[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
26 เมษายน 2567 09:41:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 [2] 3 4 ... 368
21  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ หนังสือแนะนำ / อยู่อย่างเซน.. ละเอียด ศิลาน้อย เมื่อ: 02 เมษายน 2556 15:00:19


อยู่อย่างเซน ..

เคยอ่านบทความ หลายๆ บทความที่ผู้เขียนมักจะหยิบยก ปรัชญาของเซน มาอ้างอิง ชี้แนะ ไม่ว่าจะเป็นของคุณประภาส ของ วารสาร ชีวจิต เล่มล่าสุด คอลัมภ์ระเบียงโบสถ์ เขียนโดยเสถียรพงษ์ วรรณปก และอื่นๆอีกมากมาย และจากการทำงานของเรา พบว่ามีผู้บริจาคหนังสือ เรื่องศิษย์โง่ไปเรียนเซน หรือเรื่องสูตรของเหว่ยหล่าง หรือจะเป็น กวีของท่านเรียวกันเข้าห้องสมุด บ่อยมาก ทำให้สงสัยว่าเซนคืออะไร ทำไมหลายๆคนจึง ใช้ในการอ้างอิง หรือกล่าวถึงกันอยู่เนือง ๆ ลองพลิกอ่านดูหลายเล่มๆ แล้วปัญญาอาจยังไม่ถึง หรืออาจไม่สนใจอย่างจริงจังเท่าใด ตามประสา ( ผู้หญิงที่วุ่นวายอยู่กับเรื่องใกล้ตัวเช่น เรื่องของคนตัวโตๆ และคนตัวเล็กๆ ที่บ้าน อิอิ ) คราวนี้ คนตัวเล็กที่บ้านเริ่มโต พอที่จะมีโลกส่วนตัวของเขาเองบ้างแล้ว เราก็เลยหันมามีโลกส่วนตัวของเราบ้าง ด้วยการเลือกหาหนังสือดีๆ บำรุงตัวเอง ไง ไปพบเรื่องเกี่ยวกับเซนมาเล่มนึง อืม อ่านคร่าวๆ ที่ร้านหนังสือแล้ว เอออ่านเข้าใจง่ายแฮ่ะ ชื่อเรื่อง อยู่อย่างเซน เขียนโดย ละเอียด ศิลาน้อย เขาบอกว่า “จะเอาเซนมาใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร “

เป็นคำถามที่ได้ยินได้ฟังอยู่เสมอในพุทธนิกายเซน อยู่อย่างเซนเล่มนี้ เสนอแนวทางหรือข้อคิด ในการดำเนินชีวิตชนิดที่มองโลกโดยธรรมดาสามัญ เช่น ว่า
หากคุณรู้สึกเหนื่อยและท้อแท้
เซนบอกว่า “เมื่อสุขจงสุข เมื่อทุกข์จงทุกข์แล้วชีวิตจะไม่มีปัญหา"
คุณละเอียดอธิบายไว้ว่า คนเราไม่ชอบความทุกข์ เกลียดความทุกข์ทั้งๆที่ทุกข์นี้เองคือ บรมครูอันยิ่งใหญ่ ใหญ่ยิ่งกว่าครูอื่นใด ..คอยตักเตือนพร่ำสอนเราอย่างไม่รู้เหนื่อย ความทุกข์นี้เอง เป็นเหมือนเพื่อนสนิท ไม่เคยทอดทิ้งเรา เลยนานๆเขาก็หวนกลับมา สะกิดเตือนใจเราสักครั้งหนึ่งแต่ถ้าเตือนแล้วไม่จำ เขาก็จะมาหาบ่อยๆหน่อย แต่เขาก็เป็นเพื่อนที่แท้จริง ไม่เคยลืมเราเลย ความทุกข์มาหาเราทุกข์รูปแบบ แต่ทุกรูปแบบมันเข้ามาตักเตือนเราให้ฉลาดขึ้น ทั้งนั้น ไม่ต้องวิ่งไปหา หรือสร้างทุกข์ให้เกิดขึ้น มาเพื่อศึกษา เพราะ ความทุกข์ที่เรามีอยู่ก็พอเพียงที่จะเป็นกรณีศึกษา ได้แล้ว ขอเพียงแต่ดู และใส่ใจกับมันหน่อยเท่านั้น อย่าหนีมันไปเสีย เข้าไปเผชิญหน้ากับมัน แล้วจะรู้จักตัวเอง “รู้จักตัวเอง”คำนี้ 3 พยางค์เท่านั้นแต่ความหมายกว้างขวางลุ่มลึกนัก มนุษย์แสนฉลาดแต่ถ้าไม่มีความทุกข์มากระตุ้น ก็มักจะไม่ดูตัวเองก็เลยไม่รู้จักตัวเองว่ากันว่า ถ้าเรารู้จักตัวเอง ความทุกข์ก็จะไม่มีที่อยู่อาศัย( บางคนว่า รู้แจ้ง เห็นธรรม เห็นจิต บรรลุธรรม ฯลฯ ) เช่นนั้น นั่นเอง

เวลาอยู่ที่ใจ เซน บอกว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างกลางวันกับกลางคืน ทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นเหมือนกัน

ทำไมเราจึงรู้สึกว่าเวลาช่างเป็นปัญหาเสียจริง ในสังคมเราไม่ว่าจะในหมู่นักธุรกิจ เรื่องเวลาเป็นปัญหาใหญ่เสมอ นักธุรกิจบางคนรู้สึกว่าเวลาช่างสั้นเสียจริงๆในแต่ละวัน เพราะยังทำอะไรไม่ได้มากเลย แต่บางคนเวลาในแต่ละวันช่างนานเสียเหลือเกิน เพราะวันๆไม่รู้จะทำอะไรช่างน่าเบื่อหน่ายเสียเหลือเกิน ใครมาช่วยแบ่งเวลาที่น่าเบื่อของเขาไปบ้าง
เห็นได้ชัดว่าเวลาอยู่ที่ใจ อยู่ที่ความรู้สึกของแต่ละคนนั่นเอง บางคนอาจงง ว่าที่เวลาอยู่ที่ใจ ว่าเป็นการเขียนเล่นลิ้นให้ดูสละสลวย เฉยๆ ลองมาดูกัน

ศาสนาพุทธ "เวลาย่อมกลืนกินทุกสรรพสิ่งและตัวเอง”หมายความว่าเวลามันจะกินสิ่งทั้งหลายและกินตัวเองด้วย
พอเจอเซน เซนบอกว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลางวันกับกลางคืน ทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นเหมือนกัน

ท่านพุทธทาสบอกว่า
เวลาคือระยะทางระหว่างความอยากและความสมอยาก ลองคิดตามดูนะ เมื่อใดมีความอยากเกิดขึ้น (ไม่ว่าจะความอยากทางบวก – เอา หรือเป็นความอยากทางลบ –ไม่เอา ก็ตาม) ก็จะเกิดเวลาขึ้นมาทันที มันจะสมคล้อยตามกับคำสอนทางศาสนา ที่ว่า เมื่อหมดตัณหา(ความอยากนานา) แล้วเวลาก็ไม่มีความหมายนั่นคือเวลาไม่มีเวลาไม่ได้เกิดขึ้นอีกเลย

ไอน์สไตน์ เคยพูดไว้เมื่อคราวอธิบายให้เพื่อนของเขาฟังเรื่องทฤษฏีสัมพันธภาพ ว่า “เมื่อเรานั่งคุยกับคนรักของเรา 2 ชั่วโมง เรารู้สึกว่าเวลาผ่านไป 2 นาที แต่เมื่อเรานั่งอยู่บนเตาไฟ 2 นาที เราจะรู้สึกว่าเรานั่งอยู่ 2 ชั่วโมง นี่แสดงให้เห็นว่า เค้าเงื่อนของความหมายแห่ง”เวลา” ได้ชัดเจนมากทีเดียว คือเวลาตามนาฬิกา และเวลาตามความรู้สึก ( นาฬิกาไม่ใช่เวลา เพราะหลายคนพอพูดถึงเรื่องเวลาก็มักนึกถึงนาฬิกาทีเดียว) ที่จริงเรื่องเวลานี้มีสองนัย คือ เวลาตามปฏิทิน และเวลาทางจิต

กฤษณะมูรติ พูดไว้ชัดมาก ว่าเวลาตามปฏิทินคือเวลาที่บอกด้วยนาฬิกาเป็น เวลาที่คำนวณจากการโคจรหรือหมุนของโลก ซึ่งเรียกว่า โครโนโลจิคัล ไทม์ และเวลาทางจิตก็คือเวลาตามความรู้สึกของเรา ซึ่งจะยาว-สั้นต่างๆ กันไปตามใจหรือตามความรู้สึกของเราขณะต่างๆ(ไม่ได้เดินคงที่ดุจเวลาตามปฏิทิน) เรามักเรียกเวลาทางจิต ไซโคโลจิคัล ไทม์ เวลาที่เป็นปัญหาต่อมนุษย์คือเวลาทางจิต ไม่ใช่เวลาตามปฏิทิน และจะว่าไปเวลาทางจิต จะแปรผัน –เร็ว –ช้าไปตามความอยากและความโลภของเรานั่นเอง เมื่ออยากได้เร็วๆ เวลาก็ดูจะเดินช้า แต่ถ้าไม่อยากพบไม่อยากเจอ ในเร็ววันนี้ เวลาก็เดินไวเสียเหลือเกิน

ขุนนางจีนผู้หนึ่งขอให้ อาจารย์เซน ชื่อ ต้ากวน ช่วยแนะนำวิธีใช้เวลาที่ผ่านๆไปในแต่ละวันของเขาให้คุ้มค่าสักหน่อย เพราะเขารู้สึกว่า ในแต่ละวันของเขายาวนานมาก โดยที่ต้องอยู่ในที่ทำงานและนั่งตัวแข็งคอยรับการคารวะจากผู้อื่นอยู่ตลอดทั้งวัน



อาจารย์ต้ากวนเขียนอักษรจีน ขึ้น 8 ตัว ยื่นให้กับขุนนางผู้นั้นดังนี้ ..
ไม่มีสองครั้งสำหรับวันนี้
นิ้วคือเวลา ฟุตคืออัญมณี
วันนี้จะไม่หวนคืนมาอีก
แต่ละนาทีมีค่าดุจอัญมณี
ที่ประมาณค่ามิได้

ผู้เขียน คุณละเอียด ศิลาน้อย เขียน อยู่อย่างเซน ได้ อืม... แบบว่า อ่านแล้ว เออ จริงอ่ะ สองตื้นๆ แบบเรา อ่านแล้วมีปัญญา สว่างวาบ มาในใจ หาก คุณ เคยมองข้ามหนังสือเกี่ยวกับเซน ทั้งหลายไปเพราะมันอาจจะอ่านเข้าใจยากหน่อยสำหรับ เรา .....ขอบอก คุณน่าจะอ่านเล่มนี้ดู นะ ...อาจจะวาบ แบบเราบ้าง อยู่อย่างเซน พิมพ์ครั้งที่ 9 สำนักพิมพ์ดอกหญ้า พ.ศ.2545 ราคา 95 บาท ค่ะ ^^

ขอขอบพระคุณที่มาทั้งหมดจาก :Bloggang.com manow_noi
..  มา ณ.ที่นี้ด้วยค่ะ ..  April • Rain ♫ ~ ღ
*http://www.tairomdham.net/index.php/topic,2950.0.html

22  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / Re: ทุกอย่างมีอาหาร มีเหตุปัจจัยหมด (พระอาจารย์อํานาจ โอภาโส) เมื่อ: 21 มีนาคม 2556 20:47:13





ทุกอย่างมีอาหาร มีเหตุปัจจัยหมด

การเสวนากับสัตบุรุษเป็นอาหารการฟังธรรม
ฟังธรรม เป็นอาหารให้กับ ศรัทธา เชื่ออย่างมีเหตุผล
ศรัทธาเป็นอาหารให้กับโยนิโสมนสิการ ทำให้รู้จักแยกแยะในใจ
โยนิโสมนสิการเป็นอาหารให้กับสติสัมปะชัญญะ เกิดสติ ระลึกรู้ตัว
สติสัมปะชัญญะเป็นอาหารให้กับอินทรีย์สังวรงอกงามขึ้นมา
ไม่ประมาท ตากระทบรูป หูกระทบเสียง
อินทรีย์สังวร เป็นอาหารให้กับศีล ไม่ก่อความผิดทางกาย วาจา ใจ
มีศีล ทำให้เกิดสัมมาสมาธิงอกงาม ตั้งมั่น
ศีลทำให้เกิดปัญญาเห็นเห็นความเป็นจริงของสรรพสิ่ง
ทุกอย่างเป็นกระบวนการอาหาร
เราทำปลายทางไม่ได้ เราจึงทำต้นทางให้ดี

: พระอาจารย์อํานาจ โอภาโส
http://www.facebook.com/goiPapawi



23  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / Re: คำบริกรรมที่สามารถไล่ผีได้ โดยครูบาอาจารย์สายพระป่า เมื่อ: 21 มีนาคม 2556 17:13:58




 รัก  รัก  รัก

24  สุขใจในธรรม / ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม / Re: ปฏิทิน วันพระ 2555 ...เรามาทำดีกันเถอะ เมื่อ: 19 มีนาคม 2556 11:13:10




25  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / Re: คำสอน หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค เมื่อ: 14 มีนาคม 2556 18:55:39


                 

คำสอน หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค
อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา

ร่างกายของคนและสัตว์มันเป็นอนิจจัง มีสภาพไม่เที่ยง เวลาอยู่ก็เป็นทุกข์ แต่ในที่สุดก็เป็นอนัตตาคือตาย ใครบังคับบัญชาไม่ได้ เวลาเผาศพอย่าตั้งหน้าตั้งตาเผาเขา เวลาเราไปเผาศพก็เผากิเลสในใจของเราเสียด้วย กิเลสส่วนใดที่มันสิงอยู่ที่เรา คิดว่าเราจะไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตายน่ะ เผามันเสียให้หมดไป เราคิดว่าวันนี้เราเผาเขาไม่ช้าเขาก็เผาเรา คนเกิดมาแล้วตายอย่างนี้เราจะเกิดมันทำไม ต่อไปข้างหน้าเราไม่เกิดดีกว่า เราไปพระนิพพานนั่นละดีที่สุด เรื่องอัตภาพร่างกายสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่มีอะไรเป็นความหมาย ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่ง ตายแล้วหาสาระหาแก่นสารไม่ได้ หาประโยชน์ไม่ได้ ให้ทุกคนเตรียมพร้อมที่จะตายได้ ให้ขยันหมั่นเพียร ชำระจิตใจให้สะอาด มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ จงวางภาระว่า เราของเรา เสียให้สิ้นด้วยไม่มีอะไรเลยเป็นของเรา แม้แต่ร่างกายก็มีเจ้าของคือ มรณภัยมันมาทวงคืน ให้คิดว่าเราไม่มีอะไรเป็นของเรา เราไม่ต้องการมนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก เรามีนิพพานเป็นที่ไป

"พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสไว้ว่า สัตว์ก็ดี คนก็ดี หรือสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็ดี มีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วมีความเปลี่ยนแปลงไปในระหว่างกลาง ที่สุดมันก็แตกทำลายหมด ถ้าเป็นสัตว์เป็นบุคคลก็ตายในที่สุด ถ้าเป็นของวัตถุธาตุ ก็แตกทำลายในที่สุด ไอ้บ้านเรือนโรงภูเขา ลำเนาป่า อะไรมันก็เหมือนกัน ภูเขามันเป็นหินแข็งแต่ว่านานๆ เข้าก็เป็นหินผุกลายเป็นดินไป ที่นี้ไอ้คนหรือสัตว์ก็เหมือนกัน มันเกิดขึ้นมาในตอนต้น มันตัวเล็กๆ แล้วมันก็เปลี่ยนแปลง มันเปลี่ยนสภาพเข้ามาทุกทีๆ ถึงความเป็นคน เป็นบุคคลใหญ่ เป็นหนุ่ม เป็นสาว แล้วก็แก่ ในระหว่างนั้นสภาพของร่างกายก็ไม่ปกติ โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน นี่เป็ฯอาการเปลี่ยนแปลง จัดเป็นอนิจจัง ทีนี้ตัวอนิจจังไม่เที่ยง มีความทุกข์ก็บังเกิดขึ้น ไอ้ความทุกข์มันเกิดขึ้นก็เพราะตัวอนิจจังนี่แหละ ไม่มีใครต้องการให้มันเป็น "นิจจัง" คือมันเที่ยงแน่นอน มีสภาพปกติ แต่อนิจจังมันขับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เคลื่อนไปจากความปกติ ให้มีความเปลี่ยนแปลง แปรสภาพเสื่อมโทรมลงไปเป็นธรรมดา แล้วในเมื่อความเสื่อมโทรมมันปรากฏ ความทุกข์ใจของเจ้าของร่างกายก็ปรากฏ คือโรคภัยไข้เจ็บมันก็เกิดขึ้น ความทุกข์ใจของเจ้าของร่างกายก็ปรากฏ นี่มันเป็นตัวทุกข์ อนิจจังมันทำให้ทุกข์ ไม่มีใครจะห้ามความตาย ไม่มีใครจะห้ามความเสื่อมความสูญ ความสลายตัวได้ คนทุกคนเกิดมาแล้วเป็นอย่างนั้น สัตว์ทุกตัวเกิดมาแล้วเป็นอย่างนั้น สภาพของวัตถุต่างๆ เป็นอย่างนั้น ตรงตามความเป็นจริงทุกอย่าง ซึ่งมนุษย์ทุกคนที่เกิดมาในโลกยากนักที่จะคิดอย่างนี้ที่จะเห็นตามความเป็นจริงอย่าง
นี้

นี่พระพุทธเจ้าทรงสอนกฏของธรรมดา ซึ่งคนทั้งหลายที่เกิดมาแล้วด้วยอำนาจของกิเลสแลตัณหาเข้าไปปิดบังใจไม่ยอมรับนับถือ
กฏธรรมดา เช่น กระดูกนี่เป็นของปฏิกูลน่าเกลียด ร่างกายเราเมื่อสภาพการหมดไปแล้ว ก็คงมีโครงกระดูกนี่เป็นเรือนร่าง เป็นแก่นของร่างกาย คนและสัตว์ที่เกิดมาแล้ว ไม่มีสภาพจะคงที่ได้ ถ้ามีร่างกายบริบูรณ์สมบูรณ์ เมื่อสิ้นลมปราณแล้ว ร่างกายก็จะผุพังน้ำเหลืองจะไหล ธาตุดินไปส่วนหนึ่ง ธาตุน้ำไปส่วนหนึ่ง ธาตุไฟไปส่วนหนึ่ง ธาตุลมไปส่วนหนึ่ง ผลที่สุดเนื้อหนังก็จะละลายไป เหลือแต่ธาตุกระดูก กระดูกก็จะเป็นโครงอย่างนี้ หาความสวยไม่ได้หาความงามไม่ได้ อัตตภาพร่างกายอย่างนี้ มันเกิดขึ้นในเบื้องต้น มันเป็นอนิจจังคือ เปลี่ยนแปลงมาในระหว่างกลางแล้วต่อไปก็ผุพังทำลายไปในที่สุด เป็นอนัตตาอย่างนี้ ไม่มี อิจจัง สุขขัง อัตตา หมายความว่า นิจจังมีสภาพคงที่ สุขขังไม่มีทุกข์ อัตตามีสภาพ เป็นตัวตน ยืนตลอดกาลตลอดสมัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างนั้นไม่มี

สำหรับอัตตภาพที่มีขันธ์ 5 มันต้องเป้นอนิจจัง คือเปลี่ยนแปลงไม่เที่ยงอยู่เรื่อยไป เพราะความไม่เที่ยงมันจึงเป็นทุกข์ เพราะเป็นทุกข์นี่แหละสภาวะอนัตตาจึงปรากฏคือ ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน มันพัง มันทำลาย นี่่ร่าง กระดูกที่เราเห็นนี่ เมื่อก่อนก็มีเรือนร่างครบถ้วนบริบูรณ์อย่างเรา มีลมปราณเหมือนกัน มีชีวิตจิตใจเหมือนกัน แต่ว่านี่เนื้อหนังมังสารมันหมดไปแล้วเหลือแต่กระดูก อันเป็นส่วนแก่นแท้ภาพในร่างกาย เมื่อพิจารณาไปส่วนไหนมันก็ไม่น่ารัก ไม่น่าดู ไม่น่าชม มันน่าเกลียด

จึงกล่าวได้ว่า ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง การเกิดเป็นมนุษย์มันเต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขไม่ได้ จงอย่าอาลัยในชีวิต มันจะตายเมื่อไหร่ก็ไดช่างมัน เอาดีเข้าไว้ ดีนั่นคือธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ให้คิดว่าร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา ร่างกายเป็นเพียง ธาตุ 4 เข้ามาประชุมกัน มีธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาาตุลม ธาตุไฟ มันก็ปั้นเป็นก้อนขึ้นมา เขาแยกเป็นอาการ 32 ในไม่ช้าก็ตาย อย่าลืมความตายเป็นสำคัญ

"ถึงแม้เราจะมีคาถาอาคมของดีอะไรก็ตามเราก็ต้องตาย ก่อนตายควรเลือกทางเดินเอาอย่างน้อยที่สุด เราควรไปสวรรค์ชั้นกามาวจรให้ได้ ขอให้ทุกคนนะ เวลาก่อนจะหลับ ให้นึกถึงความดีที่ตอนเคยทำ ทรัพย์สินที่สละเป็นวิหารทาน ธรรมทาน สังฆทาน เลี้ยงพระ นึกถึงศีลที่ตอนเคยรับมา เทศน์ที่ตนเคยฟัง แล้วหมั่นภาวนาถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ พระพุทโธ ธัมโม สังโฆ เมื่อจะเจริญกรรมฐาน ให้ตั้งอยู่ในพรหมวิหาร 4 ให้เป็นฌาณสมาธิแน่วแน่ ให้แผ่เมตตาไปทั่วจักรวาล แล้วจึงพิจารณาตามอารมณ์วิปัสสนาหรือภาวนาตามแบบสมถะ ทุกคนตายแล้วจงไปสวรรค์ จงไปพรหมโลก จงไปนิพพาน"


26  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / Re: @ นิทานเซ็น @ :เจริญสติในชีวิตประจำวัน เมื่อ: 07 มีนาคม 2556 15:49:25

           

๗๓. เจริญสติในชีวิตประจำวัน

มักจะมีผู้ถามบ่อยๆว่า จะบำเพ็ญภาวนาอย่างไร?
และควรจะปฏิบัติธรรมวิธีไหน?
แต่ไม่ค่อยมีใครรู้ว่าสามารถปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันได้
ปฏิบัติในสิ่งแวดล้อมที่มีมายาและกิเลสได้

ลูกชายของคนทำขนมปังคนหนึ่ง เป็นคนมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
และเนื่องจากมีบ้านอยู่ใกล้วัด จึงนำขนมปัง 10 ลูก ไปถวายให้กับ
พระอาจารย์ที่วัดทุกวัน เมื่อพระอาจารย์รับประเคนแล้ว
ก็จะเหลือลูกหนึ่งให้นำกลับไปทุกครั้ง และพูดกับเขาว่า
“ข้ามอบให้กับเจ้า ไว้คุ้มครองลูกหลานของเจ้าต่อไปในภายภาคหน้า”

วันหนึ่ง ชายหนุ่มนั้นคิดในใจว่า “ข้าส่งขนมปังไปให้ ทำไมต้องส่งกลับคืนมาด้วย
ท่านอาจารย์ต้องมีความนัยอะไรแอบแฝงอยู่เป็นแน่”
ดังนั้นชายหนุ่มนั้นจึงถามพระอาจารย์ถึงเรื่องนี้
พระอาจารย์ตอบว่า “ขนมปังเป็นสิ่งที่เจ้านำมา และข้ากลับมอบคืนให้เจ้า
ข้าทำผิดตรงไหน?”

ชายหนุ่มนั้นเคยมีวาสนาต่อการปฏิบัติมาก่อนจึงเข้าใจ
ได้ทันทีว่า เหตุปัจจัยที่ตนเองสร้างมา ย่อมจะต้องเป็นผู้รับผลอันนั้น
คิดได้ดังนั้นแล้ว จึงขอบวชกับพระอาจารย์นั้น

พระอาจารย์พูดต่อว่า “ในอดีตเจ้าเคยสร้างแต่บุญกุศล
และตอนนี้ยังเชื่อฟังคำของข้า ต่อแต่นี้ไปให้เรียนธรรมและอยู่ปฏิบัติใกล้ชิดกับข้า

ผ่านไปอีกระยะหนึ่ง วันหนึ่ง พระหนุ่มนั้น นำเอาความสงสัยเรื่องหนึ่งไปถาม
พระอาจารย์ว่า “หลังจากที่ศิษย์บวชเรียนมาจนถึงวันนี้ ยังไม่เคยได้รับคำชี้แนะ
เคล็ดวิธีในการปฏิบัติปฏิบัติธรรมเลย”

พระอาจารย์ตอบด้วยเสียงเรียบสงบว่า “ทำไมจะไม่ได้สอนธรรมะให้เจ้า
เจ้ายกน้ำชามา ข้าก็รับไว้ เจ้ายกข้าวมา ข้าก็กิน เมื่อเจ้าแสดงความคารวะ
ข้าก็พยักหน้ารับ ตรงไหนไม่ใช่เคล็ดวิธีในการปฏิบัติธรรม?
หากอยากจะเห็นจิตของตนเอง ก็จะเห็นได้ทันที
หากย้ำคิด จะเดินผิดทางทันที
พระหนุ่มนั้นเข้าใจถึงคำสอนได้ในทันทีเหมือนกัน

การปฏิบัติธรรมหนีไม่พ้นจากเรื่องราวในชีวิตประจำวัน
หากให้แยกออกจากชีวิตที่เป็นอยู่ในแต่ละวัน
จะรู้ธรรมได้ยาก การเดิน ยืน นอน นั่ง การเคลื่อนไหวนิ่งเงียบ
ไม่มีสิ่งไหนที่ไม่ใช่เครื่องมือทำสติ เพียงแค่รู้อยู่ในปัจจุบันขณะ
ใช้จิตรู้ได้ทันท่วงที ทุกๆสิ่งคือหนทางแห่งมรรค

         
27  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / Re: @ นิทานเซ็น @ รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก เมื่อ: 07 มีนาคม 2556 15:44:01

       

๗๒. ๓ แม่ไก่ที่มีปัญญาและเมตตา

ศูนย์วิจัยเกี่ยวกับสัตว์แห่งหนึ่งของยุโรป มีอาจารย์ท่านหนึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับ
ไก่ เขาเอาใจใส่และเฝ้าสังเกตชีวิตความเป็นอยู่ของไก่แต่ละชนิดอย่างละเอียด
วันหนึ่ง เขาได้พบไข่ของไก่ป่าหลายฟองในป่า เขาจึงพาไข่ของไก่ป่านั้นกลับไป
พอดีมีแม่ไก่ตัวหนึ่งออกไข่มาหลายใบ เขาจึงหยิบไข่ของแม่ไก่นั้นออกไป แล้ว
หยิบไข่ของไก่ป่าใส่แทน แม่ไก่นั้นเห็นแล้วก็ลังเลสักครู่ แต่ก็รีบไปฟักไข่
นั้นอย่างเดิม ดูแล้วอ่อนโยนและระมัดระวังยิ่งนัก เหมือนกับกำลังฟักไข่
ของตนเองปานนั้น

ผ่านไปอีกสักระยะหนึ่ง ไก่ป่าน้อยก็แตกออกมาจากไข่ แม่ไก่ก็พาพวกเขา
ไปในป่าใกล้ๆ ใช้ตีนคุ้ยเขี่ยดินให้ร่วนออกมา เพื่อหาหนอนที่อยู่ใต้ราก
แล้วร้องเรียกให้ไก่ป่าน้อยเหล่านั้นมากิน

นักวิจัยนั้นรู้สึกตกตะลึง เพราะเมื่อก่อนนั้นลูกไก่ของแม่ไก่นี้ เคยกินแต่อาหารสัตว์
ที่คนนำมาให้กิน แต่ครั้งนี้แม่ไก่กลับรู้ว่า ไก่ป่าน้อยไม่กินอาหารสัตว์
กินแต่อาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

                 

อีกครั้งหนึ่งที่นักวิจัยนั้นทดลอง นำเอาไข่เป็ดมาให้แม่ไก่นั้นฟัก
แม่ไก่นั้นก็ยังคงฟักไข่ออกมาอย่างระมัดระวัง จนกลายเป็นลูกเป็ดน้อย
แล้วก็พาลูกเป็ดน้อยนั้น ไปที่ริมสระ แล้วให้ลูกเป็ดเหล่านั้นได้ว่ายน้ำ

สองเรื่องราวเหล่านี้ทำให้นักวิจัยนั้นเข้าใจถึงหลักการที่คนเรามักจะนึกว่า
สัตว์นั้นโง่เขลาเบาปัญญา ไม่มีความรู้สึก
แต่จริงๆแล้ว สัตว์ก็มีความรักความเมตตา และมีปัญญาอยู่ในนั้นด้วย

 
28  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / Re: @ นิทานเซ็น @ รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก เมื่อ: 07 มีนาคม 2556 15:40:27

           

๗๒. ๒ ยืนหยัดอยู่ในคุณค่าของตัวเอง

มีลูกศิษย์คนหนึ่งมักจะคอยถามพระอาจารย์ด้วยคำถามเดิมๆทุกวัน
“อาจารย์ครับ อะไรคือคุณค่าของชีวิตที่แท้จริงครับ?”
วันหนึ่งพระอาจารย์นำก้อนหินก้อนหนึ่ง แล้วพูดกับศิษย์ว่า
“เจ้าจงนำก้อนหินก้อนนี้ไปขายที่ตลาด แต่ไม่ต้องขายจริงๆหรอกนะ
เพียงแต่ให้คนตีราคาก็พอ แล้วคอยดูว่า แต่ละคนจะตีราคาก้อนหิน
ก้อนนี้สักเท่าไร?”

