[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 17:58:13 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 2 [3] 4 5 ... 368
41  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / มหาจัตตารีสกสูตร :มิจฉาทิฐิกับสัมมาทิฐิที่เป็น.. สาสวะ-อนาสวะ เมื่อ: 13 กุมภาพันธ์ 2556 17:10:57




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๗. มหาจัตตารีสกสูตร (๑๑๗)
             [๒๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก
ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว ฯ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัมมาสมาธิ
ของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ
แก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงฟังสัมมา-
*สมาธินั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า
ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ฯ

             [๒๕๓] พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมา-
*สมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุ มีองค์ประกอบ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะ
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ
เป็นไฉน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ประกอบแล้วด้วยองค์ ๗ เหล่านี้แล
เรียกว่า สัมมาสมาธิของพระอริยะ อันมีเหตุบ้าง มีองค์ประกอบบ้าง ฯ

             [๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาทิฐิว่ามิจฉาทิฐิ
รู้จักสัมมาทิฐิว่าสัมมาทิฐิ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ
             [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาทิฐิเป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า
ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล
ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี
บิดาไม่มี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติ
ชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี
นี้มิจฉาทิฐิ ฯ


             [๒๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาทิฐิเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑
สัมมาทิฐิของพระอริยะ ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค
อย่าง ๑ ฯ

             [๒๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ ความเห็นดังนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว มีผล ยัญที่บูชา
แล้ว มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วแล้ว
มีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี บิดามี สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะมี สมณพราหมณ์
ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้โลกหน้าให้แจ่มแจ้ง
เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลก มีอยู่ นี้สัมมาทิฐิที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ


             [๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญา ปัญญินทรีย์
ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ความเห็นชอบ องค์แห่งมรรค
ของภิกษุผู้มี
จิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่
นี้แล สัมมาทิฐิของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค

             ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาทิฐิ เพื่อบรรลุสัมมาทิฐิ ความพยายาม
ของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
             ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาทิฐิได้ มีสติบรรลุสัมมาทิฐิอยู่ สติของเธอนั้น
เป็นสัมมาสติ

             ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาทิฐิของภิกษุนั้น ฯ

             [๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาสังกัปปะว่า
มิจฉาสังกัปปะ รู้จักสัมมาสังกัปปะว่าสัมมาสังกัปปะ ความรู้ของเธอนั้น เป็น
สัมมาทิฐิ
             [๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาสังกัปปะเป็นไฉน คือ ความดำริ
ในกาม ดำริในพยาบาท ดำริในความเบียดเบียน นี้มิจฉาสังกัปปะ ฯ
             [๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาสังกัปปะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็น
ส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
             [๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือความดำริในเนกขัมมะ ดำริในความไม่
พยาบาท ดำริในความไม่เบียดเบียน
นี้สัมมาสังกัปปะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ


             [๒๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตรึก ความวิตก
ความดำริ ความแน่ว ความแน่ ความปักใจ วจีสังขาร
ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก
มีจิตหาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรคเจริญอริยมรรคอยู่นี้แล สัมมาสังกัปปะ
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

             ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาสังกัปปะ เพื่อบรรลุสัมมาสังกัปปะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
             ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาสังกัปปะได้ มีสติบรรลุสัมมาสังกัปปะอยู่ สติ
ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ
             ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ สัมมา-
*สติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาสังกัปปะ ของภิกษุนั้น ฯ

             [๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาวาจาว่ามิจฉา-
*วาจา รู้จักสัมมาวาจาว่าสัมมาวาจา ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ
             [๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาวาจาเป็นไฉน คือพูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดคำหยาบ เจรจาเพ้อเจ้อ นี้ มิจฉาวาจา ฯ
             [๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาวาจาเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ
เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
             [๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ
ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ เจตนางดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูด
ส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ นี้ สัมมาวาจา
ที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

             [๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น
ความเว้นขาด เจตนางดเว้น จากวจีทุจริตทั้ง ๔ ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิต
หาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาวาจา
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ

             ภิกษุย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาวาจา เพื่อบรรลุสัมมาวาจาอยู่ ความ
พยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
             ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาวาจาได้ มีสติบรรลุสัมมาวาจาอยู่ สติของเธอนั้น
เป็นสัมมาสติ
             ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาวาจาของภิกษุนั้น ฯ

             [๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉากัมมันตะว่า มิจฉากัมมันตะ
รู้จักสัมมากัมมันตะว่า สัมมากัมมันตะ ความรู้ของเธอนั้น เป็นสัมมาทิฐิ
             [๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉากัมมันตะเป็นไฉน คือ ปาณาติบาต
อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร
นี้ มิจฉากัมมันตะ
             [๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุ-
*ทั้งหลาย เรากล่าวสัมมากัมมันตะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมากัมมันตะที่ยังเป็น
สาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมากัมมันตะของพระอริยะ
ที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค อย่าง ๑ ฯ
             [๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะเป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์เป็นไฉน คือ เจตนางดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้น
จากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร
นี้สัมมากัมมันตะที่ยังเป็นสาสวะ
เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

             [๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะของพระอริยะที่เป็น
อนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด
ความเว้น เจตนางดเว้น จากกายทุจริตทั้ง ๓
ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิต
หาอาสวะมิได้ พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมากัมมันตะ
ของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
             ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉากัมมันตะ เพื่อบรรลุสัมมากัมมันตะ
ความพยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ ฯ
             ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉากัมมันตะได้ มีสติบรรลุสัมมากัมมันตะอยู่ สติ-
*ของเธอนั้น เป็นสัมมาสติ ฯ
             ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ
ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมากัมมันตะของภิกษุนั้น ฯ

             [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ ภิกษุรู้จักมิจฉาอาชีวะว่า
มิจฉาอาชีวะ รู้จักสัมมาอาชีวะว่าสัมมาอาชีวะ ความรู้ของเธอนั้น เป็น
สัมมาทิฐิ
             [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มิจฉาอาชีวะเป็นไฉน คือ การโกง
การล่อลวง การตลบตะแลง การยอมมอบตนในทางผิด การเอาลาภต่อลาภ
นี้มิจฉาอาชีวะ
             [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวสัมมาอาชีวะเป็น ๒ อย่าง คือ สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ อย่าง ๑ สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรคอย่าง ๑ ฯ

             [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะที่ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วน
แห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ เป็นไฉน คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมละ
มิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ สัมมาอาชีวะที่
ยังเป็นสาสวะ เป็นส่วนแห่งบุญ ให้ผลแก่ขันธ์ ฯ

             [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะของพระอริยะที่เป็นอนาสวะ
เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความงด ความเว้น
เจตนางดเว้น จากมิจฉาอาชีวะ
ของภิกษุผู้มีจิตไกลข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้
พรั่งพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้แล สัมมาอาชีวะของพระอริยะ
ที่เป็นอนาสวะ เป็นโลกุตระ เป็นองค์มรรค ฯ
             ภิกษุนั้นย่อมพยายามเพื่อละมิจฉาอาชีวะ เพื่อบรรลุสัมมาอาชีวะ ความ
พยายามของเธอนั้น เป็นสัมมาวายามะ
             ภิกษุนั้นมีสติละมิจฉาอาชีวะได้ มีสติบรรลุสัมมาอาชีวะอยู่ สติของ
เธอนั้น เป็นสัมมาสติ
             ด้วยอาการนี้ ธรรม ๓ ประการนี้ คือ สัมมาทิฐิ สัมมาวายามะ
สัมมาสติ ย่อมห้อมล้อม เป็นไปตามสัมมาอาชีวะของภิกษุนั้น ฯ

             [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน
ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ เมื่อมีสัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปปะจึงพอเหมาะได้
เมื่อมีสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจาจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ
จึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาอาชีวะ
สัมมาวายามะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาวายามะ สัมมาสติจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสติ
สัมมาสมาธิจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาสมาธิ สัมมาญาณะจึงพอเหมาะได้ เมื่อมีสัมมาญาณะ
สัมมาวิมุตติจึงพอเหมาะได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล พระเสขะผู้
ประกอบด้วยองค์ ๘ จึงเป็นพระอรหันต์ประกอบด้วยองค์ ๑๐


             [๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาองค์ทั้ง ๗ นั้น สัมมาทิฐิย่อมเป็น
ประธาน ก็สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธานอย่างไร คือ
             ผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาทิฐิได้ ทั้งอกุศลธรรมลามกเป็น
อเนกบรรดามี เพราะมิจฉาทิฐิเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอันผู้มีสัมมาทิฐิสลัดได้แล้ว
และกุศลธรรมเป็นอเนก ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะสัมมาทิฐิเป็น
ปัจจัย

             ผู้มีสัมมาสังกัปปะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสังกัปปะได้...
             ผู้มีสัมมาวาจา ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวาจาได้...
             ผู้มีสัมมากัมมันตะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉากัมมันตะได้...
             ผู้มีสัมมาอาชีวะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาอาชีวะได้...
             ผู้มีสัมมาวายามะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวายามะได้...
             ผู้มีสัมมาสติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสติได้...
             ผู้มีสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาสมาธิได้...
             ผู้มีสัมมาญาณะ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาญาณะได้...
             ผู้มีสัมมาวิมุตติ ย่อมเป็นอันสลัดมิจฉาวิมุตติได้ ทั้งอกุศลธรรมลามก
เป็นอเนกบรรดามี เพราะมิจฉาวิมุตติเป็นปัจจัยนั้น ก็เป็นอัน ผู้มีสัมมาวิมุตติ
สลัดได้แล้ว
และกุศลธรรมเป็นอเนกย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์
เพราะสัมมา-
*วิมุตติ
เป็นปัจจัย

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการนี้แล จึงเป็นธรรมฝ่ายกุศล ๒๐ ฝ่าย
อกุศล ๒๐
ชื่อ ธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ อันเราให้เป็นไปแล้ว สมณะ
หรือ พราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก
จะให้เป็นไปไม่ได้ ฯ

             [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ ผู้ใดผู้หนึ่งพึงสำคัญ
ที่จะติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าว
ตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์ผู้นั้น ย่อมถึง
ฐานะน่าตำหนิ
ในปัจจุบันเทียว ถ้าใครติเตียนสัมมาทิฐิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญ
ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีทิฐิผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาสังกัปปะ เขาก็ต้องบูชา
สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสังกัปปะผิด ถ้าใครติเตียนสัมมาวาจา เขาก็ต้อง
บูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีวาจาผิด ถ้าใครติเตียนสัมมากัมมันตะ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีการงานผิด ถ้าใครติเตียนสัมมา-
*อาชีวะ
เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีอาชีวะผิด ถ้าใครติเตียน
สัมมาวายามะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีความพยายามผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสติผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาสมาธิ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีสมาธิผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาญาณะ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มีญาณผิด
ถ้าใครติเตียนสัมมาวิมุตติ เขาก็ต้องบูชา สรรเสริญท่านสมณพราหมณ์ผู้มี
วิมุตติผิด ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง พึงสำคัญที่จะ
ติเตียน คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะนี้ การกล่าวก่อนและการกล่าว
ตามกัน ๑๐ ประการ อันชอบด้วยเหตุของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น ย่อมถึง
ฐานะน่าตำหนิ
ในปัจจุบันเทียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกอัสสะและพวกภัญญะ
ชาวอุกกลชนบท ซึ่งเป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ก็ยังสำคัญที่
จะไม่ติเตียน ไม่คัดค้านธรรมบรรยายมหาจัตตารีสกะ นั่นเพราะเหตุไร เพราะ
กลัวถูกนินทา ถูกว่าร้าย และถูกก่อความ ฯ
             พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ มหาจัตตารีสกสูตร ที่ ๗

                   
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  บรรทัดที่ ๓๗๒๔ - ๓๙๒๓.  หน้าที่  ๑๕๘ - ๑๖๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3724&Z=3923

42  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / Re: @ นิทานเซ็น @ รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 20:21:14


           

๗๑. ๑ ชีวิต

มีช่างไม้วัยเกษียณคนหนึ่ง คิดว่าตัวเองคงจะถึงเวลาปลดเกษียณสักที
จึงบอกกับนายจ้างว่า “จะเลิกทำงานช่างสักที กลับไปอยู่กับบ้าน
ใช้ชีวิตอย่างสงบสุขกับลูกเมีย

นายจ้างรู้สึกเสียดายและไม่อยากให้คนงานมีฝีมือดีๆต้องจากไป
จึงบอกให้เขาช่วยสร้างบ้านให้อีกหลังหนึ่งจะได้หรือเปล่า?
ช่างไม้นั้นรับปากว่าจะทำให้

ขณะที่ทำงานทุกคนก็มองเห็นว่า ใจของเขาไม่ได้อยู่กับสิ่งที่ทำเลย
ใช้แต่วัสดุที่ด้อยคุณภาพ ซึ่งปกติช่างไม้คนนี้จะเป็นคนละเอียดลออ
และใช้ของที่มีคุณภาพทุกชิ้น งานครั้งนี้ผลงานที่ออกมาจึงค่อนข้างหยาบ
เมื่อบ้านสร้างเสร็จแล้ว นายจ้างจึงมอบกุญแจประตูบ้านให้เขา

“บ้านนี้เป็นของเจ้า นี่คือของขวัญที่ข้ามอบให้เจ้า”

ช่างไม้นั้นตกตะลึงจนตาค้าง รู้สึกละอายแก่ใจยิ่งนัก ถ้าหากว่ารู้แต่แรกว่า
บ้านหลังนี้เป็นของตัวเอง เขาจะทำลักษณะอย่างนั้นทำไม?
เขาคงใช้วัสดุที่มีคุณภาพชั้นเยี่ยม และสร้างอย่างพิถีพิถันสุดฝีมือ
สิ่งที่ได้ในตอนนี้ คือต้องอยู่บ้านที่สร้างอย่างหยาบๆหลังหนึ่ง

พวกเราก็มีพฤติกรรมอย่างนั้นบ่อยๆ พวกเรามักจะไม่ได้ใส่ใจที่จะสร้างชีวิต
ไม่ได้สั่งสมอะไรไว้ แต่กลับปล่อยให้เวลาผ่านไปอย่างไม่เสียดาย
ไม่ใส่ใจที่จะใฝ่ก้าวหน้า ถึงจุดหัวเลี้ยวหัวต่อกลับไม่รุดไปข้างหน้า
จนเมื่อรู้สึกตัวถึงจะรู้ว่า ตัวเองเข้าไปอยู่ในบ้านที่ตัวเองสร้างไว้
อย่างไม่ตั้งใจแล้ว

มาเป็นช่างไม้กันเถอะ คิดถึงบ้านของตัวเอง ตะปูที่ตอกลงไปทุกวัน
เหมือนกับเพิ่มไม้ลงไปหนึ่งแผ่น หรือว่าสร้างหน้าต่างขึ้นมาสักบาน
ใช้ปัญญาของท่านสร้างให้ดีๆ ชีวิตของท่าน คือสิ่งสิ่งประดิษฐ์ชิ้นเดียวของท่าน
ไม่สามารถทะลายลงแล้วสร้างใหม่ได้ แม้จะมีชีวิตเหลืออยู่เพียงหนึ่งวัน
ในหนึ่งวันนั้นก็ขอให้มีชีวิตอย่างสวยงาม สง่าผ่าเผย มีป้ายที่กำแพงเขียนว่า
(ชีวิตสร้างขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง)

               

43  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / Re: @ นิทานเซ็น @ รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 20:20:08


           

๗๑. หลุดพ้นด้วยตัวเอง

ครั้งหนึ่งสังฆปรินายกองค์ที่ 2 พูดกับท่านตั้กม๊อว่า “ท่านอาจารย์ช่วย
ทำให้จิตใจศิษย์สงบด้วยเถิด”

“เอาจิตเจ้าออกมาซิ”
“ศิษย์หาจิตตัวเองไม่พบ”
“หากว่าหาจิตพบ นั่นก็ไม่ใช่จิตของเจ้าแล้ว ตอนนี้ข้าช่วยทำให้จิตเจ้า
สงบแล้ว เจ้าเห็นหรือเปล่า” ท่านตั้กม๊อตอบ

ผ่านไปหลายสิบปี สังฆปรินายกองค์ที่ 3 พูดกับองค์ที่ 2 ว่า “ท่านอาจารย์
ช่วยให้ข้าได้สารภาพความผิดบาปด้วยเถิด”

“เอาผิดบาปของเจ้าออกมาซี”
ข้าหาความผิดบาปไม่เจอ”
“ตอนนี้ข้าได้ช่วยเจ้าแล้ว เจ้าเห็นหรือเปล่า?”

ผ่านไปอีกหลายปี ภิกษุรูปหนึ่งถามสังฆปรินายกองค์ที่ 3 ว่า “ทำอย่างไร
ถึงจะหลุดพ้นจากการยึดติดได้”

“แล้วใครผูกมัดเจ้าไว้ล่ะ”
“ไม่มีใครมาผูกมัดข้าพเจ้า”
“แล้วเจ้าทำไมถึงต้องมาของร้องให้ช่วยแก้ให้หลุดพ้น
ภิกษุรูปนั้นต่อมาคือ สังฆปรินายกองค์ที่ 4

ครั้งหนึ่งเมื่อสังฆปรินายกองค์ที่ 5 มอบบาตรและจีวรประจำตำแหน่ง
ให้ท่านเว่ยหล่าง พร้อมกับพูดว่า

“หากไม่รู้จักจิตของตนเอง ปฏิบัติธรรมไปก็ไม่มีประโยชน์
หากรู้จักจิตของตนเองได้แจ่มแจ้ง ก็จะเห็นจิตเดิมแท้ได้เอง”

     

44  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / Re: @ นิทานเซ็น @ รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 20:13:45


           

๗๐. รูปเหมือนพระอาจารย์

พระอาจารย์ท่านหนึ่งก่อนที่จะมรณภาพ ได้เรียกเหล่าลูกศิษย์มาพร้อมหน้า
แล้วพูดว่า “อีกไม่นานข้าก็คงใกล้จะจากพวกเจ้าไปแล้ว ใครสามารถจะ
วาดรูปเหมือนสักรูปให้อาจารย์ได้?”
เหล่าลูกศิษย์รู้สึกเศร้าใจยิ่งนัก พร้อมกับกลับไปวาดรูปให้พระอาจารย์

พวกเขากับพระอาจารย์พบหน้ากันและทำกิจวัตรพร้อมกันตั้งแต่เช้ายันค่ำ
เสียงและเค้าหน้าย่อมจะจะพิมพ์รอยอยู่ในใจนานแล้ว ดังนั้นแต่ละคนจึง
วาดรูปออกมาด้วยกิริยาและหน้าตาที่ต่างกัน บางคนก็วาดรูปออกมาใน
ลักษณะที่เคร่งขรึม บางคนก็วาดออกมาด้วยหน้าตาที่เปี่ยมไปด้วยความ
เมตตาและปรานี ไม่มีรูปไหนที่วาดออกมาแล้วเหมือนกันเลย

พระอาจารย์เห็นรูปแล้วรู้สึกผิดหวังมาก กล่าวว่า “หลายปีที่ผ่านมา ทำไม
พวกเจ้าที่ฝึกปฏิบัติธรรมกับข้า ไม่มีใครวาดรูปได้สักคน พวกเจ้าลองดูให้
ชัดเจนอีกสักครั้ง วาดได้เหมือนอาจารย์หรือเปล่า? ถ้าหากว่าวาดได้เหมือน
ก็เหมือนกับว่าได้เค้นคอฆ่าข้า หากวาดได้ไม่เหมือน ก็เผารูปไปเสียเถิด”

ขณะที่เหล่าลูกศิษย์ลังเลไม่รู้จะทำอย่างไรดี ก็มีศิษย์ท่านหนึ่งเดินออกมาข้างหน้า
พูดกับพระอาจารย์ว่า “อาจารย์ ดูที่ข้าพเจ้าวาดซิ” ว่าแล้วก็ตีลังกาครั้งหนึ่ง
แล้วเดินออกไปอย่างสง่าผ่าเผย

ในที่สุดพระอาจารย์ก็ยิ้มออกมาได้ พร้อมกับมองตามหลังศิษย์นั้น แล้วพูดว่า
“วาดได้ดี ข้าเชื่อว่าต่อไป ศิษย์คนนี้ย่อมจะเหมือนข้าแน่นอน ตั้งแต่นี้ต่อไป
ก็ให้เขาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสต่อไป

                 

45  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: 'มาฉลองตรุษจีนกันเถอะ' คำ “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” เริ่มใช้แต่ใดมา เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 16:27:56


'มาฉลองตรุษจีนกันเถอะ' คำ “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” เริ่มใช้แต่ใดมา
*http://mgr.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000016444-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
8 กุมภาพันธ์ 2556 12:27 น.



