[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
27 เมษายน 2567 23:32:08 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 21 22 [23]
441  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อกระดูกหัก…ก่อนส่งโรงพยาบาล เมื่อ: 20 พฤษภาคม 2563 20:46:51
                                                                                                                               วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อกระดูกหัก…ก่อนส่งโรงพยาบาล

         เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ และบางครั้งอาจรุนแรงถึงขั้น “กระดูกหัก” หากคุณต้องเผชิญสถานการณ์นั้นเพียงลำพัง หรือพบว่าคนในบ้านมีอาการกระดูกหัก การปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลแบบถูกต้อง นับว่าเป็นหัวใจสำคัญที่คุณไม่ควรมองข้าม

กระดูกหักแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ…


 กระดูกหักแบบปิด......เป็นเพียงการแตกของกระดูกที่ไม่มีการฉีกขาดเหนือบริเวณผิวหนัง กระดูกหักชนิดนี้จะไม่มีบาดแผลภายนอก

 กระดูกหักแบบเปิด.....เป็นกระดูกหักที่มีบาดแผลเปิดจากผิวหนังผ่านเนื้อเยื่อเข้าไปยังตำแหน่งที่หัก โดยอาจมองเห็นปลายกระดูกโผล่ออกมาทางบาดแผล กระดูกหักชนิดนี้จึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย



ข้อระวัง ก่อน ”ปฐมพยาบาลเบื้องต้น”


ห้ามดึงข้อหรือจัดกระดูกให้เข้าที่ด้วยตัวเอง
หากจำเป็นต้องถอดเสื้อผ้า ควรใช้กรรไกรตัดตามตะเข็บผ้า
ใช้วัสดุที่พอหาได้หรือดามเฝือกชั่วคราว เพื่อให้บริเวณที่บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ ในท่าที่สบาย
ประคบบริเวณที่บาดเจ็บด้วยความเย็น
รีบเดินทางไปโรงพยาบาลโดยเร็ว


การเข้าเฝือกชั่วคราว…ไม่ยากอย่างที่คิด

1.เลือกวัสดุที่ใช้ให้เหมาะสม ควรเลือกใช้วัสดุสำหรับทำเฝือกชั่วคราว เช่น ไม้กระดาน, กิ่งไม้ หรือกระดาษแข็ง โดยให้มีความยาวกว่าอวัยวะส่วนที่หัก และยังสามารถบังคับข้อต่อที่อยู่เหนือและใต้ส่วนที่หักได้

2.ระวังเรื่องการรับน้ำหนัก ไม่วางส่วนที่หักสัมผัสกับเฝือกโดยตรง ควรมีสิ่งที่รองรับส่วนที่บาดเจ็บ โดยอาจเป็นเสื้อผ้า ผ้าห่ม หรือสำลีวางเรียงบนวัสดุแข็ง เป็นต้น

มัดให้ดี แต่อย่าแน่นเกินไป มัดเฝือกกับอวัยวะที่หักให้แน่นพอที่จะประคองส่วนที่หักได้ อย่าให้แน่นจนเกินไปเพราะจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด หากสังเกตพบว่าบริเวณที่หักมีอาการบวม ให้ค่อยๆคลายเชือกที่ผูกให้หลวมมากขึ้น

จัดวางตำแหน่งให้เหมาะสม ในกรณีกระดูกแขนหัก ควรให้มือยกสูงกว่าข้อศอกเสมอ โดยอาจใช้ผ้ามาผูกสำหรับแขวนคอ ควรเป็นผ้าชิ้นยาวๆ เพื่อให้ระดับของแขนอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

หากไม่แน่ใจว่ากระดูกหักหรือไม่? ให้สังเกตอาการเจ็บปวด บวม สีของผิวหนัง รูปร่างของอวัยวะว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติหรือไม่ ทางที่ดีที่สุด ควรโทรติดต่อสถานพยาบาลใกล้เคียงและไม่ควรเคลื่อนย้ายเอง เพราะอาจทำให้อาการกระดูกหักรุนแรงมากขึ้น

สอบถามรายละเอียด
ศูนย์กระดูกและข้อ อาคาร 2 ชั้น 2
โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4
โทร.02-514-4141 ต่อ 1102 – 1105
442  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: ชมพูทวีป คืออะไร ? เมื่อ: 20 พฤษภาคม 2563 15:13:43
ในสมัยปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอะไรบ้างค่ะ
443  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / Re: โบ๊กเกี้ย - บัวเกี้ย ของหวานคลายร้อน เส้นเหนียว ใส หนุบ นุ่ม เมื่อ: 20 พฤษภาคม 2563 14:42:48
การปั้นแป้งคล้ายลอดช่องหรือเปล่าค่ะ  ยิ้ม
444  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / Re: การตกน้ำ จมน้ำ ในเด็ก... เมื่อ: 20 พฤษภาคม 2563 13:38:02
                                 การป้องกันเด็กอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ไม่ปล่อยให้เด็กไปเล่นน้ำกันเองตามลำพัง ต้องมีผู้ใหญ่ไปด้วย สอนให้เรียนรู้กฎแห่งความปลอดภัยทางน้ำ เช่น ไม่เล่นใกล้แหล่งน้ำ ไม่เล่นคนเดียว ไม่ลงไปเก็บดอกบัว/กระทงในแหล่งน้ำ ไม่เล่นน้ำตอนกลางคืน รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง รู้จักใช้ชูชีพหรืออุปกรณ์ลอยน้ำได้เมื่อต้องโดยสารเรือ ควรสอนให้เด็กรู้จักการเอาชีวิตรอดในน้ำ เพราะหากเด็กไม่รู้จักวิธีการเอาชีวิตรอดในน้ำ เมื่อตกน้ำหรือจมน้ำในจุดที่ห่างไกลจากฝั่งมาก ๆ เด็กจะพยายามว่ายน้ำเข้าหาฝั่งจนหมดแรงก่อนที่จะว่ายน้ำถึงฝั่ง แต่การเอาชีวิตรอดที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก คือการลอยตัวอยู่ในน้ำให้ได้นานที่สุดเพื่อรอการช่วยเหลือ สอนให้เด็ก รู้จักวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง คือ "ตะโกน โยน ยื่น" โดยเมื่อพบคนตกน้ำต้องไม่กระโดดลงไปช่วย แต่ควรตะโกนขอความช่วยเหลือ โทรแจ้ง 1669 และหาอุปกรณ์โยนหรือยื่นให้คนตกน้ำจับเพื่อช่วย เช่น ไม้ เชือก ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า ขวดน้ำพลาสติกเปล่า จัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่เด็ก เช่น สร้างรั้ว หาฝาปิด/ฝังกลบหลุมบ่อที่ไม่ได้ใช้ ติดป้ายคำเตือน จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำที่หาได้ง่ายบริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง เช่น ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า ขวดน้ำพลาสติกเปล่า ไม้ เชือก.......................

