[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 เมษายน 2567 19:48:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 236
101  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / พระนางพิมพา | นางแก้วคู่พระบารมี ปฐมบทแห่งการสร้างบารมี เมื่อ: 02 มกราคม 2567 15:34:54




พระนางพิมพา | พระนางแก้วคู่พระบารมี ตอนที่ 1 | ปฐมบทแห่งการสร้างบารมี

เรื่องราวในวันนี้ เป็นเรื่องราวในอดีตชาติของพระนางพิมพา พระนางแก้วคู่พระบารมี ที่ได้สร้างบุรพกรรมร่วมกับองค์สมเด็จพระทศพลเมื่อคราวตั้งแต่ได้ตั้งความปรารถณาในกาลสมัยของพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า ย้อนหลังไปในอดีตกาลล่วงมาได้ ๔ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป จวบจนกาลสมัยแห่งพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องราวที่ ได้นำมาเล่านี้ แม้จะเป็นเพียงเศษเสี้ยวของภพชาติทั้งหลายที่ทั้งสองพระองค์ได้ร่วมสร้างสมพระบารมีกันมายาวนานนับเอนกอนันตชาติ แต่ก็พอจะทำให้เห็นถึงปฏิปทาที่มุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวในการบำเพ็ญเพียรของพระโพธิสัตว์ รวมถึงความจงรักภักดีของพระนางแก้วที่จะหาผู้ใดเปรียบได้ยากยิ่ง และสมควรได้รับการขนานพระนามว่าเป็นคู่บารมีอย่างแท้จริง


00:00:43 - นางสุมิตตาพราหมณี ตั้งความปรารถณา
00:11:46 - มเหสีพระเจ้ากุสราช
00:46:15 - นางสุชาดา
00:54:22 - ภริยาวิสัยหะเศรษฐี
01:01:58 - ภริยานายช่างหม้อ
01:09:09 - นางสัมมิลลหาสิณี
01:16:41 - มเหสีพระเจ้ากรุงพาราณสี
01:25:10 - พระราชธิดาของพระเจ้าปัสเสน
01:36:40 - พระสมุทวิชยาเทวี

<a href="https://www.youtube.com/v//U6G_pYI7IWY" target="_blank">https://www.youtube.com/v//U6G_pYI7IWY</a> 

https://youtu.be/U6G_pYI7IWY?si=fKeZn23ANHHP-_oC

พระนางพิมพา | พระนางแก้วคู่พระบารมี ตอนที่ 2


00:00:44 สีดาเทวี มเหสีพระรามบัณฑิต
00:10:24 ธิดาตระกูลมั่งคั่งแคว้นกาสี
00:22:55 พระนางอุทัยภัทรา มเหสีพระเจ้าอุทัยภัทร
00:36:15 นางจันทกินรี
00:43:53 พระนางสุภัททาเทวี มเหสีพระเจ้ามหาสุทัสสนะบรมจักรพรรดิ
00:54:46 พระนางจันทาเทวี มเหสีพระเจ้าสุตโสม
01:01:38 สุมนาเทวีนาคกัญญา มเหสีพญาจัมเปยยนาคราช
01:17:10 พระนางสีวลีเทวี มเหสีพระมหาชนก

<a href="https://www.youtube.com/v//3KI3QKEUvwc" target="_blank">https://www.youtube.com/v//3KI3QKEUvwc</a> 

https://youtu.be/3KI3QKEUvwc?si=V9KAJFcDAx93O__p


พระนางพิมพา | พระนางแก้วคู่พระบารมี ตอนที่ 3 (จบ) | ปัจฉิมบทแห่งการสร้างบารมี

เรื่องราวในวันนี้ เป็นเรื่องราวในอดีตชาติของพระนางพิมพา พระนางแก้วคู่พระบารมี ที่ได้ดำเนินมาสู่ปัจฉิมบท ตามที่ปรากฎในมหาทศชาติชาดกขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งได้คัดเลือกมาบรรยายให้ฟังเป็นบางเรื่อง โดยท่านสามารถเลือกฟังตอนที่ต้องการได้ ดังนี้ครับ


00:00:44 นางอมรากุมารี มเหสีพระมโหสถ
00:30:51 พระนางจันทาเทวี มเหสีพระจันทกุมาร
00:50:13 พระนางมัทรี มเหสีพระเวสสันดร
01:22:50 พระนางพิมพายโสธรา มเหสีเจ้าชายสิทธัตถะ

<a href="https://www.youtube.com/v//Q9v_VLuP9kw" target="_blank">https://www.youtube.com/v//Q9v_VLuP9kw</a> 

https://youtu.be/Q9v_VLuP9kw?si=iJiqe6sJvxOq3-Tz


Link สำรอง http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16232.0.html
102  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / มหากรุณาธารณี พระกวนอิม 85 ปาง ที่มาของ พระอวโลกิเตศวร ปางพันเนตรพันกร เมื่อ: 02 มกราคม 2567 15:31:09






มหากรุณาธารณี พระกวนอิม 85 ปาง ที่มาของ พระอวโลกิเตศวร ปางพันเนตรพันกร

<a href="https://www.youtube.com/v//IqmtSUlmKi0" target="_blank">https://www.youtube.com/v//IqmtSUlmKi0</a>

https://youtu.be/IqmtSUlmKi0?si=B-Z7lBkQwlIJqXsQ

อีกที่ http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16229.0.html
103  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / พระทีปังกรพุทธเจ้า 燃燈佛 เอียง เต็ง ฮุก พระพุทธเจ้าผู้ทรงยังแสงสว่างให้บังเกิด เมื่อ: 02 มกราคม 2567 15:29:20



พระทีปังกรพุทธเจ้า 燃燈佛

พระทีปังกรพุทธเจ้า 燃燈佛(Rándēng Fo) Dipamkara เอียง เต็ง ฮุก

พระพุทธเจ้าผู้ทรงยังแสงสว่างให้บังเกิด (บ้างแปลว่า ดวงประทีป หรือ ดวงไฟ) อีกทั้งยังทรงมีหลายพระนามเช่น สมันตประภาพุทธเจ้า (โพวกวงฮุก) ซึ่งพระนามนี้ปรากฎเป็นพระนามแรกของกลุ่มพระพุทธเจ้าจำนวน ๕๓ พระองค์ หรือ ประทีปประภาพุทธจ้า หรือสมาธิประภาพุทธเจ้า และบางครั้งชาวมหายานจะเรียกพระองค์ว่า "พระบุราณพุทธทีปังกร" (เอียงเต็งโกวฮุก) หรือพระทีปังกรพุทธเจ้าในครั้งโบราณ อันพระทีปังกรตถาคตเจ้า ทรงเป็นดวงประทีปธรรมอันรุ่งโรจน์ด้วยปัญญาส่องสว่างแก่โลก ผู้ที่บังเกิดโพธิจิตเมื่อได้รับรู้ถึงพระพุทธประวัติของพระองค์แล้วก็ประดุจจุดดวงประทีปให้สว่างขึ้นในตน

<a href="https://www.youtube.com/v//i19EEEI9wlo" target="_blank">https://www.youtube.com/v//i19EEEI9wlo</a>

https://youtu.be/i19EEEI9wlo?si=kKD6FctGiFiuiIlt

อีกที่ http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16228.0.html
104  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / พระสูตรเว่ยหล่าง บทที่๑ ว่าด้วยชีวประวัติ ( ขยายความ มี 14 บท ) เมื่อ: 02 มกราคม 2567 15:25:26


พระสูตรเว่ยหล่าง บทที่๑ ว่าด้วยชีวประวัติ ( ขยายความ มี 14 บท )

บทนำ

<a href="https://www.youtube.com/v//afcnwDObWMs" target="_blank">https://www.youtube.com/v//afcnwDObWMs</a>

https://youtu.be/afcnwDObWMs?si=kR1J7UXt7MoP3Zpq

<a href="https://www.youtube.com/v//J_OX_MZ77-4" target="_blank">https://www.youtube.com/v//J_OX_MZ77-4</a>

https://youtu.be/J_OX_MZ77-4?si=bOqUXy2L3cKtDslX


ชีวประวัติ ท่านเว่ยหลาง

<a href="https://www.youtube.com/v//omY8YGt6Xsg" target="_blank">https://www.youtube.com/v//omY8YGt6Xsg</a>

https://youtu.be/omY8YGt6Xsg?si=9vReSI5h_v4ueXI1

Playlist 14 บท ว่าด้วย ชีวประวัติ ท่านเว่ยหลาง https://youtube.com/playlist?list=PLGUTRZS6LoWjUE8d3crMvv4ObtTz7P5hY&si=MkvyNNoqIebCLjJH

อีกมากมาย https://youtube.com/@AmornTongsuk?si=fD6MgBofbdkMSoyF

อีกที่ http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16230.0.html
105  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / ทศชาติชาดก 10 รวมคลิป ใน 5 ชั่วโมง พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก ฟังก่อนนอน เมื่อ: 01 มกราคม 2567 20:35:30
สรุป ทศชาติชาดก 10 รวมคลิป ใน 5 ชั่วโมง พระพุทธเจ้า มหาศาสดาโลก ฟังก่อนนอน | สุริยบุตร เรื่องเล่า




#พระพุทธเจ้า #นิทานชาดก #ฟังก่อนนอน

ภาพปก วิธุรชาดก โดย โอม รัชเวทย์

0:00:00 | 1. พระเตมีย์ เนกขัมมะบารมี
0:06:56 | 2. พระมหาชนก วิริยะบารมี
0:25:36 | 3. สุวรรณสาม เมตตาบารมี
0:39:36 | 4. เนมิราช อธิษฐานบารมี
0:56:21 | 5. มโหสถบัณฑิต ปัญญาบารมี
2:57:40 | 6. ภูริทัตตชาดก ศีลบารมี
3:41:13 | 7. จันทกุมารชาดก ขันติบารมี
3:58:04 | 8. มหานารทพรหม อุเบกขาบารมี
4:12:14 | 9. วิธุรบัณฑิต สัจจะบารมี4:
36:13 | 10. พระเวสสันดรชาดก ทานบารมี



<a href="https://www.youtube.com/v//aWTcA0HuGg0" target="_blank">https://www.youtube.com/v//aWTcA0HuGg0</a>

https://youtu.be/aWTcA0HuGg0?si=M3fb_lzzq7ndB4Lh



Link สำรอง http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16227.0.html
106  สุขใจในธรรม / กฏแห่งกรรม - ท่องไตรภูมิ / โฆสกเศรษฐี | ผู้รอดจากความตายถึง 7 ครั้ง จนได้เป็นมหาเศรษฐี เมื่อ: 01 มกราคม 2567 19:55:31
โฆสกเศรษฐี | ผู้รอดจากความตายถึง 7 ครั้ง จนได้เป็นมหาเศรษฐี



เรื่องราวในวันนี้ เป็นเรื่องราวของโฆสกเศรษฐี มหาเศรษฐีแห่งกรุงโกสัมพี แคว้นวังสะ มหาเศรษฐีผู้นี้ มีชีวิตพลิกผันมาหลายชาติ ในภพชาติปัจจุบันก็จวนเจียนแก่ความตายหลายครั้งตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เพราะมีวิบากจากอกุศลกรรมเก่าตามมาส่งผล แต่ในที่สุดเมื่อวิบากจากกุศลกรรมส่งผลบ้าง เขาก็ได้เป็นมหาเศรษฐีและเป็นผู้สร้างโฆสิตารามถวายพระศาสดา



<a href="https://www.youtube.com/v//A0LE09Kmpw4" target="_blank">https://www.youtube.com/v//A0LE09Kmpw4</a>

https://youtu.be/A0LE09Kmpw4?si=BZmcgpSnvbRzeH-A

อีกที่ http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16225.0.html
107  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า / พุทธประวัติ ฉบับ ฉบับยุวชน (ท่านพุทธทาส เรียบเรียง) เมื่อ: 01 มกราคม 2567 18:07:31
พุทธประวัติ ฉบับ ฉบับยุวชน (ท่านพุทธทาส เรียบเรียง)



หนังสือเสียงพุทธประวัติชุดนี้ จัดทำขึ้นจากต้นฉบับที่ท่านพุทธทาสได้แก้ไขปรับปรุงขึ้นจากการค้นคว้าพุทธประวัติต่างประเทศ ซึ่งแต่งโดยท่านภิกษุสีลาจาระ (J.F.Mc Kechnie) ซึ่งท่านให้การยอมรับและเคารพต่อความสามารถในการประพันธ์ โดยพิจารณาแก้ไขส่วนมกพร่องเพียงเล็กๆ น้อยๆ เพื่อให้เป็นหนังสือพุทธประวัติที่สมบูรณ์เหมาะสม