คู่ชีวิตตายาย กำลังใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายภาพโคมแดงที่ประดับ อยู่บนถนนและทางเท้า ในนครเซี่ยงไฮ้ เมื่อคืนวันที่ 6 ก.พ. ก่อน จะเข้าสู่ เทศกาลต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ หรือ ตรุษจีน (ภาพรอยเตอร์ส)

       ในโอกาสร่วมฉลอง "เทศกาลต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ" ที่เรียกว่า ชุนเจี๋ย (春节) หรือ ตรุษจีน ที่จะมาถึงนี้ "มุมจีน" ขออำนวยพรให้ท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน รวมถึงครอบครัว สุข สมปรารถนา และมั่งมีศรีสุขตลอดปีและตลอดไป … ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ (新正如意,新年发财) พร้อมกันนี้ ขออนุญาตนำเกร็ดฯ ของเทศกาล กลับมาบอกเล่าความหมายอันดีนี้อีกครั้ง
       
       'มาฉลองตรุษจีนกันเถอะ'
       เทศกาลต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ ที่เรียกว่า ชุนเจี๋ย (春节) หรือ ตรุษจีน ถือเป็นประเพณีเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยิ่งใหญ่ของชนชาวฮั่น และยังถือเป็นการเริ่มต้นฤดูเพาะปลูกด้วย โดยกำหนดให้วันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ในอดีตช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง จะเริ่มตั้งแต่พิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าเตาไฟในวันที่ 23 หรือ 24 ของปีเก่า จนถึงเทศกาลหยวนเซียวหรือเทศกาลโคม (แรม 15 ค่ำเดือนอ้าย) โดยแต่ละช่วงจะมีพิธีกรรมธรรมเนียมปฏิบัติที่แตกต่างกัน บางส่วนยังคงสืบทอดกันมาถึงยุคปัจจุบัน ขณะที่บางส่วนได้เลือนหายไป หรือแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
       
       'คืนส่งท้ายปีเก่า 除夕夜'
       ชาวจีนมีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับ “ฉูซีเยี่ย (除夕夜)” หรือ คืนส่งท้ายปีเก่าว่า ในยุคโบราณสมัยที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ มีสัตว์ประหลาดที่ดุร้ายมากตัวหนึ่ง ชื่อว่า “เหนียน (年)” ทุกปีในคืนวันส่งท้ายปี จะขึ้นจากทะเลมาอาละวาดทำร้ายผู้คนและทำลายเรือกสวนไร่นา ในวันนั้นของทุกปีชาวบ้านจึงมักจะหลบกันอยู่แต่ในบ้านตั้งแต่ฟ้ายังไม่มืด ปิดประตูหน้าต่างแน่นหนา และไม่หลับไม่นอนเพื่อเฝ้าระวัง รอจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นจึงเปิดประตูออกมา และกล่าวคำยินดีแก่เพื่อนบ้านที่โชคดีไม่ถูก “เหนียน” ทำร้าย
       
       ในคืนส่งท้ายปีของปีหนึ่ง “เหนียน” ได้เข้าไปอาละวาดในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง กินชาวบ้านจนเรียบ ยกเว้นคู่บ่าวสาวที่เพิ่งแต่งงาน เนื่องจากสวมชุดสีแดงจึงปลอดภัย และเด็กคนหนึ่งที่กำลังเล่นประทัดอยู่กลางถนน ซึ่งเสียงดังจนทำให้ “เหนียน” ตกใจกลัวหนีไป ชาวบ้านจึงรู้จุดอ่อนของ “เหนียน”
       
       ดังนั้น เมื่อถึงคืนส่งท้ายปีเก่า ชาวบ้านจึงพากันสวมใส่เสื้อผ้าสีแดง นำสิ่งของที่มีสีแดงมาประดับตกแต่งบ้านเรือน และจุดประทัด ทำให้ “เหนียน” สัตว์ประหลาดตัวร้ายไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ชาวบ้านจึงอยู่กันอย่างสงบสุข จากนั้นมาจึงมีธรรมเนียมปฏิบัติ ในคืนส่งท้ายปีจะไม่ยอมนอนเพื่อ “เฝ้าปี” หรือเรียกในภาษาจีนว่า โส่วซุ่ย(守岁) เฝ้าดูปีเก่าล่วงไปจนวันใหม่ย่างเข้ามา
       ในคืน “เฝ้าปี” สมาชิกในบ้านมีกิจกรรมร่วมกันมากมาย ทั้งด้านการกินและดื่ม ไม่ว่าจะเป็นอาหารทั่วไป เกี๊ยว เหนียนเกา เหล้า เบียร์ เมล็ดแตง ของว่าง การเล่นเกม ซึ่งส่วนใหญ่ก็เล่นกันในห้องรับแขก เช่นผู้ใหญ่ก็เล่นหมากล้อม หมากฮอร์ส ไพ่กระดาษ ไพ่นกกระจอก ส่วนเด็กๆ ก็มีเกมแบบเด็กๆ เช่น ขี่ม้าไม้ไผ่ วิ่งไล่จับ ซ่อนแอบ
       
       กระทั่งใกล้เวลาเที่ยงคืน ผู้อาวุโสในบ้านก็จะเริ่มตั้งโต๊ะเพื่อจัดเรียงธูปเทียนไหว้บรรพบุรุษ และต้อนรับเทพแห่งโชคลาภ นอกจากนั้นก็ยังมีการจุดประทัด จุดโคมไฟ ซึ่งเมื่อใกล้เวลาเที่ยงคืนเท่าไหร่ เสียงประทัดก็ยิ่งดังมากขึ้นเท่านั้น กระทั่งรุ่งอรุณแรกของปี ก็จะสวัสดีปีใหม่กัน กินเกี๊ยว เพื่อความเป็นสิริมงคล


ชายผู้หนึ่งกำลังประนมไหว้เจ้า ขอพรสิริมงคลชีวิต ที่ศาลเจ้า ในสวนยู่หยวน เซี่ยงไฮ้ เมื่อเช้าวันที่ 4 ก.พ. (ภาพรอยเตอร์ส)

       ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน (年夜饭)’ มื้อส่งท้ายปีเก่า
       ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน (年夜饭)’ หมายถึงอาหารค่ำของคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญก่อนขึ้นปีใหม่ ที่ชาวจีนให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมักไหว้บรรพบุรุษ และจุดประทัดกันก่อนที่จะลงมือรับประทานอาหารมื้อพิเศษนี้
       
       ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน’ มีความพิเศษ ตรงที่เป็นมื้อใหญ่ที่สมาชิกในครอบครัวทุกรุ่นทุกวัยและทุกเพศจะพร้อมหน้าพร้อมตาล้อมวงร่วมรับประทานอาหารกัน สมาชิกที่แยกไปอยู่ที่อื่นจะพยายามกลับมาให้ทันวันส่งท้ายปี แต่หากกลับมาไม่ได้จริงๆ ครอบครัวจะเว้นที่ว่างพร้อมวางชามและตะเกียบไว้เสมือนหนึ่งว่ามากันครบ หลังจากทาน ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน’ เสร็จแล้ว ผู้ใหญ่จะให้ ‘ยาซุ่ยเฉียน (压岁钱)’ หรือที่คนไทยเรียกกันว่า ‘อั่งเปา’ แก่เด็กๆ
       
       ความพิเศษของ ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน’ ยังอยู่ที่อาหารหลากหลาย ให้สมาชิกที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานมาทั้งปี ได้ผ่อนคลายร่วมทานอาหารอย่างมีความสุขอยู่กับครอบครัวในคืนสุดท้ายของปี
       
       ขณะที่ชื่อของอาหารที่นำมาตั้งโต๊ะยังแฝงไว้ด้วยความหมายที่เป็นสิริมงคล จานบังคับที่ทุกโต๊ะต้องมีคือ ‘จี’ (鸡 ไก่) และ ‘อี๋ว์’(鱼 ปลา) แทนความหมาย ‘จี๋เสียงหยูอี้ (吉祥如意 เป็นสิริมงคลสมดังปรารถนา)’ และ ‘เหนียนเหนียนโหยวอี๋ว์ (年年有余 มีเงินทองเหลือใช้ทุกปี)’ ส่วนที่ไต้หวันยังนิยมทานลูกชิ้น หมายถึงการกลับมาอยู่พร้อมหน้าพร้อมตา นอกจากนี้ ยังมี ‘จิ่วไช่ (韭菜 ผักกุ้ยช่าย)’ ที่หมายถึงอายุมั่นขวัญยืน (年寿长久)สำหรับชาวหมิ่นหนัน ชนกลุ่มน้อยในมณฑลฝูเจี้ยน ทางตอนใต้ของจีน เรียกแครอทในภาษาถิ่นว่า ‘ไช่โถว’ (菜头)แฝงความหมายการเริ่มต้นปีที่ดี (好彩头)และในบางพื้นที่จะกินเกี๊ยว หรือเรียกในภาษาจีนว่า ‘เจี่ยวจือ’ (饺子)ที่มีรูปร่างคล้ายกับเงินแท่งสมัยโบราณที่ปลาย 2 ด้านงอนขึ้น บางครั้งก็ใส่เหรียญเงินไว้ในเกี้ยวด้วย เพื่อบันดาล ‘โชคลาภเงินทอง’ เป็นต้น.

คุณตากำลังอุ้มหลานของตน เดินชื่นชมกับความงดงามของโคมประดับ ในนครเซียงไฮ้ (ภาพรอยเตอร์ส)

       คำ“เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” เริ่มใช้แต่ใดมา
       ตรุษจีน ซึ่งถือเป็นวันปีใหม่ของชาวมังกรนั้น จัดว่าเป็นเทศกาลที่มีสืบทอดมายาวนาน โดยในปัจจุบัน จะใช้คำว่าชุนเจี๋ย (春節) หรือ “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” มาเป็นชื่อเรียกวันปีใหม่จีน แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่า คำว่า “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” เป็นคำที่ถูกใช้มาตั้งแต่เมื่อไหร่?
       
       นายเจิ้งอีหมิน รองประธานสมาคมนักศิลปะเอกชน ได้ออกมาระบุผลการตรวจค้นหลักฐานต่างๆพบว่า ในอดีตที่ผ่านมา เทศกาลตรุษจีนถูกขนานนามต่างๆกันไปในแต่ละยุคสมัย หรือแต่ละราชวงศ์ในอดีต เช่นถูกเรียกว่าไก่ซุ่ย (改歲) หรือ “วันเปลี่ยนปี”, หยวนโส่ว (元首) หยวนรื่อ (元日) ที่หมายถึงวันเริ่มต้นแห่งปี
       
       โดยเจิ้งได้ชี้ว่า เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เป็นชื่อที่ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 1911 หรือเมื่อ 96 ปีที่แล้ว โดยรัฐบาลทหารของหูเป่ยเป็นผู้ประกาศ ให้เรียกปีใหม่ของจีนว่า”เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ” จนกระทั่งวันที่ 27 ก.ย. 1949 ในขณะที่มีการตัดสินใจจะสถาปนาชื่อสาธารณะรัฐประชาชนจีนขึ้น ก็ได้มีการระบุให้เรียกวันที่ 1 ม.ค. ของทุกปี ที่ถือเป็นวันปีใหม่สากลว่าหยวนตั้น (元旦) หรือวันเริ่มต้นปี ส่วนวันปีใหม่จีน หรือวันตรุษจีนนั้นให้เรียกว่า “เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ”


: หนุ่มสาวคู่หนึ่ง ชวนกันเดินเล่นในสวนตี้ถัน ปักกิ่ง ผ่านกลองใบใหญ่ที่ ประดับด้วยงานศิลปะกระดาษตัดรูปงู ซึ่งเป็นนักษัตรประจำปี 2556 (ภาพรอยเตอร์ส)
       'วันแห่งการขอบคุณ'
       วันตรุษจีนยังเป็นวันที่มีความเกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ ภูมิอากาศ และการเกษตรกรรม โดยในอดีตวันนี้จะเป็นวันที่นำเอาผลผลิตมากราบไหว้บูชาต่อบรรพบุรุษและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อีกทั้งเป็นการแสดงความขอบคุณต่อธรรมชาติและเทพยดาฟ้าดิน
       
       นักวิชาการด้านประเพณีท้องถิ่นของจีนได้ระบุว่า ในแต่ละวันของเทศกาล ต่างเป็นวันแห่งการขอบคุณ ตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำเดือน 1 ไปจนถึงขึ้น 7 ค่ำเดือน 1 (ตามปฏิทินทางจันทรคติ) จะถูกขนานนามเป็น “วันไก่” “วันสุนัข” “วันหมู” “วันแกะ” “วันวัว(ควาย)” “วันม้า” และ “วันคน” เพื่อเป็นการแสดงความเคารพและขอบคุณต่อธรรมชาติ
       
       นอกจากนั้น ในวันตรุษจีน ชาวจีนยังจะกราบไหว้ “เทพเจ้าเตาไฟ” และ “พระแม่ธรณี” เพื่อแสดงความขอบคุณที่ทำให้ชาวโลกได้มีไฟ และมีผืนดินไว้ใช้ประโยชน์ เพียงแต่น่าเสียดายที่ประเพณีเหล่านี้ ได้ค่อยๆจางหายไปตามวิทยาการที่ล้ำสมัยมากขึ้น
       
       นายฮั่วซั่งเต๋อ เลขาสมาคมศิลปะและวัฒนธรรมจีนได้ระบุว่า ในวันตรุษจีน ยังคงถือการกราบไหว้บรรพชนเป็นหลัก โดยในครอบครัวคนจีน มักจะให้หัวหน้าครอบครัว นำพาลูกหลานในบ้าน มากราบไว้บรรพบุรุษกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา เพราะการกราบไหว้บรรพบุรุษ นอกจากจะเป็นการแสดงความขอบคุณต่อบรรพบุรุษ และขอให้บรรพชนปกปักษ์รักษาแล้ว ยังเป็นการอบรมให้รู้ถึงวัฒนธรรมในครัวเรือน ที่บุพการีควรมีความโอบอ้อมอารี ส่วนลูกหลานก็ควรมีความกตัญญู และพี่น้องก็ควรจะสามัคคีปรองดอง

46  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: ไหว้พระ ไหว้เจ้า :เซ่นไหว้บรรพบุรุษ เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 16:21:39



       เซ่นไหว้บรรพบุรุษ
       ประเพณีการเซ่นไหว้บูชาบรรพบุรุษในช่วงเทศกาลตรุษจีน ถือกำเนิดขึ้นจากรากฐานแห่งคุณธรรมความกตัญญูกตเวที ที่ชาวจีนยึดมั่นและให้ความสำคัญยิ่ง
       
       ตามประเพณีแบบดั้งเดิม แต่ละบ้านจะนำบันทึกลำดับวงศ์ตระกูลหรือที่เรียกว่า ‘เจียพู่’ ( 家谱) หรือรูปภาพของบรรพบุรุษหรือแผ่นป้ายที่สลักชื่อบรรพบุรุษ เป็นต้น มาวางไว้ที่โต๊ะเซ่นไหว้ ที่มีกระถางธูปและอาหารเซ่นไหว้
       
       ในประเทศจีน บางแห่งจะทำพิธีสักการะเทพเจ้าแห่งโชคลาภหรือไฉเสิน (财神) หรือที่ไฉ่สิ่งเอี๊ย ในภาษาแต้จิ๋ว พร้อมๆกับเซ่นไหว้บรรพบุรุษ โดยอาหารที่นำมาใช้ถวายเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ตามความนิยมของชาวจีนทางเหนือ โดยมากประกอบด้วย เนื้อแพะ อาหารคาว 5 อย่าง ของหวาน 5 อย่าง ข้าว 5 ชาม ขนมที่ทำจากแป้งสาลีไส้พุทรา 2 ลูก ( คล้ายกับขนมถ้วยฟูในบ้านเรา) และหมั่นโถวขนาดใหญ่ 1 ลูก
       
       แท้จริงแล้วการสักการะบูชาเทพเจ้าและไหว้บรรพบุรุษนั้น ก็คือการกล่าวอวยพรปีใหม่กับเทพและบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วนั่นเอง ขณะเดียวกันก็เพื่อให้ลูกหลานได้รำลึกถึงบรรพชน หลังจากทำพิธีไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษแล้ว ลูกหลานจะช่วยกันเผากระดาษเงิน กระดาษทอง
       
       สำหรับช่วงเวลาในการประกอบพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษนั้น จะแตกต่างกันออกไป กล่าวคือบางบ้านจะเซ่นไหว้ก่อนการรับประทาน ‘เหนียนเย่ฟั่น’ หรืออาหารมื้อแรกของปีใหม่ ขณะที่บางบ้านนิยมเซ่นไหว้ก่อนหรือหลังคืนส่งท้ายปีเก่าหรือ ที่เรียกว่า ‘ฉุ่เย่’ บางบ้านก็นิยมประกอบพิธีในช่วงเช้าของในวันที่ 1 เดือน 1 หรือ ชูอี ( 初一)


มื้อส่งท้ายปีเก่า
       มื้อส่งท้ายปีเก่า
       ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน (年夜饭)’ หมายถึงอาหารค่ำของคืนส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญก่อนขึ้นปีใหม่ ที่ชาวจีนให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยมักไหว้บรรพบุรุษ และจุดประทัดกันก่อนที่จะลงมือรับประทานอาหารมื้อพิเศษนี้
       
       ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน’ มีความพิเศษ ตรงที่เป็นมื้อใหญ่ที่สมาชิกในครอบครัวทุกรุ่นทุกวัยและทุกเพศจะพร้อมหน้าพร้อมตาล้อมวงร่วมรับประทานอาหารกัน สมาชิกที่แยกไปอยู่ที่อื่นจะพยายามกลับมาให้ทันวันส่งท้ายปี แต่หากกลับมาไม่ได้จริงๆ ครอบครัวจะเว้นที่ว่างพร้อมวางชามและตะเกียบไว้เสมือนหนึ่งว่ามากันครบ หลังจากทาน ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน’ เสร็จแล้ว ผู้ใหญ่จะให้ ‘ยาซุ่ยเฉียน (压岁钱)’ หรือที่คนไทยเรียกกันว่า ‘อั่งเปา’ แก่เด็กๆ
       
       ความพิเศษของ ‘เหนียนเยี่ยฟ่าน’ ยังอยู่ที่อาหารหลากหลาย ให้สมาชิกที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงานมาทั้งปี ได้ผ่อนคลายร่วมทานอาหารอย่างมีความสุขอยู่กับครอบครัวในคืนสุดท้ายของปี
       
       ขณะที่ชื่อของอาหารที่นำมาตั้งโต๊ะยังแฝงไว้ด้วยความหมายที่เป็นสิริมงคล จานบังคับที่ทุกโต๊ะต้องมีคือ ‘จี’ (鸡 ไก่) และ ‘อี๋ว์’(鱼 ปลา) แทนความหมาย ‘จี๋เสียงหยูอี้ (吉祥如意 เป็นสิริมงคลสมดังปรารถนา)’ และ ‘เหนียนเหนียนโหยวอี๋ว์ (年年有余 มีเงินทองเหลือใช้ทุกปี)’


กิน “เกี๊ยวข้ามปี” โชคดีตลอดไป
       กิน “เกี๊ยวข้ามปี” โชคดีตลอดไป
       ประเพณีการกินเจี่ยวจือ 饺子หรือเกี๊ยวต้มจีนในวันตรุษจีนเริ่มเป็นที่นิยมกันมาตั้งแต่ในสมัยราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1368-1644) โดยคนในครอบครัวจะต้องห่อเจี่ยวจือให้เสร็จก่อนเที่ยงคืนของวันสิ้นปี รอจนยามที่เรียกว่า 子时 -จื่อสือ ซึ่งเป็นเวลาประมาณ 23 - 1 นาฬิกาของวันถัดมาก็จะเริ่มรับประทานกัน และเป็นเวลาเริ่มต้นวันใหม่ของปีใหม่พอดี การทานเจี่ยวจือจึงมีความหมายว่า ‘เปลี่ยนปีเชื่อมเวลา更岁交子'เพราะคำเรียกอาหารชนิดนี้饺-เจี่ยวก็ออกเสียงคล้าย交-เจียวซึ่งมีความหมายว่าเชื่อมต่อกัน และ子-จื่อก็คือ子时 -จื่อสือนั่นเอง
       
       นอกจากนั้น การรับประทานอาหารชนิดนี้ยังมีความหมายสำคัญของการรวมตัวของคนในครอบครัวอีกด้วย เมื่อแป้งที่ห่อไส้เรียกว่า和面-เหอเมี่ยน คำว่า 和พ้องเสียงกับคำว่า 合 -เหอ ที่แปลว่าร่วมกัน และ饺 - เจี่ยวก็ออกเสียงคล้ายกับคำว่า 交 ที่มีอีกความหมายว่า มีความสัมพันธ์ต่อกันด้วย
       
       การที่เกี๊ยวเป็นอาหารสำคัญที่ไม่อาจขาดได้ในวันตรุษจีน ยังมีเหตุผลมาจากรูปลักษณ์ของเจี่ยวจือ ที่เป็นรูปทรงคล้ายเงินในสมัยโบราณ การรับประทานเจี่ยวจือ จึงเหมือนการนำเงินทองเข้ามาสู่ตัว
       
       นอกจากนั้น ไส้ในเจี่ยวจือก็ยังสะดวกต่อการบรรจุสิ่งที่เป็นมงคลลงไปให้เป็นความหวังต่อคนที่รับประทานด้วย เช่น ลูกกวาด ถั่วลิสง พุทราแดง เม็ดเกาลัด เหรียญเงิน โดยคนที่กัดเจอลูกกวาด ชีวิตในปีใหม่ก็จะยิ่งหอมหวาน ในขณะที่ถั่วลิสงมีความหมายว่าแข็งแรงและอายุยืนนาน ส่วนพุทราแดงและเกาลัด ก็จะมีบุตรภายในปีนั้น และหากกัดเจอเหรียญเงินก็จะยิ่งร่ำรวยเงินทอง


อาหารรับขวัญวันปีใหม่
       อาหารรับขวัญวันปีใหม่
       การตระเตรียมอาหารการกินในเทศกาลตรุษจีน นับเป็นงานช้างแห่งปีทีเดียว โดยราวสิบวันก่อนวันปีใหม่ชาวจีนจะเริ่มสาละวนกับการซื้อหาข้าวของ อาทิ เป็ด ไก่ ปลา เนื้อ ชา เหล้า ซอส วัตถุดิบเครื่องปรุงสำหรับอาหารผัดทอด ขนมนานาชนิด และผลไม้
       
       อาหารการกินในวันตรุษจีน ยังโปรยประดับด้วยคำที่เป็นสิริมงคล ชาสำหรับคารวะแขก ในวันปีใหม่ของคนเจียงหนันยังใส่ลูกสมอ 2 ลูกไว้ในจานรองถ้วยชาหรือถาดชุดชา เพื่อสื่อความหมายว่า ‘ชาเงิน’ และในสำรับอาหารจะต้องมีผัดผักกาดรวมอยู่ด้วย เพื่อเป็นเคล็ดว่า กินแล้วจะบันดาล ‘ความสนิทสนมอบอุ่น’ เนื่องจาก ‘ผัดผักกาด’ ในภาษาจีนคือ เฉ่าชิงไช่ (炒青菜) ซึ่งมีเสียงใกล้เคียงกับ ชินชินเย่อเย่อ (亲亲热热) ที่แปลว่า ‘ความสนิทสนมอบอุ่น’ และอาหารสำคัญอีกอย่างคือ ผัดถั่วงอก เนื่องจากถั่วงอกเหลืองมีรูปร่างคล้ายกับ ‘หยกหยูอี้’ ซึ่งมีเสียงพ้องกับคำว่า หยูอี้ (如意) ที่แปลว่า สมปรารถนา
       
       นอกจากนี้ ตามประเพณีการกินอาหารปีใหม่จะต้องกินหัวปลา แต่อย่าสวาปามจนเกลี้ยงจนแมวร้องไห้ ธรรมเนียมการกินปลาให้เหลือนี้เพื่อเป็นเคล็ดว่า ‘เหลือกินเหลือใช้’ ซึ่งในภาษาจีน มีคำว่า ชือเซิ่งโหย่วอี๋ว์ (吃剩有鱼) คำว่า ‘鱼-อี๋ว์’ ที่แปลว่าปลานั้น พ้องเสียงกับ ‘余 -อี๋ว์’ ที่แปลว่า เหลือ จึงเป็นเคล็ดว่า ขอให้ชีวิตมั่งมีเหลือกินเหลือใช้
       
       สำรับทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งดีงามของวันรุ่งอรุณแห่งปี
       
       หลังจากรับประทานอาหารมื้อแรกของวันตรุษแล้ว ชาวจีนนิยมไปศาลบรรพบุรุษบูชาบรรพบุรุษ และยังมีวิถีปฏิบัติเพื่อขอพรและขอความเป็นสิริมงคลในวันปีใหม่อื่นๆ ได้แก่ จุดโคมไฟ จุดประทัด ถวายเครื่องเซ่นไหว้เทพเจ้า ไปวัด ออกจากบ้านไปทัศนาจร รวมถึงการไปเก็บต้นงา เพราะเชื่อว่าชีวิตจะเจริญยิ่งๆขึ้นไปเหมือนต้นงาที่งอกขึ้นเป็นข้อๆชั้นๆ


กินขนมเข่ง อำนวยพรชีวิตเจริญยิ่งๆขึ้นทุกปีๆ
       กินขนมเข่ง (年糕) อำนวยพรชีวิตเจริญยิ่งๆขึ้นทุกปีๆ
       อาหารที่ขาดไม่ได้ในวันตรุษจีนอีกอย่างคือ ขนมเข่ง ขนมที่ชาวจีนเรียก เหนียนเกา (年糕) นิยมทำกินในหมู่ชาวจีนทางใต้ ประเพณีกินเหนียนเกาในวันตรุษมีมา 7,000 กว่าปีแล้ว เดิมทีทำขึ้นเพื่อเซ่นไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ ภายหลังกลายเป็นอาหารนิยมในช่วงตรุษจีน มีความหมายอำนวยพรให้ชีวิต ‘เจริญยิ่งๆขึ้นทุกปีๆ ’ (生活年年提高)


       จุดประทัดรับปีใหม่
       นอกจากคืนวันส่งท้ายปีเก่าและวันที่ 5 เดือน 1 ที่จะมีการจุดประทัดกันแล้ว ประเพณีการจุดประทัดในเช้าวันแรกของปีใหม่ก่อนออกจากบ้าน ก็เป็นความเชื่อของชาวจีนว่า จะเป็นการเริ่มต้นปีด้วยความคึกคักหรือที่เรียกว่า 开门炮 (ไคเหมินเพ่า) เพื่อต้อนรับวันแรกของปี
       
       ประทัดของจีนมีประวัติศาสตร์มายาวนาน เดิมทีใช้ปล้องไม้ไผ่ตั้งไฟเผาให้ระเบิดจนเกิดเสียงดัง ใช้ในการขับไล่ภูตผีป้องกันเสนียดจัญไร ต่อมาใช้ในพิธีไสยศาสตร์ของพ่อมดหมอผีและการเสี่ยงทาย จนในที่สุดกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการอธิษฐานขอความสงบร่มเย็น


       เดินสายอวยพรตรุษจีน
       กิจกรรมอีกอย่างที่ขาดไม่ได้ช่วงตรุษจีน คือ “ไป้เหนียน (拜年)” หรือ การอวยพรตรุษจีน หากกล่าวว่า “จี้จู่ (祭祖)” เป็นการเซ่นไหว้รำลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับ “ไป้เหนียน” ก็จะเป็นการสังสรรค์กับญาติสนิทที่ยังมีชีวิตอยู่ในวันขึ้นปีใหม่ กิจกรรมทั้ง 2 อย่างต่างเป็นการแสดงออกถึงการสื่อสัมพันธ์กับญาติที่ใกล้ชิด
       
       ในอดีตหากญาติสนิทมิตรสหายมีมาก แวะไปเยี่ยมเยียนได้ไม่ทั่วถึง พวกชนชั้นสูงมักจะส่งคนรับใช้นำบัตรอวยพร หรือ “ฝูเต้า (福倒)” (ความสุขมาถึงแล้ว) ไปให้แทน ฝ่ายที่รับการ “ไป้เหนียน” ที่เป็นผู้สูงอายุมักจะให้ “ยาซุ่ยเฉียน (压岁钱)” แก่เด็กๆ ที่มาไหว้เยี่ยมเยียน
       
       ส่วนการ “ไป้เหนียน” ของชาวบ้านทั่วไปก็มีอิทธิพลต่อชนชั้นสูงเช่นกัน ซึ่งราชสำนักในสมัยหมิงชิงนิยมจัดงาน “ถวนไป้ (团拜)” หรืองานที่ชุมนุมญาติๆ ไว้ด้วยกัน ให้ทำการ “ไป้เหนียน” ซึ่งกันและกันในคราเดียว มาถึงปัจจุบันยังนิยมจัดงานเช่นนี้อยู่ ซึ่งคล้ายกับเป็นงานฉลองปีใหม่กับหมู่ญาติสนิทมิตรสหายไปในตัว
       
       สำหรับการ “ไป้เหนียน” ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคไฮเทค นอกจากการไปเยี่ยมเยือนถึงบ้านแล้ว ยังนิยมส่งบัตรอวยพร โทรศัพท์ อีเมล์ หรือส่งข้อความผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เพื่อส่งความสุขซึ่งกันและกัน


กลับบ้านเยี่ยมพ่อแม่
       กลับบ้านเยี่ยมพ่อแม่
       หลังจากวันแรกของปีใหม่ผ่านพ้นไป บรรดาหญิงสาวที่ออกเรือนไปแล้วจะกลับไปอวยพรตรุษจีนพ่อแม่และญาติพี่น้อง พร้อมกับสามีและลูกๆ ที่ชาวจีนเรียกกันว่าการกลับบ้านแม่ หรือ ‘หุยเหนียงเจีย (回娘家)’ ซึ่งถือเป็นโอกาสพาเด็กๆ ไปเยี่ยมคารวะคุณตา คุณยาย คนเฒ่าคนแก่ และรับอั่งเปามาเป็นเงินก้นถุง
       
       ส่วนใหญ่จะไม่กลับบ้านแม่มือเปล่า แต่จะนำขนมคุกกี้ ลูกอม ไปฝากญาติพี่น้องและบ้านใกล้เรือนเคียง ตลอดจนพกอั่งเปาไปแจกหลานๆ ด้วยเช่นกัน เพื่อแสดงออกซึ่งความห่วงหาอาทรต่อบ้านเกิดของหญิงที่ออกเรือนไปแล้ว แต่การกลับไปบ้านแม่นี้ จะแค่กินข้าวเที่ยง ไม่มีการนอนค้าง
       
       ตามธรรมเนียมเดิม ก่อนกลับคุณตาคุณยายจะแต้มสีแดงที่หน้าผากหลาน เพื่อให้เป็นสิริมงคล และป้องกันภูติผีปีศาจมารังควาญ ด้วยหวังให้เด็กๆ เติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง ปราศจากโรคภัย
       
       กิจกรรมที่สำคัญอีกอย่างในวันนั้นก็คือ การเชิญเทพเจ้าแห่งโชคลาภ โดยแต่ละบ้านจะทำการติดภาพเชิญเทพเจ้าโชคลาภเข้ามายังบ้านของตน


       เรื่องต้องห้ามก่อนวันที่ 5 ‘พ่ออู่ (破五)’
       ตรุษจีนเป็นเทศกาลแห่งความสุขสนุกสนาน และยังเป็นเทศกาลที่คงธรรมเนียมประเพณีดั่งเดิมไว้ ซึ่งในช่วงนี้จะมี ‘คำพูดหรือการกระทำต้องห้าม’ เช่น ในวันชิวอิก หรือวันขึ้นปีใหม่ ผู้หญิงห้ามออกจากบ้านไปอวยพรปีใหม่และห้ามกลับไปบ้านแม่ เด็กน้อยห้ามร้องไห้กระจองอแง ทุกคนห้ามพูดเรื่องอัปมงคล เพื่อนบ้านห้ามทะเลาะเบาะแว้ง รวมทั้งห้ามทำอุปกรณ์เครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์แตกเสียหาย ตลอดจนห้ามเชิญหมอมาที่บ้าน
       
       ตั้งแต่ชิวอิก หรือ ชูอี (初一) จนถึงชูซื่อ (初四) หรือวันที่ 1-4 ของปีใหม่ตามปฏิทินจันทรคติ ห้ามคนในบ้านทำสิ่งที่ไม่เป็นสิริมงคลทั้งหลายตั้งแต่ใช้เข็มเย็บผ้า กรรไกร กวาดบ้าน และยังห้ามกินข้าวต้มในวันที่ 1 ด้วย เพราะข้าวต้มจัดเป็นอาหารของขอทานคนยากจน
       
       เมื่อเข้าวันที่ 5 หรือชูอู่ (初五) จึงจะเริ่มผ่อนคลายกฎต้องห้ามต่างๆ และเข้าสู่ภาวะปกติ ชาวบ้านจึงเรียกว่า ‘พ่ออู่ (破五)’ ซึ่งหมายถึง ทำให้แตก หรือยกเลิกข้อห้ามในวันที่ 5 โดยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ หุงหาอาหารได้ตามเดิม ส่วนอาหารยอดนิยมในวันนี้จะเป็นเกี๊ยวจีน (饺子) ที่ในสมัยก่อนเรียกว่า ‘เนียอู่ (捏五)’ โดยแทนการห่อเงินห่อทอง นำมาซึ่งความมั่งคั่งร่ำรวย
       
       นอกจากนั้น นับตั้งแต่วันที่ 5 ผู้คนจะสามารถนำขยะไปทิ้งข้างนอกได้ อย่างที่ชาวจีนเรียกว่า ‘เต้าฉานถู่ (倒残土)’ และยังถือวันที่ 5 นี้ เป็นวันเกิดของเทพเจ้าแห่งโชคลาภเงินทองที่ประจำทั้ง 5 ทิศ ซึ่งตามร้านค้าต่างๆ จะประกอบพิธีไหว้ เพื่อเป็นการเอาฤกษ์เอาชัยเปิดกิจการรับปีใหม่ด้วย


       อั่งเปา
       การแจกอั่งเปา (红包ซองแดง) หรือ *แต๊ะเอีย (กด/ทับเอว) สำหรับเด็กสมัยใหม่ต่างคาดหวังหรือหลงระเริงไปกับตัวเงินในซอง แต่หารู้ไม่ว่า กุญแจสำคัญอยู่ที่ซองแดงต่างหาก
       
       ชาวจีนนิยมชมชอบ “สีแดง” เป็นที่สุด อย่างที่มีคนเคยพูดว่า “จะถูกจะแพง ก็ขอให้แดงไว้ก่อน” เพราะว่า ตามความเชื่ออย่างจีน สีแดงเป็นสัญลักษณ์ของความมีชีวิตชีวา ความสุข และโชคดี
       
       เรามอบอั่งเปาให้แก่บุตรหลาน หรือญาติผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการมอบโชคลาภและพรอันประเสริฐต่างๆ ให้แก่พวกเขา เงินในซองแดงแค่เพียงต้องการให้เด็กๆ ดีใจ แต่ตัวเอกของประเพณีนี้อยู่ที่ซองแดง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโชคดี ดังนั้น การเปิดซองอั่งเปาต่อหน้าผู้ให้ถือเป็นเรื่องที่ไม่สุภาพเช่นกัน
       
       อั่งเปาสามารถมอบให้ในระหว่างไหว้ตรุษจีนในหมู่ญาติพี่น้อง หรือวางไว้ข้างหมอนเวลาที่ลูกๆ หลับในคืนวันสิ้นปีก็ได้
       
       ประเพณีการให้แต๊ะเอียได้สืบทอดสู่ชาวจีนรุ่นต่อรุ่น ทั้งในประเทศจีนและจีนโพ้นทะเล ครอบครัวจีนส่วนใหญ่ถือว่า ลูกหลานที่ทำงานแล้ว จะไม่ได้แต๊ะเอีย แต่จะกลายเป็นผู้ให้แทน การให้อั่งเปา ว่าเป็นวิธีการกระชับสัมพันธ์ในหมู่ญาติอีกแบบหนึ่ง
       
       นอกจากนี้ ยังมีตำนานโบร่ำโบราณเกี่ยวกับเรื่องอั่งเปาอีกว่า เมื่อครั้งโบราณกาลมีปีศาจเขาเดียวนามว่า “ซุ่ย” (祟) อาศัยอยู่ใต้ทะเลลึก ทุกคืนวันส่งท้ายปีมันจะขึ้นฝั่งมาทำร้ายเด็กๆ โดยซุ่ยจะใช้มือลูบศีรษะเหยื่อ หลังจากนั้นเด็กจะจับไข้ จากเด็กฉลาดเฉลียวจะกลายเป็นเด็กที่สมองเชื่องช้า
       