                                นอกจากนี้ ควรมีมาตรการทางด้านกฎหมาย/กฎระเบียบ/ข้อบังคับ เช่น ต้องใส่เสื้อชูชีพเมื่อโดยสารเรือห้ามดื่มสุราก่อนลงเล่นน้ำ กำหนดให้มีบริเวณเล่นน้ำ/ดำน้ำที่ปลอดภัย และแยกออกจากบริเวณสัญจรทางน้ำ กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ (lifeguard) ดูแลแหล่งน้ำ หลังจากช่วยคนที่ตกน้ำ จมน้ำขึ้นมาแล้ว ห้ามจับอุ้มพาดบ่า กระโดดหรือวิ่งรอบสนาม หรือวางบนกระทะคว่ำแล้วรีดน้ำออก เพราะจะทำให้ขาดอากาศหายใจนานยิ่งขึ้น กรณีเด็กไม่หายใจ ให้ช่วยด้วยการเป่าปากและนวดหัวใจ โทรแจ้ง 1669 และควรนำส่งโรงพยาบาลทันที

 

                               
                                แหล่งที่มา : คู่มือรู้ทันโรคและภัยสุขภาพสำหรับประชาชน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
445  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / การตกน้ำ จมน้ำ ในเด็ก... เมื่อ: 20 พฤษภาคม 2563 13:29:16
                                                                                                                                                                  การตกน้ำ จมน้ำ ในเด็ก...

                               การจมน้ำเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งสูงมากกว่าการเสียชีวิตจากโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดเชื้อ และสูงมากกว่าอุบัติเหตุจากการจราจรถึง 2 เท่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มักเกิดจากการเผอเรอชั่วขณะของผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก เช่น รับโทรศัพท์ เปิด-ปิด ประตูบ้าน ทำกับข้าว ซึ่งบางครั้งไม่คิดว่าแหล่งน้ำในภาชนะในบ้านจะทำให้เด็กจมน้ำได้ เนื่องจากเด็กเล็กมีการทรงตัวไม่ดี จึงทำให้ล้มในท่าศีรษะทิ่มลมได้ จึงมักพบเด็กจมน้ำสูงในแหล่งน้ำภายในบ้าน หรือรอบ ๆ บ้าน เช่น ถังน้ำ กะละมัง แอ่งน้ำ บ่อน้ำ เด็กสามารถจมน้ำเสียชีวิตได้ในแหล่งน้ำที่มีระดับความสูงเพียง 1-2 นิ้วได้
เด็กอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เด็กเริ่มโตและซน จะเริ่มออกไปเล่นนอกบ้าน การจมน้ำสูง มักเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก การที่เด็กว่ายน้ำไม่เป็น และการช่วยเหลือที่ไม่ถูกวิธี โดยส่วนใหญ่จะเห็นว่าเด็กวัยนี้จะเสียชีวิตพร้อมกันครั้งละหลาย ๆ คน เนื่องจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเด็ก พอเห็นเพื่อนหรือน้องตกน้ำ คิดว่าตัวเองว่ายน้ำเป็นจึงกระโดดลงไปช่วย แต่สุดท้ายจะกอดคอกันเสียชีวิต แหล่งน้ำที่พบเด็กจมน้ำคือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น บ่อขุดเพื่อการเกษตร คลอง แม่น้ำ บึงน้ำ เดี๋ยวเราจะมาคุยกันถึงเรื่องการป้องกันเด็กตกน้ำ จมน้ำ

                               การป้องกัน เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กทุกคนควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ไม่ควรเผอเรอแม้แต่เสี้ยววินาทีเดียว โดยเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ต้องอยู่ในระยะที่มองเห็น คว้าถึงและเข้าถึง ไม่ปล่อยทิ้งให้เด็กเล่นน้ำเองตามลำพังแม้ในกะละมัง ถังน้ำ โอ่ง มีการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น เทน้ำทิ้งภายหลังใช้งาน หาฝาปิด รวมถึงการจัดพื้นที่เล่นปลอดภัยให้เด็ก สอนให้เด็กเล็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงภัยในบ้าน เช่น กะละมัง ถังน้ำ และวิธีการหลีกเลี่ยง โดยเน้น "อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม" คือ สอนให้เด็กอย่าเข้าไปใกล้แหล่งน้ำ อย่าเก็บสิ่งของหรือของเล่นที่อยู่ในน้ำ และอย่าก้มไปดูน้ำในแหล่งน้ำ
446  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / Myasthenia gravis กล้ามเนื้ออ่อนแรงอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อ: 18 พฤษภาคม 2563 09:46:04
                                                                                                                                                  Myasthenia Gravis โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

