[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 16:22:06 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 368
81  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / Re: โลกุตตรจิต โลกุตตรธรรม (หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต) เมื่อ: 23 มกราคม 2556 09:08:23


สติ ปัญญา เป็นอาจารย์ 
อนึ่ง อดีต อนาคตย่อมเป็นเมืองขึ้นของปัจจุบัน เพราะปัจจุบันเป็นผู้ส่งส่ายเอามาใช้ให้รู้ความหมาย เมื่อปัจจุบันเป็นโลกิยวิสัย อดีตอนาคตก็พลอยเป็นโลกิยวิสัยไปด้วย แต่อดีตอนาคตไม่มี มีแต่ชื่อและบัญชี เพราะล่วงไปแล้ว เพราะยังไม่มาถึง ดีก็ดีไปแล้ว ชั่วก็ชั่วไปแล้ว อนาคตเล่า ถ้าจะดี ก็ยังไม่มาถึง ถ้าจะชั่ว ก็ยังไม่มาถึง ปัจจุบันจิต ปัจจุบันธรรม เท่านั้น จะละเว้นได้ในทางที่ไม่ชอบ และก็จะปฏิบัติได้ในทางที่ชอบ ถ้าหากว่าคอยไปบดเอื้องอยู่แต่อดีต อนาคตเท่านั้น ก็ลืมโอปนยิโกมาในปัจจุบัน จิตใจก็ห่างเหินจากสมาธิและปัญญา

ผู้กำลังเดินมรรคภาวนายังไม่หลุดไม่พ้นจากความหลงของเจ้าตัวโดยสิ้นเชิงแล้ว ก็สงสัยลังเลในปฏิปทาของตน จับต้นชนปลายอยู่มั่วสุม เดี๋ยวก็กล่าวตู่ตน ว่ากรรมฐานแบบนั้นดี แบบนี้ดีอยู่อย่างนั้น
อุบายกรรมฐานวิธีใด ๆ ก็ตาม ถ้าไม่เคารพรักใคร่ปฏิบัติอาจารย์สติ อาจารย์ปัญญาในปัจจุบันแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย เว้นไว้แต่ท่านผู้พ้นไปแล้ว เพราะปัญญาองค์ท่าน แก่กล้าเหนือความหลงไปแล้ว ย่อมไม่ติดอยู่ในเงื่อนทั้ง ๓ ทั้งอดีต ทั้งอนาคต ทั้งปัจจุบันด้วย เพราะขาดจากอุปาทานในเงื่อนทั้ง ๓ ไปแล้ว ถึงจะเอามาใช้ตามชาวโลกนิยมพูดกัน ก็ใช้แบบไม่มีพิษเลย นกบินในอากาศวันยังค่ำไม่มีรอย มีดเฉือนน้ำวันยังค่ำไม่มีรอย

อดีต อนาคต ปัจจุบันเมื่อมีผู้เข้าไปสอดแทรกยึดถือเอาเป็นเจ้าของ ย่อมเป็นโทษในธรรมสุดท้ายของพระพุทธศาสนาทั้งนั้น เพราะมีวิญญาณปฏิสนธิสัมปยุตกันอยู่ มีทั้งเหตุ กรรม วิบาก สมดุลกันอยู่ในตัว ไม่มีอันใดก่อนอันใดหลัง

ผู้ไม่หนักในอานาปานสติพร้อมกับเจตสิกที่นึกคิดและผู้รู้ในขณะเดียวกันแล้ว จะเห็น จะรู้ตามเป็นจริงได้ยาก และจะไม่ยอมเชื่อได้ง่าย ๆ ในธรรมตอนนี้ เพราะเป็นธรรมอันละเอียดมากมายนัก จะเห็นจะรู้ได้บ้างแบบมัว ๆ เมา ๆ ก็เพียงแต่รูปขันธ์อันหยาบ ๆ เท่านั้น (ถ้า)ตายคารูปขันธ์ที่กำลังพิจารณาอยู่ มิได้ส่งลงถึงไตรลักษณ์ให้แจ้งชัดด้วยสติปัญญาอันชอบแท้ อย่างสูงก็ไปเกิดเป็นพรหมที่มีรูปเท่านั้น
จะอย่างไรก็ตาม ถ้าไม่มีญาณอันถ่องแท้รู้ปฏิบัติ รู้ชัด รู้ชอบในอนัตตาจิต อนัตตาธรรม อนัตตาผู้รู้รู้แล้วในขณะเดียว โดยมิได้ส่งส่ายหาแล้ว จะเบื่อ จะหน่าย จะคลาย จะหลุด จะพ้นจากความหลงโดยสิ้นเชิงย่อมเป็นไปไม่ได้

    แต่การพิจารณาเลยครูเลยเถิดไป จนเห็นดิ่งลงไปว่าสูญไปหมดโดยมิได้ไว้หน้า ไม่มีขอบเขตเกินความเป็นจริงของธรรมแท้แล้ว ก็ย่อมตกนรกเป็นทิฏฐิมานะขุมดิ่ง ก็ไม่มีศาสดาใด ๆ จะสอนได้อีกละ เพราะคำว่าปัจจัตตัง ย่อมเอามาอ้างได้ทั้งโลกีย์และโลกุตระทั้งนั้น คำว่าอกาลิโกก็เหมือนกัน

    อกาลิโกและปัจจัตตังของพระอรหันต์ เป็นธรรมอันไม่มีกิเลสสิง ต่ำกว่านั้นลงมาก็อ้างอกาลิโกและปัจจัตตังตามภูมิของตนได้ทั้งนั้น แม้ผู้เขาถือว่าไม่มีบาปไม่มีบุญ ไม่มีมรรค ผล นิพพาน อกาลิโกของเขา เขาก็อ้างได้ว่าไม่มีบาป ไม่มีมรรค ไม่มีผลอยู่ทุกกาล ตลอดถึงปัจจัตตังเขาก็อ้างได้ว่าเห็นและรู้เฉพาะตนเองอยู่ว่า ไม่มีบาป ไม่มีบุญ ไม่มีมรรค ผล นิพพานเลยดังนี้ ฉะนั้นการอ้างบาลีจึงเอาเป็นประมาณได้ยากนัก

เขาเอาทองเก๊ไปลวงคนโง่ว่าเป็นทองแท้ก็ได้ แต่ไม่อาจลวงผู้ที่รู้จักทองแท้ได้ง่าย ๆ เลย ธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาแท้ มิได้ลวงโลก โลกลวงโลกต่างหาก กิเลสลวงกิเลสต่างหาก ขี้ขโมยลวงขี้ขมาย เวรสนองเวร ภัยสนองภัย ศีลสนองศีล สมาธิสนองสมาธิ ปัญญาสนองปัญญา นิพพิทาสนองนิพพิทา วิราคะสนองวิราคะ วิมุตสนองวิมุต วิสุทธิสนองวิสุทธิ นิพพานสนองนิพพาน (ไม่ต้องสงสัยในการสนองเลย) หลับตาเข้าก็สนองมืด ปรารภชั้นสูงชั้นต่ำปะปนกัน แกงหม้อใหญ่หรือเล็กผู้ฉลาดย่อมไม่รับกลืนทั้งก้างและกระดูก ย่อมเลือกรับเอา

ผู้น้อมธรรมบูชากิเลส
เมื่อวัยชะแรแก่เรามาเท่าใดใกล้สิ้นลมปราณก็สนุกฟังเทศน์แห่งกองรูป นามขันธ์วิบาก แก่ เจ็บ ตายก็ไม่ลงธรรมาสน์ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณก็ไม่ลงธรรมาสน์ อนิจจตา ทุกข์ตา อนัตตตาก็ไม่ลงธรรมาสน์

    อกาลิโกมีอยู่ทุกกาล เทศนอยู่ทุกกาล อริยสัจธรรมทั้ง ๔ ก็เทศน์อยู่ทุกกาล
ผู้ฟังเทศน์ตามเป็นจริง ปฏิบัติและพิจารณาตามเป็นจริง รู้ตามเป็นจริง พ้นจากความสงสัยตามเป็นจริงไปเป็นชั้น ๆ ก็มีอยู่ทุกกาล
    ผู้ที่ถึงที่สุขทุกข์โดยชอบก็มีอยู่ทุกกาล
    ตรงกันข้ามผู้ไม่อยากฟังเทศน์เสียเลยก็มีอยู่ทุกกาล
ผู้ยอมฟังเทศน์แต่น้อมธรรมลงมาบูชากิเลสของตัวก็มีอยู่ทุกกาล เช่น น้อมลงมาผูกเอาเลขเอาผา อันเห็นผิดเป็นชอบ เข้าข้างกิเลสของตัวก็มีอยู่ทุกกาล
    ผู้ให้ทานรักษาศีลภาวนาเพื่อโลกีย์ก็มีอยู่ทุกกาล
    ดอกบัว ๔ เหล่าก็มีอยู่ทุกกาล

    อกาลิโกย่นลงมาโดยย่อมี ๒ โลกิยะหนึ่ง โลกุตระ ๑ ปัจจัตตังก็ย่นลงมาเป็น ๒ มีความหมายอันเดียวกัน สฺวากฺขาโต ภควตา ธัมโม ก็เหมือนกัน ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงพระมหากรุณากล่าวดีแล้ว ทั้งโลกิยะ และโลกุตระ กล่าวตามชั้นปฏิปทาของมนุษย์และเทวดา มาร พรหมผู้ปฏิบัติอันเป็นฝ่ายเหตุฝ่ายผลของผู้ปฏิบัติ อันจะได้รับตามเหตุผลเท่าที่ตนสร้างขึ้นในมโนภาพ

82  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / Re: โลกุตตรจิต โลกุตตรธรรม (หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต) เมื่อ: 23 มกราคม 2556 09:00:34


                     

อัตตโนประวัติหลวงปู่หล้า เขมปัตโต ๑๒
วัดบรรพตคีรี ( ภูจ้อก้อ ) อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร

โลกุตตรจิต โลกุตตรธรรม
ผู้มีศรัทธาความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ มีวิริยะในสิ่งที่ควรเพียร มีสติในสิ่งที่ควรระลึกได้ มีสมาธิในสิ่งที่ควรตั้งมั่น มีปัญญาในสิ่งที่ควรรอบรู้ เป็นกองทัพธรรมสมดุลกันแล้ว ย่อมเป็นช้างสารมหากำลังใหญ่ ความหลงที่เรียกว่าอวิชชา จะตั้งกองพลเข้ามาทางประตูใด ความหลงย่อมอยู่ใต้อำนาจของธรรมแท้ ใจแท้ ศรัทธาแท้วิริยะแท้ สติแท้ สมาธิแท้ ปัญญาแท้ เพราะธรรมเหล่านี้ขึ้นสู่โลกุตรแล้ว ไม่มีเทวดา มาร พรหมและมนุษย์ใด ๆ จะปลดเกษียณให้ลงสู่โลกีย์ได้

โลกุตรจิต-โลกุตรธรรม มิใช่ธรรมลวงโลก มิใช่ปู่ทวด ย่าทวด ตาทวด ยายทวด ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ลวงโลก เพราะข้ามปุถุชนโคตรไปแล้วไกล ไม่อาลัยว่าจะลวงตนจะลวงโลก เหมือนโลกีย์วิสัยที่หนักไปในทางอามิสสรณัง คัจฉามิ ที่เที่ยวกวาดต้อนผู้อยู่ในระดับเดียวกันเข้า ให้เป็นพรรค ตามกรรมนิยม กรรมบันดาล เหนี่ยวรั้งตั้งเจตนาและความหวัง ก็เป็นไปตามโลกีย์ ไกลจากโลกุตระจนมองไม่เห็น จะเห็นกันได้ง่าย ๆ ก็เพียงกายและความประพฤติเป็นบางส่วนเท่านั้น เว้นไว้แต่จำพวกพระอริยะ จำพวกเจโตปริยญาณเท่านั้น เหลือนั้นก็เดาด้นคาดคะเนผิดบ้างถูกบ้าง แต่ต้องผิดนั้นแหละเป็นส่วนมาก

ผู้เห็นภัยอย่างเต็มที่ในสงสารทั้งอดีต ทั้งอนาคต ทั้งปัจจุบันนั้น กับผู้สนใจในทางปฏิบัติอย่างเต็มที่ก็ดี
กับ ผู้ไม่ประมาทนอนใจนั้นก็ดี กับ ผู้สนใจในธรรมเพื่อหลุดพ้นนั้นก็ดี
กับ ผู้เชื่อมรรค ผล นิพพานนั้นก็ดี กับ ผู้ไม่ตีตนตายก่อนไข้นั้นก็ดี
กับ ผู้เลือกเฟ้นธรรม เลือกเฟ้นใจ ในธรรมที่ควรเลือก ในใจที่ควรเลือก นั้นก็มีความหมายอันเดียวกัน

