[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 19:03:50 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 2 3 [4] 5 6 ... 368
61  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / Re: พรหมจรรย์ บนเส้นทางธรรม เร้นกายมุ่งทางสงบ หลวงปู่แหวน เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 11:55:23




ลูกศิษย์ ถาม : "หลวงปู่ครับ
ทำไมคนมันมาเกิดมากมายนักหนา
หรือว่า สัตว์ทั้งหลาย มันรักษาศีล ๕
รักษากรรมบถ ๑๐ มากขึ้นหรือครับ?"

หลวงปู่แหวน เมตตาตอบ :
"เวลานี้ มนุษย์มันไปถางป่าถางพง
จับปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ของสัตว์เดรัจฉาน
มาฆ่าแกงกินหมด มันไม่มีที่เกิด
มันก็มาชิงเกิด กับมนุษย์"

ลูกศิษย์ : "อ้าว ไหนว่า
ที่จะมาเกิด เป็นมนุษย์ได้
ต้องมีศีล ๕ มีกรรมบถ ๑๐"

หลวงปู่แหวน : "คุณแน่ใจหรือว่า
คุณเป็นมนุษย์สมบูรณ์ ทุกลมหายใจ
เวลาจิตใจของคุณ โหดเหี้ยม
ทำอะไรไม่คำนึงถึง ศีลธรรม…
…เปอร์เซ็นต์ความเป็นมนุษย์
มันลดลงไปอยู่ใน ระดับสัตว์เดรัจฉาน
สัตว์เดรัจฉาน ก็ชิงมาเกิดในช่วงนั้นล่ะ!"

*http://www.facebook.com/lotus.postman

62  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / Re: มองอะไรภายนอกให้มองย้อนดูตน :หลวงปู่แหวน เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 11:53:54


http://i708.photobucket.com/albums/ww89/lookpong_album/OTHERS/F1-1.jpg



รูปภาพ ของ ลูกศิษย์ท่านพ่อลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม


มองอะไรภายนอกให้มองย้อนดูตน :หลวงปู่แหวน
"นึกอะไรก็ให้หวนนึกถึงพระธรรม
มองอะไรภายนอกให้มองย้อนดูตน
กำหนดนิ่งดูที่ใจ ดูให้ดีจักเห็นทางสว่าง
"...
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ


63  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / จะพอทำอะไรได้ก็รีบทำ :หลวงปู่ศรี มหาวีโร เมื่อ: 10 กุมภาพันธ์ 2556 11:40:18




“จิตใจก็มาอาศัยเรือนร่างนี้ อยู่ชั่วระยะหนึ่ง
จะพอทำอะไรได้ก็รีบทำ
อย่าให้เสียในทางคุณงามความดี
ถึงยังไงก็อยู่ไม่นานเท่าไหร่หรอก
ใครก็จะไปกันหมดทุกคนนั่นหละ ให้คิดว่าอย่างนั้น”
หลวงปู่ศรี มหาวีโร




"เรามาอาศัยกายนี้ทำคุณงามความดี
ร่างกายนี้ไม่ได้อยู่กับเรานานเท่าไรนะ มันคร่ำคร่าชราภาพ
ไปเรื่อย มันเดินตามทางมันไปอยู่แล้ว ห้ามมันไม่อยู่
มันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่สัตว์
ไม่ใช่บุคคล มันเป็นสภาพสูญห้ามไม่อยู่
ดังนั้นจงรีบทำความเพียรให้อาสวะกิเลสมันสิ้นไปโดยเร็ว"
หลวงปู่ท่อน ญาณธโร




ทุกอย่างเกิดที่จิตและดับที่จิต
ไม่มีอะไรจริงเท่ากับจิต
ไม่มีอะไรปลอมยิ่งกว่าจิต
ไม่มีอะไรดีเท่ากับจิต
ไม่มีอะไรเลวยิ่งกว่าจิต
ไม่มีอะไรละเอียดเท่ากับจิต
ไม่มีอะไรร้อนเท่ากับจิต
และไม่มีอะไรเย็นยิ่งกว่าจิต
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

รูปภาพ ของ สิ่งดี-ดี มีไว้ "แบ่งปัน"
http://www.facebook.com/pages/สิ่งดี-ดี-มีไว้-แบ่งปัน/325901057455817

64  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา / Re: ธรรมคีตะ"ชุดกฏแห่งกรรม"ของท.เลียงพิบูลย์อ่านโดย อาคม ทันนิเทศน์ เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2556 17:36:21










บทอุเบกขา
สัพเพ สัตตา  สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งสิ้น
กัมมัสสะกา   เป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน
กัมมะทายาทา   เป็นผู้รับผลของกรรม
กัมมะโยนิ   เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด
กัมมะพันธุ   เป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
กัมมะปะฏิสะระณา    เป็นผู้มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
ยัง กัมมัง กะริสสันติ    กระทำกรรมอันใดไว้
กัลยาณัง วา ปาปะกัง วา    ดีหรือชั่ว
ตัสสะ ทายาทา ภะวิสสันติ   จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

"กมฺมสสกา  มาณว  สตฺตา
กมฺมทายาทา  กมฺมโยนี  กมฺมพนฺธู กมฺมปฏิสรณา
กมฺมํ  สตฺเต  วิภชติ  ยทิทํ  หีนปฺปณีตตายา
"

แปลว่า....."สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน
เป็นทายาทรับกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งพิงอาศัย
กรรมย่อมจำแนกสัตว์เพื่อให้เป็นผู้เลวและประณีต"


แผ่เมตตา
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
อเวรา โหนตุ จงเป็นผู้ไม่มีเวรเถิด
อัพยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นผู้ไม่เบียดเบียนกันเถิด
อนีฆา โหนตุ จงเป็นผู้ไม่มีทุกข์กายทุกข์ใจเถิด
สุขี อัตตานัง ปริหรันตุ จงเป็นผู้มีสุขรักษาตนเถิด

โอทิศพรรณา
แผ่เมตตาจิตไปโดยเจาะจง
สัพพา อิตถิโย สตรีทั้งปวง
สัพเพ ปุริสา บุรุษทั้งปวง
สัพเพ อริยา อริยะบุคคลทั้งปวง
สัพเพ อนริยา ผู้ที่ไม่ใช่พระอริยะทั้งปวง
สัพเพ เทวา เทพทั้งปวง
สัพเพ มนุสสา มนุษย์ทั้งปวง
สัพเพ วินิปาติกา สัตว์ที่บังเกิดในภพชาติที่ตกต่ำ อันเป็นอบายภูมิทั้งปวง
สุขิตา โหนตุ จงเป็นผู้มีสุขเถิด

อโนทิศพรรณา
การแผ่ไปโดยไม่เจาะจง
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง
สัพเพ ปาณา สัตว์มีปราณคือมีชีวิตทั้งปวง
สัพเพ ภูตา ภูตะคือสัตว์ที่เป็นแล้วทั้งปวง
สัพเพ ปุคคลา บุคคลทั้งปวง
สัพเพ อัตตภาวปริยาปันนา สัตว์ที่นับเนื่องในอัตตภาพทั้งปวง
สุขิตา โหนตุ จงเป็นผู้มีสุขเถิด

แผ่ไปในทิศทั้ง ๑๐ คือให้คิดแผ่จิตไปด้วยเมตตา
ทั้งโดยเจาะจง ทั้งโดยไม่เจาะจง
โดยเจาะจง
สัพพา อิตถิโย สตรีทั้งปวง
สัพเพ ปุริสา บุรุษทั้งปวง
และโดยไม่เจาะจงว่า
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นต้น
สุขิตา โหนตุ จงเป็นผู้มีสุขเถิด

*****
แผ่มุทิตาความพลอยยินดี
สัพพา อิตถิโย สตรีทั้งปวง สัพเพ ปุริสา บุรุษทั้งปวง
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งปวง
มาลัพพะ สัมปัตติโต วิรัติชันตุ จงเป็นผู้อย่าไปปราศจากสมบัติที่ได้แล้วเถิด
*****

บางส่วนจาก..:นิวรณ์ข้อพยาบาท (ต่อ)
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วัดบวรนิเวศวิหาร
คัดจากเทปธรรมอบรมจิต ข้อความสมบูรณ์
อณิศร โพธิทองคำ บรรณาธิการ
*http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/somdej/sd-305.htm

 ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม

65  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: หลบแมลงวันไม่พ้น! เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2556 15:49:51




น่าคิด ...
"สิ่งที่ทำให้ฉันไม่สบายใจนั้น ล้วนเป็นเรื่อง...
หยุมหยิมเล็กจ้อย...
ฉันหลบช้างตัวใหญ่ได้ แต่กลับหลบแมลงวันไม่พ้น"

รำพึงโดย @米雅 (Mia)
ภาพโดย Carlo Parisi (1924, Italian)

"使我不快樂的,都是一些芝麻小事,
我可以躲閃一頭大象,卻躲不開一隻蒼蠅
"
*http://www.facebook.com/wipada.kittikowit




ฝากความคิดถึงทะเล
ชีวิตร่อนเร่ดุจใบไม้คว้างสายลมคิมหันต์
หากเพียงพริบตาเดียว ก็ร่วงลงแนบนอนชั่วนิรันดร์
ไยจึงต้องระรานกันไม่จบสิ้น



ดอกเสี้ยวบนดอยสูงสลัดดอกขาวห่มราวป่า
แม้นปุยเมฆบนนภา ก็หยาดน้ำตาลงกร่อนหิน
... ขอให้ความรักความเมตตาจงขับขาน
กล่อมทุกดวงวิญญาณผู้หลับใหลใต้แผ่นดิน

พิบูลศักดิ์ ละครพล




ความเงียบไม่ใช่ไม่รับรู้
และมันมีคำตอบในตัวมันเอง
ที่สามารถสื่อออกไปได้ด้วยใจเท่านั้น

ฉันพูดด้วยตา เธอฟังด้วยใจ
ปล่อยให้ความเงียบ เคลื่อนผ่านไป
ลึก ลึก เข้าไป ในโลกความรู้สึก
ยิ่งลึกลง สู่ด้านใน



โลกของถ้อยคำ ทำให้หวั่นไหว
โลกแห่งใจนั้น สิ้นสงสัย
ทุก ทุก ถ้อยคำ ต่ำต้อยเกินไป
เมื่อใจเรามีมากกว่ารัก
เปี่ยมด้วยความรู้สึก
ลึกล้ำ ย้ำในอารมณ์ส่วนลึก
อยู่ในความคิด ทุกครั้งที่นึก
ความรู้สึก อยู่เหนือ ถ้อยคำ



ฉันพูดด้วยตาเธอฟังด้วยใจ
ศุ บุญเลี้ยง



66  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / หรือจะคอย..ขอ... เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2556 15:03:41




((( บุญ..จะทำเองหรือจะคอย..ขอ )))
*http://www.facebook.com/groups/ไปให้ถึงซึ่งโลกุตระ/

67  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / Re: พุทธธรรม หรือ กฎธรรมชาติและคุณค่าสำหรับชีวิต เมื่อ: 31 มกราคม 2556 20:39:38


ข้อความที่กล่าวมานี้ นอกจากจะแสดงให้เห็นความใจกว้างของพุทธธรรม และการที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งพระทัยสอนแต่ความจริงและความดีงามถูกต้องที่เป็นกลางๆ แล้ว ยังเป็นเรื่องสำหรับเตือนให้รู้จักแยกความหมายของคำบัญญัติทางศาสนาที่ใช้ในพุทธธรรม กับที่ใช้ในศาสนาอื่นๆ ด้วย
 อนึ่ง เมื่อสิ้นยุคขององค์พระศาสดาแล้ว เวลาล่วงไป และคำสอนแผ่ไปในถิ่นต่างๆ ความเข้าใจในพุทธธรรมก็แปรไปจากเดิมและแตกต่างกันไปหลายอย่าง เพราะผู้ถ่ายทอดสืบต่อมีพื้นความรู้การศึกษาอบรมสติปัญญาแตกต่างกัน ตีความหมายพุทธธรรมแผกกันไปบ้าง นำเอาความรู้ความเชื่อถือเดิมจากลัทธิศาสนาอื่นเข้ามาผสมแทรกแซงบ้าง อิทธิพลศาสนาและวัฒนธรรมในท้องถิ่นเข้าผสมผสานบ้าง คำสอนบางแง่เด่นขึ้น บางแง่เลือนลางลง เพราะการย้ำและเลี่ยงความสนใจตามความโน้มเอียงและความถนัดของผู้รักษาคำสอนบ้าง ทำให้เกิดการแตกแยกออกเป็นนิกายต่างๆ เช่น ที่แยกเป็นเถรวาท กับมหายาน ตลอดจนนิกายย่อยๆ ในสองนิกายใหญ่นั้น
 พระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น เป็นที่ยอมรับของนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาทั่วโลก ว่าเป็นนิกายที่รักษาแบบแผนและคำสอนดั้งเดิมไว้ได้แม่นยำ แม้แต่ปราชญ์ฝ่ายมหายานยุคปัจจุบันก็เห็นความสำคัญนี้ ดังที่ในประเทศญี่ปุ่นได้ถือลงกันทั่วไปว่า การที่จะศึกษาพระพุทธศาสนามหายานให้ทั่วตลอด ต้องศึกษาพระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิม (คือเถรวาท) ด้วย เพราะมีพระสูตรบาลี ที่เป็นรากฐานของพระพุทธศาสนา พระสูตรของมหายานเพียงแต่อธิบายสาระที่บรรยายไว้โดยย่อในพระสูตรบาลี ให้ละเอียดกว้างขวางออกไป

 แม้กระนั้นก็ตาม ในพระพุทธศาสนาเถรวาทเอง เนื้อความบางแห่งในพระคัมภีร์ ที่เป็นส่วนเพิ่มเข้าในสมัยต่อมา ได้ระบุกาลเวลาไว้ชัดเจน ก็มี ไม่ได้ระบุไว้ ก็มี ถึงจะรู้กันว่าอยู่ในระยะแรกๆ ก่อนยุคอรรถกถา ก็ยังเป็นปัญหาที่คนรุ่นปัจจุบันนำมาถกเถียงคิดค้นหาความชัดเจนแน่นอน
เนื่องจากพระพุทธศาสนาเน้นการใช้ปัญญา การปฏิบัติให้ถูกต้องจึงขึ้นต่อการศึกษา และคัมภีร์พระพุทธศาสนา แม้นับเพียงพระไตรปิฎกบาลี ที่เป็นแหล่งแห่งพุทธพจน์ ก็ใหญ่โตมีเนื้อหามากมาย ยากที่จะศึกษาให้ทั่วถึง
 ยิ่งในบางยุคบางสมัย พุทธศาสนิกชนยังเหินห่างจากการศึกษาหลักธรรมอีกด้วย ความรู้ความเข้าใจที่ประชาชนส่วนมากเชื่อถือและปฏิบัติ จึงอาศัยเพียงการฟังบอกเล่าและทำตามๆ กันมา เมื่อกาลเวลาล่วงผ่านไปนานๆ ความคลาดเคลื่อนก็มีมากขึ้นและชัดเจนยิ่งขึ้น จนกระทั่งบางกรณีถึงกับเสมือนเป็นตรงข้ามกับคำสอนเดิม หรือเกือบจะกลายไปเป็นลัทธิอื่นที่คำสอนเดิมคัดค้านไปแล้วก็มี

 ยกตัวอย่างในประเทศไทยนี้ เมื่อพูดถึงคำว่า “กรรม” ความเข้าใจของคนทั่วไปก็จะเพ่งไปยังกาละส่วนอดีต เจาะจงเอาการกระทำในชาติที่ล่วงแล้วหรือชาติก่อนๆ บ้าง เพ่งไปยังปรากฏการณ์ส่วนผล คือนึกถึงผลที่ปรากฏในปัจจุบันของการกระทำในอดีตบ้าง เพ่งไปยังแง่ที่เสียหายเลวร้ายคือการกระทำชั่วฝ่ายเดียวบ้าง เพ่งไปยังอำนาจแสดงผลร้ายของการกระทำความชั่วในชาติก่อนบ้าง และโดยมากเป็นความเข้าใจตามแง่ต่างๆ เหล่านี้รวมๆ กันไปทั้งหมด ซึ่งเมื่อพิจารณาตัดสินตามหลักกรรมที่แท้จริงในพุทธธรรมแล้ว จะเห็นได้ชัดว่าเป็นความเข้าใจที่ห่างไกลจากความหมายที่แท้จริงเป็นอันมาก
 
แม้ข้อธรรมอื่นๆ ตลอดจนคำบัญญัติทางธรรมแต่ละคำๆ เช่น อารมณ์ วิญญาณ บารมี สันโดษ อุเบกขา อธิษฐาน บริกรรม ภาวนา วิปัสสนา กาม โลกิยะ โลกุตตระ บุญ อิจฉา ฯลฯ ก็ล้วนมีความหมายพิเศษในความเข้าใจของประชาชน ซึ่งผิดแปลกไปจากความหมายดั้งเดิมในพุทธธรรม โดยตัวความหมายเองบ้าง โดยขอบเขตความหมายบ้าง มากน้อยต่างกันไปในแต่ละคำนั้นๆ
 ในการศึกษาพุทธธรรม จำเป็นต้องแยกความหมายในความเข้าใจของประชาชนส่วนที่คลาดเคลื่อนนี้ออกไปต่างหาก จึงจะสามารถเข้าใจความหมายที่แท้จริงได้
 ในการแสดงพุทธธรรมต่อไปนี้ ผู้แสดงถือว่าได้พยายามที่จะแสดงตัวพุทธธรรมแท้ อย่างที่องค์พระบรมศาสดาทรงสอนและทรงมุ่งหมาย
 ในการนี้ ได้ตัดความหมายอย่างที่ประชาชนเข้าใจออกโดยสิ้นเชิง ไม่นำมาพิจารณาเลย เพราะถือว่าเป็นเรื่องข้างปลาย ไม่จำเป็นต่อการเข้าใจตัวพุทธธรรมที่แท้แต่ประการใด