ลูกศิษย์นั้นจึงนำก้อนหินไปขายที่ตลาด บางคนก็บอกว่าก้อนหินก้อนนี้
ใหญ่ดี สวยดีให้ราคาสองบาท บางคนก็บอกว่าก้อนหินก้อนนี้มาทำเป็น
ลูกตุ้มชั่งน้ำหนักได้ ก็ตีราคาให้สิบบาท ที่สุดแต่ละคนก็ตีราคาไปต่างๆ
นานา แต่ราคาที่ให้สูงสุดคือสิบบาท ลูกศิษย์รู้สึกดีใจ กลับไปบอกอาจารย์ว่า
“ก้อนหินที่ไม่มีประโยชน์อะไรนี้ ยังขายได้ถึงสิบบาท น่าจะขายออกไปจริงๆ”
อาจารย์พูดขึ้นว่า“อย่าเพิ่งรีบขายก่อน ลองพาไปขายในตลาดทองคำดู
แต่ก็อย่าขายออกไปจริงๆ”

ลูกศิษย์จึงนำก้อนหินก้อนนั้นไปขายในตลาดทองคำ เริ่มต้นมีคนตีราคาให้
หนึ่งพันบาท คนที่สองตีราคาให้หนึ่งหมื่นบาท สุดท้ายมีคนให้ถึงหนึ่งแสนบาท
ลูกศิษย์รู้สึกดีใจ รีบกลับไปรายงานพระอาจารย์ถึงผลพลอยได้ที่นึกไม่ถึง
พระอาจารย์กล่าวต่อไปอีกว่า “นำก้อนหินนี้ไปตีราคาที่ตลาดเพชร”
ลูกศิษย์จึงนำไปที่ตลาดค้าเพชร คนแรกให้ราคาหนึ่งแสน สองแสน
สามแสน ไปเรื่อยๆ เมื่อพ่อค้าเห็นไม่ยอมขายสักที จึงให้เขาตีราคาเอง
แต่ลูกศิษย์นั้นกล่าวว่า “พระอาจารย์ไม่ให้ขาย” จึงนำก้อนหินนั้นกลับไป
พูดกับพระอาจารย์ว่า “ก้อนหินก้อนนี้คนให้ราคาถึงเรือนแสนแล้ว”

“ใช่แล้ว ตอนนี้อาจารย์ไม่อาจสอนเจ้าถึงเรื่องคุณค่าของชีวิตเพราะ
เพราะเจ้ามองชีวิตของเจ้าเหมือนกับการตีราคาของตลาด คุณค่าของชีวิต
คนเรา ควรจะอยู่ในจิตใจของตนเอง ต้องมีสายตาของนักค้าเพชรที่เก่งที่สุด
เสียก่อน จึงจะมองเห็นคุณค่าที่แท้จริงของชีวิตคนเรา”

คุณค่าของคนเรา ไม่ได้อยู่ที่ราคาที่อยู่ข้างนอก แต่อยู่ที่เราให้ราคาของตัวเอง
ราคาของเราทุกคนเป็นสิ่งที่ไม่มีสิ่งใดเปรียบเทียบ ยอมรับตัวเอง ฝึกฝนตัวเอง
ให้ช่องว่างกับตัวเองได้เติบโต พวกเราก็จะกลายเป็น “สิ่งที่มีค่าจนประเมินไม่ได้”

อุปสรรคทุกอย่างที่เกิดขึ้น ความปวดร้าวที่เกิดขึ้นทุกครั้ง ความทุกข์ที่โหม
กระหน่ำ ก็มีความหมายอยู่ในตัวของมัน

               
29  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / Re: @ นิทานเซ็น @ รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก เมื่อ: 07 มีนาคม 2556 15:14:26

           

๗๒. ๑ ตะแกรงสามอัน

มีคนคนหนึ่งกระหืดกระหอบไปหานักปรัชญาท่านหนึ่ง
แล้วพูดขึ้นมาว่า “ข้ามีข่าวจะมาบอกกับท่าน”
นักปรัชญาชิงพูดขึ้นมาก่อนว่า
“เรื่องที่ท่านจะเล่าร่อนผ่านตะแกรงมาสามครั้งแล้วหรือยัง?”
ชายคนนั้นไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไร? จึงถามขึ้นว่า
“ตะแกรงสามอัน ตะแกรงสามอันไหน?”

“ตะแกรงอันแรกคือ ความจริง ข่าวที่ท่านจะเล่าเป็นความจริงหรือเปล่า?”
ชายนั้นตอบว่า “ไม่รู้เหมือนกัน ข้าฟังมาจากที่เขาเล่า”

นักปรัชญาพูดต่อว่า “ตอนนี้เจ้าไปลองใช้ตะแกรงอันที่สองไปตรวจสอบดู
ข่าวที่ท่านจะบอกข้า แม้จะไม่ใช่ความจริง แต่ก็ควรจะเป็นข่าวที่มีเจตนาดี”
ชายนั้นลังเลสักครู่แล้วพูดว่า “ไม่ เป็นเจตนาตรงข้ามกันเลย”

นักปรัชญาพูดต่อว่า “ถ้าอย่างนั้นเราใช้ตะแกรงอันที่สาม
ข้าจะถามเจ้าอีกครั้ง ข่าวที่ทำให้เจ้าเร่งรีบอย่างนี้เป็นข่าวสำคัญหรือเปล่า?”
ชายคนนั้นรู้สึกเขินนิดๆ แล้วตอบว่า “ไม่ได้สำคัญอะไร?”

นักปรัชญานั้นพูดต่อว่า “เรื่องที่เจ้าจะเล่าให้ข้าฟัง ไม่ใช่เรื่องจริงแล้วก็
ไม่ได้มีเจตนาดี แล้วก็ไม่สำคัญ งั้นก็อย่าเล่าเลย ข่าวนั้นจะได้ไม่รบกวนจิตใจ
ทั้งของเจ้าและของข้า”

อย่าได้เชื่ออะไรง่ายๆต่อคำพูดที่มีผู้พูดให้ร้ายคนอื่น
นอกจากเจ้าจะรู้จริงๆว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง
และไหนๆถ้าเจ้ารู้ความจริงแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องนำเรื่องนี้ไปเล่าให้คนอื่นฟัง
นอกจากเจ้าจะคิดว่าเรื่องนี้จำเป็นต้องบอกให้ผู้อื่นรับรู้
และขณะที่เจ้าพูด พึงนึกไว้เสมอว่า เบื้องบนก็กำลังฟังเรื่องราว
จากปากของเจ้าเหมือนกัน

มีคำพังเพยบทหนึ่งกล่าวว่า
“คำพูดดีๆหนึ่งคำอาจทำให้คนหัวเราะได้
คำพูดร้ายๆหนึ่งคำก็อาจทำให้คนกระโดดขึ้นมาได้เหมือนกัน”

บ่อยครั้งที่คำพูดของเราทำให้ผู้อื่นได้รับผลประโยชน์หรือเปล่า?
หรือทำความเสียหายให้ผู้อื่น? หากก่อนจะพูดได้ผ่านการไตร่ตรอง
มาครั้งหนึ่งก่อนแล้วเจ้าจะรู้ว่า มีหลายๆคำพูดที่ไม่มีความจำเป็นต้องพูดออกมา

การฝึกฝนเช่นนี้บ่อยๆจะทำให้เราสามารถควบคุมลิ้นของเรา
ไม่ให้พูดเพ้อเจ้อออกมา
แล้วไปทำร้ายผู้อื่น เมื่อคนเราสามารถควบคุมลิ้นได้
ก็สามารถควบคุมทุกอย่างในตัวได้

ในคัมภีร์ก็มักพูดว่า
“พูดมากอาจผิดพลาดได้ง่าย รู้จักสงบวาจาคือการมีปัญญา
ต่อแต่นี้ไป ขอให้เจ้าระวังสิ่งที่เจ้าจะพูดออกมา
ก็จะทำให้นาวาชีวิตของเจ้ามุ่งหน้าไปสู่ทิศทางที่ต่างจากเดิม

           
30  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / Re: @ นิทานเซ็น @ รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก เมื่อ: 07 มีนาคม 2556 14:23:55


             

๗๒. ใหญ่เล็กไม่แตกต่าง

นักบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถัง ได้ถามพระอาจารย์เซนว่า
“ในพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า เขาพระสุเมรุซ่อนเมล็ดพันธุ์ผักกาด
เมล็ดพันธุ์ผักกาดบรรจุเขาพระสุเมรุทั้งลูก เป็นเรื่องที่แปลก
ประหลาดจนเกินไปแล้ว เมล็ดพันธุ์ผักกาดเล็กๆจะหล่อหลอม
รวมภูเขาทั้งลูกได้อย่างไร ? แสดงว่านี่ไม่เข้าใจถึงหลักการที่ถูก
ต้อง คงจะเป็นการหลอกลวงผู้คนมากกว่า”

“มีคนพูดว่า เจ้าอ่านหนังสือไปแล้วเป็นหมื่นเล่ม มีเรื่องเช่นนี้หรือเปล่า?”
“แน่นอน แน่นอน ข้าพเจ้าอ่านไปเป็นหมื่นเล่มจริงๆ”
“ถ้าอย่างนั้น หนังสือที่อ่านไปเป็นหมื่นเล่ม เวลานี้อยู่ที่ไหน?”
อำมาตย์ท่านนั้นชี้ไปที่สมองแล้วพูดว่า “ทั้งหมดอยู่ที่นี่”

“แปลกจัง ข้าเห็นหัวของเจ้าโตเท่าลูกมะพร้าวเท่านั้น ทำไมถึงใส่หนังสือ
ได้ถึงหมื่นเล่ม สงสัยเจ้าก็หลอกลวงผู้อื่นหรือเปล่า?”

             

31  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / Re: มุตโตทัย ๑,๒ - พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ เมื่อ: 07 มีนาคม 2556 13:50:52



32  สุขใจในธรรม / ห้องประชาสัมพันธ์ ทั้งทางโลก และทางธรรม / Re: ปฏิทิน วันพระ 2555 ...เรามาทำดีกันเถอะ เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2556 15:26:00




วันนี้วันพระ
สติปัฏฐานที่เอียงไปนิพพาน
โพธิปักขิยธรรม ๓๗


ธรรมะยามเช้า โดย "ธรรมมะ"
ภิกษุ ท.! ลำแม่น้ำคงคา ลุ่มไปทางทิศตะวันตก
ลาดไปทางทิศตะวันออก เทไปสู่ทิศตะวันออก
ข้อนี้ แม้ฉันใด

ภิกษุ ท.! ภิกษุ อบรมสติปัฏฐานสี่อยู่
กระทำสติปัฏฐานสี่ ให้มากอยู่
ก็ย่อมเป็นผู้ลุ่มไปทางนิพพาน
ลาดไปทางนิพพาน เทไปสู่นิพพาน
ฉันนั้น เหมือนกัน

ภิกษุ ท.! ภิกษุ อบรมสติปัฏฐานสี่
กระทำสติปัฏฐานสี่ ให้มากอยู่
ย่อมเป็นผู้ลุ่มไปทางนิพพาน
ลาดไปทางนิพพาน เทไปสู่นิพพาน
เป็นอย่างไรเล่า?

ภิกษุ ท.! ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่
เป็นผู้พิจารณาเห็นจิต ในจิตเนืองๆ อยู่ เป็นผู้
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายเนืองๆ อยู่
มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

ภิกษุ ท.! ภิกษุ อบรมสติปัฏฐานสี่อยู่
กระทำสติปัฏฐานสี่ ให้มากอยู่
ย่อมเป็นผู้ลุ่มไปทางนิพพาน
ลาดไปทางนิพพาน เทไปสู่นิพพาน
ด้วยอาการ อย่างนี้แล

- บาลี พระพุทธภาษิต มหารินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐/๑๔๐/๑๐๗.
*http://www.facebook.com/AKALIGO.com.thailand




โพธิปักขิยธรรม 7 หมวด 37 ประการ
โพธิปักขิยธรรม คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้
ประกอบด้วยธรรมะ 7 หมวด คือ สติปัฏฐาน 4, สัมมัปปธาน 4, อิทธิบาท 4,
อินทรีย์ 5, พละ 5, โพชฌงค์ 7, มรรคมีองค์ 8

รวมเป็น 37 จึงเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม 37

อ่านต่อต่ะ...
: http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7465.0.html

33  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / Re: พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2556 10:14:32


 เหงื่อตก save target as...
 โอ๊ะ ลังเล ค่อยขอผู้โหลดเป็นช่วย..
                       กลอกตา เก็บลิ้งค์ก่อน

 ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม

34  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / Re: พุทธธรรม :กระบวนธรรมที่สืบทอดจากผัสสะ (ป. อ. ปยุตฺโต) เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2556 10:06:48


               

 โดยนัยนี้ จะเห็นว่า ช่วงต่อที่กระบวนธรรมจะสืบทอดจากการรับรู้ (ผัสสะ) ต่อไปนั้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่ง เรียกได้ว่าเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อทีเดียว และในภาวะเช่นนี้ เวทนาเป็นองค์ธรรมที่มีบทบาทสำคัญมาก กระบวนธรรมที่ดำเนินต่อไปจะเป็นอย่างไร (สำหรับปุถุชน) ต้องขึ้นต่อสภาพของเวทนา ว่าจะเป็นแบบไหนอย่างใด ทั้งนี้ พอจะตั้งเป็นข้อสังเกตได้ว่า

 ก. กระบวนธรรมที่สืบทอดจากผัสสะ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ ระหว่างกระบวนการรับรู้ที่บริสุทธิ์ กับกระบวนการสังสารวัฏ
 ในกระบวนการรับรู้บริสุทธิ์ เวทนามีบทบาทเป็นเพียงองค์ประกอบย่อยๆ อย่างหนึ่ง ที่ช่วยให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องสมบูรณ์
 ส่วนในกระบวนการสังสารวัฏ เวทนาเป็นปัจจัยตัวเอก ที่มีอิทธิพลครอบงำความเป็นไปของกระบวนธรรมทั้งหมด กล่าวได้ว่า มนุษย์จะคิดปรุงแต่งอย่างไร และทำการอะไร ก็เพราะเวทนา และเพื่อเวทนา หรือชีวิตจะเป็นอย่างไร ก็เพราะเวทนาและเพื่อเวทนา