ส่วนท่านผู้เห็นภัยในสงสารอย่างเต็มที่ และผู้ปฏิบัติธรรมให้สมควรแก่ธรรมอย่างเต็มที่นั้นก็ดี
กับท่านผู้พ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิงอย่างเต็มที่นั้นก็ดี
กับท่านผู้พ้นจากผู้รู้ในอดีต ผู้รู้ในอนาคต ผู้รู้ในปัจจุบันนั้นก็ดี แล้วไม่ติดข้องอยู่ทั้งผู้รู้ในอดีต ผู้รู้ในอนาคต ผู้รู้ในปัจจุบันนั้นก็ดี
กับผู้ไม่ติดอยู่ในนิมิตฝ่ายรูปขันธ์ก็ดี กับผู้ไม่ติดอยู่ในอรูปคือนามขันธ์นั้นก็ดี
กับผู้ไม่ติดอยู่ในสรรพธาตุทั้งปวงก็ดี กับผู้ไม่ติดอยู่ในสรรพธรรมทั้งปวงก็ดี กับผู้ไม่ติดอยู่ในสรรพจิตทั้งปวงก็ดี
กับผู้ไม่ติดอยู่ในสรรพอัตตาทั้งปวงก็ดี กับผู้ไม่ติดอยู่ในสรรพอนัตตาทั้งปวงก็ดี กับผู้ไม่ติดอยู่ในสูญ ๆ สาญ ๆ ทั้งปวงก็ดี
กับผู้ไม่ติดอยู่ในสมมุติและวิมุติก็ดี กับผู้ไม่ติดอยู่ในได้ในเสีย กับผู้ไม่ติดอยู่ในอุปาทานก็ดี เป็นต้น


เหล่านี้ย่อมมีรสชาติและความหมายอันเดียวกัน เหลือวิสัยที่จะบัญญัติและสมมุติไปแล้ว ไม่เป็นธรรมที่ชาวโลกจะเอามาซื้อมาขายมาขายในตลาดโลกได้ เพราะมิใช่ธรรมลิเก ละคร และกีฬา และฉายหนังภาพยนตร์โทรทัศน์ใด ๆ ทั้งสิ้น
ผู้เขียนก็เขียนไปตามจิตสังขาร ท่านผู้อ่านผู้ฟังก็ต้องอ่านต้องฟังไปตามจิตสังขาร ปัญหาก็หากจบไปเอง

เจตนาผิดปิดทางหลุดพ้น
ยุคของผู้เขียนมาพักชั่วคราวอยู่ภูจ้อก้อนี้ สนุกฟังเทศน์ทั้งภายนอกภายในมากมายนัก
ที่ว่า พักอยู่ชั่วคราว ก็หมายความว่า ที่สมมุติกันว่าวินาทีหนึ่งก็ดี นาทีหนึ่งก็ดี ชั่วโมงหนึ่งก็ดี วันหนึ่งคืนหนึ่งก็ดี เดือนหนึ่งก็ดี สองพันห้าร้อยยี่สิบสี่ก็ดี เป็นเวลาน้อยนัก ไม่หยุดยั้ง ล่วงไป ๆ
จะว่าวันเวลาล่วงไปก็ถูก จะว่าชีวาล่วงไปตามสมมุติก็ถูก แต่ปรมัตถ์มิใช่สัตว์ มิใช่ชีวิต ไม่มีใคร ๆ ล่วงไปไหน ส่วนวันคืนก็ไม่ล่วงไปไหน เอกรัตตินทิวัง มีแต่กลางคืนกับกลางวัน เท่านั้น

พูดกลับไปกลับมา เพื่อมิให้ติดอยู่ในการพูดกลับไปกลับมา ทั้งสมมุติและปรมัตถ์ แต่ก็ตรงกันข้าม สิ่งที่ติดก็คอยแต่จะติด เช่นยางขนุนและยางมะตอยเป็นต้น สิ่งที่ไม่ติดก็ไม่ค่อยอยากติด เช่นน้ำค้างบนใบบัว ปลายเหล็กแหลมไม่เก็บพันธุ์เมล็ดผักกาดไว้ นกบินในอากาศไม่มีรอย มีดเฉือนน้ำไม่มีแผล
ธรรมะในทางพระพุทธศาสนาเป็นธรรมลุ่มลึกและสูงยิ่งกว่าศาสนาใด ๆ ทั้งสิ้น ผูกขาดอยู่ทุกกาล ไม่ได้พูดเข้าข้างตัว พูดเข้าข้างธรรมะตามเป็นจริงของธรรม มิได้พูดเข้าข้างตัวตามความสำคัญว่าตัวเป็นเจ้าธรรม ยอมยกธงขาว ยอมให้ธรรมอยู่เหนือตัวเสมอ ๆ ไม่ตีตนเสมอธรรมเลย

ฉะนั้นพระบรมศาสดาจึงยอมเคารพธรรม ถือว่าธรรมทรงอยู่ก่อนพระองค์ ถ้าธรรมไม่ทรงมีอยู่ก่อนพระองค์แล้ว พระองค์ก็ไม่สามารถจะรู้ธรรมได้ ศาสนาอื่น ๆ รู้ได้ปฏิบัติได้เพียงแต่เหตุผล แต่มิใช่ทางเหตุผลไปทางโลกุตระ มีแต่ตามความประสงค์ของกิเลส ไปทางวัตถุนิยม เป็นอัตตาธิปไตย เข้าข้างตนเข้าข้างกิเลสอย่างลึกบ้าง อย่างโลดโผนสุกเอาเผากิน เจอก้างเต็มโลก
ฉะนั้นสมณะทั้ง ๔ จึงไม่มีในศาสนาอื่น ๆ นอกจากศาสนาพุทธ คือ โสดา สกิทาคา อนาคา อรหันต์ แต่พากันบัญญัติเอาแบบเข้าใจผิดบ้าง แบบหัวดื้อหัวแข็งสารัมภะแข่งดีบ้าง ประมาทบ้าง
ฉะนั้นในมหาปรินิพพานสูตร พระบรมศาสดาจึงยืนยันตามธรรมาธิปไตยว่า สมณะในที่อื่นนอกจากพุทธศาสนาแล้ว ไม่มีสมณะทั้ง ๔ ดังกล่าวนั้นเลย

เพราะศาสนาอื่นประพฤติพรตมุ่งลาภอามิสที่ตนหวัง ข้อวัตรปฏิบัติทั้งปวงจะเด็ดเดี่ยวสักเพียงไรก็ตาม เจตนาไม่นอกเหนือไปจากมุ่งลาภภายนอกที่ตนหวัง จึงปิดหนทาออกจาก]ชาติ ชรา พยาธิ มรณะไปได้เสียแล้โลกิยวิสัย อย่างสูงก็พรหมโลกเท่านั้น ด้วยกำลังฌานโลกีย์ ไม่สามารถเป็นธรรมเบื่อหน่ายคลายเมา คลายกำหนัดได้ พอได้เป็นนิสัยได้เท่านั้น
แม้ผู้ถือศาสนาพุทธ แต่เจตนาเป็นเจ้าเรือน มุ่งปัจจัยสี่เป็นเจ้าใหญ่นายโตของเจตนา
เป็นเจ้าเป็นจอมอยู่ ก็ไม่สามารถจะบรรลุพรหมจรรย์เบื้องต้นได้ในปัจจุบันชาติ คือพระโสดาบันได้เลย จะเดินจงกรมภาวนาตลอดคืนตลอดวัน อดข้าวอดอาหารจนขุมผมขุมขนหล่นก็ตาม ไม่ขึ้นถึงโสดาได้

ทั้งนี้เพราะเหตุใดเล่า
เพราะเหตุมุ่งลาภมุ่งอามิสภายนอกปิดประตูแล้ว แต่(จะ)พอเป็นนิสัยในชาติภพต่อ ๆ ไปนั้นได้อยู่
ข้อนี้นักปฏิบัติควรโอปนยิโก น้อมเข้ามาในใจตน ตรวจดูเจตนาตนให้แยบคายทั้งนั้น เว้นไว้แต่ไม่ต้องการพระอริยะในชาตินี้ ชั้นใดชั้นหนึ่ง หรือจนถึงที่สุดโดยด่วนเท่านั้น ผู้ไม่ต้องการโลกุตระกับผู้น้อยใจในสงสาร กับผู้หวังอามิสเป็นเจ้าหัวใจ ก็อันเดียวกัน

83  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / เครื่องราง ของขลัง พุทธคุณ / Re: พระกาลกินคน :ว่าด้วย กาลเวลากินสัตว์พร้อมทั้งตัวเอง เมื่อ: 22 มกราคม 2556 13:20:20


                 

อรรถกถา มูลปริยายชาดก
ว่าด้วย กาลเวลากินสัตว์พร้อมทั้งตัวเอง
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ สุภควัน อาศัยอุกกัฏฐธานี ทรงปรารภมูลปริยายสูตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กาโล ฆสติ ภูตานิ ดังนี้.
               ได้ยินว่า ในกาลนั้นมีพราหมณ์ ๕๐๐ จบไตรเพทแล้ว ออกบวชในพระศาสดา เรียนพระไตรปิฎก เป็นผู้มัวเมาด้วยความทะนงตน คิดว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้พระไตรปิฎก แม้เราก็รู้พระไตรปิฎก เมื่อเป็นอย่างนี้ เรากับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะต่างกันอย่างไร จึงไม่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ตั้งตนเป็นปฏิปักษ์.
               อยู่มาวันหนึ่ง พระศาสดา เมื่อภิกษุเหล่านั้นประชุมกันในสำนักของพระองค์ ตรัสมูลปริยายสูตรประดับด้วยภูมิ ๘. ภิกษุเหล่านั้นกำหนดอะไรไม่ได้ จึงมีความคิดว่า พวกเราทะนงตนว่า ไม่มีใครฉลาดเท่ากับพวกเรา แต่บัดนี้พวกเราไม่รู้อะไรเลย ชื่อว่าผู้ฉลาดเช่นกับพระพุทธเจ้าย่อมไม่มี ชื่อว่าพระพุทธคุณน่าอัศจรรย์. ตั้งแต่นั้นมา ภิกษุเหล่านั้นก็หมดความทะนงตน สิ้นความหลงผิด ดังงูพิษที่ถูกถอนเขี้ยวแล้วฉะนั้น.

               พระศาสดาประทับอยู่ ณ อุกกัฏฐธานี ตามพระสำราญ แล้วเสด็จไปกรุงเวสาลี ตรัสโคตมกสูตรที่โคตมกเจดีย์ ทั้งหมื่นโลกธาตุหวั่นไหวแล้ว ภิกษุเหล่านั้นฟังโคตมกสูตรนั้นแล้ว ได้บรรลุพระอรหัต.
               เมื่อจบมูลปริยายสูตร พระศาสดายังประทับอยู่ ณ อุกกัฏฐธานีนั่นเอง ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย น่าอัศจรรย์ พระพุทธานุภาพ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำให้ภิกษุเหล่านั้น เป็นพราหมณ์ออกบวช มัวเมาด้วยความทะนงตนอย่างนั้น หมดความทะนงตน ด้วยมูลปริยายเทศนา.
               พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนเราก็ได้ทำภิกษุเหล่านั้นผู้มีหัวรุนแรงด้วยความทะนงตน ให้หมดความทะนงตนแล้ว ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

               ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ครั้นเจริญวัยสำเร็จไตรเพท เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ สอนมนต์แก่มาณพ ๕๐๐. มาณพทั้ง ๕๐๐ นั้น ครั้นเรียนจบศิลปะ ผ่านการซักซ้อมสอบทานในศิลปะทั้งหลายแล้ว เกิดกระด้างด้วยความทะนงตนว่า พวกเรารู้เท่าใด แม้อาจารย์ก็รู้เท่านั้นเหมือนกัน ไม่มีความพิเศษกว่ากัน ไม่ไปสำนักอาจารย์ ไม่กระทำวัตรปฏิบัติ.
               ครั้นวันหนึ่ง เมื่ออาจารย์นั่งอยู่โคนต้นพุทรา พวกมาณพเหล่านั้นประสงค์จะดูหมิ่นอาจารย์ จึงเอาเล็บมือเคาะต้นพุทราพูดว่า ต้นไม้นี่ไม่มีแก่น. พระโพธิสัตว์ก็รู้ว่าดูหมิ่นตน จึงกล่าวกะอันเตวาสิกว่า เราจักถามปัญหาพวกท่านข้อหนึ่ง. มาณพเหล่านั้นต่างดีอกดีใจกล่าวว่า จงถามมาเถิด พวกผมจักแก้.
               อาจารย์ เมื่อจะถามปัญหา ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-
               กาลย่อมกินสัตว์ทั้งปวงกับทั้งตัวเองด้วย ก็ผู้ใดกินกาล ผู้นั้นเผาตัณหาที่เผาสัตว์ได้แล้ว.

