปเพียงต้องการบอกว่า สวย ที่เราเรียกกันว่า ข้าวสวย นั้น น่าจะเป็นคําที่กร่อนเสียง หรือ กลายเสียงจากคําว่า ซุย แทนที่จะเรียกว่า ข้าวซุย คนภาคกลางไม่เรียกเช่นนั้น เรากลับเรียกว่า ข้าวสวย

         ในการนิยามความหมายเพื่อจัดทําพจนานุกรม เมื่อทําถึงคําว่า สวย จึงควรอธิบายหรือนิยามความหมายตามที่มีการใช้ทั่วๆ ไป อย่างมีการใช้ว่า บ้านสวย คนสวย ฟ้าสวย รถสวย ฯลฯ สวยตรงนี้มีความหมายคร่าวๆ ว่างามนั่นเอง แต่ถ้าจะอธิบายคําว่า สวย ที่ผนวกอยู่ท้ายคําว่า ข้าว เราคนไทยไม่ได้แปลว่า ข้าวงาม หรือ ข้าวสวยดี แต่เราหมายถึง ข้าวเจ้าที่หุงสุกแล้ว พร้อมกินได้   คําหนึ่งๆ ที่มีความหมายเป็นของตัวเอง ควรจะแสดงค่าความหมายได้ในหลายปริบท ถ้ามันแสดงค่าความหมายไม่ได้ นั่นแสดงว่านิยามความหมายไม่ถูกต้อง ดังกรณีนิยามว่า สวย แปลว่า ไม่เปียก, เรียงเม็ด เช่น ข้าว สวย (และอีกประการหนึ่ง การนิยามความหมายไม่ควรเติมคําปฏิเสธเป็นความหมายหลัก เช่น เขียว แปลว่า ไม่แดง เช่นนี้ไม่ได้ ไม่ถูกต้องตามหลักการนิยามความหมาย)

         ถ้านิยามคํา “สวย” ว่า ไม่เปียก หรือ เรียงเม็ด ได้จริง เมื่อเรานําไปต่อท้ายคําว่า หินสวย ทรายสวย ลูกกวาด สวย ก็จะต้องขับความหมายว่า เรียงเม็ด ออกมาได้   ในการทําพจนานุกรมไทย-ไทย (คือคําศัพท์และความหมายเป็นคําไทย) จึงควรตระหนักถึงความหมายจากค่าของคํา ไม่ควรเร่หาเอาคําแปลไปตาม ปริบทหรือคําที่แวดล้อม แล้วนํามาระบุว่าเป็นความหมายอย่างนั้นอย่างนี้

         คําว่า ข้าวสวย จึงควรเป็นลูกคําของคําว่า ข้าว และไม่ควรแปลว่า ข้าว เรียงเม็ด หรือ ข้าวไม่เปียก แต่ถ้าประสงค์จะนิยามความหมายของคําว่า สวย ที่เกิดอยู่ท้ายคําว่า ข้าว ก็ควรอิงหลักการทางความหมายอย่างที่กล่าวไว้ตอนต้น คือแปลว่า ข้าวร่วน หรือข้าวเจ้าที่หุงหรือนึ่งสุกแล้ว


         ที่มา           ศิลปวัฒนธรรม กุมภาพันธ์ 2554
         ผู้เขียน   วีระพงศ์ มีสถาน
         เผยแพร่   วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ.2565


37  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / "ทำไมคนไทยเรียก ฌ เฌอ ว่า ฌ กะ เฌอ" เมื่อ: 03 สิงหาคม 2565 17:03:41

"ทำไมคนไทยเรียก ฌ เฌอ ว่า ฌ กะ เฌอ"


       (:LOVE:)ความเป็นไปได้ ๑.
       หลายคนคงทราบว่าในยุคหลัง ๆ (รวมถึงปัจจุบัน) เวลาเรียกตัว ศ ศาลา และ ษ ฤๅษี หลายคนมักจะเรียกว่า ศ คอ ศาลา และ ษ บอ ฤๅษี ทั้งนี้เพราะ ศ มีลักษณะคล้ายกับ ค และ ษ ก็มีลักษณะคล้ายกับ บ เหตุผลเพื่อช่วยให้ไม่สับสน (ซึ่งการท่องจำลักษณะนี้เป็นวิธีการที่ไม่เป็นทางการ ถ้าจะเรียกให้ถูกต้อง ต้องเรียกว่า ศ ศาลา และ ษ ฤๅษี ตามลำดับ)