       ชาวบ้านเกรงว่า ปีศาจซุ่ยจะมาทำร้ายลูกหลาน เมื่อถึงคืนวันสุดท้ายของปี ก็จะจุดไฟเฝ้ายาม ไม่หลับไม่นอนตลอดทั้งคืน เรียกว่า “โส่วซุ่ย” (守祟 หรือ เฝ้าตัวซุ่ย) ต่อมาแผลงเป็น “โส่วซุ่ย” (守岁) ประเพณี“เฝ้าปี” ที่ชาวจีนนิยมปฏิบัติกันในค่ำคืนก่อนผัดเปลี่ยนสู่ปีใหม่แทน
       
       ในคืนนั้นเองมีเรื่องเล่าว่า มีสามีภรรยาคู่หนึ่งแซ่ กวน นำเงินเหรียญออกมาเล่นกับลูก ครั้นลูกน้อยเหนื่อยล้าหลับไป จึงได้นำเงินเหรียญห่อใส่กระดาษแดงแล้ววางไว้ข้างหมอนลูก เมื่อปีศาจซุ่ยบุกเข้าบ้านสกุลกวนหวังทำร้ายเด็ก แต่เพราะแสงทองจากเหรียญโลหะข้างหมอนกระทบเข้าตา ทำให้ซุ่ยตกใจและหนีไป
       
       เรื่องราวดังกล่าวแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว ชาวบ้านอื่นๆ ต่างพากันลอกเลียนแบบ โดยทุกวันสิ้นปีผู้อาวุโสจะมอบเงินห่อกระดาษแดงแก่ลูกหลาน “ซุ่ย” จะได้ไม่กล้ามาทำร้าย นับแต่นั้นมาจึงเรียกเงินที่ให้นี้ว่า “ยาซุ่ยเฉียน” (压祟钱หรือ เงินทับตัวซุ่ย)ต่อมาแผลงเป็น “เงินทับซุ่ย (ปี)” แทน
       
       * ที่มาของคำว่า “แต๊ะเอีย” มาจากสมัยก่อนเงินตราที่ชาวจีนโบราณใช้กันเป็นโลหะ ขณะนั้นยังไม่มีชุดเสื้อผ้าที่มีกระเป๋า จึงได้นำเงินใส่ถึงและผูกรอบเอว เงินยิ่งมากน้ำหนักยิ่งกดทับที่เอวมากตาม


       กินบัวลอยแล้วออกไปชมโคมไฟ ในคืน‘หยวนเซียว’
       เทศกาลหยวนเซียว(元宵节) คือวันที่ 15 เดือนอ้ายในปฏิทินจันทรคติ คำว่า 元หยวน มีความหมายว่า แรก ส่วน宵เซียว แปลว่า กลางคืน จึงใช้เรียกคืนที่พระจันทร์เต็มดวงครั้งแรกในรอบปีหลังผ่านพ้นตรุษจีน สำหรับคืนนี้ มีประเพณีว่า ชาวจีนจะต้องรับประทานบัวลอยกันในครอบครัวและออกไปชมโคมไฟที่จะนำมาประดับประดากันอย่างสวยงาม ดังนั้น จึงมีการเรียกเทศกาลนี้อีกอย่างว่า เทศกาลโคมไฟ (灯节)
       
       ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทุกครั้งที่ถึงค่ำคืนเทศกาลหยวนเซียว ผู้คนก็จะหลั่งไหลไปตามท้องถนนเพื่อชมโคมไฟที่มีรูปทรงต่างๆ ทายปัญหาเชาวน์ที่ซ่อนอยู่ในโคมไฟ เล่นดอกไม้ไฟ จุดประทัด แห่สิงโต ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมบันเทิงใจ
       
       นอกจากการชมโคมไฟแล้ว สิ่งหนึ่งที่ลืมไม่ได้ คือการรับประทานบัวลอยที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ภายในมีไส้ทั้งไส้หวานและไส้เค็ม ปั้นเป็นลูกกลมๆ แล้วนำไปต้มหรือนำไปทอด ในยุคแรก ชาวจีนเรียกขนมชนิดนี้ว่า浮圆子ฝูหยวนจื่อ (,浮-ลอย 圆子-ลูกกลมๆ) ต่อมาก็เรียกว่า 汤团ทังถวน(汤-น้ำแกง团-ลูกกลมๆ ) หรือ 汤圆ทังหยวน โดยมีความหมายเหมือนกัน ทั้งออกเสียงใกล้เคียงกัน และ 团圆เมื่อรวมกันแล้ว ก็ได้ความหมายถึงการอยู่พร้อมหน้าพร้อมตากันของคนในครอบครัว

47  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: ไหว้พระ ไหว้เจ้า :รู้จักประเพณีในเทศกาลตรุษจีน เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 16:13:44


รู้จักประเพณีในเทศกาลตรุษจีน
*http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9560000016674-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
8 กุมภาพันธ์ 2556 19:29 น.



astvผู้จัดการออนไลน์--เทศกาลต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ ที่เรียกว่า ชุนเจี๋ย (春节) หรือ ตรุษจีน ถือเป็นประเพณีเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ที่ยิ่งใหญ่ของชนชาวฮั่น และยังถือเป็นการเริ่มต้นฤดูเพาะปลูกด้วย โดยกำหนดให้วันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติเป็นวันเริ่มต้นปีใหม่ ในอดีตช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลอง จะเริ่มตั้งแต่พิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าเตาไฟในวันที่ 23 หรือ 24 ของปีเก่า จนถึงเทศกาลหยวนเซียวหรือเทศกาลโคม (แรม 15 ค่ำเดือนอ้าย) โดยแต่ละช่วงจะมีพิธีกรรมธรรมเนียมปฏิบัติที่แตกต่างกัน บางส่วนยังคงสืบทอดกันมาถึงยุคปัจจุบัน ขณะที่บางส่วนได้เลือนหายไป หรือแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา
      
       คลิกอ่าน "มาฉลองตรุษจีนกันเถอะ" คำ 'เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ' เริ่มใช้แต่ใดมา


ตัวอักษร ฝูกลับหัว (福倒) โชคความสุขได้มาถึงบ้านแล้ว

       ติด “ฝูกลับหัว” (福倒) โชคมงคลได้มาถึงบ้านแล้ว
       ระหว่างเทศกาลตรุษจีน ชาวจีนนอกจากนิยมตกแต่งบ้านเรือนด้วยกระดาษแดง ภาพวาด และภาพกระดาษตัดสีสันสดใส สร้างบรรยากาศของความสนุกสนานรื่นเริง และเพื่อเป็นการต้อนรับความสุขและขอโชคขอพร ก็ยังนำอักษรมงคล เช่นตัว ‘福’ (ฝู) หรือตัว 春 (ชุน) มาติดที่บานประตูหน้าบ้าน ตามกำแพง หรือบริเวณเหนือกรอบบนของประตู
      
       การติดอักษรมงคลที่แพร่หลายที่สุด คือ 福 เป็นประเพณีมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยซ่ง และมักติดกลับหัวซึ่งในภาาษจีนกลางเรียก 福倒 (ฝูเต้า)ที่มีความหมายว่า สิริมงคลหรือโชคดีได้มาถึงบ้านแล้ว
      
       เรื่องการกลับหัวตัวอักษรนี้มีเหตุที่มาเมื่อครั้งอดีตกาล ซึ่งเล่าสืบกันมาในหมู่สามัญชนว่า
      
       “สมัยจักรพรรดิหมิงไท่จู่จูหยวนจางแห่งราชวงศ์หมิง ได้ใช้อักษร‘ฝู’เป็นเครื่องหมายลับในการสังหารคน หม่าฮองเฮาทราบเรื่องจึงคิดอุบายเพื่อหลีกเลี่ยงภัยดังกล่าวไม่ให้เกิดแก่ราษฎร ด้วยมีพระราชเสาวนีย์ให้ทุกบ้านติดตัวฝูที่หน้าประตูเพื่อลวงให้ฮ่องเต้สับสน
      
       “รุ่งขึ้นชาวเมืองต่างนำตัวอักษรฝูมาติดที่หน้าประตูตามนั้น ทว่ามีบ้านหนึ่งไม่รู้หนังสือจึงติดตัวฝูกลับหัวด้วยความไม่ตั้งใจ เมื่อฮ่องเต้ทอดพระเนตรเห็นเข้าก็ทรงกริ้ว รับสั่งให้ประหารคนในบ้านทั้งหมด หม่าฮองเฮาเห็นท่าไม่ดีจึงรีบทูลยับยั้งไว้ว่า ‘บ้านนี้ทราบว่าพระองค์จะเสด็จมา จึงตั้งใจติดตัวฝูกลับหัว ( 福倒-ฝูเต้า) เพื่อแสดงความปิติยินดีต่อการเสด็จเยือนของพระองค์ ราวกับว่าความสุขสวัสดีและโชคลาภได้มาถึงที่บ้าน’ ได้ยินดังนี้แล้วจูหยวนจางจึงไว้ชีวิตชาวบ้านผู้นั้น การติดตัวฝูกลับหัวสืบต่อมานอกจากเพื่อขอโชคสิริมงคลตามความหมายของตัวอักษรแล้ว ยังเป็นการระลึกถึงคุณความดีของหม่าฮองเฮาในเหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย”


       เชิญเทพผู้พิทักษ์ประตู
       ในวันส่งท้ายปีเก่าหรือที่เรียกว่า ฉูซี (除夕) ชาวจีนมีธรรมเนียมในการติด ‘เหมินเสิน (门神)’ หรือ ภาพเทพเจ้าผู้คุ้มครองประตู
      
       ‘เหมินเสิน’ มีประวัติความเป็นมาค่อนข้างยาวนาน ในอดีตกาลจะถือตัวประตูเป็นเทพเจ้าโดยตรง จนกระทั่งหลังสมัยราชวงศ์ฮั่น (202 B.C.- ค.ศ.220) จึงได้ปรากฏการใช้ภาพคนมาเป็นตัวแทนเทพเจ้า แรกเริ่มเดิมทีใช้ภาพนักรบผู้กล้านามว่า ‘เฉิงชิ่ง (成庆)’ ต่อมาเปลี่ยนเป็นภาพวาดของ ‘จิงเคอ (荆轲)’ จอมยุทธ์ชื่อดังสมัยจ้านกั๋ว (475 - 221 B.C.)
      
       ‘เหมินเสิน’ ในราชวงศ์ใต้และเหนือ (ค.ศ.420 - 589) จะเป็นภาพคู่เทพเจ้าสองพี่น้อง ‘เสินถู (神荼)’ ‘ยูไล (郁垒)’ ตลอดจนสองขุนพลเอกในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618 - 907) ที่มีชื่อว่า ‘ฉินซูเป่า (秦叔宝) และอี้ว์ฉือจิ้งเต๋อ (尉迟敬德)’แต่ต่อมากษัตริย์ถังไท่จงหลี่ซื่อหมินรู้สึกเห็นใจว่าสองขุนพลจะลำบากเกินไป จึงได้สั่งให้จิตรกรหลวงวาดภาพสองขุนพลขึ้นมา แล้วใช้ติดไว้ที่ประตูทั้งสองข้างแทน จึงได้กลายเป็นภาพ ‘เหมินเสิน’ ในเวลาต่อมาเมื่อถึงยุค 5 ราชวงศ์ (ค.ศ.907-960) ได้เริ่มนำภาพของ จงขุย (钟馗) เทพผู้ปราบภูตผีปีศาจ มาติดเพื่อเป็นสิริมงคลด้วย
      
       หลังราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ.960 - 1127) ‘เหมินเสิน’ ยังมีรูปแบบเหมือนก่อนหน้านั้น แต่เพิ่มการประดับตกแต่งบ้านเรือนให้สวยงามขึ้น ในห้องรับแขกและห้องนอนจะมีการติดภาพเทพเจ้า 3 องค์ (三星) ที่เราคุ้นหูกันดีว่า ‘ฮก ลก ซิ่ว (福 - 禄 - 寿)’ นอกจากนั้น ยังมีภาพชุมนุมเทพเจ้า (万神图) ตามอย่างลัทธิเต๋า และภาพพระพุทธเจ้า 3 ปาง ซันเป่าฝอ (三宝佛) ฯลฯ ด้วย
      
       ว่ากันว่า การติดภาพ ‘เหมินเสิน’ ก็เพื่อป้องกันขับไล่สิ่งชั่วร้าย หรือเป็นเสมือนเทพผู้คอยปกปักษ์รักษานั่นเอง


สัตว์ประหลาดในคติปรัมปราจีน ที่มาทำร้านผู้คนในคืนส่งท้ายปีเก่า
       คืนส่งท้ายปีเก่า
       ชาวจีนมีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับ “ฉูซีเยี่ย (除夕夜)” หรือ คืนส่งท้ายปีเก่าว่า ในยุคโบราณสมัยที่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ มีสัตว์ประหลาดที่ดุร้ายมากตัวหนึ่ง ชื่อว่า “เหนียน (年)” ทุกปีในคืนวันส่งท้ายปี จะขึ้นจากทะเลมาอาละวาดทำร้ายผู้คนและทำลายเรือกสวนไร่นา ในวันนั้นของทุกปีชาวบ้านจึงมักจะหลบกันอยู่แต่ในบ้านตั้งแต่ฟ้ายังไม่มืด ปิดประตูหน้าต่างแน่นหนา และไม่หลับไม่นอนเพื่อเฝ้าระวัง รอจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นจึงเปิดประตูออกมา และกล่าวคำยินดีแก่เพื่อนบ้านที่โชคดีไม่ถูก “เหนียน” ทำร้าย
      
       ในคืนส่งท้ายปีของปีหนึ่ง “เหนียน” ได้เข้าไปอาละวาดในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง กินชาวบ้านจนเรียบ ยกเว้นคู่บ่าวสาวที่เพิ่งแต่งงาน เนื่องจากสวมชุดสีแดงจึงปลอดภัย และเด็กคนหนึ่งที่กำลังเล่นประทัดอยู่กลางถนน ซึ่งเสียงดังจนทำให้ “เหนียน” ตกใจกลัวหนีไป ชาวบ้านจึงรู้จุดอ่อนของ “เหนียน”
      
       ดังนั้น เมื่อถึงคืนส่งท้ายปีเก่า ชาวบ้านจึงพากันสวมใส่เสื้อผ้าสีแดง นำสิ่งของที่มีสีแดงมาประดับตกแต่งบ้านเรือน และจุดประทัด ทำให้ “เหนียน” สัตว์ประหลาดตัวร้ายไม่กล้าออกมาอาละวาดอีก ชาวบ้านจึงอยู่กันอย่างสงบสุข จากนั้นมาจึงมีธรรมเนียมปฏิบัติ ในคืนส่งท้ายปีจะไม่ยอมนอนเพื่อ “เฝ้าปี” หรือเรียกในภาษาจีนว่า โส่วซุ่ย(守岁) เฝ้าดูปีเก่าล่วงไปจนวันใหม่ย่างเข้ามา
      
       ในคืน “เฝ้าปี” สมาชิกในบ้านมีกิจกรรมร่วมกันมากมาย ทั้งด้านการกินและดื่ม ไม่ว่าจะเป็นอาหารทั่วไป เกี๊ยว เหนียนเกา (ขนมเข่ง) เหล้า เบียร์ เมล็ดแตง ของว่าง การเล่นเกม ซึ่งส่วนใหญ่ก็เล่นกันในห้องรับแขก เช่นผู้ใหญ่ก็เล่นหมากล้อม หมากฮอร์ส ไพ่กระดาษ ไพ่นกกระจอก ส่วนเด็กๆ ก็มีเกมแบบเด็กๆ เช่น ขี่ม้าไม้ไผ่ วิ่งไล่จับ ซ่อนแอบ
      
       กระทั่งใกล้เวลาเที่ยงคืน ผู้อาวุโสในบ้านก็จะเริ่มตั้งโต๊ะเพื่อจัดเรียงธูปเทียนไหว้บรรพบุรุษ และต้อนรับเทพแห่งโชคลาภ นอกจากนั้นก็ยังมีการจุดประทัด จุดโคมไฟ ซึ่งเมื่อใกล้เวลาเที่ยงคืนเท่าไหร่ เสียงประทัดก็ยิ่งดังมากขึ้นเท่านั้น กระทั่งรุ่งอรุณแรกของปี ก็จะสวัสดีปีใหม่กัน กินเกี๊ยว เพื่อความเป็นสิริมงคล

48  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: ไหว้พระ ไหว้เจ้า :วันตรุษจีน ปี 2556 เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 16:03:12



วันตรุษจีน ปี 2556

8 เรื่องดี ๆ ที่ลูกหลานชาวจีนควรทำรับวันตรุษจีน
*http://hilight.kapook.com/view/80636-

12 ข้อห้าม ที่ไม่ควรทำในวันตรุษจีน
*http://hilight.kapook.com/view/66365-

ตามไปดู เรื่องน่ารู้ของ อั่งเปา และ แต๊ะเอีย
*http://hilight.kapook.com/view/66692-

8 เรื่องดี ๆ ที่ลูกหลานชาวจีนควรทำรับวันตรุษจีน
*http://hilight.kapook.com/view/80636-



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
             รู้กันอยู่แล้วว่าเทศกาลตรุษจีนก็คือวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนทั่วโลกนั่นเอง ซึ่งหากเป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่สากลอย่างช่วงวันที่ 1 มกราคม หลายคนก็จะพากันไปเดินทางท่องเที่ยว ไปทำบุญไหว้พระ สวดมนต์ข้ามปี พบปะญาติมิตรพี่น้อง เลี้ยงฉลอง เพื่อความเป็นสิริมงคลต้อนรับศักราชใหม่ที่กำลังจะมาถึง ไม่ต่างจากชาวจีน ที่พวกเขาเองก็มีการถือเคล็ดความเชื่อแบบนี้ในช่วงวันตรุษจีนเช่นกัน อยากรู้ไหมว่า มีสิ่งใดที่ชาวจีนควรปฏิบัติในช่วงเทศกาลตรุษจีนบ้าง เพื่อเป็นการต้อนรับ วันตรุษจีน 2556 ที่ใกล้จะมาถึงนี้ กระปุกดอทคอม ขอนำความรู้เรื่องสิ่งที่ควรทำในวันตรุษจีนมาบอกกันค่ะ

 1. ไหว้เจ้าที่ ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้ผีไม่มีญาติ
            คนจีนทุกบ้านจะต้องไหว้เจ้าในช่วงเทศกาลตรุษจีนนี้ เพราะเป็นธรรมเนียมที่ลูกหลานชาวจีนสืบทอดต่อกันมานานแล้ว โดยเชื่อว่า การไหว้เจ้าที่ ไหว้บรรพบุรุษ จะนำความสุขมาสู่ครอบครัวนั้น โดยในช่วงเช้า ชาวจีนจะไหว้เจ้าที่ และบรรพบุรุษ จากนั้นในช่วงเที่ยงจะไหว้ผีไม่มีญาติ และจุดขี้ไต้ไว้ 2 ชิ้น เมื่อไหว้ผีไม่มีญาติเสร็จแล้ว จะจุดประทัด และโปรยข้าวสารผสมเกลือ เพื่อเป็นการขับไล่สิ่งไม่ดีให้หมดไป