 แหล่งสำคัญอันเป็นที่มาของเนื้อหาและความหมายของพุทธธรรมที่จะแสดงต่อไปนี้ ได้แก่คัมภีร์พุทธศาสนา ซึ่งในที่นี้ ถ้าไม่มีกรณีเกี่ยวข้องเป็นพิเศษ จะหมายถึงพระไตรปิฎกบาลีอย่างเดียว เพราะเป็นคัมภีร์ที่ยอมรับกันทั่วไปแล้วว่า เป็นแหล่งรวบรวมรักษาพุทธธรรมที่แม่นยำและสมบูรณ์ที่สุด แม้กระนั้น ก็ได้เลือกสรรเอาเฉพาะส่วนที่เห็นว่าเป็นหลักการดั้งเดิมเป็นความหมายแท้จริงมาแสดง โดยยึดเอาหลักความกลมกลืนสอดคล้องกันในหน่วยรวมเป็นหลัก และเพื่อให้มั่นใจยิ่งขึ้น จึงได้นำพุทธจริยาและพุทธกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญมาประกอบการพิจารณาตัดสินแนวทางและขอบเขตของพุทธธรรมด้วย
 เมื่อได้หลักการพิจารณาเหล่านี้มาเป็นเครื่องกำกับการแสดงแล้ว ก็มั่นใจว่าจะสามารถแสดงสาระแห่งพุทธธรรมได้ใกล้เคียงตัวแท้เป็นอย่างยิ่งอย่างไรก็ตาม ในขั้นพื้นฐาน การแสดงนี้ก็ยังต้องขึ้นกับกำลังสติปัญญาของผู้แสดง และความโน้มเอียงบางอย่างที่ผู้แสดงเองอาจไม่รู้ตัวอยู่นั่นเอง ฉะนั้น จึงขอให้ถือว่าเป็นความพยายามครั้งหนึ่ง ที่จะแสดงพุทธธรรมให้ถูกต้องที่สุดตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอนและมุ่งหมาย โดยอาศัยวิธีการและหลักการแสดง พร้อมทั้งหลักฐานต่างๆ ที่เชื่อว่าให้ความมั่นใจมากที่สุด
 ถ้าแยกพุทธธรรมออกเป็น ๒ ส่วน คือ สัจธรรม ส่วนหนึ่ง กับ จริย-ธรรม ส่วนหนึ่ง แล้วกำหนดความหมายขึ้นใช้ในที่นี้โดยเฉพาะ โดยกำหนดให้สัจธรรมเป็นส่วนแสดงสภาวะหรือรูปลักษณะตัวความจริง และให้จริย-ธรรมเป็นฝ่ายข้อประพฤติปฏิบัติทั้งหมด ก็จะเห็นว่า
 สัจธรรม ในพุทธศาสนา หมายถึงคำสอนเกี่ยวกับสภาวะของสิ่งทั้งหลาย หรือธรรมชาติและความเป็นไปโดยธรรมดาของสิ่งทั้งหลาย หรือกฎธรรมชาตินั่นเอง ส่วน จริยธรรม ก็หมายถึงการถือเอาประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจในสภาพและความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย หรือการรู้กฎธรรมชาติแล้วนำมาใช้ในทางที่เป็นประโยชน์
 
 อีกนัยหนึ่ง สัจธรรม คือธรรมชาติและกฎธรรมดา จริยธรรม คือความรู้ในการประยุกต์สัจธรรม
 หลักการทั้งหมดนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับตัวการนอกเหนือธรรมชาติ เช่น พระผู้สร้าง เป็นต้น แต่ประการใดเลย
 ด้วยเหตุนี้ ในการแสดงพุทธธรรมเพื่อความรู้ความเข้าใจที่มุ่งในแนวทฤษฎี คือ มุ่งให้รู้ว่าเป็นอะไร จึงควรแสดงควบคู่กันไปทั้งสัจธรรมและจริยธรรม คือแสดงหลักคำสอนในแง่สภาวะ แล้วชี้ถึงคุณค่าที่จะนำมาใช้ในทางปฏิบัติไว้ด้วย ให้เสร็จไปแต่ละอย่างๆ
 วิธีแสดงอย่างนี้เหมือนจะตรงข้ามกับเทศนาแบบอริยสัจ ๔ ซึ่งมุ่งผลในทางปฏิบัติคือการดับทุกข์หรือแก้ปัญหา จึงเริ่มด้วยปัญหาที่ปรากฏก่อน แล้วดำเนินไปสู่วิธีปฏิบัติในการแก้ไขให้ถึงจุดหมายโดยลำดับ ส่วนในที่นี้ เริ่มด้วยความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลกและชีวิต ในแง่ของสภาวะตามธรรมชาติ ให้เห็นหลักความจริงทีละแง่ทีละอย่างก่อน แล้วกล่าวถึงความหมายหรือคุณค่าทางปฏิบัติของหลักความจริงแต่ละอย่างนั้น ที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตหรือแก้ปัญหาต่อไป แม้เมื่อมองหนังสือพุทธธรรมหมดทีเดียวตลอดทั้งเล่ม ก็จะเห็นภาพรวมอย่างเดียวกันนี้ คือ หนังสือทั้งเล่มมี ๒ ภาค เริ่มด้วยภาค ๑ แสดงธรรมฝ่ายสภาวะที่เป็นหลักความจริงกลางๆ ตามธรรมชาติ คือ มัชเฌน-ธรรมเทศนา แล้วจากนั้น ภาค ๒ แสดงธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติของมนุษย์ โดยสอดคล้องกับความจริงของธรรมชาตินั้น ตามมรรคาที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา
 
อย่างไรก็ตาม ในที่สุด เมื่อมองกว้างครอบคลุมทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง ก็จะเห็นว่า พุทธธรรม ที่บรรยาย ณ ที่นี้ มีโครงสร้างใหญ่ซ้อนอยู่ในหลักอริยสัจ ๔ นั่นเอง ดังจะเห็นได้ต่อแต่นี้ไป
อนึ่ง ในข้อเขียนนี้ ได้ตกลงใจแสดงความหมายภาษาอังกฤษของศัพท์ธรรมที่สำคัญๆ ไว้ด้วย โดยเหตุผลอย่างน้อย ๓ อย่าง คือ
ประการแรก ในภาษาไทยปัจจุบัน ได้มีผู้นำศัพท์ธรรมบางคำมาใช้เป็นศัพท์บัญญัติ สำหรับคำในภาษาอังกฤษที่มีความหมายไม่ตรงกันกับศัพท์ธรรมนั้น อันอาจทำให้ความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ จึงนำความหมายในภาษาอังกฤษมาแสดงควบไว้ด้วย เพื่อไม่ให้ผู้อ่านถือไปตามความหมายที่มีผู้บัญญัติใช้ใหม่ในภาษาไทย
ประการที่สอง จำต้องยอมรับความจริงว่า นักศึกษาวิชาการสมัยใหม่จำนวนไม่น้อย เข้าใจความหมายในภาษาไทยได้ชัดเจนขึ้นในเมื่อเห็นคำภาษาอังกฤษควบอยู่ด้วย
ประการที่สาม ตำราภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในปัจจุบันนี้ มีจำนวนมาก การรู้ความหมายศัพท์ธรรมที่นิยมใช้ในภาษาอังกฤษ ย่อมเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาที่ต้องการค้นคว้าอย่างกว้างขวางต่อไป

68  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / Re: พุทธธรรม หรือ กฎธรรมชาติและคุณค่าสำหรับชีวิต เมื่อ: 31 มกราคม 2556 20:37:55


 พุทธธรรมนั้นมีขอบเขตในทางสังคมที่จะให้ใช้ได้และเป็นประโยชน์แก่
บุคคลประเภทใดบ้าง พึงเห็นได้จากพุทธพจน์ในปาสาทิกสูตร ซึ่งสรุปความ
ได้ว่า

 พรหมจรรย์ (คือพระศาสนา) จะชื่อว่าสำเร็จผลแพร่หลายกว้างขวาง
เป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เป็นปึกแผ่น ถึงขั้นที่ว่า เทวดาและมนุษย์
ประกาศไว้ดีแล้ว ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่อไปนี้ครบถ้วน คือ

 ๑. องค์พระศาสดา เป็นเถระ รัตตัญญู ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ
 ๒. มีภิกษุสาวก ที่เป็นเถระ มีความรู้เชี่ยวชาญ ได้รับการฝึกฝนอบรม  อย่างดี แกล้วกล้าอาจหาญ บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ
  สามารถแสดงธรรมให้เห็นผลจริงจัง กำราบปรัปวาท (ลัทธิที่ขัดแย้ง วาทะฝ่ายอื่น หรือคำสอนนอกรีตผิดเพี้ยน) ที่เกิดขึ้น ให้สำเร็จเรียบร้อยโดยถูกต้องตามหลักธรรม และมีภิกษุสาวกชั้นปูนกลาง และชั้นนวกะ ที่มีความสามารถเช่นเดียวกันนั้น
 ๓. มีภิกษุณีสาวิกา ชั้นเถรี ชั้นปูนกลาง และชั้นนวกะ ที่มีความสามารถเช่นเดียวกันนั้น
 ๔. มีอุบาสก ทั้งประเภทพรหมจารี และประเภทครองเรือนเสวยกามสุข ซึ่งมีความสามารถเช่นเดียวกันนั้น
 ๕. มีอุบาสิกา ทั้งประเภทพรหมจารินี และประเภทครองเรือนเสวยกามสุข ซึ่งมีความสามารถเช่นเดียวกันนั้นเพียงแต่ขาดอุบาสิกาประเภทครองเรือนเสียอย่างเดียว พรหมจรรย์ ก็ยังไม่ชื่อว่าเจริญบริบูรณ์เป็นปึกแผ่นดี

ความตอนนี้แสดงว่า พุทธธรรมเป็นคำสอนที่มุ่งสำหรับคนทุกประเภท ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ คือ ครอบคลุมสังคมทั้งหมด
และลักษณะทั่วไปของพุทธธรรมนั้น สรุปได้ ๒ อย่าง คือ

 ๑. แสดงหลักความจริงสายกลาง ที่เรียกว่า “มัชเฌนธรรม” หรือเรียกเต็มว่า “มัชเฌนธรรมเทศนา” ว่าด้วยความจริงตามแนว
ของเหตุผลบริสุทธิ์ตามกระบวนการของธรรมชาติ นำมาแสดง เพื่อประโยชน์ทางปฏิบัติในชีวิตจริงเท่านั้น ไม่ส่งเสริมความพยายาม ที่จะเข้าถึงสัจธรรมด้วยวิธีถกเถียงสร้างทฤษฎีต่างๆ ขึ้นแล้วยึดมั่น ปกป้องทฤษฎีนั้นๆ ด้วยการเก็งความจริงทางปรัชญา
 ๒. แสดงข้อปฏิบัติสายกลาง ที่เรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา” อันเป็นหลักการครองชีวิตของผู้ฝึกอบรมตน ผู้รู้เท่าทันชีวิต ไม่หลงงม
งาย มุ่งผลสำเร็จคือความสุข สะอาด สว่าง สงบ เป็นอิสระ ที่สามารถมองเห็นได้ตั้งแต่ในชีวิตนี้ ในทางปฏิบัติ ความเป็นสายกลางนี้ เป็นไปโดยสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่นๆ เช่น สภาพชีวิตของบรรพชิต หรือ คฤหัสถ์ เป็นต้น

 การสั่งสอนธรรมของพระพุทธเจ้า ทรงมุ่งผลในทางปฏิบัติ ให้ทุกคนจัดการกับชีวิตที่เป็นอยู่จริงๆ ในโลกนี้ และเริ่มแต่บัดนี้ ความรู้ในหลักที่เรียกว่า มัชเฌนธรรมเทศนา ก็ดี การประพฤติตามมรรคาที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ก็ดี เป็นสิ่งที่ทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในสภาพและระดับชีวิตอย่างใด สามารถเข้าใจและนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ตามสมควรแก่สภาพและระดับชีวิตนั้นๆ ถ้าความห่วงใยในเรื่องชีวิตหลังจากโลกนี้มีอยู่ ก็จงทำชีวิตแบบที่ต้องการนั้นให้เกิดมีเป็นจริงเป็นจังแน่นอนขึ้นมาเสียในชีวิตนี้ทีเดียว จนมั่นใจในตนเองโดยไม่ต้องกังวลห่วงใยในโลกหน้านั้นเลย

 ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันโดยธรรมชาติ ที่จะเข้าถึงผลสำเร็จเหล่านี้ แม้ว่าความสามารถจะต่างกัน ทุกคนจึงควรได้รับโอกาสเท่าเทียมกันที่จะสร้างผลสำเร็จนั้นตามความสามารถของตน และความสามารถนั้น ก็เป็นสิ่งที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มพูนได้ จึงควรให้ทุกคนมีโอกาสที่จะพัฒนาความสามารถของตนอย่างดีที่สุด และแม้ว่าผลสำเร็จที่แท้จริง ทุกคนจะต้องทำด้วยตัวเอง โดยตระหนักในความรับผิดชอบของตน ที่จะต้องขวนขวายพากเพียรอย่างเต็มที่ แต่ทุกคนก็เป็นอุปกรณ์ในการช่วยตนเองของคนอื่นได้ ดังนั้น
หลักอัปปมาทธรรม และหลักความมีกัลยาณมิตร จึงเป็นหลักธรรมที่เด่น และเป็นข้อที่เน้นหนักทั้งสองอย่าง ในฐานะความรับผิดชอบต่อตนเองฝ่ายหนึ่ง กับปัจจัยภายนอกที่จะช่วยเสริมอีกฝ่ายหนึ่ง
 
หากยกเอาผลงานและพระจริยาของพระพุทธเจ้าขึ้นมาเป็นหลักพิจารณา จะมองเห็นแนวทางการบำเพ็ญพุทธกิจที่สำคัญหลายอย่าง เช่น  ทรงพยายามล้มล้างความเชื่อถืองมงายในเรื่องพิธีกรรมอันเหลวไหลต่างๆ โดยเฉพาะการบูชายัญ ด้วยการสอนย้ำถึงผลเสียหายและความไร้ผลของพิธีกรรมเหล่านั้น ทั้งนี้เพราะยัญพิธีเหล่านั้น ทำให้คนมัวแต่คิดหวังพึ่งเหตุปัจจัยภายนอก อย่างหนึ่ง ทำให้คนกระหายทะยานและคิดหมกหมุ่นในผลประโยชน์ทางวัตถุเพิ่มพูนความเห็นแก่ตน ไม่คำนึงถึงความทุกข์ยากเดือดร้อนของเพื่อนมนุษย์และสัตว์ อย่างหนึ่ง ทำให้คนคิดหวังแต่เรื่องอนาคต จนไม่คิดปรับปรุงปัจจุบัน อย่างหนึ่ง แล้วทรงสอนย้ำหลักแห่ง “ทาน” คือการให้เสียสละแบ่งปันและสงเคราะห์กันในสังคม

 สิ่งต่อไปที่ทรงพยายามสอนหักล้าง คือระบบความเชื่อถือเรื่องวรรณะ ที่นำเอาชาติกำเนิดมาเป็นขีดขั้นจำกัดสิทธิและโอกาสทั้งในทางสังคมและทางจิตใจของมนุษย์ ทรงตั้ง “สังฆะ” คือชุมชนแห่งสงฆ์ ที่เปิดรับคนจากทุกวรรณะให้เข้าสู่ความเสมอภาคกัน เหมือนทะเลที่รับน้ำจากแม่น้ำทุกสายกลมกลืนเข้าเป็นอันเดียวกัน  ทำให้เกิดสถาบันวัด ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางเผยแพร่วัฒนธรรมและการศึกษาที่สำคัญยิ่ง จนศาสนาฮินดูต้องนำไปจัดตั้งขึ้นบ้างในศาสนาของตน เมื่อหลังพุทธกาลแล้วราว ๑,๔๐๐ หรือ ๑,๗๐๐ ปี
 
ทรงให้สิทธิแก่สตรีที่จะได้รับประโยชน์จากพุทธธรรม เข้าถึงจุดหมายสูงสุดที่พุทธธรรมจะให้เข้าถึงได้ เช่นเดียวกับบุรุษ แม้ว่าการให้สิทธินี้ จะต้องทรงกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ที่จะเตรียมการวางรูปให้สภาพการได้สิทธิของสตรีนี้ดำรงอยู่ด้วยดีในสภาพสังคมสมัยนั้น เพราะสิทธิของสตรีในการศึกษาอบรมทางจิตใจ ได้ถูกศาสนาพระเวทค่อยๆ จำกัดแคบลงมาจนปิดตายแล้วในสมัยนั้น

 ประการต่อไป ทรงสั่งสอนพุทธธรรมด้วยภาษาสามัญที่ประชาชนใช้ เพื่อให้คนทุกชั้น ทุกระดับการศึกษา ได้รับประโยชน์จากธรรมนี้ทั่วถึง ตรงข้ามกับศาสนาพราหมณ์ที่ยึดความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์พระเวท และจำกัดความรู้ชั้นสูงไว้ในวงแคบของพวกตนด้วยวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะด้วยการใช้ภาษาเดิมของสันสกฤต ซึ่งรู้จำกัดในหมู่พวกตน เป็นสื่อถ่ายทอดและรักษาคัมภีร์ แม้ต่อมาจะมีผู้ขออนุญาตพระพุทธเจ้าให้ยกพุทธพจน์ขึ้นสู่ภาษาพระเวท พระองค์ก็ไม่ทรงอนุญาต ทรงยืนยันให้ใช้ภาษาของประชาชนตามเดิม

 ประการต่อไป ทรงปฏิเสธโดยสิ้นเชิงที่จะทำเวลาให้สูญเสียไปกับการถกเถียงปัญหาที่เกี่ยวกับการเก็งความจริงทางปรัชญา ซึ่งไม่อาจนำมาพิสูจน์ให้เห็นได้ด้วยวิธีแสดงเหตุผลทางคำพูด ถ้าใครถามปัญหาเช่นนี้ พระองค์จะทรงยับยั้งเสีย แล้วดึงผู้นั้นกลับมาสู่ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องที่เขาจะต้องเกี่ยวข้องและปฏิบัติได้ในชีวิตจริงโดยทันที  สิ่งที่จะพึงรู้ได้ด้วยคำพูด ทรงแนะนำด้วยคำพูด สิ่งที่จะพึงรู้ด้วยการเห็น ทรงให้เขาดู มิใช่ให้ดูสิ่งที่จะต้องเห็นด้วยคำพูด

