[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 เมษายน 2567 09:38:06 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 226 227 [228] 229 230 ... 236
4541  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: มันดาลา หรือ เบญจคุณ พลวัตแห่งความว่าง: ปัญจพุทธกุล หรือ พลังปัญญาห้าสี เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:45:06
เทียบเคียงกับ Voice Dialogue
 
กระบวนการในวอยซ์ไดอะล็อค หนึ่ง น่าจะให้ความสำคัญกับตัวตนเล็ก ๆ ตัวตนย่อยทั้งหมดที่มี ว่าจะเก็บไพ่ที่ทิ้งไปให้ได้ครบสำรับอย่างไร เอาไพ่มาถือไว้ในมือ พร้อมจะใช้ได้ทุกใบ
 
วิถีแบบมันดาลา ก็คงไม่ได้ปฏิเสธ Totality หรือ ความเป็นทั้งหมด
 
และทั้งสองต่างก็ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ของไพ่ใบต่าง ๆ มันดาลาอาจมีไพ่เพียงห้าใบ มั๊ง แต่ว่า แต่ละใบก็ยังแตกออกไปได้ในทางลบ และทางบวกอีกด้วย วอยซ์ไดอะล็อคมีไพ่ได้ไม่จำกัด เพราะไม่ได้ตั้งเอาไว้อย่างตายตัว ยังสำรวจตรวจตรา สืบค้นออกไปได้อีกเรื่อย ๆ กระมัง ที่สำคัญวอยซ์ไดอะล็อคให้ความสำคัญว่า ไพ่แต่ละใบจะมีไพ่ที่เป็นคู่ตรงกันข้าม เป็นหยินกับหยาง เป็นคู่ปรับสมดุลกัน เช่น pusher จะตรงกันข้ามกับ Being หรือแปลไทยก็ว่า คนที่ผลักดันตัวเอง และคนอื่น ๆ จะพยายามทำอะไรให้ได้มาก ๆ ซึ่งจะอยู่ตรงข้ามกับคนที่ ไม่ขวนขวาย หากพอใจกับตัวเองแล้ว ก็จะมีคู่แบบนี้ไปในทุก ๆ ตัวตนย่อย ๆ หรืออวัยวะแห่งจิตต่าง ๆ นี้ ไม่รู้ว่าจะใช้คำว่า เจตสิกได้ไหม? เอ่ย?
 
Pusher ในมันดาลา อาจเป็น กรรมจริต โดยที่คนที่นิ่งและพอใจ อาจเป็นพุทธจริต นิ่งพอใจ เปิดพื้นทีให้คนอื่น ในมันดาลา มันเป็นเรื่องสมดุลกระมัง คือกรรมะนั้นต้องการเข้าไปกระทำกับโลก และอยากให้โลกเป็นไปตามความคิดของเรา พุทธะ รู้และพอใจ จะกระทำบ้าง ตามจังหวะที่มันควรจะเป็น ด้วยความรู้ที่ตัวมีอยู่ และพื้นฐานก็ไม่ได้ต้องการผลักดันอะไรมากนัก
 
คือในมันดาลา ไดริน่า รอคเวล (Irina Rockwell) เขียนไว้ว่า สมดุลมันจะได้มาจาก การทำสมดุลของจริตต่าง ๆ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “พลัง” ต่าง ๆ ในห้าพลังนั้น อาจมีตัวหลักตัวรอง เพราะฉะนั้น การเสริมกัน จึงเป็นไปได้
4542  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: มันดาลา หรือ เบญจคุณ พลวัตแห่งความว่าง: ปัญจพุทธกุล หรือ พลังปัญญาห้าสี เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:44:37


 