2. ทำพิธีรับไฉ่ซิ้งเอี้ย
            ไฉ่ซิ้งเอี้ย หรือ ไฉสิ่งเอี้ย คือ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ให้คุณทางด้านเงินทอง และทรัพย์สิน ถือเป็นเทพเจ้าที่มีความสำคัญมากที่สุดของชาวจีนก่อนเริ่มเข้าสู่นักษัตรปีใหม่ จะเห็นได้ว่าชาวจีนหลายคนนิยมไปกราบไหว้บูชาเทพเจ้าไฉ่ซิ้งเอี้ยในช่วงตรุษจีนมากเป็นพิเศษ เป็นการเอาฤกษ์เอาชัย เรียกโชคลาภเข้ามาสู่ชีวิต ขณะที่หลายบ้านก็จะทำพิธีรับไฉ่ซิ้งเอี้ย ในช่วงหลังเที่ยงคืนของวันซาจั๊บ จนถึงก่อนตี 1
 


3. ประดับตุ๊ยเลี้ยง (คำกลอนอวยพรปีใหม่) ในบ้าน
            หากได้ไปเยือนบ้านคนจีน เราคงจะเห็นกระดาษสีแดง ๆ เขียนอักษรภาษาจีนสีทอง หรือสีดำตัวใหญ่ ๆ แปะอยู่ในบ้าน และที่ประตูบ้าน สิ่งนั้นเรียกว่า "ตุ๊ยเลี้ยง" หรือ คำกลอนอวยพรปีใหม่ของคนจีน ซึ่งเป็นคำกลอนที่มีความหมายดี ๆ อวยพรให้ร่ำรวย มั่งมีเงินทอง มีความสุข มีโชคมีลาภ ค้าขายได้กำไร ส่วนแผ่นที่ติดตรงประตูนั้นจะเขียนคำว่า "ชุก ยิบ เผ่ง อัง" แปลว่า เข้า-ออกโดยปลอดภัย นอกจากนี้ ชาวจีนจะติดภาพเด็กผู้หญิง และเด็กผู้ชาย ที่เรียกว่า "หนี่อ่วย" ไว้ในบ้านด้วย เพราะถือว่าเป็นภาพมงคลของจีน

4. กินเจในมื้อแรกของวันตรุษจีน
            ในเช้าวันใหม่ของวันชิวอิก หรือวันขึ้นปีใหม่ (ปี 2556 ตรงกับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556) ชาวจีนหลายบ้านจะรับประทานอาหารเจกันในมื้อแรกของปี งดเว้นการรับประทานเนื้อสัตว์ เพราะเชื่อว่าจะได้บุญเหมือนกับการกินเจตลอดปี

5. ใส่เสื้อผ้าใหม่ ๆ สีสันสดใส
            มีธรรมเนียมของชาวจีนอย่างหนึ่งที่สืบทอดกันมานานแล้ว นั่นก็คือ ชาวจีนจะนิยมหยิบเสื้อผ้าสีสันสดใส สีสว่าง ๆ เช่น สีแดง สีทอง ซึ่งเป็นสีแห่งความสุข สีของความมงคลออกมาใส่ในช่วงเทศกาลตรุษจีนนี้ เพราะเชื่อว่าจะนำความสว่างสดใส และเจิดจ้ามาให้ผู้สวมใส่ รวมทั้งใส่เสื้อผ้าใหม่ ๆ ด้วย ทั้งเด็กเล็ก ๆ ไปจนถึงผู้สูงอายุ เพื่อเอาเคล็ดในวันปีใหม่ให้ชีวิตสดใสราบรื่นเบิกบานไปตลอดปี ส่วนเสื้อผ้าสีขาว สีดำ ถือเป็นสีต้องห้ามในช่วงเทศกาลตรุษจีน เพราะเป็นสีไว้ทุกข์ แสดงถึงความโศกเศร้า

6. รวมญาติกินเกี๊ยว
            ในช่วงเทศกาลตรุษจีนถือเป็นโอกาสหนึ่งที่หลาย ๆ ครอบครัวจะได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง เพื่ออวยพรวันปีใหม่ และพบปะสังสรรค์กัน จึงถือเป็น "วันรวมญาติ" อีกหนึ่งวัน ซึ่งในวันซาจั๊บ คนในครอบครัวจะมาร่วมโต๊ะรับประทานเกี๊ยวด้วยกันในมื้อสุดท้ายก่อนขึ้นปีใหม่ ซึ่ง "เกี๊ยว" นี้ จะต้องพับเป็นก้อนให้เหมือน "เงิน" ของจีน แทนความหมายว่า มั่งมีเงินทอง

 7. อวยพรผู้ใหญ่ ด้วยส้ม 4 ผล
            ตามประเพณีของชาวจีน ในวันชิวอิก ทุกคนจะนำส้ม 4 ผล ไปกราบขอพรผู้ใหญ่ ซึ่งเจ้าของบ้านนั้นก็จะต้องรับส้มมา 2 ผล และนำส้มที่ตัวเองเตรียมไว้วางคืนลง 2 ผล พร้อมกับเตรียมเมล็ดแตงโมย้อมสีแดงไว้ 1 พาน และสมอจีนไว้รับแขกที่มาอวยพรด้วย



8. รับอั่งเปา-แต๊ะเอีย
            ข้อนี้เด็ก ๆ คงยิ้มแก้มปริแน่นอน เพราะในวันตรุษจีนนี้ เด็ก ๆ จะได้รับซองสีแดง ๆ จากญาติผู้ใหญ่ จะเรียกว่า "อั่งเปา" หรือ "แต๊ะเอีย" ก็ได้ เพื่ออวยพรให้เด็ก ๆ เจริญเติบโตแข็งแรง มีโชคลาภ ส่วนคนทำงาน คนที่มีเงินเดือนเป็นของตัวเองแล้ว ก็จะต้องให้อั่งเปากับเด็ก ๆ ในบ้านที่มีอายุน้อยกว่าด้วยเช่นกัน หรือเจ้านายจะให้อั่งเปาลูกน้องก็ได้ อ่านเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "อั่งเปา" ต่อได้ที่นี่เลย "ตามไปดู เรื่องน่ารู้ของ อั่งเปา และ แต๊ะเอีย"

           ยังมีความเชื่ออีกหลายข้อที่ขึ้นอยู่กับประเพณี และธรรมเนียมของแต่ละชุมชน ซึ่งแต่ละบ้าน แต่ละครอบครัวก็จะปฏิบัติแตกต่างกันไป เช่น บางคนอาจเชื่อเรื่องโชคลางมาก ก็อาจจะให้ซินแสช่วยหาฤกษ์ยามก่อนจะก้าวเท้าออกจากบ้านไปเยี่ยมเยียนญาติในวันปีใหม่ หรือหลายคนก็เชื่อว่า หากได้ยินเสียงนกนางแอ่นร้อง หรือเห็นนกสีแดงในวันปีใหม่ จะทำให้โชคดีไปตลอดปีก็มี

           อย่างไรก็ตาม นอกจากข้อควรปฏิบัติในวันตรุษจีนแล้ว ก็ยังมีความเชื่อเรื่องสิ่งที่ไม่ควรทำในวันตรุษจีนด้วย ตามมาอ่านต่อได้ที่นี่เลยจ้า "12 ข้อห้าม ที่ไม่ควรทำในวันตรุษจีน"


12 ข้อห้าม ที่ไม่ควรทำในวันตรุษจีน
http://hilight.kapook.com/view/66365-
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
          ซินเจียยู่อี่ ซินนี่ฮวดไช้ ใกล้เทศกาลวันตรุษจีน 2556 หรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนแล้ว เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน คงจะตื่นเต้นกันไม่น้อย เพราะช่วงเวลานี้ เป็นช่วงที่จะได้พบกับญาติมิตรที่ไม่เจอหน้ากันมานาน และบางคนก็อาจได้รับอั่งเปาของขวัญจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือด้วย แต่ในเมื่อนี่คือวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนทั้งที หลาย ๆ บ้านก็คงจะมีธรรมเนียมปฏิบัติและข้อห้ามที่สืบทอดต่อกันมา ซึ่งในวันนี้จะพาไปดูกันว่ามีข้อห้ามอะไรบ้างที่ไม่ควรทำในช่วงตรุษจีน

          1. ห้ามทำความสะอาดบ้านในวันตรุษจีน
          ชาวจีนมีความเชื่อว่า การทำความสะอาดบ้าน และทิ้งขยะ ในวันตรุษจีนนั้น จะเป็นการการกวาดเอาโชคลาภ เงินทอง ออกไปจากบ้าน แม้ว่าบ้านในช่วงวันตรุษจีนจะสกปรกก็ตาม บางคนที่จำเป็นจะต้องทำความสะอาดบ้าน ก็จะเพียงกวาดเศษฝุ่นไปไว้ที่มุมบ้าน แล้วค่อยเอาเศษฝุ่นนั้นไปทิ้งในวันต่อไป ดังนั้น วันตรุษจีน จึงไม่ค่อยมีคนทำความสะอาดบ้าน แต่จะไปทำความสะอาดกันหนึ่งก่อนวันตรุษจีน เพื่อที่จะให้บ้านสะอาดรับปีใหม่ และใช้บ้านในการต้อนรับแขกที่จะมาเยี่ยมเยียนอีกทางหนึ่ง
          2. ห้ามสระผมหรือตัดผม
          ชาวจีนจะไม่นิยมสระผมหรือตัดผมกันในวันตรุษจีน หรือบางคนก็จะไม่สระผม 3 วันหลังจากวันตรุษจีน เนื่องจากคำว่า ผม เป็นคำพ้องเสียงและพ้องรูปกับคำว่า มั่งคั่ง ดังนั้น การสระหรือตัดผมในวันตรุษจีน จึงเหมือนกับการนำความมั่งคั่งออกไป
          3. ห้ามพูดคำหยาบและทะเลาะเบาะแว้ง
          ในวันตรุษจีน คนจีนจะงดพูดคำหยาบและสิ่งที่ไม่ดี รวมไปถึงการพูดถึงความตายหรือผี เนื่องจากเชื่อว่า การพูดสิ่งที่ไม่ดีในวันนี้ จะนำความโชคร้ายมาให้ตลอดทั้งปี รวมไปถึงการที่ไม่พูดถึงเลข 4 เนื่องจากเลข 4 ในภาษาจีน ออกเสียงคล้ายกับคำว่า ตาย ดังนั้น หลาย ๆ คนจึงพยายามไม่ใช้หรือไม่พูดอะไรที่เกี่้ยวข้องกับเลข 4
          4. ห้ามกินโจ๊กและเนื้อสัตว์
          คนจีนมักจะไม่กินโจ๊กในตอนเช้าของวันตรุษจีน เนื่องจากเชื่อว่า คนจนคือคนที่มักจะกินโจ๊กในตอนเช้า ดังนั้น การกินโจ๊กในตอนเช้าของวันตรุษจีนจึงเหมือนกับการขัดขวางไม่ให้ตัวเองร่ำรวย และทำตัวเหมือนคนจน ทั้งนี้ ยังรวมไปถึงการไม่กินเนื้อสัตว์ด้วย เนื่องจากเชื่อว่า เทพเจ้าที่ลงมาในตอนเช้าของวันตรุษจีนนั้นเป็นมังสวิรัติ

          5. ห้ามซักผ้าในวันตรุษจีน
          คนจีนเชื่อว่า เทพเจ้าแห่งน้ำเกิดในวันตรุษจีน ดังนั้น การซักผ้าในวันตรุษจีนจึงเปรียบเสมือนการลบหลู่ท่าน
            6. ห้ามใส่ชุดขาวดำ
          เสื้อผ้าที่เป็นสีขาวดำ เป็นสัญลักษณ์ของความตาย ดังนั้น การสวมเสื้อผ้าสีขาวดำในวันนี้จึงหมายถึงลางร้าย คนจีนจึงมักสวมเสื้อผ้าสีแดงกันเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเชื่อว่า สีแดงคือสีที่จะนำความโชคดีมาให้
            7. ห้ามให้ยืมเงิน
          คนจีนบางคนอาจจะหมายรวมการที่ไม่ให้ยืมสิ่งของต่าง ๆ นอกเหนือไปจากเงินแล้ว ซึ่งมีความเชื่อที่ว่า การให้ยืมเงินในวันนี้จะทำให้ทั้งปีมีคนเข้ามาขอยืมเงินตลอด รวมไปถึง หากใครที่ติดเงินใครไว้ ก็ควรที่จะคืนเงินก่อนวันตรุษจีน เพราะเชื่อกันว่า หากติดเงินใครในวันตรุษจีนแล้ว คน ๆ นั้นก็จะมีหนี้สินตลอดปีไม่จบไม่สิ้น
            8. ห้ามทำของแตก
          คนจีนเชื่อกันว่า การทำสิ่งของแตก เช่น ทำแก้วแตก ทำจานแตก หรือทำกระจกแตก ในวันตรุษจีนนั้น จะหมายถึงลางร้ายที่บอกว่าครอบครัวจะแตกแยก หรือมีคนเสียชีวิตในครอบครัว ดังนั้นในวันนี้ จึงควรระมัดระวังเป็นพิเศษไม่ให้สิ่งของในบ้านแตกหรือชำรุดเสียหาย แต่หากทำของแตกโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็มีวิธีการแก้เคล็ดโดยการพูดว่า "luo di ka hua" ที่แปลว่า ดอกไม้จะเบ่งบานเมื่อตกลงสู่พื้น

            9. ห้ามซื้อรองเท้าใหม่
          คนจีนจะถือคติที่ว่า จะไม่ซื้อรองเท้าใหม่ในเดือนแรกของวันตรุษจีน เนื่องจากคำว่า รองเท้า ในภาษาจีนออกเสียงว่า Hai ซึ่งคำว่า Hai นี้ มีเสียงคล้ายกับการถอนหายใจ ซึ่งชาวจีนเชื่อว่า นั่นเป็นสัญญาณของการเริ่มต้นปีที่ไม่ดี

            10. ห้ามร้องไห้
          คนจีนเชื่อกันว่า หากร้องไห้ในวันขึ้นปีใหม่ จะทำให้พบกับเรื่องไม่ดี และเสียใจไปตลอดทั้งปี ดังนั้น แม้ในวันนี้เด็กเล็กจะดื้อขนาดไหน อากง อาม่า ก็อาจจะปล่อยให้วันหนึ่ง เพราะไม่อยากตีให้เด็กต้องร้องไห้ในวันนี้

            11. ห้ามใช้ของมีคม
          ของมีคมก็เป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับวันนี้ ทั้งมีด กรรไกร และอย่างอื่นที่สามารถตัดสิ่งอื่นได้ นั่นเพราะชาวจีนเชื่อว่า การใช้ของมีคมตัดสิ่งของ จะเป็นการตัดโชคดีไปด้วย
            12. ห้ามเข้าไปในห้องนอนคนอื่น

          รู้ไหม คนจีนหลายบ้านมีความเชื่อที่ว่า ในวันตรุษจีนนี้ ห้ามเข้าไปหาใครในห้องนอนด้วย ดังนั้น แม้เจ้าของบ้านป่วย นอนอยู่ในห้องนอน แต่เมื่อมีแขกมาเยี่ยมก็ต้องแต่งตัวออกมานั่งในห้องรับแขก อย่าให้แขกเข้ามาเยี่ยมในห้องนอนเด็ดขาด เพราะถือว่าเป็นโชคร้าย

          อ่านแล้วอย่าลืมนำไปปฏิบัตินะคะ เพื่อจะได้รับเอาโชคลาภ เงินทอง เข้ามาตั้งแต่วันตรุษจีนตลอดจนทั้งปีนี้เลยนะคะ

49  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: ไหว้พระ ไหว้เจ้า/วันตรุษจีน หรือ ปีใหม่จีน :อาหารไหว้เจ้าที่และบรรพบุรุษ เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 15:44:39




อาหารไหว้เจ้าที่และบรรพบุรุษ (คลังปัญญาไทย)
ใน วันฉลองตรุษจีนอาหารจะถูกรับประทานมากกว่าวันไหนๆในปี อาหารชนิดต่างๆที่ปฏิบัติกันจนเป็นประเพณี จะถูกจัดเตรียมเพื่อญาติพี่น้องและเพื่อนฝูง รวมไปถึงคนรู้จักที่ได้เสียไปแล้ว ในวันตรุษครอบครัวชาวจีนจะทานผักที่เรียกว่า ไช่ ถึงแม้ผักชนิดต่างๆ ที่นำมาปรุง จะเป็นเพียงรากหรือผักที่มีลักษณะเป็นเส้นใยหลายคนก็เชื่อว่าผักต่างๆ มีความหมายที่เป็น มงคลในตัวของมัน

เม็ดบัว - มีความหมายถึง การมีลูกหลานที่เป็นชาย
เกาลัด - มีความหมายถึง เงิน
สาหร่ายดำ - คำของมันออกเสียงคล้าย ความร่ำรวย
เต้าหู้หมักที่ทำจากถั่วแห้ง - คำของมันออกเสียงคล้าย เต็มไปด้วยความร่ำรวย และ ความสุข
หน่อไม้ - คำของมันออกเสียงคล้าย คำอวยพรให้ทุกอย่างเต็มไปด้วยความสุข

เต้าหู้ที่ทำจากถั่วสดนั้นจะไม่นำมารวมกับอาหารในวันนี้เนื่องจากสีขาวซึ่ง เป็นสีแห่งโชคร้าย สำหรับปีใหม่และหมายถึงการไว้ทุกข์

อาหาร อื่นๆ รวมไปถึงปลาทั้งตัว เพื่อเป็นตัวแทนแห่งการอยู่ร่วมกัน และความอุดมสมบรูณ์ และไก่สำหรับความเจริญก้าวหน้า ซึ่งไก่นั้นจะต้องยังมีหัว หางและเท้าอยู่ เพื่อ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ เส้นหมี่ก็ไม่ควรตัดเนื่องจากหมายถึงชีวิตที่ยืนยาว

ทางตอนใต้ของจีนจานที่นิยมที่สุดและทานมากที่สุดได้แก่ ข้าวเหนียวหวานนึ่ง บ๊ะจ่างหวาน ซึ่งถือเป็นอาหารอันโอชะ
ทางเหนือ หมั่นโถและติ่มซำเป็นอาหารที่นิยม
อาหารจำนวน มากที่ถูกตระเตรียมในเทศกาลนี้มีความหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์และความร่ำรวยของบ้าน

ของไหว้เจ้าที่ ประกอบด้วย
ของคาว หมู เป็ด ไก่ ตับ ปลา แล้วแต่ว่าจะไหว้มากหรือน้อย

- ไหว้ 3 อย่าง เรียกว่า ชุดซาแซ ประกอบด้วย หมู เป็ด ไก่
- ไหว้ 5 อย่าง เรียกว่า ชุดโหงวแซ ประกอบด้วยหมู เป็ด ไก่ ตับ ปลา