 ทั้งนี้ ทรงสอนพุทธธรรมโดยปริยายต่างๆ เป็นอันมาก มีคำสอนหลายระดับ ทั้งสำหรับผู้ครองเรือน ผู้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคม และผู้สละเรือนแล้ว ทั้งคำสอนเพื่อประโยชน์ทางวัตถุ และเพื่อประโยชน์ลึกซึ้งทางจิตใจ เพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากพุทธธรรมทั่วถึงกัน พุทธกิจที่กล่าวมานี้ เป็นเครื่องยืนยันข้อสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับพุทธธรรมที่พูดมาแล้วข้างต้น
 การที่ได้ประสูติและทรงเติบโตมาท่ามกลางวัฒนธรรมแบบพราหมณ์ และความเชื่อถือตามลัทธิต่างๆ ของพวกสมณะสมัยนั้น ทำให้พระองค์ต้องทรงเกี่ยวข้องและคุ้นกับถ้อยคำตามที่มีใช้กันในลัทธิความเชื่อถือเหล่านั้น จึงเป็นธรรมดาที่จะต้องทรงใช้ถ้อยคำเหล่านั้นในการสื่อสารทั่วไป แต่เมื่อทรงมีคำสอนใหม่ให้แก่สังคม ปัญหาก็เกิดขึ้นว่าจะทรงปฏิบัติต่อถ้อยคำเหล่านั้นอย่างไร
ปรากฏว่า พระองค์ทรงมีวิธีปฏิบัติต่อถ้อยคำทางศาสนาเหล่านี้ เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่ง คือ ไม่ทรงนิยมหักล้างความเชื่อถือเดิมในรูปถ้อยคำที่ใช้ ถ้าถ้อยคำนั้นๆ มีความหมายของศัพท์ในทางที่ดีงาม ทรงหักล้างเฉพาะตัวความเชื่อถือผิดที่แฝงอยู่กับความหมายของถ้อยคำเหล่านั้น กล่าวคือ ไม่ทรงขัดแย้งด้วยวิธีรุนแรง แต่ทรงนำคนเข้าสู่ปัญญาด้วยเมตตากรุณา ให้เขาเกิดความรู้เข้าใจอย่างใหม่ มองเห็นความจริง จากถ้อยคำที่เขาเคยเข้าใจอย่างอื่น

 โดยนัยนี้ พระองค์จึงทรงนำคำบัญญัติที่ใช้กันอยู่ในศาสนาเดิมมาใช้ในความหมายใหม่ตามแนวของพุทธธรรมโดยเฉพาะบ้าง ทรงสร้างคุณค่าใหม่ให้แก่ถ้อยคำที่ใช้อยู่เดิมบ้าง เช่น ใช้ “พรหม” เป็นชื่อของสัตวโลกที่เกิดตายประเภทหนึ่งบ้าง หมายถึงบิดามารดาบ้าง ทรงเปลี่ยนความเชื่อถือเรื่องกราบไหว้ทิศ ๖ ในธรรมชาติ มาเป็นการปฏิบัติหน้าที่และรักษาความสัมพันธ์รูปต่างๆ ในสังคม เปลี่ยนความหมายของการบูชาไฟศักดิ์สิทธิ์สำหรับยัญพิธี ๓ อย่างของพราหมณ์มาเป็นความรับผิดชอบทางสังคมต่อบุคคล ๓ ประเภท เปลี่ยนการตัดสินความเป็นพราหมณ์และอารยะโดยชาติกำเนิด มาเป็นตัดสินด้วยการประพฤติปฏิบัติ
 บางครั้งทรงสอนให้ดึงความหมายบางส่วนในคำสอนของศาสนาเดิมมาใช้แต่ในทางที่ดีงามและเป็นประโยชน์ คำสอนใดในศาสนาเดิมถูกต้องดีงาม ก็ทรงรับรอง โดยถือความถูกต้องดีงามเป็นของสากลโดยธรรมชาติ
ในกรณีที่หลักความประพฤติปฏิบัติในศาสนาเดิมมีความหมายหลายอย่าง ทรงชี้แจงว่าแง่ใดถูก แง่ใดผิด ทรงยอมรับและให้ประพฤติปฏิบัติแต่ในแง่ที่ดีงามถูกต้อง
 บางครั้งทรงสอนว่า ความประพฤติปฏิบัติที่ผิดพลาดเสียหายบางอย่างของศาสนาเดิมสมัยนั้น เป็นความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นในศาสนานั้นเอง ซึ่งในครั้งดั้งเดิมทีเดียว คำสอนของศาสนานั้นก็ดีงามถูกต้อง และทรงสอนให้รู้ว่า คำสอนเดิมที่ดีของศาสนานั้นเป็นอย่างไร ตัวอย่างในข้อนี้ มีเรื่อง ตบะ การบูชายัญ หลักการสงเคราะห์ประชาชนของนักปกครอง และเรื่อง พราหมณธรรม  เป็นต้น


69  สุขใจในธรรม / เอกสารธรรม / พุทธธรรม หรือ กฎธรรมชาติและคุณค่าสำหรับชีวิต เมื่อ: 31 มกราคม 2556 18:11:03


                               


พุทธธรรม หรือ กฎธรรมชาติและคุณค่าสำหรับชีวิต

ความนำ สิ่งที่ควรเข้าใจก่อน
 พระพุทธศาสนานั้น เมื่อมองในทัศนะของคนสมัยใหม่ มักเกิดปัญหาขึ้น
บ่อยๆ ว่าเป็นศาสนา (religion) หรือเป็นปรัชญา (philosophy) หรือว่าเป็น
เพียงวิธีครองชีวิตแบบหนึ่ง (a way of life) เมื่อปัญหาเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ก็
เป็นเหตุให้ต้องถกเถียงหรือแสดงเหตุผล ทำให้เรื่องยืดยาวออกไป อีกทั้งมติ
ในเรื่องนี้ก็แตกต่างไม่ลงเป็นแบบเดียวกัน ทำให้เป็นเรื่องฟั่นเฝือ ไม่มีที่สิ้นสุด

 ในที่นี้ แม้จะเขียนเรื่องพุทธธรรมไว้ในหมวดปรัชญาก็จะไม่พิจารณา
ปัญหานี้เลย มุ่งแสดงแต่ในขอบเขตว่า พุทธธรรมสอนว่าอย่างไร มีเนื้อหา
อย่างไรเท่านั้น ส่วนที่ว่าพุทธธรรมจะเป็นปรัชญาหรือไม่ ให้เป็นเรื่องของ
ปรัชญาเองที่จะมีขอบเขตครอบคลุมหรือสามารถตีความให้ครอบคลุมถึง
พุทธธรรมได้หรือไม่ โดยที่ว่าพุทธธรรม ก็คือพุทธธรรม และยังคงเป็นพุทธ
ธรรมอยู่นั่นเอง มีข้อจำกัดเพียงอย่างเดียวว่า หลักการหรือคำสอนใดก็ตาม
ที่เป็นเพียงการคิดค้นหาเหตุผลในเรื่องความจริงเพื่อสนองความต้องการ
ทางปัญญา โดยมิได้มุ่งและแสดงแนวทางสำหรับประพฤติปฏิบัติในชีวิตจริง
อันนั้น ให้ถือว่า ไม่ใช่พระพุทธศาสนา เฉพาะอย่างที่ถือว่าเป็นคำสอนเดิม
แท้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งในที่นี้เรียกว่าพุทธธรรม


 การประมวลคำสอนในพระพุทธศาสนามาวางเป็นข้อสรุปลงว่า พุทธ
ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนและทรงมุ่งหมายแท้จริง เป็นอย่างไรนั้น เป็น
เรื่องยาก แม้จะยกข้อความในคัมภีร์ซึ่งถือกันว่าเป็นพุทธพจน์มาอ้าง เพราะ
คำสอนในคัมภีร์มีปริมาณมากมาย มีแง่ด้านระดับความลึกซึ้งต่างๆ กัน และ
ขึ้นต่อการตีความของบุคคล โดยใช้สติปัญญาและความสุจริตใจหรือไม่เพียง
ไรด้วย ในบางกรณี ผู้ถือความเห็นต่างกันสองฝ่าย อาจยกข้อความในคัมภีร์มา
สนับสนุนความคิดเห็นของตนได้ด้วยกันทั้งคู่ การวินิจฉัยความจริงจึงขึ้นต่อ
ความแม่นยำในการจับสาระสำคัญ และความกลมกลืนสอดคล้องแห่งหลัก
การและหลักฐานที่แสดงทั้งหมดโดยหน่วยรวม
เป็นข้อสำคัญ แม้กระนั้น เรื่อง
ที่แสดงและหลักฐานต่างๆ ก็มักไม่กว้างขวางครอบคลุมพอ จึงหนีไม่พ้นจาก
อิทธิพลความเห็นและความเข้าใจพื้นฐานต่อพุทธธรรมของบุคคลผู้แสดงนั้น


 ในเรื่องนี้ เห็นว่ายังมีองค์ประกอบอีกอย่างหนึ่งที่ควรนำมาเป็นเครื่อง
วินิจฉัยด้วย คือ ความเป็นไปในพระชนมชีพ  และพระปฏิปทาขององค์
สมเด็จพระบรมศาสดา ผู้เป็นแหล่งหรือที่มาของคำสอนเอง บุคลิกและสิ่งที่
ผู้สอนได้กระทำ อาจช่วยแสดงความประสงค์ที่แท้จริงของผู้สอนได้ดีกว่าคำ
สอนเฉพาะแห่งๆ ในคัมภีร์ หรืออย่างน้อยก็เป็นเครื่องประกอบความเข้าใจ
ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ถึงหากจะมีผู้ติงว่า องค์ประกอบข้อนี้ก็ได้จากคัมภีร์ต่างๆ
เช่นเดียวกับคำสอน และขึ้นต่อการตีความได้เหมือนกัน แม้กระนั้น ก็ยังต้อง
ยอมรับอยู่นั่นเองว่า เป็นเครื่องประกอบการพิจารณาที่มีประโยชน์มาก

 จากหลักฐานต่างๆ ทางฝ่ายคัมภีร์และประวัติศาสตร์ พอจะวาดภาพ
เหตุการณ์และสภาพสังคมครั้งพุทธกาลได้คร่าวๆ ดังนี้

 พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติในชมพูทวีป เมื่อประมาณ ๒,๖๐๐ ปีล่วงมา
แล้ว ทรงประสูติในวรรณะกษัตริย์ พระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ เป็น
โอรสของพระเจ้าสุทโธทนะผู้ครองแคว้นศากยะ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก
เฉียงเหนือของชมพูทวีป ติดเชิงเขาหิมาลัย ในฐานะโอรสกษัตริย์และเป็น
ความหวังของราชตระกูล พระองค์จึงได้รับการปรนเปรอด้วยโลกียสุขต่างๆ
อย่างเพียบพร้อม และได้ทรงเสวยความสุขอยู่เช่นนี้เป็นเวลานานถึง ๒๙ ปี
ทรงมีทั้งพระชายาและพระโอรส

 ครั้งนั้น ในทางการเมือง รัฐบางรัฐที่ปกครองแบบราชาธิปไตยกำลัง
เรืองอำนาจขึ้น และกำลังพยายามทำสงครามแผ่ขยายอำนาจและอาณาเขต
ออกไป รัฐหลายรัฐ โดยเฉพาะที่ปกครองแบบสามัคคีธรรม  (หรือแบบสาธารณรัฐ)
กำลังเสื่อมอำนาจลงไปเรื่อยๆ บางรัฐก็ถูกปราบรวมเข้าในรัฐอื่นแล้ว บาง
รัฐที่ยังเข้มแข็งก็อยู่ในสภาพตึงเครียด สงครามอาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ แม้รัฐ
ใหญ่ที่เรืองอำนาจ ก็มีการขัดแย้งรบพุ่งกันบ่อยๆ

 ในทางเศรษฐกิจ การค้าขายกำลังขยายตัวกว้างขวางขึ้น เกิดคน
ประเภทหนึ่งมีอิทธิพลมากขึ้นในสังคม คือ พวกเศรษฐี ซึ่งมีสิทธิ มีเกียรติยศ
และอิทธิพลมากขึ้นแม้ในราชสำนัก

ในทางสังคม คนแบ่งออกเป็น ๔ วรรณะตามหลักคำสอนของศาสนา
พราหมณ์ มีสิทธิ เกียรติ ฐานะทางสังคม และอาชีพการงาน  แตกต่างกัน
ไปตามวรรณะของตนๆ แม้นักประวัติศาสตร์ฝ่ายฮินดูจะว่าการถือวรรณะใน
ยุคนั้นยังไม่เคร่งครัดนัก แต่อย่างน้อยคนวรรณะศูทร  ก็ไม่มีสิทธิที่จะฟัง
หรือกล่าวความในพระเวทอันเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์ได้
ทั้งมี
กำหนดโทษไว้ (เท่าที่ทราบจากมานวธรรมศาสตร์ต่อมา ถึงกับให้ผ่าร่างกาย
เป็น ๒ ซีก) และคนจัณฑาลหรือพวกนอกวรรณะก็ไม่มีสิทธิได้รับการศึกษา
เลย การกำหนดวรรณะก็ใช้ชาติกำเนิดเป็นเครื่องแบ่งแยก โดยเฉพาะพวก
พราหมณ์พยายามยกตนขึ้น ถือตัวว่าเป็นวรรณะสูงสุด

 ส่วนในทางศาสนา พวกพราหมณ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นผู้รักษาศาสนา
พราหมณ์สืบต่อกันมา ก็ได้พัฒนาคำสอนในด้านลัทธิพิธีกรรมต่างๆ ให้ลึกลับ
ซับซ้อนใหญ่โตโอ่อ่าขึ้น พร้อมกับที่ไร้เหตุผลลงโดยลำดับ การที่ทำดังนี้ มิใช่
เพียงเพื่อวัตถุประสงค์ทางศาสนาเท่านั้น แต่มุ่งสนองความต้องการของผู้มี
อำนาจ ที่จะแสดงถึงเกียรติยศความยิ่งใหญ่ของตนประการหนึ่ง และด้วย
มุ่งหวังผลประโยชน์ตอบแทนที่จะพึงได้จากผู้มีอำนาจเหล่านั้นอย่างหนึ่ง พิธี
กรรมเหล่านี้ล้วนชักจูงให้คนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากขึ้น เพราะหวังผล
ตอบแทนเป็นทรัพย์สมบัติและกามสุขต่างๆ พร้อมกันนี้ ก็ก่อความเดือดร้อน
แก่คนชั้นต่ำ พวกทาสกรรมกรที่ต้องทำงานหนัก และการทารุณต่อสัตว์ด้วย
การฆ่าบูชายัญครั้งละเป็นจำนวนมากๆ

 ในเวลาเดียวกันนี้ พราหมณ์จำนวนหนึ่งได้คิดว่าพิธีกรรมต่างๆ ไม่
สามารถทำให้ตนประสบชีวิตนิรันดรได้ จึงได้เริ่มคิดเอาจริงเอาจังกับปัญหา
เรื่องชีวิตนิรันดร และหนทางที่จะนำไปสู่สภาวะเช่นนั้น ถึงกับยอมปลีกตัว
ออกจากสังคมไปคิดค้นแสวงคำตอบอาศัยความวิเวกอยู่ในป่า และคำสอน
ของศาสนาพราหมณ์ในยุคนี้ ซึ่งเรียกว่า ยุคอุปนิษัท ก็มีความขัดแย้งกัน
เองมาก บางส่วนอธิบายเพิ่มเติมเรื่องพิธีกรรมต่างๆ บางส่วนกลับประณาม
พิธีกรรมเหล่านั้น และในเรื่องชีวิตนิรันดรก็มีความเห็นต่างๆ กัน มีคำสอน
เรื่องอาตมันแบบต่างๆ ที่ขัดกัน จนถึงขั้นสุดท้ายที่ว่า อาตมัน คือพรหมัน
เป็นที่มาและแทรกซึมอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง มีภาวะที่อธิบายไม่ได้อย่างที่เรียก
ว่า “เนติ เนติ” (ไม่ใช่นั่น ไม่ใช่นั่น) เป็นจุดหมายสูงสุดของการบำเพ็ญเพียร
ทางศาสนา และพยายามแสดงความหมายโต้ตอบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสภาพ
ของภาวะเช่นนี้ พร้อมกับที่หวงแหนความรู้เหล่านี้ไว้ในหมู่พวกตน
 พร้อมกันนั้น นักบวชอีกพวกหนึ่ง ซึ่งเบื่อหน่ายต่อความไร้สาระแห่ง
ชีวิตในโลกนี้ ก็ได้ไปบำเพ็ญเพียรแบบต่างๆ ตามวิธีการของพวกตนๆ ด้วย
หวังว่าจะได้พบชีวิตอมตะหรือผลสำเร็จอันวิเศษอัศจรรย์ต่างๆ ที่ตนหวัง
บ้างก็บำเพ็ญตบะ ทรมานตนด้วยประการต่างๆ ตั้งต้นแต่อดอาหารไปจนถึง
การทรมานร่างกายแบบแปลกๆ ที่คนธรรมดาคิดไม่ถึงว่าจะเป็นไปได้ บ้างก็
บำเพ็ญสมาธิจนถึงกล่าวว่าทำปาฏิหาริย์ได้ต่างๆ บ้างก็สามารถบำเพ็ญฌาน
จนได้ถึงรูปสมาบัติ อรูปสมาบัติ

 อีกด้านหนึ่ง นักบวชประเภทที่เรียกว่าสมณะอีกหลายหมู่หลายพวก ซึ่ง
ได้สละเหย้าเรือนออกบวชแสวงหาจุดหมายชีวิตเช่นเดียวกัน ก็ได้เร่ร่อนท่อง
เที่ยวไปในบ้านเมืองต่างๆ ถกเถียงถามปัญหากันบ้าง ตั้งตนเป็นศาสดาแสดง
ทัศนะของตนต่างๆ กันหลายแบบหลายอย่าง จนปรากฏว่า เกิดมีลัทธิต่างๆ
ขึ้นเป็นอันมาก  เฉพาะที่เด่นๆ ซึ่งปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนา ถึง ๖ ลัทธิ
 สภาพเช่นนี้ จะสรุปสั้นๆ คงได้ความว่า ยุคนั้น คนพวกหนึ่งกำลังรุ่ง
เรืองขึ้นด้วยอำนาจ ร่ำรวยด้วยทรัพย์สมบัติ และเพลิดเพลินมัวเมาอยู่กับ
การแสวงหาความสุขทางวัตถุ พร้อมกับที่คนหลายพวกก็มีฐานะและความ
เป็นอยู่ด้อยลงๆ ไป ไม่ค่อยได้รับความเหลียวแล ส่วนคนอีกพวกหนึ่ง ก็ปลีก
ตัวออกไปเสียจากสังคมทีเดียว ไปมุ่งมั่นค้นหาความจริงในทางปรัชญา โดย
มิได้ใส่ใจสภาพสังคมเช่นเดียวกัน

 เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงได้รับการบำรุงบำเรอด้วยโลกียสุขอยู่เป็นเวลา
นานถึง ๒๙ ปี และมิใช่เพียงปรนปรือเอาใจเท่านั้น ยังได้ทรงถูกปิดกั้นไม่ให้
พบเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่ระคนด้วยความทุกข์ของสามัญชนทั้งหลายด้วย
แต่สภาพเช่นนี้ไม่สามารถถูกปิดบังจากพระองค์ได้เรื่อยไป ปัญหาเรื่องความ
ทุกข์ความเดือดร้อนต่างๆ ของมนุษย์ อันรวมเด่นอยู่ที่ความแก่ เจ็บ และ
ตาย เป็นสิ่งที่ทำให้พระองค์ต้องครุ่นคิดแก้ไข


 ปัญหานี้ คิดสะท้อนออกไปในวงกว้างให้เห็นสภาพสังคม ที่คนพวก
หนึ่งได้เปรียบกว่า ก็แสวงหาแต่โอกาสที่จะหาความสมบูรณ์พูนสุขใส่ตน
แข่งขันแย่งชิงเบียดเบียนกัน หมกมุ่นมัวเมาอยู่ในความสุขเหล่านั้น ไม่ต้อง
คิดถึงความทุกข์ยากเดือดร้อนของใครๆ ดำรงชีวิตอยู่อย่างทาสของวัตถุ
ยามสุขก็ละเมอมัวเมาอยู่ในความคับแคบของจิตใจ ถึงคราวถูกความทุกข์
เข้าครอบงำก็ลุ่มหลงไร้สติเหี่ยวแห้งคับแค้นเกินสมควร แล้วก็แก่เจ็บตายไป
อย่างไร้สาระ ฝ่ายคนที่เสียเปรียบ ไม่มีโอกาส ถูกบีบคั้นกดขี่อยู่อย่างคับ
แค้น แล้วก็แก่เจ็บตายไปโดยไร้ความหมาย

 เจ้าชายสิทธัตถะทรงมองเห็นสภาพเช่นนี้แล้ว ทรงเบื่อหน่ายใน
สภาพความเป็นอยู่ของพระองค์ มองเห็นความสุขความปรนเปรอเหล่านั้น
เป็นของไร้สาระ ทรงคิดหาทางแก้ไขจะให้มีความสุขที่มั่นคง เป็นแก่นสาร
ทรงคิดแก้ปัญหานี้ไม่ตก และสภาพความเป็นอยู่ของพระองค์ท่ามกลาง
ความเย้ายวนสับสนวุ่นวายเช่นนั้น ไม่อำนวยแก่การใช้ความคิดที่ได้ผล

 ในที่สุด ทรงมองเห็นภาพพวกสมณะ ซึ่งเป็นผู้ได้ปลีกตัวจากสังคม
ไปค้นคว้าหาความจริงต่างๆ โดยมีความเป็นอยู่ง่ายๆ ปราศจากกังวล และ
สะดวกในการแสวงหาความรู้และคิดหาเหตุผล สภาพความเป็นอยู่แบบนี้น่า
จะช่วยพระองค์ให้แก้ปัญหานี้ได้ และบางทีสมณะพวกนั้น ที่ไปคิดค้นหา
ความจริงกันต่างๆ บางคนอาจมีอะไรบางอย่างที่พระองค์จะเรียนรู้ได้บ้าง

 เมื่อถึงขั้นนี้ เจ้าชายสิทธัตถะจึงเสด็จออกบรรพชาอย่างพวกสมณะที่
มีอยู่แล้วในสมัยนั้น พระองค์ได้เสด็จจาริกไปศึกษาหาความรู้เท่าที่พวกนัก
บวชสมัยนั้นจะรู้และปฏิบัติกัน ทรงศึกษาทั้งวิธีการแบบโยคะ ทรงบำเพ็ญ
สมาธิจนได้ฌานสมาบัติ ถึงอรูปสมาบัติชั้นสูงสุด ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ได้
อย่างเชี่ยวชาญยิ่ง และทรงบำเพ็ญตบะทรมานพระองค์จนแทบสิ้นพระชนม์

 ในที่สุดก็ทรงตัดสินได้ว่า วิธีการของพวกนักบวชเหล่านี้ทั้งหมด ไม่
สามารถแก้ปัญหาดังที่พระองค์ทรงประสงค์ได้ เมื่อเทียบกับชีวิตของพระ
องค์ก่อนเสด็จออกบรรพชาแล้ว ก็นับว่าเป็นการดำรงชีวิตอย่างเอียงสุดทั้ง
สองฝ่าย จึงทรงหันมาดำเนินการคิดค้นของพระองค์เองต่อมา จนในที่สุดได้
ตรัสรู้  ธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบนี้
ต่อมาเมื่อทรงนำไปแสดงให้ผู้อื่นฟัง
ทรงเรียกว่า “มัชเฌนธรรมเทศนา” หรือ หลักธรรมสายกลาง และทรง
เรียกข้อปฏิบัติอันเป็นระบบที่พระองค์ทรงจัดวางขึ้นว่า “มัชฌิมาปฏิปทา
หรือ ทางสายกลาง


 จากความท่อนนี้ จะมองเห็นทัศนะตามแนวพุทธธรรมว่า การดำรง
ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างลุ่มหลงหมกมุ่นปล่อยตัวไปเป็นทาสตามกระแสกิเลส 
ก็ดี การหลีกหนีออกไปโดยสิ้นเชิง ไม่เกี่ยวข้องรับผิดชอบอย่างใดต่อสังคม
อยู่อย่างทรมานตนก็ดี นับว่าเป็นข้อปฏิบัติที่ผิดเอียงสุดด้วยกันทั้งสองอย่าง
ไม่สามารถให้มนุษย์ดำรงชีวิตอย่างมีความหมายแท้จริงได้

 เมื่อตรัสรู้แล้วเช่นนี้ พระองค์จึงเสด็จกลับคืนมาทรงเริ่มต้นงานสั่ง
สอนพุทธธรรมเพื่อประโยชน์แก่สังคมของชาวโลกอย่างหนักแน่นจริงจัง
และทรงดำเนินงานนี้จนตลอด ๔๕ ปี แห่งพระชนมชีพระยะหลัง

 แม้ไม่พิจารณาเหตุผลด้านอื่น มองเฉพาะในแง่สังคมอย่างเดียว ก็จะ
เห็นว่า พุทธกิจที่พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์สุขแก่สังคมสมัยนั้น
จะสำเร็จผลดีที่สุดก็ด้วยการทำงานในบรรพชิตเพศเท่านั้น พระองค์จึงได้
ทรงชักจูงคนชั้นสูงจำนวนมากให้ละความมั่งมีศรีสุข ออกบวช ศึกษา และ
เข้าถึงธรรมที่ทรงสอนแล้ว ร่วมทำงานอย่างเสียสละอุทิศตนเพื่อประโยชน์
สุขของประชาชน ด้วยการจาริกไปเข้าถึงคนทุกชั้นวรรณะ และทุกถิ่นที่จะ
ไปถึงได้ ทำให้บำเพ็ญประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง

 อีกประการหนึ่ง คณะสงฆ์เองก็เป็นแหล่งแก้ปัญหาสังคมได้อย่าง
สำคัญ เช่นในข้อว่า ทุกคน ไม่ว่าจะเกิดในวรรณะใด เมื่อบวชแล้วก็มีสิทธิ
เสมอกันทั้งสิ้น ส่วนเศรษฐี คฤหบดี ผู้ยังไม่พร้อมที่จะเสียสละได้เต็มที่ ก็ให้
คงครองเรือนอยู่เป็นอุบาสก คอยช่วยให้กำลังแก่คณะสงฆ์ในการบำเพ็ญ
กรณียกิจของท่าน และนำทรัพย์สมบัติของตนออกบำเพ็ญประโยชน์
สงเคราะห์ประชาชนไปด้วยพร้อมกัน

 การบำเพ็ญกรณียกิจ ทั้งของพระพุทธเจ้าและของพระสาวก มีวัตถุ
ประสงค์และขอบเขตกว้างขวางเพียงใด จะเห็นได้จากพุทธพจน์ แต่ครั้งแรก
ที่ทรงส่งสาวกออกประกาศพระศาสนาว่า

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุข ของชนเป็นอันมาก
เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและ ความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย



70  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / Re: อารมณ์วู่วาม... (หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต) เมื่อ: 29 มกราคม 2556 22:21:35


                   

วิญญาณมีจริงหรือ
ต่อไปมีเรื่องอะไรก็เขียนลงไปก๊อก ๆ แก๊ก ๆ ตามประสาของกายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขารเพราะพระนิพพานมิได้มาเขียนมาอ่านด้วย
บาลีท่านถามว่า วิญญาณมีจริงหรือ
ผู้เขียนก็ต้องตอบว่า ผู้ถามก็เอามโนวิญญาณถาม ผู้ตอบก็เอามโนวิญญาณตอบ ผู้เป็นกรรมการก็เอามโนวิญญาณเป็นกรรมการ ผู้ถามก็ไม่ควรถาม ผู้ตอบก็ไม่ควรตอบ ผู้กรรมการก็ไม่ควรเป็นกรรมการ เพราะคล้าย ๆ กับคนขี้เมาสุราถามและตอบกัน คล้าย ๆ กับคนขี้เมาสุรามาเป็นกรรมการอีก จะกลายเป็นสภานกเค้าแมว เพราะมีลูกตาโตเสมอกันแล้ว

และก็ จักขุวิญญาณ วิญญาณทางดวงตา โสตวิญญาณ วิญญาณทางหู ฆานวิญญาณ วิญญาณทางจมูก ชิวหาวิญญาณ วิญญาณทางลิ้น กายวิญญาณ วิญญาณทางกาย มโนวิญญาณ วิญญาณทางใจ วิญญาณทั้งหลายเป็นเมืองขึ้นของมโนวิญญาณ แล้วโทรเลขด่วน หรือโทรศัพท์ด่วนลงถึงมโนวิญญาณ แล้วทั้งอดีตที่ล่วงไปแล้วด้วย ทั้งอนาคตที่ยังไม่มาถึงด้วย ทั้งปัจจุบันที่กำลังเป็นอยู่ซึ่งหน้าด้วย ถ้าหากว่าไม่รู้เท่าวิญญาณแล้วก็เป็นวิญญาณปฏิสนธิตะพึดตะพือ เป็นอนันตรปัจจัย เป็นอนันตรเหตุ เป็นอนันตรผล เป็นอนันตรกิเลส เป็นอนันตรกรรม เป็นอนันตรวิบาก เป็นอนันตรชาติ เป็นอนันตรภพ หรือจะว่าเป็นอนันตรภพ อนันตรชาติ ก็ได้

ในห้วงของปัจยาการปฏิจจสมุปบาทที่เกี่ยวข้องกันเป็นสายโซ่, โลภ โกรธ หลง เป็นสายโซ่หรือไม่ และต่างกันอย่างไรกับปัจยาการ

ตอบว่าเป็นสายโซ่อยู่โดยตรง ๆ แล้วและไม่ต่างกันกับปัจยาการเลย มีความหมายอันเดียวกัน ผู้ที่ไม่รู้เท่าปัจยาการ ก็มีความหมายอันเดียวกัน ผู้ไม่รู้เท่า โลภ โกรธ หลง ก็มีความหมายอันเดียวกัน ไม่แปลกเลย ผู้ไม่รู้เท่าอดีต อนาคตและปัจจุบัน ก็มีความหมายอันเดียวกัน ผู้ไม่รู้เท่ากองนามรูป ก็มีความหมายอันเดียวกันนั้นแล ผู้ไม่รู้เท่าไตรลักษณ์ก็มีความหมายอันเดียวกันอีก

คำว่ารู้เท่าในที่นี้มิได้หมายความว่า รู้ตามสัญญาความจำมา เคยหูก็หันปากว่าไปเหมือน แก้วเจ้าขา กินข้าวกับกล้วย เลย หมายความว่ารู้ตามเป็นจริงแห่งความหลุดพ้นโดยถ่องแท้ เป็นสัมมาวิมุตติ เป็นสัมมาญาณะ มิใช่มิจฉาวิมุตติ มิใช่มิจฉาญาณะ

ผลย่อมสมควรแก่เหตุ
จะขอถามสักคำว่า ผู้เขียนอยู่เดี๋ยวนี้ล่ะ อยู่ระดับใดเล่า
ตอบว่า ไม่เป็นฐานะจะทุ่มเถียงกันก่อนศาลธรรมอันเป็นปัจจัตตัง และศาลธรรมสันทิฏฐิโก อันเป็นสิทธิท่านผู้พ้นและไม่พ้นแต่ละรายจะรู้ตัวเองเอาเทอญ จึงเป็นธรรมอันไม่นอกเหนือ ถ้านอกเหนือไปกว่านี้แล้ว คงเป็นธรรมย้อมแฝงแปลงมายา จะเอาเป็นประมาณมิได้

สันทิฏฐิโกและปัจจัตตังในทางพระพุทธศาสนาคงจะมีขอบเขต คงหมายเอาแต่พรหมจรรย์เบื้องต้นไป คือ พระโสดาบัน ไปจนถึงพระอรหันต์ มิฉะนั้นแล้วจะฟั่นเฝือเอาเป็นกฎเกณฑ์ไม่ได้ จะกล่าวให้พิสดารแล้ว โลกิยวิสัยผู้เขาทำดีทำชั่วตอนไหน ๆ เขาก็รู้เขาอยู่ เว้นไว้แต่ผู้ไม่รู้จักดีจักชั่วเอาเสียเลย แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่พ้นปัจจัตตังและสันทิฏฐิโกอีก เพราะเหตุว่า จำพวกที่เขาถือว่าไม่มีบาปไม่มีบุญ เขาก็รู้ตัวเขาว่า เราถือว่าไม่มีบาปไม่มีบุญเลยดังนี้ ฉะนั้นจึงตีความหมายได้ทั้งโลกิยะและโลกุตระ ได้มอบไว้เป็นสิทธิของเจ้าตัวแต่ละรายเท่านั้นเอง

คิดเห็นอะไรก็เขียนไปก๊อกแก๊ก ตามประสาผู้ล้าสมัย แต่ แก่เจ็บ ตาย มิได้ล้าสมัยไปทางใดเลย มีอยู่ทุกกาล
สังขารธรรมทั้งปวงก็ทรงอยู่ทุกกาล
ธรรมอันปราศจากสังขารก็ทรงอยู่ทุกกาล
หนทางปฏิบัติเพื่อพ้นไปจากสังขารธรรมก็มีอยู่ทรงอยู่ทุกกาล


ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีสิ่งที่ล้าสมัย ไม่ว่าทางดีหรือทางชั่ว ทำเอาเวลาใดได้ทั้งนั้น ขอแต่เหตุวางลงไป ผลแม้ไม่ประสงค์ ก็ได้รับตามส่วนควรค่าแก่เหตุที่สร้างขึ้นน้อยและมาก จะไปทางดีทางชั่วแล้วแต่เหตุเป็นเกณฑ์ เจ้าเหตุเจ้าผลก็คือใจ (ยกเว้นพระอรหันต์เสีย) เพราะพระอรหันต์ไม่มีอุปาทานจะมาคอยรับได้รับเสียกับเหตุกับผล มิได้เป็นเจ้าเหตุเจ้าผลหรืออะไร ๆ ทั้งนั้น เพราะได้ส่งเหตุส่งผลคืนให้สังขารทั้งปวงแล้ว มิได้กลับมาจี้ปล้นอีก เป็นธรรมทรงอยู่เหนือเหตุเหนือผลไปแล้ว

เหตุใจ ผลใจ เหตุธรรม ผลธรรม ก็มีความหมายและรสชาติอันเดียวกัน พระอรหันต์มิได้ติดอยู่ในรสใจส่วนนี้ และก็มิได้ติดอยู่ในรสธรรมส่วนนี้ด้วย เพราะใจส่วนอาศัยเหตุ ๆ ผล ๆ ก็ดี ธรรมอันอาศัยเหตุ ๆ ผล ๆ ก็ดี เป็นใจเป็นธรรมอันยังไม่ทันหลุดพ้นจากความหลงโดยสิ้นเชิง ใจที่ยังอาศัยหลักเหตุ ๆ ผล ๆ อยู่ก็ดี ธรรมที่ยังอาศัยหลักเหตุ ๆ ผล ๆ อยู่ก็ดี อย่างสูงก็เพียงพระอนาคามีเท่านั้น นัยนี้มิได้ปรารภข่มขี่พระอนาคามีแต่ประการใดเลย ปรารภตามธรรมชั้นสูง

เหตุใจผลใจอยู่ที่ไหน เหตุธรรมผลธรรมก็อยู่ที่นั้น สัมปยุตกันอยู่เกือบจะแยกไม่ออกได้ ไม่มีอันใดก่อน อันใดหลัง เปรียบเหมือนของหยาบ ๆ เช่น หลับตาและลืมตา ผลของมืดและผลของสว่างย่อมมีในขณะเดียวกันกับหลับและลืมตา โยงถึงกันไปเป็นระยะ ๆ ถี่ยิบ แม้เหตุของเจตสิกที่นึกคิดของจิตเล่า โยงถึงกันถี่ยิบไปเป็นซ้อน ๆ เป็นสันตติ ติดต่ออยู่ไม่ขาดวรรคไม่ขาดตอน เกิดดับเร็วอีกด้วย เมื่อมีผู้เข้าไปสอดแทรกยึดถือเอาเป็นเจ้าของแล้วยิ่งไม่มีเงื่อนต้น ยิ่งไม่มีเงื่อนปลาย เป็นมหาสังสารจักร เป็นมหาสังสารวัฏ เป็นมหาอนันตรปัจจัย เป็นมหาอนันตรเหตุ เป็นมหาอนันตรผล เป็นมหาอนันตรภพ เป็นมหาอนันตรชาติ เป็นมหาอนันตรอวิชชา ไม่มีที่สิ้นสุดลงได้ง่าย ๆ และไม่พ้นความสงสัยในธรรมตอนนี้อีกด้วย และก็ไม่เห็นชัดแจ้งในไตรลักษณ์อีกด้วย จะเห็นได้บ้างก็ในกายหยาบ ๆ เท่านั้น

แต่ก็ยังดีกว่าที่ไม่เห็นกายบ้างเสียเลย เมื่อรู้ตามเป็นจริงของกายชัดแล้ว สิ่งอื่น ๆ ก็พลอยรู้ตามเป็นจริงไปเอง แต่ต้องเข้าใจ ว่ากายมิได้เป็นเจ้าเหตุเจ้าผลของบาปบุญคุณโทษ อยู่ต้นเหตุต้นผล เป็นเพียงรับใช้จิตเจตสิกและกิเลสเท่านั้น (ยกเว้นพระอรหันต์เสียเพราะไม่มีกิเลสจะมาปลอมแอบใช้ด้วย)