 นอกจากนั้น ในกระบวนการสังสารวัฏนี้ มนุษย์มิได้หยุดอยู่เพียงแค่เป็นผู้รับรู้อารมณ์ และเรียนรู้โลกเพื่อเกี่ยวข้องจัดการกับสิ่งแวดล้อมอย่างได้ผลดีเท่านั้น แต่ได้ก้าวต่อไปสู่ความเป็นผู้เสพเสวยโลกด้วย

 สำหรับกระบวนการรับรู้บริสุทธิ์นั้น ถ้าจะพูดให้ละเอียดชัดเจนตามหลัก ก็ต้องตัดตอนที่ช่วงต่อจากผัสสะนี้ด้วยเหมือนกัน โดยถือว่า การรับรู้เกิดขึ้นเสร็จสิ้นแล้วที่ผัสสะ ดังนั้น กระบวนธรรมต่อจากนี้ไปจึงแยกได้เป็นอีกตอนหนึ่ง และขอเรียกชื่อว่า กระบวนการญาณทัศนะ หรือ กระบวนธรรมแบบวิวัฏฏ์ เป็นคู่ปฏิปักษ์กับกระบวนการสังสารวัฏ

 แต่กระบวนธรรมแบบวิวัฏฏ์ เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาชีวิต จึงจะยกไปพูดในตอนที่ว่าด้วย “ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร ?” และ “ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร ?” ไม่กล่าวไว้ในที่นี้

 ข. กระบวนธรรมที่สืบทอดจากผัสสะ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อทางจริยธรรม ระหว่างความดีกับความชั่ว ระหว่างกุศลกับอกุศล ระหว่างความหลุดพ้นเป็นอิสระ กับการหมกติดหมุนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ

 เมื่อกล่าวถึงส่วนอื่นๆ ของกระบวนธรรมแล้ว ก็ต้องย้อนกลับไปพูดถึงอายตนะอีก เพราะกระบวนธรรมต่างๆ ที่กล่าวมานั้น ต้องอาศัยอายตนะ เริ่มต้นที่อายตนะ เมื่อว่าองค์ธรรมอื่นๆ สำคัญ ก็ต้องว่าอายตนะสำคัญ

เหมือนกัน เช่น เมื่อว่าเวทนาเป็นองค์ธรรมสำคัญยิ่งในกระบวนธรรมแบบเสพเสวยโลก อายตนะก็ย่อมมีความสำคัญมากด้วย เพราะอายตนะเป็นแหล่งหรือเป็นช่องทางที่อำนวยให้เวทนาเกิดขึ้น

 เวทนา เป็นสิ่งที่มนุษย์มุ่งประสงค์ อายตนะ เป็นแหล่งอำนวยสิ่งที่มุ่งประสงค์นั้น
 เท่าที่กล่าวมา สรุปได้ว่า อายตนะ ๖ ทำหน้าที่รับใช้มนุษย์ ๒ อย่าง คือ
 ๑. เป็นทางรับรู้โลก หรือเป็นแหล่งนำโลกมาเสนอต่อมนุษย์ เป็นเครื่องมือสื่อสาร ทำให้มนุษย์ได้รับข้อมูลแห่งความรู้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถเกี่ยวข้องกับโลกได้ถูกต้อง ทำให้ชีวิตอยู่รอด และ
ดำเนินไปด้วยดี
 ๒. เป็นช่องทางเสพโลก หรือเป็นประตูที่มนุษย์จะเปิดออกไปรับอารมณ์ที่เป็นรสอร่อยของโลก มาเสพเสวย ด้วยการดู การฟัง การดม การลิ้มชิมรส การแตะต้องเสียดสี ความสนุกสนานบันเทิง ตลอดจนจินตนาการ
สิ่งที่หวานชื่นระรื่นใจ

 ความจริง หน้าที่ทั้งสองอย่างนี้ ก็ติดเนื่องอยู่ด้วยกัน
 หน้าที่อย่างแรก เรียกได้ว่าเป็นหน้าที่หลัก หรือหน้าที่พื้นฐานที่จำเป็น
 ส่วน หน้าที่ที่สอง เป็นหน้าที่รอง จะว่าเป็นของแถมหรือส่วนเกินก็คงได้ 
 ในกรณีทั้งสองนั้น การทำงานของอายตนะก็อย่างเดียวกัน ความแตกต่างอยู่ที่เจตจำนงของมนุษย์ ซึ่งมุ่งไปที่ความรู้ หรือมุ่งไปที่เวทนา

 สำหรับมนุษย์ปุถุชน ความสำคัญของอายตนะมักจะก้าวข้ามมาอยู่กับหน้าที่อย่างที่สอง คือการเสพโลก จนถึงขั้นที่กลายเป็นว่า หน้าที่อย่างที่หนึ่งมีไว้เพียงเพื่อเป็นส่วนประกอบสนองการทำหน้าที่อย่างที่สอง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวนการรับรู้มีไว้เพื่อรับใช้กระบวนการเสพเสวยโลก หรือรับใช้กระบวนการสังสารวัฏเท่านั้นเอง

 ทั้งนี้เพราะว่า ปุถุชนมักใช้อายตนะ เพื่อมุ่งรับรู้เฉพาะความรู้ส่วนที่จะทำให้ตนได้เสพเสวยอารมณ์อร่อยของโลกเท่านั้น หาสนใจสิ่งอันพึงรู้นอกจากนั้นไม่

 ยิ่งกว่านั้น แม้ความสัมพันธ์กับโลกในภาคแสดงออก ด้วยการทำ การพูด การคิด ก็จะกลายเป็นการกระทำเพื่อรับใช้กระบวนการสังสารวัฏเช่นเดียวกัน คือ มุ่งทำ พูด คิด เพื่อแสวงหา และให้ได้มาซึ่งอารมณ์สำหรับเสพเสวย

 ยิ่งเป็นปุถุชนที่หนามากเท่าใด ความติดข้องพัวพันอยู่กับหน้าที่อย่างที่สองของอายตนะ ก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น จนถึงขั้นที่ว่า ชีวิตและโลกของมนุษย์ วนเวียนอยู่แค่อายตนะ ๖ เท่านั้นเอง

 เท่าที่กล่าวมานี้ จึงเห็นได้ว่า แม้อายตนะ ๖ จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของขันธ์ ๕  และไม่ครอบคลุมทุกส่วนแห่งชีวิตของมนุษย์โดยสิ้นเชิง เหมือนอย่างขันธ์ ๕ ก็จริง แต่มันก็มีบทบาทสำคัญยิ่งในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มีอำนาจกำกับวิถีชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก จนกล่าวได้ว่า ชีวิตเท่าที่มนุษย์รู้จักและดำเนินอยู่ ก็คือการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกทางอายตนะเหล่านี้ และชีวิตมีความหมายต่อมนุษย์ก็ด้วยอาศัยอายตนะเหล่านี้

 ถ้าอายตนะไม่ทำหน้าที่แล้ว โลกก็ดับ ชีวิตก็ไร้ความหมายสำหรับมนุษย์

 มีข้อความแห่งหนึ่งในบาลี แสดงกระบวนธรรมเท่าที่กล่าวมานี้ได้อย่างกระทัดรัด และช่วยเชื่อมความที่กล่าวมาในตอนว่าด้วยขันธ์ ๕ เข้ากับเรื่องที่อธิบายในตอนนี้ ให้ต่อเนื่องกัน มองเห็นกระบวนธรรมได้ครบถ้วนตลอดสายยิ่งขึ้น จึงขอยกมาอ้างไว้ ดังนี้
 อาศัยตาและรูป เกิดจักขุวิญญาณ, ความประจวบแห่งธรรมทั้งสามนั้น เป็นผัสสะ, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี, บุคคลเสวยอารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น (สัญญา), หมายรู้อารมณ์ใด ย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น (วิตักกะ), ตริตรึกอารมณ์ใด ย่อมผันพิสดารซึ่งอารมณ์นั้น (ปปัญจะ), บุคคลผันพิสดารซึ่งอารมณ์ใด เพราะการผันพิสดารนั้นเป็นเหตุ ปปัญจสัญญาแง่ต่างๆ  (สัญญาที่ซับซ้อนหลากหลาย) ย่อมผุดพลุ่งสุมรุมเขา ในเรื่องรูปทั้งหลาย ที่พึงรู้ได้ด้วยตา ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
  (ต่อไปว่าด้วยอายตนะและอารมณ์อื่นๆ จนครบ ๖ คู่ ใจความอย่างเดียวกัน)
 
กระบวนธรรมนี้ เขียนให้เห็นง่ายขึ้นดังนี้
      กระบวนการรับรู้บริสุทธิ์  กระบวนธรรมแบบเสพเสวยโลก
  (กระแสปกติตามธรรมชาติ)   (เกิดมีผู้เสวย-สิ่งถูกเสวย  ผู้คิด-สิ่งถูกคิด)
 
    อายตนะ
        +
    อารมณ์ =   ผัสสะ - เวทนา - สัญญา- (วิตักกะ - ปปัญจะ) - ปปัญจสัญญาแง่ต่างๆ
        +           (สังขาร)
    วิญญาณ
 เมื่อเกิดปปัญจสัญญาแล้ว ก็ยิ่งมีความตริตรึกนึกคิด (วิตักกะ) ได้มากมายและกว้างขวางพิสดารยิ่งขึ้น ทำให้เกิดกิเลสต่างๆ เช่น ชอบใจ ไม่ชอบใจ หวงแหน ริษยา เป็นต้น ปนเป คลุกเคล้า ไปกับความคิดนั้น
หมายเหตุ:
    ๑. คำที่ควรเข้าใจ คือ ‘ปปัญจะ’ หมายถึง อาการที่คลอเคลียพัวพันอยู่กับอารมณ์นั้น และคิดปรุงแต่งไปต่างๆ ด้วยแรงตัณหา มานะ และทิฏฐิผลักดัน หรือเพื่อสนองตัณหา มานะ และทิฏฐิ คือ ปรุงแต่งในแง่ที่จะเป็นของฉัน ให้ตัวฉันเป็นนั่นเป็นนี่ หรือเป็นไปตามความเห็นของฉัน ออกรูปออกร่างต่างๆ มากมายพิสดาร จึงทำให้เกิดปปัญจสัญญาแง่ต่างๆ คือสัญญาทั้งหลายที่เนื่องด้วยปปัญจะนั่นเอง
    ๒. จะเห็นว่ามีสัญญา ๒ ตอน สัญญาช่วงแรก คือสัญญาขั้นต้น ที่กำหนดหมายอารมณ์ซึ่งปรากฏตามปกติธรรมดาของมัน สัญญาช่วงหลัง เรียกว่า  ‘ปปัญจสัญญา’ เป็นสัญญาเนื่องจากสังขาร ที่ปรุงแต่งภาพอารมณ์ ให้ออกรูปออกร่างแง่มุมต่างๆ มากมายพิสดารดังกล่าวแล้ว
    ๓. จะเห็นว่า กระบวนธรรมทั้งหมดนั้น แยกได้เป็น ๒ ตอน
 ก) ตอนแรก ตั้งแต่อายตนะภายในถึงเวทนา เป็นกระบวนการรับรู้บริสุทธิ์
     พึงสังเกตว่า ช่วงตอนนี้กระบวนธรรมเป็นกระแสบริสุทธิ์ตามธรรม
     ชาติ มีแต่องค์ธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย (พึงอ่านความที่ยกมาอ้าง
     ข้างบน) ยังไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เกี่ยวข้อง
 ข) ตอนปลาย ตัดตอนแต่เวทนาไปแล้ว เกิดเป็นกระบวนธรรมแบบเสพ
      เสวยโลก หรือกระบวนการสังสารวัฏ มารับช่วงไป
      ความจริง ตั้งแต่เวทนานี้ไปเป็นทางแยก อาจต่อด้วยกระบวนธรรม
      แบบวิวัฏฏ์ก็ได้ แต่ในที่นี้มุ่งแสดงเฉพาะแบบสังสารวัฏก่อน
      ข้อพึงสังเกตในตอนนี้ ก็คือ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของช่วงหลังนี้ จะไม่มี
      เพียงองค์ธรรมต่างๆ ที่เป็นเหตุปัจจัยแก่กันตามธรรมชาติเท่านั้น แต่
      จะเกิดมีสัตว์บุคคลขึ้นมา กลายเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสพเสวย
      กับสิ่งที่ถูกเสพเสวย ผู้คิดและสิ่งที่ถูกคิด เป็นต้น
    ๔. กระบวนธรรมเสพเสวยโลกในช่วงปลาย ที่แสดงข้างบนนี้ เป็นเพียงวิธีแสดงแบบหนึ่งเท่านั้น เลือกเอามาเพราะเห็นว่าสั้น และเข้ากับเรื่องที่กำลังอธิบาย คือขันธ์และอายตนะได้ดี อาจแสดงแบบอื่นอีกก็ได้ เช่นที่แสดงอย่างพิสดารในหลักปฏิจจสมุปบาทแบบทั่วไป ซึ่งเป็นกระบวนธรรมแบบสังสารวัฏโดยสมบูรณ์
    ๕ ว่าตามหลักอย่างเคร่งครัด วิญญาณ ผัสสะ เวทนา สัญญา ในกระบวนธรรมนี้ เป็นสหชาตธรรม ท่านถือว่าเกิดร่วมกัน พึงเข้าใจว่า ที่เขียนแสดงลำดับไว้อย่างนี้ มุ่งเพื่อศึกษาได้ง่าย
 เนื่องด้วยกระบวนธรรมนี้ แยกได้เป็น ๒ ช่วงตอน และช่วงตอนหลังอาจแยกไปเป็นกระบวนธรรมแบบสังสารวัฏ หรือแบบวิวัฏฏ์ก็ได้ ดังนั้น เพื่อมองเห็นภาพได้กว้างขวางขึ้น อาจเขียนแสดงได้ดังนี้
อายตนะ
    +      -กระบวนธรรมแบบสังสารวัฏฏ์
อารมณ์ =  ผัสสะ - เวทนา-
    +      -กระบวนธรรมแบบวิวัฏฏ์
วิญญาณ

 ในเรื่องอายตนะนี้ มีข้อควรทราบเพิ่มเติม เพื่อประโยชน์ในการ
ศึกษาต่อไป ดังนี้
 - อายตนะภายใน หรือทวาร ๖ นั้น มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อินทรีย์ ๖” คำว่า อินทรีย์ แปลว่า ภาวะที่เป็นใหญ่ หมายถึงสิ่งที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ เป็นเจ้าหน้าที่ หรือเป็นเจ้าการในเรื่องนั้นๆ เช่น ตา เป็นเจ้าการในการรับรู้รูป หู เป็นเจ้าการในการรับรู้เสียง เป็นต้น อินทรีย์ ๖ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ และมนินทรีย์