               ในบทเหล่านั้น บทว่า กาโล ได้แก่ เวลาเป็นต้น เช่นเวลาก่อนอาหาร หลังอาหาร.
               บทว่า ภูตานิ นี้เป็นชื่อของสัตว์ กาลมิได้ถอนหนังและเนื้อเป็นต้นของสัตว์ไปกิน เป็นแต่ยังอายุวรรณและพละของสัตว์เหล่านั้นให้สิ้นไป ย่ำยีวัยหนุ่มสาว ทำความไม่มีโรคให้พินาศ เรียกว่ากินสัตว์ คือเคี้ยวกินสัตว์ ก็กาลที่กินสัตว์อยู่อย่างนี้ ไม่เว้นใครๆ ย่อมกินหมดทั้งนั้น.
               อนึ่ง มิได้กินแก่สัตว์ทั้งหลายเท่านั้น ย่อมกินแม้ตนเองด้วยกาล ก่อนอาหารย่อมไม่เหลืออยู่ในเวลาหลังอาหาร. ในเรื่องเวลาหลังอาหารเป็นต้น ก็นัยเดียวกัน. ที่ว่า สัตว์ผู้กินกาลนั้น หมายถึงพระขีณาสพ. จริงอยู่ พระขีณาสพนั้นเรียกว่าผู้กินกาล เพราะยังกาลปฏิสนธิต่อไปให้สิ้นด้วยอริยมรรค.
               บทว่า ส ภูตปจนึ ปจิ ความว่า พระขีณาสพนั้นเผา คือทำให้ไหม้เป็นเถ้าซึ่งตัณหาที่เผาสัตว์ในอบาย ด้วยไฟคือญาณ.

               พวกมาณพเหล่านั้นฟังปัญหานี้แล้ว ไม่มีผู้สามารถจะรู้ได้แม้คนเดียว. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะมาณพเหล่านั้นว่า พวกท่านอย่าได้เข้าใจว่า ปัญหานี้มีอยู่ในไตรเพท พวกท่านสำคัญว่าอาจารย์รู้สิ่งใด เราก็รู้สิ่งนั้นทั้งหมด จึงได้เปรียบเราเช่นกับด้วยต้นพุทรา พวกท่านมิได้รู้ว่า เรารู้สิ่งที่พวกท่านยังไม่รู้อีกมาก จงไปเถิด เราให้เวลา ๗ วัน จงช่วยกันคิดปัญหานี้ตามกาลกำหนด. มาณพเหล่านั้นไหว้พระโพธิสัตว์ แล้วกลับไปยังที่อยู่ของตน แม้คิดกันตลอด ๗ วัน ก็มิได้เห็นที่สุด มิได้เห็นเงื่อนงำแห่งปัญหา.

               ครั้นวันที่ ๗ จึงพากันมาหาอาจารย์ไหว้แล้วนั่งลง เมื่ออาจารย์ถามว่า พวกท่านมีหน้าตาเบิกบาน รู้ปัญหานี้หรือ กล่าวว่า ยังไม่รู้.
               พระโพธิสัตว์ เมื่อจะตำหนิมาณพเหล่านั้นอีก จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
               ศีรษะของนรชนปรากฏว่ามีมาก มีผมดำยาว ปกคลุมถึงคอ บรรดาคนทั้งหลายนี้จะหาคนที่มีปัญญาสักคนก็ไม่ได้.

               ความของคาถานั้นว่า ศีรษะคนปรากฏมีมากหลาย และศีรษะเหล่านั้นมีผมดกดำประถึงคอ เอามือจับดูไม่เหมือนผลตาล บุคคลเหล่านั้นไม่มีข้อแตกต่างกันด้วยธรรมเหล่านี้เลย. บทว่า กณฺณวา คือผู้มีปัญญา. ก็ช่องหูจะไม่มีแก่ใครๆ ก็หามิได้.

               พระโพธิสัตว์ติเตียนพวกมาณพเหล่านั้นว่า พวกท่านเป็นคนโง่ มีแต่ช่องหูเท่านั้น ไม่มีปัญญา ฉะนี้แล้วจึงแก้ปัญหา มาณพเหล่านั้นฟังแล้วกล่าวว่า ธรรมดาอาจารย์เป็นผู้ยิ่งใหญ่อย่างน่าอัศจรรย์ ขอขมาอาจารย์แล้ว ต่างก็หมดความทะนงตน ปรนนิบัติพระโพธิสัตว์ตามเดิม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว
ทรงประชุมชาดก.
มาณพทั้ง ๕๐๐ ในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุเหล่านี้

ส่วนอาจารย์ คือ เราตถาคต นี้แล.

จบ อรรถกถามูลปริยายชาดกที่ ๕   

           
.. อรรถกถา มูลปริยายชาดก ว่าด้วย กาลเวลากินสัตว์พร้อมทั้งตัวเอง จบ
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=340

84  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / ๘. อังคิกสูตร(สัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ) เมื่อ: 18 มกราคม 2556 14:30:35


                 

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

๘. อังคิกสูตร
             [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ เธอทั้งหลายจงฟัง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การ
เจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบ
ซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้ง
ตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน
หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริดแล้ว
พรมด้วยน้ำหมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณสีตัวซึ่งซึมไปจับติดทั่วทั้งหมด ย่อมไม่
กระจายออกฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน
ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติ
และสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมา
สมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐข้อที่ ๑

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใส
แห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร
สงบไป มีปีติและสุขที่เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม
ซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึก
ที่มีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก ด้านใต้ ด้านตะวันตก
ด้านเหนือ และฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว
จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศ
ไหนๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
นั่นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยปีติ และสุขอัน
เกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิด
แต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๒

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย
สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้
ชุ่มชื่น เอิบอิ่ม ซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกาย
ของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขอันปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนในกออุบล กอบัวหลวง หรือกอบัวขาว ดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือ
ดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยง
ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่น เอิบอาบ ซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเหง้า
ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งดอกอุบล ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วน
ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น
เอิบอิ่ม ซาบซ่าน ด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง
นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบ
ด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๓

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌานอันไม่มีสุข
ไม่มีทุกข์ เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
จะไม่ถูกต้อง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะ
ด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขา ที่ผ้าขาวจะไม่ถูก
ต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว
จะไม่ถูกต้อง
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์
๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๔

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมถือด้วยดี ทำไว้ใน
ใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิตด้วยปัญญา
เปรียบเหมือนคนอื่นพึงเห็นคนอื่น คนยืนพึงเห็นคนนั่ง หรือคนนั่งพึงเห็นคนนอน
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอย่อมถือด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ใคร่ครวญด้วยดี
แทงตลอดด้วยดี ซึ่งปัจจเวกขณนิมิตด้วยปัญญา
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นการ
เจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ข้อที่ ๕

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ
อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้ ภิกษุจะโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้ง
ด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งใดๆ เธอย่อมถึง
ความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่โดยแน่นอน
  เปรียบ
เหมือนหม้อน้ำตั้งอยู่บนที่รอง เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้
มีกำลัง พึงเอียงหม้อน้ำนั้นไปรอบๆ น้ำก็พึงกระฉอกออกมาได้หรือ ฯ
             ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า

             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอัน
ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
เธอโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งใดๆ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อ
เหตุมีอยู่ เปรียบเหมือนสระน้ำที่ภูมิภาคอันราบเรียบ กว้างสี่เหลี่ยม กั้นด้วยทำนบ
เต็มด้วยน้ำเสมอขอบปากพอที่กาจะดื่มได้ บุรุษผู้มีกำลังพึงเปิดทำนบสระนั้นทุกๆ
ด้าน น้ำก็พึงไหลออกมาได้หรือ

             ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า

             พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอันประ
กอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ เธอ
โน้มน้อมจิตไป เพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งใดๆ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อ
เหตุมีอยู่
เปรียบเหมือนรถม้าที่เทียมแล้วจอดอยู่ทางใหญ่ ๔ แยก มีพื้นราบเรียบ
มีประตักวางไว้ข้างบน คนฝึกม้าผู้ขยันชำนาญในการฝึกขึ้นขี่รถนั้นแล้ว ถือเชือกด้วย
มือซ้าย ถือประตักด้วยมือขวา พึงขับรถให้เดินหน้าบ้าง ให้ถอยหลังบ้าง ได้ตาม

ต้องการ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อสัมมาสมาธิอัน
ประกอบด้วยองค์ ๕ อันประเสริฐ ที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
เธอโน้มน้อมจิตไปเพื่อทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งธรรมที่จะพึงทำให้แจ้งด้วย
ปัญญาอันยิ่งใดๆ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุ
มีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังอยู่ว่า เราพึงแสดงฤทธิ์ได้หลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลาย
คนก็ได้ ฯลฯ พึงใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เธอย่อมถึงความเป็น
ผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงได้ยิน

เสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วย
ทิพยโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานใน
ธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงกำหนดรู้ใจของ
สัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตมีราคะ หรือ
จิตปราศจากราคะ ก็พึงรู้ว่าจิตปราศจากราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็พึง
รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ
ในเมื่อเหตุ

มีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติ
หนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เราพึงระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้ง
อาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยาน
ในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำ
ลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย
ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม

ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อ
เหตุมีอยู่
ถ้าเธอมุ่งหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อัน
หาอาสวะมิได้
เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้า
ถึงอยู่ เธอย่อมถึงความเป็นผู้ควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุมีอยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๘


:http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=528&Z=628

85  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / โศลกที่สิบสี่ "เล่นเกมกับจิต" :คัมภีร์สุวิญญมาลา เมื่อ: 17 มกราคม 2556 19:24:17




โศลกที่สิบสี่ "เล่นเกมกับจิต"

เก็บไปทีละจังหวะ เน้นทุกลมหายใจเข้าออก
อย่าได้มั่นใจ หลงใหล ได้ปลื้ม
วันนี้ทำได้ มีสติเท่าทัน
ก็อย่าหมายว่าจะรักษาอารมณ์นั้นได้อีก
อย่าได้มั่นใจเอาอะไรแน่นอนกับจิต
จิตจะซัดส่าย กวัดแกว่งหาที่เกาะเกี่ยว



หาอะไรไม่ได้ ก็เข้าไปยึดอดีตและอนาคต
นี่คือธาตุแท้ของจิต ไม่ใช่เรื่องแปลก
ดังนั้นต้องพร้อมเสมอ รู้เท่า รู้ทัน รู้กัน รู้แก้
ฉลาดในการเล่นเกมกับจิต
เกมแห่งการดูจิต เห็นจิต ทุกขณะจิต
จนกว่าจะถึงวันที่ไม่หวั่นไหวอีก


การที่จิตกวัดแกว่ง ซัดส่ายเข้าไปเกาะเกี่ยวอดีตบ้าง อนาคตบ้าง อารมณ์ที่ปรากฏเฉพาะหน้าบ้าง เป็นเรื่องปกติของจิต เนื่องจากจิตดำรงอยู่ได้ด้วยการอาศัยอารมณ์เหล่านี้นี่เอง อารมณ์เหล่านี้เป็นอาหารของจิต ผู้คนทานอาหารเข้าไปเพื่อใช้เป็นพลังงานให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ฉันใด จิตก็ต้องการอาหารเพื่อให้จิตดำรงอยู่ได้ฉันนั้นเหมือนกัน ชีวิตจะดำรงอยู่ได้ก็ด้วยการทานอาหารกายและอาหารใจ แต่จะมีใครบ้างสนใจอาหารใจ มีแต่สนใจอาหารกาย ไม่ว่าจะเป็นอาหารครบ ๕ หมู่ อาหารเสริม อาหารบำรุง อาหารอร่อยๆ ล้วนแล้วแต่เป็นอาหารทางกายทั้งสิ้น เนื่องจากไม่สนใจกับอาหารใจ ดังนั้นใจจึงทานอาหารสะเปะสะปะ ล้วนแล้วแต่เป็นอาหารพิษต่อชีวิต เป็นพิษต่อความว่าง แต่กลับบำรุงอัตตาทั้งนั้น

ถ้าหากดูแลอาหารใจให้มากกว่านี้ ความเข้าใจว่า เป็นเรา (เอตํ มม) เป็นของเรา (เอโสหมสฺมิ) เป็นตัวตนของเรา (เอโส เม อตฺตา) ก็คงไม่เจริญงอกงามอย่างนี้ พึงเข้าใจว่า อัตตาที่แท้นั้นไม่มี แต่เป็นเพราะการปล่อยจิตให้ทานอาหารโดยไม่เลือก ไม่ได้รับการดูแลนี่เองจึงทำให้อวิชชา ตัณหา และอุปาทานมีกำลังเข้าไปยึดขันธ์นี้เป็นอัตตา และมีกำลังแก่กล้าขึ้นไปเรื่อยๆ