หนังสือเสียงพุทธประวัตินี้เป็นการแสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้าตั้งแต่ทรงประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ตลอดจนพุทธกิจ พุทธคุณไว้ครบถ้วน นับเป็นเพชรน้ำเอกแห่งวรรณกรรมทางพุทธศาสนา ด้วยเนื้อหาที่ถูกต้อง ลำดับความได้ชัดเจน ใช้ภาษาที่งดงาม บรรยายพุทธจริยาได้แจ่มชัด จนผู้ฟังเกิดความชาบซึ้งขึ้นในจิตใจ และน้อมนำเอาหลักคำสอน ตัวอย่างอันดีงาม มาปฏิบัติเป็นหลักดำรงตนตามแนวทางพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี

ผู้จัดทำ ขอกราบขอบพระคุณ คุณเมตตา พานิช แห่งธรรมทานมูลนิธิเป็นอย่างสูงที่ได้เมตตาอนุญาตในการนำหนังสือพุทธประวัติสำหรับยุวชน มาจัดทำเป็นหนังสือเสียง เพื่อเผยแผ่เกียรติคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้แพร่หลาย สร้างความเจริญงอกงามแห่งปัญญาให้บังเกิดแก่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป

สารบัญ

ตอนที่ 1 กำเนิดพระสิทธัตถะ
ตอนที่ 2 วัยกุมาร
ตอนที่ 3 ในวัยรุ่น
ตอนที่ 4 ในวัยหนุ่ม
ตอนที่ 5 ความเบื่อหน่าย
ตอนที่ 6 การสละโลก
ตอนที่ 7 พระมหากรุณาคุณ
ตอนที่ 8 ความพยายามก่อนตรัสรู้
ตอนที่ 9 ประสบความสำเร็จ
ตอนที่ 10 ทรงประกาศพระธรรม
ตอนที่ 11 สิงคาลมาณพ
ตอนที่ 12 สารีบุตรและโมคคัลลาน
ตอนที่ 13 เสด็จกบิลพัสดุ์
ตอนที่ 14 พุทธกิจประจำวัน
ตอนที่ 15 พระนางมหาปชาบดี
ตอนที่ 16 ปาฏิหาริย์
ตอนที่ 17 พระพุทะดำรัส
ตอนที่ 18 ความกรุณาของพระพุทะองค์
ตอนที่ 19 เทวทัต
ตอนที่ 20 ปรินิพพาน
ตอนที่ 21 คำบันทึกท้ายเล่ม
ตอนที่ 22 คำนำของผู้แปลและเรียบเรียง










<a href="https://www.youtube.com/v//_NNg4bMxmVw" target="_blank">https://www.youtube.com/v//_NNg4bMxmVw</a>

https://youtu.be/_NNg4bMxmVw?si=4McL2z3SMRz0kGf3

<a href="https://www.youtube.com/v//N8tbI68WinY" target="_blank">https://www.youtube.com/v//N8tbI68WinY</a>

https://youtu.be/N8tbI68WinY?si=0xQSFGcYGvUF4END

<a href="https://www.youtube.com/v//zQWMN7lPfos" target="_blank">https://www.youtube.com/v//zQWMN7lPfos</a>

https://youtu.be/zQWMN7lPfos?si=_1v2JMrQqTpbPYpV




เพิ่มเติม

<a href="https://www.youtube.com/v//TQo5Ie-8Wys" target="_blank">https://www.youtube.com/v//TQo5Ie-8Wys</a>

https://youtu.be/TQo5Ie-8Wys?si=5RpH3PCArYwdP_YB

<a href="https://www.youtube.com/v//_AtBz-Q3-0o" target="_blank">https://www.youtube.com/v//_AtBz-Q3-0o</a>

https://youtu.be/_AtBz-Q3-0o?si=-pb0-4cNpeApvour

Playlist ทีละตอน ฟังจนจบ https://youtube.com/playlist?list=PL3dQi-ZHOEMofvLYs0F_rTARDBRok8Tmm&si=cwt-FiDp6w1GMh4Y


<a href="https://www.youtube.com/v//oRKhAfeF9yo" target="_blank">https://www.youtube.com/v//oRKhAfeF9yo</a>

https://youtu.be/oRKhAfeF9yo?si=R59CYrCOu2rsDTCZ

Playlist ฟังจนจบเล่ม https://youtube.com/playlist?list=PLcp6zbsIE5bU4rEgafTC3WwfGQdF0PeVM&si=ecX-7_otCibWk21_

อีกที http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16222.0.html
108  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / สมถกัมมัฏฐานแบบทิเบต( Development of a Symbol - Elephant symbolising Action) เมื่อ: 01 มกราคม 2567 09:17:01

Development of a Symbol -  Elephant symbolising Action

<a href="https://www.youtube.com/v//vHzoiOzbLbc" target="_blank">https://www.youtube.com/v//vHzoiOzbLbc</a>

https://youtu.be/vHzoiOzbLbc?si=gPS-t2axPbjuIGkO

สมถกัมมัฏฐานแบบทิเบต

สมถกัมมัฏฐานเป็นวิธีการฝึกอบรมจิตเพื่อให้เกิดความสงบเป็นสมาธิ ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น อานาปานสติ อสุภกัมมัฏฐาน และกสิ เป็นต้น

ภาพแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการฝึกปฏิบัติตั้งแต่ชั้นแรกจนบรรลุสำ เร็จถึงสมาธิชั้นสูงสุด

เริ่มด้วยการกล่าวถึงสุตพละคือกำลังแห่งการฟัง หมายถึงการได้รับฟังคำอธิบายจากผู้รู้ถึงสมถกัมมัฏฐานแล้วจึงฝึกปฏิบัติ

พระโยคาวจรคือผู้ฝึกปฏิบัติถือ
เชือกและปฏักหมายถึงสติและสัมปชัญญะคอยกำกับจิต

ช้างคือจิต สีดำ ของช้าง หมายถึงความง่วงเหงาซึมเซาของจิต

ลิงดำ หมายถึงกามคุณ ๕ ที่คอยชักพาจิตให้ ฟุ้งซ่าน

เปลวเพลิงกองใหญ่หมายถึงในระยะแรกของการฝึกปฏิบัตินั้นต้องใช้กำลัง แห่งสติสัมปชัญญะอย่างยิ่งจึงจะมีความก้าวหน้า

ภาพพระโยคาวจรที่ใช้เชือกคือสติผูกช้างได้แล้ว ลิงและช้างเริ่มตัวสีขาว มากขึ้นมีกระต่ายหันหน้าไปหาพระโยคาวจร หมายถึงจิตที่มีความฟุ้งซ่านและ ง่วงเหงาซึมเซาน้อยลง

และเมื่อจิตสงบยิ่งขึ้นความรู้สึกนึกคิดจากกามคุณ ๕ ได้แก่
รส สัมผัส เสียง กลิ่น และรูป จะค่อยๆ จางคลายและดับไปในที่สุด ภาพแสดง ด้วยผลไม้ ๓ ผล จีวร ฉิ่งหนึ่งคู่ หอยสังข์ และกระจกเงา ตามลำดับ

ภาพลิงขาวเกาะบนต้นไม้หมายถึงจิตที่มีกุศล ซึ่งกุศลกรรมทั้งหลายที่จิตไปคิดถึงยังถือว่าอาจทำ ให้ฟุ้งซ่านได้

ในขั้นนี้ต้องขจัดให้หมดไปโดยใช้กำลังแห่ง สติสัมปชัญญะหน่วงจิตให้กลับมา แสดงด้วยภาพพระโยคาวจรใช้เชือกและปฏัก จูงช้าง

ลิง และกระต่ายที่ขาวครึ่งตัว เมื่อจิตมีความสงบเพิ่มขึ้นความฟุ้งซ่านดับลง

ภาพกระต่ายหายไป กามคุณ ๕ ดับลงจนสิ้นภาพลิงหายไป และพระโยคาวจร สามารถควบคุมช้างขาวทั้งตัวให้หมอบอยู่ข้างๆ ได้ คือความง่วงซึมเซาหายไปสิ้น

เปรียบเหมือนจิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวคืออารมณ์แห่งกัมมัฏฐานนั้นๆ ปรากฏ รุ้งหลากสีทอดออกจากอกพระโยคาวจร

สุดท้ายพระโยคาวจรลอยลิ่วไปหมายถึงปีติแห่งกาย

และนั่งบนหลัง ช้างได้หมายถึงบรรลุถึงสมาธิอันแท้จริงมีปีติแห่งจิต

เปลวเพลิงสีขาวหมายถึง
สติสัมปชัญญะนั้นแนบแน่นสนิทกับดวงจิตแล้ว กำลังขอ สติสัมปชัญญะอัน คล่องแคล่วว่องไวของพระโยคาวจรจะช่วยให้จิตเข้าถึงกำลังแห่งวิปัสสนา เพื่อให้ได้มาซึ่งความหมายอันสูงสุดแห่งสุญญตาอันเป็นปรมัตถสัจจะของปรากฏการณ์ ทั้งหลาย

จาก http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16220.0.html
109  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ( พระกริ่ง) พระพุทธเจ้าหมอยา ที่กำลังตรัสอยู่ในจักรวาลอื่น เมื่อ: 01 มกราคม 2567 01:19:58


พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า | พระพุทธเจ้าหมอยา | พระพุทธเจ้าที่กำลังตรัสอยู่ในจักรวาลอื่น

"พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า" หรือพระพุทธเจ้าหมอยานี้ ชาวพุทธฝ่ายเถรวาท อาจจะไม่คุ้น หรือไม่รู้จัก แต่ที่จริงพระพุทธเจ้าองค์นี้ เป็นที่รู้จักกันในประเทศไทยมานานแล้วตั้งแต่สมัยโบราณใน ชื่อว่า พระกริ่ง ซึ่งในพระหัตถ์ขวาทรงถือหม้อยาสมุนไพร หรือบาตร อันมีความหมายคือ การรักษาโรคภัยของ "สัตว์ทั้งปวง" ทั้งโรคภายนอกคือร่างกาย และโรคภายใน คือจิตใจ

ในวันนี้ จะกล่าวถึง มหาปณิธานที่ยิ่งใหญ่ ๑๒ ข้อ ที่ปรากฎใน "ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต ปูรวปณิธานสูตร" ซึ่งเป็นสิ่งที่พระองค์ตั้งพระทัย จะทำให้สรรพสัตว์ เมื่อได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว

<a href="https://www.youtube.com/v//jCsADeqE3Mc" target="_blank">https://www.youtube.com/v//jCsADeqE3Mc</a> 

https://youtu.be/jCsADeqE3Mc?si=akcrZoAtlKoPIRUZ
110  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / พระพุทธเจ้าในทศทิศและตรีกาลจำนวน 10,000 พระองค์ 10,000 buddhas 十方三世万佛 เมื่อ: 29 ธันวาคม 2566 20:08:14


พระพุทธเจ้าในทศทิศและตรีกาลจำนวน 10,000 พระองค์ 10,000 buddhas 十方三世万佛

กุลบุตร กุลธิดาผู้ปรารถนาจักดับสรรพบาปทั้งปวง พึงชำระกายาให้สะอาด สวมใส่อาภรณ์ที่ใหม่และสะอาด แล้วสรรเสริญสดุดีพระนามของพระพุทธเจ้าเหล่านี้ โดยการคารวะวันทนา แล้วจึงกล่าววาจาเช่นนี้ว่า ด้วยข้าพเจ้าได้ (ถือกำเนิด) มาแต่โลกธาตุอันหาที่เริ่มต้นมิได้ ได้ใช้กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม กระทำอกุศลกรรมจริยาความชั่ว จนถึงการทำลายพระธรรมสูตรต่างๆ รวมถึงอนันตริยกรรมทั้ง ๕ ประการ บัดนี้ขอให้จงสูญสลายมลายสิ้นไปทั้งหมดเทอญ

ดูก่อนสารีบุตร กุลบุตรกุลธิดา ผู้ปรารถนาบำเพ็ญบารมีให้บริบูรณ์ ปรารถนาอุทิศแด่พระอนุตรโพธิญาณ ปรารถนาจักสมบูรณ์ซึ่งสรรพปารมิตาแห่งโพธิสัตว์ทั้งปวง สมควรได้กล่าววาจาเช่นนี้...