71  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / Re: โลกุตตรจิต โลกุตตรธรรม (หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต) เมื่อ: 29 มกราคม 2556 22:18:57


                     

ยินดีในปัจจุบัน คือ ปฏิบัติถูกทาง
บางท่านกล่าวว่า ข้าพเจ้าเบื่อชอบแล้ว หน่ายชอบแล้ว พ้นชอบแล้ว ในเรื่องอดีต อนาคตนี้ แต่ทุกวันนี้อาศัยอยู่แต่ในปัจจุบันเท่านั้นดังนี้ก็มี

แต่ข้าพเจ้าผู้เขียนเข้าใจว่า ผู้ยินดีในปัจจุบัน แปลว่าเป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง เดินมรรคภาวนาถูกทาง แต่ยังมิได้หลุดพ้นถึงขั้นอรหันต์ เป็นเพียงเดินมรรคใดมรรคหนึ่งอยู่เท่านั้น และได้รับผลใดผลหนึ่งอยู่ในตัวเท่านั้น ยังมิใช่อรหัตผล เป็นเพียงได้ดื่มปีติความอิ่มใจที่พอใจในสมถะและวิปัสสนาในปัจจุบัน แล้วหลงยึดถือเอาปัจจุบันเป็นพระนิพพาน

ปัจจุบันมิได้เป็นพระนิพพาน เป็นเพียงทางเดินเข้าสู่พระนิพพานเท่านั้นเอง ด้วยอำนาจมรรคสามัคคี มรรคสามัคคีกับศีล สมาธิ ปัญญารวมพลกันในขณะเดียวกันไม่มีอันใดก่อนไม่มีอันใดหลัง ในชั้นติดอยู่ในปัจจุบันจิต ปัจจุบันธรรมนี้ มิใช่เดินทางถึงปลายทางแล้ว เป็นเพียงใช้คำว่าเดินถูกทางเฉย ๆ

ท่านผู้ถึงอรหัตผลแล้วมิได้ติดข้องอยู่ในอดีต อนาคตหรือปัจจุบันหรือสูญ ๆ สาญ ๆ หรือไม่สูญไม่สาญหรืออะไร ๆ ใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าหากว่าติดอยู่เงื่อนใดเงื่อนหนึ่งแห่งปัจจุบันแล้ว วิญญาณปฏิสนธิก็มีเกิดมีตายอยู่ในปัจจุบันจิตปัจจุบันธรรมนั้นเอง

ความทะเยอทะยานในปัจจุบันจิตปัจจุบันธรรม เป็นสมุทัยและตัณหาอันละเอียดมาก เมื่อเป็นตัณหามันละเอียดก็เป็น อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ ฯลฯ อันละเอียดอยู่ในตัวด้วยไม่ต้องจำกล่าวไปใยก็ได้

เหตุไฉนจึงติดอยู่ในปัจจุบัน จนลืมตัว จนสำคัญตนว่าตนพ้นไปแล้วโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุว่า สำคัญตนเป็นปัจจุบัน และ สำคัญปัจจุบันว่าเป็นตน ใน ๒ แง่นี้ แล้วก็แตกแยกออกไปอีกเป็นอีก ๒ แง่รวมเป็น ๔ คือ สำคัญว่า ผู้อื่นเป็นปัจจุบัน สำคัญว่า ปัจจุบันเป็นผู้อื่น

เมื่อสำคัญว่าตนมีอยู่ในปัจจุบัน สำคัญว่าปัจจุบันมีอยู่ในตน แล้วจะไม่หลงไปยึดถืออดีต อนาคตว่าเป็นตัวตนเราเขาสัตว์บุคคลนั้นเป็นไม่มีเลย เป็นเพียงสติปัญญาไม่กล้า แล้วก็เข้าใจผิดฟิตตัวขึ้นว่าละได้แล้วเรื่องอดีตอนาคต ความสำคัญตัวย่อมเป็นรากเหง้าของกิเลสอยู่โดยตรง ๆ แล้ว จะปฏิเสธไปไหนก็ไม่รอดได้เลย

อดีต อนาคต ปัจจุบันก็คล้าย ๆ กับปลาตัวเดียวกัน แต่หัวและหางไม่กิน เพราะไม่อร่อย แต่เป็นยาเสพติด มากินพุงของมันที่ตรงกลางตัวแล้วจะยืนยันว่าเราไม่กินปลาตัวนั้นดอก ดังนี้ก็ไม่พ้นตกอยู่แบบฉลาดแต่แกมโกงซึ่ง ๆ หน้า ท่านผู้ทรงคุณปัญญาคมคายชำแรกกิเลส ย่อมรู้ได้ไม่ต้องดำดินบินบน เหมือนนกและปลาไหล ก็รู้ได้ไม่ค่อยผิด

ปัญญาย่อมเป็นนายหน้าของธรรมทุกประเภท ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ทางโลกีย์หยาบ ๆ ที่เป็นนายหมวด นายพรรคนายพวก นายพัน นายพลเป็นต้น ต้องเอาผู้ฉลาดเป็นหัวหน้า ทางพุทธศาสนาว่าบัณฑิต ปัณฑิตา ปรินายกา บัณฑิตเท่านั้นจึงควรเป็นหัวหน้าของกาย วาจา คือใจที่ประกอบด้วยปัญญา นัตถิพาลา ปรินายกา คนพาลมิควรเป็นหัวหน้า ใจที่เป็นพาลไม่ควรเป็นหัวหน้าของกาย วาจา นี้น้อมเข้ามาในฝ่ายปฏิบัติทางธรรมปรมัตถ์ เพื่อให้รู้ชัดปฏิบัติสะดวกเป็นโอปนยิโกไม่ส่งส่ายหนีหลักเดิม

การนึกคิดทั้งปวงออกไปจากคอกใจ ต้องกลับเข้าคอกใจ ใครเป็นเจ้าของใจ ใจที่มีกิเลสย่อมยึดถือเอาใจเป็นตน ตนเป็นใจ ใจที่ไม่มีกิเลสสิงจะบัญญัติและไม่บัญญัติก็มิได้ติดอยู่ในเงื่อนใด ๆ ทั้งสิ้น นี่ธรรมในพระพุทธศาสนาลึกซึ้งเพียงใดเล่าโลกาเอ๋ย เหตุนั้นพระบรมศาสดาตรัสรู้ใหม่ ๆ จึงใช้กิริยาระอา(ที่)จะสั่งสอนโลก และเป็นธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายต้องใช้กิริยาอย่างนั้นก่อน จึงเป็นเหตุให้พรหมได้อาราธนาตามธรรมเนียม

ธรรมเนียม กับ ธรรมวินัย
ธรรมเนียม อ่านว่าธรรมเนียม ธรรมเนียมนี้ว่าโดยย่อแบ่งออกเป็น ๒ เป็นโลกิยธรรมเนียม เป็นโลกุตรธรรมเนียม

สัมมาสัมพุทธธรรมเนียม ปัจเจกพุทธธรรมเนียม สาวกธรรมเนียม สาวิกาธรรมเนียม โสดาปัตติมรรคโสดาปัติติผลธรรมเนียม สกทาคามิมรรคสกทาคามิผลธรรมเนียม อนาคามิมรรคอนาคามิผลธรรมเนียม อรหัตมรรคอรหัตผลธรรมเนียม จะธรรมเนียมใด ๆ ก็มีธรรมวินัยเป็นประมาณขอบเขตไม่เลยเถิด เพราะอยู่ระดับธรรมวินัยเป็นชั้น ๆ ของภูมินั้น ๆ ไม่ได้เอากิเลสเป็นนายหน้านายกของธรรมเนียมเพราะเข้าสู่โลกุตรธรรมเนียมแล้ว

โลกิยธรรมเนียมนั้นเอาเป็นประมาณไม่ได้ หมู่มากลากไปทางธรรมเนียมผิดก็มี หมู่มากลากไปทางธรรมเนียมถูกก็มี หมู่น้อยลากไปทางธรรมเนียมถูกก็มี หมู่น้อยลากไปทางธรรมเนียมผิดก็มี เพราะทางโลกิยวิสัยเลือกเฟ้นธรรมวินัยมาเป็นอาจารย์ยังไม่สันทัด ยังบกพร่องทางเหตุผลอยู่

บางทีเหตุชั่วแท้ ๆ บัญญัติเอาดื้อ ๆ ว่าเหตุดีก็มี เช่น เหตุแห่งอบายมุขทุกประเภทเป็นต้น เป็นเหตุแห่งฉิบหายโต้ง ๆ ไม่มีศาลอุทธรณ์เลยในทางธรรมวินัย แล้วบัญญัติเอาดื้อ ๆ ว่าเป็นทางเจริญแห่งโภคทรัพย์ ก็ไม่ผิดแปลกจากบัญญัติว่า กงจักรเป็นดอกบัว แล้วเอื้อมมือเข้าไปจับ มือก็ขาด แล้วก็ไม่รู้ตัวเลยว่ามือขาด เพราะเข้าใจผิดว่ากงจักรเป็นดอกบัว โลกิยวิสัยย่อมเป็นกันอยู่อย่างนี้เป็นส่วนมาก

ฉะนั้นพระบรมศาสดาจึงลงทุนลงแรงสร้างบารมีมาในสงสารอเนกปริยาย เพื่อขนรื้อเอาสัตว์ออกจากความเข้าใจผิด ที่เห็นผิดเป็นชอบ เพื่อให้เห็นชอบเป็นชอบตรงกับเหตุตรงกับผล ด้วยทรงพระเมตตาอันหาประมาณมิได้ ด้วยทรงพระมหากรุณาดังสาครอันหาประมาณมิได้เลย ถึงกระนั้นก็รื้อได้ขนได้เท่าเขาโคเท่านั้น ส่วนขนโคนั้นรื้อไม่ได้ มอบไว้ให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตต่อไปตามกรรมและผลของกรรมของสัตว์โลกแต่ละรายเป็นยุค ๆ และสมัย

ทำดี ทำชั่ว ไม่ล้าสมัย
เขียนทั้งต่ำ ทั้งสูง ทั้งลึก ทั้งตื้นปะปนกันไป เมื่อมีเวลาชีวาทรงอยู่ ก็เขียนซะซ้ำซากตามประสาของผู้รู้งู ๆ ปลา ๆ ล้าสมัย แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดล้าสมัยเลยในโลกนี้ ถ้าทำดีก็ไม่ล้าสมัยในทางดี ถ้าทำชั่วก็ไม่ล้าสมัยในทางชั่ว ถ้าพ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้วก็ไม่ล้าสมัยจากพระอรหันต์ ไม่ล้าสมัยทั้งเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานด้วยการไม่ล้าสมัย ก็ไปจบกันในที่นั้น ต่ำกว่านั้นลงมา การไม่ล้าสมัยขึ้นอยู่กับเหตุผลทางดีและทางชั่วที่สร้างขึ้น

หันย้อนคืนมาปรารภเจตนาของผู้ปฏิบัติพระพุทธศาสนาย่นลงมามี ๒ เจตนา คือ เจตนาโลกิยะหนึ่ง เจตนาโลกุตระหนึ่ง

เจตนาก็ดี ความประสงค์ก็ดี ความต้องการก็ดี ความหมายก็ดี ความอธิษฐานก็ดี ความหวังก็ดี ก็มีความหมายแห่งใจความและรสชาติอันเดียวกัน จะผิดกันบ้างก็แต่ต้องการช้าหรือเร็วเท่านั้นแหละ

เจตนาโลกุตระก็แจกออกไปหลายประเภท
ประเภทที่ ๑ เจตนาพุทธภูมิ ออกปากบ้างไม่ออกปากบ้าง ได้รับลัทธพยากรณ์บ้าง ยังมิได้รับบ้าง ตามเหตุผลที่ได้สร้างมาน้อยและมากในปุเรชาติ

เป็นศรัทธาธิกะบ้าง ปัญญาธิกะบ้าง วิริยาธิกะบ้างตามเจตนาที่ชอบของตน พุทธภูมิจำพวกที่ได้รับลัทธพยากรณ์แล้วจึงเป็นการแน่นอนได้ ไม่มีเจตนาเปลี่ยนแปลงไปทางอื่น ต่ำกว่านั้นลงมาในพวกปรารถนาพุทธภูมินี้สามารถเปลี่ยนแปลงเจตนาของตนไปทางอื่นได้ เช่น เจตนาเปลี่ยนแปลง ลงมาเป็นปัจเจกภูมิ หรือสาวกภูมิก็อาจเป็นได้ ไม่แน่นอนได้เลย

บางจำพวกเมื่ออุปสมบทแล้ว ออกปฏิบัติเบื้องต้นก็เจตนาว่าจะปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์ในปัจจุบันชาตินี้ แต่เมื่อปฏิบัติไป ๆ ก็คลายออกเพราะเห็นว่าคงไปไม่รอด แล้วพลิกใจใหม่ว่าจะปรารถนาพุทธภูมิดังนี้ก็มี แล้วลาสิกขามาสู่ฆราวาสก็มี และไม่ลาก็ยังเป็นเพศบรรพชิตอยู่ จำพวกนี้ข้าพเจ้ายังไม่เข้าใจดี พิจารณายาก ขอฝากไว้ให้ท่านผู้รู้ทั้งหลายอธิบายให้ฟังแล

ผู้จะพ้นทุกข์ในปัจจุบัน
จำพวกที่ปรารถนาพระปัจเจกภูมิ ปัญญาธิกะ ศรัทธาธิกะ วิริยาธิกะเหล่านี้ก็มีมากมายนัก ได้รับลัทธพยากรณ์แล้วก็มี ไม่ทันได้รับลัทธพยากรณ์ก็มี ตามความยิ่งและหย่อนที่ได้ลงทุนลงแรงที่แสวงมา จำพวกที่ปรารถนาเป็นสาวกซ้ายขวาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอนาคตก็ยังมีมากมายนัก จำพวกปรารถนาสาวกฝ่ายเอตทัคคะและสุกขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโตก็ยังมีมากมายเป็นอเนกอนันต์หาประมาณมิได้ ทุก ๆ จำพวกที่ปรารถนาโลกิยสมบัติก็ดี หรือยังไม่รู้จักปรารถนาอะไรก็ดี ทำดีเรื่อยไป ทำตัวเรื่อยไป ก็ไม่สามารถจะพรรณนาได้

เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องส่งนอก วิจัยท่านผู้อื่นทั้งนั้น ไม่ถือว่าเป็นของจำเป็นสำคัญอะไรนัก ถ้าไม่เขียนก็คะนองมือเพื่อแก้ง่วง ท่านผู้อ่านอ่านมาพบเข้า ขี้เกียจอ่านก็เปิดข้ามไปซะ หรือไม่อ่านเลยสักวรรคสักตอนก็ได้ เพราะมันไม่มีรูปเหมือนหนังสือพิมพ์ประจำวันประจำสัปดาห์ การอ่านการเขียนการนึกการคิดก็อยู่ในวิธีของกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร เกิดแล้วแปรดับไปเป็นระยะ ๆ ติดต่ออยู่ ต้องขึ้นอยู่กับผู้รู้ตามเป็นจริง หรือไม่รู้ตามเป็นจริงเท่านั้น

จำพวกที่เจตนาพ้นทุกข์ในปัจจุบันชาติและก็ไม่แอบกินอยู่แต่ความปรารถนาและเจตนาอย่างเดียว เตือนตนด้วยตนเอง ปลุกตนด้วยตนเอง อยู่ในข้อวัตรปฏิบัติไม่ปีนเกลียว เรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ สุขภายนอกหรือคราวเสื่อมลาภ เสื่อมยศ เสื่อมสรรเสริญเยินยอ เสื่อมสุขอิงอามิสภายนอกไม่ถือว่าเป็นเสี้ยนเป็นหนามต่อเจตนาที่ตั้งไว้ ไม่เสียหายและไม่อาลัยว่าจะพลิกเจตนาและปรารถนาใหม่ ท่านจำพวกนั้นสร้างบารมีเต็มตื้นมาแล้ว และบางท่านก็พ้นไปแล้วจากบ่วงทั้งปวงสิ้นเชิง

และบางท่านก็โชกโชนถ่อ พาย แจวอยู่ภายในด้านจิตใจด้วยสติปัญญาอยู่ ไม่ได้ไว้ใจไม่ร้อนใจเลย แม้กายจะนอนอยู่ก็ตาม ยังไม่หลับเพียงไรก็มีสมถะและวิปัสสนากลมกลืนกันอยู่เพียงนั้น ไม่เรียงแบบไม่ส่งส่ายไม่สงสัย มีสติปัญญาเป็นกุญแจอยู่ในมือสติ มือปัญญา เปิดประตูข้ามหลงอยู่ในตัวแล้ว

มรรคจิต มรรคใจ มรรคสติ มรรคปัญญารวมพลเข้าเป็นเกลียวเดียวกัน ไม่มีอันใดก่อนไม่มีอันใดหลัง ผลจิต ผลใจ ผลสติ ผลปัญญาก็รวมพลกันในขณะเดียวกันไม่มีอันใดก่อน ไม่มีอันใดหลังพร้อมกันทันกาล ย่อมดับความหลงในสงสารเฉพาะส่วนตัวได้ไม่ขบถคืน ไม่ขบถตนคืนมาหลงอีก


ข้ามห้วยหนองคลองบึงบาง ทะเลมหาสมุทรภายนอกได้ตลอดถึงข้ามประเทศนอกได้ล้าน ๆ มหาประเทศ ล้าน ๆ มหาสมุทรก็ดี ด้วยเครื่องยนต์กลไกภายนอกไม่เท่าข้ามความหลงของตนได้ด้วยพระมหาปัญญาญาณอันถ่องแท้อันทรงสัมมาญาณบริบูรณ์ในปัจจุบันจิตปัจจุบันธรรมซึ่งหน้าแลนา

หน้าสติปัญญา กับหน้าหนังหุ้มหน้าผาก เป็นคนละวัตถุต่างกัน แต่ถ้าไม่หลงหนังหุ้มหน้าผาก ก็กลายเป็นหน้าสู้ หน้าปัญญา อยู่ในตัวอีกแล้ว เรียกว่าข้ามทะเลหลงหนังทั้งปวงได้แล้ว ทั้งทะเลหนังอดีต ทั้งทะเลหนังอนาคต ทั้งทะเลหนังปัจจุบันด้วยวัตถุอันอื่น ๆ ไม่กล่าวอีกก็ได้ไม่เป็นไร