อาหารแห่งอัตตาที่อร่อยมากก็คือ อดีตและอนาคต จิตเข้าไปทานอดีตและอนาคตหล่อเลี้ยงอัตตาให้อุดมสมบูรณ์ สารอาหารของอดีตและอนาคตก็คือ ตัณหา เมื่อจิตเสพสารอาหารคือตัณหา ผลที่ปรากฏก็คือ ความปั่นป่วน สับสน วุ่นวาย ห้ำหั่น เข่นฆ่า ทำร้าย ทำลายกันและกันของมนุษย์ทั้งหลายในโลกนี้ ช่องทางเสพอาหารทางกายนั้นมีปากเป็นทางเข้า หรือไม่ก็ใช้สายยางสอดเข้าไป แต่การทานอาหารทางจิตนั้นมีช่องทางถึง ๓ ช่อง บ่งบอกถึงจิตทานอาหารมากเหลือเกิน ทานทุกขณะจิต ทานทุกลมหายใจ


ช่องที่หนึ่ง ผัสสาหาร อาหารคือสัมผัส ได้แก่ อาหารที่เกิดจากการกระทบระหว่างอายตนะภายในและอายตนะภายนอก จุดกระทบเป็นจุดที่กำลังกิน กินทางตาเรียกว่า จักขวาหาร กินทางหู เรียก โสตาหาร กินทางจมูก เรียก ฆานาหาร กินทางลิ้น เรียกชิวหาหาร กินทางใจเรียกว่า มนาหาร การกระทบทำให้ชีวิตมนุษย์ดำเนินไป โดยมากจิตเสพผัสสาหารที่มีตัณหาเป็นสารอาหารล้วน
ช่องทางที่สอง มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือเจตจำนง ได้แก่ การปรุงแต่งของจิตที่เรียกว่า สังขาร จิตก็เสพเจตจำนงที่ประกอบด้วยตัณหาเข้าไป
ช่องทางที่สาม วิญญาณาหาร อาหารคือการรับรู้ ได้แก่ การรับรู้ที่ประกอบด้วยตัณหา จิตก็เสพการรับรู้ที่มีสารอาหารคือตัณหาเข้าไป

คนเราไม่สนใจอาหารใจที่เป็นพิษนี่เลย ปล่อยจิตเสพอาหารไปตามชอบใจ จนอัตตา (Ego) อ้วนพี ยับยั้งไม่อยู่ กล้าแกร่ง ใครไปแตะต้อง เพียงแค่ใช้สายตามองนิดเดียว อัตตาจะแผลงฤทธิ์ออกมาทันที พิษของอัตตาก็คือ โลกที่เต็มไปด้วยสารพิษทุกวันนี้ แต่มนุษย์ไม่สามารถเห็นได้ เพราะเป็นวิบากกรรมของมนุษย์ ดุจดังหนอนที่เกิดในของเน่าเหม็น บอกให้หนอนทราบอย่างไร ก็ไม่มีทางเข้าใจ รู้ได้เลย

                     

โศลกว่า “ฉลาดในการเล่นเกมกับจิต” หันกลับมาใส่ใจกับอาหารใจกันเถิด หันมาใส่ใจกับวิธีที่ใจทานอาหารเถิด ไม่ว่าจะเป็นอาหารและวิธีทานอาหารล้วนสำคัญมาก เกมที่จะไม่ให้จิตทานสารอาหารแห่งตัณหา ก็คือ เกมการอยู่กับปัจจุบัน ให้จิตทานปัจจุปันนาหาร สารอาหารที่อยู่ในปัจจุบันนี้มีผลต่อการทำลายพิษที่มีในจิต คือ ตัณหา มีผลทำให้อัตตาห่อเหี่ยว ทำให้อัตตาไร้พลัง ทำให้อัตตาสูญสลายไปในที่สุด นี่เป็นการดำรงอยู่ของพระอริยะ พระโยคาวจรพึงเลือกทานแต่ปัจจุปันนาหาร ไม่ทานอตีตาหารและอนาคตาหาร เกมอยู่ที่นี่ เป็นเกมการเลือกทานอาหาร ต้องเล่นเกมกับจิต หลอกล่อจิตให้ทานปัจจุปันนาหารให้ได้ เพื่อผลแห่งความบริสุทธิ์แห่งจิตเอง

ปัจจุบันขณะจึงเป็นกุญแจแห่งอิสรภาพ พูดง่ายแต่ทำยาก ผู้ที่ปฏิบัติกัมมัฏฐานจึงจะทราบว่า การดำรงตนอยู่ในอารมณ์ปัจจุบันนั้นยากอย่างไร จิตไม่คุ้นกับการอยู่ในปัจจุบัน จิตคุ้นกับการอยู่กับอดีตกับอนาคต เพราะในอดีตกับอนาคตนั้นมีที่ที่ให้จิตเล่นได้ เคลื่อนไหวได้อิสระ แต่ในปัจจุบันนั้นจิตไม่มีที่ให้เล่น ยิ่งไปกว่านั้นตัวมันเองทำท่าจะหายไปด้วย เพราะปัจจุบันนั้นเป็นเพียงขณะที่ไม่เหลือที่ให้จิตได้ดำรงอยู่ได้เลย


เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ก็เพราะอัตตานั้นถ่ายทอดความเป็นใหญ่ลงในความคิด อาศัยความคิดเป็นทางเดินอาหารหล่อเลี้ยง ความคิดนั่นแหละเป็นอดีตและเป็นอนาคตเรียบร้อยแล้ว มันจึงอาศัยช่องทางนี้เสพอาหาร เกมของเราก็คือ ทำอย่างไรจึงจะอยู่ในปัจจุบันขณะได้ ก็ต้องอาศัยสติเท่านั้นไม่มีทางอื่น สติเป็นท่อหล่อเลี้ยงปัจจุปันนาหาร เมื่อสติเกิดขึ้นเมื่อใด ปัญญาก็เกิดเมื่อนั้น ปัญญาเกิดเมื่อใดปัจจุบันขณะก็เกิดเมื่อนั้น ปัญญาเกิดเมื่อใด อนัตตาก็เกิดเมื่อนั้น อนัตตาปรากฏเมื่อใด อัตตาก็สลายไปเมื่อนั้น

เกมของเราจึงอยู่ที่ไม่ให้จิตได้คิด คนทั่วไปย่อมไม่เข้าใจว่า คนไม่คิดจะอยู่ได้หรือ เป็นไปได้หรือ เพราะธรรมชาติของจิตนั้นต้องคิด เกมของเราอยู่ที่ว่า ให้จิตอยู่ในปัจจุบันขณะ ไม่สนใจมันจะคิดหรือไม่คิด แต่เกมอยู่ที่ทำอย่างไรจะให้อยู่กับปัจจุบันเท่านี้พอ ขอเพียงแต่มีสติเห็นปัจจุบันขณะ นั่นแหละจึงจะได้คำตอบว่า จิตไม่คิดมีความหมายอย่างไร ขออย่าได้นำความหมายในศัพท์ว่าจิตมาอธิบายไว้ตรงนี้ เมื่อนั้นท่านจะพลาดโอกาสเล่นเกมทันที

ปัจจุบันมิใช่กาลเวลา แต่เป็นขณะที่ไร้กาล กาลเวลามีได้เฉพาะในอดีตและอนาคตเท่านั้น ปัจจุบันเป็นศูนยตา เป็นอนัตตา ไม่มีสภาวะแห่งสวลักษณะอยู่ภายใน ปัจจุบันมีแต่สภาวะที่เป็นจริง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากผัสสะ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการปรุงแต่ง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเข้าไปรับรู้ ผัสสะสักว่าผัสสะ เจตจำนงเป็นเพียงเจตจำนง รับรู้สักว่ารับรู้ ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงตรัสแก่พาหิยะว่า

             

ดูกรพาหิยะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเธอเห็น จักเป็นสักแต่ว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าแต่ฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักแต่ว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักแต่ว่ารู้แจ้ง...เมื่อนั้นเธอย่อมไม่มี ในกาลใด เมื่อเธอไม่มี ในกาลนั้นเธอย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์

มาพิจารณาพระพุทธดำรัสนี้จะเห็นว่า การไม่เข้าไปปรุงแต่ง ไม่ให้อาหารของอัตตา กินก็สักแต่ว่ากิน สัมผัสก็สักว่าสัมผัส เจตจำนงก็สักแต่เจตจำนง รับรู้สักว่าแต่รับรู้ เมื่อนั้นจิตก็ไม่อาจเสพสารอาหารตัณหาได้อีก ก็ไม่อาจได้ช่องเลี้ยงอัตตาได้อีก

โศลกว่า “เก็บไปทีละจังหวะ เน้นทุกลมหายใจเข้าออก” อย่าได้รีบเร่ง คาดคิด กังวล เมื่อใดที่เกิดความคิด เมื่อนั้นก็แพ้ในเกมทันที ความคิดเป็นอันตราย เพราะความคิดเป็นเหยื่อล่อของอัตตา เมื่อมีความคิดอดีตและอนาคตก็เกิด ความคิดที่อยากคืออนาคต อยากได้อยากเป็นเหมือนวันก่อน ก็เป็นอนาคต พลังแห่งฉันทะถ้าเกินเส้น ล้ำแดนไปเพียงนิดก็จะกลายเป็นตัณหา คือสารอาหารทันที


พยายามเน้นทีละจังหวะ ไม่มาก ไม่น้อย ไม่ก่อน ไม่หลัง มีแต่ลมหายใจเข้าออก ไม่คาดหวังผล ไม่ใส่ใจผลข้างเคียง มีแต่ลมหายใจ ถ้าหากพิจารณาเปรียบเทียบกับการจุดไฟแบบโบราณก็จะเข้าใจยิ่งกว่าเดิมว่า ให้เน้นทุกจังหวะ เน้นทุกขณะอย่างไร เมื่ออุปกรณ์มีพร้อม วิธีการถูกต้อง ให้เริ่มลงมือทันที ใช้ไม้สีกระบอกจุดไฟ สีจนกว่าจะเกิดความร้อน สีจนกว่าจะเกิดควัน สีจนกว่าจะเกิดประกายไฟ และสีจนกว่าไฟจะติดเชื้อที่อยู่ในกระบอก ความต่อเนื่องตรงนี้คือปัจจุบัน ไม่มีระหว่างให้เว้น ไม่มีเส้นคั่นอดีต อนาคต เป็นแต่ปัจจุบันคือการสีไฟเท่านั้น ไม่มีความคิดใดเข้าไปช่วยให้ร้อน ช่วยให้ควันเกิด ช่วยให้ไฟลุก นั่นแหละเกมการสีไฟทางจิตหละ

ปัจจุบันมิใช่เป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะทำให้เกิดขึ้นได้ เริ่มต้นด้วยวิธีการสังเกตตนเอง เมื่อใดที่เข้าไปตามรู้ความคิด เมื่อนั้นสติก็จะเกิดขึ้น ปัจจุบันมิใช่สิ่งทำให้เกิดขึ้น แต่เป็นขณะที่ดำรงอยู่ในความเป็นจริง เพียงแค่รู้สึกตัว ปัจจุบันก็ปรากฏ ปัจจุบันเป็นเหมือนศูนยตาที่เป็นความจริง แต่ที่ไม่เห็นศูนยตาหรืออนัตตา ก็เพราะไม่อาจอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง



โศลกว่า “อย่าได้มั่นใจเอาอะไรแน่นอนกับจิต” ตราบใดที่ไฟยังไม่ลุก ตราบใดที่ไฟแห่งปัญญายังไม่คงที่ ตราบใดที่สติยังไม่คงมั่น ตราบใดที่ยังไม่รู้แจ้งด้วยปัญญาญาณ ตราบนั้นก็อย่าได้มั่นใจกับจิตที่เราเล่นเกมไป เพราะจิตจะยินยอมเมื่อถูกสติแจ่มชัดในขณะนี้ แต่ในขณะอื่นไม่แน่ว่าจะเป็นเหมือนเดิม วันนี้ดูเหมือนสงบระงับ เหมือนกับว่าตนได้ลิ้มรสแห่งความสุขอันเกิดจากสงบนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า มื้อหน้าจะเป็นเหมือนเดิม เพราะฉะนั้นเกมกับจิตนี้เป็นเกมตลอดเวลา ไม่ใช่เกมในขณะเฉพาะขณะที่อยู่ในรูปแบบเท่านั้น จึงพบเห็นเสมอว่า ผู้ปฏิบัติธรรมหลายต่อหลายคนแพ้ต่อเกมดูจิต เกมทานอาหารปัจจุบัน ทั้งที่เคยเล่นชนะมาบ้างแล้วในบางครั้ง แต่นั่นเป็นการผ่อนปรนของอัตตาในบางขณะเท่านั้น