Myasthenia gravis คือ เป็นโรคแพ้ภูมิตนเองทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่ใช่เพียงแค่ดวงตานะคะ เป็นได้ทุกอวัยวะ ทั้งกล้ามเนื้อแขน ขา รวมถึงกล้ามเนื้อหน้าอกที่ใช้ช่วยหายใจ


โรค MG (myasthenia gravis)เกิดจากความผิดปกติในการสื่อสารระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ในตำแหน่งที่เรียกว่า nerve-muscular junction ร่างกายจะทำการผลิตภูมิคุ้มกันซึ่งจะไปขัดขวางการจับหรือทำลายตัวรับสารที่เรียกว่า acetylcholine ที่กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อได้รับสัญญาณจากเส้นประสาทลดลงและกลายเป็นอ่อนแรง เกิดได้ทุกกล้ามเนื้อในร่างกาย แต่ที่มักเป็นปัญหาคือ กล้ามเนื้อตา

                                                                                                              https://image.makewebeasy.net/makeweb/0/JVewZsNnm/ArticleSurgery/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84MG_3.jpg


โรค Myasthenia gravis อาการ


*เป็นที่กล้ามเนื้อตาข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้

*อาการตาตก ตาปรือ จะเป็นมากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา

*อาการจะเป็นเยอะขึ้นในช่วงบ่ายหรือเย็น อาการจะดีหลังตื่นนอน หรือได้พักผ่อนเพียงพอ

*อาการตาตกจะพบร่วมกับกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ส่วนอื่นๆ เช่น ใบหน้า แขนขา

Myasthenia gravis รักษา


รักษาด้วยยา Cholinesterase Inhibitors เช่น ไพริโดสติกมีน (Pyridostigmine) เพรดนิโซน (Prednisone) ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressants)


ในปัจจุบัน โรค myasthenia gravis ไม่สามารถป้องกันได้ แต่หลีกเลี่ยงโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

- ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ด้วยการมีสุขอนามัยที่ดี และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย

- หากเกิดการติดเชื้อหรือป่วย ควรรีบรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องทันที

- หลีกเลี่ยงการออกกำลังที่หนักเกินไป

- ไม่ควรทำให้ตัวเองรู้สึกร้อนหรือหนาวมากจนเกินไป

- ควบคุมความเครียด

                                                                                                            https://image.makewebeasy.net/makeweb/0/JVewZsNnm/ArticleSurgery/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84MG_5.jpg

  
ข้อมูลอ้างอิง :  โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง JaremClinic
447  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ จิบกาแฟ / Re: เชิญร่วมทำแบบประเมิน RQ วิเคราะห์ตนเอง เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2563 22:51:43
กดลิ้งค์แล้วไม่สามารถทำแบบประเมินได้ค่ะ  งอแง
448  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ในครัว / Re: ปลาจ่อมทรงเครื่อง สูตร/วิธีทำ เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2563 14:30:06
น่าทานมากค่ะ ยิ้ม
449  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / การปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2563 14:13:47
                                                                                                                                      การปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

การปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก  

                    อุบัติเหตุไฟไหม้ น้ำร้อนลวก พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน ดังนั้นจึงควรมีการป้องกันตนเองให้เหมาะสม และหากเกิดขึ้นก็สามารถดูแลตัวเองและคนรอบข้างได้อย่างถูกวิธี

 
แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้

ดีกรีความลึกระดับ 1 คือ บาดแผลอยู่แค่เพียงผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ผิวหนังเป็นรอยแดง ไม่บวมพองน้ำ มีอาการแสบร้อนมาก นาน 24-72 ชั่วโมง อาการแสบร้อนจะทุเลาลง แผลชนิดนี้ไม่ติดเชื้อ โดนน้ำได้ ไม่จำเป็นต้องทำแผล รอยแดงจะค่อยๆจางลงและไม่เป็นแผลเป็น

ดีกรีความลึกระดับ 2 คือ บาดเจ็บในบริเวณชั้นหนังแท้ ผิวหนังบวมพองน้ำ มีอาการแสบร้อน ควรทำแผลและปิดแผลป้องกันการติดเชื้อ แผลหายภายใน 7-10 วันและไม่เป็นแผลเป็น

ดีกรีความลึกระดับ 3 คือ ชั้นผิวหนังทั้งหมดถูกทำลายด้วยความร้อน เป็นแผลแดง มีอาการแสบร้อน ควรทำแผลด้วยครีมที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะและสารที่ช่วยเร่งการหายของแผล หากไม่มีภาวะติดเชื้อ แผลจะสร้างผิวหนังทดแทนภายในเวลา 14-28 วัน แล้วแต่ขนาดของแผล

              

 

การปฐมพยาบาลแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ดังนี้

      - ล้างด้วยน้ำสะอาดที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งเชื่อว่าจะมีผลช่วยลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณบาดแผลได้

     - หลังจากนั้นซับด้วยผ้าแห้งสะอาด แล้วสังเกตว่าถ้าผิวหนังมีรอยถลอก มีตุ่มพองใสหรือมีสีของผิวหนังเปลี่ยนไป ควรรีบไปพบแพทย์