ข้าว ข้าวสวยใส่ชาม พร้อมตะเกียบ จำนวนชุดตามจำนวนบรรพบุรุษ นิยมนับถึงแค่รุ่นปู่ย่า
ขนมไหว้ ฮวกก้วยหรือขนมถ้วยฟู คักท้อก้วยหรือขนมกุยช่าย(เป็นไส้ชนิดใดก็ได้)
ขนมจันอับ ซาลาเปา ขนมไหว้นี้ต้องมีสีชมพู หรือมีแต้มจุดแดง
ขนมไหว้พิเศษ ขนมเข่ง ขนมเทียน ต้องยืนเป็นหลัก

ผลไม้ ส้ม กล้วยทั้งหวีเลือกเขียวๆ องุ่น แอปเปิล ชมพู่ ลูกพลับ
เครื่องดื่ม น้ำชา 5 ที่หากมีไหว้ของคาวจะไหว้เหล้าด้วยก็ได้ก็จัด 5 ที่เช่นกัน
กระดาษเงิน กระดาษทอง ชุดไหว้เจ้าที่ ธุปไหว้ คนละ 5 ดอก
ทองแท่งสำเร็จรูป แบงก์กงเต็ก ค้อซี ฯลฯ จะมากหรือน้อยแล้วแต่เรา
กระถางรูป โดยเอาข้าวสารใส่ในแก้วไว้สำหรับปักรูป หลังจากที่เสร็จพิธีก็นำเข้าไปผสมกับถังข้าวสารในบ้านไว้สำหรับหุงทานเพื่อให้เฮง ๆ

จำนวนชนิดของขนมไหว้ นิยมให้สอดคล้องกับของคาว เช่น ไหว้ ของคาว 3 อย่าง ขนม 3 อย่าง ผลไม้ 3 อย่าง

ของไหว้บรรพบุรุษ ประกอบด้วย
หมู มีความหมายถึงความมั่งคั่ง ด้วยความอ้วนของตัวหมู สะท้อนถึงความกินดีอยู่ดี
ไก่ มีมงคล 2 อย่างคือ
- หงอนไก่สื่อถึงหมวกขุนนาง ความหมายมงคลจึงเป็นความก้าวหน้าในงาน
- ไก่ขันตรงเวลาทุกเช้า สะท้อนถึงการรู้งาน
ตับ คำจีนเรียกว่า กัว พ้องเสียงกับคำว่า กัว ที่แปลว่าขุนนาง
ปลา คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่า ฮื้อ โดยมีวลีมงคล อู่-ฮื้อ-อู่-ชื้ง แปลว่า ให้เหลือกินเหลือใช้ ไหว้ปลาเพื่อให้มีเงินเหลือกินเหลือใช้มาก ๆ
กุ้งมังกร ไหว้ด้วยรูปลักษณ์ของกุ้งที่หัวใหญ่ มีก้ามให้ความรู้สึกถึงอำนาจวาสนา ต่อมากุ้งมังกรหายาก จึงเปลี่ยนเป็นเป็ดสำหรับคนจีนแต้จิ๋ว และเปลี่ยนเป็นปลาหมึกแห้ง สำหรับคนจีนแคะ)

ชุดกับข้าว ซึ่งทำไหว้ผีบรรพบุรุษและไว้รับประทาน
ลูกชิ้นปลา จีนแต่จิ๋วออกเสียงว่า ฮื้อ-อี๊ แปลว่า ลูกปลากลมๆ
- ฮื้อ หรือปลา คือให้เหลือกินเหลือใช้
- อี๊ แปลว่า กลม ๆ หมายถึงความราบรื่น

ผัดต้นกระเทียม เพราะคนจีนแต้จิ๋ว เรียกกระเทียมว่า สึ่ง พ้องเสียงกับสึ่งที่แปลว่านับ ไหว้ต้นกระเทียม เพื่อให้มีเงินมีทองให้ได้นับอยู่เสมอ
ผัดตับกับกุยช่าย ตับคือ การเรียกว่า กัว พ้องเสียงกับกัวที่แปลว่า ขุนนาง กุยช่ายเป็นการพ้องเสียงของคำว่ากุ่ย แปลว่า แพง รวย
แกงจืด คนจีนเรียกว่า เช็ง-ทึง เช็ง แปลว่า ใส หวาน ซดคล่องคอ การไหว้น้ำแกงก็เพื่อให้ชีวิตลูกหลานหวานราบรื่น
เป๊าฮื้อ เป๊า หรือ เปา แปลว่า ห่อ ส่วน ฮื้อ คือเหลือกินเหลือใช้ ไหว้เป๊าฮื้อ เพื่อห่อความมั่งคั่เหลือกินเหลือใช้มาให้ลูกหลาน
ผัดถั่วงอก คนจีนแต้จิ๋วเรียกถั่วงอกว่า เต๋าแหง๊ แต่ภาษาวิชาการเรียกว่า เต้าเหมี่ยว เหมี่ยว แปลว่า งอกงาม ไหว้ถั่วงอกเพื่อให้งอกงามรุ่งเรือง
เต้าหู้ เป็นคำเรียกแบบชาวบ้านที่อาจเรียกเป็นเต้าฮกก็ได้ ฮก คำนี้เป็นสำเนียงแต้จิ๋ว จีนกลางออกเสียงเต้าหู้ว่า โตฟู ฟู แปลว่า บุญ ความสุข
สาหร่ายทะเล เรียกว่า ฮวกฉ่าย ถ้าออกเสียงเป็นฮวดไช้ ก็แปลว่า โชคดี ร่ำรวย

ชุดของหวาน
ซาลาเปา เล่นเฉพาะคำว่า เปา แปลว่า ห่อ ไหว้ซาลาเปาเพื่อให้เปาไช้ แปลว่า ห่อโชค ห่อเงินห่อทองมาให้ลูกหลาน
ขนมถ้วยฟู คือไหว้เพื่อให้เฟื่องฟู คนจีนแต้จิ๋วเรียกขนมถ้วยฟูว่า ฮวกก้วย ก้วย แปลว่า ขนม ฮวก แปลว่างอกงาม
ขนมคัดท้อก้วย คือขนมไส้ต่าง ๆ เช่น ไส้ผักกะหล่ำ มันแกว ไส้กุยช่าย ทำเป็นรูปลูกท้อสีชมพู ลูกท้อ เป็นผลไม้มงคลมีนัยอวยพรให้อายุยืนยาว
ขนมไข่ คนจีนเรียกว่า หนึงก้วย ไข่คือบ่อเกิดแห่งการได้เกิดและเติบโต ไหว้ขนมไข่เพื่อให้ได้มีการเกิดและการเจริญเติบโต
ขนมจับกิ้ม หรือ แต้เหลียง ก็เรียกคือ ขนมแห้ง 5 อย่าง จะเรียกว่า โหงวเส็กทึ้ง หรือ ขนม 5 สี ก็ได้ ประกอบด้วย ถั่วตัด งาตัด ถั่วเคลือบ ฟักเชื่อม และข้าวพอง

- ฟักเพื่อฟักเงินฟักทอง ฟักเชื่อม คือการฟักความหวานของชีวิต
- ข้าว ถั่ว งา คือ ธัญพืช ธัญญะ แหลว่า งอกงาม ไหว้เพื่อให้งอกงามและชีวิตหวานอย่างขนม

ขนมอี๊ อี๊ หรือ อี๋ แปลว่ากลม ๆ ขนมอี๊ทำจากแป้งข้าวเหนียว นวดจนได้ที่เจือสีชมพู ปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ต้มกับน้ตาล เพื่อให้ชีวิตเคี้ยวง่ายราบรื่น เหมือนขนมอี๊ที่เคี้ยวง่ายและหวานใส ซึ่งขนมอี๊นี้อาจใช้เป็นสาคูหรือลูกเดือยก็ได้ คนจีนแต้จิ๋วเรียกว่าอี๊เหมือนกัน

ชุดผลไม้
ส้ม คนจีนแต้จิ๋วเรียกแบบชาวบ้านว่า กา แต่ส้มมีอีกคำเรียกว่า ไต้กิก

- ไต้ แปลว่า ใหญ่ กิก แปลว่า มงคล
- ไต้กิก จึงแปลว่า มหาสิริมงคล แต่ถ้าแปลง่าย ๆ แบบชาวบ้านก็คือ โชคดี

กล้วย จีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า เก็ง-เจีย จะเล่นเสียงว่า เก็ง-เจีย-เก็ง-ไล้ แปลว่า ถึงโชคเข้ามา กับอีกความหมายว่า กล้วย มีผลมากมายแถมเป็นเครือ จึงมีมงคลให้ลูกหลานมาก ๆ มีวงศ์วานว่านเครือสืบสกุล
องุ่น จีนแต้จิ๋วเรียกว่า พู่-ท้อ
- พู่ ก็คือ งอก หรืองอกงาม
- ท้อ ก็คือ พ้องเสียงกับลูกท้อ ที่เป็นผลไม้มงคล อายุยืน
สับปะรด คนจีนแต้จิ๋วเรียก อั้งไล้ แปลว่า เรียกสีแดงมา สีแดงเป็นสีของโชค ก็ประมาณว่าเรียกโชคเข้ามา คนจีนทางใต้นิยมไหว้สับปะรดมาก



ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตรุษจีนในภาษาจีน
ตำนานวันตรุษจีน
ประวัติวันตรุษจีน
การไหว้เจ้าที่ในวันตรุษจีน
ตรุษจีนในประเทศไทย
ความเชื่อโชคลางในวันตรุษจีน
15 วันแห่งการฉลองตรุษจีน

อาหารไหว้เจ้าที่และบรรพบุรุษ
สิ่งที่ไม่ควรทำวันตรุษจีน
เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับวันตรุษจีน
รวมคำอวยพรวันตรุษจีน พร้อมคำแปล
การจุดประทัดและเชิดสิงโตในวันตรุษจีน
ตรุษจีน นครสวรรค์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คลังปัญญาไทย

ขอขอบคุณภาพประกอบจากวิกิพีเดีย
*http://hilight.kapook.com/view/19797

50  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: ไหว้พระ ไหว้เจ้า :อั่งเปา เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 14:54:09



อั่งเปา
      โดยคำว่า "อั่งเปา" ในภาษาจีนแต้จิ๋ว หมายถึง ซองสีแดง คำว่า อั่ง แปลว่า แดง ส่วนเปา แปลว่า ซอง หรือ กระเป๋า (ภาษาจีนกลางจะเรียกซองแดงว่า "หงเปา") ซึ่งสีแดงถือเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความเป็นมงคล ความมีชีวิตชีวา และความโชคดีของชาวจีนอยู่แล้ว ดังนั้น ชาวจีนมักจะใส่เงิน หรือธนบัตรลงในซองแดง เพื่อนำมามอบให้คนรู้จัก หรืออาจจะแลกเปลี่ยนกันเองในหมู่ญาติพี่น้องก็ได้ โดยปกติแล้ว ชาวจีนจะนิยมมอบ "อั่งเปา" ให้ในวันตรุษจีน วันแต่งงาน หรือในโอกาสเปิดกิจการใหม่ เพื่อเป็นการอวยพร

      มาดู "แต๊ะเอีย" กันบ้าง เป็นภาษาจีนแต้จิ๋วเช่นกัน โดย "แต๊ะ" แปลว่า ทับ หรือ กด ส่วน "เอีย" แปลว่า เอว เมื่อรวมกัน "แต๊ะเอีย" ก็หมายถึง "ของที่มากดหรือทับเอว" หรือ "ผูกไว้ที่เอว" คำนี้มีที่มาจากคนจีนสมัยก่อนจะใช้เงินเหรียญที่มีรูอยู่ตรงกลาง หากจะพกไปไหนก็ต้องร้อยเหรียญเป็นพวงมาผูกไว้ที่เอว และในเทศกาลตรุษจีน ผู้ให้ก็จะนำเชือกสีแดงมาร้อยเหรียญไว้ แล้วมอบให้ผู้รับ ทีนี้ผู้รับก็จะนำพวงเหรียญนี้มาผูกไว้ที่เอว เรียกว่า "แต๊ะเอีย" นั่นเอง ส่วนในปัจจุบันไม่มีการใช้เงินเหรียญที่มีรูตรงกลางแล้ว "แต๊ะเอีย" จึงมีความหมายถึง "สิ่งของ" หรือ "เงิน" ที่ใส่ไว้ในซองสีแดง (ส่วนตัวซองจะเรียกว่า "อั่งเปา")


อั่งเปา
      เข้าใจเรื่อง "แต๊ะเอีย" กับ "อั่งเปา" แล้วใช่มั้ยคะ แล้วรู้ไหมว่า จริง ๆ แล้ว "แต๊ะเอีย" ก็มีวันหมดอายุนะ เพราะเมื่อเด็ก ๆ เติบโตขึ้น มีงานทำ มีเงินเดือนเป็นของตัวเองแล้ว ทีนี้จะไม่ได้รับ "แต๊ะเอีย" แล้วล่ะค่ะ แต่จะต้องเป็นคนให้เงิน "แต๊ะเอีย" กับเด็ก ๆ ในบ้านที่มีอายุน้อยกว่าต่อไป

      นอกจากนั้นแล้ว ไม่ใช่เฉพาะผู้ใหญ่ หรือเจ้านายที่จะให้ "แต๊ะเอีย" หรือ "อั่งเปา" กับเด็ก ๆ หรือลูกน้องได้เท่านั้น แต่ผู้น้อยก็ยังสามารถมอบอั่งเปาให้ผู้อาวุโสกว่าได้เช่นกัน โดยการมอบอั่งเปาให้ผู้อาวุโสกว่า หมายถึง การอวยพรให้ผู้ใหญ่มีสุขภาพดี แข็งแรง อายุยืนยาว

        ส่วนการมอบอั่งเปาให้เด็ก ๆ หมายถึง การอวยพรให้เด็ก ๆ โชคดี มีโชคลาภ เจริญเติบโตแข็งแรง หรือหากผู้ใหญ่มอบอั่งเปาให้ลูกหลานที่ทำงานแล้ว ก็เป็นการอวยพรให้หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า มีสุขภาพแข็งแรง และหากลูก ๆ ที่ทำงานแล้ว หรือแต่งงานไปแล้วมอบอั่งเปาให้พ่อแม่ ก็เป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวที อวยพรให้พ่อแม่มีอายุยืนยาว ซึ่งการที่ลูก ๆ ให้อั่งเปาพ่อแม่ และพ่อแม่ก็ให้อั่งเปาลูก ๆ ด้วย จะต้องเป็นเงินของใครของมันเท่านั้น หากลูกให้พ่อแม่แล้ว พ่อแม่นำกลับมาให้ลูกต่ออีกที แบบนี้ไม่ได้ค่ะ



อั่งเปา
      ทีนี้ หลายบ้านอาจจะสงสัยกันว่า ควรจะให้อั่งเปาเป็นเงินเท่าไหร่ดีนะ ถึงจะเป็นสิริมงคล ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้ให้อั่งเปามักจะนิยมใส่จำนวนเงินเป็นเลขคู่ค่ะ เพราะคนจีนถือว่าเลขคู่เป็นเลขมงคล อีกทั้งหมายถึงทวีคูณ โชคสองต่อ โชคสองชั้น แต่จะให้จำนวนเงินเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับรายได้ด้วยเหมือนกันนะ ถ้ารายได้ไม่มาก หรือให้เด็กเล็ก ๆ ก็อาจใส่ซองสัก 200 400 800 ถ้ารายได้มาก ให้ผู้ใหญ่ ก็อาจใส่จำนวนมากขึ้นตามแต่กำลังค่ะ

        แต่ถ้าพูดถึงจำนวนที่คนจีนนิยมให้ "แต๊ะเอีย" เลข 8 ดูน่าจะเป็นจำนวนยอดนิยมที่สุด เพราะในภาษาจีนเลข 8 อ่านออกเสียงคล้ายกับคำที่มีความหมายว่า ความร่ำรวย ความรุ่งโรจน์ ความรุ่งเรือง หรืออาจจะให้เป็นจำนวนเลข 2 ซึ่งหมายถึงคู่ก็ได้ ขณะที่บางบ้านก็เลือกให้จำนวนเลข 4 ซึ่งเรียกว่า "ซี่สี่" หมายถึง คู่สี่ เพราะถือเป็นสิริมงคล อย่างเช่นให้แต๊ะเอีย 400 ก็จะให้เป็นธนบัตร 100 บาท จำนวน 4 ใบ หรือจะให้เป็นสองเท่า หรือสามเท่าของ "ซี่สี่" ก็ได้ เช่น ให้ 800 หรือ 1,200 บาท ก็เป็นสิริมงคลเหมือนกันค่ะ

        อย่างไรก็ตาม สำหรับบางคนจะเหลือเงินแต๊ะเอียที่ได้รับมาบางส่วนเก็บไว้ในซอง เพราะถือว่า เงินแต๊ะเอียคือความเป็นสิริมงคล และเป็นเงินขวัญถุง เพื่อความเจริญรุ่งเรืองในวันปีใหม่นั่นเอง

ขอบคุณข้อมูล - เวบกระปุก
noway2know *http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=7865.0

51  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: ไหว้พระ ไหว้เจ้า :ซินเจียยู่อี่.. ซินนี้ฮวดไช้... เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 14:49:25




ซินเจียยู่อี่..เจกปึ้งบ่วงหลี..
ซินนี้ฮวดไช้..บ่วงสื่อฮะเซี๋ย

สวัสดี ปีใหม่ สมใจคิด
ลงทุนนิด มีกำไร ได้หมื่นเท่า
ให้ร่ำรวย มีโชคลาภ ตราบนานเนา
หวังใดเล่า จงสมหวัง ทั้งมวลเทอญ




新正如意 新年发财 (ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาไฉ)... คิดหวังสิ่งใด
ขอให้สมหวังสมปรารถนาในปีใหม่นี้ มีแต่ความสุขมั่งคั่ง
โชคดีร่ำรวยตลอดปี
(ถ้าเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วจะออกเสียงว่า ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้)
恭喜发财 (กงซีฟาไฉ) ... ขอให้ร่ำรวย

日进斗金 (ยื่อจิ้นโต้วจิน) ... ขอให้ชัยชนะ และเงินทองเข้ามาทุก ๆ วัน
大吉大利 (ต้าจี๋ต้าลี่) ... ค้าขายได้กำไร
招财进宝 (เจาไฉจิ้นเป่า) ... เงินทองไหลมาเทมา ทรัพย์สมบัติไหลเข้าบ้าน

金玉满堂 (จินอวี้หม่านถัง) ... ร่ำรวยเงินทอง ทองหยกเต็มบ้าน
日日有见财 (ยื่อยื่อโหย่วเจี้ยนไฉ) ... ทุกวันมีแต่ความร่ำรวย
黄金万两 (หวงจินว่านเหลี่ยง) ... ทองคำมากล้นทวีคูณ
(ค้าขายให้มีกำไร ทรัพย์สินเงินทองมากมาย)



ต้อนรับตรุษจีน เจ้านายจัดเต็ม 555
( หมายถึงตรุษจีน) ^^

52  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: ไหว้พระ ไหว้เจ้า :เจาะลึกเรื่อง “มังกร” ต้อนรับตรุษจีน เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 14:46:39


เจาะลึกเรื่อง “มังกร” ต้อนรับตรุษจีน
*http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000016169-
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
7 กุมภาพันธ์ 2556 17:29 น.