ข้าพเจ้าได้ศึกษาการบำเพ็ญจริยาของพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ในประการที่ทรงมีจิตเสียสละอุทิศอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นทานแก่สรรพสัตว์ทั้งปวง ประดุจพระปรัชญาวิชัยโพธิสัตว์ และกาศีมหาราช ที่ทรงสละราชสมบัติ ร่างกายอวัยวะทั้งปวงแก่สรรพสัตว์เพื่ออุทิศแด่พระโพธิญาณ


<a href="https://www.youtube.com/v//P5yfGeiwnUM" target="_blank">https://www.youtube.com/v//P5yfGeiwnUM</a>

https://youtu.be/P5yfGeiwnUM?si=siKxEXWxBdPpyfzY


อีกที่ http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16204.0.html
111  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / Five Budda ตำนานพระยูไล 5 สี ปัญจธยานิพุทธะ พระเจ้า 5 พระองค์ของฝ่ายมหายาน เมื่อ: 29 ธันวาคม 2566 19:34:30


Five Budda ตำนานพระยูไล 5 สี ปัญจธยานิพุทธะ พระเจ้า 5 พระองค์ของฝ่ายมหายาน

พระพุทธเจ้าห้าสี Five buddha พระชินพุทธะห้าพระองค์ หรือพระปัญจชินะพุทธะ หรือพระธยานิพุทธะทั้งห้า คือชื่อเรียกกลุ่มพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ผู้ตรัสรู้พระธรรมและสั่งสอนธรรมแก่สรรพสัตว์ ในจักรวาลอื่นๆ โดยจัดแบ่งเป็นห้าทิศ คือทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ และทิศกลาง หรือทิศเบื้องบน มีชื่อว่า

พระไวโรจนะพุทธะ ประจำทิศเบื้องบน ตถาคตโคตร
พระอมิตาภะพุทธะ ประจำทิศตะวันตก ปัทมโคตร
พระอโมฆสิทธิพุทธะ ประจำทิศเหนือ กรรมโคตร
พระรัตนสัมภวะพุทธะ ประจำทิศใต้ รัตนโคตร
พระอักโษภยะพุทธะ ประจำทิศตะวันออก วัชรโคตร


<a href="https://www.youtube.com/v//SVqtSiAhTbs" target="_blank">https://www.youtube.com/v//SVqtSiAhTbs</a>

https://youtu.be/SVqtSiAhTbs?si=vP0tiW9gmnKDCPYZ

<a href="https://www.youtube.com/v//4CVkaV102ZM" target="_blank">https://www.youtube.com/v//4CVkaV102ZM</a>

https://youtu.be/4CVkaV102ZM?si=I4__gsQPerFi8ooW

เพิ่มเติม
พระยูไล คือใคร ในไซอิ๋ว ผู้ตบเกรียนซุนหงอคง

<a href="https://www.youtube.com/v//IhMvAvNVlFM" target="_blank">https://www.youtube.com/v//IhMvAvNVlFM</a>

https://youtu.be/IhMvAvNVlFM?si=8EedFP4qkSxeagJ3



112  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ / หายใจให้เป็นสุข : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เมื่อ: 29 ธันวาคม 2566 11:10:28


หายใจให้เป็นสุข : พระโอวาทธรรมบรรยายในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก



"หายใจให้เป็นสุข" เป็นการรวบรวมพระโอวาทธรรมบรรยายกัมมัฏฐานในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ได้รับหนังสือ "หายใจให้เป็นสุข" ซึ่งเป็นการรวบรวมพระโอวาทธรรมบรรยายกัมมัฏฐานในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่เป็นประจำทุกวันพระและหลังวันพระ ณ ตึก ส.ว. ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลายาวนานกว่า 30  ปี ซึ่งหนังสือนี้ได้รวบรวมไว้ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 95 พรรษา ในวันคล้ายวันประสูติ 3 ตุลาคม 2551  จัดพิมพ์โดยบริษัท ซไท-กราฟ จำกัด  โดยแจกเป็นธรรมทาน

ลมหายใจเข้าออกของทุก ๆ คนนี้ เป็นแหล่งบังเกิดขึ้นแห่งสมาธิและปัญญา ซึ่งพระพุทธเจ้าเองตามที่ปรากฎในพระสูตรก็ได้ทรงจับปฏิบัติกำหนด  ซึ่งผู้ปฎิบัติควรจะถือเอาหลักที่ทรงสั่งสอนไว้ด้วยพระองค์เองในการทำอานาปานัสสติเป็นหลักสำคัญ พิจารณาให้เข้าใจในแนวปฏิบัติที่ตรัสสอนไว้ ส่วนแนวปฏิบัติของพระอาจารย์ทั้งหลาย เลือกปฏิบัติมาประกอบเข้าตามที่เหมาะสมแก่อัธยาศัยของตน  โดยการตั้งสติไว้จำเพาะหน้า คือไม่ส่งสติไปข้างไหนเป็นสิ่งที่ต้องทำ การรวมใจเข้ามาจากลมหายใจเข้าลมหายใจออก ก็จะปรากฏแก่ความรู้ เพราะว่าจิตนี้เป็นธาตุรู้ จิตอยู่ที่ไหนก็รู้ที่นั้น เมื่อจิตเกาะอยู่กับอารมณ์ภายนอก เข้ามาตั้งอยู่ในลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็ย่อมรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกได้       

จิตเป็นธรรมชาติประภัสสร คือผุดผ่อง แต่จะเศร้าหมองไปเพราะอุปกิเลสคือเครื่องเศร้าหมองที่จรเข้ามา จิตเป็นธรรมชาติที่น้อมได้ ถ้าน้อมไปทางความชั่ว ก็จะคุ้นเคยกับความชั่ว ถ้าน้อมไปทางความดี ก็จะคุ้นเคยกับความดี  ธรรมชาติของจิตอีกอย่างหนึ่งก็คือเป็นธาตุรู้ รับอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ  ประกอบขึ้นเป็นอารมณ์ หากความรับรู้ของจิตยังเป็นแค่มายา ก็จะบังเกิดความยินดี ยินร้ายในอารมณ์ จึงปรากฎเป็นราคะ , โลภะ , โทสะ และโมหะ ได้


พระพุทธเจ้าทรงตรัสให้รูจักว่าอย่างไรเป็นอกุศลกรรม อย่างไรเป็นกุศลกรรม การที่จะได้ปัญญาพิจารณาให้เห็นสัจจะ ให้จิตใจตนเองรับรองด้วยนั้น ไม่ใช่เพียงแต่เชื่อในพระวาจาตรัสเท่านั้น จิตใจของตนเองต้องมีการชำระในบริสุทธิ์ผ่องใสด้วย

เริ่มต้นจากการประพฤติในศิล

ต่อด้วยการปฏิบัติในสมาธิ เช่น อานาปานัสสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้าออก) ซึ่งจิตจะรวมเป็นเอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียวกันของจิต) เป็นสมาธิได้ตั้งแต่ขั้นบริกรรม (ปฎิบัติกำหนด) ขั้นอุปจาร (ใกล้ที่จะสงบแน่วแน่) และขั้นอัปปนา (แน่วแน่)               

จากนั้นเป็นการบำเพ็ญภาวนา ให้เห็นสุจจะว่าความจริงล้วนเป็นอนิจจังไม่เที่ยงต้องเกิดต้องดับ


      การบรรลุผล ไม่ใช้บรรลุได้ด้วยความคิดว่าจะบรรลุหรืออยากบรรลุ แต่อยู่ด้วยการปฏิบัติ ซึ่งธรรมะก็จะสนับสนุนส่งผู้ปฏิบัติขึ้นไปตามลำดับเอง

จาก https://www.gotoknow.org/posts/219976


<a href="https://www.youtube.com/v//U-fcXgrE_MY" target="_blank">https://www.youtube.com/v//U-fcXgrE_MY</a>

https://youtu.be/U-fcXgrE_MY?si=z5yLLzm80XY77m7L

<a href="https://www.youtube.com/v//9eOCkoIgFxE" target="_blank">https://www.youtube.com/v//9eOCkoIgFxE</a>

https://youtu.be/9eOCkoIgFxE?si=CDtg9GO2kbAwADri

<a href="https://www.youtube.com/v//6COzAUCL9NI" target="_blank">https://www.youtube.com/v//6COzAUCL9NI</a>

https://youtu.be/6COzAUCL9NI?si=9Utd__uPPM3Llo0-

Playlist จนจบเล่ม https://youtube.com/playlist?list=PLTW9hmmylYtrEbVsy07lzjEu1nrB1Mm_m&si=pT9HmwIN-zuH7yPb

อีกที http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16197.0.html
113  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / อิคคิว โซจุน พระเซนชาวญี่ปุ่น ต้นแบบ การ์ตูน อิคคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา เมื่อ: 28 ธันวาคม 2566 17:15:08
อิคคิว โซจุน พระเซนชาวญี่ปุ่น ต้นแบบใน การ์ตูน อิคคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา



#ห้องสมุดหลังไมค์ ขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ #อิคคิวซัง ตัวจริง หรือ อิคคิว โซจุน พระ #นิกายเซน ชาวญี่ปุ่นที่มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคมุโระมะชิ ผู้ซึ่งเป็นพระที่มีนิสัยประหลาด และทำทุกอย่างที่ถือว่าเป็น อาบัติ เช่น ดื่มสุรา เล่นการพนัน ฉันเนื้อสัตว์ ไม่โกนผมและหนวดเครา ซึ่ท่านทำเพื่อต้องการต่อต้านและเสียดสีรวมทั้งสั่งสอนพระจอมปลอมในยุคนั้นให้ละอายกับการลวงโลก และเป็นพระต้นแบบในการ์ตูนเณรน้อยเจ้าปัญญา

<a href="https://www.youtube.com/v//OM_owVGZWfA" target="_blank">https://www.youtube.com/v//OM_owVGZWfA</a>

https://youtu.be/OM_owVGZWfA?si=qm_I98_DIQUboZeq

<a href="https://www.youtube.com/v//aIpA1LZJrgc" target="_blank">https://www.youtube.com/v//aIpA1LZJrgc</a>

https://youtu.be/aIpA1LZJrgc?si=6QMW86xYgrdU_d2h

<a href="https://www.youtube.com/v//trdQagiiq74" target="_blank">https://www.youtube.com/v//trdQagiiq74</a>

https://youtu.be/trdQagiiq74?si=xYolGTZ2QP-cHQc2

<a href="https://www.youtube.com/v//Xc_5QkEpWm4" target="_blank">https://www.youtube.com/v//Xc_5QkEpWm4</a>

https://youtu.be/Xc_5QkEpWm4?si=pv1_7XrLHr15VXyv

ตามต่อ https://youtube.com/@ThaiPBSPodcast?si=EcJMjUFyYbxc2dZn

อีกที http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16196.0.html
114  นั่งเล่นหลังสวน / สยาม ในอดีต / คนไททิ้งแผ่นดิน(รางวัลวรรณกรรมจากมูลนิธิจอห์น เอฟ เคนเนดี้ปี 2516) เมื่อ: 28 ธันวาคม 2566 14:51:09





คนไททิ้งแผ่นดิน หนังสือที่เชื่อมโยงคนไทในประเทศไทยและคนไทในดินแดนอื่น ๆ ในปัจจุบันกับอดีตอันมีเกียรติก่อนที่บรรพบุรุษของเขาจะอพยพลงมาทางใต้... ในปี พ.ศ.768 จูโกเหลียง นำทัพแคว้นเสฉวนเข้ามารุกรานแผ่นดินทางตะวันตกเฉียงใต้ของจิ๋น ซึ่งในขณะนั้นเป็นถิ่นของคนไท คนไทต่อสู้เพื่อป้องกันแผ่นดินและอิสรภาพของตนอย่างสุดกำลัง แต่ไม่อาจจะต้านทานความฉลาดและกองทัพอันมหาศาลของจูโกเหลียงได้ ในที่สุดคนไท ยอมขึ้นต่อการปกครองของจิ๋น คนไทในเวลานั้นแยกออกเป็นแคว้นต่าง ๆ หนังสือเล่มนี้แสดงการต่อสู้ของเขาเพื่อให้ได้อิสระภาพคืนมาและพร้อมกันไปก็แสดงถึงการวิวาทกันเองในหมู่คนไท การที่คนไทไม่ยอมคุกเข่าให้แก่คนจิ๋นนั้น มีบันทึกไว้ในจดหมายเหตุของจิ๋น อนึ่งเรื่องแคว้นไทต่าง ๆ รวมกำลังกันขับไล่ทัพจิ๋นไปสองครั้ง และรุกเข้าไปจนใกล้เมืองหลวงตะวันตกของจิ๋น คือเมืองเช็งตูนั้นมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์... ...เรื่องราวต่อไปนี้เกิดขึ้นในดินแดนเดิมของเรา เริ่มตั้งแต่คนไทลุกขึ้นต่อสู้กับทัพจิ๋นที่เข้ามาครอบครองแคว้นไท ขณะนั้นเป็นเวลายี่สิบปีหลังจากที่ทัพจิ๋นเข้ายึดแคว้นไทไว้ เขาเข้าครอบครองด้วยกำลังอันเหนือกว่า และเขาปกครองเหมือนกับว่าเราไม่แตกต่างจากพืชพันธุ์ไม้บนพื้นดินและสัตว์ป่า ความหยาบช้ามีถึงเพียงนี้ คนไทจึงลุกขึ้นต่อสู้จนทำให้เกิดศึกอันโหดร้าย ข้าไม่เป็นสุขเลยที่จะเล่าถึงความทุกข์และความตายของชาวจิ๋นและชาวไทอันเนื่องมาจากศึก แต่ว่าความดีของทั้งฝ่ายไทและฝ่ายจิ๋นไม่อาจจะแยกออกจากความชั่วและความโหดร้ายของการศึกได้ ข้าจึงต้องจดไว้ตามที่เกิดขึ้น...