พระเถระผู้หนึ่งเข้าใจว่าตนนั้นเอาชนะอัตตาแล้ว เข้าใจว่า ตนดำรงอยู่ในปัจจุบันขณะแล้ว ตนเองบริสุทธิ์แล้ว เป็นผู้ชนะในเกมแล้ว แต่หารู้ไม่ว่า อัตตาได้ซ้อนมิติเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง ซ้อนเข้าไปให้หลงคิดและหลงยึดว่า ตนนั้นบรรลุแล้ว ตนนั้นเป็นอิสระแล้ว ตนนั้นได้ไม่ได้เสพอาหารแห่งตัณหาแล้ว อยู่มาวันหนึ่งมีสามเณรที่เป็นผู้หลุดพ้นแล้วอย่างแท้จริงทราบถึงการถูกอัตตาลวงพระเถระอยู่อย่างนั้น ครั้นจะบอกโดยตรงก็ไม่เป็นผลแน่ และยิ่งจะทำให้พระเถระนั้นอาจล่วงเกินทางความคิด เป็นจิตอกุศล ผูกพันกลายเป็นเวรกรรมต่อไป สามเณรจึงได้เล่นเกมซ้อนเกม เพื่อให้เผยอัตตาที่หลบอยู่ด้านหลังฉากให้ออกมาปรากฏต่อพระเถระให้ได้

                             

พอได้จังหวะและเวลา สามเณรจึงประลองฤทธิ์กับพระเถระ โดยพระเถระแปลงการเป็นกวาง สามเณรแปลงเป็นเก้ง พระเถระแปลงร่างเป็นนก สามเณรแปลงร่างเป็นกระรอก พระเถระแปลงร่างเป็นสิงห์โต สามเณรแปลงร่างเป็นงู พระเถระแปลงร่างเป็นช้าง สามเณรแปลงร่างเป็นเสือ ทันใดนั้นเสือได้ทำทีกระโจนเข้าหาช้าง ช้างตกใจร้องลั่นวิ่งกระเจิง สามเณรจึงเตือนสติว่า ก็เมื่อบรรลุแล้วยังจะตกใจกลัวตายอยู่หรือ เพียงเท่านั้นพระเถระจึงได้สติทันทีว่า ตนนั้นถูกอัตตาลวงเข้าให้ หลงผิดคิดว่าตนนั้นเป็นผู้บรรลุแล้ว



อย่าได้ประมาทดูเบาในการเล่นเกมกับจิต ในที่นี้ใช้คำว่าเล่นเกม
ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า การเล่นเกมนั้นมีความพิเศษในเกม
ที่มีกฎกติกา มีผลแพ้ชนะ มีลักษณะของกรอบของเกมที่ชัด แท้ที่จริงแล้ว
การเล่นเกมนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง
มีความสำคัญถึงขั้นเวียนว่ายตายเกิด และถึงขั้นหลุดพ้นจากสังสารวัฏ
เป็นเดิมพันเลยทีเดียว




นี่คือ โศลกที่สิบสี่แห่งคัมภีร์สุวิญญมาลา
เขียนโดย puzinnian ที่ 2 วันจันทร์, สิงหาคม 22, 2554
http://puzinnian.blogspot.com/2011/08/blog-post_22.html

http://gi250.photobucket.com/groups/gg243/3UHBG64LTO/namaste.gif

86  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / Re: บัญญัติ ปรมัตถ์ สมมติสัจจะ ปรมัตถสัจจะ (สุรศักดิ์ เขมรํงสี) เมื่อ: 16 มกราคม 2556 16:53:05


รัก รัก รัก


87  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: ด้วยจิตสำนึก ระลึกถึงพระคุณ คุณครู ทุกๆท่านค่ะ เมื่อ: 16 มกราคม 2556 15:25:30





น้อมรำลึกถึง พระคุณของคุณครู ทุกๆท่าน
โดยเฉพาะ พ่อแม่ ที่เป็น คุณครูคนแรก ของชีวิต
รวมถึงส่งใจไปยัง  คุณครูชายแดนใต้  ที่ทำหน้าที่อยู่
ขอบพระคุณ คุณครูดีๆ ทุกท่านค่ะ


รวบรวมข้อมูลนำมาแบ่งปัน โดย noway2know ...
- http://www.prachathon.org/forum/index.php?topic=204.msg578#msg578

88  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / ประวัติความเป็นมาของ....วันครู เมื่อ: 16 มกราคม 2556 14:56:52


วันครู       
ในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 16 มกราคมของทุกๆ ปี เป็น วันครู และการจัดงานวันครู ได้มีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 และให้ดำเนินเรื่อยมาทุกปี นับตั้งแต่บัดนั้นมา โดยจัดให้มี วันครู ขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ

ความหมายของครู
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความสำคัญของครู
          ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี

          ครู จึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆคน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง [/size]

ประวัติความเป็นมา
วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู

          ทุกปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุม สามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา

          พ.ศ.2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

          "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า วันครู ควร มีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"

          จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่าง ครูกับประชาชน

          คณะมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น วันครู โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็น วันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว

          งานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญ คือ หนังประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

บทสวดเคารพครู
ปาเจราจริยา โหนฺติ คุณุตฺตรานุสาสกา (วสันตดิลกฉันท์)
(สวดนำ) ปาเจราจริยา โหนติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา

ข้าขอประณตน้อมสักการ บุรพคณาจารย์ ผู้ก่อประโยชน์ศึกษา
ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์ ด้วยใจนิยมบูชา
ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน อยู่ในศีลธรรมอันดี
ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี แก่ชาติและประเทศไทย เทอญฯ
ปญญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ

(สวดทำนองสรภัญญะ)
          (สวดนำ) อนึ่งข้าคำนับน้อม (รับพร้อมกัน) ต่อพระครูผู้การุณย์
          โอบเอื้อและเจือจุน อนุศาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
          ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
          ชี้แจงและแบ่งปัน ขยายอรรถให้ชัดเจน

          จิตมากด้วยเมตตา และกรุณา บ เอียงเอน
          เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์ ให้ฉลาดและแหลมคม

          ขจัดเขลาบรรเทาโม หะจิตมืดที่งุนงม
          กังขา ณ อารมณ์ ก็สว่างกระจ่างใจ
          คุณส่วนนี้ควรนับ ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
          ควรนึกและตรึกใน จิตน้อมนิยมชม

          (กราบ)

การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันครู
          เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของครู ตลอดจนจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู และบทบาทหน้าที่ของศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครู คลอดจนการจัดกิจรรมได้เหมาะสม และมีประสิทธภาพ

กิจกรรมวันครู
          1. กิจกรรมทางศาสนา
          2. พิธีรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตนการกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
          3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น


        ปัจจุบัน การจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วย บุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับ ส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอ

          รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยคุรุสภา คณะกรรมการการจัดงาน วันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์จำนวน 1,000 รูป

          หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรีกล่าวนำพิธีสวด คำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

          จากนั้นประธานจัดงาน วันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบ 1 นาที เพื่อรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสในประจำการ ผู้นำร่วมประชุมกล่าวปฏิญาณ

คำปฏิญาณตนของครู

          ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
          ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
          ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

          จากนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคล แล้วต่อด้วยนายกรัฐมนตรี มอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอก และในประจำการ สุดท้ายกล่าวปราศรัยกับคณะครูที่มาประชุม
ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู  ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของ ชาติ  ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม

มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู

          1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
          2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
          3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้
          4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
          5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา

          6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อ มนุษย์ชาติ
          7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน
          8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
          9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา
          10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน

รายชื่อประเทศที่มีวันครู

ประเทศที่มี วันครู ที่ไม่ใช่วันหยุด

          - อินเดีย วันครูตรงกับวันที่ 5 กันยายน
          - มาเลเซีย วันครูตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม
          - ตุรกี วันครูตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายน

ประเทศที่มี วันครู เป็นวันหยุด
          - แอลเบเนีย วันครูตรงกับวันที่ 7 มีนาคม
          - จีน วันครูตรงกับวันที่ 10 กันยายน
          - สาธารณรัฐเช็ก วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
          - อิหร่าน วันครูตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม
          - ละตินอเมริกา วันครูตรงกับวันที่ 11 กันยายน
          - โปแลนด์ วันครูตรงกับวันที่ 14 ตุลาคม
          - รัสเซีย วันครูตรงกับวันที่ 5 ตุลาคม
          - สิงคโปร์ วันครูตรงกับวันที่ 1 กันยายน
          - สโลวีเนีย วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
          - เกาหลีใต้ วันครูตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม
          - ไต้หวัน วันครูตรงกับวันที่ 28 กันยายน
          - ไทย วันครูตรงกับวันที่ 16 มกราคม
          - สหรัฐอเมริกา วันอังคารในสัปดาห์แรกที่เต็ม 7 วันในเดือนพฤษภาคม
          - เวียดนาม วันครูตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน

<a href="http://www.baanpud.net/swfupload/upload/uploads/teacherday.swf" target="_blank">http://www.baanpud.net/swfupload/upload/uploads/teacherday.swf</a>

89  สุขใจในธรรม / ธรรมะจากพระอาจารย์ / Re: พระครูเกษมธรรมทัต หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรํสี - ตรงทางตรงธรรม เมื่อ: 16 มกราคม 2556 14:31:15



 ยิ้ม ยิ้ม ยิ้ม


90  สุขใจในธรรม / ห้อง วีดีโอ / อานาปานสติ ตอนที่๑-๒๕.(ขั้นที่ ๑-๑๖) :พุทธทาสภิกขุ เมื่อ: 16 มกราคม 2556 11:58:25


อานาปานสติ ตอนที่๑.(ขั้นที่ ๑-๓)



อานาปานสติ ตอนที่ ๒ (ขั้นที่ ๑-๓.)
อานาปานสติ ตอนที่ ๒ (ขั้นที่ ๑-๓.)


อานาปานสติ ตอนที่ ๓ (ขั้นที่ ๔).
อานาปานสติ ตอนที่ ๓ (ขั้นที่ ๔).

 Buddhadharm เผยแพร่เมื่อ 31 ส.ค. 2012 -  1 ก.ย. 2012
บันทึกเสียงธรรมบรรยายในรูปแบบการอบรม สัมนา อภิปราย และ สาธิตประกอบ
เรื่อง อานาปานสติ โดยท่านพุทธทาสภิกขุ
ธรรมบรรยายประจำวันเสาร์ สวนโมกขพลาราม
ตั้งแต่วันที่ ๓ กรกฎาคม - ๒๕ กันยายน ๒๕๑๔ รวม 12 ครั้ง

เสียงธรรมบรรยาย โดย :ท่านพุทธทาสภิกขุ
อานาปานสติ  ตอนที่ ๔. - ๒๕.  (ขั้นที่ ๕ - ๑๖)

คลิ๊กค่ะ: http://www.youtube.com/playlist?list=PL434ABA3A3B8D7E8E

91  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ห้องสมุด / Re: จิตรกรรมไตรภูมิ สมัยร.9 คู่มือชีวิตสู่สุคติภูมิ เมื่อ: 06 มกราคม 2556 11:06:02


จิตรกรรมไตรภูมิ สมัยร.9 คู่มือชีวิตสู่สุคติภูมิ












ปีนี้ได้รับของขวัญปีใหม่จาก กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นสมุดภาพพลิกและสมุดบันทึก จิตรกรรมไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 มีภาพเหล่าเทวดา นางฟ้ามากมาย พร้อมจิตรกรรมไทยอันงามวิจิตร นับเป็นของที่มีคุณค่ามาก

เมื่อกล่าวถึงไตรภูมิ เด็กรุ่นใหม่อาจจะไม่คุ้นหู หรือไม่ค่อยรู้จักกัน จึงขอหยิบยกเรื่องนี้มาคุย เผื่อเด็กรุ่นใหม่จะอยากไปศึกษาไตรภูมิกันบ้าง

ไตรภูมิหรือไตรภูมิกถา เป็นวรรณคดีชิ้นเยี่ยมทางพระพุทธศาสนา ที่พระยาลิไท กษัตริย์พระองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์พระร่วงอาณาจักรสุโขทัย ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อพุทธศักราช 1888 โดยมีพระราชประสงค์ เพื่อเป็นธรรมทานกับบุคคลทั้งหลาย ให้รู้ถึงปรัชญาในการดำรงชีวิตตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยเน้นให้รู้จักกรรมที่แต่ละบุคคลกระทำ ซึ่งจะมีผลไปในทิศทางที่แตกต่างกัน 3 ประการ คือ ความสุข ความทุกข์ และความหลุดพ้นจากกิเลส