มังกรที่นิยมนำมาเชิดในงานเทศกาล

       อีกไม่กี่วันก็จะเข้าเทศกาลตรุษจีนแล้ว บรรยากาศหลายๆ แห่งเต็มไปด้วยการประดับประดาอาคารบ้านเรือนให้เข้ากับเทศกาล หลายคนหาซื้อของเข้าบ้านเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล โดยเฉพาะสัญลักษณ์ที่นำโชคและเคารพนับถือ อย่างเช่น “มังกร”
       
       น่าสนใจว่า "มังกร" นั้น แท้จริงแล้วมาจากจากไหน บ้างว่า "มังกร" เป็นสัตว์ในตำนานหรือเทพนิยาย มังกรในโลกตะวันตกมีหน้าตาแบบหนึ่ง มังกรในโลกตะวันออกก็มีหน้าตาต่างออกไป แล้วมังกรเป็นสัญลักษณ์ด้านธรรมะหรืออธรรมกันแน่ จริงๆ แล้วมังกรมีลักษณะอย่างไร แต่ละชนชาตินับถือมังกรอย่างไร หลายคำถามที่เราจะไปหาคำตอบกัน


มังกรจีน

       “มังกรจีน” เป็นสัญลักษณ์แห่งเทพเจ้าที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถือ คนจีนแทนลักษณะเฉพาะของมังกร 9 อย่าง ตามประเพณี แต่ละอย่างแสดงถึงลักษณะของมังกรที่แตกต่างกัน ลักษณะของมังกรจีนในงานด้านจิตรกรรมประติมากรรมของจีน ซึ่งใช้ในเวลาและโอกาสที่ต่างกัน ได้แก่
       
       - หัว คล้ายกับหัวของอูฐ บางตำราก็บอกว่ามาจากหัวม้าหรือหัววัวหรือหัวจระเข้
       หนวด คล้ายกับหนวดของมนุษย์
       - เขา คล้ายกับเขาของกวาง มังกรจะมีเขาได้ก็ต่อเมื่อมีอายุ 500 ปี และเมื่ออายุถึง 1,000 ปี ก็จะมีปีกเพิ่มขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง
       - ตา คล้ายกับตากระต่าย บางตำราบอกว่ามาจากตาของมารหรือปีศาจหรือตาของสิงโต
       - หู คล้ายกับหูวัว แต่ไม่สามารถได้ยินเสียง บางตำราก็ว่าไม่มีหู บางตำราบอกว่ามังกรได้ยินเสียงทางเขาที่เหมือนเขากวางนั้น
       - คอ คล้ายกับคองู
       - ท้อง คล้ายกับท้องกบ บางตำราบอกว่ามาจากหอยแครงยักษ์
       - เกล็ด คล้ายกับเกล็ดปลามังกร บางตำราว่ามาจากปลาจำพวกตะเพียนหรือกระโห้ โดยมังกรจะมีเกล็ดตลอดแนวสัน-หลัง จำนวน 81 เกล็ด มีเกล็ดตามลำคอจนถึงบนหัว บนหัวมังกรมีรูปลักษณะเหมือนสันเขาต่อกัน เป็นทอดๆลักษณะกงเล็บของมังกร คล้ายกับกงเล็บของเหยี่ยว จำนวนเล็บของมังกรแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน มังกรที่ยิ่งใหญ่จึงจะมี 5 เล็บ นอกนั้นก็จะเป็น 4 เล็บหรือ 3 เล็บ
       - ฝ่าเท้า คล้ายกับฝ่าเท้าของเสือ


มังกรที่นิยมนำมาเชิดในงานเทศกาล

       แต่ทว่ามังกรแต่ละตัวนั้น ก็มีกาลเทศะและวาสนาแตกต่างกันไปตามความเชื่อของคตินิยมแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งว่ากันว่ามังกรของจีนนั้นมี 9 ท่า 9 สี คำว่า หลง ในภาษาจีนกลางหมายถึงมังกรที่มีลักษณะดังนี้
       - มังกรมีเขา หรือหลง มีเขาเหมือนกับกวางดาว คนญี่ปุ่นถือว่ากวางเป็นสัตว์ที่มาจากสวรรค์ มีอำนาจมากที่สุด สามารถทำให้เกิดฝนได้ และหูหนวกโดยสิ้นเชิง อินเดียนแดงถือว่ากวางเป็นสัตว์ที่เป็นอมตะนิรันด์กาล แต่คนไทยกลับนิยมกินเนื้อกวาง ใช้ในเป็นสินค้าทางธุรกิจส่งออก
       - มังกรมีปีก หรือหว่านซี่ฟ่าน เป็นมังกรแบบตะวันตกที่สามารถพ่นไฟ ได้ ชาวตะวันตกนิยมที่จะนำมาประกอบฉากเป็นพาหนะของผู้ร้ายหรือเป็นตัวแทนของมังกรที่ดุร้าย แต่ในสมัยราชวงศ์หมิง คนจีนนำมังกรชนิดนี้มาทำเป็นลวดลายบนถ้วยอาหาร


มังกร สัญลักษณ์ด้านมืด

       - มังกรสวรรค์ หรือเทียนหลง มีชื่อเรียกว่า มังกรฟ้า เป็น มังกรในหาดสวรรค์ บางครั้งก็จะเป็นพาหนะของเทพเจ้าเทวาในลัทธิเต๋า และคอยปกป้องคุ้มครองปราสาทราชวังของเทพเจ้าบนสรวงสรรค์ และเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของฮ่องเต้อีกด้วย
       - มังกรวิญญาณเฉียนหลง หรือหลีเฉี่ยวหลง สามารถบันดาลให้เกิดลมฝนเพื่อประโยชน์ต่อการเกษตร และเป็นสัญลักษณ์ของจักรราศีอีกด้วย
       -มังกรเฝ้าทรัพย์ หรือฟูแซง เป็นมังกรบาดาล เป็นคติที่เก่าแก่มาก ซึ่งเป็นตามคติอินเดียและกรีกโบราณมากกว่าของจีน
       - มังกรเหลือง เป็นมังกรจ้าปัญญา ทำหน้าที่คอยหาข้อมูลให้กับจักรพรรดิฟูใฉ่ที่เป็นตำนาน
       - มังกรบ้าน หรือลี่หลง จะอาศัยอยู่ในมหาสมุทรและในทะเล บางตำนานเรียกว่า ไซโอ๊ะ มีเกล็ดปกคลุมทั่วทั้งตัว มักอาศัยอยู่ในหนองน้ำใกล้ ๆ กับถ้ำที่มีอากาศอับชื้น

       และมีอีกนามนึงที่จะลืมเอ่ยไม่ได้เลย คือ พญามังกร ขึ้นชื่อว่าเป็นพญา ต้องเป็นที่สุดแห่งมังกรสี่ตัว ที่คอยปกครองทะเลทั้งสี่ทิศ คือเหนือ(ปัก), ใต้(น้ำ), ตะวันตก(ไซ), ตะวันออก(ตัง) อาศัยอยู่ในปราสาทใต้มหาสมุทร กินไข่มุกเจียงตูและโอปอล เป็นอาหาร มีแผงคอเป็นไฟ และยาวถึง 900 ฟุต
       
       มีการบรรจุคำว่ามังกรลงในพจนานุกรมของประเทศจีน มีความหมายว่า "มังกรเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด มีลักษณะหัวคล้ายหัวอูฐ มีเขาคล้ายเขากวาง ดวงตาคล้ายกับดวงตาของกระต่ายป่า หูของมันคล้ายหูวัว ปีกของมันคล้ายนกอินทรี มีลำคอยาวคล้ายงู ช่วงท้องมีลักษณะคล้ายกบ รูปร่างของมันคล้ายกับปลาตัวใหญ่ เท้าคล้ายกับเท้าเสือ เสียงของมันคล้ายเสียงตีฆ้อง เมื่อมันหายใจ ลมหายใจของมันมีลักษณะคล้ายเมฆ ซึ่งบางครั้งก็ออกมาเป็นฝน บางครั้งก็เป็นเปลวไฟ
       
       ที่มา:ชมรมส่งเสริมกีฬาเชิดสิงโต มังกรประเทศไทย
       *http://www.tairomdham.net/index.php/topic,8419.0.html

53  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: ~เก็บไว้เตือนใจตัวเอง~ เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 13:34:44


http://i267.photobucket.com/albums/ii285/baanmaha_us/codelife.jpg


ระหัสชีวิต

การเดินทางของชีวิตผู้คนมากมาย ผ่านสุข และทุกข์ หมุนเวียนกันไป
แต่พวกเราเคยสังเกตุใจเราเองหรือไม่ ว่ามีรหัสอะไรอยู่ในนั้น
มีหนังสือมากมายบอกวิธีเรา ว่าทำอย่างไร เราจะรวย
เราจะหล่อเราจะสวย เราจะไม่แก่ รักแร้เราจะไม่ดำ
แต่มีเพียงไม่กี่เล่ม ที่จะแนะนำเราให้เข้าใจชีวิตดีขึ้น

หนังสือที่จะแนะนำ พี่ๆ เพื่อนๆ วันนี้คือ รหัสชีวิต ที่ได้รวบรวม
ประสบการณ์ชีวิตของบุคคลที่มีชื่อเสียง ผู้ซึ่งสามารถหลอมรวม
ประสบการณ์การปฏิบัติธรรมให้เป็นหนึ่งเดียวกับการดำเนินชีวิต
ในทางโลกได้ อันก่อให้เกิดความสำเร็จในหน้าที่การงาน และ
ชีวิตส่วนตัว ประกอบด้วยบุคคลดังนี้ :ต้นข้าว


คุณศรันย์ ไมตรีเวช นักเขียนเจ้าของนามปากกา "ดังตฤณ"
ผลงานหนังสือ เสียดายคนตายไม่ได้อ่าน
***
"ที่ผ่านมาในเมืองไทยคนมักจะนึกถึงภาพ พระ ชี สามเณร
แล้วก็นึกถึงสถานที่ปลีกวิเวกตามป่า ตามเขา นึกถึงภาพการ
เดินจงกลมที่เคร่งครัด นึกถึงการนั่งสมาธิแบบหลับตา ถ้าเรา
มาพูดกับคนที่ทำงานในเมือง พูดอย่างนั้นไม่ได้ เขาไม่มีเวลา
ปลีกวิเวกกัน แต่ในชีวิตประจำวันจริงๆแล้ว ถ้าเราสามารถรู้
เข้ามาว่า ขณะนั้นกำลังมีปฏิกิริยาทางอารมณ์แบบไหนอยู่
เป็นทุกข์ หรือเป็นสุข แค่นั้นก็เป็นจุดเริ่มต้นของการภาวนา
แล้ว ถ้าพูดแบบนี้คนรุ่นใหม่ก็จะเกิดกำลังใจว่ามันไม่ได้ไกลตัว"

"ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ ทุกอย่างต้องไหลมาแต่เหตุเสมอ
ผลต้องไหลมาแต่เหตุ ไม่ใช่อยู่ๆ เกิดขึ้นลอยๆ ไม่มีเหตุ ไม่มี
ที่ไป ทุกอย่างไหลมาแล้วไปสู่จุดจบเพื่อแปรเปลี่ยนไปเป็นสภาพ
อื่นเสมอ แม้แต่ความพอใจและความไม่พอใจที่เรามาเกิดเป็นมนุษย์
แม้แต่เพศ มีกรรมเป็นตัวกำหนดเสมอ"


คุณวิกรม กรมดิษฐ์ เจ้าของธุรกิจนิคมอมตะนคร
***
"ทุกวันนี้เราทุรนทุราย
เพราะเราฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม
อยากได้อะไรโดยไม่ดูกำลังตัวเอง"

"ผมประยุกต์ใช้หลักศาสนากับการทำงานในชีวิตโดย
หลักการของผมง่ายมากคือ ความสำเร็จกับความสุข"


คุณฐิตินาถ ณ พัทลุง เจ้าของผลงานหนังสือ "เข็มทิศชีวิต"
***
"ความอยากได้ อยากมี
ทำให้แก้วโตขึ้นเรื่อยๆ ไม่เคยพอ
แต่ถ้ามีน้ำครึ่งแก้ว
แล้วลดขนาดของแก้ว
จนเหลือเพียงหนึ่งในสี่
น้ำก็จะล้นเกินอีกเท่าตัว"


คุณพีระศักดิ์ กลิ่นสุนทร ผู้สืบทอดมรดก นักบุญ
***
"บางทีเหตุผล ก็ไม่สามารถอธิบายได้หมด
คนที่อธิบายได้คือตนเอง อยากรู้ต้องศึกษา
ต้องปฏิบัติ ต้องอ่าน ต้องเรียน
และต้องเข้าถึงได้ด้วยตนเอง"


คุณเพชรยุพา บูรณ์สิริจรุงรัฐ เจ้าของสำนักพิมพ์ ณ เพชร
***
"รู้สึกว่าทุกอย่างในโลกนี้ไม่มีอะไรมั่นคง ไม่มีอะไร
เที่ยงแท้ถาวร เมื่อก่อนที่เราไม่มีใครรู้จักก็เป็นทุกข์อย่างหนึ่ง
พอมีกิจการของตัวเองก็เป็นทุกข์อีกอย่างหนึ่ง ทุกวันนี้ธุรกิจ
ประสบความสำเร็จแล้วก้ขอให้ได้บวช ได้ตายแทบเท้าพระพุทธเจ้า
ทุกอย่างที่เราทำก็น้อมจิตไปทางนี้"

"ทุกวันนี้ใครทำอะไร เราก็คิดว่า เดี๋ยวก็ตายจากกันแล้ว
หยุด แค่นั้นเอง บางทีก็คิดว่า เพราะเขาเป็นทุกข์เขาจึงทำร้ายเรา"


คุณภัทริน ซอโสตถิกุลทายาทธุรกิจในเครือซีคอนสแควร์
และเจ้าของผลงานหนังสือ กล่องบุญ 1 และ 2
***
"ชีวิตคนเราแก่นแท้มีสองเรื่องคือ เรื่องทุกข์ และการดับทุกข์
ซึ่งถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของชีวิต ก็สามารถจะอยุ่ได้อย่าง
มีความสุข ภายใต้องค์ประกอบที่อยู่รายล้อมชีวิตเรา"

"สันโดษ ซึ่งไม่ใช่ไม่เอาทางโลกเลย แต่จะใช้หลักการนี้คู่กับ
อิทธิบาทสี่คือ

ฉันทะ คือความพอใจในสิ่งที่มีอยู่ ทำงานก็ดีใจที่ได้งานที่ตัวเองรัก
วิริยะ ทำด้วยความเพียร ตั้งใจ พยายาม
จิตตะ เอาใจใส่ในสิ่งที่ทำ
วิมังสา ก็พิจารณาว่า เราทำดีหรือยัง มีข้อบกพร่องหรือเปล่า
พิจารณาไต่ตรองในสิ่งที่ทำ แต่ถ้าทำดีที่สุดแล้ว
ก็ต้อง Let it go คือสันโดษ พอใจในสิ่งที่ทำ
ถ้ายังไม่พอใจ ยังอยากมี อยากได้ เข้าข่าย
Perfecttionist ก็จะทุกข์"


ผ.ศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ผู้ถอดรหัสหนังสือ "ธรรมนูญชีวิต"
***
"พุทธศาสนาเน้น สติ เป็นหลัก แต่สติก็ต้องสัมพันธ์กับ
ศรัทธา วิริยะ สมาธิ และปัญญา ดังนั้น ศรัทธาและปัญญา
ต้องไปด้วยกัน ถ้าขาดปัญญาแล้ว ก็จะเป็นความเชื่อง่าย
งมงาย ในที่สุดก้จะแยกถูกผิดไม่ออก แต่ถ้ามีปัญญาแต่
ขาดศรัทธาก็จะกลายเป็นนักปรัชญา นักตรรกศาสตร์ที่คิด
แต่เหตุผลเท่านั้น เพราะปัญญาตัวเดียว ไม่มีอย่างอื่นไป
หล่อเลี้ยง ในที่สุดมันก็จะกลายเป็นปัญญาที่แข็งกร้าว
มุ่งค้นหาหลักความจริงจากความคิด ในที่สุดก็จะเป็นความ
ฟุ้งซ่าน และกลายเป็นความเย่อหยิ่งขึ้นมาจนขาดความ
อ่อนโยน"


คุณอนุรุธ ว่องวานิช ประธานกรรมการบริหาร บริษัทอังกฤษตรางู
***
"ผมเกิดความสงบสุขในการนั่งสมาธิ ทั้งๆที่นั่งนานๆ เมื่อยมาก
เดินนานๆ ก็เมื่อย แล้วมีอารมณ์เบื่อขึ้นมา ท่านก็สอนให้เราเห็น
อารมณ์ตัวเอง ปกติเราเข้าไปอยู่ในอารมณ์เรา แต่วันนี้เรากลายเป็น
ผู้เห็นอารมณ์ตัวเอง เหมือนคนดูหนัง เป็นปรากฏการณ์ใหม่
เราเข้าใจความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นว่า มันเกิดขึ้นแล้วหายไป เกิดขึ้น
แล้วหายไป เราเริ่มเข้าไปรู้จักสิ่งนี้ เมื่อก่อนอะไรเกิดขึ้นกับเรา
เป็นจริงสำหรับเราหมดแต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ ทำให้เราเข้าใจอารมณ์
ตัวเองมากขึ้น เข้าใจอารมณ์คนอื่นมากขึ้น"


คุณลักขณา ลีละยุทธโยธิน CEO. บริษัทเซเรบอส (ประเทศไทย) จำกัด
***
"ด้วยร่ำเรียนมาทางสายวิทยาศาสตร์ จึงเกิดความสงสัยว่า
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าการนั่งวิปัสสนาทำสมาธิจะทำให้เกิดปัญญา
เราก็พยายามตีความว่าเกิดปัญญาได้อย่างไร เผอิญไปเจอ
หนังสือเล่มหนึ่งในต่างประเทศอธิบายการทำงานของสมองว่า
ปกติสมองของคนเราจะมีคลื่นไฟฟ้าอยู่สี่ลักษณะ ได้แก่ อัลฟ่า
เบต้า เรต้า และเดลต้า โดยที่คลื่นสมองอัลฟ่าจะเป็นคลื่นที่ช่วย
ให้เราเกิดจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นมากใน
ระหว่างที่เราทำสมาธิและวิปัสสนา"

"การนั่งวิปัสสนาก็เหมือนเรานั่งมองสายน้ำที่ไหลอยู่ ถ้าสายน้ำขุ่น
ต่อให้มีปลามากเท่าไหร่เราก็มองไม่เห็น แต่ถ้าน้ำใสแล้วมี
ปลาเพียงสองสามตัว ก็มองเห็นได้ชัดเจน เช่นเดียวกับจิตของเรา
ทำให้เราเห็นภาพกว้างของชีวิต และเป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันได้"


คุณพิพัฒน์ ยอดพฤติการ กรรมการผู้จัดการบริษัทชื่อไทยดอทคอมจำกัด
***
"ผมมี keyword เตือนตัวเองอยู่เสมอว่า อย่าไว้ใจความคิดตัวเอง
เพราะความคิดของเราเจือปนด้วย กิเลสเสมอ เราจะเห็นกิเลส
แปดเปื้อนอยู่เสมอเวลาคิด หรือเวลาที่เราภูมิใจอะไร ผมยังรู้สึกอาย
เลยว่า บางทีการเสนอความคิดเห็นทางวิชาการอะไรไป ผมต้องกลับมา
ทบทวนว่าแน่ใจแล้วหรือว่าความคิดที่เราเสนอไปเป็นความจริง
ผมจึงได้เตือนตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่า คนเราทุกคนมักจะคิดเข้าข้าง
ตัวเองเสมอ "