คนไททิ้งแผ่นดิน(รางวัลวรรณกรรมจากมูลนิธิจอห์น เอฟ เคนเนดี้ปี 2516)


“เรื่องราวต่อไปนี้เกิดขึ้นที่ดินแดนเดิมของเรา เริ่มตั้งแต่ที่คนไทลุกขึ้นสู้กับทัพจิ๋นที่เข้ามาครอบครองแคว้นไท”

นวนิยายอิงประวัติศาสตร์  ที่บอกเล่าเรื่องราวการตั้งรกรากและอุปสรรคที่ชาวไทต้องเผชิญ พวกเขาต้องกัดฟันจับอาวุธขึ้นสู้เพื่อปกป้องพวกพ้องและบ้านเกิด ทั้งที่จริงๆ แล้วพวกเขาอยากใช้ชีวิตอย่างสงบสุข

"ข้าพเจ้าถือโอกาสขออนุญาตแนะนำผู้ที่ไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนี้ให้ได้อ่าน เพราะเป็นหนังสือที่ดีมาก มีเนื้อหา สาระ รสชาต เกี่ยวกับการสนทนาโดยใช้วาทศิลป์โต้ตอบ ตั้งแต่หน้าแรกจนกระทั่งหน้าสุดท้าย"

-- สุพล สมคำนึง

- หนังสือเล่มนี้ ได้รับรางวัลวรรณกรรมแต่งดี จาก มูลนิธิจอห์น เอฟ เคนเนดี้ ประเทศไทย พ.ศ. 2516




...เรื่องราวต่อไปนี้เกิดขึ้นในดินแดนเดิมของเรา เริ่มตั้งแต่คนไทลุกขึ้นต่อสู้กับทัพจิ๋นที่เข้ามาครอบครองแคว้นไท ขณะนั้นเป็นเวลายี่สิบปีหลังจากที่ทัพจิ๋นเข้ายึดแคว้นไทไว้ เขาเข้าครอบครองด้วยกำลังอันเหนือกว่า และเขาปกครองเหมือนกับว่าเราไม่แตกต่างจากพืชพันธุ์ไม้บนพื้นดินและสัตว์ป่า ความหยาบช้ามีถึงเพียงนี้ คนไทจึงลุกขึ้นต่อสู้จนทำให้เกิดศึกอันโหดร้าย ข้าไม่เป็นสุขเลยที่จะเล่าถึงความทุกข์และความตายของชาวจิ๋นและชาวไทอันเนื่องมาจากศึก แต่ว่าความดีของทั้งฝ่ายไทและฝ่ายจิ๋นไม่อาจจะแยกออกจากความชั่วและความโหดร้ายของการศึกได้ ข้าจึงต้องจดไว้ตามที่เกิดขึ้น...(จากปกหลัง)


ภาคหนึ่ง คนไทยทิ้งแผ่นดิน

- ตอนที่ 1 กู้เมือง
- ตอนที่ 2 ไทยวิวาทกันเอง
- ตอนที่ 3 ทัพจิ๋นบุกไท
- ตอนที่ 4 ทัพไทเข้าแดนจิ๋น
- ตอนที่ 5 ไทวิวาทกันอีก
- ตอนที่ 6 ทิ้งแผ่นดิน

ภาคสอง สู่แผ่นดินใหม่

- ตอนที่ 1 ออกจากกินแดนเดิม
- ตอนที่ 2 ความรักของบัวคำ
- ตอนที่ 3 ความแค้นของลิตงเจีย
- ตอนที่ 4 จามเดวี
- ตอนที่ 5 เชียงแสใหม่

มีหนังสือเสียงให้ฟัง 2 เวอร์ชั่น

ห้องสมุดหลังไมล์ Thai pbs

<a href="https://www.youtube.com/v//lHk0cDUrLg8" target="_blank">https://www.youtube.com/v//lHk0cDUrLg8</a>

https://youtu.be/lHk0cDUrLg8?si=d7xdOIrZsrgyEpTE

Playlist จนจบเล่ม https://youtube.com/playlist?list=PLOXec4xqLw1F_xtXGwTlBHc4zf9sZm8iO&si=ICU-DxY5MEMe1KPW

เวอร์ชั่นเก่า

<a href="https://www.youtube.com/v//Ji161LiooXg" target="_blank">https://www.youtube.com/v//Ji161LiooXg</a>

https://youtu.be/Ji161LiooXg?feature=shared

Playlist จนจบเล่ม https://youtube.com/playlist?list=PLKtRfUnCirQrB5rYh43YgvcHmXxpSnUGn&si=1oi5x0VI5sCx0w3z

อีกที่ http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16195.0.html
115  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / Re: “หยั่งรากวัชรยาน” : แรงบันดาลใจ แนวทางการสอน ความท้าทายของสังฆะวัชรยานในสังคมไทย เมื่อ: 28 ธันวาคม 2566 12:46:16


แนวทางการสอนและฟูมฟักสังฆะ

อ.กฤษดาวรรณ เล่าว่า แรกเริ่มเดิมทีมันเกิดจากแรงบันดาลใจในการปฏิบัติ จากนั้นจึงนำไปสู่ความสนใจในการสร้างสถานปฏิบัติภาวนาแบบวัชรยาน ที่ที่สามารถกราบอัษฎางคประดิษฐ์ สวดบริกรรมมนตราแบบทิเบต โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าคนจะเข้าใจหรือไม่ จึงเริ่มมองหาที่ดินจนมาพบที่ดินในอำเภอหัวหินบ้านเกิด หลังจากนั้นก็ได้ลงมือสร้างสถานที่ เมื่อสถานที่เริ่มพร้อม จึงทำหลักสูตรการเรียนการสอนของพันดาราขึ้น

 “คอร์สแรกที่เปิดคือคอร์ส ‘เตรียมตัวตาย’ โดยเอาคัมภีร์มรณศาสตร์ของทิเบตมาสอน ซึ่งตอนแรกก็สอนไม่เป็น เพราะไม่เคยไปเรียนคอร์สแบบนี้ ที่ผ่านมาเราเรียนจากครูบาอาจารย์ชาวทิเบต เวลาที่ฝึกหรือจำศีลก็ฝึกคนเดียว พอวันหนึ่งต้องมาเปิดคอร์สสอนก็ทำไม่เป็น จึงลองผิดลองถูก ตั้งแต่การทำแบบกระบวนกร ฉายภาพยนตร์ เล่นเกม ฯลฯ ซึ่งสุดท้ายมันก็เหมือนจะไม่ใช่ทางที่เราถนัดและสนใจ”

“จนวันหนึ่งเกิดความรู้สึกว่าแบบนี้ไม่ใช่เรา เราอยากสอนธรรมะแบบที่ลงลึกจริงๆ จึงตัดสินใจว่าเราจะสอนแบบที่เราเคยเรียนมา ซึ่งหลังจากนั้นก็ปรากฏว่ามีคนมาเรียน และหลายคนก็ยังอยู่ด้วยกันมาจนถึงทุกวันนี้ เราเลยได้พบว่าเราต้องนำสิ่งที่เราถนัด สิ่งที่หล่อหลอมความเป็นเราออกมา แล้วเราจะทำมันได้ดีที่สุด เราจะสอนคนอื่นได้ ถ้าเราใช้ประสบการณ์และองค์ความรู้ของเราเอง ตั้งแต่นั้นเราก็เริ่มทำหลักสูตรของพันดาราเรื่อยมา”

เป็นเวลากว่าทศวรรษที่มูลนิธิพันดารามีสังฆะที่ฝึกฝนกันอย่างต่อเนื่อง โดย อ.กฤษดาวรรณ และ อ.เยินเต็น ได้พาลูกศิษย์เรียนรู้คำสอนในระดับที่ลงลึกมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่ง อ.กฤษดาวรรณ เชื่อว่าวันหนึ่งคนในสังฆะจะสามารถเกิดความเข้าใจในธรรมชาติของ “จิตเดิมแท้” และพร้อมเป็นผู้สืบทอดคำสอนต่อไป

“ผู้สืบทอดคำสอนจะต้องมีใจที่กว้างใหญ่ ต้องละทิ้ง 7 เก่าๆ ที่ไม่ใช่วิธีคิดแบบมหายานไป เพราะการที่จะเป็นครูทางธรรมของวัชรยาน จะต้องมีความเข้าใจในมหายาน ต้องเชื่อมั่นในความเท่าเทียม ทั้งกับมนุษย์รวมไปถึงสัตว์ทั้งหลาย เราต้องให้ทุกชีวิตอยู่ในอ้อมแขนของเรา มันเป็นอะไรที่ท้าทาย สนุก และเบิกบานใจ พันดารามีวิธีการเช่นนี้ในการสร้างครูสอนธรรม เพื่อให้คำสอนได้งอกงามในรุ่นต่อๆ ไป”

วิจักขณ์เสริมในส่วนนี้ว่า “ฟังอาจารย์กฤษดาวรรณแล้วรู้สึกเหมือนกันว่า เส้นทางของครูสอนธรรมะ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา บางทีผู้เรียนอาจมีความคิดว่าจะต้องไปเรียนธรรมะกับคนที่ ‘ถึงแล้ว’ แต่ในวัชรยาน เส้นทางของการเป็นอาจารย์มีความน่าสนใจ เพราะคำสอนหรือกระบวนการที่เราเอามาใช้กับศิษย์ก็วิวัฒน์ไปพร้อมๆ กับประสบการณ์ที่มากขึ้นของเรา Enlightenment is real และ Transformation ที่เกิดขึ้นบนเส้นทางก็ real ด้วยเช่นกัน”

ในสังฆะวัชรปัญญา วิจักขณ์ใช้รูปแบบวิธีการถ่ายทอดที่ต่างออกไป หากใครรู้จัก เชอเกียม ตรุงปะ มาบ้าง อาจพอทราบว่าตรุงปะเลือกที่จะถอดความเป็นทิเบตออกจากธรรมะ อีกทั้งได้ simplify และ minimalize องค์ประกอบของพุทธศาสนาวัชรยาน ในการสื่อสารกับลูกศิษย์ชาวตะวันตก โดยท่านได้เลือกใช้ทรรศนะแบบ ‘ไตรยาน’ เป็นเส้นทางหลักในการสอน

การเรียนการสอนในสังฆะวัชรปัญญา จึงถอดรูปแบบจากสิ่งที่วิจักขณ์ได้รับมาจากธรรมาจารย์เรจินัลด์ เรย์ (ศิษย์ของ เชอเกียม ตรุงปะ) เป็นระบบการฝึกแบบไตรยานที่ต้องเรียนรู้วิวัฒนาการของเส้นทางจิตวิญญาณในสามขั้น ได้แก่ หินยาน มหายาน และวัชรยาน


“ช่วงเริ่มต้น ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะสอนอย่างไร ก็สอนแบบที่เรียนมา คือเอาเทคนิค bodywork หรือ somatic meditation ที่อาจารย์ของผมพัฒนาขึ้นมาถ่ายทอด แม้ดูจากภายนอกอาจจะไม่ทิเบตเลย และไม่วัชรยานเลย แต่สำหรับผม bodywork หรือ somatic meditation มีความเป็นวัชรยานในตัวเอง มันคือกระบวนการที่สอนให้เราได้สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปัญญาญาณหรือศักยภาพของการตื่นรู้ในกาย ทำความรู้จัก subtle Body ปราณ ช่องกลางกาย หรือ จักระต่างๆ เพียงแต่เราจะไม่ได้ใช้ภาษาแบบนี้ในการสอนเท่านั้นเอง เราพาคนที่มาเรียนให้รู้จักร่างกายในฐานะมณฑลแห่งการตื่นรู้ มันเปลี่ยนท่าทีที่เราสัมพันธ์กับร่างกาย แล้วค่อยๆ ทำงานกับตัวเองผ่านภาวะของ embodiment รู้จักอาการเกร็ง อาการคลายในร่างกาย รู้จักพลังงานรูปแบบต่างๆ และที่สำคัญคือรู้จักธรรมชาติของ space หรือพื้นที่ว่าง อาจกล่าวได้ว่า somatic meditation พาเราไปทำความรู้จักกับ “กายโพธิจิต” นั่นเอง

“โพธิจิตถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับผู้ปฏิบัติจำนวนมากในบ้านเราที่เคยคุ้นเคยกับการภาวนาแบบเถรวาทมาก่อน การทำงานกับโพธิจิตจะพลิกเปลี่ยนท่าทีในการสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ ไปพอสมควรเลย เราฝึกที่จะสัมพันธ์อยู่ในความว่าง ความเปิดกว้าง การดำรงอยู่ ณ ตรงนั้น เวลาที่เราสัมพันธ์กับผู้อื่น ในขั้นมหายาน เราจะเริ่มเชิญชวนให้ผู้ปฏิบัติเปิดตัวเองสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้วยการมาทำงาน มารับใช้ครู รับใช้สังฆะ รับใช้พระอวโลกิเตศวร อย่างการดูแล “อวโลกิตะ” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งศูนย์ภาวนาของมูลนิธิ ถือเป็นแบบฝึกหัดในการดำรงอยู่ตรงนั้นเพื่อผู้อื่น โดยไม่หวังผลลัพธ์ เป็นการฝึกที่จะไม่เอาอัตตาเป็นศูนย์กลางในการทำงานทางธรรม ดูเหมือนหลายคนจะเริ่มมีประสบการณ์และความเข้าใจคำสอนวัชรยานเพิ่มขึ้นจากการไปร่วมทีมดูแลอวโลกิตะ”







“ถ้าเรามองในแง่บวกมันคงไม่ได้มีอะไรที่ท้าทาย ทุกอย่างคือการเรียนรู้” อ.กฤษดาวรรณ เกริ่นตอบด้วยประโยคนี้ ก่อนจะเล่าต่อว่าภารกิจใหญ่ของพันดารา คือการระดมทุนเพื่อสร้างพระมหาสถูป ซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นความท้าทายหรือเป็นเส้นทางก็ได้ เพราะการสร้างพระมหาสถูป คือการมีเป้าหมายอันยิ่งใหญ่ที่จะเติบโตขึ้นไปพร้อมๆ กับการปฏิบัติภาวนาของสังฆะ ซึ่งนอกจากภารกิจด้านนี้แล้ว อ.กฤษดาวรรณยังเล่าต่อถึงงานด้านการสอนภาวนาด้วย

“ในส่วนของการฝึกฝนภาวนานั้นค่อนข้างราบรื่น มีผู้คนที่เปิดใจและเกิดแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงตัวเองเมื่อได้ลองมาฝึกฝนปฏิบัติ บางคนได้ตัดสินใจลาออกจากงานประจำเพื่อจัดสรรเวลาให้กับการการจำศีลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฝึก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าลูกศิษย์ในสังฆะมีความสนใจจริง

แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีความท้าทายในการหาวิธีที่จะทำให้เขาเข้าใจวัชรยานจากข้างในหัวใจของเขาเอง ปัจจุบันสิ่งนี้ยังไม่สามารถเกิดได้หนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะแต่ละคนก็มีพื้นฐานหรือ framework เดิม เวลาที่เขาเจอปัญหา เขายังไม่ได้มองโลกจากมุมมองแบบวัชรยานทั้งหมด เขาจะมีมุมมองแบบนั้นเพียงตอนที่ฝึกฝนในขทิรวัน แต่เวลาที่เขาได้เจอความทุกข์ หรือสถานการณ์ในการทำงาน เขาจะมีปฏิกิริยาโต้ตอบที่อาจจะไม่ได้มาจากมุมมองแบบวัชรยาน ซึ่งตรงนี้ก็อาจมองได้ว่าเป็นความท้าทายในแง่ของสังฆะ เราต้องเอาจิตวิญญาณใหม่หรือสิ่งที่เราเรียนรู้จากวัชรยานมาใช้เป็น framework ของชีวิต ซึ่งนี่เป็นโจทย์ที่เราจะต้องทำงานกันต่อ”

 ด้วยปณิธานและการทำงานกับโจทย์ใหม่ๆ บนเส้นทาง ในปีนี้มูลนิธิพันดาจึงได้ริเริ่มการสร้างโรงเรียนที่มีลักษณะเป็น “ห้องภาวนา” ในกรุงเทพฯ ที่ชื่อ “เตเช็น” ซึ่งแปลว่า มหาสุข

“พวกเราสองสังฆะอาจทำอะไรที่สวนทางกัน ปีนี้วัชรปัญญากำลังจะกลับไปสู่ป่า ส่วนเรากำลังจะเข้ามาในเมือง เพราะเราพบว่าลูกศิษย์ 95 เปอร์เซ็นต์มาจากกรุงเทพ แล้วทุกคนก็ต้องผ่านทุกข์โศกในแต่ละวัน บางวันอาจพบความสูญเสีย บางวันอาจได้รับสิ่งที่ยิ่งใหญ่แล้วอยากบอกกล่าวครูหรือเพื่อน แต่ก่อนหน้านี้เราอยู่ไกลกัน ในปีนี้เราจึงตัดสินใจว่าจะสร้างพื้นที่ที่เราพบปะกันได้ในกรุงเทพฯ และเราอยากให้มองว่าที่แห่งนี้จะเป็นบ้านอีกหนึ่งหลังสำหรับสังฆะวัชรปัญญาด้วย”

ด้านวิจักขณ์เสริมว่าสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการทำงานทางธรรม คือจะต้องไม่ละทิ้งการปฏิบัติของตัวเอง คือทำงานไปด้วยปฏิบัติไปด้วย ซึ่งผู้เรียนธรรมะในบ้านเราอาจมีมุมมองที่ต่างออกไป เช่น การมองว่าครูสอนธรรมะจะต้อง “ถึง” ก่อนถึงจะออกมาสอนคนอื่นได้ แต่ในวัชรยานจะมองเรื่องนี้ต่างออกไป โดยมีมุมมองว่าตัวครูผู้สอนเองก็มีเส้นทางการฝึกฝนเรียนรู้ในแบบของครู สอนไปด้วย ปฏิบัติไปด้วย พัฒนาการรู้แจ้งให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นจากการเปิดสัมพันธ์กับสถานการณ์

นอกจากนี้วิจักขณ์ยังพูดถึงข้อจำกัดด้านอื่นๆ ในการสอนวัชรยานในไทย ที่ยังถือเป็นสิ่งใหม่ในทุกๆ มิติ ตั้งแต่ระดับปัจเจกที่เป็นเงื่อนไขส่วนตัวของผู้สอน การสื่อสารออกไปสู่ผู้เรียนหรือสังคมภายนอกที่อาจจะยังไม่เข้าใจเนื้อหาหรือแนวทางแบบวัชรยาน แต่ทั้งหมดนี้วิจักขณ์มองว่ามันไม่ใช่อุปสรรค แต่เป็นกระบวนการที่จำเป็นและท้าทาย ที่ทั้งตัวผู้ที่นำคำสอนมาถ่ายทอด ศิษย์ สังฆะ จะต้องทำงานอย่างเข้มข้นไปด้วยกัน นั่นคือหนทางเดียวที่การเติบโตและหยั่งรากของความเข้าใจในคำสอนวัชรยานที่จริงแท้จะเกิดขึ้นได้

“เรากำลังสื่อสารสิ่งใหม่ วัชรยานไม่มีจุดอ้างอิงให้เลย ไม่มีอะไรการันตี ยิ่งการสื่อสารคำสอนวัชรยานในวัฒนธรรมใหม่ด้วยยิ่งไม่มีจุดอ้างอิงไปใหญ่ อาจมีช่วงเวลาที่เราไม่แน่ใจว่าจะไปยังไงต่อ ทำไมเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น สอนแบบนี้ถูกไหม แต่พอเราวางใจได้ ประสบการณ์จะช่วยขัดเกลาเราไปเรื่อยๆ พอวางใจได้มากขึ้น ทั้งในการสอนและในการงานทางธรรม เราจะเริ่มเห็นว่า ทั้งหมดคือกระบวนการที่ครูบาอาจารย์กำลังทำงานกับเรา พอมองย้อนกลับไป ไม่มีเหตุการณ์ไหนเลยที่เป็นเรื่องบังเอิญ หรือเป็นสิ่งที่ทำให้รู้สึกว่าเสียเวลา ทุกอย่างเป็นปัจจัยที่ทำให้เราเป็นแบบนี้ เป็นอาจารย์แบบนี้ ทำงานกับคำสอนแบบนี้ เกิดสังฆะแบบนี้ เกิดการงานทางธรรมแบบนี้ เจอความท้าทายแบบนี้ …ซึ่งมันวิเศษมาก”

วิจักขณ์พูดถึงความเฉพาะตัวของผู้ปฏิบัติแต่ละคนว่า ไม่มีใครเหมือนกันเลยแม้แต่คนเดียว ทุกคนต่างมีกรรมต่างกัน นั่นทำให้ทุกชีวิตมีเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัว ซึ่งน้่นดูจะเป็นสิ่งที่การรู้แจ้งในระดับวัชรยานสนใจ

“เราต้องซื่อตรงกับสิ่งที่เราเป็น เราก็ไม่รู้หรอกว่าไปเอาความมั่นใจมาจากไหนถึงกล้าทำสิ่งที่ทำอยู่ แต่ถ้ามีอะไรสักอย่างที่ภูมิใจในการทำบทบาทนี้ คือเราเป็นตัวเอง …เพราะเป็นคนอื่นไม่ได้จริงๆ (ฮา) แล้วสิ่งนี้ทำให้คนที่มาเรียนกับเรากล้าที่จะเป็นตัวเองด้วย เราสร้างสังฆะกันโดยที่ไม่ได้พยายามที่จะทำให้คนออกมาเหมือนๆ กัน แต่เราจะเป็นวัชรสังฆะที่ทุกคนสามารถสำแดงความจริงแท้ออกมาได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านบวกหรือลบ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้เป็นสิ่งงดงามที่กำลังปลดปล่อยเรา ให้กลายเป็นแสงสว่างที่นำไปมอบให้แก่ผู้คนที่ต้องการได้”

วิจักขณ์ยังเห็นว่าสถานการณ์ในสังคมไทยตอนนี้ถือเป็นช่วงวิกฤติทางจิตวิญญาณ การที่ทั้งสองสังฆะเริ่มต้นการงานทางธรรมมากว่าทศวรรษ กระทั่งเติบใหญ่ขึ้น วันหนื่งเมื่อผู้คนต้องการ ก็จะออกดอกออกผลได้ทันการพอดี

“เราจะเห็นว่าคนรุ่นใหม่ ต้องเผชิญกับความทุกข์ของโลกสมัยใหม่ ไม่ว่าจะโรคซึมเศร้า ความอยุติธรรมทางการเมือง สถาบันทางศาสนาที่พึ่งพาไม่ได้ สถาบันครอบครัวที่ล่มสลาย สุดท้ายเขาไม่มีที่พึ่งอะไรเลย แทบไม่มีต้นทุนทางสังคมใดๆ เหลือให้พวกเขาใช้ได้อีกแล้ว”

เป็นคำถามทิ้งท้ายให้กับสองสังฆะวัชรยาน ว่าเราจะสร้างต้นทุนแบบไหนให้กับคนรุ่นต่อไปดี ความทุกข์บนโลกใบนี้มีมากมายเหลือเกิน เราจะสร้างสังฆะกันยังไง ที่จะทำให้คนรุ่นต่อไปสามารถมาเก็บเกี่ยวดอกผลได้ทัน โดยที่ไม่ต้องมานั่งไถพรวนดินแบบรุ่นเรา หากมองในแง่นี้ “หยั่งรากวัชรยาน” อาจหมายถึงพันธกิจร่วมกันบางอย่างในฐานะผู้ปฏิบัติ การปฏิบัติภาวนาจะช่วยพัฒนาเราให้มองเห็นภาพใหญ่นั้นร่วมกันได้ เป็นการแชร์วิสัยทัศน์แห่ง enlightenment กับครูบาอาจารย์ การค้นพบศักยภาพแห่งตื่นรู้ในตัวเองและในสรรพชีวิต ที่ไปพ้นจากเส้นแบ่งของสายปฏิบัติ กระทั่งไปพ้นความเป็นพุทธศาสนาเสียด้วยซ้ำ





++++++++++++++++++++++++++++++++

หากท่านได้ประโยชน์จากการอ่านบทความชิ้นนี้ และชื่นชมการสร้างสรรค์เนื้อหาดีๆ บนเว็บไซท์นี้
ท่านสามารถร่วมบริจาคสนับสนุนการดำเนินงานของ vajrasiddha.com ได้ที่
ธนาคารกสิกรไทย สาขาบางกระบือ ชื่อบัญชี “มูลนิธิวัชรปัญญา” เลขที่ 053-3-67904-8






วัชรสิทธา

สถาบันวัชรสิทธา ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ทดลองทางการศึกษา บนพื้นฐานของการภาวนา การใคร่ครวญด้วยใจ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างเป็นมนุษย์ระหว่างผู้เรียน
จาก https://www.vajrasiddha.com/article-sewanavajrayana/


<a href="https://www.youtube.com/v//DdoJjxf6p0k" target="_blank">https://www.youtube.com/v//DdoJjxf6p0k</a>

https://youtu.be/DdoJjxf6p0k?si=Cu6KPmkH1Gu3DWtL

Playlist อีกมากมาย ตามไปเลย https://youtube.com/@vajrasiddha?si=jFdwKhszg3pzoThD

Link สำรอง http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16194.0.html
116  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / “หยั่งรากวัชรยาน” : แรงบันดาลใจ แนวทางการสอน ความท้าทายของสังฆะวัชรยานในสังคมไทย เมื่อ: 28 ธันวาคม 2566 12:44:47
“หยั่งรากวัชรยาน” : แรงบันดาลใจ แนวทางการสอน และความท้าทายของสังฆะวัชรยานในสังคมไทย