72  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / Re: @ นิทานเซ็น @ รู้หรือไม่รู้ เมื่อ: 26 มกราคม 2556 16:38:30

         

๖๙. รู้หรือไม่รู้

ลูกศิษย์ท่านหนึ่งเรียนถามพระอาจารย์ด้วยความนบนอบว่า
ลูกศิษย์ : ผู้ปฏิบัติธรรมเมื่อรู้แจ้งแล้ว สภาพจิตและความรู้สึกสามารถ
บรรยายออกมาได้หรือไม่?
อาจารย์ : หากรู้แจ้งแล้ว ไม่สามารถบรรยายออกมาได้
ลูกศิษย์ : เมื่อพูดออกมาไม่ได้ เปรียบเหมือนกับอะไร?
อาจารย์ : เหมือนคนใบ้กินน้ำผึ้ง

ลูกศิษย์ : เมื่อผู้ปฏิบัติที่ยังไม่รู้แจ้ง ถ้าบรรยายธรรมและเขียนคัมภีร์
นับว่าเป็นผู้เข้าใจ “เซน” หรือเปล่า?
อาจารย์ : เมื่อยังไม่รู้แจ้ง สิ่งที่พูด จะนับว่าเป็นการเข้าใจ”เซน”ได้อย่างไร?
ลูกศิษย์ : เพราะเขาสามารถบรรยายธรรมได้อย่างลึกซึ้ง และแจ่มแจ้ง
ถ้าหากไม่นับว่าเขาเข้าใจ”เซน”แล้วจะเหมือนอะไร?
อาจารย์ : เหมือนนกแก้วหัดพูดภาษาคน

ลูกศิษย์ : คนใบ้กินน้ำผึ้งกับนกแก้วหัดพูด แตกต่างกันอย่างไร?
อาจารย์ : คนใบ้กินน้ำผึ้ง คือ “รู้”อุปมาดั่งคนดื่มน้ำ น้ำจะเย็นหรือร้อน
ผู้ดื่มย่อมจะรู้อยู่แก่ใจดี นกแก้วหัดพูดเป็นการไม่ “รู้”
เหมือนเด็กหัดพูด ย่อมจะไม่เข้าใจความหมายของสิ่งที่พูด

ลูกศิษย์ : เมื่อเป็นอย่างนี้ เมื่อยังไม่รู้แจ้ง จะบรรยายธรรมฉุดช่วย
ผู้คนได้อย่างไร?
อาจารย์ : พูดในสิ่งที่ตัวเองรู้ ไม่พูดในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้
ลูกศิษย์ : ตอนนี้พระอาจารย์รู้แล้วหรือยัง?
อาจารย์ : อาจารย์เหมือนคนใบ้กินยาขม รู้รสขมแต่พูดออกมาไม่ได้
แล้วก็เหมือนนกแก้วหัดพูด พูดได้เหมือนมาก


             

73  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / Re: @ นิทานเซ็น @ ชีวิตอยู่ที่ไหน? เมื่อ: 26 มกราคม 2556 16:37:51


         

๖๘. ชีวิตอยู่ที่ไหน?

ครั้งหนึ่งพระอาจารย์เซนพูดกับอุบาสกท่านหนึ่งว่า “เหล่าพุทธะทั้งหลาย
มักจะพูดถึงความมีในความไม่มี หาสิ่งที่มีความหมายในชีวิตจากความ
ว่างเปล่าในสิ่งที่ไม่มีความหมายอะไร จนที่สุดได้รับความหลุดพ้น

สรรพสิ่งในโลกล้วนถูกผูกมัดจากความกังวลและเป็นทุกข์ เพราะเหตุนี้
หากอยากจะแสวงหาจิตวิญญาณที่ไม่ตายในอนาคตจากชีวิตที่มีความ
หมายในตอนนี้ จึงเหมือนกับควานหาพระจันทร์ในน้ำ แค่เพียงให้จิต
จิตตนเองปราศจากสิ่งทั้งปวง ก็จะไม่เกิดความหลงผิด”

“ทำอย่างไรถึงจะให้จิตปราศจากทุกสิ่ง”อุบาสกนั้นถาม
“ไม่ว่าจะเป็นกุศลหรืออกุศลความถูกหรือความผิด ผลได้หรือผลเสีย
ก็ไม่ต้องไปคิด หรือไปเอาเรื่องเอาราวกับสิ่งต่างๆ”
“หากไม่คิด จะรู้ได้อย่างไรว่าจิตอยู่ที่ไหน”

“ไม่ว่าเรื่องราวจะเป็นอย่างไรให้คิดไปแต่ในทางที่เป็นกุศล
ไม่ไปในทางที่เป็นอกุศล หมั่นใช้จิตพิจารณาสิ่งต่างๆ
เจ้าก็จะพบความผสมผสานระหว่างจิตกับชีวิต” พระอาจารย์ตอบ
“ถ้าอย่างนั้นคนตายแล้ว จิตอยู่ที่ไหน?” อุบาสกนั้นถาม

“ไม่รู้จักเกิด แล้วจะรู้จักตายได้อย่างไร?”
“ตอนนี้ข้าพเจ้าหาชีวิตของตัวเองได้แล้ว” อุบาสกนั้นกล่าว
“ชีวิตของเจ้าอยู่ที่ไหน?”พระอาจารย์ถาม

อุบาสกนั้นอึกอักตอบไม่ถูก พระอาจารย์เลยใช้มือขยุ้มไปที่อกของ
อุบาสกนั้น แล้วพูดว่า “ก็อยู่ตรงนี้นั้นแหละ แล้วยังจะคิดไปถึงไหนอีก”
“ข้าพเจ้าทราบแล้ว ข้าพเจ้าทราบแล้ว”

                 

74  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / Re: @ นิทานเซ็น @ ยังโกรธอยู่หรือเปล่า? เมื่อ: 26 มกราคม 2556 15:51:48


           

๖๗. ยังโกรธอยู่หรือเปล่า?

หญิงคนหนึ่งมีนิสัยแปลกประหลาด เรื่องใหญ่หรือเรื่องเล็กน้อยก็ทำให้หล่อน
โกรธเป็นฟืนเป็นไฟได้ หล่อนเองก็รู้ซึ้งถึงนิสัยของตัวเองดี แต่ก็ไม่สามารถ
ควบคุมตัวเองไม่ให้โกรธได้

มีเพื่อนแนะนำหล่อนว่า “วัดที่อยู่ใกล้ๆนี้มีพระบรรลุธรรมขั้นสูงอยู่ท่านหนึ่ง
เจ้าทำไมไม่ไปเล่าสิ่งที่เจ้าเป็นให้ท่านฟัง และจะได้ขอคำชี้แนะจากท่าน”
หญิงคนนั้นจึงไปหาพระท่านนั้น เพื่อจะลองให้ท่านชี้แนะดู

เมื่อพบกับพระท่านนั้น หญิงคนนั้นจึงเล่าเรื่องราวของตัวเองด้วยกิริยาท่าที
นอบน้อมและจริงใจ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการชี้แนะอย่างดี พระรูปนั้น
ก็ตั้งใจฟังหล่อนพูดจนจบ เมื่อพูดจบแล้วจึงให้หล่อนไปที่ห้องหนึ่ง
แล้วขังหล่อนไว้ในนั้น ไม่พูดกล่าวอะไรแล้วเดินจากไป

หญิงคนนั้นคิดว่าถูกขังอยู่ในห้องนั้นแล้วจะได้ยินคำชี้แนะจากท่าน ไม่คิดว่า
ท่านไม่พูดอะไรสักคำ ซ้ำยังขังไว้ในห้องที่มืดและเย็นชื้นอีก หญิงนั้นโกรธจน
ใช้เท้ากระแทกพื้นแล้วส่งเสียงด่าออกมาดังลั่น ไม่ว่าหล่อนจะด่าว่าอย่างไร
พระรูปนั้นก็ไม่ได้สนใจอะไร หญิงคนนั้นด่าจนทนไม่ไหว จึงร้องวิงวอนขอความ
ช่วยเหลือ แต่พระรูปก็ไม่สนใจจะฟังอีก ยังคงปล่อยให้หล่อนแสดงอารมณ์ต่อไป

ผ่านไปอีกนาน เสียงในห้องนั้นเงียบลง พระรูปนั้นถามว่า “ยังโกรธอยู่หรือเปล่า?”
หญิงนั้นตอบว่า ข้าโกรธแต่ตัวเอง ที่ไปเชื่อคนอื่นที่แนะนำให้มาหาท่าน”
“ท่านไม่ให้อภัยแม้แต่ตัวเอง แล้วเจ้าจะอภัยให้คนอื่นได้อย่างไร?” พระนั้นตอบ

ผ่านไปสักพัก พระรูปนั้นถามอีกว่า “ยังโกรธอยู่หรือเปล่า?”
“ไม่โกรธแล้ว” หญิงนั้นตอบ
“ทำไมถึงไม่โกรธแล้ว?”
“ข้าโกรธแล้วจะมีประโยชน์อะไร? ไม่ว่าจะโกรธอย่างไรก็ถูกท่านขังอยู่ใน
ห้องมืดนี้อยู่ดี” หญิงนั้นตอบ
“เจ้าเป็นอย่างนี้ยิ่งน่ากลัวกว่า เพราะเจ้ากดข่มความโกรธของตัวเองไว้
เมื่อระเบิดออกมาเมื่อไหร่กลับจะยิ่งรุนแรงกว่าเก่า” พูดจบพระท่านนั้น
ก็เดินจากไปอีก

เมื่อกลับมาถามอีกเป็นครั้งที่สาม หญิงนั้นตอบว่า “ข้าไม่โกรธแล้ว เพราะ
ท่านไม่ควรค่าที่จะให้ข้าโกรธ”
“รากเหง้าแห่งความโกรธของเจ้ายังคงอยู่ เจ้ายังไม่ได้หลุดพ้นไปจากวังวน
แห่งความโกรธ”

เวลาผ่านไปอีกระยะหนึ่ง หญิงคนนั้นถามขึ้นว่า “พระอาจารย์ บอกข้าพเจ้า
หน่อยได้ไหมว่า ความโกรธคืออะไร?”

พระอาจารย์ไม่กล่าวอะไรออกมาอีก แต่มองไปเหมือนกับพระอาจารย์ไม่ตั้งใจ
ที่จะเทน้ำชาลงไปที่พื้น หญิงคนนั้นจึงเข้าใจแล้วว่า ที่แท้ถ้าตัวเองไม่โกรธ
โกรธนั้นจะมาจากไหน จิตใจสว่างโร่ด้วยความรู้และเข้าใจ หากไม่มีสิ่งใดเลย
ตัวโกรธไหนเลยจะมี

         

75  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / Re: @ นิทานเซ็น @ สองมือกำจนแน่น จะกำได้สักเท่าไหร่ เมื่อ: 26 มกราคม 2556 15:28:47




๖๖. สองมือกำจนแน่น จะกำได้สักเท่าไหร่

มีอุบาสกท่านหนึ่งมาปรับทุกข์กับพระอาจารย์ว่า ภรรยาของตัวเองเป็น
คนตระหนี่ถี่เหนียวมาก ไม่ว่าเรื่องอะไร หล่อนจะไม่ยอมจ่ายแม้แต่
สตางค์แดงเดียว ขอให้พระอาจารย์ช่วยไปที่บ้านชี้ทางสว่างให้แก่หล่อน
เพื่อให้หล่อนได้รู้จักทำบุญทำทาน และทำสิ่งที่เป็นกุศลบ้าง

พระอาจารย์เลยไปที่บ้านของอุบาสกท่านนั้น ภรรยาของเขาออกมาต้อนรับ
แล้วก็เห็นได้ว่าเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียวจริงๆ เพราะแม้แต่น้ำชา
ยังไม่นำมาต้อนรับ

พระอาจารย์จึงกำมือขึ้นมาข้างหนึ่งแล้วถามว่า สีกา ถ้าหากมือของข้าเป็นอย่างนี้
ทุกวันเจ้ารู้สึกว่าเป็นอย่างไร?”
“ถ้าหากเป็นอย่างนั้นทุกวันก็เป็นเรื่องแปลกประหลาด”



และพระอาจารย์ก็แบมืออก แล้วถามว่า “ถ้าเป็นอย่างนี้ทุกวันจะเป็นอย่างไร?”
“อย่างนี้ก็เป็นเรื่องแปลกประหลาดเช่นกัน”
“สีกา เจ้าพูดไม่ผิด มือหากกำตลอดเวลา หรือแบตลอดเวลา ก็เป็นเรื่องที่ผิด
แปลก ด้วยเหตุและผลเดียวกัน ในด้านทรัพย์สินเงินทอง หากรู้จักแต่จะเอา
ไม่รู้จักทำบุญทำทานบ้าง เป็นเรื่องผิดแปลก หรือรู้จักแต่บริจาค ไม่รู้จักเก็บ
สะสมก็เป็นเรื่องผิดแปลก เงินต้องมีการไหลเวียน มีการไหลเข้าไหลออก
เมื่อตวงเข้ามาก็ต้องให้มีออก

ภรรยาของอุบาสกท่านนั้นฟังแล้ว ก็เข้าใจ และรู้ถึงหลักการของการจัดการ
ทรัพย์สินเงินทอง



76  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / Re: @ นิทานเซ็น @ สิ่งดีๆควรนำมาแบ่งปัน เมื่อ: 26 มกราคม 2556 15:21:51


         

๖๕. สิ่งดีๆควรนำมาแบ่งปัน

มีแม่ชีท่านหนึ่ง เพราะศรัทธาในพุทธศาสนามาก จึงได้สร้างพระพุทธรูป
มาองค์หนึ่ง พร้อมกับเคลือบองค์พระด้วยทองคำเปลวเหลืองอร่ามไปทั้งองค์
ไม่ว่าท่านจะไปที่ไหน จะนิมนต์พระพุทธรูปองค์นี้ไปด้วยเสมอ
พระพุทธรูปองค์นี้เหมือนกับศูนย์รวมความศรัทธา ความหวังและจิตใจ
แม้แต่ชีวิตของท่านก็ฝากรวมไว้ในองค์พระนี้

ผ่านไปหลายปี แม่ชีท่านนี้ก็อยู่ประจำที่วัดในชนบทแห่งหนึ่ง ภายในวัดมี
พระพุทธรูปมากมาย ก็มีกระจกใสครอบไว้ ท่านเลยหากระจกใสมาครอบไว้
บ้าง ท่านคิดจะไม่ให้ควันธูปที่จุดบูชาลอยไปที่พระองค์อื่นๆ แต่ในบริเวณ
ที่กว้างๆอย่างนี้จะไม่ให้ควันธูปลอยไปทั่วได้อย่างไร?

คิดไปคิดมาเลยคิดจะทำท่อขึ้นมาเพื่อให้ควันธูปเข้าไปที่องค์พระของตัวเอง
ที่เดียว นอกจากพระของตัวเองแล้ว ท่านไม่เคยมองหรือกราบไหว้พระองค์อื่นเลย

มีคนติว่า ทำอย่างนี้ไม่เป็นการสมควร ทำให้เกิดการเลือกเขาเลือกเรา ทำอย่าง
นี้ทำอย่างไรก็ภาวนาให้เกิดผลไม่ได้ แต่แม่ชีท่านนี้ก็หาได้ฟังคำตักเตือนของใครไม่
ผลสุดท้ายพระพุทธรูปองค์นั้นถูกควันธูปจับจนดำไปทั้งองค์ ดูแล้วหมองจนหมดราศี




บทเรียนชีวิตห้าบท
บทที่หนึ่ง…
ฉันเดินไปที่ท้องถนน
ที่ฟุตบาทมีหลุมลึกอยู่หลุมหนึ่ง ฉันเผลอตกลงไปในหลุมนั้น
ฉันเดินผิดทางแล้ว ฉันหมดหวังแล้ว
นั่นไม่ใช่ความผิดของฉัน ต้องเสียแรงไปไม่ใช่น้อยถึงจะปีนป่ายขึ้นมาได้

บทที่สอง …
ฉันเดินไปบนถนนเหมือนกัน ที่ฟุตบาทมีหลุมลึก
ฉันทำเป็นมองไม่เห็น แต่ก็ตกลงไปจนได้
ฉันแทบจะไม่เชื่อตัวเองว่า ฉันจะตกลงไปในที่มีลักษณะเดิมได้
แต่นั่นก็ไม่ใช่ความผิดของฉัน
แล้วก็ต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยถึงจะปีนขึ้นมาได้

บทที่สาม ...
ฉันเดินไปในถนนที่มีลักษณะเดียวกันอีก
บทฟุตบาทมีหลุมลึกเช่นเดียวกัน
ฉันก็มองเห็นหลุมลึกนั้น แต่ฉันก็ตกลงไปจนได้
มันเหมือนกับเป็นธรรมเนียมเสียแล้ว
ฉันลืมตาขึ้นมาดู ฉันรู้ว่าฉันอยู่ที่ไหน
นั่นเป็นความผิดของฉัน ฉันจึงรีบปีนขึ้นมา

บทเรียนที่สี่ …
ฉันเดินไปบนถนนที่เหมือนกัน
บนฟุตบาทมีหลุมลึกหลุมหนึ่ง
ฉันเดินอ้อมผ่านหลุมนั้น

บทเรียนที่ห้า ...
ฉันเดินไปที่ถนนอีกสายหนึ่ง
ฉันนึกเอาเองว่าเดินไปบนความอิสรเสรี
แต่เมื่อพบกับความเคยชินเดิมๆ
ฉันก็กลายเป็นทาสของมันอีก


แม้ว่ามันจะเป็นเช่นนั้น แต่การรู้สำนึกจะทำให้ค่อยๆเกิดความรู้ตัวขึ้นมาได้
เมื่อเราสังเกตเห็นว่าตัวเองยังถลำลึกลงไปตามความเคยชินเดิมๆ
ก็จะคิดอยากจะกระโดดออกมาจากหลุมนั้น
แน่นอน บางทีเราอาจจะยังตกลงไปได้อีก
แต่เมื่อตั้งสติได้ ปล่อยเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง
เราก็จะกระโดดออกมาได้ ทำให้มีมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น



77  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / Re: @ นิทานเซ็น @ รวมหลายเรื่องจากเวบไซต์ อกาลิโก เมื่อ: 26 มกราคม 2556 15:04:51