       จากเหตุผลข้างต้น เชื่อว่าในอดีตนั้น ผู้แต่งตำราและบทท่องพยัญชนะไทย อาจต้องการหาเทคนิคช่วยให้เด็กนักเรียนจดจำ ฌ ให้ได้ ซึ่ง ฌ ก็มีลักษณะคล้ายกับ ก เช่นกัน โดยพบหลักฐานในตำราท่องพยัญชนะไทยบางเล่ม (ตามภาพนี้) พิมพ์ว่า ฌ ก เฌอ ซึ่งจากตรงนี้หลายคนคงคิดว่าก็ต้องท่องว่า ฌ กอ เฌอ เช่นเดียวกันกับ ศ คอ ศาลา และ ษ บอ ฤๅษี เหมือนในยุคหลัง ไม่น่าจะเป็นที่มาของ ฌ กะ เฌอ

       พระยาอุปกิตศิลปสาร กล่าวไว้ในหนังสือ "สยามไวยากรณ์ อักขระวิธี ภาคต้นและภาคสอง สำหรับประโยค ๓ ชั้น ๑ ร,ศ, ๑๒๐" มีใจความว่า ตัวอักษรไทยนั้นมีรากฐานมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต "วิธีอ่านพยัญชนะทั้ง ๒ ภาษานี้ เขาสมมตสระอะประสม อ่านเป็น กะ ขะ" (ซึ่งจะต่างจากยุคปัจจุบันที่อ่านพยัญชนะว่า กอ ขอ)

       ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถเชื่อได้ว่า การที่ตำราหรือบทท่องพยัญชนะไทยในอดีตเขียนว่า ฌ ก เฌอ นั้น จึงออกเสียงว่า ฌ กะ เฌอ ตามหลักวิธีอ่านพยัญชนะของบาลีและสันสกฤตด้วยเช่นกัน เพราะในอดีตเรายังไม่เรียกพยัญชนะ ก ข ค ง ว่า กอ ขอ คอ งอ แต่จะเรียกว่า กะ ขะ คะ งะ นั่นเอง (หรืออาจเป็นการอ่านออกเสียงตามการลดรูปของสระอะก็ได้ คือ ก ออกเสียงว่า กะ) โดยการท่องพยัญชนะ ฌ ว่า ฌ กะ เฌอ นี้ ได้รับการท่องจนติดปากต่อ ๆ กันเรื่อยมา

------
       (:LOVE:)ความเป็นไปได้ ๒.
       เรามักจะได้ยินคำท่องพยัญชนะว่า ฌ กะ เฌอ คู่กัน หรือ ฌ กะ เฌอ ต้นไม้ (โดยมีภาพประกอบเป็นต้นไม้สองต้นเสมอ) ตรงนี้ก็อาจเป็นอีกหนึ่งที่มาได้เช่นกัน โดยคำว่า เฌอ ในภาษาไทยนั้นหมายถึง ต้นไม้ หรือไม้ และมีรากศัพท์มาจากภาษาเขมร (ข. เฌี = ไม้, เฎิมเฌี = ต้นไม้) ซึ่งคำที่เขียนด้วย ฌ ในภาษาไทยนั้นมีน้อยมาก การที่ให้ท่องว่า ฌ กะ เฌอ ก็อาจเพื่อต้องการให้เด็กจำว่า ถ้าจะเขียนคำว่า เฌอ จะต้องใช้ ฌ เท่านั้น คือ ฌ จะต้องคู่กับคำว่า เฌอ (ไม่ใช่ เชอ ที่เขียนด้วย ช) จึงน่าจะเป็นที่มาว่า ฌ กับ เฌอ หรือ ฌ กะ เฌอ นั่นเอง

.......
      จากความเป็นไปได้ทั้งสองข้อข้างต้นนี้ เชื่อว่าน่าจะเป็นที่มาของการเรียก ฌ ว่า ฌ กะ เฌอ จนติดปาก และครูก็ได้นำมาสอนนักเรียนท่องจำจากรุ่นสู่รุ่นเรื่อยมา  อย่างไรก็ดี สำนักงานราชบัณฑิตยสภาให้เรียก ฌ ว่า ฌ เฌอ (อ่านว่า ชอ-เชอ) เพราะคำว่า เฌอ นั้นมีรากศัพท์จากภาษาเขมรที่แปลว่าต้นไม้ ไม่ใช่ ชอ กระเชอ ที่เขียนด้วย ช ช้าง ที่หมายถึงภาชนะสานด้วยไม้ชนิดหนึ่ง ที่มักใช้ว่า กระเชอก้นรั่ว