 คำว่า อินทรีย์ นิยมใช้กับอายตนะในขณะทำหน้าที่ของมัน ในชีวิตจริง และเกี่ยวกับจริยธรรม เช่น การสำรวมจักขุนทรีย์ เป็นต้น ส่วน อายตนะ นิยมใช้ในเวลาพูดถึงตัวสภาวะที่อยู่ในกระบวนธรรม เช่นว่า อาศัยจักขุ อาศัยรูป เกิดจักขุวิญญาณ เป็นต้น และเมื่อพูดถึงสภาว-ลักษณะ เช่นว่า จักขุไม่เที่ยง เป็นต้น อีกคำหนึ่งที่ใช้พูดกันบ่อย ในเวลากล่าวถึงสภาวะในกระบวนธรรม คือคำว่า “ผัสสายตนะ” แปลว่า ที่เกิดหรือบ่อเกิดแห่งผัสสะ คือที่มาของการรับรู้นั่นเอง

 -อายตนะภายนอก หรืออารมณ์ ก็มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก คือ “โคจร” (ที่เที่ยว, ที่หากิน) และ “วิสัย” (สิ่งผูกพัน, แดนดำเนิน)  และชื่อที่ควรกำหนดเป็นพิเศษ ใช้เฉพาะกับอารมณ์ ๕ อย่างแรก ซึ่งมีอิทธิพลมาก ในกระบวนธรรมแบบเสพเสวยโลก หรือแบบสังสารวัฏ คือคำว่า “กามคุณ” (ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา, ส่วนที่ดีหรือส่วนอร่อยของกาม)
 กามคุณ ๕ หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ เฉพาะที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ

(อ่านต่อค่ะที่) : http://portal.in.th/i-dhamma/pages/8102/
ความถูกต้องและผิดพลาดของความรู้
พุทธพจน์เกี่ยวกับอายตนะ
คุณค่าทางจริยธรรม (อายตนะ)


35  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / Re: พุทธธรรม :อายตนะ ๖ แดนรับรู้และเสพเสวยโลก (ป. อ. ปยุตฺโต) เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2556 09:57:13




ข. อายตนะ ๖ แดนรับรู้และเสพเสวยโลก
ช่องทางที่ชีวิตติดต่อกับโลก
 แม้ว่าชีวิตจะประกอบด้วยขันธ์ ๕ ซึ่งแบ่งซอยออกไปเป็นหน่วยย่อยต่างๆ มากมาย แต่ในทางปฏิบัติ คือ ในการดำเนินชีวิตทั่วไป มนุษย์ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับส่วนประกอบเหล่านั้นโดยทั่วถึงแต่อย่างใด

 ส่วนประกอบหลายอย่างมีอยู่และทำหน้าที่ของมันไปโดยมนุษย์ไม่รู้จัก หรือแม้รู้จัก ก็แทบไม่ได้นึกถึงเลย เช่น ในด้านรูปธรรม อวัยวะภายในร่างกายหลายอย่าง ทำหน้าที่ของมันอยู่ โดยมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของไม่รู้ และไม่ได้ใส่ใจที่จะรู้ จนบางคราวมันเกิดความวิปริตหรือทำหน้าที่บกพร่องขึ้น มนุษย์จึงจะหันมาสนใจ แม้องค์ประกอบต่างๆ ในกระบวนการฝ่ายจิตก็เป็นเช่นเดียวกัน

 การศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ และกระบวนการทำงานทางร่างกาย เราปล่อยให้เป็นภาระของนักศึกษาทางแพทยศาสตร์และชีววิทยา ส่วนการศึกษาวิเคราะห์องค์ประกอบและกระบวนการทำงานด้านจิตใจ เราปล่อยให้เป็นภาระของนักอภิธรรมและนักจิตวิทยา

 แต่สำหรับคนทั่วไป ความหมายของชีวิตอยู่ที่ชีวิตในทางปฏิบัติ หรือชีวิตที่ดำเนินอยู่เป็นประจำในแต่ละวัน ซึ่งได้แก่การติดต่อเกี่ยวข้องกับโลก สิ่งที่ให้ความหมายแก่ชีวิต ก็คือการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลก หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า ชีวิตตามความหมายของมนุษย์ คือชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลก

 ชีวิตในทางปฏิบัติหรือชีวิตโดยความสัมพันธ์กับโลกนี้ แบ่งออกได้เป็น ๒ ภาค แต่ละภาคมีระบบการทำงาน ซึ่งอาศัยช่องทางที่ชีวิตจะติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกได้ ซึ่งเรียกว่า ทวาร” (ประตู, ช่องทาง) ดังนี้

 ๑. ภาครับรู้และเสพเสวยโลก อาศัย ทวาร ๖  คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สำหรับรับรู้และเสพเสวยโลก ซึ่งปรากฏแก่มนุษย์โดยลักษณะและอาการต่างๆ ที่เรียกว่า อารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์
 ๒. ภาคแสดงออกหรือกระทำต่อโลก อาศัย ทวาร ๓  คือ กาย วาจา ใจ (กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร) สำหรับกระทำตอบต่อโลก โดยแสดงออกเป็นการทำ การพูด และการคิด (กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม)

 ใน ภาคที่ ๑ มีข้อที่พึงย้ำเป็นพิเศษ เพื่อสะดวกแก่การศึกษาต่อไปว่า คำว่า “ทวาร” (ใน ทวาร ๖) นั้น เมื่อนำไปกล่าวในระบบการทำงานของกระบวนธรรมแห่งชีวิต ท่านนิยมเปลี่ยนไปใช้คำว่า “อายตนะ” ซึ่งแปลว่า แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือทางรับรู้ ดังนั้นในการศึกษาเรื่องนี้ต่อไป จะใช้คำว่า “อายตนะ” แทนคำว่า “ทวาร”

 ใน ภาคที่ ๒ มีข้อพึงย้ำคือ กระบวนธรรมของชีวิตในภาคนี้ รวมอยู่ในขันธ์ที่ ๔ คือ สังขารขันธ์ ที่กล่าวมาแล้วในบทก่อน

สังขารต่างๆ ในสังขารขันธ์ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากมาย แบ่งเป็น ฝ่ายดีบ้าง ฝ่ายชั่วบ้าง ฝ่ายกลางๆ บ้าง จะปรากฏตัวออกมาปฏิบัติการ โดยถูกเจตนาที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นตัวแทนเลือกชักจูงมา หรือจัดแจงมอบหมายหน้าที่ ให้ช่วยกันทำการปรุงแต่งการแสดงออก หรือการกระทำทาง ทวาร ๓ คือ กาย วาจา ใจ เกิดเป็นกรรม คือการทำ การพูด การคิด

 ในกรณีนี้ สังขารจะถูกจัดประเภทเสียใหม่ให้สอดคล้องกับบทบาทของมัน โดย
 - แบ่งตามทางหรือทวารที่แสดงออก เป็นกายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร
 - เรียกตามชื่อหัวหน้าหรือตัวแทนว่า กายสัญเจตนา วจีสัญเจตนา และมโนสัญเจตนา หรือ
 - เรียกตามงานที่ทำออกมาว่า กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม แสดงให้เห็นง่ายขึ้น ดังนี้

๑. กายสังขาร        =  กายสัญเจตนา -------------  กายทวาร -- กายกรรม
[สภาพปรุงแต่งการกระทำทางกาย] = [ความจงใจ(แสดงออก)ทางกาย] [ทางกาย]  [การกระทำทางกาย]
๒. วจีสังขาร         = วจีสัญเจตนา  --------------- วจีทวาร -- วจีกรรม
[สภาพปรุงแต่งการกระทำทางวาจา] = [ความจงใจ(แสดงออก)ทางวาจา] [ทางวาจา][การกระทำทางวาจา]
๓. มโนสังขาร        =  มโนสัญเจตนา --------   มโนทวาร -- มโนกรรม
[สภาพปรุงแต่งการกระทำทางใจ]    = [ความจงใจ(แสดง)ทางใจ]  [ทางใจ] [การกระทำทางใจ]
สังขาร ในฐานะเครื่องแต่งคุณภาพหรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิต ได้กล่าวแล้วในเรื่องขันธ์ ๕
 ส่วน สังขาร ในฐานะกระบวนการปรุงแต่งแสดงออกและกระทำการต่างๆ ต่อโลก เป็นเรื่องกิจกรรมของชีวิต ซึ่งจะแสดงเป็นพิเศษส่วนหนึ่งต่างหาก ในตอนว่าด้วย “ชีวิตเป็นไปอย่างไร”

 ในที่นี้ มุ่งแสดงแต่สภาวะอันเนื่องอยู่ที่ตัวชีวิตเอง หรือองค์ประกอบของชีวิต พร้อมทั้งหน้าที่ของมันตามสมควร จึงจะกล่าวเฉพาะภาคที่ ๑ คือเรื่อง ทวาร ๖ ที่เรียกว่า อายตนะ ๖ อย่างเดียว
 
ตัวสภาวะ

 “อายตนะ” แปลว่า ที่ต่อ หรือแดน หมายถึงที่ต่อกันให้เกิดความรู้ แดนเชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือแหล่งที่มาของความรู้ แปลอย่างง่ายๆ ว่า ทางรับรู้ มี ๖ อย่าง ดังที่เรียกในภาษาไทยว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

 ที่ว่าต่อ หรือเชื่อมต่อ ให้เกิดความรู้นั้น ต่อ หรือ เชื่อมต่อกับอะไร ? ตอบว่า เชื่อมต่อกับโลก คือ สิ่งแวดล้อมภายนอก
 แต่โลกนั้นปรากฏลักษณะอาการแก่มนุษย์เป็นส่วนๆ ด้านๆ ไป เท่าที่มนุษย์จะมีแดนหรือเครื่องมือสำหรับรับรู้ คือ เท่าจำนวนอายตนะ ๖ ที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น

ดังนั้น อายตนะ ทั้ง ๖ จึงมีคู่ของมันอยู่ในโลก เป็นสิ่งที่ถูกรับรู้สำหรับแต่ละอย่างๆ โดยเฉพาะ
 สิ่งที่ถูกรับรู้ หรือลักษณะอาการต่างๆ ของโลก เหล่านี้ เรียกชื่อว่า    “อายตนะ” เหมือนกัน เพราะเป็นสิ่งที่เชื่อมต่อให้เกิดความรู้ หรือเป็นแหล่งความรู้ เช่นเดียวกัน แต่เป็นฝ่ายภายนอก

 เพื่อแยกประเภทจากกันไม่ให้สับสน ท่านเรียกอายตนะพวกแรกว่า “อายตนะภายใน” (แดนต่อความรู้ฝ่ายภายใน) และเรียกอายตนะพวกหลังนี้ว่า “อายตนะภายนอก” (แดนต่อความรู้ฝ่ายภายนอก)

อายตนะภายนอก ๖ อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต้องกาย และสิ่งที่ใจนึก โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า “อารมณ์” แปลว่า สิ่งอันเป็นที่สำหรับจิตมาหน่วงอยู่ หรือ สิ่งสำหรับยึดหน่วงของจิต แปลง่ายๆ ว่าสิ่งที่ถูกรับรู้ หรือสิ่งที่ถูกรู้นั่นเอง

 เมื่ออายตนะ (ภายใน) ซึ่งเป็นแดนรับรู้ กระทบกับอารมณ์ (อายตนะภายนอก) ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ก็จะเกิดความรู้จำเพาะด้านของอายตนะแต่ละอย่างๆ ขึ้น เช่น ตากระทบรูป เกิดความรู้เรียกว่า “เห็น” หูกระทบเสียง เกิดความรู้เรียกว่า “ได้ยิน” เป็นต้น

ความรู้จำเพาะแต่ละด้านนี้ เรียกว่า “วิญญาณ” แปลว่า ความรู้แจ้ง  คือรู้อารมณ์
 ดังนั้น จึงมี วิญญาณ ๖ อย่าง เท่ากับอายตนะและอารมณ์ ๖ คู่ คือ วิญญาณทางตา  ได้แก่ เห็น  วิญญาณทางหู ได้แก่ ได้ยิน  วิญญาณทางจมูก ได้แก่ ได้กลิ่น  วิญญาณทางลิ้น ได้แก่ รู้รส  วิญญาณทางกาย ได้แก่ รู้สิ่งต้องกาย วิญญาณทางใจ ได้แก่ รู้อารมณ์ทางใจ หรือรู้เรื่องในใจ

สรุปได้ว่า อายตนะ ๖ อารมณ์ ๖ และ วิญญาณ ๖  มีชื่อในภาษาธรรม และมีความสัมพันธ์กัน ดังนี้
๑.  จักขุ   - ตา  เป็นแดนรับรู้   รูป - รูป     เกิดความรู้คือ จักขุวิญญาณ - เห็น
๒.  โสตะ  - หู         ,,      สัททะ - เสียง            ,,    โสตวิญญาณ - ได้ยิน
๓.  ฆานะ – จมูก      ,,      คันธะ - กลิ่น           ,,    ฆานวิญญาณ - ได้กลิ่น
๔.  ชิวหา  – ลิ้น       ,,          รส - รส           ,,    ชิวหาวิญญาณ- รู้รส
๕.  กาย   –  กาย     ,,   โผฏฐัพพะ - สิ่งต้องกาย   ,,    กายวิญญาณ  - รู้สิ่งต้องกาย
๖.  มโน   –  ใจ       ,,      ธรรม  - เรื่องในใจ   ,,    มโนวิญญาณ  - รู้เรื่องในใจ

 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าวิญญาณจะต้องอาศัยอายตนะและอารมณ์กระทบกันจึงจะเกิดขึ้นได้  ก็จริง แต่การที่อารมณ์เข้ามาปรากฏแก่อายตนะ ก็มิใช่ว่าจะทำให้วิญญาณเกิดขึ้นได้เสมอไป จำต้องมี ความใส่ใจ ความกำหนดใจ หรือความใฝ่ใจประกอบอยู่ด้วย วิญญาณนั้นๆ จึงจะเกิดขึ้น

ดังตัวอย่าง ในบางคราว เช่น เวลาหลับสนิท เวลาฟุ้งซ่าน หรือใจลอยไปเสีย เวลาใจจดจ่อแน่วแน่อยู่กับกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ตลอดจนขณะอยู่ในสมาธิ รูปและเสียงเป็นต้น หลายๆ อย่างที่ผ่านเข้ามา อยู่ในวิสัยที่จะเห็น จะได้ยิน แต่หาได้เห็น หาได้ยินไม่