มันดาลา บวกและลบ
 
ตรงนี้ก็เป็นหยินและหยางหรือไม่ เมื่อรัตนาเป็นลบ มันคือความต้องการ ความปรารถนาจะมีจะได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ภพภูมิของมันเมื่อเป็นลบคือเปรต ปากเล็กท้องโต คือจะต้องการ จะปรารถนาอยู่ตลอดเวลา แต่ในความเป็นบวกของมันก็คือ ความรู้สึกมั่งคั่งพรั่งพร้อม แม้ในสิ่งที่มีอยู่ธรรมดา เช่น เพียงได้ดื่มน้ำเปล่า หรือแม้แต่การได้สูดลมหายใจอันบริสุทธิ์สดชื่น ๆ ธรรมดา ๆ นี่เอง พลังบริสุทธิ์ของมันคืออุเบกขา
 
ส่วนวิชระ หรือวัชรานั้นตีความเป็นคำ ๆ เดียวว่า “ความคิด” รวมความทั้งคิดแบบหมีและอินทรีเอาไว้ ความเป็นบวกของมันก็คือปัญญาแห่งการเป็นกระจกใส สะท้อนความเป็นจริง ความเป็นลบของมันก็คือความแข็งตัวของกรอบคิด ความไม่ยืดหยุ่น ก็คือติดลบของหมี อนุรักษ์นิยม และไม่ยืดหยุ่น ร่างกายของคนที่มีกรอบคิดตายตัวพวกนี้ ไหล่หลังก็จะแข็งทื่อไปด้วย พลังบริสุทธิ์ของมันคือปัญญา
 
ปัทมะ ปัทมาคืออารมณ์ความรู้สึก คือความสัมพันธ์ คือความอ่อนหวานที่ทำให้ความสัมพันธ์ราบรื่น ความเป็นลบของมันคือความเจ้าอารมณ์ และความไม่คงเส้นคงวา ความปรารถนาในความตื่นเต้นและความเข้มข้นทางอารมณ์อย่างไม่รู้จักหยุดหย่อน แม้ว่า อารมณ์นั้นจะเป็นความเจ็บปวด ก็ยังดีกว่า ไม่มีอารมณ์อันใดเลย เวลาอยู่ในโหมดปกป้อง ปัทมะจะพยายามเอาใจผู้คน ปัทมะต้องการความรัก อย่างไม่มีจบสิ้นเมื่อมันอยู่ในแดนลบ แต่จะให้ความรักได้อย่างใจกว้าง เมื่อมันอยู่แดนบวก พลังบริสุทธิ์ของมันคือกรุณานั่นเอง
 
แล้วกรรมะเล่าเป็นเช่นไร ด้านบวกของมันก็คือทุกสิ่งเป็นไปได้ ทำให้เกิดขึ้นได้ ทำงานกับมันได้ ไม่ทึบตัน แบบเจาะเข้าไปทำอะไรไม่ได้เลย เวลาเข้าแดนลบ มันไปในทางต้องการจะควบคุม เวลาอยู่ในโหมดปกป้อง ความต้องการควบคุมนี้จะเด่นดวงขึ้นมา เวลาเป็นบวก มันคือการจัดทำจัดสรร ที่ก่อให้เกิดสิ่งที่ต้องการได้ ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ โลกเต็มไปด้วย ความสร้างสรรค์ของพลังแห่งกรรมะ หรือพลังแห่งการก่อเกิด ในด้านลบอีกด้าน ก็คือ มันจะทำโน่นทำนี่ไม่รู้จักหยุดหย่อน ปราศจากสมดุลความพอดี มันจะไปอยู่ในคลื่นสมองแบบเบต้าแก่ ๆ ซึ่งทำให้เป็นเทปม้วนเก่า อันปราศจากปัญญา ที่จะพิจารณาใคร่ครวญ จะขาดวัชระ และเมื่อมัน แก่ ๆ เช่นนี้ การรับฟังความอื่นก็น้อยลง หรือไม่มี ก็เป็นการขาดพุทธะ หรือ การให้พื้นที่แก่คนอื่น ๆ
 