๖๔. ๒ โลกสวรรค์โลกมนุษย์

สามีภรรยาซึ่งอาศัยอยู่บนสรวงสวรรค์ เป็นคู่สามีภรรยาที่มีความสุขที่สุด
สามีภรรยาบนสรวงสวรรค์ไม่เหมือนกับคู่สามีภรรยาบนโลกมนุษย์
พวกเขาไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งกัน และไม่มีการร้องไห้ และไม่มีความโกรธ
แค้นซึ่งกันและกัน และก็ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน

ได้ยินได้ฟังมาว่า ต้องเป็นคู่สามีภรรยาที่รักใคร่กันมาถึงห้าร้อยชาติ
ถึงจะมีบุญได้ไปเกิดเป็นคู่สามีภรรยาบนสรวงสวรรค์

สามีภรรยาที่อยู่บนสรวงสวรรค์ เมื่อคิดอยากจะกินอะไร ก็จะได้กินของดีๆ
ดังใจหวัง คิดอยากจะมีเสื้อผ้า ก็จะมีเสื้อสวยๆทันที เพราะเหตุนี้ พวกเขาจึง
ไม่มีความจะเป็นต้องทำงานให้ยากลำบาก และไม่ต้องรับผิดชอบอะไรทั้งสิ้น

บ่อยครั้งที่พวกเขาจูงมือกันไปเดินเล่นอยู่บนทางสายรุ้ง นั่งจิบน้ำชาอยู่บนก้อนเมฆ
หรือว่าอยู่ฟังเสียงน้ำไหลจากธารสวรรค์เงียบๆ พร้อมกับชื่นชมความงามของตัวเอง
อย่างเงียบๆคนเดียว

สิ่งเดียวที่ทำให้ชาวสวรรค์เป็นทุกข์ที่สุดคือ เมื่อเสพสุขจนหมดอายุที่จะอยู่บนสวรรค์
ชีวิตก็จะสูญสิ้น กลิ่นหอมกรุ่นที่มีติดตัวก็จะหล่นหายไป
มงกุฎดอกไม้ที่ประดับอยู่บนหัวก็จะเหี่ยวเฉา เสื้อที่สวยงามก็จะบินหายไปทีละชิ้น
สุดท้ายก็จะล้มลงขณะที่ยืนหรือนั่งอยู่ และขณะที่ล้มลงนั้นเอง จะเหมือนกับดวงไฟที่ดับไปโดยฉับพลัน
 แล้วเหลือเพียงควันที่ลอยหายไปในความว่างเปล่า
มีสามีภรรยาคู่หนึ่งได้เสพสุขอยู่บนสรวงสวรรค์นี้มาหลายพันปีแล้ว เมื่อถึงวาระ
ที่ใกล้จะจบสิ้น มักจะเกิดความคิดนี้ขึ้นมาบ่อยๆว่า
“ชีวิตที่มีความสุขอย่างนี้ไม่รู้จะอยู่ได้อีกนานแค่ไหน”



วันหนึ่งฝ่ายภรรยาลอยขึ้นไปที่ต้นไม้ต้นหนึ่ง เพื่อจะเด็ดดอกไม้ไปให้สามี
เพราะว่าผู้คนทั้งหมดที่อาศัยอยู่บนสรวงสวรรค์ต้องประดับด้วยมงกุฎดอกไม้
เพื่อเป็นสง่าราศีแก่ตัวเอง และดอกไม้เหล่านี้เป็นหน้าที่ของภรรยาที่
จะต้องจัดเตรียมไว้ให้

ฝ่ายสามีซึ่งกำลังอาบน้ำอยู่ เขาใช้เมฆขาวไปแตะกับแสงอาทิตย์ แล้วนำมา
ขัดตัวให้สะอาด พลางร้องเป็นเพลงออกมาอย่างไพเราะเสนาะหู เสียงเพลง
ขับกล่อมประสานไปพร้อมกับแสงทอง แว่วแผ่วไปทั่วสวนสวยในบ้าน
ของตัวเอง ภรรยาซึ่งเดินมาถึงตัวบ้านถึงกับเคลิบเคลิ้มไปกับบรรยากาศ
ที่ได้เห็นกับตา

แต่ก็เวลานั้นนั่นเอง ที่ฝ่ายภรรยาเริ่มต้นมีเหงื่อไหลออกมา
นางรู้สึกกังวลและตกใจมาก จนทำมงกุฎดอกไม้ร่วงหล่นกระจายกลายเป็น
ดวงดาว เสื้อผ้าที่สวยงามต่างๆที่มีอยู่ ก็กลายเป็นสะเก็ดไฟลอยไปทั่ว
แตกกระจายกลายเป็นเศษเพชร ชุดราตรีสีเงินยวง
ได้กลายเป็นชิ้นๆ ลอยไป แล้วกลายเป็นเมฆขาว
ยังไม่ทันที่จะได้เอ่ยอะไร นางก็สลายหายไปแล้ว
เหมือนกับตกหล่นมาจากต้นไม้สูง ลอยละลิ่วลงมา
เหมือนแสงกระพริบแล้วหายไป
วินาทีสุดท้ายก่อนจะหายไป ยังได้ยินเสียงเพลงของสามีดังแว่วอยู่ในหู



เมื่อนางตื่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ก็ได้ยินเสียงร้องไห้ของตัวเอง
ที่แท้นางได้เกิดใหม่บนโลกมนุษย์แล้ว พวกผู้ใหญ่นึกว่าเด็กเมื่อถูกอากาศแล้วตกใจจึงร้องไห้
แต่ไม่ใช่อย่างนั้น นางร้องไห้เพราะในจิตใจยังมีเสียงเพลงของสามีฝังอยู่ลึกๆ
เมื่อนึกถึงความสุขบนสรวงสวรรค์ก็อดที่จะร้องไห้ไม่ได้
ขณะที่นางเกิดมามีกลิ่นหอมของกุหลาบอบอวลไปทั่วห้อง
พ่อแม่จึงตั้งชื่อให้ว่า “กุหลาบ”

กุหลาบยังจำวันเวลาที่อยู่บนสรวงสวรรค์ได้ และเล่าเรื่องราวต่างๆบนสวรรค์ให้คน
ในบ้านฟัง แต่ไม่มีใครเชื่อ คิดว่าเป็นความฟันเฟื่องของหล่อนเอง
เมื่อกุหลาบโตเป็นสาว พ่อแม่ก็ให้แต่งงานไปกับชายหนุ่มใกล้บ้าน แม้หล่อนจะสวม
บทบาทที่เป็นภรรยาที่ดีที่สุด แต่ในส่วนลึกแล้ว ยังจำสามีที่อยู่บนสวรรค์อย่างมิ
ลืมเลือน หล่อนรู้ว่าหากอยากกลับไปอยู่บนสรวงสวรรค์กับสามีเก่าอีก จะต้องรีบ
สร้างกุศลอย่างสุดชีวิตในช่วงชีวิตอันสั้นที่อยู่บนโลกมนุษย์ และต้องรักษาอุดมการณ์
อย่างแน่วแน่ กุหลาบมักจะนำดอกไม้ธูปเทียน ไปถวายบูชาที่วัดเสมอ และใส่บาตร
ด้วยอาหารเจอันรสเลิศ บริจาคอาหารและเครื่องนุ่งห่มให้กับคนยากคนจน ชีวิตของ
หล่อนเหมือนกับอยู่เพื่ออุทิศตนและทำทานเท่านั้น และนางก็นำความคิดเหล่านี้
ไปเชิญชวนและปลูกฝังให้กับลูกๆสี่คนและสามีในโลกมนุษย์ด้วย



วันหนึ่งขณะที่ทำบุญอยู่ที่วัด รู้สึกเวียนหัวขึ้นมากะทันหัน เลยพิงไว้กับกำแพงแล้วนิ่งพักสักครู่
ได้กลิ่นหอมของดอกไม้อ่อนๆแบบในสวรรค์ แล้วก็สิ้นใจไป
ลืมตาขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หล่อนก็กำลังเก็บดอกไม้อยู่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง หล่อนมองเสื้อผ้าที่สวมใส่อยู่
ที่แท้หล่อนก็สวมใส่ชุดนางฟ้าเหมือเดิมแล้ว เมื่อสามีบนสวรรค์อาบน้ำเสร็จแล้วก็เดินมาที่สวนดอกไม้ พูดกับนางว่า
“เมื่อกี้ข้าเรียกเจ้า ไม่ได้ยินหรอกหรือ?”
“เมื่อกี้ข้าสลายตัวไป แล้วไปเกิดในโลกมนุษย์”
“เป็นความจริงหรอกหรือ? แล้วอยู่ในโลกมนุษย์นานแค่ไหน?”
สามีถามด้วยความประหลาดใจ
“ข้าอยู่ในครรภ์ของแม่สิบเดือน ถึงเกิดออกมา อายุสิบหกก็แต่งงานไปอยู่กับ
คนบ้านใกล้ๆ คลอดลูกมาแล้วสี่คน พยายามทำแต่ความดีและสร้างแต่บุญกุศล
แล้ววิงวอนอธิษฐานขอให้ได้พบเจ้าอีก ดังนั้นจึงมาเกิดที่นี่อีก” ภรรยาตอบ
“แล้วอายุขัยในโลกมนุษย์ยาวนานแค่ไหน?” สามีถาม
“อายุขัยในโลกมนุษย์ ก็อยู่ในราวๆไม่เกินร้อย ร้อยปีก็เท่ากับหนึ่งคืนของสวรรค์เรา”
“แล้วคนในโลกมนุษย์ทำอะไรบ้างในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่?”



ช่วงชีวิตของคน หนึ่งในสามส่วนหมดกับไปกับการนอน อีกหนึ่งในสามส่วนหมด
ไปกับแสวงหาอาหารเครื่องนุ่งห่ม แสวงหาความสุขมาปรนเปรอตัวเอง อีกหนึ่งส่วน
ที่เหลือ นำมาโกรธแค้น สำนึกผิด นินทาแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น คนส่วนใหญ่ก็ใช้ชีวิต
ลักษณะนี้ไปจนตาย มีคนเพียงส่วนน้อยที่จะรู้จักชื่นชมสิ่งดีงามต่างๆที่อยู่รอบๆตัว
เพื่อจะได้นำมาพัฒนาโลกของจิตวิญญาณให้สวยงาม แสวงหาความรักและความอบอุ่นจากสิ่งต่างๆ

ฝ่ายสามีซึ่งได้ฟังถึงเรื่องราวต่างๆในโลกมนุษย์ รู้สึกกระเทือนใจยิ่งนัก
“หรือว่าคนในโลกมนุษย์ ไม่รู้จักสำนึกว่าช่วงชีวิตอันสั้นที่อยู่ในโลก ควรจะ
ไปทำในสิ่งที่มีความหมาย?”
“ไม่หรอก คนส่วนใหญ่ยังหลงใหลมัวเมาเหมือนอยู่ในความฝัน เหมือนกับ
ว่าพวกเขาไม่รู้จักแก่ไม่รู้จักตาย เพียงแต่เมื่อความตายมาถามหาแล้ว
ถึงจะเศร้าโศกร้องไห้คร่ำครวญ” ภรรยาตอบ

สองสามีภรรยาคุยกันถึงชีวิตอันสั้นในโลกมนุษย์ แล้วคนเหล่านั้นไม่รู้จักใช้ชีวิต
อย่างสวยงามและมีความรัก ไม่รู้จักทำสิ่งซึ่งมีความหมายกับชีวิต ในใจเกิดความ
รู้สึกเสียดายเป็นอย่างยิ่ง

ฝ่ายภรรยาพูดขึ้นว่า “พวกเราอย่าพูดถึงเรื่องราวของโลกมนุษย์ดีกว่า มา ข้าจะกลัด
ดอกไม้เพิ่มให้เจ้าอีกดอก พูดพลางนางก็บินลงจากต้นไม้อันสูงใหญ่นั้น
เมื่อนางบินลงมาใกล้ถึงพื้นที่ปูด้วยก้อนเมฆ จึงรู้สึกว่าเหยียบไม่ถูกก้อนเมฆ
แล้วก็เหมือนกับสะดุดอะไรสักอย่าง แล้วทั้งตัวก็ลอยละล่องดังดอกไม้ที่ร่วงหล่นลง
ผ่านก้อนเมฆไปทีละชั้น ทีละชั้นลงไปเรื่อยๆ
กุหลาบตื่นขึ้นมาจากความฝัน มองไปรอบๆตัว ถึงรู้ว่าตัวเองไม่ได้อยู่บน
ความสุกสว่างและความสวยงามของสวรรค์ แต่อยู่ในบ้านที่ยังดูมืดสลัวอยู่
และคนที่นอนหลับสบายอยู่ข้างๆตัวนั้นคือลูกสาวคนเล็ก
ซึ่งใบหน้ายังดูแฝงไว้ด้วยรอยยิ้มอ่อนๆ



หล่อนนึกถึงสามีที่เพื่อปากท้องและความเป็นอยู่ของทุกคนในครอบครัว
ขณะที่ฟ้ายังไม่สาง ก็ออกไปทำงานอยู่ในท้องนาแล้ว นางหยิบเสื้อผ้าสวม
แล้วก็ไปเดินเล่นอยู่ในสวนบริเวณบ้าน ได้กลิ่นหอมอ่อนๆของดอกราตรี
โชยผ่านเข้ามา หล่อนคิดในใจ “เมื่อกี้เป็นความฝันบนสวรรค์หรือเป็นความฝัน
ในโลกมนุษย์” มองไปรอบๆตัว ท้องฟ้ากว้างใหญ่ไร้ขอบเขต มีแต่ความเงียบสงบ
ไม่มีคำตอบใดๆให้กับตัวเอง

หล่อนคิดต่อไปอีก “เรื่องที่อยู่บนสวรรค์เป็นความจริง หรือเรื่องที่อยู่ในโลกถึงจะเป็น
ความจริงนะ” มองไปที่ฟ้า ก็เห็นแต่ดวงดาวกระพริบแวววับไปมา เงียบไม่มีคำตอบเช่นเคย

เมื่อนางเฝ้าถามตัวเองอยู่นั้น แสงแรกของพระอาทิตย์ได้สาดส่องมากระทบกับ
ก้อนเมฆ ผ่านมายังพื้นโลก กุหลาบยังจำคำพูดในความฝันได้ว่า
“หรือว่าคนในโลกมนุษย์ไม่ได้รู้สำนึกเลยว่า ช่วงชีวิตอันแสนสั้นนั้น
ควรจะทำในสิ่งที่มีความหมายกับชีวิต? ไปพัฒนาโลกของจิตวิญญาณ
ให้ดีขึ้น แสวงหาความรักความอบอุ่นจากสิ่งต่างๆ ร้อยปีก็ปล่อยให้ผ่าน
ไปอย่างนี้เฉยๆโดยเปล่าประโยชน์”

ได้ยินเสียงของลูกที่ตื่นขึ้นมาเรียกหาแม่ นางคิดในใจว่า “หากสามารถใช้ชีวิตอย่าง
มีความหมาย โลกมนุษย์ก็คือสวรรค์ หากไม่สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย
สวรรค์ก็คือโลกมนุษย์”

ที่มา จากอินเตอร์เน็ต



78  สุขใจในธรรม / นิทาน - ชาดก / Re: @ นิทานเซ็น @ หมั่นพิจารณาถึงอนิจจัง เมื่อ: 26 มกราคม 2556 14:47:15


         

๖๔. ๑ หมั่นพิจารณาถึงอนิจจัง

มีชายหนุ่มคนหนึ่งอยากจะเข้าใจชีวิตให้แจ่มแจ้ง
ดังนั้นเขาจึงตัดสินใจจะเดินทางออกไปดูโลกกว้าง
ขณะที่เดินไปถึงอีกหมู่บ้านหนึ่ง เจอเพื่อนและภรรยาของเพื่อน
ซึ่งตั้งครรภ์อยู่ จากการคะยั้นคะยอด้วยความมีน้ำใจของเพื่อน
จึงตัดสินใจอยู่พักชั่วคราว

แต่ใครจะรู้ว่า เพียงแค่ชั่วข้ามคืน เมื่อเพื่อนของเขาออกไปทำงานข้างนอก
ก็ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ทำให้ภรรยาของเพื่อนต้องเศร้าโศก เสียใจ
ไม่เป็นอันกินอันนอน และตรอมใจจนทำให้ต้องคลอดลูกก่อนกำหนด

ชั่วเวลา “การเกิด กับ การตาย” ที่ได้เห็น ทำให้ชายหนุ่มนั้นเห็นถึงความไม่
เที่ยง ความไม่เที่ยงทำให้คนต้องตาย และก็เป็นความไม่เที่ยงที่ทำให้เกิด
อนิจจังทำให้คนเป็นทุกข์ แล้วก็เป็นอนิจจังที่พาความสุขมาให้
วินาทีนี้ ไม่รู้ว่า อนิจจังนี้ พาความทุกข์หรือพาความสุชมาให้เขา

เมื่อจัดการงานศพให้เพื่อนแล้ว เขาก็เดินทางต่อไป
และเมื่อเดินทางถึงเมืองๆหนึ่ง เห็นพี่น้องคู่หนึ่ง
คนพี่ซึ่งเดินนำหน้าอยู่ มีใบหน้าที่เต็มไปด้วยความสุขสมหวัง
เหมือนกับประสบความสำเร็จในชีวิตและหน้าที่การงาน
ส่วนคนน้องที่เดินตามมา ใบหน้าเต็มไปด้วยความผิดหวัง
เหมือนกับถูกบีบคั้นจากโชคชะตาอย่างน่าสงสาร
ชายหนุ่มเห็นฉากชีวิต ลักษณะนี้แล้ว รู้สึกขำอยู่ในใจ

แล้วก็ตัดสินใจพำนักอยู่ในเมืองนี้
เพื่อจะได้พินิจพิจารณาลักษณะของบุคคลต่างๆ
หลังจากเวลาผ่านไปสิบปี ชายหนุ่มนั้นก็เข้าสู่วัยกลางคนแล้ว

และพี่น้องคนที่เขาเคยพบเมื่อเดินเข้าเมืองครั้งแรก
คนพี่เนื่องจากเป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูง และ เจ้าสำราญ
ผ่านไปไม่นาน กิจการก็ล้มเหลว
ส่วนคนน้อง เป็นคนจริงจังและซื่อตรง ทำงานทำการด้วยความระมัดระวัง
และรักษาสัจจะ ที่สุดก็ประสบความสำเร็จในชีวิต

ช่วงเวลา “แห่งความสำเร็จและความพ่ายแพ้” ทำให้ชายคนนั้นรู้สึกถึง
การเปลี่ยนแปลงของชีวิต อนิจจัง นำพาความสมหวังมาให้
และอนิจจังก็นำพาความผิดหวังมาให้มนุษย์เรา
วินาทีนี้ เขาไม่รู้ว่า อนิจจังเป็นสิ่งที่ดีหรือเลว