เรามาดูความหมายของไตรภูมิกันบ้าง คำว่า ไตรภูมิ มาจากภาษาบาลีว่า เตภูมิ แปลว่า ภูมิ 3 คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ซึ่งภูมิ แปลว่า ชั้น หรือพื้นเพแห่งจิต หมายถึงที่อยู่อาศัยของสัตว์โลกทั้งปวง ลองมาแยกดูแต่ละภูมิกัน เริ่มที่ กามภูมิ เป็นที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคกาม ที่ยังคงมีความรัก โลภ โกรธ หลง เดือดร้อนวุ่นวาย ยังแบ่งเป็น ทุคคติภูมิหรืออบายภูมิ 4 คือ เปรต อสุรกาย เดรัจฉาน และนรก สุคติภูมิ คือ มนุษย์ สวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวดี หรือเวลาคนเราตายไป เราก็จะชอบพูดกันว่า ขอให้ไปสู่สุคติภูมิ คือ ภพภูมิที่ดีนั่นเอง

ภูมิที่ 2 รูปภูมิ เป็นที่อยู่ของผู้ได้รูปฌาน มี 16 ชั้น คือ พรหมณ์  ปาริสัชชา พรหมปโรหิตา มหาพรหมา ปริตรตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา เวหัปผลา อสัญญีสัตตา อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา หรือเรียกว่า พรหมโลกภูมิที่ 3 อรูปภูมิ เป็นที่อยู่ของผู้ได้อรูปฌาน มี 4 ชั้น คือ ชั้นอากาสานัญจยตนะ  วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ซึ่งสัตว์โลกย่อมเวียนว่ายตายเกิดจากอำนาจของกรรมหมุนเวียนไปในภูมิเหล่านี้ไปจนกว่าจะบรรลุพระอรหันต์ตัดกิเลสได้ จึงข้ามพ้นวัฏสงสารเหล่านี้ไปได้

พอได้ความรู้เกี่ยวกับไตรภูมิกันไปบ้าง ทีนี้เรามาดูว่า จิตรกรรมไตรภูมิสมัยรัชกาลที่ 9 มีที่มาอย่างไรและมีความสำคัญเช่นไร ม.ร.ว.จักรรถ จิตรพงศ์ อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ในฐานะผู้อำนวยการโครงการสร้างสรรค์ภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 ได้เล่าให้ฟังว่า  การวาดจิตรกรรมภาพไตรภูมิ สมัยรัชกาลที่ 9 นี้  วธ.ดำเนินโครงการที่สำนักช่างสิบหมู่ จ.นครปฐม เพื่อนำมาใช้เป็นภาพประกอบหนังสือไตรภูมิกถา ฉบับรัชกาลที่ 9 ขณะนี้การดำเนินงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยได้คัดลอกมาจากหนังสือไตรภูมิกถา หรือเป็นที่รู้จักในนามไตรภูมิพระร่วง บทพระราชนิพนธ์ของพญาลิไท กษัตริย์สมัยสุโขทัย เป็นเรื่องเกี่ยวกับบาปบุญคุณโทษ ศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม ตลอดจนเป็นสิ่งจรรโลงสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข นับเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกด้านพุทธศาสนาเรื่องแรกของไทย และยังคงรักษาอยู่มาถึงปัจจุบัน

“สมัยก่อนมีการคัดลอกเผยแพร่ด้วยการวาด ต่อมาเมื่อมีแท่นพิมพ์จะเน้นพิมพ์ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ การคัดลอกด้วยมือ ด้วยการวาดจึงลดลงเกือบจะไม่มีเลย ผมจึงเกิดความเสียดายว่าประเพณีการคัดลอกหนังสือไตรภูมิ ประกอบกับช่างในสมัยรัชกาลที่ 9 ยังไม่เคยมีใครเป็นผู้จัดการอุปถัมภ์ให้เกิดขึ้นเลย ผมจึงได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 และเปิดโอกาสให้ศิลปินชั้นนำยุคนี้เขียนภาพไตรภูมิ อาทิ อ.ปรีชา เถาทอง ศิลปินแห่งชาติ อ.ปัญญา วิจินธนสาร พร้อมลูกศิษย์อีกร่วม 20 ชีวิต ช่วยกันเขียนในภาพเดียวกัน และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงตรวจเยี่ยมพร้อมทั้งทรงเขียนภาพปิดในไตรภูมิพระร่วง เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2555 ณ สำนักช่างสิบหมู่ ศาลายา จ.นครปฐม ถือเป็นอันเสร็จสมบูรณ์” ม.ร.ว. จักรรถ กล่าว

สำหรับรูปแบบการวาดจิตรกรรมนี้ ม.ร.ว.จักรรถ บอกว่า ใช้ต้นแบบศิลปะจากภาพประกอบพระราชนิพนธ์ เรื่องพระมหาชนก ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ชั้นพรหม เขียนภาพแนวไทยประเพณี ในลักษณะอุดมคติเชิงสัญลักษณ์เหมือนภาพความฝัน ชั้นกามภูมิ เขียนตามแนวของสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ชั้นนรกภูมิ เขียนภาพลักษณะอุดมคติสร้างสรรค์เหมือนจริงแบบไทยสากล และชั้นมนุษยภูมิ เขียนภาพในลักษณะเหมือนจริงสมัยใหม่ สะท้อนชีวิตสังคมไทยปัจจุบันทั้งภาพคนดี คนชั่ว ปัญหาสังคม และภาพงานพระเมรุมาศสมัยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ร่วมสมัยไว้ด้วย

ที่หยิบเรื่องราวของไตรภูมิมาคุย ไม่เพียงอยากจะกระตุ้นให้เด็กรุ่นใหม่หันมาสนใจวรรณคดีทางพระพุทธศานาเล่มสำคัญกันแล้ว ยังอยากจะย้ำเตือนให้ทุกผู้ทุกนาม ระลึกถึงการทำความดีต่าง ๆ เมื่อเราละชีวิตไปจากโลกนี้แล้ว เราจะได้ไปสู่สุคติภูมิ ได้ไม่ลงไปสู่อบายภูมิ ให้เป็นเครื่องเตือนใจในการทำความดี ละเว้นความชั่วต่อการใช้ชีวิตตลอดปี 2556 และในวันข้างหน้าที่เราไม่รู้ว่า ความตายจะมาเยือนเมื่อใด.

มนตรี ประทุม *http://www.dailynews.co.th/education/175924
: http://www.tairomdham.net/index.php/topic,8300.0.html

92  นั่งเล่นหลังสวน / หน้าเวที (มุมฟังเพลง) / รวมเพลงปีใหม่ เมื่อ: 03 มกราคม 2556 10:15:05




93  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / Re: ۞ ๚ เถรีคาถา ๚ะ๛ ۞ เมื่อ: 01 มกราคม 2556 18:18:29


                  http://file.siam2web.com/template/createthumbnail-1.asp?width=300&path=vichu/webboard/2012515_24182.jpg


   ธีราเถรีคาถา
   พระพุทธโอวาทสอนนางธีราเถรี
                [๔๐๗]       ดูกรนางธีรา เธอจงถูกต้องนิโรธอันเป็นที่สงบระงับสัญญาเป็นสุข เธอ
                             จงทำนิพพานอันยอดเยี่ยมปลอดโปร่งจากโยคะให้สำเร็จเถิด.


   อัญญตราธีราเถรีคาถา
   พระพุทธโอวาทสอนนางธีราเถรี
                [๔๐๘]       นางธีราภิกษุณีผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว ด้วยธรรมทั้งหลายอันเป็นเครื่อง
                             ทรง เธอจงชนะมารพร้อมด้วยพาหนะแล้วทรงไว้ซึ่งกายอันมีในที่สุดเถิด.


   มิตตาเถรีคาถา
   พระพุทธโอวาทสอนนางมิตตาเถรี
                [๔๐๙]        ดูกรนางมิตตา เธอบวชแล้วด้วยศรัทธา จงเป็นผู้ยินดีแล้วในกัลยาณมิตร
                             จงอบรมกุศลทั้งหลายให้เจริญ เพื่อบรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจาก
                             โยคะ.

   ภัทราเถรีคาถา
   พระพุทธโอวาทสอนนางภัทราเถรี
                [๔๑๐]        ดูกรนางภัทรา เธอบวชแล้วด้วยศรัทธา จงเป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมอัน
                             เจริญ จงอบรมกุศลทั้งหลายให้เจริญ เพื่อบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ
                             อย่างยอดเยี่ยม.


   อุปสมาเถรีคาถา
   พระพุทธโอวาทสอนนางอุปสมาเถรี
                [๔๑๑]        ดูกรนางอุปสมา เธอจงข้ามโอฆะอันเป็นบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก เธอ
                             จงชนะมารพร้อมด้วยพาหนะ ทรงไว้ซึ่งกาย
อันมีในที่สุด.


94  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / ۞ ๚ เถรีคาถา ๚ะ๛ ۞ เมื่อ: 01 มกราคม 2556 18:14:38





۞ เถรีคาถา ๚ะ๛  ۞




ภิกษุณีเถรีรูปหนึ่งผู้ไม่ปรากฏชื่อ
          ได้ภาษิตคาถา
                [๔๐๒] ได้ยินว่าภิกษุณีเถรีรูปหนึ่งผู้ไม่ปรากฏชื่อ ได้ภาษิตคาถาไว้อย่างนี้ว่า
                             ดูกรพระเถรี ท่านจงทำไตรจีวรด้วยท่อนผ้า แล้วนุ่งห่มให้สบายเถิด
                             เพราะว่าราคะของท่านสงบระงับแล้ว ดุจน้ำผักดองอันแห้งในหม้อ
                             ฉะนั้น.

   มุตตาเถรีคาถา
   พระพุทธโอวาทสอนนางมุตตาเถรี
                [๔๐๓] ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาค ทรงกล่าวสอนนางมุตตาสิกขมานาเนืองๆ ด้วยพระคาถา
                นี้ อย่างนี้ว่า
                             ดูกรนางมุตตา เธอจงเปลื้องจิตจากกิเลสเครื่องประกอบทั้งหลาย ดุจ
                             พระจันทร์ถูกราหูจับแล้วพ้นจากเครื่องเศร้าหมอง ฉะนั้น เธอมีจิตหลุด
                             พ้นแล้ว จงไม่มีหนี้บริโภคก้อนข้าวเถิด.


   ปุณณาเถรีคาถา
   พระพุทธโอวาทสอนนางปุณณาเถรี
                [๔๐๔]       ดูกรนางปุณณา เธอจงบริบูรณ์ด้วยธรรมทั้งหลาย เหมือนพระจันทร์
                             ในวันเพ็ญ ฉะนั้น เธอจงทำลายกองแห่งความมืดด้วยปัญญาอันบริบูรณ์
                             เถิด.


   ดิสสาเถรี
   พระพุทธโอวาทสอนนางดิสสาเถรี
                [๔๐๕]       ดูกรนางดิสสา เธอจงศึกษาในไตรสิกขา กิเลสเครื่องประกอบทั้งหลาย
                             อย่าครอบงำเธอเลย เธอจงเป็นผู้ไม่เกาะเกี่ยวด้วยโยคะทั้งปวง ไม่มี
                             อาสวะ
เที่ยวไปในโลกเถิด.


   อัญญตราดิสสาเถรีคาถา
   พระพุทธโอวาทสอนนางดิสสาเถรี
                [๔๐๖]        ดูกรนางดิสสา เธอจงประกอบด้วยธรรมทั้งหลาย ขณะอย่าได้ก้าวล่วง
                             เธอไปเสีย
เพราะว่าชนทั้งหลายผู้มีขณะอันก้าวล่วงแล้ว ย่อมพากันไป
                             ยัดเยียดในนรกเศร้าโศกอยู่.