สุดท้ายคือพุทธะจริต พื้นฐานและพลังบริสุทธิ์ของมันคือพื้นที่ หรือความว่าง คือเป็นพื้นที่ให้อะไรต่ออะไรเกิดขึ้นได้ เมื่อเป็นบวกคือการเปิดพื้นที่ให้ผู้อื่น เมื่อเป็นลบ คือความรู้สึกหดแคบลงของพื้นที่ แบบว่า “ไม่เอา ฉันไม่แคร์” คือฉันไม่แคร์และไม่เอาอะไรกับใครทั้งนั้น พื้นที่ หรือ ความว่าง อันนี้คือ ธรรมธาตุ คือตัวความรู้นั้นเอง ตรงกันข้ามของมันคือ “ไม่รู้” สับสน เวลาใครถามอะไร ด้านลบของพุทธะก็จะตอบว่า ไม่รู้ หรือไม่ก็สับสน เมื่อกลับมาสู่ความเป็นปกติ ก็จะเห็นความเป็นไปได้ของทุก ๆ สิ่ง เปิดพื้นที่ให้ และรอคอยได้อย่างเป็นอนันตกาล
 
นี้แลคือลบและบวกของพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ทั้งหลาย
4543  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / มันดาลา หรือ เบญจคุณ พลวัตแห่งความว่าง: ปัญจพุทธกุล หรือ พลังปัญญาห้าสี เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:44:07





เบญจคุณ แนวทางการเรียนรู้ภายในอย่างเป็นองค์รวม
 
ไอรีนี่ รอคเวล
 
เวลานี้ เป็นเวลาที่ผู้คนแสดงหาชีวิตที่เต็มเปี่ยม มีความหมาย ทั้งในตัวเองและในความสัมพันธ์กับผู้อื่น มหาวิทยาลัยจึงน่าจะเป็นแหล่งวิทยาการที่จะช่วยให้เกิดการค้นพบและหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวของชีวิตทั้งหลายนี้ (สก็อต ๒๐๐๐)
 
การเรียนรู้ของเราเป็นการเดินทางตลอดชีวิต จากทารกสู่ที่สิ้นของชีวิตนั้นเต็มไปด้วยความท้าทายและโอกาสแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นความสำคัญพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ หากสังคมได้แต่สร้างสถาบันการศึกษาชั้นสูงเพื่อส่งเสริมชีวิตที่เต็มไปด้วยความสับสนอลหม่านและความเครียด ทั้งๆที่สิ่งที่เราปรารถนาคือชีวิตที่ดี มีความสุข สมดุล ที่เรารู้สึกเพียงพอมิใช่หรือ? เราต้องยอมสูญเสียอะไรบ้างในการแลกมาเพื่อความสำเร็จที่สูงยิ่งขึ้นในชีวิตอย่างไม่ลืมหูลืมตา? ทำไมเราจึงติดอยู่ในแบบแผนพฤติกรรมและระบบที่มีแต่จะเพิ่มความสับสนปั่นป่วนให้กับชีวิตเล่า? ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้ในการค้นพบและนำเอาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเราออกมา?
 
สถาบันการศึกษาสามารถปรับเปลี่ยนพัฒนาโดยเริ่มจากส่วนที่เป็นโครงสร้างและระบบ งานของผมเน้นพัฒนาในส่วนของตัวมนุษย์ที่สร้างระบบและโครงสร้างที่ว่านี้ โดยเริ่มจากการสำรวจเรียนรู้ความเป็นตัวเราในปัจจุบันขณะ แนวทางที่ผมทำงานในการหลอมรวมปัจเจกเข้ากับองค์รวมเป็นการนำหลักการของเบญจคุณทั้ง ๕ มาใช้ ได้แก่ ความเปิดกว้าง ความกระจ่างชัด ความมั่งคั่ง พลังอารมณ์ และ การลงไม้ลงมือ ซึ่งองค์ประกอบในการเป็นมนุษย์ที่เต็มเหล่านี้เป็นแนวทางสำหรับระบบการศึกษาแนวจิตวิญญาณอันหนึ่ง ทั้งนี้การศึกษาอย่างมีจิตวิญญาณ ที่ความเข้าใจภายในรวมกับความรู้ทางโลกสมัยปัจจุบันในแขนงต่างๆนั้น ได้รับแรงบันดานใจจากหลักการปฏิบัติธรรมแนวพุทธ แนวทางการแสวงปัญญาต่างๆ รวมทั้งโลกทัศน์ที่ว่าด้วยความศักดิ์สิทธิ์ เช่น แนวทั้งของชนเผ่าพื้นเมือง—ผู้แปล]
 