โพสต์โดย วัชรสิทธา

บทความโดย TOON วัชรสิทธา


นับตั้งแต่ปี ค.ศ.1959 ที่กองทัพจีนบุกยึดทิเบตและทำให้ประชาชนชาวทิเบตต้องระหกระเหินจากประเทศของตน ทั้งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สิ่งปลูกสร้าง คัมภีร์ทางศาสนา ถูกทำลายย่อยยับ ลามะและผู้คนชาวทิเบตมากมายถูกเข่นฆ่า และจำนวนมากต้องหลบหนีออกจากบ้านเกิดของตัวเอง

แต่น่าอัศจรรย์ ที่เหตุการณ์นี้ไม่ได้ทำให้พุทธศาสนาทิเบตล่มสลายลง กลับกันมันได้ทำให้ผู้นำทางศาสนา คุรุระดับสูงในนิกายต่างๆ รวมถึงลามะมากมาย กระจายออกไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งโลก ผู้คนเหล่านี้ได้นำเอาหัวใจคำสอน ประสบการณ์ รวมถึงวิถีปฏิบัติติดตัวไปด้วย และได้ส่งต่อสิ่งเหล่านี้ให้กับเพื่อนมนุษย์ในพื้นที่ที่เขาย้ายไปอยู่อาศัย ไม่ว่าที่แห่งนั้นจะมีความต่างด้านวัฒนธรรม ความเชื่อ หรือค่านิยมแบบใดก็ตาม เมื่อพุทธศาสนาทิเบตหรือพุทธวัชรยาน ได้ถูกสอนนอกประเทศทิเบตเป็นครั้งแรก พลวัตนี้ก็เริ่มสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหม่และครั้งใหญ่ให้กับพุทธศาสนา โดยมีศูนย์กลางของพลวัตเป็นโลกตะวันตก ซึ่งทำให้รูปแบบการเรียนรู้พุทธธรรมย่างเข้าสู่พื้นที่แห่งการศึกษาเรียนรู้ที่เป็นสากลมากขึ้น

ในประเทศไทยเองมีกลุ่มคนที่สนใจและศึกษาพุทธวัชรยานอย่างลึกซึ้ง โดยได้เดินทางไปศึกษาทั้งจากทิเบตและจากโลกตะวันตก พวกเขาได้นำคำสอนที่มีคุณค่าเหล่านั้นกลับมาเผยแพร่ให้กับลูกศิษย์ชาวไทยเป็นเวลานานกว่าทศวรรษ ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่น่าสนใจว่าพุทธศาสนาวัชรยานนี้กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง คล้ายกับว่ากำลังเริ่มต้น “หยั่งราก” ลงสู่ผืนดินไทย

มูลนิธิพันดาราร่วมกับมูลนิธิวัชรปัญญาจึงได้จัดงานเสวนา “หยั่งรากวัชรยาน” ขึ้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 พฤษภาคม 2566 เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างสองสังฆะ รวมถึงความคิดเห็นต่อการงานทางธรรมที่จะทำให้พุทธวัชรยานสามารถหยั่งรากในสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนาคือ อ.กฤษดาวรรณ เมธาวิกุล, อ.เยินเต็น, วิจักขณ์ พานิช, คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง, ตัวแทนสังฆะพันดารา และตัวแทนสังฆะวัชรปัญญา



แรงบันดาลใจในการศึกษาพุทธวัชรยาน

อ.กฤษดาวรรณ เมธาวิกุล เล่าย้อนไปถึงช่วงที่เพิ่งเรียนจบใหม่ๆ ว่าตอนนั้นได้มีโอกาสเป็นตัวแทนยุวพุทธเถรวาทที่ได้เดินทางไปทำกิจกรรมร่วมกับตัวแทนจากชาติอื่นๆ ซึ่งในทริปนั้นอาจารย์ได้พบกับพระทิเบตสองรูปซึ่งจุดประกายให้เกิดความสนใจในวิถีและวัฒนธรรมของทิเบต จน 5 ปีหลังจากนั้น อาจารย์ก็ได้ไปศึกษาต่อปริญญาเอกด้านภาษาและวรรณกรรมทิเบต และได้พบกับหนังสือของท่านศานติเทวะที่ชื่อ “โพธิสัตว์จรรยาวจาร” หรือ “จริยวัตรของพระโพธิสัตว์” ซึ่งทำให้เกิดความประทับใจถึงความยิ่งใหญ่ของแนวคิดแบบมหายาน-วัชรยานผ่านตัวอักษรทิเบต

จากนั้นอ.กฤษดาวรรณ ได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาภาคสนามที่ประเทศเนปาลเป็นเวลาหนึ่งปี โดยได้ใช้ชีวิตอยู่กับผู้อพยพชาวทิเบตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้ๆ กับพระมหาสถูปโพธินาถ ตลอดปีนั้นเป็นช่วงเวลาที่อาจารย์ได้เรียนรู้หลายๆ อย่างจากวิถีการใช้ชีวิตของชาวทิเบตที่ผูกรวมอยู่กับศาสนา

“การได้ทุนไปทำวิจัยในทิเบตเป็นจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ของเรา เพราะมันทำให้เราได้เห็นความมหัศจรรย์แห่งจิตวิญญาณของชาวทิเบต แม้เราจะเกิดในดินแดนพุทธ แต่เรารู้สึกว่ามันขาดแรงบันดาลใจบางอย่างที่เสริมสร้างความรู้สึกของการให้ แต่พอได้ไปใช้ชีวิตในทิเบตช่วงนั้นมันเติมเต็มในส่วนนี้ของเรา และทำให้เราได้พบกับชีวิตใหม่”

อาจารย์เล่าต่อว่าแรงบันดาลใจนี้คงไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใดจากการฟังบรรยายของคุรุอาจารย์ท่านใดท่านหนึ่ง แต่เกิดจากประสบการณ์ที่สั่งสมผ่านการใช้ชีวิตกับชาวทิเบต ได้เรียนภาษาทิเบต ได้อ่านวรรณกรรมทิเบต แล้วก็ได้เดินทางไปอยู่ในทิเบต จนได้พบกับพระปฐมอาจารย์ที่ทำให้อยากจะศึกษาและฝึกปฏิบัติวัชรยานอย่างลงลึก

ด้านวิจักขณ์ พานิช ก็ได้เล่าถึงความสนใจด้านพุทธศาสนาของตัวเองตั้งแต่วัยหนุ่ม โดยเริ่มจากการฝึกปฏิบัติภาวนาในสายปฏิบัติของคุณแม่สิริ กรินชัย (ยุวพุทธิกะสมาคมฯ) ซึ่งในระหว่างการฝึกครั้งนั้นเขาได้มีประสบการณ์บางอย่างที่จุดประกายความอยากรู้อยากเห็นของเขาขึ้นมา

“ในการภาวนาครั้งนั้น เกิดประสบการณ์ที่พาให้ได้เข้าไปสัมผัสกับธรรมชาติบางอย่างของจิตใจ ซึ่งไม่สามารถอธิบายเป็นถ้อยคำหรือหลักเหตุผลได้เลย ประสบการณ์นั้นทำให้เกิดความคิดที่ชัดขึ้นมาในใจว่า หากจะมีอะไรที่อยากเข้าใจอย่างถ่องแท้ในชีวิต ก็คือสิ่งนี้”

หลังจากเรียนจบมหาวิทยาลัย วิจักขณ์ได้บวชอยู่ที่สวนโมกข์เป็นเวลาหนึ่งปี โดยระหว่างนั้นเขาได้เรียนการภาวนากับพระอาจารย์สิงห์ทอง เขมิโย อุปัฏฐากย์ของท่านอาจารย์พุทธทาส

“ช่วงที่อยู่สวนโมกข์ เรามีความดื่มด่ำกับการศึกษาธรรมะมาก เริ่มอินกับการฝึกฝนตนเอง การเข้าถึงความจริงแท้ของธรรมชาติ และฝึกท้าทายตัวเองเรื่องความกลัว นิสัย รูปแบบ และความเคยชินในชีวิตต่างๆ ตอนนั้นชอบชีวิตพระมากเลยนะ แต่ขณะเดียวกันก็เห็นถึงข้อจำกัดด้วย อยากเรียนรู้อะไรที่กว้างขึ้น เลยเริ่มมองหาสถานที่ที่จะได้ทั้งภาวนาและเรียนไปด้วย เลยตัดสินใจว่าจะไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยนาโรปะ”

“ช่วงแรกไม่ได้มีความสนใจเกี่ยวกับพุทธวัชรยานเลย แต่ก็เริ่มสัมผัสถึงความเปิดกว้างและได้รู้จักสายปฏิบัติที่หลากหลายตั้งแต่ตอนอยู่ที่สวนโมกข์ เริ่มเห็นว่าเถรวาท มหายาน และวัชรยาน ไม่ได้มีกำแพงกั้นระหว่างกันอย่างที่เคยรับรู้มา ตอนก่อนจะไปนาโรปะ รู้สึกอยู่ลึกๆ ประมาณว่า ทำไมพุทธศาสนาต้องแบ่งแยก ทำไมต้องมีข้อห้ามหรือเงื่อนไขเต็มไปหมด ทั้งเรื่องเพศ สังคม ความเป็นธรรม สังคม การเมือง ฯลฯ ในใจเกิดคำถามว่า จะมีสักที่ไหมที่ตอบความสนใจทั้งหมดของเราตรงนี้”

จนวิจักขณ์ได้เจอกับ อ.เรจินัลด์ เรย์ อาจเรียกว่า การได้พบคุรุถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของเขา


“อาจจะเรียกว่า เราเจอครูก่อน ที่จะเจอวัชรยานก็ได้ เราไม่สนเลยว่าจะชื่อว่าพุทธอะไร แต่เราอยากเรียนกับครูคนนี้ พอได้เจอครูแล้ว จึงค่อยเห็นว่าแผนที่วัชรยานนำไปสู่อะไร แล้วเกิดความรู้สึกว่านี่แหละคือสิ่งที่เราตามหา นี่แหละตรงกับความปรารถนาลึกๆ ของเรา ถ้าถามว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้สนใจวัชรยาน มันคือเรื่องความใกล้ชิดระหว่างศิษย์กับครู ความศรัทธาต่อบางสิ่งบางอย่างที่ใหญ่กว่าตัวเรามากๆ แล้วก็เรื่องของภาษาและประสบการณ์ที่พ้นไปจากการแบ่งขั้วทวิลักษณ์ เรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ ความรัก ความงาม และการย้อนกลับมาเคารพสังสารวัฏ สัมพันธ์กับผู้คน เพื่อนมนุษย์ สรรพสัตว์ อย่างเท่ากันเสมอกัน”


ในวงเสวนายังมี อ.เยินเต็น อีกหนึ่งท่านที่เข้ามาร่วมพูดคุยด้วยกัน โดย อ.เยินเต็น เป็นหนึ่งในคุรุประจำสังฆะพันดาราซึ่งเดินทางมาจากทิเบตโดยตรง อ.ตุล จึงชวนพูดคุยถึงสถานการณ์และความเป็นไปของศาสนาพุทธในทิเบตในปัจจุบัน

อ.เยินเต็น เริ่มจากการอธิบายว่าส่วนใหญ่แล้ว ชาวทิเบตจะบวชเรียนกันตั้งแต่เด็ก โดยมีพ่อแม่พาไปบวช โดยมีประเพณีว่า หากครอบครัวไหนมีลูกชายสองคน หนึ่งในนั้นจะต้องบวช (แต่ในปัจจุบันประเพณีนี้เริ่มมีน้อยลง) ซึ่งนักบวชรุ่นใหม่ๆ เหล่านี้จะได้เรียนพุทธธรรมแบบ “ข้ามนิกาย” ซึ่งนับว่าเป็นรูปแบบการศึกษาแบบใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมลามะทิเบต

“ชาวทิเบตมีนิกายมากมายและแต่ละนิกายก็มีรายละเอียดของหลักสูตรไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะในส่วนของคำสอนขั้นสูง ซึ่งในสมัยก่อนนิกายเหล่านี้ไม่มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันข้ามสาย แต่ทุกวันนี้สังคมทิเบตเปลี่ยนไปแล้ว แต่ละนิกายพร้อมที่จะเปิดรับองค์ความรู้จากนิกายอื่นๆ วัดขนาดใหญ่จะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างนิกายมาบรรยายและแลกเปลี่ยนในลักษณะของงานเสวนาอย่างที่เราทำกัน สิ่งนี้นับว่าเป็นอนาคตของพุทธธรรมในทิเบตที่ทำให้เหล่านักบวชรุ่นใหม่ๆ สามารถเรียนรู้หลักปฏิบัติที่หลากหลายและรุ่มรวยของนิกายวัชรยานในทิเบต”