 อีกตัวอย่างง่ายๆ ขณะเขียนหนังสือ ใจจดจ่ออยู่ จะไม่รู้สึกส่วนของร่างกายที่แตะอยู่กับโต๊ะและเก้าอี้ ตลอดจนมือที่แตะกระดาษ และนิ้วที่แตะปากกาหรือดินสอ

 ในเมื่อมีอายตนะและอารมณ์เข้ามาถึงกันแล้ว แต่วิญญาณไม่เกิดขึ้นเช่นนี้  ก็ยังไม่เรียกว่าการรับรู้ได้เกิดขึ้น

 การรับรู้ จะเกิดขึ้น ต่อเมื่อมีองค์ประกอบเกิดขึ้นครบทั้ง ๓ อย่าง คือ อายตนะ อารมณ์ และวิญญาณ ภาวะนี้ในภาษาธรรมมีคำเรียกโดยเฉพาะว่า ผัสสะ” หรือ “สัมผัส”  แปลตามรูปศัพท์ว่า การกระทบ แต่มีความหมายทางธรรมว่า การประจวบหรือบรรจบพร้อมกันแห่งอายตนะ อารมณ์ และวิญญาณ พูดอย่างเข้าใจกันง่ายๆ ผัสสะ ก็คือ การรับรู้ นั่นเอง

 ผัสสะ หรือ สัมผัส หรือการรับรู้นี้ มีชื่อเรียกแยกเป็นอย่างๆ ไป ตามทางรับรู้  คืออายตนะนั้นๆ ครบจำนวน ๖  คือ  จักขุสัมผัส  โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส

 ผัสสะ เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการรับรู้ เมื่อผัสสะเกิดขึ้นแล้ว กระบวนธรรมก็ดำเนินต่อไป เริ่มแต่ความรู้สึกต่ออารมณ์ที่รับรู้เข้ามานั้น ปฏิกิริยาอย่างอื่นของจิตใจ การจำหมาย การนำอารมณ์นั้นไปคิดปรุงแต่ง ตลอดจนการแสดงออกต่างๆ ที่สืบเนื่องไปตามลำดับ

 ในกระบวนธรรมนี้ สิ่งที่ควรสนใจเป็นพิเศษในการศึกษาขั้นนี้ ก็คือ ความรู้สึกต่ออารมณ์ที่รับรู้เข้ามา ซึ่งเกิดขึ้นในลำดับถัดจากผัสสะนั้นเอง ความรู้สึกนี้ในภาษาธรรม เรียกว่า เวทนา” แปลว่า การเสวยอารมณ์ หรือ การเสพรสอารมณ์ คือความรู้สึกต่ออารมณ์ที่รับรู้เข้ามานั้น โดยเป็น สุขสบาย ไม่สบาย หรือเฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง

 เวทนานี้ ถ้าแบ่งตามทางรับรู้ ก็มี ๖ เท่าจำนวนอายตนะ คือ เวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางตา เวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางหู เป็นต้น
 แต่ถ้าแบ่งตามคุณภาพ จะมีจำนวน ๓ คือ
 ๑. สุข ได้แก่ สบาย ชื่นใจ ถูกใจ
 ๒. ทุกข์ ได้แก่ ไม่สบาย เจ็บปวด
 ๓. อทุกขมสุข ไม่ทุกข์ ไม่สุข คือเรื่อยๆ เฉยๆ ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า อุเบกขา อีกอย่างหนึ่ง แบ่งละเอียดลงไปอีกเป็น เวทนา ๕ อย่าง คือ
 ๑. สุข ได้แก่ สบายกาย
 ๒. ทุกข์ ได้แก่ ไม่สบายกาย เจ็บปวด
 ๓. โสมนัส ได้แก่ สบายใจ ชื่นใจ
 ๔. โทมนัส ได้แก่ ไม่สบายใจ เสียใจ และ
 ๕. อุเบกขา  ได้แก่ เฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์
 กระบวนการรับรู้เท่าที่กล่าวมานี้ เขียนให้เห็นง่ายๆ ได้ดังนี้
อายตนะ + อารมณ์ +    วิญญาณ    =   ผัสสะ -- เวทนา
ทางรับรู้  สิ่งที่ถูกรู้       ความรู้        การรับรู้   ความรู้สึกต่ออารมณ์
 ดังได้กล่าวแล้วว่า  อารมณ์ ก็คือโลกที่ปรากฏลักษณะอาการแก่มนุษย์ทางอายตนะต่างๆ การรับรู้อารมณ์เหล่านี้ เป็นสิ่งจำเป็นซึ่งช่วยให้มนุษย์มีความสามารถในการเกี่ยวข้องกับโลก ทำให้ชีวิตอยู่รอดและดำเนินไปด้วยดี

 ในกระบวนการรับรู้นี้  เวทนา ก็เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่ง โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องชี้บอกให้ทราบว่า อะไรเป็นอันตรายแก่ชีวิต ควรหลีกเว้น อะไรเกื้อกูลแก่ชีวิต ควรถือเอาประโยชน์ได้ เวทนาจึงช่วยให้กระบวนการรับรู้ที่ดำเนินต่อไป สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจที่ครบถ้วนบริบูรณ์ เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น

 แต่สำหรับมนุษย์ปุถุชน เวทนามิได้มีความหมายเพียงเท่านั้น คือมิใช่เพียงแค่ว่ากระบวนการรับรู้ได้มีส่วนประกอบเพิ่มเข้ามาอีกอย่างหนึ่ง ที่ช่วยเสริมความรู้ให้สมบูรณ์ อันจะทำให้มนุษย์มีความสามารถมากขึ้น ในการดำเนินชีวิตที่ดีงาม แต่เวทนา ยังหมายถึงการที่โลกมีอะไรอย่างหนึ่งเป็นผลตอบแทนหรือรางวัลแก่มนุษย์ ในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับโลกด้วย ผลตอบแทนที่ว่านี้ คือความเอร็ดอร่อย ความชื่นใจที่เกิดจากอารมณ์ ซึ่งเรียกว่า สุขเวทนา

 ในกรณีที่กระบวนการรับรู้ดำเนินมาตามลำดับ จนถึงเวทนา ถ้ามนุษย์หันเข้าจับเวทนาไว้ตามความหมายในแง่นี้ มนุษย์ก็จะหันเหออกไปจากกระบวนการรับรู้ ทำให้กระบวนธรรมอีกอย่างหนึ่งได้โอกาสเข้ามารับช่วงแล่นต่อไปแทนที่ โดยเวทนาจะกลายเป็นปัจจัยตัวเอกที่จะก่อให้เกิดผลสืบเนื่องต่อไป พร้อมกันนั้น กระบวนการรับรู้ ซึ่งกลายไปเป็นส่วนประกอบและเดินควบไปด้วย ก็จะถูกกำลังจากกระบวนธรรมใหม่นี้บีบคั้น ให้บิดเบือนและเอนเอียงไปจากความเป็นจริง

 กระบวนธรรมรับช่วงที่ว่านี้ มักดำเนินไปในแบบง่ายๆ พื้นๆ คือ เมื่อรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เกิดความรู้สึกสุขสบายชื่นใจ ( ?? ? ? เวทนา) ก็อยากได้ (ตัณหา) เมื่ออยากได้ ก็ติดใจพัวพันจนถึงขั้นยึดติดถือมั่น (อุปาทาน) ค้างใจอยู่ไม่อาจวางลงได้ ทั้งที่ตามความเป็นจริงไม่อาจถือเอาไว้ได้ เพราะสิ่งนั้นๆ ล่วงเลยผ่านพ้นหมดไปแล้ว
 จากนั้น ก็เกิดความครุ่นคิดสร้างภาพต่างๆ ที่จะให้ตนอยู่ในภาวะครอบครองอารมณ์อันให้เกิดสุขเวทนานั้น พร้อมทั้งคิดปรุงแต่งสร้างวิธีการที่จะให้ได้อารมณ์และสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์นั้น แล้วลงมือกระทำการต่างๆ ทางกายบ้าง วาจาบ้าง เพื่อให้ได้มาซึ่งผลที่ต้องการ เพื่อจะได้เวทนาที่ชอบใจนั้นยิ่งๆ ขึ้นไปอีก

 ในทางตรงข้าม ถ้ารับรู้อารมณ์ใดแล้ว เกิดความรู้สึกทุกข์ เจ็บปวด ไม่สบาย (ทุกข-เวทนา) ก็ไม่ชอบใจ ขัดเคือง อยากจะพ้นไป หรือให้มันสูญสิ้นไป อยากทำลาย (ตัณหา) ผูกใจ ปักใจ ค้างใจกับสิ่งนั้น (อุปาทาน) ในทางร้าย ที่จะชิงชัง เกลียดกลัว หลีกหนี อย่าให้พบเห็นอีก เป็นต้น พร้อมกับเกิดเป็นปฏิกิริยา ให้ยิ่งยึดมั่นฝันหาผูกใจมั่นหมาย ที่จะให้พบให้ได้สุขเวทนาและสิ่งที่หวังว่าจะให้สุขเวทนาแก่ตนยิ่งขึ้นไปอีก

 ในกระบวนการนี้ ก็จึงบังเกิดเป็นสุขทุกข์แบบซับซ้อนรุนแรงเข้มข้น ที่เป็นผลเสกสรรค์ของมนุษย์เอง ซึ่งหมุนเวียนเข้าวงจรที่เริ่มจากเวทนาใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า กลายเป็นสังสารวัฏ วนอยู่อย่างนั้น ไม่สามารถก้าวต่อไปสู่ผลเลิศอย่างอื่น ที่ชีวิตนี้ยังสามารถเข้าถึงได้ยิ่งกว่านั้นขึ้นไป

36  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / Re: พุทธธรรม :ภาค ๑ มัชเฌนธรรมเทศนา (ป. อ. ปยุตฺโต) เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2556 09:35:33



ภาค ๑ มัชเฌนธรรมเทศนา
หลักความจริงที่เป็นกลางตามธรรมชาติ หรือธรรมที่เป็นกลาง
ชีวิตคืออะไร...?
ชีวิตเป็นอย่างไร ?
ชีวิตเป็นไปอย่างไร ?


ภาค ๒ มัชฌิมาปฏิปทา
บทเพิ่มเติม

ชีวิตคืออะไร ?
ก. ขันธ์ ๕ ส่วนประกอบห้าอย่างของชีวิต
ข. อายตนะ ๖ แดนรับรู้และเสพเสวยโลก

ก. ขันธ์ ๕ ส่วนประกอบห้าอย่างของชีวิต
ตัวสภาวะ

 พุทธธรรมมองเห็นสิ่งทั้งหลายในรูปของส่วนประกอบต่างๆ ที่มาประชุมกันเข้า ตัวตนแท้ๆ ของสิ่งทั้งหลายไม่มี เมื่อแยกส่วนต่างๆ ที่มาประกอบกันเข้านั้นออกไปให้หมด ก็จะไม่พบตัวตนของสิ่งนั้นเหลืออยู่ ตัวอย่างง่ายๆ ที่ยกขึ้นอ้างกันบ่อยๆ คือ “รถ” เมื่อนำส่วนประกอบต่างๆ มาประกอบเข้าด้วยกันตามแบบที่กำหนด ก็บัญญัติเรียกกันว่า “รถ”  แต่ถ้าแยกส่วนประกอบทั้งหมดออกจากกัน ก็จะหาตัวตนของรถไม่ได้ มีแต่ส่วนประกอบทั้งหลาย ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กันจำเพาะแต่ละอย่างอยู่แล้ว คือ ตัวตนของรถมิได้มีอยู่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านั้นมีแต่เพียงคำบัญญัติว่า “รถ” สำหรับสภาพที่มารวมตัวกันเข้าของส่วนประกอบเหล่านั้น

 แม้ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆ นั้นเอง ก็ปรากฏขึ้นโดยการรวมกันเข้าของส่วนประกอบย่อยๆ ต่อๆ ไปอีก และหาตัวตนที่แท้ไม่พบเช่นเดียวกัน เมื่อจะพูดว่าสิ่งทั้งหลายมีอยู่ ก็ต้องเข้าใจในความหมายว่า มีอยู่ในภาวะของส่วนประกอบต่างๆ ที่มาประชุมเข้าด้วยกัน
 เมื่อมองเห็นสภาพของสิ่งทั้งหลายในรูปของการประชุมส่วนประกอบเช่นนี้ พุทธธรรมจึงต้องแสดงต่อไปว่า ส่วนประกอบต่างๆ เหล่านั้นเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง อย่างน้อยก็พอเป็นตัวอย่าง และโดยที่พุทธธรรมมีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเรื่องชีวิต โดยเฉพาะในด้านจิตใจ การแสดงส่วนประกอบต่างๆ จึงต้องครอบคลุมทั้งวัตถุและจิตใจ หรือทั้งรูปธรรมและนามธรรม และแยกแยะเป็นพิเศษในด้านจิตใจ
 การแสดงส่วนประกอบต่างๆ นั้น ย่อมทำได้หลายแบบ สุดแต่วัตถุประสงค์จำเพาะของการแสดงแบบนั้นๆ  แต่ในที่นี้ จะแสดงแบบขันธ์ ๕ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมในพระสูตร

 โดยวิธีแบ่งแบบ ขันธ์ ๕ (the Five Aggregates) พุทธธรรมแยกแยะชีวิตพร้อมทั้งองคาพยพทั้งหมด ที่บัญญัติเรียกว่า “สัตว์” “บุคคล” ฯลฯ ออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ ๕ ประเภท หรือ ๕ หมวด เรียกทางธรรมว่า เบญจขันธ์ คือ
 ๑. รูป  (Corporeality) ได้แก่ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด ร่างกายและพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือ สสารและพลังงานฝ่ายวัตถุ พร้อมทั้งคุณสมบัติ และพฤติการณ์ต่างๆ ของสสารพลังงานเหล่านั้น
 ๒. เวทนา  (Feeling หรือ Sensation) ได้แก่ความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ ซึ่งเกิดจากผัสสะทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ
 ๓. สัญญา  (Perception) ได้แก่ความกำหนดได้ หรือหมายรู้ คือ กำหนดรู้อาการเครื่องหมายลักษณะต่างๆ อันเป็นเหตุให้จำอารมณ์  (object) นั้นๆ ได้
 ๔. สังขาร  (Mental Formations หรือ Volitional Activities) ได้แก่องค์ประกอบหรือคุณสมบัติต่างๆ ของจิต ที่ปรุงแต่งจิตให้ดีหรือชั่ว หรือเป็นกลางๆ โดยมีเจตนาเป็นตัวนำ พูดง่ายๆ ว่า ความนึกคิดดีชั่วต่างๆ เช่น ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา  ปัญญา โมหะ โทสะ โลภะ มานะ ทิฏฐิ อิสสา มัจฉริยะ เป็นต้น
 ๕. วิญญาณ  (Consciousness) ได้แก่ความรู้แจ้งอารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ และทางใจ คือ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส  การรู้สัมผัสทางกาย และการรู้อารมณ์ทางใจ
ขันธ์ ๕ กับอุปาทานขันธ์ ๕ หรือชีวิตกับชีวิตซึ่งเป็นปัญหา
 ในพุทธพจน์แสดงความหมายของอริยสัจ ๔   ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ประมวลใจความทั้งหมดของพระพุทธศาสนา มีข้อความที่น่าสังเกตเป็นพิเศษเกี่ยวกับขันธ์ ๕ ปรากฏอยู่ในอริยสัจข้อที่ ๑ คือ ข้อว่าด้วยทุกข์