95  สุขใจในธรรม / ธรรมะทั่วไป ธารธรรม - ธรรมทาน / ว่าด้วยตื่นจากความหลับ,สภาพธรรมของฤกษ์ดีเวลาดี เมื่อ: 01 มกราคม 2556 16:07:28




พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม 1 ภาค 6 - หน้าที่ 285
อุฏฐานสูตรที่ ๑๐

ว่าด้วยตื่นจากความหลับ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า
[๓๒๗] เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงนั่งเถิด
เธอทั้งหลายจะได้ประโยชน์อะไร ด้วยความหลับ
เพราะความหลับจะเป็น ประโยชน์อะไรแก่เธอทั้งหลาย ผู้เร่าร้อน
เพราะโรค คือ กิเลสมีประการต่าง ๆ ถูก ลูกศร คือ ราคะเป็นต้นแทงแล้ว
ย่อยยับอยู่ เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงนั่งเถิด จง หมั่นศึกษาเพื่อสันติเถิด.
มัจจุราชอย่ารู้ว่าเธอทั้งหลายประมาท แล้ว อย่ายังเธอทั้งหลาย
ผู้ตกอยู่ในอำนาจ ให้ลุ่มหลงเลย เธอทั้งหลายจงข้ามตัณหา

อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ เทวดาและมนุษย์
ผู้มีความต้องการอาศัยรูป เป็นต้น ดำรงอยู่. ขณะอย่าได้ล่วงเธอทั้งหลายไปเสีย
เพราะว่าผู้ล่วงขณะเสียแล้ว เป็นผู้ยัดเยียด กันในนรก เศร้าโศกอยู่.
ความประมาทเป็นดุจธุลี ตกต้อง แล้วเพราะความมัวเมาในปฐมวัย
นอกนี้ ความประมาทเป็นดุจธุลี ตกต้องแล้วเพราะ ความมัวเมาในวัย
เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้ เป็นบัณฑิต พึงถอนลูกศร คือ กิเลสมีราคะ เป็นต้น
ของตนเสีย ด้วยความไม่ประมาท และด้วยวิชชา.


ฤกษ์ดีเวลาดี อย่างไรจึงเป็นเวลาดี สภาพธรรมอะไรคือเวลา ถ้าไม่มี สิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้นเลย (จิต เจตสิก รูป) จะมีเวลาไหม มีเพราะคิดเท่านั้น ถ้าไม่ มีจิต เจตสิก รูป ก็ไม่มีอะไรที่จะคิดสมมติขึ้นว่าเป็นเวลา เป็นดวงดาว เป็นภูเขา ถ้า ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกิดขึ้น โลกก็ไม่มี เวลาไม่มี คน สัตว์ไม่มี ความเห็นของชาวโลก ขณะที่เห็น ได้ยินเหมือนได้อะไรดี ๆ ทั้งวัน

แต่ความจริงแล้วได้ขยะสะสมไว้ทุกวัน ๆ ถ้าไม่ได้ฟังพระธรรม แค่เห็นแต่ละครั้ง ได้ยินแต่ละครั้งอกุศลก็เกิดแล้วมากมาย ไม่ เคยรู้เลย มีเพียงพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นให้เข้าใจ ว่าแต่ละขณะในชีวิตนั้นเต็มไปด้วยอกุศล เห็นโทษของอกุศลที่พอกพูนมากขึ้นอยู่ เกือบทุกขณะ
ทุกวัน ทุกเดือน ทุกชาติ แท้จริงแล้วขณะที่ทำความดีเป็นฤกษ์ดี ขณะใดกาย วาจา ใจดี ขณะนั้นเป็นเวลาดี ไม่ใช่เวลาเป็นเครื่องกำหนด แต่ขณะที่ กุศลจิตเกิด ขณะนั้นเป็นเวลาดี ฤกษ์ดี ทุกอย่างสำคัญที่จิต ถ้าไม่มีจิต

อะไร ๆ ก็ไม่ เกิด ขณะที่จิตเกิดขึ้นดีขณะนั้นตื่นจากความหลับ เป็นเวลาที่ดี
จะเห็นได้ว่าใน แต่ละวันที่ผ่านพ้นไป จิตที่เกิดขึ้นเป็นอกุศลนั้นมีมากกว่าจิตที่เป็นกุศลตามการสะสม แต่เมื่อได้ทรงแสดงพระธรรมโดยละเอียดให้เห็นว่า ขณะที่ดีก็คือขณะของความดี ซึ่ง แต่ละขณะของความดี จะเกิดขึ้นได้ก็จากความเข้าใจพระธรรม สะสมความดีเพิ่มขึ้น หากไม่ได้ฟังพระธรรมก็จะไม่มีทางรู้เลยว่า แต่ละขณะเป็นธรรม แต่ละอย่างที่เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ไม่มีเราที่จะไปทำความดี แต่ความดีนั้นเกิดจากการอบรมให้มีขึ้น อบรมให้กุศลต่างๆ เจริญขึ้นตามลำดับขั้นได้ด้วยความเข้าใจธรรม จนกว่ากุศลขั้นสูง สุดคือ อรหัตตมรรค เกิดขึ้นดับกิเลสหมดสิ้น เมื่อนั้นแต่ละขณะที่เกิดขึ้นไม่ว่า เช้า กลางวัน กลางคืน ก็เป็นวันดี คืนดี แต่กว่าจะถึงขณะนั้นได้ก็ต้องมีขณะนี้ที่ค่อย ๆ สะสมความดีเพิ่มขึ้น ขณะที่ดีก็เป็นเวลาดี เป็นฤกษ์ที่ดี

มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่อภิธรรม


*http://p o w e r life.fx.gs/index.php?topic=1834.msg4173#new


               

07993 เราอยู่ในโลกของ "ความคิด" ๑-๒

01025 จิตที่เกิดแล้วดับไป มีกำลังหรือไม่ (dhammahome)

ความสงัด ปวิเวกกถา


คลิ๊กเพื่ออ่านต่อค่ะ : http://www.tairomdham.net/index.php/topic,6357.msg32434/topicseen.html#msg32434

96  สุขใจในธรรม / ห้อง วีดีโอ / ธรรมพรปีใหม่ ๒๕๕๖ เมื่อ: 01 มกราคม 2556 11:59:14


ธรรมพรปีใหม่

Buddhadasa Archives เผยแพร่เมื่อ 31 ธ.ค. 2012
ธรรมพรปีใหม่ ๒๕๕๖ จาก พระพรหมคุณาภรณ์,
พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก, พระอาจารย์อนิลมาน ธมฺมสากิโย,
พระอาจารย์ชยสาโร, พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล,
ท่าน ว. วชิรเมธี และ นายแพทย์ ประเวศ วะสี
Buddhadasa Archives

97  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ ใต้เงาไม้ / Re: สวัสดีปีใหม่ เมื่อ: 01 มกราคม 2556 07:30:17




 ยิ้ม  ยิ้ม  ยิ้ม


98  สุขใจในธรรม / ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก / รัก...เกิดจากอะไร เมื่อ: 29 ธันวาคม 2555 07:06:15




รัก...เกิดจากอะไร

รักที่เกิดจากการสบตาครั้งแรก
    เป็นรักที่ลึกลับที่สุด และอาจทำให้มนุษย์เจ้าเหตุผลหลายคน
จำต้องคิดถึงสิ่งไร้เหตุผลต้นปลาย
หรือไม่ก็จำนนให้กับความเชื่อเรื่อง ‘ต้นเหตุที่ถูกลืม’ เช่นอดีตชาติ

    เพราะความรักชนิดนี้อาจพาไปสู่การร่วมอยู่กินตลอดชีวิต
เพียงด้วยความรู้สึกตั้งแต่แรกพบว่า ‘คนนี้คู่เรา’
และพบในนาทีสุดท้ายยามตายจากกันว่า ‘อย่างนี้ก็มีจริง’
น้ำตาอาลัยและความมั่นใจว่าจะได้พบกันอีก
คือบทสรุปที่ทำให้รักลึกลับชนิดนี้เป็นที่กระจ่างขึ้น

รักที่เกิดจากการเกื้อกูลกันและกัน
   เป็นรักที่เริ่มจากความปรองดอง มีความรู้สึกแสนดี อบอุ่น
และสุขสบายภายในรัศมีสายตาของอีกฝ่าย
อย่างรู้ว่าจะไม่ทอดทิ้งกัน มีความเสมอกัน

รักชนิดนี้เป็นสิ่งมีที่มาที่ไป
   และชวนให้เห็นว่าความรักหาใช่สิ่งมหัศจรรย์เกินความเข้าใจ
ปัญหาก็คือชั่วชีวิตคนๆหนึ่ง
อาจไม่พบใครที่เต็มใจให้ความร่วมมือเกื้อกูลกันมากพอเลยสักครั้งเดียว



รักที่เกิดจากความใกล้ชิด
    เป็นรักที่อาศัยการอยู่ด้วยกันบ่อยๆ
ใกล้กระแสกายกระแสใจของอีกฝ่ายแล้วไม่รู้สึกขัดแย้ง ไม่เกิดความรังเกียจ
หญิงชายที่เข้าข่ายดังกล่าว
จะพบว่าเพียงใกล้กายธรรมชาติระหว่างเพศก็ทำงานแล้ว
ดึงดูดให้อยากประกบติดกันได้แล้ว

    รักชนิดนี้อาจดูเป็นจริงเป็นจังและมีตัวตนจับต้องได้
ต่อเมื่อลองพยายามจับต้องให้มั่นมือ
จึงรู้ว่าจริงหรือเก๊ แข็งหรือเหลว คงทนหรือละลายเร็วกันแน่

รักที่เกิดจากการคุยถูกคอ
   เป็นรักที่นับว่ามีพื้นฐานดีระดับหนึ่ง
เพราะการคุยกันถูกคอมักหมายถึงการพูดกันรู้เรื่อง
รวมทั้งมีเรื่องที่สื่อสารแลกเปลี่ยนกันได้
แต่การพูดคุยมิใช่ทั้งหมดของการอยู่ร่วมกัน
หากความแตกต่างด้านอื่นชวนให้ไม่สนุก
เกิดความสนุกจากการคุยอย่างเดียว
ในระยะยาวจะคุยแล้วสนุกน้อยลงเรื่อยๆ
หรือกระทั่งยิ่งคุยยิ่งเป็นทุกข์ อยากเมินหนีออกไปทุกที

รักที่เกิดจากการคุยแบบไม่เคยเจอตัว
   เป็นรักที่มีเสน่ห์วาบหวาม เพราะอาจไม่ต้องยืนพื้นอยู่บน ‘โลกความจริง’ ใดๆ
อาศัยเพียงจินตนาการอันเกิดจากลีลาเจรจาท่าเดียวพอ
ปัจจุบันอินเตอร์เน็ตกลายเป็น ‘อีกโลกความจริงหนึ่ง’
ที่รักชนิดนี้เกิดขึ้นที่โน่นที่นี่
และอาจพังลงด้วยความหนาวเย็น
เพียงเมื่อปรากฏ ‘ที่สุดของความจริง’ ยามเจอตัวกัน
น้อยนักที่ความจริงกับเรื่องเหนือจริงในจินตนาการ จะประจบกันได้สนิท



รักที่เกิดจากความเห็นใจ
   เป็นรักที่น่าสับสน
เพราะคนเรามักแยกไม่ออกว่า
‘ความรัก’ กับความ ‘สงสารมาก’ ต่างกันตรงไหน

    คนบางคนสมควรได้รับการสงสาร
ไม่ใช่เพราะเรียกร้องความสงสาร
แต่เพราะเหมือนเป็นคนดีตกยาก
เหมือนลูกหมาลูกแมวน่ารักที่ตุหรัดตุเหร่หาคนเลี้ยงดู

    เมื่อตรงมาทางเราแล้วปฏิเสธ
ก็เหมือนใจไม้ไส้ระกำจนชวนให้รู้สึกผิดรุนแรง ไม่อาจทนดูดาย
รักที่มีแต่ความสงสารและเห็นใจอย่างเดียว
อาจจบลงด้วยโศกนาฏกรรมในทางใดทางหนึ่ง
ไม่ทางกายก็ทางจิตวิญญาณ

    เพราะในระยะยาวมนุษย์ทุกคนต้องเห็นใจตัวเองก่อนคนอื่น
ไม่อาจทนเสียสละให้กับความน่าสงสารของคนอื่น
แล้วปล่อยให้ทั้งชีวิตของตนเต็มไปด้วยความน่าสงสารนานัปการไหว

รักที่เกิดจากความคิดอยากตอบแทน
    เป็นรักที่มาพร้อมกับความรู้สึกถูกรู้สึกผิด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากตระหนักว่าทางเดียวที่จะตอบแทน
คือการมอบความรักความพิศวาสใหักับผู้ทรงพระคุณซึ่งมาสนใจตน



    ภาคหนึ่งของความรู้สึกจะถูกต้อง
ในขณะที่อีกภาคจะบาดใจและเต็มไปด้วยความ ‘ผิดปกติ’
รักชนิดนี้เหมือนการหลอกตัวเอง หลอกคนอื่น
กระทั่งนานถึงจุดหนึ่งจะรู้ซึ้งว่ารักหลอกเป็นอย่างไร ทรมานใจได้แค่ไหน