เวลาผ่านไปไม่รู้อีกนานเท่าไหร่ จากวัยกลางคนก็ล่วงเลยเข้าสู่วัยชรา
เขาคิดในใจว่า ถึงเวลาแล้วที่จะกลับไปสู่บ้านเกิด
ช่วงเวลาแห่งการ “จากมา แล้ว กลับไป” ทำให้เขารู้สึกถึงความ
ไม่เป็นแก่นสารของชีวิต ความอนิจจังทำให้คนเป็นหนุ่ม
แล้วก็เป็นความอนิจจัง ที่ทำให้คนแก่ ความไม่เที่ยงทำให้เกิดวันพรุ่งนี้
และเพราะความไม่เที่ยงอาจจะทำให้คนไม่มีวันพรุ่งนี้
วินาทีนั้น เขาไม่รู้ว่า ความไม่เที่ยงเป็นกุศลหรือเลวร้าย

ท่านล่ะ เข้าใจคำว่า ”อนิจจัง” หรือเปล่า? มีความคิดเห็นว่าอย่างไร?
พระท่านกล่าวว่า “ทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง” ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นย่อม
จะต้องมีเหตุมีปัจจัยมารวมกันจึงทำให้มีการเกิดและดับ
พวกเราเคยมองเห็นกันบ้างหรือเปล่า? หรือยังคงจะยึดมั่นถือมั่นอยู่กับ
เกียรติยศ ชื่อเสียง ความอยากมีอยากได้อยู่อีก

หากเรามั่นนึกถึงความไม่เที่ยง จิตของเราจะคลายความยึดมั่นถือมั่น
จิตจะไม่พยายามปรุงแต่ง เพ้อฝัน
หมั่นพยายามนึกถึงอนิจจัง จิตจะไม่แข็งทื่อ
จิตจะอ่อนโยน นุ่มนวลควรค่าแก่การใช้งาน
และจะคลายความยึดติดว่านั่นเป็น “ ตัวเราของเรา “
และที่สุดจิตจะ สะอาด สว่าง และ สงบ อย่างไร้ของเขต

ที่มา สมาชิกเว็บบอร์ดชาวเซน ของไต้หวัน



79  สุขใจในธรรม / ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก / บันทึกไว้.. จากใจพ่อ เมื่อ: 23 มกราคม 2556 10:55:13




บันทึกไว้.. จากใจพ่อ

ลูก จงจำไว้ว่า …..
การไม่ต่อสู้ใน บางกรณี
กลับเป็นวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่   กว่าการต่อสู้
อย่างเอาเป็นเอาตาย

ลูกจงอย่าโกรธคนไม่ดี
ที่จริงเขาก็อยากดีเหมือนกัน
แต่เขาไม่เข้าใจว่า
อะไรเป็นความดี … อะไรคือไม่ดี



ลูกแม่ต้องเป็นคนแข็งแรง … ไม่แข็งกระด้าง
ลูกแม่ต้องเป็นคนเรียบง่าย … ไม่มักง่าย
ลูกแม่ต้องเป็นคนอ่อนโยน … ไม่อ่อนแอ

ลูกจงโอนอ่อนผ่อนตาม
อย่างฉลาดและสุขุม
การพ่ายแพ้ด้วยศิลปะ
ดีกว่า การชนะด้วยอารมณ์

ความกล้าหาญต้องประกอบด้วยสติปัญญา
ถ้าลูกกล้าโดยไม่มีสติปัญญา
เขาเรียกว่าคนบ้าบิ่น



ปลายทางสุดท้ายของความไม่พอ
คือ … ความทุกข์

ลูกจงจำไว้ว่า …
ผู้ท ี่ไม่มีใครให้อภัยผู้อื่น
คือผู้อ่อนแอทางจิตใจ
การให้อภัยศัตรู   คือการ   สร้างมิตร

ลูกควรจำสิ่งที่ควรจำ   ลืมสิ่งที่ควรลืม
ทำสิ่งที่ควรทำ และต้องรู้ว่า   สิ่งใดควรทำก่อน
สิ่งใดควรทำทีหลัง

เมื่อลูกสังเกตดู   จะพบว่า
ภายหลังเสียงหัวเราะ   จะมีน้ำตา
ภายหลังเสียน้ำตา   จะเห็นแสงธรรม
คือความจริงของชีวิต
หกล้มเราเพราะก้าวเดินไปข้างหน้า
ยังดีกว่าลูกยืนเต๊ะท่าอยู่กับที่
เพราะถ้าลูกยืนไม่ดี … ก็จักมีคนมาถีบให้ล้มอยู่ดี



ลูกจงหาความสุขกับปัจจุบัน
อย่าใฝ่ฝันถึงอนาคต
อย่าหมกมุ่นอยู่กับอดีต
จะทุกข์

ลืมอะไรก็ลืมได้   แต่อย่าลืมตัว
เสียอะไรก็เสียได้   แต่อย่าเสียคน
ผิดอะไรก็ผิดได้   แต่อย่าผิดศีลธรรม



ลูกจงจำไว่ว่า …
ธรรมชาติไม่เคยให้อภัยใคร
ใครทำอย่างใด   ต้องได้รับอย่างนั้น
แต่ธรรมชาติก็ให้โอกาสทุกคนเสมอ
แต่คนเรา … โดยส่วนมาก
ไม่ค่อยยอมรับโอกาสนั้น

ลูกจงจำไว้ว่า
คนเห็นแก่เงิน   คบยาก
คนเห็นแก่งาน   คบยาก
คนเห็นแก่ผู้อื่น   คบสบาย



ผู้กล้าหาญ   คือผู้ที่สามารถบังคับตัวเองได้
ถ้าลูกจักปลูกต้นไม้   ต้องบำรุงราก
แต่ถ้าปลูกจิตใจ
ต้องบำรุงด้วยศีล   ด้วยธรรม

การโกรธ   เป็นวิสัยของปุถุชน
การให้อภัย   เป็นวิสัยของบัณฑิต
ลูกแม่จะเป็นบัณฑิต   จึงต้องฝึกการให้อภัย
ด้วยความมีเมตตา
เพราะเมตตาแก้ความโกรธได้



หน้าที่ของลูกควรปฏิบัติต่อผู้อื่น คือ
การมอบน้ำใจให้แก่กันและกัน

ลูกควรมองคนในแง่ดี
ให้มองว่าไม่มีใครจะเลวทั้งหมด
คนเราเป็นมิตรกันได้
แม้จะมีความคิดต่างกัน

เรือที่ออกทะเล
ปฏิเสธคลื่นลมไม่ได้   ฉันใด
ชีวิตของลูก
ปฏิเสธอุปสรรคไม่ได้   ฉันนั้น



บางส่วนจากเจ้าของบทความ :
จากหนังสือ ๖๐ ข้อคิดบันทึกไว้จากใจพ่อ
อิกคิว   ผู้คัดลอก



ความดีของลูก คือความสุขของพ่อ แม่
ความเลวของลูก คือความทุกข์ของพ่อแม่


http://loibamboo.com/2012/11/

80  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / Re: โลกุตตรจิต โลกุตตรธรรม (หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต) เมื่อ: 23 มกราคม 2556 09:11:19


    อรหัตผล กับกรรมเก่า 
ส่วนอรหัตผลเป็นผลขาดตอน มิได้โยงถึงเหตุ เพราะเหนือเหตุไปไกลแล้ว จะโยงคืนมาคลุกเคล้ากับเหตุมิได้ เพราะตัดสะพานกับเหตุอยู่ในตัวสิ้นเชิงไปแล้ว เหลือวิสัยไม่เป็นฐานะจะโยงคืนมาอาศัยเหตุ
    อรหัตมรรค และต่ำกว่านั้นลงมา ยังอาศัยเหตุอยู่ แต่เหตุอรหัตมรรคเป็นเหตุละเอียดที่สุดในพระพุทธศาสนา ส่วนผลอันขาดตอนกับเหตุในอรหัตผลเล่า ก็เป็นผลอันละเอียดที่สุดในพระพุทธศาสนา ไม่เป็นหน้าที่จะมาเดาด้นคาดคะเนให้เป็นธรรมมัจฉากัจฉ้อ ตาดำตาแดงใส่กันเลย ผลของการปราศจากโลภ โกรธ หลงโดยสิ้นเชิงนี้เป็นปัจจัตตังและสันทิฏฐิโก สุดท้ายของพระพุทธศาสนา

    ธรรมดามนุษย์ เทวดา มาร พรหม จิตใจและสติปัญญาอยู่ในระดับโลก ก็ยืนยันความเห็นของตนอยู่ในระดับนั้น จะปรารภออกมาหรือ ไม่ปรารภออกมา ก็ไม่เป็นปัญหา
แต่พระบรมศาสดามิได้รับรองโดยถ่ายเดียว ว่าบุคคลจะบริสุทธิ์ด้วยความรู้และความเห็น แต่ท่านผู้ใดปราศจากโลภ โกรธ หลงแล้ว ท่านผู้นั้นแหละเป็นผู้บริสุทธิ์โดยแท้
    แต่โดยมากมักจะเอาความรู้และความเห็นของตน อันยังมีกิเลสอยู่ มาเป็นความบริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง บาลีท่านยังมิได้อริยมรรค อริยผลชั้นใดชั้นหนึ่งเลยเถียงเอาก็มี เถียงเอาในทางตรงและทางอ้อมก็มี เพราะอยากได้ แต่ยังไม่ได้เลย แต่ก็ขึ้นอยู่กับกรรมและผลของกรรมอีกละ
    กรรมและผลของกรรมเป็นของละเอียดมากนักหนาแท้ ๆ แม้พระอรหันต์(จะ)มีผลกรรมเก่าตามมาก็จริง แต่ปัจจุบันกรรมและอนาคตกรรมไม่มี ผลของกรรมเก่าตามมาถึง ก็พบแต่เรือนร้าง คือขันธ์ ๕ ล้วน ๆ และก็ไม่มีกิเลสยึดถือเอาเป็นเจ้าของอยู่ในเรือนว่างเปล่า คือขันธ์ ๕ นั้น เพราะเป็นขันธ์ที่ไม่มีเจ้าของหลง เพราะทอดบังสุกุลไปแล้ว คล้ายกับเอาไฟไปเผา น้ำลายที่เทออกจากกระโถนแล้ว เจ้าของน้ำลายย่อมไม่เดือดร้อนและไม่ผูกเวรผูกภัย

    ผู้ไม่ต้องระวังใจ
ผู้เขียนอยู่นี้ล่ะเป็นอย่างไรเล่า
    ตอบว่า เขียนตามกายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร จะเอาการเขียนการอ่านมาเป็นเครื่องบริสุทธิ์ หรือไม่บริสุทธิ์ก็ไม่ได้ เพราะความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ ต้องอยู่ฟากการเขียนการอ่านย้อนหลังคืนมา มิได้ข้ามฟากไปหาอนาคต และอดีต แล้วแต่ศาลธรรมในปัจจุบันตรวจดู จะตรวจผิดตรวจถูก ก็ขึ้นอยู่กับศาลธรรมในปัจจุบันเท่านั้น ศาลอดีตก็ล่วงไปแล้ว ศาลอนาคตก็ยังไม่มาถึง ศาลปัจจุบันเท่านั้นจึงจะตัดสินได้ ถ้าหากว่าศาลปัจจุบันไม่ลำเอียงก็ตัดสินพอดีพองาม ถ้าหากว่าลำเอียงแล้วก็ตัดสินหย่อนบ้างเกินบ้าง ลำเอียงหมายความว่ากิเลสยังหลายอยู่ ปรมาณูของกิเลสย่อมดึงดูดไปไม่รู้ตัว

ธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นธรรมอันลุ่มลึกละเอียดมากกว่าศาสนาใด ๆ ทั้งสิ้น ผู้มีอำนาจวาสนาน้อย อินทรีย์ ๕ พละ ๕ ยังอ่อนอยู่ ย่อมเป็นไปได้ยาก
    อินทรีย์ ๕ พละ ๕ นั้นท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมอันเป็นกำลัง ๕ ประการให้สมดุลกันคือ
    ศรัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อเช่น เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อว่าบาปมีบุญมี มรรค ผล นิพพานมี เป็นต้น เชื่อว่าศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีลมาในพระปาฏิโมกข์ หรือพุทธบัญญัติ และอภิสมาจาร ย่อมเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้รักษาและประพฤติได้ ย่อมเป็นได้ทั้งโลกีย์และโลกุตระ ต้องขึ้นอยู่กับแต่ละรายของบุคคลตามเหตุผลเฉพาะส่วนตัวเป็นราย ๆ ไป แม้ศรัทธาเชื่อสิ่งที่ควรเชื่อก็เหมือนกัน เป็นได้ทั้งโลกีย์และโลกุตระ ขึ้นอยู่แต่ละรายของบุคคลอีก

    วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ก็เหมือนกัน ที่เอาศีลมาแทรกเข้านี้เป็นโวหารพิเศษ ความหมายของพระพุทธศาสนาโดยมากถ้ากล่าวถึง ศีล สมาธิ ปัญญา แล้วจะถือเป็นกฎเกณฑ์เบื้องต้นของพระพุทธศาสนาได้ก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญาของพระโสดาบันเป็นต้นไป เพราะเป็นศีล สมาธิ ปัญญา เข้าสู่โลกุตร ก้าวหน้า ไม่ถอยหลัง ไม่วนเวียนเหมือนศีลสมาธิ ปัญญาของโลกียวิสัยเพราะข้ามโคตรโลกิยะแล้ว ไม่สงสัยในปฏิปทาทางดำเนินของตน

    มีปัญหาว่าพระอรหันต์เล่า จัดเป็นศีล สมาธิ ปัญญา ได้หรือไม่
ตอบแบบติดไม่คาว่า จัดเป็นมหาวิมุตติศีล มหาวิมุตติสมาธิ มหาวิมุตติปัญญา แต่มิได้เรียงแบบ กลมกลืนกันอยู่ในขณะเดียวทุกอิริยาบถของจิตใจ มิได้รักษาลำบากเหมือนผู้คุมคุมนักโทษ เพราะเจอของที่ไม่มีโทษเจือเลยแม้แต่นิดเดียว ผู้เตรียมระวังอยู่ กับ ผู้ยังมีโทษอยู่ ก็มีความหมายอันเดียวกัน ผู้มีใจที่ไม่มีโทษแล้วจะระวังใจทำไม แต่เมื่อยังไม่ถึงพระอรหันต์ก็ต้องระวังใจอยู่ ถ้าไม่ระวังมันก็ผิดจริง ๆ ไม่น้อยก็มาก
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะไม่สำคัญเท่าใดนัก เพราะเป็นหน้าที่ส่งเมล์เข้ามาสู่เมืองใจ ใจผู้ตรวจเมล์เป็นตัวสำคัญ เมื่อรับทราบแล้ว ใจโอนเอียงไปทางไหนเล่า ใจต้องตรวจดูใจทั้งเหตุผลโดยเฉพาะใจให้แยบคาย ใจอย่าตื่นว่าเป็นเมล์ใหม่ก็แล้วกัน คือเมล์เก่าเรื่องเก่าที่เคยส่งเข้ามาประจำเป็นนิจวัตรนั้นเอง
    ถ้าใจต่ำ รับเมล์แล้ว ก็รักบ้าง ชังบ้าง เฉยบ้าง คำว่า เฉย แปลว่าเมล์ที่ไม่น่ารัก เมล์ที่ไม่น่าชัง
    ใจชั้นสูงก็เป็นแต่สักว่ารู้ เป็นแต่สักว่าเห็น (รู้ในที่นี้หมายความว่ารู้ด้วยปัญญา เห็นในที่นี้หมายความว่าเห็นด้วยปัญญา)
    ส่วนใจชั้นกลาง สติปัญญาชั้นกลางก็สารพัดจะน้อมลงสู่ตามสติปัญญาของตน ๆ ตามอิสระเท่าที่เห็นสมควร เพราะนานาจิตตัง นานาธัมมัง

ท่านผู้ไม่ติดอยู่ในจิต ไม่ติดอยู่ในธรรม ไม่ติดอยู่ในผู้รู้นั้นคือพระอรหันต์ เพราะรู้เท่าจิต รู้เท่าธรรม รู้เท่าผู้รู้โดยแท้จริงแล้วจิตก็ดี ธรรมก็ดี ผู้รู้ก็ดี จึงไม่มีพิษ ไม่เป็นปัจจัยส่งต่ออะไร ๆ ให้เป็นไปในอนันตรเหตุ อนันตรผลอันเป็นสหชาติให้วนเวียนในสังสารวัฏ

อวิชชา
ตัวโง่ ๆ หลง ๆ ถูกทำลายไปด้วยมรรคปัญญาญาณอันถ่องแท้ เป็นมหาสัมมาวิมุตติ เป็นมหาสัมมาญาณสามัคคี กลมเกลียวดึงดูดกันทันเวลาในขณะเดียวโดยมิได้ส่งส่ายร้องเรียกหา ชนะสงครามโลกหลงด้านภายในที่เคยดองขันธสันดานมาไม่มีประตูไม่มีเวลาจะขบถคืนได้ เรียกว่าชนะสงครามอวิชชาก็ได้ไม่ผิด

สังขาร วิญญาณ นามรูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ไม่ต้องกล่าวพรรณนาเรียงแบบไปก็ได้ ไม่ต้องสาวไป ไม่ต้องสาวกลับ เป็นอนุโลมเป็นปฏิโลมก็ได้ เพราะตัดในระหว่างไหน ๆ (ถ้า)ขาดแล้ว(เป็น)ใช้ได้ทั้งนั้นแหละ เพราะเหตุว่าเป็นเชือกเส้นเดียวกัน เป็นบ่วงอันเดียวกัน เป็นลูกโซ่อันเดียวกัน ที่เกี่ยวข้องติดโยงกันเป็นวงกลม ตัดขาดที่ไหนใช้ได้ทั้งนั้น แก้ได้ทั้งนั้น หลุดไปได้ทั้งนั้น พ้นไปได้ทั้งนั้น ไม่สงสัย



ขอบพระคุณที่มา *http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-lah/lp-lah-hist-12.htm
มีต่อค่ะ - http://www.tairomdham.net/index.php/topic,7544.0.html#msg32644

หน้า:  1 2 3 [4] 5 6 ... 368
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.622 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 25 กุมภาพันธ์ 2567 20:03:25