พลังแห่งเบญจคุณทั้ง ๕
 
หลักการแห่งเบญจคุณทั้ง ๕ เป็นความเข้าใจเกี่ยวกับพลังรูปแบบต่างๆในตัวเรา ที่มีอยู่ในบุคลิกภาพ อาณาบริเวณแห่งอารมณ์ของเรา และการที่เราปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างและกับโลก เราต่างมีวิธีในการแสดงพลังเหล่านี้ออกมาอย่างเป็นตัวของตัวเอง ผ่านแสดงออกทางอากัปกิริยา การแสดงออกทางใบหน้า แบบแผนพฤติกรรม หรือแม้แต่การเลือกใช้คำพูดในโทนเสียงและจังหวะการพูด เราแสดงพลังเหล่านี้มาในทัศนคติ อารมณ์ การตัดสินใจและการกระทำต่างๆ ซึ่งบ่งบอกถึงแบบแผนการรับรู้และการมีปฏิสัมพันธ์กับโลก พลังเหล่านี้ยังครอบคลุมอยู่ในโลกแห่งปรากฏการณ์ และยังแฝงตัวอยู่ในระบบและโครงสร้างทางสังคมที่เราสร้างขึ้นมา
 
แม้ว่า ในแต่ละกลุ่มพลังก็จะมีแฝงไว้ซึ่งปัญญา แต่ก็มีความวิปลาสดำรงอยู่ด้วย การเรียนรู้ในเรื่องนี้จึงเป็นการรับรู้ชื่นชมความเข้มแข็ง และทำงานกับด้านที่อ่อนแอของเราเองด้วย นั่นคือการรับรู้พลังติดขัดเป็นลบในตัวเราอย่างเมตตาและเป็นมิตรอย่างไร้เงื่อนไขใดๆ เพื่อแปรเปลี่ยนพลังลบที่กักขังเรา ให้การเป็นการคลี่คลายขยายออกในตัวเรา การที่เราสามารถเป็นมิตรกับตัวเองได้ คือรู้สึกถึงความอบอุ่น ความรู้สึกผ่อนคลาย และเปิดออก จะเป็นการโอบประคองสิ่งที่มีคุณค่าหรือคุณลักษณะที่ดีที่สุดที่ดำรงอยู่ในตัวเรา เราไม่จำเป็นต้องพยายามตัดคุณลักษณ์ที่เราคิดว่าเลวร้ายในตัวเราทิ้งไป หากโอบประคองสิ่งเหล่านี้ไว้ เพื่อค้นพบว่ามันส่วนที่ดีที่สุดของเรา ภูมิปัญญาของเราคือการโอบประคองไว้ทั้งความสับสนและความดีงามในตัวเราเอง
 
โดยพื้นฐานแล้ว ไม่ว่าเราจะรับรู้ได้หรือไม่ก็ตาม พลังเหล่านี้แผ่ซ่านปกคลุมอยู่ในชีวิตของเรา มันคือความมีชีวิตชีวาแห่งการดำรงอยู่ โดยเป็นคุณลักษณะ เนื้อหนัง สภาพแวดล้อม บรรยากาศ และซุ่มเสียง ของทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต สิ่งที่มองเห็นและที่มองไม่เห็น มันเป็นพลังชีวิตของการดำรงอยู่ การทำความเข้าใจ รู้จักคุ้นเคยกับพลังเหล่านี้จะช่วยให้เราสามารถหลอมรวมและเจริญงอกงามที่ไปพ้นอัตตาอันคับแคบ และเปิดประตูชีวิตไปสู่ระดับการดำรงอยู่ที่ลึกซึ้งลงไปอีก เราสามารถสัมผัสพลังที่แฝงในตัวเราได้ในความคิดและอารมณ์ของเราเอง และเรียนรู้สัมผัสพลังรอบๆตัวเราผ่านการรับรู้ทางผัสสะ (การเห็น การได้ยินเสียง ได้กลิ่น รับรู้รส และสัมผัสทางกาย)
 