รักที่เกิดจากการได้รับความเอาใจใส่ยิ่งยวด
   เป็นรักที่อีกฝ่ายยอมตนเป็นข้าทาส ปล่อยให้ตนเอาแต่ใจได้ทุกอย่าง
รักชนิดนี้เป็นอารมณ์ใจอ่อนและไม่มีตัวเลือกอื่นที่ดีกว่า
หรือรู้สึกผิดเกินกว่าจะหลอกใช้โดยไม่ให้อะไรตอบแทน
ก้ำกึ่งอยู่ในระหว่างการเห็นค่า
กับการไม่เห็นว่าอีกฝ่ายอยู่ในสายตาแม้แต่นิดเดียว
รู้เพียงถ้ามีอีกฝ่ายอยู่ ตนจะได้ทุกสิ่งราวเจ้าชายหรือเจ้าหญิง
แต่ก็พร้อมจะเย็นชาหรือเมินหน้าหนีเสมอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพบตัวเลือกอื่นที่คุณสมบัติพร้อมกว่ากัน

รักที่เกิดจากความหลงรูปสมบัติภายนอก
    เป็นรักที่ปล่อยให้อิทธิพลของรูปร่างหน้าตา น้ำเสียง
หรือลักษณะทางกายภาพอื่นๆเข้าครอบงำ
รักชนิดนี้ไม่มีหลักค้ำ ไม่มีฐานยืน เลื่อนลอย
และต้องออกแรงจนเลือดตาแทบกระเด็น
เพื่อหาเหตุผลสนับสนุนว่าเป็นรักที่สมควรแล้ว
ซึ่งเพียงไม่กี่วันก็อาจพบว่ามันไร้เหตุผลสิ้นดี กับการรักษาความรักไว้เพื่อความเหนื่อยเปล่า



รักที่เกิดจากการหลงภาพลวงตา
   เป็นรักที่ยืนอยู่บนมายา
ฝ่ายหนึ่งอาจหวังผล
จึงสร้างนิสัยน่ารักน่าใคร่ขึ้นมาล่อตาล่อใจให้หลงติด
รักชนิดนี้อาจเรียกแรงทะยานได้ขนาดถูกฉุดให้หัวปักหัวปำ
ยิ่งถลำลึกลงไปในกับดักหรือเหยื่อล่อมากขึ้นเพียงใด
หูตาก็ยิ่งมืดมัว เห็นผิดเป็นชอบ
เห็นกงจักรเป็นดอกบัวมากขึ้นเท่านั้น

    รู้ทั้งรู้อยู่ในส่วนลึกว่าถูกหลอกใช้
แต่ความคิดก็ถูกดึงให้ปักใจศรัทธาในเรื่องหลอก
ขอให้ได้บอกตัวเองว่าอีกฝ่ายรักตน แคร์ตนเท่านั้นพอ
จะยอมบุกน้ำลุยไฟหรือกระทั่งตกนรกทั้งเป็นก็ยังไหว

รักที่เกิดจากความเกลียด
    เป็นรักที่ซับซ้อน อาจเริ่มมาจากความเหนื่อยล้า
เคยแค้นมาก จ้องจับผิดมาก ด่ามาก
กระทั่งใจผูกอยู่กับอีกฝ่ายอย่างเหนียวแน่น
และบีบให้ต้องรู้รายละเอียดของอีกฝ่ายมากขึ้นเรื่อยๆ
จนต้องยอมรับข้อดี
แล้วเกิดแรงดันของความอยากขออภัย
หรืออยากให้อภัย หรืออยากญาติดีกัน



    นั่นเองพลังความเกลียดหรือความแค้นเก่าๆ จึงแปรตัวเป็นราคะ
เพราะไฟโทสะเป็นญาติสนิทกับไฟราคะ ต่างก็เป็นไฟมืดด้วยกัน
มีกิจเป็นการเผาผลาญให้ใจเกิดความร้อนรุ่มเหมือนๆกัน
เคยเกลียดแรงแค่ไหนก็กลายเป็นราคะแรงแค่นั้น

    รักชนิดนี้อาจเต็มไปด้วยความไม่ได้อย่างใจ ระหองระแหง
กลับไปกลับมาระหว่างเห็นข้อดีและจับผิดเพ่งโทษ

รักยังมีเหตุอีกมาก แต่บางความรักก็ไม่ใช่ความรัก
เช่นรักความรวยนั้น เป็นคนละเรื่องกันกับรักคนรวย
ความรวยอย่างเดียว ไม่มีทางเป็นเหตุแห่ง ‘ความรู้สึกรักคน’ ได้เลย

รักระหว่างหญิงชายจะเกิดจากเหตุอันใด
ยืนพื้นอยู่บนบุญบาปแบบไหนก็ตาม
ท้ายสุดก็มีฤทธิ์ผูกใจไว้ ไม่ให้ได้เป็นไทในตนเอง
จนกว่าใครจะแสวงหา ''ความรักอิสรภาพทางใจ''
และพบกับรักชนิดนั้นจริง จึงยุติการสร้างเหตุแห่งทุกข์
รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งลงเสียได้อย่างถาวร

แล้วความรักของคุณอ่ะ เกิดจากอะไร



*http://www.tairomdham.net/index.php/topic,2496.0.html


99  สุขใจในธรรม / เสียงบทสวดมนต์ / Re: เสียงสวด " คาถาพัน " เพราะมาก พร้อมที่มาของ คาถาพัน ไว้ประดับความรู้ เมื่อ: 25 ธันวาคม 2555 03:05:01




ปฐมเหตุ.. มหาเวสสันดรชาดก
ตอนพระพุทธองค์ทรงแสดงมหาชาติ ๑๓ กัณฑ์
ในสมาคม
พระญาติศากยวงศ์และพระอริยสงฆ์

: ปริทัศน์เวสสันดรชาดก โครงการมูลนิธิหอไตร

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๐
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๒
: พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญทานบารมี

: http://www.sookjai.com/index.php?topic=19488.0

100  สุขใจในธรรม / พุทธวัจนะ - ภาษิตธรรม / Re: ۞ ๚ เถระคาถา ๚ะ๛ ۞ เมื่อ: 23 ธันวาคม 2555 18:51:40



ต่อค่ะ
               ราวไพรใกล้สระน้ำ ก็ชูคอป้องปีกทั้งสองขึ้นส่งเสียงร้องอยู่ค่อยๆ
               ด้วยจะงอยปากอันแดง ฉะนั้น ข้าพระองค์ทั้งหมด ตั้งใจตรง กำลังจะฟัง
                             พระดำรัสของพระองค์อยู่ ข้าพระองค์จักเผยการเกิด และการตายที่
                             ข้าพระองค์ละมาได้หมดสิ้นแล้ว จักแสดงบาปธรรมทั้งหมดที่เป็นเครื่อง
                             กำจัด
เพราะผู้กระทำตามความพอใจของตน ๓ จำพวกมีปุถุชนเป็นต้น

                             

                             ไม่อาจ เพื่อจะ
รู้ธรรมที่ตนปรารถนาหรือแสดงได้ ส่วนผู้กระทำความ
                             ไตร่ตรองพิจารณาตามเหตุผลของตถาคตเจ้าทั้งหลาย สามารถจะรู้ธรรม
                             ที่ตนปรารถนาทั้งแสดงได้
พระดำรัสของพระองค์นี้เป็นไวยากรณ์อัน
                             สมบูรณ์ พระองค์ตรัสไว้ดีแล้วด้วยพระปัญญาที่ตรงๆ โดยไม่มีการ
                             เสียดสีใครเลย การถวายบังคมครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย
อันข้าพระองค์

                             ถวายบังคมดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปัญญาไม่ทราม พระองค์ทรง
                             ทราบแล้วจะทรงหลงลืมไปก็หามิได้ ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระวิริยะอันไม่ต่ำ
                             ทราม พระองค์ตรัสรู้อริยธรรมอันประเสริฐกว่าโลกิยธรรมมาแล้ว ก็
                             ทรงทราบพระเญยยธรรมทุกอย่างได้อย่างไม่ผิดพลาด ข้าพระองค์หวัง
                             เป็นอย่างยิ่ง ซึ่งพระดำรัสของพระองค์เหมือนกับคนที่มีร่างอันชุ่มเหงื่อ

                             คราวหน้าร้อน ปรารถนาน้ำเย็น ฉะนั้น ขอพระองค์ทรงยังฝน คือ
                             พระธรรมเทศนาที่ข้าพระองค์เคยฟังมาแล้วให้ตกลงเถิด พระเจ้าข้า ท่าน
                             นิโครธกัปปะได้ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์ของ
                             ท่านนั้นเป็นประโยชน์ไม่เปล่าแลหรือ ท่านนิพพานด้วยอนุปาทิเสส
                             นิพพานแล้ว ท่านเป็นพระเสขะยังมีเบญจขันธ์เหลืออยู่ หรือว่าท่านเป็น
                             พระอเสขะผู้หลุดพ้นแล้ว ข้าพระองค์ขอฟังพระดำรัสที่ข้าพระองค์มุ่ง
                             หวังนั้น พระเจ้าข้า
.

               

                เมื่อพระผู้มีพระภาคจะทรงพยากรณ์จึงตรัสพระคาถา ๑ พระคาถา ความว่า
                             พระนิโครธกัปปะได้ตัดขาด ซึ่งความทะยานอยากในนามและรูปนี้ กับ
                             ทั้งกระแสแห่งตัณหาอันนอนเนื่องอยู่ในสันดานมาช้านานแล้ว ข้ามพ้น
                             ชาติและมรณะได้หมดสิ้นแล้ว
พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐสุดด้วยพระ-
                             จักษุทั้ง ๕ ได้ตรัสพระดำรัสเพียงเท่านี้.

                เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสตอบอย่างนี้แล้ว ท่านพระวังคีสเถระ ก็ชื่นชมยินดี
                พระพุทธภาษิตเป็นอย่างยิ่ง จึงได้กราบทูลด้วยอวสานคาถา ๓ คาถา ความว่า
                             ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพระฤาษีเยี่ยมกว่าฤาษีทั้งหลาย ข้าพระองค์นี้ได้ฟัง
                             พระดำรัสของพระองค์แล้วก็เลื่อมใส ทราบว่าคำถามที่ข้าพระองค์ทูลถาม
                             แล้ว ไม่ไร้ประโยชน์ พระองค์ไม่หลอกลวงข้าพระองค์ ข้าพระองค์
                             เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า มีปกติกล่าวอย่างใด ทำอย่างนั้น ได้ตัด
                             ข่ายคือตัณหาอันกว้างขวาง มั่นคง ของพระยามัจจุราชผู้เจ้าเล่ห์มาก ได้
                             เด็ดขาด ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ท่านพระนิโครธกัปปเถระกัปปายนโคตร
                             ได้เห็นมูลเหตุแห่งอุปาทาน ข้ามบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยากไปได้แล้ว
                             หนอ
ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่าบรรดาสรรพสัตว์ ข้าพระองค์ขอนมัสการ
                             ท่านพระนิโครธกัปปเถระผู้เป็นวิสุทธิเทพ ล่วงเสียซึ่งเทพดา อนุชาต-
                             บุตรของพระองค์ มีความเพียรมาก เป็นผู้ประเสริฐ ทั้งเป็นโอรสของ
                             พระองค์ผู้ประเสริฐ.
                             ได้ทราบว่า ท่านพระวังคีสเถระได้ภาษิตคาถาทั้งหมดนี้ ด้วยประการฉะนี้แล.

                             ในมหานิบาตนี้ ปรากฏว่าพระวังคีสเถระผู้มีเชาว์เฉียบแหลมองค์เดียว
                             ไม่มีรูปอื่น ได้ภาษิตคาถาไว้ ๗๑ คาถา พระเถระ ๒๖๔ รูป
                             ผู้พระพุทธบุตร ไม่มีอาสวะ บรรลุนิพพานอันเป็นแดนเกษมแล้ว พากัน
                             บันลือสิงหนาทประกาศคาถาไว้รวม ๑๓๖๐ คาถาแล้ว ก็พากันนิพพาน
                             ไป เหมือนกองไฟที่สิ้นเชื้อแล้วดับไป ฉะนี้แล




: http://agaligohome.fx.gs/index.php?topic=515.255
Pics by : Google
อกาลิโกโฮม.. บ้าน ที่แท้จริง...
กุศลผลบุญใดที่พึงบังเกิดจากธรรมทานเหล่านี้ ขอจงเป็นบุญเป็นปัจจัย
แด่ท่านผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในธรรมทานเหล่านี้ ทุกๆท่าน
รวมทั้งท่านเจ้าของภาพ ทุกๆภาพ เรียนขออนุญาตใช้ภาพ

ไว้ ณ ที่นี้... นะคะ
อนุโมทนาสาธุ.. ที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

หน้า:  1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 368
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.434 วินาที กับ 27 คำสั่ง

Google visited last this page 25 สิงหาคม 2566 02:40:21