     - หากมีแผลบริเวณใบหน้า จะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะบริเวณใบหน้ามักจะเกิดอาการระคายเคืองจากยาที่ใช้ ห้ามใส่ยาใดๆก่อนถึงมือแพทย์

 

ข้อห้าม เมื่อโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

      - ไม่ควรใส่ตัวยา/สารใด ๆ ทาลงบนบาดแผล ถ้าไม่แน่ใจในสรรพคุณที่ถูกต้องของยาชนิดนั้น โดยเฉพาะ”ยาสีฟัน” “น้ำปลา” เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อบาดแผล เพิ่มโอกาสการเกิดบาดแผลติดเชื้อ และทำให้รักษาได้ยากขึ้น

 

การดูแลตนเองหลังการรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

      - หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นผง หรืออะไรก็ตามที่จะทำให้ระคายเคือง

     - หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ทุกชนิด เพราะหากโดนบริเวณแผลก็อาจทำให้คันหรือมีการติดเชื้อได้ง่าย

     - รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ เพื่อเสริมการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ทำให้บาดแผลสมานปิดเร็วขึ้น

     - หมั่นทายา/รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญต้องรักษาความสะอาดแผลให้ดีด้วย



ขอขอบคุณบทความจาก   แพทย์หญิงธัญลักษณ์ ศรีบูระเดช    สาขา: ศัลยศาสตร์

450  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / ทำไม......ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น.....ทำให้ติด COVID-19 เมื่อ: 17 พฤษภาคม 2563 10:20:17
                                                                                                                                            ทำไม......ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น.....ทำให้ติด COVID-19

               สุขภาพดีเป็นสิ่งที่ทุกท่านปรารถนา ไม่สามารถหาซื้อได้ หรือมีขาย เพราะเป็นสิ่งที่ทุกท่านต้องปฏิบัติด้วยตนเองเท่านั้น เพียงท่านใส่ใจดูแลสุขภาพตนเอง และครอบครัว บางท่านทราบอยู่แล้วว่าทำอย่างไรจึงจะมีสุขภาพดี เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย การออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง หลีกเลี่ยงการดื่มสุราเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ และการเลิกสูบบุหรี่จะทำให้ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเร็งปอด ฯลฯ ดังนั้น เมื่อทุกท่านปฏิบัติตามก็จะทำให้มีสุขภาพดี ร่างกายแข็ง ปราศจากการเจ็บป่วยด้วยโรคภัยต่าง ๆ

           ประเทศไทยพบผู้ป่วยเป็นคนไทย ซึ่งมีประวัติสัมผัสกับเพื่อนที่เดินทางจากฮ่องกง จากนัดสังสรรค์ และมีพฤติกรรมใช้แก้วน้ำร่วมกัน สูบบุหรี่มวนเดียวกัน ถือเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากการสัมผัสและอาจปนเปื้อนเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านทางน้ำลาย ซึ่งบุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยง คือ เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวที่ต้องอยู่ร่วมกัน และจากการเฝ้าระวังสถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ในช่วงมีการระบาดของโรค พบว่า ประชาชนยังมีความเข้าใจผิดในประเด็นการปฏิบัติตัวในการป้องกันโรคโควิด-19 ที่ไม่ถูกต้อง คือ "การใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น" ร้อยละ 20.3 และประเด็น "เมื่อกินอาหารร่วมกับผู้อื่น จะกินอาหารจานเดียวฯ" ร้อยละ 6.8 ดังนั้น จะเห็นได้ว่าประชาชนบางส่วนยังมีมีความรู้ ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ ช้อน จาน ชาม ของเล่น หนังสือ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวต่าง ๆ อาจมีเชื้อโรคปะปนเปื้อนมา เมื่อเราสัมผัสก็จะทำให้ติดเชื้อโรคที่เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า และสิ่งของสาธารณะ เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ราวโหนรถเมล์ ราวบันได เป็นต้น

            ดังนั้น การใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกันผู้อื่น ได้แก่ บุคคลภายในครอบครัว หรือเพื่อน ก็ไม่ควรปฏิบัติ เพราะสามารถทำให้ท่านติดโรคได้โดยไม่รู้ต้ว โดยเฉพาะโรคติดต่อ เช่น โรคตาแดง กาฬโรค อหิวาตกโรค           โรคโควิด-19 ฯลฯ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องจะช่วยให้ท่านป้องกันการติดโรคโควิด-19 ได้อย่างถูกต้อง โดย "การไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น" และที่สำคัญต้องปฏิบัติจนเป็นนิสัย และเป็นวิถีชีวิตประจำวันของท่าน ตลอดจนบุคคลในครอบครัว เพื่อการมีสุขภาพดีที่ตัวท่านและบุคคลในครอบครัว


                                                                            


ที่มาของข้อมูล : https://www. bangkokbiznews.com/news/detail/870615
451  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / เส้นประสาทสมองที่ 7 อักเสบ (Bell’s palsy) ตื่นมาแล้วหน้าเบี้ยว ทำยังไงดี ? เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2563 21:13:12
                                                                      เส้นประสาทสมองที่ 7 อักเสบ (Bell’s palsy) ตื่นมาแล้วหน้าเบี้ยว หลับตาไม่สนิท น้ำลายไหลออกจากมุมปาก ทำยังไงดี

เส้นประสาทสมองที่ 7 อักเสบ คือโรคอะไร ?
           เป็นภาวะที่เส้นประสาทสมอง (Cranial nerve) ที่ควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าถูกทำลายและสูญเสียการทำงาน ทำให้มีอาการใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก หนังตาและมุมปากตก น้ำลายไหลจากมุมปาก สามารถพบได้ในทุกเพศและทุกเชื้อชาติ พบบ่อยในผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่ตั้งครรภ์
                                                                                                            http://sriphat.med.cmu.ac.th/Public/images/uploads/imgupload-1460365198.jpg



ใช่อัมพฤกษ์หรือไม่ ?