จุดเด่นของพุทธศาสนาวัชรยาน

อ.กฤษดาวรรณ เล่าว่ามีหลายอย่างในพุทธวัชรยานที่เธอประทับใจ ช่วงแรกอาจจะเป็นเรื่องของความรัก ความกรุณา การได้พบคุรุแล้วเกิดแรงบันดาลใจจากท่าน แต่เมื่อเดินบนเส้นทางไปเรื่อยๆ ผ่านการฝึกฝนปฏิบัติ ความประทับใจแรกจะพัฒนาสู่ความหมายและการเติบโตของคำว่า “โพธิจิต” ที่ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะช่วยให้คนอื่นได้ตื่นรู้และเห็นความหมายของชีวิต โดยพร้อมที่จะเผชิญกับอุปสรรคนานา

“เรารู้สึกว่าวิถีนี้มันช่างนำพาเราไปโดยไม่ให้สนใจจุดมุ่งหมายของตัวเองเลย เป้าหมายของตัวเองมันไม่มี เพราะเป้าหมายของเราและชีวิตอื่นคือสิ่งเดียวกัน นั่นคือการหลุดพ้น อีกสิ่งที่ประทับใจมากๆ ตั้งแต่วันแรกคือคำว่าคุรุ สิ่งที่คุรุทำให้กับศิษย์ เราไม่ต้องไปหาพระโพธิสัตว์ที่ไหนไกลเพราะท่านอยู่กับเราตรงนี้แล้ว เราพบกับท่านในฐานะบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้มีชื่อเสียงโด่งดัง และการที่เรามีเขาอยู่ เราจึงเปลี่ยนแปลงตัวเอง ไม่ใช่หน้าตาของท่าน ไม่ใช่เสื้อผ้าที่ท่านสวมใส่ หมวกที่ท่านมี หรือบัลลังก์ใหญ่ที่ท่านได้รับ แต่มันคือหัวใจที่ท่านพร้อมจะให้กับศิษย์ เพราะท่านอุทิศตัวเองที่จะช่วยเราและคนอื่น”

“เมื่อเราฝึกวัชรยาน ขอให้เราเปิดกว้าง อย่ารีบหาคำตอบสำหรับสิ่งใด เพราะความเข้าใจนั้นไม่ใช่สิ่งสำเร็จรูป มันเป็นเพียงคำตอบของคนอื่นหรือเป็นการท่องจำข้อความในหนังสือ ความเข้าใจในวัชรยานจะมาพร้อมกับความเข้าใจในความหมายของสายสัมพันธ์คุรุ-ศิษย์ หรือความเข้าใจเรื่องโพธิจิต ซึ่งแม้จะสวดมนตราเป็นแสนๆ ครั้งก็อาจจะยังไม่เข้าใจ เพราะความเข้าใจเกิดขึ้นผ่านการเปลี่ยนจากข้างใน ไม่ใช่เรื่องของจำนวนการสวดมนตรา”

อ.กฤษดาวรรณเล่าย้อนไปถึงก้าวแรกที่ตัดสินใจเดินบนเส้นทางของการทำงานทางธรรม ที่จนถึงวันนี้ก็เป็นเวลากว่า 20 มาแล้ว

“ไม่เคยเลยที่จะรู้สึกว่าเวลาที่ผ่านมาเป็นสิ่งน่าเสียดาย แต่อาจจะมีวันที่รู้สึกกังวลบ้างว่าเราจะไปอย่างไรต่อ เพราะเราไม่เคยได้วางแผนเส้นทางเอาไว้ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นมันคือการลงมือทำมาตลอด คิดจะทำแล้วก็ทำเลย บางวันจึงอาจจะมีความกังวลเกิดขึ้นมาบ้างซึ่งมันมาแล้วก็ผ่านไป แต่ความสุข ความเบิกบาน ความสบายใจมีเยอะมาก ทั้งยังภูมิใจที่เราได้นำคำสอนเหล่านี้มาบอกเล่าแก่ผู้อื่น”

ด้านของวิจักขณ์เล่าว่า เมื่อได้ก้าวขาเข้าสู่โลกวัชรยานแล้ว ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเด่นชัดคือ “Enlightenment is real” ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตล้วนแต่เป็นเส้นทางที่พาเราไปสู่การตื่นรู้

“การตรัสรู้ การรู้แจ้ง การสัมพันธ์กับครูบาอาจารย์ สายปฏิบัติ สังฆะ หรือแม้แต่จักรวาลที่ทำงานกับเราในแต่ละขณะ มันไม่ได้เป็น myth อีกต่อไป ทุกสถานการณ์ที่เราต้องเข้าไปสัมพันธ์ด้วย อุปสรรค ความท้าทาย และปัญหาทั้งหมด คือส่วนสำคัญของเส้นทางสู่ Enlightenment เมื่อฝึกวัชรยาน เรารู้สึกได้จริงๆ ว่าทั้งหมดทั้งปวงที่เข้ามาทำงานกับเรา มาช่วยให้เราหลุดพ้น คำว่า “ตรัสรู้” ที่เคยอ่าน เคยเรียน เคยได้ยิน แต่ลึกๆ ยังไม่เชื่อว่ามันเป็นไปได้จริง แต่วัชรยานทำให้สัมผัสได้จริง เราอยู่ในมณฑลอันศักดิ์สิทธิ์ อยู่ในอ้อมกอด การเกื้อหนุน และความรักของครูบาอาจารย์ และพรที่ส่งมาอย่างไม่ขาดสาย”

“ในการทำงานทางธรรม ผมก็รู้สึกคล้ายกับ อ.กฤษดาวรรณ คือบ่อยครั้ง ไม่รู้จะไปต่อยังไง แต่แล้ว ก็มักจะมีสัญญาณ หรือสิ่งนำทางเกิดขึ้นในชีวิตอยู่โดยตลอด หลายคนอาจคิดว่าที่ทำมูลนิธิวัชรปัญญา สร้างสังฆะ ทำวัชรสิทธา หรือโครงการต่างๆ มาจากการวางแผน แต่จริงๆ ผมไม่เคยวางแผนอะไรสักอย่าง สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดล้วนคือ พรจากครูบาอาจารย์”

“เหมือนจู่ๆ เราก็หลุดเข้าไปอยู่ในวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่ของครูบาอาจารย์ จนทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่สามารถไปทำอย่างอื่นได้อีกแล้ว เพราะนี่คือสิ่งที่งดงามและมีค่าที่สุด ซึ่งจริงๆ ตัวเองก็ไม่ได้มีความทะเยอทะยานที่จะมาทำอะไรแบบนี้เลยนะ แต่รู้ตัวอีกทีก็ทำอย่างอื่นไม่ได้แล้ว ตอนกลับไทยมาใหม่ๆ ยังมีความลังเลนะว่าจะทำอะไรดี แต่ทั้งหมดเริ่มต้นด้วยความปรารถนาที่จะถ่ายทอดสิ่งที่เรียนมาจากอาจารย์ให้กับคนอื่น เพราะมันคือสิ่งมีค่ามาก ที่เราไม่อยากให้มันหายไป”

นอกจากนี้วิจักขณ์ยังเสริมว่า จริงๆ แล้ววัชรยานมีฐานเป็นมหายาน ซึ่งก็คือโพธิจิต หรือศักยภาพของจิตใจที่เปิดกว้าง โอบรับทุกความเป็นไปได้ ทุกแง่มุมของมนุษย์ ทั้งในตัวเราเองและคนอื่น วัชรยานจะยิ่งทำให้โพธิจิตนี้เบ่งบานและเปล่งประกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่งดงามและมีค่ายิ่ง

“วัชรยานจะมีความภูมิใจเรื่อง unbroken lineage หรือ “ความไม่ขาดสาย” ของสายปฏิบัติ เพราะวัชรยานเป็นธรรมะที่มีชีวิต ส่งผ่านจากจิตสู่จิต เป็นธรรมะที่มอบให้กันด้วยความรัก เหมือนที่อาจารย์กฤษดาวรรณบอกว่า คำสอนวัชรยานต้องผ่านการฝึกฝนอย่างหนักเพื่อที่จะได้รับมา ในแต่ละรุ่นมีคนที่อุทิศตนเพื่อรับและส่งต่อสิ่งนี้ ซึ่งเมื่อผมเองก็ไปรับมาแล้ว เราเลยไม่สามารถไปทำอย่างอื่นได้นอกจากหาวิธีส่งต่อมันให้กับคนอื่น ซึ่งแม้มันจะยาก ก็ถือเป็นเกียรติของชีวิตนะ ที่ได้ทำสิ่งนี้”

117  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ หนังสือแนะนำ / วิกรมจริต สุดยอดวรรณคดีสันสกฤต ผู้นิยมอ่านมากที่สุดไม่แพ้นิทานเวตาล เมื่อ: 26 ธันวาคม 2566 17:43:02


วิกรมจริต

เป็นยอดวรรณคดีเอกของสันกฤตที่มีผู้นิยมอ่านมากที่สุดไม่แพ้นิทานเวตาล เป็นต้นสกุล นิทานสิบสองเหลี่ยม หรือ นิทานอิหร่านราชธรรม
ที่ปราชญ์ไทยแปลไว้ตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื้อเรื่องกล่าวสดุดีพระเจ้าวิกรมาทิตย์ ราชาแห่งกรุงอุชชยินี กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะ
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๕ ต่อกับศตวรรษที่ ๖ มุ่งให้คติธรรม ความกล้าหาญ ความเสียสละ และความสุขในการดำเนินชีวิต

นิยายสันสกฤต ประเภทรวบรวมนิทานสดุดีพระราชาผู้ทรงคุณธรรม คือ พระเจ้าวิกรมาทิตย์ แห่งกรุงอุชชยินี พระเจ้าวิกรมาทิตย์เป็นกษัตริย์ราชวงศ์คุปตะ ในช่วงคริสตศตรรษที่ 5 ต่อกับศริสตศวรรษที่ 6 กับการรวบรวมนิยายต่างๆ เกี่ยวกับชีวิตของพระองศ์



เรื่องวิกรมจริต (เรื่องราวของพระเจ้าวิกรม) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สิงหาสนทวาตริงศติกา (เรื่องของพระแท่นที่ประกอบด้วยตุ๊กตาสามสิบสองตัว) แปลและเรียบเรียงเป็นพากย์ไทย พิมพ์รวมเล่มสืบจากนิยายสันสกฤต 100 เรื่อง (ภารตนิยาย) วิกรมจริตเป็นงานประเภทรวบรวมนิทานสดุดีพระราชาผู้ทรงคุณธรรม คือ พระเจ้าวิกรมาทิตย์ แห่งกรุงอุชชยินี พระเจ้าวิกรมาทิตย์เป็นกษัตริย์ราชวงศ์คุปตะ ในช่วงคริสตศตรรษที่ 5 ต่อกับศริสตศวรรษที่ 6 การรวบรวมนิยายต่างๆ เกี่ยวกับชีวิตของพระองค์คงจะเกิดจากการดัดแปลงมาจากเรื่องราวอันเป็นคติธรรมในศาสนาไชน์ ความเก่าแก่ของนิยายวิกรมาทิตย์นี้คงจะมีก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 11 และได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วประเทศอินเดีย การที่ข้าพเจ้าได้นำเสนอเรื่องวิกรมจริตในพากย์ไทยดังนี้ ก็เพราะคำนึงถึงเหตุ 2 ประการคือ เรื่องวิกรมจริตนี้เป็นวรรณคดีเอกของสันสกฤตเล่มหนึ่ง ซึ่งมีผู้อ่านนิยมอ่านมากที่สุด ไม่แพ้ นิทานเวตาล หิโตปเทศ ทศกุมารจริต และอื่น ๆ ควรจะนำมาเผยแพร่ในวงวรรณกรรมไทยให้เป็นที่ประจักษ์ นี้เป็นประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งก็คือ ต้องการจะชี้ให้เห็นคุณธรรมของมหาบุรุษตัวอย่าง ผู้มีความกล้าหาญเป็นเลิศ มีความเสียสละอย่างยอดยิ่ง และเป็นผู้มีเมตตาธรรมอันสูงสุด ข้าพเจ้าจึงเห็นสมควรจะนำเสนอต่อผู้อื่น เพื่อเป็นประโยชน์ทั้งในด้านเนื้อหาและคติธรรมอันดีงามในชีวิตสืบไป..."