ขอขอบคุณ หนังสือดีๆ และรูปประกอบ จากสำนักพิมพ์ ดีเอ็มจี :ต้นข้าว
...ที่แห่งนี้... *http://www.baanmaha.com/community/thread9001.html

54  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: ลำดับ การสอนของพุทธเจ้า เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 13:15:20



55  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / ลักษณะของ“จิตที่เป็นสมาธิ” เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 12:40:20




ลักษณะของ“จิตที่เป็นสมาธิ”

สมาธิ หมายถึง ภาวะจิตที่มีคุณภาพและมีสมรรถภาพที่ดีที่สุด จิตที่เป็นสมาธิ หรือมีคุณภาพดีสมรรถภาพสูงนั้น มีลักษณะที่สำคัญดังนี้

1. แข็งแรง มีพลังมาก ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนกระแสน้ำที่ถูกควบคุมให้ไหลพุ่งไปในทิศทางเดียว ย่อมมีกำลังแรงกว่าน้ำที่ถูกปล่อยให้ไหลพร่ากระจายออกไป
2. ราบเรียบ สงบซึ้ง เหมือนสระหรือบึงน้ำใหญ่ ที่มีน้ำนิ่ง ไม่มีลมพัดต้อง ไม่มีสิ่งรบกวนให้กระเพื่อมไหว
3. ใส กระจ่าง มองเห็นอะไรๆ ได้ชัด เหมือนน้ำสงบนิ่ง ไม่เป็นริ้วคลื่น และฝุ่นละอองที่มีก็ตกตะกอนกันหมด
4. นุ่มนวล ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่การใช้งาน เพราะไม่เครียด ไม่กระด้าง ไม่วุ่น ไม่ขุ่นมัว ไม่สับสน ไม่เร่าร้อน ไม่กระวนกระวาย


ไวพจน์ที่แสดงความของสมาธิคำหนึ่งคือ เอกัคคตา แปลกันว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว แต่ ถ้าว่าตามรูปศัพท์จะเห็นลักษณะของจิตที่คล้ายกับในข้ อแรกคือ เอกัคคตา = เอก + อัคค + ตา (ภาวะ) คำว่า อัคคะในที่นี้ท่านให้แปลว่าอารมณ์ แต่ความหมายเดิมแท้คือ จุดยอด หรือจุดปลาย โดยนัยจิตเป็นสมาธิก็คือ จิตที่มียอดหรือมีจุดปลายจุดเดียว ซึ่งย่อมมีลักษณะแหลมพุ่ง แทงทะลุสิ่งต่างๆ ไปได้ง่าย

จิตที่เป็นสมาธิขั้นสมบูรณ์ เฉพาะอย่างยิ่งสมาธิถึงขั้นฌาน พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า " จิตประกอบด้วยองค์ 8 " องค์ 8 นั้นท่านนับจากคำบรรยายที่เป็นพุทธพจน์นั่นเอง กล่าวคือ

1 ตั้งมั่น
2 บริสุทธิ์
3 ผ่องใส
4 โปร่งโล่งเกลี้ยงเกลา
5 ปราศจากสิ่งมัวหมอง
6 นุ่มนวล
7 ควรแก่งาน
8 อยู่ตัวไม่วอกแวกหวั่นไหว


ท่าน ว่าจิตที่มีองค์ประกอบเช่นนี้ เหมาะแก่การนำเอาไปใช้ได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเอาไปใช้งานทางปัญญาพิจารณาให้เกิดความรู้เข้าใจถูกต้องแจ้งชัด หรือใช้ในทางสร้างพลังจิตให้เกิดอภิญญาสมาบัติอย่างใดๆ ก็ได้

ตามที่ กล่าวมานี้มีข้อควรย้ำว่า ลักษณะเด่นที่สุดของจิตที่เป็นสมาธิซึ่งสัมพันธ์กับความมุ่งหมายของสมาธิ ด้วยก็คือความควรแก่งาน หรือความเหมาะแก่การใช้งาน และงานที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาก็คือ ทางปัญญา อันได้แก่ การใช้จิตที่พร้อมเช่นนั้นเป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการพิจารณาสภาวธรรมให้เกิดความรู้แจ้งตามความเป็นจริงและโดยนัยนี้จึงควร ย้ำเพิ่มไว้อีกว่า สมาธิที่ถูกต้อง ไม่ใช่อาการที่จิตหมดความรู้สึก ปล่อยตัวตนเข้ารวมหายไปในอะไรๆ แต่เป็นภาวะที่ใจสว่าง โล่งโปร่ง หลุดออกจากสิ่งบดบังบีบคั้นกั้นขวาง เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ตื่นอยู่ เบิกบาน พร้อมที่จะใช้ปัญญา พึงพิจารณาพุทธพจน์ต่อไปนี้

" ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการต่อไปนี้ เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต ทำให้ปัญญาอ่อนกำลัง ห้าประการกล่าวคือ กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ภิกษุไม่ละธรรม 5 ประการที่เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต ทำให้ปัญญาอ่อนกำลัง แล้วจักรู้จักประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักประจักษ์แจ้งซึ่งญาณทัศนะอันวิเศษ ที่สามารถทำให้เป็นอริยะ ซึ่งยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์สามัญ "

" ด้วยปัญญาที่ทุรพลไร้กำลัง ข้อนี้ย่อมมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้ เปรียบเสมือนแม่น้ำที่เกิดบนภูเขา ไหลลงเป็นสายยาวไกล มีกระแสเชี่ยวพัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปได้ บุรุษเปิดปากเหมืองออกทั้งสองข้างของแม่น้ำนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น กระแสน้ำท่ามกลางแม่น้ำนั้นก็กระจาย ส่ายพร่า เขวคว้าง ไม่แล่นไหลไปไกล ไม่มีกระแสเชี่ยว และพัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปไม่ได้... "

สังคารวพราหมณ์กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ท่านพระโคตมะผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยให้ในบางคราว มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาแล้วตลอดเวลายาวนาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้สาธยายตลอดเวลายาวนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ได้สาธยาย

พระ พุทธเจ้าตอบตรัสว่า : ดูกรพราหมณ์ ในเวลาใดบุคคลมีใจกลุ้มรุมด้วยราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่และไม่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งทางออกแห่งกามราคะที่เกิด ขึ้นแล้ว ในเวลานั้นเขาย่อมไม่รู้ชัด มองไม่เห็นตามเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาตลอดเวลายาวนานก็ย่อมไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้สาธยาย


(บุคคลมีใจกลุ้มรุมด้วยพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉาก็เช่นเดียวกัน ทรงเปรียบจิตที่ถูกนิวรณ์ข้อต่างๆ ครอบงำดังต่อไปนี้)

1. (จิตที่ถูกกามราคะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำซึ่งเอาสีครั่งบ้าง สีขมิ้นบ้าง สีเขียวบ้าน สีแดงอ่อนบ้าง ผสมปนกันไว้ คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง
2. (จิตที่ถูกพยาบาทครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ที่เอาไฟเผาลน เดือดพล่าน มีไอพุ่ง คนตาดีมองเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง
3. (จิตที่ถูกถีนมิทธะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ถูกสาหร่ายและจอกแหนปกคลุ ม คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง
4. (จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ถูกลมพัดไหล กระเพื่อมเป็นคลื่น คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง
5. (จิตที่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ขุ่นมัว เป็นตม ซึ่งวางไว้ในที่มืด คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

ส่วน บุคคลที่ใจไม่มีนิวรณ์ 5 ครอบงำ และรู้ทางออกของนิวรณ์ 5 ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง ทั้งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์แม้ที่มิได้สาธยายตลอดเวลายาวนานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ได้สาธยาย และมีอุปมาต่างๆ ตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว

" ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสแห่งทอง 5 อย่างต่อไปนี้ ทองเปื้อนปนเข้าด้วยกันแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้ไม่อ่อน ไม่ควรแก่งาน ไม่สุกปลั่ง เปราะ ไม่เหมาะที่จะนำไปทำอะไรๆ ; ห้าอย่างเป็นไฉน ได้แก่ เหล็ก โลหะอื่น ดีบุก ตะกั่ว และเงิน...เมื่อใดทองพันจากอุปกิเลส 5 ประการเหล่านี้แล้ว ก็จะเป็นสภาพอ่อน ควรแก่งาน สุกปลั่ง ไม่เปราะ เหมาะที่จะนำไปทำอะไรๆ ได้ดี "

" กล่าวคือ ช่างทองต้องการทำเครื่องประดับชนิดใดๆ จะเป็นแหวน ต่างหู สร้อยคอ หรือสุวรรณมาลาก็ตาม ย่อมสำเร็จผลที่ต้องการ ฉันใด อุปกิเลสแห่งจิต 5 อย่างต่อไปนี้ จิตพัวพันเศร้าหมองเข้าแล้ว ย่อมไม่นุ่มนวล ไม่ควรแก่งาน ไม่ผ่องใส เปราะเสาะ และไม่ตั้งมั่นด้วยดี (ไม่เป็นสัมมาสมาธิ) เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ฉันนั้น ห้าอย่างเป็นไฉน ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา... "

" เมื่อจิตพ้นจากอุปกิเลส 5 ประการเหล่านี้แล้ว ก็จะเป็นสภาพอ่อนโยน ควรแก่งาน ผ่องใส ไม่เปราะเสาะ และย่อมตั้งมั่นด้วยดี (เป็นสัมมาสมาธิ) เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย อนึ่ง เธอจะน้อมจิตไปเพื่อรู้จำเพาะประจักษ์แจ้งซึ่งอภิญญา สัจฉิกรณีธรรม (สิ่งที่พึงทำให้ประจักษ์แจ้งด้วยการรู้เจาะตรง) อย่างใดๆ ก็ย่อมถึงภาวะที่สามารถเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่... "

มี พุทธพจน์บางแห่งตรัสว่า " ถ้าภิกษุปราศจากนิวรณ์ทั้งห้า และได้เริ่มทำความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติกำกับอยู่ไม่เลือนหลง กายผ่อนคลายสงบ ไม่เครียดกระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่ว่าเธอจะเที่ยวไปอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม นอนตื่นอยู่ก็ตาม ก็เรียกได้ว่าเป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ ได้เริ่มระดมความเพียรอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และเป็นผู้อุทิศตัวเด็ดเดี่ยวแล้ว "

ข้ออุปมาของพระอรรถกถาจารย์เกี่ยวกับสมาธินี้ก็น่าฟั ง ท่านว่า สมาธิ ทำให้จิตตั้งอยู่ในอารมณ์สม่ำเสมอ ทำให้องค์ธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกับมันผนึกประสานกันอยู่ ไม่พร่า ไม่ฟุ้งกระจายเหมือนน้ำผนึกประสานแป้งเข้าเป็นก้อนเดีียว และทำให้จิตสืบต่ออย่างนิ่งแน่วแน่มั่นคงเหมือนเปลวเทียนในที่สงัดลม ติดไฟสงบนิ่ง ลุกไหม้ไปเรื่อยๆ ส่องแสงสว่างสม่ำเสมอเป็นอย่างดี

ขอขอบคุณ *http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?t=122123


ศรัทธาในสิ่งที่ค้นหา  มั่นคงในสิ่งที่เป็น  แบ่งปันในสิ่งที่ค้นพบ  ขอบคุณน้องเรน.... ค่ะ
 ยิ้ม  http://www.tairomdham.net/index.php?topic=133.0

56  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / Re: เทิดคุณ-ครู เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 12:20:07





57  สุขใจในธรรม / ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก / ไม่ร้องไห้ง่ายๆ ให้กับเรื่องเดิมๆ :สิ่งดี-ดี มีไว้ "แบ่งปัน" เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 12:10:59




เลิก คิดถึงสิ่งที่ทำให้เสียน้ำตา
เลิก โหยหาถึงสิ่งที่นำกลับมาไม่ได้
เลิก ทุกข์ใจ ให้กับสิ่งที่.. เลือกจากเราไป
แล้วกลับมาเป็นคนใหม่
ที่ไม่ร้องไห้ง่ายๆ ให้กับ.. เรื่องเดิมๆ



ธรรมทาน :สิ่งดี-ดี มีไว้ "แบ่งปัน"
http://www.facebook.com/pages/สิ่งดี-ดี-มีไว้-แบ่งปัน/325901057455817








When you reach the end of what you should know,
you will be at the beginning of what you should sense.
~ Khalil Gibran ~




"If life denied him a dream, show her that
you are strong to deny him a tear."
-Bellissime-Immagini-




Examining yourself, what you do and how you feel,
can be one of the most challenging and frightening things
you will ever face in life.
Yet the journey into self-acceptance and self-love must begin
with self-examination.
Until you take the journey of self-reflection,
it is almost impossible to grow or learn in life.
~ Iyanla Vanzant ~




"Love is like a river, always changing, but always..
finding you again somewhere down the road."

Kelly Elaine
< Bellissime Immagini >
http://www.facebook.com/pages/-Bellissime-Immagini-/188597854489254





How can I become still? By flowing with the stream.
~ Lao Tzu ~




We need Joy as we need air. We need Love as we need water.
We need each other as we need the earth we share.
~ Maya Angelou ~



ไม่ร้องไห้ง่ายๆ ให้กับเรื่องเดิมๆ :สิ่งดี-ดี มีไว้ "แบ่งปัน"

58  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / เป็นเพียง เครื่องนำทาง.. :ติช นัท ฮันห์ เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 12:06:37




"เธอ..อย่าพึงลุ่มหลง
หรือ..ติดยึดอยู่ด้วยลัทธิ
ทฤษฎี หรืออุดมการณ์ใด ๆ...

แม้แต่...พระศาสนา...
ให้ถือว่า...
ระบบความคิดทั้งปวงเป็นเพียง
เครื่องนำทาง...เท่านั้น
หาใช่..สัจจะอันสมบูรณ์ไม่
"

คำสอนของพระพุทธเจ้า
เป็นเพียงพ่วงแพ
ซึ่งช่วยให้เธอข้ามลำน้ำ
หรือเป็นเพียงนิ้ว
ที่ชี้ไปยังดวงจันทร์
จงอย่าเข้าใจผิดว่า
นิ้วชี้เป็นดวงจันทร์
พ่วงแพก็มิใช่ฝั่ง

หากเรายึดติดกับนิ้วมือ
เราจะสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง
เราไม่ควรฆ่าฟันกันและกัน
ในนามของนิ้วมือและพ่วงแพ
ชีวิตของมนุษย์ย่อมมีค่ามากกว่า
อุดมการณ์และลัทธิใด ๆ ทั้งสิ้น...

ติช นัท ฮันห์..

สิกขาบทข้อที่หนึ่งในสิบสี่ข้อ...ของคณะ "เทียบหิน"
(คณะซึ่งสอนหลักแห่งการดำรงอยู่อย่างอิงอาศัยซึ่งกันและกัน)
โดยมี ท่าน ติช นัท ฮันห์ เป็นแกนนำในการก่อตั้ง....


‎....คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นเพียงพ่วงแพ ซึ่งช่วยให้เธอข้ามลำน้ำหรือเป็นเพียงนิ้วที่ชี้ไปยังดวงจันทร์ จงอย่าเข้าใจผิดว่านิ้วชี้เป็นดวงจันทร์ พ่วงแพก็มิใช่ฝั่ง หากเรายึดติดกับนิ้วมือเราจะสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง เราไม่ควรฆ่าฟันกันและกันในนามของนิ้วมือและพ่วงแพ ชีวิตของมนุษย์ย่อมมีค่ามากกว่าอุดมการณ์และลัทธิใด ๆ ทั้งสิ้น.....ท่าน...ติช นัท ฮันท์....
โดย: ติช นัท ฮันห์

สังฆะหมู่บ้านพลัมกรุงเทพ
http://www.facebook.com/groups/199433753413729/

59  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / เพื่อนนอกเพื่อนใน :พระอาจารย์ชยสาโร เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 12:03:21




จิตที่เต็มไปด้วยธรรมะแล้วเป็นจิตที่สร้างสรรค์มาก
เพราะว่าไม่มีอะไรบกพร่อง
พร้อมที่จะช่วยคนอื่นได้ พร้อมที่จะให้ความรัก
ให้ความรักโดยไม่หวังอะไรตอบแทน
คือ เขาจะรักหรือไม่รัก เรื่องของเขา แต่ว่า
เราจะให้
เราพอใจกับการให้ แต่ไม่มีความต้องการในความรัก
เพื่อแก้ความรู้สึก..
เปล่าเปลี่ยว หรือว่างเปล่าในใจของตัวเอง มีธรรมะเป็นที่พึ่ง

- พระอาจารย์ชยสาโร
จากหนังสือ เพื่อนนอกเพื่อนใน
โดย มูลนิธิปัญญาประทีป และโรงเรียนทอสี

ดาวน์โหลดหนังสือได้ที่:
ในรูปแบบ ePub
https://itunes.apple.com/us/podcast/hnangsux-thrrma-doy-phra-xacary/id590063925
ในรูปแบบ PDF
https://itunes.apple.com/us/podcast/hnangsux-thrrma-doy-phra-xacary/id590063926?mt=2

60  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / Re: ด้วย ความหลงแท้ๆ :ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 11:59:57




ด้วย ความหลงแท้ๆ :ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต

เครื่องเตือนสติ..... ของผู้ไม่ประมาท
พิจารณาอสุภะ และ มรณานุสติ


ในกุฏิ ของท่านเจ้าคุณนรฯ
นอกจากจะมี หีบศพ แล้ว
ยังมี โครงกระดูก แขวนอยู่…

ท่านเคยชี้ให้ดู และ บอกว่า
เป็น โครงกระดูกผู้หญิง…
…มีแต่ ให้ประโยชน์ ให้สติ
ให้รู้ว่า จะต้องตายเช่นนั้น
วันหนึ่ง ก็จะเหลือแต่ โครงกระดูกเช่นนี้

ได้พิจารณาทุกวัน แล้วท่านก็บอกว่า
เมื่อมีเนื้อหนัง หุ้มโครงกระดูก
ก็นิยมกันว่า สวย รักกันอยู่
ด้วย ความหลงแท้ๆ หลงว่า
จะเป็นอย่างที่เห็นอยู่ ตลอดไป

ไม่ได้มองลึกลงไป ไม่ได้เห็นแก่นแท้ว่า
มีแต่ กระดูก ไม่น่าอภิรมย์แต่อย่างใด
ทำไมจึงยังหลงไหล มัวเมากันอยู่ได้

แล้วท่าน ก็จะสรุปว่า
"บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือ จะโผข้ามพ้น
เป็นมหาบาเรียน ยังเวียนไปหาก้น
"

(พระธรรมคำสอน
ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาส
)
*http://www.facebook.com/lotus.postman

หน้า:  1 2 [3] 4 5 ... 368
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.353 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 03 มีนาคม 2567 20:30:40