        เป็นคนละโรคกัน ผู้ป่วยที่มีภาวะโรคหลอดเลือดสมองอาจมีอาการหน้าเบี้ยวได้ แต่จะยังคงสามารถยักคิ้วและหลับตาได้สนิทในด้านเดียวกับที่มีมุมปากตก และมักมีอาการอ่อนแรงแขนและขาครึ่งซีกร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม ควรรีบพบแพทย์เพื่อแยกภาวะนี้


เกิดจากอะไร ?

       โรคนี้เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทสมอง (Cranial nerve) ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า ส่วนหนึ่งพบหลักฐานว่าเกิดได้จากการติดเชื้อไวรัส ที่พบบ่อย คือ เชื้อเริม (Herpes simplex virus)  งูสวัด (Herpes zoster) Cytomegalovirus และ Epstein-Barr virus


มีอาการอย่างไรบ้าง ?

       มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีก ทำให้ยักคิ้วไม่ได้ หนังตาและมุมปากตก ปิดตาไม่สนิท โดยอาการเป็นมากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละราย นอกจากนี้ยังพบอาการเสียงดังในหูและอาการสูญเสียการรับรสชาติที่ปลายลิ้นด้านที่มีอาการ อาการจะปรากฏชัดเจนใน 1 - 2 วัน โดยส่วนใหญ่จะเริ่มดีขึ้นใน 3 สัปดาห์หลังจากเริ่มมีอาการครั้งแรก และค่อยๆ หายสนิทต้องใช้เวลา 3 - 6 เดือน

                                                                                                            http://sriphat.med.cmu.ac.th/Public/images/uploads/imgupload-1460365212.jpg



วินิจฉัยได้อย่างไร ?


       การวินิจฉัยอาศัยเพียงการซักประวัติและตรวจร่างกาย ยกเว้นในรายที่มีอาการสงสัยโรคอื่นหรืออาการยังคงไม่ดีขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป 2 เดือน อาจตรวจอื่นๆ เพิ่มเติม

                                                                                                              http://sriphat.med.cmu.ac.th/Public/images/uploads/imgupload-1460365228.jpg


รักษาอย่างไร ?

การรักษาด้วยยา


        ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ใน 2 - 3 วันแรกหลังจากเริ่มมีอาการ จะได้รับ ยากลุ่มสเตียรอยด์ เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ซึ่งจะช่วยลดการบวมของเส้นประสาท และช่วยให้อาการดีเร็วขึ้น ยาต้านไวรัส อาจนำมาใช้คู่กับยาสเตียรอยด์ในกลุ่มที่มีอาการรุนแรง หรือสงสัยว่าเกิดจากเชื้อเริมหรืองูสวัด การรักษาจะช่วยให้อาการดีขึ้นเร็วกว่าเดิม โดยเฉพาะถ้าได้รับการรักษาใน 2-3วันแรก


การดูแลตา


       การหลับตาไม่สนิท เป็นเหตุให้เกิดแผลที่กระจกตา ควรใส่ที่ป้องกันตาเพื่อป้องกันตาแห้ง ใช้น้ำตาเทียมหยอดตาในช่วงกลางวัน และใช้ยาสำหรับป้ายตาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในตอนกลางคืน

                                                                                                            http://sriphat.med.cmu.ac.th/Public/images/uploads/imgupload-1460365242.jpg


รักษาหายหรือไม่ ?

        โรคนี้สามารถหายได้เอง แต่การรักษาจะช่วยให้โรคหายเร็วขึ้น โดยทั่วไปผู้ป่วยที่เริ่มมีการฟื้นตัวภายใน 3 สัปดาห์แรก มักมีโอกาสหายได้สูง มีผู้ป่วยเพียงส่วนน้อยที่มีการฟื้นตัวไม่ดี ในกรณีบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย หลังมีอาการประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อช่วยยืนยันพยาธิสภาพของเส้นประสาท ความรุนแรงของโรค และบอกโอกาสในการฟื้นตัวของเส้นประสาทได้


การติดตามอาการและภาวะแทรกซ้อน

        แม้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติ แต่ในรายที่มีอาการรุนแรง หลังจากเริ่มมีการฟื้นตัวแล้ว อาจมีการงอกที่ผิดปกติของเส้นประสาท ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อาการปากกระตุกเวลาหลับตา หนังตาจะปิดเองเวลายิ้ม มีน้ำตาไหลเวลาเคี้ยวอาหาร เป็นต้น หลังเข้ารับการรักษาแล้ว ควรมาตรวจตามนัดกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อติดตามอาการและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้





ที่มา : นพ.อดิศักดิ์  กิตติสาเรศ  
        แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทและสมอง
        ศูนย์ศรีพัฒน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
Call Center : 0-5393-6900-1 / คลินิกอายุรกรรม : 0-5393-6909-10
Line iD : @sriphatcenter
452  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ อนามัย / อาการชักในเด็ก เมื่อ: 15 พฤษภาคม 2563 10:03:26
อาการชักในเด็ก
            อาการชัก เป็นการแสดงออกถึงความผิดปกติของการทำงานของสมอง ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาการชักที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เรียกว่าโรคลมชัก หรือลมบ้าหมู อาการชักที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวยังไม่แสดงว่าผู้ป่วยเป็นโรคลมชัก