ตัวอย่าง หนังสือเสียงบางบท

<a href="https://www.youtube.com/v//9l71Q1zGVmI" target="_blank">https://www.youtube.com/v//9l71Q1zGVmI</a>

https://youtu.be/9l71Q1zGVmI?si=8l9pcEwQTsZGhq40

<a href="https://www.youtube.com/v//ACDcPRV0svc" target="_blank">https://www.youtube.com/v//ACDcPRV0svc</a>

https://youtu.be/ACDcPRV0svc?si=uON2-vbfkX1G_ipk

<a href="https://www.youtube.com/v//FEh7bMLhYL4" target="_blank">https://www.youtube.com/v//FEh7bMLhYL4</a>

https://youtu.be/FEh7bMLhYL4?si=9JTwmWgfUvMNLezJ

<a href="https://www.youtube.com/v//PHcLNrKOu_0" target="_blank">https://www.youtube.com/v//PHcLNrKOu_0</a>

https://youtu.be/PHcLNrKOu_0?si=CIgFM60lDR71KiwK

Playlist ฟังจนจบเล่ม https://youtube.com/playlist?list=PLFdy70zLYvEHAv3vzehUM06VDvYMrIw5T&si=HEPndHNCVKR9WAnY

สำรอง http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16193.0.html
118  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / สัมภารวิบาก: อสงไขยกาลกับปณิธานพระโพธิสัตว์ (ชื่อรอง กว่าจักเป็นพระพุทธเจ้า) เมื่อ: 26 ธันวาคม 2566 11:21:14
สัมภารวิบาก: อสงไขยกาลกับปณิธานพระโพธิสัตว์ (ชื่อรอง กว่าจักเป็นพระพุทธเจ้า)

หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือที่มีคุณค่ายิ่ง ว่าด้วยข้อปฏิบัติอันเกี่ยวกับการบำเพ็ญบารมีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

** หาเล่มเต็มอ่านเอง คัดมาแค่ ฉบับย่อ ดาวโหลด ตามลิ้ง




















ฉบับย่อ https://fliphtml5.com/xmfa/uubi/basic/51-52

เพิ่มเติม https://archive.org/details/PaitoonInthavong02?webamp=default


ขยายความ ฟังเพิ่มเติม

<a href="https://www.youtube.com/v//FPNaS5yU6Fo" target="_blank">https://www.youtube.com/v//FPNaS5yU6Fo</a>

https://youtu.be/FPNaS5yU6Fo?si=sGAVMYiBRwL1Ye0C

<a href="https://www.youtube.com/v//BKpUoze1r-M" target="_blank">https://www.youtube.com/v//BKpUoze1r-M</a>

https://youtu.be/BKpUoze1r-M?si=_hih2cI9DkLradlm

<a href="https://www.youtube.com/v//AxFfLq6v7a0" target="_blank">https://www.youtube.com/v//AxFfLq6v7a0</a>

https://youtu.be/AxFfLq6v7a0?si=tQT5VH55QJhVdzlE

Link นี้ ฟังจนจบเลย https://youtube.com/playlist?list=PLJETxa2KOI1n2MF8_2qCypslrZwDog1Ok&si=xCIX4l7_hX1GfdM1

เพิ่มเติม

เรื่องราวโดยย่อในสัมภารวิบาก

๑.เรื่องราวก่อน ๒๐ อสงไขย แสนกัป มีนิทาน ๒ คือ

๑.๑ ชื่อว่า พาหิรนิทาน มี ๓ ชาติ คือ



ชาติที่ ๑ เรื่องนายเรือผู้เป็นที่รักของมารดา
ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าครั้งแรกภายนอกพระพุทธศาสนา



ชาติที่ ๒ เรื่อง พระเจ้าคชัปปิยะ หรือพระเจ้าสัตตุตาปะ
ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าครั้งที่ ๒ ภายนอกพระพุทธศาสนา



ชาติที่ ๓ เรื่องพรหมฤาษี
ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าครั้งที่ ๓ ภายนอกพระพุทธศาสนา

๑.๒ ชื่อว่า อัชฌัตติกนิทาน มี ๑ ชาติ คือ



เรื่องพระราชบุตรี ผู้ถวายน้ำมันเมล็ดพันธุ์ผักกาด
ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าครั้งที่ ๔ ภายในพระพุทธศาสนา


๒. มโนปณิธานมี ๗ อสงไขย
ชื่อว่า มหานิทาน



เรื่องพระเจ้าอติเทพ หรือพระเจ้าอรดีเทวราช
ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าภายในใจครั้งแรก
ต่อพระพักตร์ของพระพรหมเทพสัมมาสัมพุทธเจ้า



๓.วจีปณิธานมี ๙ อสงไขย
ชื่อว่า อติทูเรนิทาน



เรื่องพระเจ้าสาคร
ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าด้วยการเปล่งวาจาครั้งแรก
ต่อพระพักตร์ของพระปุราณศักยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า


๔. เรื่องราวภายใน ๔ อสงไขย แสนกัป
ชื่อว่า อวิทูเรนิทาน



สุเมธดาบส ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก
จากพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า

 ในระหว่าง ๔ อสไขย แสนกัปนี้ พระโพธิสัตว์ ได้รับพุทธพยากรณ์     จากพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ที่ทรงอุบัติขึ้น นับได้ ๒๔ พระองค์ มีพระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น มีพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่สุด.



การเดินทางแห่งพระพุทธเจ้า..จนกว่าจะถึงที่สุดแห่งทุกข์..คือ..พระนิพพาน

การตั้งจิตปรารถนาครั้งแรกนอกพระพุทธศาสนา เพราะขณะนั้นยังไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในชาตินั้น พระโพธิสัตว์กล่าวได้ว่าเป็น อนิยตโพธิสัตว์ เกิดเป็นมานพหนุ่มยากจน ได้สละชีวิตแบกมารดาข้ามมหาสมุทร เป็นเรื่องราวเบื้องต้นก่อน ๒๐ อสงไขยแสนกัปป์ และจวบจนได้รับพุทธพยากรณ์จากพระทีปังกรพุทธเจ้า ซึ่งกล่าวได้ว่า เป็นนิยตโพธิสัตว์ หลังจากนั้นได้ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ มาตลอด ๔ อสงไขยแสนกัป จวบจนได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

จาก http://www.namjaidham.net/forum/index.php?topic=137.0

Link สำรอง http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16191.0.html
119  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ หนังสือแนะนำ / เมื่อทุกอย่างพังทลาย : หนทางฝึกใจในช่วงเวลาวิกฤตของชีวิต เมื่อ: 23 ธันวาคม 2566 14:05:13




เมื่อทุกอย่างพังทลาย : หนทางฝึกใจในช่วงเวลาวิกฤตของชีวิต : When Things Fall Apart : Heart Advice for Difficult Times

โอกาสแห่งการได้สัมผัสกับความสุขนั้นอยู่ใกล้แค่เอื้อม แต่ช่างน่าขันที่เรามักพลาดโอกาสนั้น เพราะมัวลนลาน พยายามหลีกหนีออกจากความทุกข์และความเจ็บปวด...

โดย : เพม่า โชดรัน (Pema Chodron)
แปล : วิจักขณ์ พาณิช และ อัญชลี คุรุรัช

โอกาสแห่งการได้สัมพัสกับความสุขนั้นอยู่ใกล้แค่เอื้อม แต่ช่างน่าขันที่เรามักพลาดโอกาสนั้น พยายามหลีกหนีออกจากความทุกข์และความเจ็บปวด เมื่อทุกย่างพังทลาย...คือ คำสอนอันเรียบง่ายและลึกซึ้ง ซึ่ง "เพม่า โชดรัน" กลั่นกรองจากประสบการณ์การฝึกฝนในพุทธศาสนาธิเบต คำชี้แนะอันห้าวหาญและเปี่ยมกรุณาของเพม่าเหมาะสำหรับช่วงเวลาที่ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตพังทลาย มันช่างแตกต่างไปจากคำสอนทั่วไปที่เราคุ้นเคยและคาดหวังว่าจะได้ยิน เพราะมีเพียงหนทางเดียวที่จะยังประโยชน์อย่างยั่งยืน เพม่ากล่าวว่าหนทางนั้นคือการเคลื่อน "เข้าหา" สถานการณ์อันเจ็บปวดด้วยความเป็นมิตร ความสงสัยใคร่รู้ และผ่อนคลายในภาวะไร้หลักยืน อาจกล่าวได้ว่า...ท่ามกลางความโกลาหลนั่นเองที่เราจะสามารถค้นพบสัจธรรมและความรักอันไม่อาจถูกทำลายได้

สารบัญ

- สนิทสนมกับความกลัว
- เมื่อทุกอย่างพังทลาย
- ชั่วขณะนี้คือครูที่ดีที่สุด
- ผ่อนคลายตามที่เป็น
- ไม่มีคำว่าสายเกินไป
- ไม่ทำบาป
- ความสิ้นหวังและความตาย
- โลกธรรม 8
- ความโดดเดี่ยวหกแบบ
- สนใจใคร่รู้กับชีวิต
ฯลฯ


<a href="https://www.youtube.com/v//dh_QSIxoeig" target="_blank">https://www.youtube.com/v//dh_QSIxoeig</a>

https://youtu.be/dh_QSIxoeig?si=0VjnGW552uAiuvg1


<a href="https://www.youtube.com/v//I8rw2FPuIcQ" target="_blank">https://www.youtube.com/v//I8rw2FPuIcQ</a>

https://www.youtube.com/live/I8rw2FPuIcQ?si=6_F-IO-lL9k2Qcmv

<a href="https://www.youtube.com/v//TIJTrXHYsJM" target="_blank">https://www.youtube.com/v//TIJTrXHYsJM</a>

https://youtu.be/TIJTrXHYsJM?si=y1JrKAGBjFmleR5f

จาก http://www.tairomdham.net/index.php?topic=16187.msg47304#msg47304
120  นั่งเล่นหลังสวน / สุขใจ หนังสือแนะนำ / คุณคางคกไปพบนักจิตบำบัด : การผจญภัยทางจิตวิทยา เมื่อ: 23 ธันวาคม 2566 11:25:13
คุณคางคกไปพบนักจิตบำบัด : การผจญภัยทางจิตวิทยา








คุณคางคกไปพบนักจิตบำบัด
หนังสือจิตวิทยาโรคซึมเศร้าในรูปแบบงานวรรณกรรม บอกเล่ากระบวนการจิตบำบัดผ่านตัวละครที่มีคาแร็กโดดเด่น

นายคางคกตกอยู่ในสภาพหดหู่อย่างมาก และเพื่อนรักของเขาทั้งหนู ตัวตุ่นและแบดเจอร์ ต่างพากันกังวลว่า เขาอาจทำอะไรโง่ๆ… ในที่สุด แบดเจอร์ก็ทนไม่ไหวอีกต่อไป เขาเห็นว่าคางคกอาการแย่เกินกว่าจะหายด้วยการปลอบใจจากกลุ่มเพื่อน สิ่งที่คุณคางคกต้องการในตอนนี้ก็คือ “การเข้ารับการปรึกษาจากนักจิตบำบัด”


นี่คือหนังสือจิตวิทยาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในรูปแบบงานวรรณกรรม ผลงานของ Robert de Board บอกเล่ากระบวนการจิตบำบัดสำหรับผู้ป่วยซึมเศร้า ผ่านตัวละครที่มีคาแร็กเตอร์โดดเด่นอย่างคางคกซึ่งเป็นตัวละครหลักจากวรรณกรรมคลาสสิกเรื่อง Winds in the Willows  ของเคเนท แกรม ภายในเล่มผู้อ่านจะได้เห็นลักษณะอาการพัฒนาการความฉลาดทางอารมณ์ ของคนที่เป็นโรคซึมเศร้า ผ่าน "คุณคางคก"  ติดตามกระบวนการทำจิตบำบัดของ “คุณนกกระสา” และยังได้เห็นมิตรภาพ ความคิดความรู้สึกและวิธีการของคนรอบข้างที่พึงปฏิบัติต่อผู้ป่วย อย่าง หนู ตัวตุ่น และแบดเจอร์ ที่อยากจะช่วยคนไข้ให้อาการดีขึ้น
















จาก https://www.nanmeebooks.com/product/counselling-for-toads/230308778

<a href="https://www.youtube.com/v//bPXY0e6xp0w" target="_blank">https://www.youtube.com/v//bPXY0e6xp0w</a>

https://youtu.be/bPXY0e6xp0w?si=xuAkUhylmJRSbts8

<a href="https://www.youtube.com/v//aucZFSLj7xA" target="_blank">https://www.youtube.com/v//aucZFSLj7xA</a>

https://youtu.be/aucZFSLj7xA?si=ouSUoHo7IedtzjNi

<a href="https://www.youtube.com/v//xGcTCEzKpVE" target="_blank">https://www.youtube.com/v//xGcTCEzKpVE</a>

https://youtu.be/xGcTCEzKpVE?si=YCYpWaCy-fgq1BTc

เจอ 2 ตอน เขาพึ่งลงหนังสือเสียง เข้าอ่านจนจบเล่มเองนะ https://youtu.be/xGcTCEzKpVE?si=YCYpWaCy-fgq1BTc

Link สำรอง http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16186.0.html
หน้า:  1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 236
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.404 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 20 เมษายน 2567 06:37:14