       ดังนั้น เวลาที่เราต้องเรียกตัวอักษร ฌ อย่างเป็นทางการ จึงควรเรียกว่า ฌ เฌอ (ชอ-เชอ) จึงจะถูกต้อง (รวมทั้งต้องเรียก ศ และ ษ ว่า ศ ศาลา และ ษ ฤๅษี ด้วยตามลำดับ)



       .......
       ผู้เขียน : ตะขบ
       Page : มานะ มานี ปิติ ชูใจ
       วันที่ : ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒

       ภาพประกอบ : คุณ Cinn Natthicha

38  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / มาทำความรู้จักกับ “วันแพนเค้ก” กันเถอะ เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2565 02:13:09


มาทำความรู้จักกับ “วันแพนเค้ก” กันเถอะ

        “แพนเค้ก” เค้กลักษณะกลมแบนทำจากแป้งผสมกับไข่ นมและเนย ถือเป็นอาหารเช้ายอดนิยมของชาวตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวอเมริกันที่มักเสิร์ฟแพนเค้กร้อนๆ เคียงคู่กับน้ำเชื่อมและผลไม้สดเพื่อทานเป็นของหวานหรือใช้รังสรรค์เป็นเมนูของคาวด้วยการจับคู่กับเบคอนทอดและไส้กรอก หืม…ฟังดูแล้วก็อร่อยล้ำไม่แพ้กันเลยนะคะ เหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้แพนเค้กครองใจนักชิมหลายคนคือจุดเด่นที่มีลักษณะรูปร่างแบน เนื้อนุ่มฟูและสีสันน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลเข้ม และยังให้คุณค่าทางโภชนาการ จึงเหมาะกับทานเป็นมื้อเช้าเติมพลัง แต่เพื่อนๆ รู้หรือไม่คะว่าบนโลกของเราใบนี้มีวันพิเศษสำหรับ “แพนเค้ก” โดยเฉพาะด้วย! ว่าแต่จะมีที่มาอย่างไร มาไขข้อสงสัยไปพร้อมกับแอดมินเลยค่ะ!


จุดกำเนิดแพนเค้ก

         แม้ว่าจะมีข้อมูลทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า มนุษย์ยุคหินเริ่มรู้จักวิธีนำวัตถุดิบที่หาได้ในขณะนั้นอย่างพืชตระกูลเฟิร์นมาบดผสมเข้ากับน้ำเพื่อใช้ทำเค้กแบน (flat cake) ด้วยวิธีการง่ายๆ มาตั้งแต่ 30,000 ปีก่อน แต่สูตรแพนเค้กหน้าตาคล้ายกับยุคปัจจุบันนั้นถือกำเนิดจากชาวกรีกโบราณ มีส่วนผสมจากแป้ง น้ำมันมะกอก น้ำผึ้ง และเรียกเค้กชนิดนี้ว่า “tēganitēs” (แปลว่า กระทะสำหรับทอด) ต่อมาชาวโรมันโบราณจึงพัฒนาสูตรแพนเค้กของชาวกรีกและเรียกว่า “Alita Dolcia” (แปลว่า อาหารรสหวาน) ภายหลังสูตรแพนเค้กของชาวกรีก-โรมันจึงกลายเป็นรากฐานของการทำแพนเค้กในยุโรป และมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของผู้คน แม้กระทั่ง วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) กวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษชื่อก้องโลกยังกล่าวถึงแพนเค้กในบทประพันธ์ ปี ค.ศ. 1623 ชื่อ All’s Well that Ends Well อีกด้วย แพนเค้กเริ่มแพร่หลายในสังคมอเมริกันช่วงศตวรรษที่ 19 ก่อนที่จะแพร่หลายทั่วโลก และปัจจุบันแพนเค้กยังคงนิยมทานเป็นอาหารเช้าหรือเป็นของทานเล่นแสนอร่อยเสมอมาค่ะ

แพนเค้กอเมริกันและแพนเค้กยุโรป


          แพนเค้กลักษณะทรงกลม เนื้อแป้งหนาฟูและวางเรียงซ้อนเป็นชั้นๆ อาจเป็นภาพจำของแพนเค้กสไตล์อเมริกันที่หลายคนต่างคุ้นเคยใช่ไหมคะ อย่างไรก็ตาม กว่าแพนเค้กจะกลายเป็นอาหารเช้ายอดนิยมของชาวอเมริกัน ชาวยุโรปที่เริ่มต้นทานแพนเค้กมาตั้งแต่สมัยโบราณก็มีสูตรทำแพนเค้กหลากหลายแบบ เช่นที่ประเทศสโลวีเนียแพนเค้กชนิด “พาลาทชินเกน” (palatschinke) จะมีลักษณะคล้ายกับแพนเค้กยุคโบราณมากที่สุดส่วนประเทศฝรั่งเศส แพนเค้กจะนิยมเสิร์ฟแบบม้วน สอดไส้และตกแต่งด้วยเครื่องเคียง ซึ่งจะรู้จักในอีกชื่อหนึ่งคือ “เครป” (crêpe) นั่นเอง ขณะที่แพนเค้กแบบอเมริกันจะนิยมใส่สารทำให้เนื้อเค้กขึ้นฟู อเมริกันแพนเค้กจึงมีความหนานุ่มฟูกว่าค่ะ