สาเหตุของโรค

             อาการชักในเด็กอาจเกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ ที่พบได้ คือ ไข้ ในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือน - 6 ปี เมื่อมีไข้อาจจะทำให้เกิดอาการชักได้ พบได้ประมาณ 3% ของเด็กในช่วงอายุนี้ โดยที่ลักษณะอาการชักมักจะเป็นทั้งตัว คือจะมีอาการชักเกร็งทั้งตัว หรือชักเกร็งกระตุกทั้งตัวก็ได้ ซึ่งจะเกิดในระยะแรกของการมีไข้ และอาการชักจะหยุดเองในระยะสั้นๆ ไม่เกิน 5 นาที ส่วนใหญ่จะมีประวัติชักจากคนในครอบครัว ความผิดปกติของสมดุลเกลือแร่ ซึ่งอาจจะพบได้ในเด็กเล็กที่มีอาการท้องเสีย และมีการสูญเสียเกลือแร่ หรือได้รับสารเกลือแร่ขนาดที่ไม่เหมาะสม หรือมากกว่าที่ต้องการ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ การกระทบกระเทือนที่ศรีษะ การติดเชื้อของระบบประสาท เช่น ภาวะสมอง หรือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ยา หรือสารกระตุ้นสมอง เป็นอาการแสดงของโรคลมชัก

ลักษณะของการชัก

             การชักอาจเกิดได้หลายรูปแบบ ทั่วๆ ไปมักจะเข้าใจว่า การชักจะต้องเป็นแบบกระตุกเป็นจังหวะทั้งตัว ในความเป็นจริง อาการชักอาจจะมีหลายลักษณะ เหม่อลอยชั่วขณะ หมดสติทันทีร่วมกับอาการตัวอ่อน กระตุกเป็นครั้ง เกร็งผวา มีพฤติกรรมผิดปกติชั่วขณะ โดยที่ไม่มีการรับรู้ต่อสภาพแวดล้อม อาการเฉพาะที่ เช่น อาการกระตุกซ้ำๆ ของกล้ามเนื้อเฉพาะที่ ที่เป็นทันทีและเกิดในช่วงสั้นๆ

อันตรายจากการชัก


            ในระหว่างที่เกิดอาการชักที่เป็นแบบทั้งตัว และมีอาการหมดสติ อาจจะก่อให้เกิดอันตรายโดยตรงกับร่างกายส่วนต่างๆ ได้ โดยเฉพาะศรีษะ เกิดการสำลักซึ่งอาจจะอุดกั้นหลอดลม เป็นผลทำให้เกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนได้ กาักที่เกิดนานมักจะควบคุมยาก และอาจจะก่อให้เกิดความผิดปกติของสมองส่วนอื่นๆ ได้ ขณะเกิดอาการชักที่เป็นทั้งตัว โอกาสที่เด็กจะกัดลิ้นตัวเองนั้นน้อยมาก ความเชื่อที่ว่าเมื่อเกิดอาการชักแล้วจะต้องพยายามงัดปาก หรือสอดใส่วัสดุใดๆ เข้าไปในปาก เพื่อป้องกันการกัดลิ้นนั้นไม่ถูกต้อง ในความเป็นจริงแล้ว การพยายามทำสิ่งดังกล่าวจะก่อให้เกิดอันตราย ทั้งแก่เด็กที่กำลังชักและผู้ที่กระทำ

การปฏิบัติตัวเมื่อเด็กเกิดอาการชัก


             ผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในเหตุการณ์ต้องตั้งสติให้มั่นจัดท่าให้เด็กอยู่ในลักษณะที่ปลอดภัยจากการชัก คือนอนราบตะแคงศรีษะไปด้านข้าง และพยายามกำจัดน้ำลายหรือเศษอาการที่เด็กอาจจะอาเจียนออกมา บริเวณภายนอกปาก ห้ามสอดใส่วัสดุใดๆ เข้าไปในปากหรือพยายามงัดปาก ในกรณีที่มีอาการไข้สูงร่วม ต้องเช็ดตัวลดไข้ โดยทั่วไปอาการชักจากไข้ไม่เกิน 5 นาที เมื่อเด็กหยุดชักควรนำตัวเด็กพบแพทย์ เพื่อให้การวินิจฉัยและการรักษาต่อ นำส่งสถานพยาบาลใกล้เคียงทันที

การรักษา

           การชักจากไข้ แพทย์จะรักษาสาเหตุของไข้ และให้ยาเพื่อหยุดอาการชักพร้อมกันไปด้วย ถ้ามีอาการชักซ้ำบ่อยจะแนะนำให้ใช้ยาป้องกันการชักซ้ำ ซึ่งให้เฉพาะเวลาที่มีไข้ ที่ใช้เวลานี้คือยา DIAZEPAM ให้เวลามีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส การให้ยาป้องกันการชักระยะยาวจะให้ในผู้ป่วยที่ชักบ่อยมาก หรือชักนานในแต่ละครั้ง โรคลมชัก แพทย์จะให้ทานยากันชัก โดยให้กินยาสม่ำเสมออย่างน้อบ 2 ปี หลังจากการชักคร้งสุดท้อย ถ้าควบคุมอาการได้จะค่อยๆ ลดยาและหยุดยาลงภายใน 3-6 เดือน การชักจากสาเหตุอื่นๆ ให้การรักษาตามสาเหตุ