 ในอริยสัจข้อที่ ๑   นั้น ตอนต้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงความหมายหรือคำจำกัดความของทุกข์ ด้วยวิธียกตัวอย่างเหตุการณ์ต่างๆ ที่มองเห็นได้ง่ายและมีอยู่เป็นสามัญในชีวิตของบุคคล ขึ้นแสดงว่าเป็นความทุกข์แต่ละอย่างๆ แต่ในตอนท้าย พระองค์ตรัสสรุปลงเป็นข้อเดียวว่า อุปาทาน-ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดังพุทธพจน์ว่า

 ภิกษุทั้งหลาย นี้คือ ทุกขอริยสัจ: ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความตายเป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

 พุทธพจน์นี้ นอกจากแสดงถึงฐานะของขันธ์ ๕ ในพุทธธรรมแล้ว ยังมีข้อสังเกตสามัญ คือ ความหมายของ “ทุกข์” นั้น จำง่ายๆ ด้วยคำสรุปที่สั้นที่สุดว่า คือ อุปาทานขันธ์ ๕ หรือเบญจอุปาทานขันธ์เท่านั้น และคำว่าขันธ์ในที่นี้มี “อุปาทาน” นำหน้าด้วย

 สิ่งที่ควรศึกษาในที่นี้ ก็คือคำว่า “ขันธ์” กับ “อุปาทานขันธ์” ซึ่งขอให้พิจารณาตามพุทธพจน์ต่อไปนี้
 ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์ ๕ เธอทั้งหลายจงฟัง
 ขันธ์ ๕ เป็นไฉน? รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม...เหล่านี้ เรียกว่า ขันธ์ ๕

 อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? รูป...เวทนา…สัญญา...สังขาร...วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในก็ตาม ภายนอกก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม ทรามก็ตาม ประณีตก็ตาม ไกลหรือใกล้ก็ตาม ที่ประกอบด้วยอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน...เหล่านี้ เรียกว่า อุปาทานขันธ์ ๕

 รูป...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ คือธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน  ฉันทราคะ (ความกระสันอยาก)  ในรูป...เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ นั้นคือ อุปาทานใน (สิ่ง) นั้นๆ
 หลักดังกล่าวนี้ เป็นพื้นฐานความเข้าใจที่สำคัญอย่างหนึ่ง ในการศึกษาพุทธธรรมต่อไป
 
คุณค่าทางจริยธรรม
 ตามปกติ มนุษย์มีความโน้มเอียงที่จะยึดถืออยู่เสมอว่า ตัวตนที่แท้ของตนมีอยู่ในรูปใดรูปหนึ่ง บ้างก็ยึดเอาจิตเป็นตัวตน  บ้างก็ยึดว่า มีสิ่งที่เป็นตัวตนอยู่ต่างหากแฝงซ้อนอยู่ในจิตนั้น ซึ่งเป็นเจ้าของ และเป็นตัวการที่คอยควบคุมบังคับบัญชากายและใจนั้นอีกชั้นหนึ่ง

การแสดงขันธ์ ๕ นี้ มุ่งให้เห็นว่าสิ่งที่เรียกว่า “สัตว์” “บุคคล” “ตัวตน” เป็นต้นนั้น เมื่อแยกออกไปแล้วก็จะพบแต่ส่วนประกอบ ๕ ส่วนเหล่านี้เท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นเหลืออยู่ที่จะมาเป็นตัวตนต่างหากได้ และแม้ขันธ์ ๕ เหล่านั้นแต่ละอย่าง ก็มีอยู่เพียงในรูปที่สัมพันธ์อิงอาศัยกัน ไม่เป็นอิสระ ไม่มีโดยตัวของมันเอง ดังนั้นขันธ์ ๕ แต่ละอย่างๆ นั้นก็ไม่ใช่ตัวตนอีกเช่นกัน

 รวมความว่า หลักขันธ์ ๕ แสดงถึงความเป็น อนัตตา ให้เห็นว่าชีวิตเป็นการประชุมเข้าของส่วนประกอบต่างๆ หน่วยรวมของส่วนประกอบเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ตัวตน ส่วนประกอบแต่ละอย่างๆ นั้นเอง ก็ไม่ใช่ตัวตน และสิ่งที่เป็นตัวตนอยู่ต่างหากจากส่วนประกอบเหล่านี้ก็ไม่มี เมื่อมองเห็นเช่นนั้นแล้ว ก็จะถอนความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องตัวตนได้ ความเป็นอนัตตานี้จะเห็นได้ชัดต่อเมื่อเข้าใจกระบวนการของขันธ์ ๕ ในวงจรแห่งปฏิจจสมุปบาทที่จะกล่าวต่อไป

 อนึ่ง เมื่อมองเห็นว่า ขันธ์ ๕ มีอยู่อย่างสัมพันธ์และอาศัยซึ่งกันและกัน ก็จะไม่เกิดความเห็นผิดว่าขาดสูญ ที่เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ และความเห็นผิดว่าเที่ยง ที่เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ นอกจากนั้นเมื่อรู้ว่าสิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตนและมีอยู่อย่างสัมพันธ์อาศัยกันและกันเช่นนี้แล้ว ก็จะเข้าใจหลักกรรมโดยถูกต้องว่าเป็นไปได้อย่างไร กระบวนการแห่งความสัมพันธ์และอาศัยกันของสิ่งทั้งหลายนี้มีคำอธิบายอยู่ในหลักปฏิจจสมุปบาทเช่นเดียวกัน

 อีกประการหนึ่ง การมองสิ่งทั้งหลายโดยวิธีแยกส่วนประกอบออกไปอย่างวิธีขันธ์ ๕ นี้ เป็นการฝึกความคิด หรือสร้างนิสัยที่จะใช้ความคิดแบบวิเคราะห์ความจริง คือ เมื่อประสบหรือเข้าเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ ความคิดก็ไม่หยุดตันตื้อ ยึดถือเฉพาะรูปลักษณะภายนอกเท่านั้น เป็นการสร้างนิสัยชอบสอบสวนสืบค้นหาความจริง และที่สำคัญยิ่งคือ ทำให้รู้จักมองสิ่งทั้งหลายตามภาวะล้วนๆ ของมัน หรือตามแบบสภาววิสัย (objective) คือมองเห็นสิ่งทั้งหลาย “ตามที่มันเป็น” ไม่นำเอาตัณหาอุปาทานเข้าไปจับ อันเป็นเหตุให้มองเห็นตามที่อยากหรือไม่อยากให้มันเป็น อย่างที่เรียกว่า สกวิสัย (subjective)

 คุณค่าอย่างหลังนี้ นับว่าเป็นการเข้าถึงจุดหมายที่ต้องการของพุทธธรรมและของหลักขันธ์ ๕ นี้ คือการไม่ยึดมั่นถือมั่น การไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งทั้งหลายด้วยการใช้ตัณหาอุปาทาน แต่เข้าไปเกี่ยวข้องจัดการด้วย ปัญญา

 อย่างไรก็ดี ในการแสดงพุทธธรรมนั้น ตามปกติท่านไม่แสดงเรื่องขันธ์ ๕  โดยลำพังโดดๆ เพราะขันธ์ ๕  เป็นแต่สภาวะที่ยกขึ้นเป็นตัวตั้งสำหรับพิจารณา และการพิจารณานั้นย่อมเป็นไปตามแนวแห่งหลักธรรมอย่างอื่น ที่เป็นประเภทกฎสำหรับนำมาจับหรือกำหนดว่าขันธ์ ๕ มีสภาวะเป็นอย่างไร มีความเป็นไปอย่างไร เป็นต้น คือ ต้องแสดงโดยสัมพันธ์กับหลักธรรมชาติอย่างอื่น เช่น หลักอนัตตา เป็นต้น จึงจะปรากฏคุณค่าในทางปฏิบัติโดยสมบูรณ์ ดังนั้น จึงขอยุติเรื่องขันธ์ ๕ ไว้เพียงในฐานะสิ่งที่ยกขึ้นเป็นตัวตั้งสำหรับนำไปพิจารณากันในหลักต่อๆ ไป

37  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / Re: คัมภีร์ ภควัทคีตา.. บทเพลงแห่งองค์ภควัน.. (บทอวสาน) เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2556 09:20:26

























ภควัทคีตา
บทเพลงแห่งองค์ภควัน
สมภาร พรมทา แปล
และเรียบเรียง

บทอวสาน 
                      สัญชัยกราบทูลราชาธฤตราษฎร์เป็นการสรุปเนื้อความที่ตนเล่าทั้งหมดว่า       
                      ข้าได้ฟังอนุศาสนธรรมที่องค์กฤษณะประทานแก่อรชุนแล้วขนหัวของข้าพลันเกิดอาการลุกชูชัน!       
                      เพราะความกรุณาของท่านวยาส ข้าจึงได้มีโอกาสสดับฟังเรื่องราวอันลี้ลับ กล่าวคือโยคธรรมที่องค์กฤษณะเจ้าทรงประทานอรรถาธิบายด้วยพระองค์เองนี้
       
                      ข้าแต่ราชัน! บัดนี้ยังรำลึกได้ถึงอนุศาสนกถาอันมหัศจรรย์ยิ่งนั้น! และเมื่อใดที่ข้าหวนรำลึกถึง เมื่อนั้นหัวใจของข้าจะอิ่มเต็มด้วยปีติสุขจนเอ่อล้น!
       
                      ข้ายังจำได้ถึงรูปอันวิจิตรพิสดาร ที่องค์หริกฤษณะทรงเนรมิตให้ปรากฏ!       
                      ข้าแต่มหาราช! ข้าตื้นตันเหลือเกิน!
       
                      สถานที่ใดมีองค์กฤษณะผู้ยิ่งใหญ่สถิตอยู่เคียงข้างกับอรชุนจอมนักรบ สถานที่นั้นย่อมประสบโชค มีชัยต่ออุปสรรค เป็นสถานที่อันร่มเย็น และประกอบด้วยนิติธรรมโดยไม่ต้องสงสัย       
                      ข้าเชื่อเช่นนี้


ภควัทคีตา จบบริบูรณ์
โอม ตัต สัต!
     


: http://agaligohome.com/index.php?board=62.0
นำมาแบ่งปันโดย.. baby@home
Pics by : Google
สุขใจดอทคอม * อกาลิโกโฮม
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต

กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานนี้ ขอจงเป็นบุญเป็นปัจจัย
แด่ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานเหล่านี้ ทุกๆท่าน
รวมทั้งท่านเจ้าของภาพ ทุกๆภาพ เรียนขออนุญาตใช้ภาพ

ไว้ ณ ที่นี้... นะคะ
อนุโมทนาสาธุ.. ที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

38  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / Re: คัมภีร์ ภควัทคีตา.. บทเพลงแห่งองค์ภควัน.. (บทที่สิบแปด ต่อค่ะ) เมื่อ: 25 กุมภาพันธ์ 2556 08:35:12






ต่อค่ะ
                      ความสุขใดกว่าจะได้มาต้องเอาความทุกข์ยากบากบั่นเข้าแลกโดยที่ความเพียรพยายามนั้นเกิดจากความเข้าใจอย่างแน่ชัดในอาตมัน ความสุขชนิดนี้ในเบื้องต้นจะต้องผ่านความทรมานเหมือนการดื่มยาพิษ ครั้นผ่านความยากเข็ญนั้นแล้ว ผลในเบื้องปลายจะเป็นความสุขอันนิรันดร์เสมือนการได้ดื่มน้ำอมฤต ความสุขอย่างนี้แลอรชุนจัดเป็นสุขอันประกอบด้วยสัตตวะ
                      ความสุขใดเกิดจากประสาทสัมผัสกระทบกับวัตถุและอารมณ์ที่น่าพอใจ เป็นความสุขที่ให้ความรื่นรมย์ในเบื้องต้นเหมือนได้อาบกินน้ำอมฤต ต่อไม่นานก็แปรเปลี่ยนเป็นทุกข์ประหนึ่งได้ดื่มกินยาพิษเพราะเป็นสุขที่ไม่ แน่นอน สุขชนิดนี้จัดเป็นสุขอันประกอบด้วยรชะ
                      ส่วนสุขใดเมื่อเกิดขึ้นแก่ใครแล้วทำให้คนผู้นั้นหลงลืมตัวเอง สุขชนิดนี้จัดเป็นสุขอันประกอบด้วยตมะ
                      สรรพสัตว์ไม่ว่าจะบนผืนโลกหรือสรวงสวรรค์ ไม่มีเลยที่จะปลอดพ้นไปจากการครอบงำของคุณะทั้งสาม อันได้แก่ สัตตวะ รชะ และตมะนี้!