        ไขข้อสงสัยทำไมถึงเรียกว่า “วันแพนเค้ก” ?

         หลายคนอาจสงสัยว่า เสน่ห์ของแพนเค้กนั้นสามารถทำให้ใครต่อใครหลงใหลได้จนถึงขนาดมีวันที่เรียกว่า “วันแพนเค้ก” (Pancake Day) เลยหรือนี่? แต่ที่จริงแล้ว วันแพนเค้กนั้นชื่อเรียกเป็นทางการว่า “วันอังคารก่อนถือศีลอด” (Shrove Tuesday) ซึ่งเป็นหนึ่งในวันสำคัญทางศาสนาของชาวคริสต์ค่ะ โดยจะฉลองก่อนวันพุธรับเถ้า (Ash Wednesday) ที่เป็นวันแรกของ “เทศกาลมหาพรต” (Lent) ชาวคริสต์จะปฏิบัติตนด้วยการอธิษฐาน บริจาคสิ่งของ อดอาหาร ตลอดจนการไม่ฟุ่มเฟือย เป็นเวลาราว 47 วันจนถึงวัน “อีสเตอร์” (Easter Day) เพื่อรำลึกถึงพระทรมาณของพระเยซู (Passion of Jesus) และ การคืนพระชนม์ของพระเยซู (Resurrection of Jesus)


         ในสหราชอาณาจักร วันอังคารก่อนถือศีลอดเป็นประเพณีที่อยู่คู่สังคมมายาวนาน โดยชาวอังกฤษเกือบทุกครัวเรือนจะทำแพนเค้กที่บ้าน และบางเมืองยังมีกิจกรรมแข่งขันทำแพนเค้กเพื่อสร้างความสนุกสนานและเสริมความสามัคคีในชุมชน ส่วนเหตุผลทำให้แพนเค้กเป็นอาหารประจำวันสำคัญนี้ เพราะตามความเชื่อ ชาวคริสต์จะงดทานอาหารไขมันสูง เช่น นม เนย ไข่ ไขมัน เป็นต้น ในช่วงถือศีลอด แพนเค้กที่มีไขมันสูงและใช้ส่วนผสมเรียบง่ายจึงได้รับความนิยมอย่างมากและถูกนำมาใช้เรียกเป็นอีกชื่อหนึ่งของวันสำคัญนี้ค่ะ นอกจากในสหราชอาณาจักร การเฉลิมฉลองวันอังคารก่อนถือศีลอด ยังสามารถพบเจอได้ที่ประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา (ในรัฐนิวออร์ลีนส์) แคนนาดา ออสเตรเลีย อิตาลี และฝรั่งเศส โดยบางที่จะใช้ชื่อว่าเทศกาล “Mardi Gras” (Fat Tuesday) ซึ่งมีความหมายคล้ายคลึงกับวันแพนเค้กของชาวอังกฤษ


   
(っ’ω `) ノ (╥ω╥)    (っ’ω `) ノ (╥ω╥)


39  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / ร้อยภูติ พันวิญญาณ / เกาะผี (สุสานกลางทะเล) ที่จังหวัดชลบุรี เมื่อ: 15 กรกฎาคม 2565 01:17:37

เกาะผี (สุสานกลางทะเล) ที่จังหวัดชลบุรี



<a href="http://www.youtube.com/watch?v=LcoKYzFtsvo" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=LcoKYzFtsvo</a>






40  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ไปรษณีย์ / ร่างทรงมาจากไหน? ประเทศอื่นมีร่างทรงรึเปล่า? เมื่อ: 14 กรกฎาคม 2565 23:51:02


ร่างทรงมาจากไหน? ประเทศอื่นมีร่างทรงรึเปล่า?



<a href="http://www.youtube.com/watch?v=Ae7eCfaAjis" target="_blank" class="aeva_link bbc_link new_win">http://www.youtube.com/watch?v=Ae7eCfaAjis</a>





หน้า:  1 [2] 3 4 ... 23
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.499 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 03 เมษายน 2567 05:28:42