เรียบเรียงโดย : พ.ญ.ภาณี เอี่ยมฐิริวัฒน์
กุมารแพทย์
453  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ตลาดสด / #MeToo เมื่อการติดแฮชแท็กเป็นการแสดงพลังต่อต้านการคุกคามทางเพศจากผู้มีอำนาจ เมื่อ: 07 พฤษภาคม 2563 18:40:34
          อีกหนึ่งปรากฏการณ์บนโซเชียลมีเดียแห่งปี 2017 คือ การคุกคามทางเพศจนเป็นที่มาของแฮชแท็ก #MeToo ที่เริ่มต้นจากมีการเปิดโปงพฤติกรรมของโปรดิวเซอร์ใหญ่ในวงการฮอลลีวูด Harvey Weinstein ว่ามีพฤติกรรมคุกคามทางเพศดาราหญิงและลูกจ้างหลายราย คนแรกที่เริ่มเปิดโปงพฤติกรรมของ Weinstein คือ Ashley Judd นักแสดงสาว เธอบอกว่า Weinstein เชิญเธอไปที่โรงแรม Peninsula Beverly Hills เพื่อนัดทานอาหารเช้า แต่กลายเป็นว่าเขาเชิญเธอไปบนห้อง และปรากฏตัวด้วยชุดคลุมอาบน้ำแทน และยังถามเธออีกว่าเธอสามารถมองดูเขาอาบน้ำได้ไหม หลังจากนั้นก็มีอีกหลายคนออกมาเปิดโปงด้วย บางคนเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Weinstein effect
#MeToo ได้รับการกล่าวถึงในทวิตเตอร์กว่า 5 แสนครั้ง ภายในเวลาไม่ถึงเดือน และในเฟซบุ๊กมีการกล่าวถึงประเด็น #MeToo ถึง 12 ล้านครั้งภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง
#MeToo ไม่เพียงเป็นปรากฏการณ์ไวรัลในโซเชียลมีเดียชั่วคราว แต่เป็นอีกเหตุการณ์สำคัญที่ต้องบันทึก แม้แต่นิตยสาร TIME ยังยกให้ #Metoo เป็นบุคคลแห่งปี (ใช้ชื่อเรียก #MeToo ว่า The Silence Breaker)
         Harvey Weinstein อายุ 65 ปี สั่งสมประสบการณ์การทำภาพยนตร์มานาน ถือเป็นบุคคลหนึ่งที่มีอิทธิพลในวงการนี้ เขากับน้องชายร่วมกันก่อตั้งบริษัท Miramax ผลงานกำกับที่สร้างชื่อให้เขาคือ , Pulp Fiction, Heavenly Creatures, Flirting with Disaster, Shakespeare in Love    จนกระทั่งในเดือนตุลาคม 2017 The New York Times รายงานข่าว Harvey Weinstein ถูกกล่าวหาข้อหาละเมิดทางเพศ ข่มขืน และยังระบุด้วยว่ามีผู้หญิงหลายสิบคนต้องทนกับพฤติกรรมคุกคามทางเพศของ Weinstein เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 30 ปี The New York Times ยังรายงานด้วยว่า Weinstein จ่ายเงินค่าชดเชยให้ผู้หญิง 8 ราย ปิดปากไม่ให้บอกใคร      จากข้อกล่าวหา พฤติกรรมคุกคามทางเพศของ Weinstein เกิดขึ้นมานานนับสิบปี แต่ในปี 2017 เป็นปีที่เหยื่อแต่ละรายไม่ปิดปากเงียบอีกต่อไป คนทั่วโลกตกตะลึงมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อดาราสาวทยอยออกมาโพสต์โซเชียลติดแฮชแทก #MeToo ว่าตนก็เป็นอีกคนที่ Weinstein เคยคุกคาม และมีออกมาให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อเช่น Ashley Judd, Gwyneth Paltrow, Angelina Jolie, Cara Delevingne, Asia Argento
         MeToo ยังเป็นสัญลักษณ์การเปิดโปงประสบการณ์ถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงานด้วย
#MeToo จากเดิมที่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากผู้ชายคนเดียว ได้ลุกลามไปจนถึงการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับประสบการณ์ที่เหยื่อของ Weinstein ต้องเจอ เหยื่อของเขาหลายรายต้องปิดปากเงียบมานานหลายปี เพื่อรักษาหน้าที่การงานของตนเองไว้
        หลังจาก Weinstein ถูกเปิดโปง ก็มีรายนามคนใหญ่คนโตในวงการอื่นที่ไม่ใช่ฮอลลีวูดถูกเปิดโปงพฤติกรรมฉาวด้วย เช่น     Matt Lauer นักข่าวโทรทัศน์รายการ Today ของช่อง NBC
Kevin Spacey นักแสดงนำซีรีส์ House of Cards,  AlFranken สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ,    LouisC.K. ดาราตลก GeorgeTakei นักแสดงชาวญี่ปุ่น   แต่ละกรณีล้วนเป็นการเปิดเผยประสบการณ์ถูกคุกคามทางเพศที่เหยื่อเป็นคนในที่ทำงานทั้งสิ้น บางคดีเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่เพิ่งมาเปิดเผยหลังกระแส #MeToo จุดติด#MeToo นอกพรมแดนอเมริกา
         กระแส #MeToo เริ่มขึ้นในสหรัฐฯ และแพร่ไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ในประเทศจีน กระแส #MeToo ไม่ได้ปะทุขึ้นในวงการบันเทิงและธุรกิจเหมือนในสหรัฐฯ แต่กลายเป็นวงการการศึกษา  Luo Qianqian อาจเป็นผู้หญิงจีนคนแรกที่ลุกมาจุดกระแส #MeToo เธอเล่าว่า Chen Xiaowu ศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย Beihang คุกคามทางเพศเธอตั้งแต่สมัยที่ Xiaowu เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญาเอกในปี 2005 เธอยังติดต่อศิษย์เก่ารายอื่นที่มีประสบการณ์เดียวกัน และรวบรวมหลักฐานแจ้งให้หน่วยควบคุมวินัยรับทราบ จนกระทั่ง Chen Xiaowu ถูกไล่ออก    หลังจากนั้นก็มีผู้หญิง นักศึกษาคนอื่นได้รับแรงบันดาลใจจาก Luo Qianqian ออกมาเล่าประสบการณ์ที่ถูกกระทำโดยผู้สอนบ้าง หลายเหตุการณ์ที่ถูกเก็บเงียบมานาน ได้รับการเปิดเผย
         