                      อรชุน! คุณะนี้อีกนัยหนึ่งก็คือ ตัวกำหนดความแตกต่างของมนุษย์ การที่มนุษย์ที่เกิดมาต้องแบ่งแยกกันออกเป็นพราหมณ์บ้าง กษัตริย์บ้าง แพศย์บ้าง ศูทรบ้าง ก็เพราะคุณะกล่าวคือธรรมชาติพื้นฐานที่เป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของพวกเขาไม่เหมือนกัน
                      พวกที่ได้เป็นพราหมณ์ก็เนื่องด้วยพื้นฐานชีวิตของคนเหล่านี้เป็นคนชอบความ สงบ มีความอดทน ควบคุมตนเองได้ นิสัยสุขุม ละเอียดอ่อน และรักการบำเพ็ญเพียร
                      พวกที่ได้เป็นกษัตริย์ก็เนื่องด้วยพื้นฐานชีวิตของคนเหล่านี้เป็นคนกล้าหาญ เข้มแข็งอดทน รักการรบราฆ่าฟัน และมีนิสัยชอบการเป็นผู้นำ
                      พวกที่เกิดเป็นแพศย์ก็มีพื้นฐานชีวิตชอบการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และค้าขาย
                      ส่วนพวกที่เกิดในวรรณะศูทรก็มีพื้นฐานชีวิตชอบการบริการรับใช้ผู้อื่น

                      พื้นฐานชีวิตอันได้แก่คุณะย่อมจำแนกหน้าที่ของคนด้วยประการฉะนี้ ผู้ใดอุทิศตนให้แก่หน้าที่โดยไม่บกพร่อง ผู้นั้นย่อมประสบความสมบูรณ์แห่งชีวิตได้ ไม่ว่าเขาจะเกิดในวรรณะสูงหรือต่ำก็ตาม
                      เพราะปรมาตมันคือต้นกำเนิดของสรรพสิ่ง เมื่อบุคคลบูชาปรมาตมันอันเป็นต้นกำเนิดของตนด้วยการปฏิบัติตามหน้าที่ของตัวโดยไม่ขาดตก เขาย่อมบรรลุความสมบูรณ์ของชีวิต
                      หน้าที่ของตนที่บุคคลปฏิบัติได้บริบูรณ์ไม่บกพร่อง ย่อมนำไปสู่บูรณภาพแห่งชีวิต เพราะผู้รู้จักหน้าที่ของตนย่อมไม่กระทำสิ่งที่ผิดพลาด

                      อรชุน! คนเรานั้นเมื่อเกิดมาก็มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติเกิดตามมาด้วย หน้าที่นั้นบางคราวอาจก่อความยากลำบากก็ไม่พึงละทิ้ง อันการริเริ่มกระทำกิจทุกอย่างย่อมมีความยากลำบากเป็นธรรมดา อุปมาเหมือนเมื่อเริ่มก่อไฟย่อมมีควันกลุ้มรุมกระนั้น       
                      ผู้ใดไม่จมอยู่ในสิ่งเหนี่ยวดึงจิตใจให้หมกมุ่น เอาชนะตนเองได้และสามารถกำจัดความทะยานอยากให้สิ้นไปจากจิตใจ ผู้นั้นย่อมบรรลุถึงแดนสงบชั่วนิรันดร์       
                      อรชุน! จงฟัง! เราจะอธิบายให้ท่านฟังว่าเหตุใดผู้ที่บรรลุความสมบูรณ์แห่งชีวิตจึงได้ชื่อว่าบรรลุถึงพรหมภาวะด้วย
       
                      อรชุน! บุคคลใดเป็นผู้มีปัญญา มีความบริสุทธิ์ควบคุมความรู้สึกได้เมื่อกระทบกับอารมณ์ต่างๆ ไม่ยินดีหรือเสียใจเมื่อประสบความสมหวังหรือพลาดหวัง ชอบความสงบเงียบ ตั้งมั่นในโยคธรรม ละความยึดติดในตัวตนได้ และจิตใจสงบเยือกเย็น ผู้นั้นชื่อว่าบรรลุถึงพรหมภาวะ       
                      ผู้เข้าถึงพรหมภาวะแล้วย่อมมีใจผ่องใส เมื่อประสบความล้มเหลวในชีวิตก็ไม่เศร้าเสียใจ เขาย่อมไม่ปรารถนาความมั่งคั่งหรือชื่อเสียงเกียรติยศใดๆ จิตใจจะวางเป็นกลางเสมอในสรรพสิ่ง และคนเช่นนี้จะเป็นผู้ภักดีอย่างมั่นคงในเรา

       
                      ด้วยความภักดีนั้น เขาย่อมรู้ซึ้งถึงภาวะของเราทุกแง่ทุกมุม และอาศัยการรู้จักเรานั่นเอง เขาย่อมร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับเรา       
                      ผู้ที่เข้าร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับเราเมื่อกระทำกิจอันใดลงไป ย่อมจะบรรลุถึงความสำเร็จสมประสงค์ทุกประการ ทั้งนี้ก็ด้วยความกรุณาช่วยเหลือจากเรา ซึ่งพร้อมเสมอที่จะช่วยเหลือบุคคลเช่นนั้นให้ก้าวหน้าสู่สิ่งดีงาม อันมีอมตศานติสถานเป็นที่สุด       
                      เพราะฉะนั้น จงสลัดกรรมทั้งปวงไว้ที่เรา แล้วนับถือเอาเราเป็นสิ่งสูงสุดในชีวิตเถิดอรชุน!

                      เมื่อท่านน้อมจิตเข้ามาไว้ในเรา ท่านจักข้ามพ้นจากความทุกข์ทั้งมวล แต่ถ้าท่านถือดีไม่เชื่อฟังเราเพราะความจองหอง ท่านก็จักพบความวิบัติอย่างใหญ่หลวง!       
                      อรชุน! การที่ท่านคิดว่าจะไม่รบเพราะเห็นว่าฝ่ายข้าศึกล้วนแต่เป็นญาติพี่น้องตลอด จนคนรู้จักกันนั้นเป็นความคิดที่ผิดมหันต์       
                      เพราะไม่มีใครในโลกจะหลีกเลี่ยงจากการกระทำกรรมได้!

                      แม้ว่าท่านไม่ปรารถนาจะทำกรรม ความเป็นไปของชีวิตก็จะบังคับให้ท่านจะทำมันเอง ชีวิตทุกชีวิตบนผืนแผ่นดินล้วนแต่ถูกสร้างมา เพื่อให้กระทำกรรมทั้งสิ้น
       อรชุน! องค์อิศวรเจ้าผู้ทรงสถิตอยู่กลางหทัยของสรรพสัตว์คือผู้ควบคุมให้สัตว์ทั้งหลายหมุนเหวี่ยงไปใน
                      ทุกชีวิตบนผืนแผ่นดินเปรียบได้ดังหุ่นยนต์ที่ถูกควบคุมให้เดินไปในทิศทางที่ องค์อิศวรทรงต้องการ ไม่มีผู้ใดอยู่นอกเหนือจากการควบคุมนั้น
                      ด้วยเหตุนี้แลอรชุน! สมควรที่ท่านจะพึงน้อมรับเอาองค์ปรมาตมันผู้สูงสุดนั้นเป็นที่พึ่ง แล้วท่านจักพบกับความสุขชั่วนิรันดร์

       
                      ชญาอันลึกลับยิ่งกว่าสิ่งลี้ลับใดๆ ในโลกเราได้แสดงแก่ท่านแล้ว จงไตร่ตรองถึงสิ่งที่เราได้บอกแก่ท่าน แล้วกระทำตามที่ท่านเห็นว่าเหมาะสมเถิด
                      จงฟังเราอีกครั้ง! เราจะบอกสิ่งลี้ลับอย่างยิ่งแก่ท่านอีกครั้ง เพราะท่านทำตัวให้เราพอใจดอกนะ เราจึงได้บอกสิ่งอันเป็นประโยชน์แก่ท่าน
                      จงน้อมใจมาที่เรา! จงภักดีต่อเรา! จงบูชาเรา!       
                      เมื่อท่านรับเอาเราเป็นที่พึ่งสูงสุดในชีวิตแล้ว ท่านจักได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งเดียวกับเรา

                      จงละทิ้งสิ่งที่ท่านเคยเคารพทั้งปวงเสีย แล้วหันมายึดเอาเราเป็นที่พึ่งแทนเถิด เราจะช่วยปลดเปลื้องตัวท่านออกจากบาปทุกอย่างที่ได้กระทำมา       
                      ที่เราชักชวนท่านเช่นนี้ก็ด้วยเห็นว่าท่านมีอุปนิสัยโน้มเอียงไปในทางที่ดี หากเป็นคนที่ไม่ใส่ใจต่อการบังคับตนเอง หรือเป็นคนว่ายากสอนยากแล้ว จะจะไม่ชวนให้เสียเวลาเลย
       
                      อนึ่ง บุคคลใดนอกจากจะศรัทธาในเราแล้ว ยังชักชวนคนอื่นให้ศรัทธาด้วย บุคคลนั้นนับว่าเข้าถึงเราแล้วโดยบริบูรณ์ทุกประการ

                      ในโลกนี้ไม่มีผู้ใดจะกระทำความดีได้ยิ่งไปกว่า ผู้ศรัทธาในเราแล้วชักชวนให้ ผู้อื่นศรัทธาด้วยนี้ คนเช่นนี้เป็นผู้ที่เราโปรดปรานที่สุด       
                      เรื่องที่เราสองคนสนทนากันมาตั้งแต่ต้นนี้ หากใครได้ยินได้ฟังจนบังเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง เขาย่อมจะไม่รีรอเลยที่จะนับถือเอาเราเป็นสรณะ       
                      เป็นความจริงทีเดียวที่ใครก็ตามหากได้ฟังอนุศาสนธรรมของเราแล้วมีใจศรัทธา เชื่อมั่นน้อมนำเอาสิ่งที่เราสั่งสอนไปปฏิบัติ ผู้นั้นย่อมบรรลุถึงโมกษะความหลุดพ้น ก้าวเข้าสู่ศุภโลกอันเป็นบรมสุขสถานชั่วกาลนิรันดร
                      อรชุน! ท่านเล่า! ท่านได้ฟังอนุศาสนธรรมของเราแล้วมิใช่หรือ! บัดนี้ความสงสัยในใจของท่านยังมีอยู่หรือ!

                      อรชุนตอบว่า       
                      ข้าแต่องค์กฤษณะ! ข้าหายสงสัยแล้ว! เวลานี้จิตใจของข้าปลอดโปร่งขึ้นมาก! ข้าพร้อมที่จะกระทำตามคำสั่งของพระองค์









39  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: มาฆบูชา ๒๕๕๖ ...สักการะ ๒๕ พระบรมธาตุ ภาคใต้ เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2556 00:38:25




มาฆบูชา ๒๕๕๖ ...สักการะ ๒๕ พระบรมธาตุ ภาคใต้ เพื่อความเป็นสิริมงคล

ชุมพร
๑. วัดพระธาตุสวี (พระธาตุกาวี) ต.สวี อ.สวี
๒. วัดพระธาตุขวัญเมือง ต.นาโพธิ์ อ.สวี
๓. พระธาตุเจดีย์ถ้ำเขาเงิน ต.ขันเงิน อ.หลังสวน (รัชกาลที่ ๕ ทรงบูรณะเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๒)

สุราษฎร์ธานี
๑. วัดพระบรมธาตุไชยา ต.ในเวียง อ.ไชยา
๒. พระธาตุเจดีย์ศรีสุราษฏร์ อ.เมือง

พังงา
๑. พระมหาธาตุเจดีย์วัดคีรีเขต (วัดลุ่ม) ต.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า
๒. พระมหาธาตุเจดีย์พุทธธรรมบันลือ(พระทันตธาตุ) วัดราษฎร์อุปถัมภ์ ต.บางเหรียง อ.ทับปุด

นครศรีธรรมราช
๑. วัดพระมหาธาตุ อ.เมือง (พระเขี้ยวแก้ว)
 ๒. วัดธาตุน้อย บ.จันดี ต.หลักช้าง อ.ช้างกลาง

พัทลุง
๑. พระเจดีย์วัดเขาเมืองเก่า ต.ชัยบุรี อ.เมือง
๒. พระธาตุเจดีย์วัดสะทัง ต.หานโพธิ์ อ.เขาชัยสน
๓. พระธาตุเจดีย์วัดเขียนบางแก้ว ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

สงขลา
๑. พระมหาธาตุเจดีย์เขาตังกวน อ.เมือง
๒. พระมหาธาตุเจดีย์วัดเก้าแสน ต.เขารูปช้าง อ.เมือง
๓. พระมหาธาตุเจดีย์วัดชะแล้ ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร
๔. พระศรีรัตนมหาธาตุเจดีย์ วัดจะทิ้งพระ ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ
๕. พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีมหาธาตุ วัดพะโคะ ต.ชุมพล อ.สทิงพระ
๖. วัดพระเจดีย์งาม ต.บ่อพรุ อ.ระโนด
๗. พระธาตุวัดคงคาเลียบ ต.ควนลัง อ.หาดใหญ่

ปัตตานี
๑. พระธาตุเจดีย์วัดช้างให้ ต.ป่าไร่ อ.โคกโพธิ์
๒. พระธาตุเจดีย์เขามะรวด ต.บ้านกลาง อ.ปะนาเระ

นราธิวาส
๑. พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล อ.เมือง (สร้างทับพระเจดีย์เก่าบนเขากง)
๒. วัดขวัญประชา ต.สุไหงโกลก อ.สุไหงโกลก
๓. วัดชลธาราสิงเห ต.เจ๊าะเห อ.ตากใบ

ยะลา
๑. พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ วัดพุทธาธิวาส ต.เบตง อ.เบตง

สะตอฟอร์ยูดอทคอม (Sator4U.com FC)
*http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=7885.0

40  สุขใจในธรรม / เกร็ดศาสนา / Re: วันมาฆบูชา ปรากฏการณ์มหัศจรรย์ที่โลกต้องจารึก เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2556 00:21:26



“วันมาฆบูชา” ปีนี้ตรงกับวันจันทร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์พิเศษที่มาบรรจบกัน ๔ ประการ หรือที่เรารู้จักกันดีว่า “จาตุรงคสันนิบาต” เหตุการณ์อัศจรรย์ในวันมาฆบูชา ๔ ประการ ได้แก่

(๑) คืนนั้นเป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือเดือน ๔ ในปีที่มีอธิกมาส
(๒) พระสงฆ์จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
(๓) พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ผู้ทรงอภิญญา ๖
(๔) พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุ ผู้ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า

พระพุทธองค์ทรงเห็นปรากฏการณ์พิเศษนี้ จึงทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์” แก่ที่ประชุมสงฆ์ เนื้อหาของโอวาทปาติโมกข์ คนส่วนมากมักจดจำกันเพียง ๓ ข้อ คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง, การทำความดีให้ถึงพร้อม, การทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส เพราะโบราณไทยท่านบัญญัติให้เป็น “หัวใจ” หรือแก่นของพระพุทธศาสนา แต่ความจริงแล้ว โอวาทปาติโมกข์มีถึง ๑๓ หัวข้อ คือ

๑. ขันติ คือ ความอดกลั้น เป็นเครื่องเผากิเลสที่ยอดเยี่ยมที่สุด
๒. พระนิพพาน ผู้รู้ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นยอด (เป็นเป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิต)
๓. ผู้ที่ฆ่าหรือทำร้ายคนอื่นอยู่ มิใช่บรรพชิต
๔. ผู้เบียดเบียนคนอื่นอยู่ มิใช่สมณะ
๕. ไม่ทำบาปทั้งปวง
๖. ทำความดีให้ถึงพร้อม
๗. ทำจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส
๘. ไม่ว่าร้ายคนอื่น
๙. ไม่เบียดเบียนคนอื่น
๑๐. เคร่งครัดในระเบียบข้อบังคับ
๑๑. อยู่ในที่นั่งที่นอนอันสงัด
๑๒. รู้จักประมาณในอาหารการกิน
๑๓. ฝึกจิตให้มีสมาธิขั้นสูง


หน้า:  1 [2] 3 4 ... 368
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.825 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 22 สิงหาคม 2566 09:58:10