        ในอินเดีย กระบวนการที่คล้ายๆ กับ #Metoo เริ่มขึ้นมาก่อนจะมีกระแส #Metoo เสียอีก Women In Cinema Collective (WCC) ก่อตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายรักษาสิทธิสตรีในวงการภาพยนตร์ เช่น ลาคลอด เลี้ยงดูบุตร รายได้ที่เป็นธรรมและเท่าเทียม และการคุกคามทางเพศ
No Description
ภาพจาก Facebook WCC

           คุกคามทางเพศ ปัญหาเรื้อรังในวงการไอที
มองกลับมาที่วงการไอที ปี 2017 ถือเป็นปีที่การคุกคามทางเพศสร้างแรงกระเพื่อมมากจนบุคคลดำรงตำแหน่งสำคัญๆ หลุดออกจากตำแหน่งหลายราย กรณีสำคัญคือ Uber โดย Susan J. Fowler อดีตวิศวกรซอฟต์แวร์หญิงเขียนบล็อกเล่าว่าโดนผู้มีตำแหน่งสูงใน Uber เจ้านายล่วงละเมิดทางเพศด้วยวาจา (ขอมีเซ็กซ์ด้วย) และเมื่อแจ้งไปยังฝ่าย HR เรื่องกลับปิดเงียบ เมื่อเรื่องถูกตีแผ่ออกไปทำให้ริษัทตั้งคณะกรรมการสอบสวนเรื่องนี้จริงจัง เป็นจุดเริ่มต้นของการลาออก และปลดผู้บริหารหลายราย Uber ถึงกับประกาศนโยบายปฏิรูปวัฒนธรรมองค์กรยกใหญ่    หลัง Uber ตกเป็นประเด็นการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ผู้หญิงในวงการคนอื่นก็กล้าเปิดเผยประสบการณ์ตัวเองมากขึ้น สำนักข่าว New York Times ตีแผ่ประสบการณ์ของผู้หญิงเล่านี้ พกเธอระบุว่า นักลงทุนมักจะเป็นฝ่ายคุกคาม เพราะมีเงินทุนถือไพ่เหนือกว่า และบรรดาสตาร์ทอัพที่พวกเธอทำงานอยู่ด้วยนั้นต่างก็ต้องพึ่งพาเม็ดเงินเหล่านี้

            การเคลื่อนไหวต่อต้านคุกคามทางเพศในวงการไอที เริ่มมีมากขึ้นในปี 2017 แต่ยังไม่สามารถสร้างผลสะเทือนไปทั่วโซเชียลมีเดียและทั่วโลกได้มากเท่า Weinstein effect    ส่วนหนึ่ง ที่การคุกคามทางเพศในวงการไอที รวมทั้งวงการทำงานในอาชีพอื่นๆ ผู้ถูกกระทำไม่กล้าออกมาเปิดเผยข้อมูลนอกจากกลัวกระทบหน้าที่การงานแล้ว ยังมีเรื่อง NDA (non-disclosure agreement) หรือข้อตกลงการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับ เป็นสัญญาที่ทั้งคู่ ในที่นี้คือนายจ้างและลูกจ้าง ทำความตกลงร่วมกันว่าจะไม่เปิดเผยข้อมูลในองค์กรออกไปภายนอก
            Sundar Pichai ซีอีโอ Google ออกมาให้สัมภาษณ์กับ Recode และ MSNBC เมื่อพิธีกรถามถึงข้อตกลง NDA กับการไม่กล้าเปิดเผยของพนักงานที่ถูกคุกคามทางเพศ ว่ามีแผนจะปลดล็อกข้อตกลง NDA ให้เหยื่อออกมาเปิดเผยเรื่องราวคุกคามทางเพศหรือไม่ Pichai บอกว่า เขาไม่มีปัญหาเรื่อง NDA ออกมาเปิดเผยได้เลยถ้าถูกคุกคาม

สรุป
Weinstein effect เป็นแรงบันดาลใจให้ผู้หญิงออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมให้ตนเอง หลังจากปิดปากเงียบเพราะกลัวกระทบหน้าที่การงาน
#MeToo ถือเป็นความสำเร็จของการติดแฮชแท็กในโซเชียลมีเดียมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
หากไม่มี Weinstein effect การเคลื่อนไหวสำคัญทางสังคม ต่อต้านการคุกคามทางเพศในที่ทำงานก็อาจไม่เกิดขึ้น


อ้างอิง

The Strait Times 1, 2
The New York Times
หน้า:  1 ... 21 22 [23]
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.14 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 21 เมษายน 2567 05:18:52