พลังที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกตัวเรานี้ เป็นสิ่งที่สามารถรับรู้และเข้าถึงได้ทุกเวลา การที่จะทำงานกับพลังเหล่านี้ เราต้องพัฒนาการตื่นรู้เท่าทัน และความใส่ใจต่อปัจจุบันขณะโดยการสังเกตเรียนรู้ปัจจุบันขณะอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นพื้นพรมแดนแห่งอารมณ์ภายในตัวเรา หรือการรับรู้ผู้อื่น เราสามารถฝึกตัวเองได้ การฝึกสติและการรับรู้ที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญนั้นทำได้โดยการนั่งภาวนาซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการช่วยให้จิตตั้งมั่น ทำให้ใจมีความกระจ่างชัดและเข้มแข็ง ทั้งนี้จะช่วยให้เราสามารถทำงานด้านในและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอกได้ดีขึ้น แต่ถ้าเราไม่สามารถรับรู้พลังเหล่านี้ได้ มันก็อาจมาควบคุมกำหนดชีวิตเราได้ แต่ถ้าเราเท่าทันมัน เราก็จะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น


พลังทั้งห้าได้แก่
 
ความเป็นพื้นที่ว่าง
ภาวะปกติ: ความสงบ สุขุมรอบคอบ คบหาง่าย เปิดรับ เรียบง่าย เป็นมิตร พอใจในการดำรงอยู่อย่างธรรมดา
ภาวะสับสน: ซบเซา ขี้เกียจ ความหนืดไม่เคลื่อนไหวหรือกระตือรือร้น ขาดอารมณ์ขัน ดื้อรั้น รับรู้ความรู้สึกช้า ชอบปฏิเสธ
ทั่วไป: พลังนี้เกี่ยวข้องกับพื้นที่กว้าง ผัสสะรับรู้ต่างๆ สีขาว
 
ความกระจ่างชัด
ภาวะปกติ: จิตใจผ่องใส ความคิดอ่านฉับไว คมชัดแม่นยำ ปราศจากอคติ เต็มไปด้วยคุณธรรม
ภาวะสับสน: คิดวิเคราะห์มากเกินเหตุ ช่างติ ถือว่าตัวถูกและถือความเห็นของตนเป็นใหญ่ ใช้อำนาจ เรียกร้องให้สมบูรณ์ มีโทสะ
ทั่วไป: ธาตุน้ำ การมองเห็น สีน้ำเงิน
 
ความมั่งคั่ง
ภาวะปกติ: มีความพอพึงใจอย่างลุ่มลึก รู้สึกรุ่มรวย ขยายตัว เต็มไปด้วยศักยภาพ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ใจกว้าง มีท่าทีที่ชื่นชม
ภาวะสับสน: ถือตัวเองว่าสำคัญ เย่อหยิ่ง โอ้อวดเอาหน้า กดขี่ โลภ ตามใจตัวเอง มีความต้องการทางอารมณ์สูง ปรารถนาที่จะครอบครอง
ทั่วไป: เกี่ยวข้องกับธาตุดิน สัมผัสของกลิ่นและรส สีเหลือง
 
อารมณ์
ภาวะปกติ: หมายหมั้นสัมพันธ์ แผ่กระจายความอบอุ่น ดึงดูด มีเสน่ห์ รับฟังอย่างลึกซึ้ง พูดออกมาจากใจ มีความสามารถในญาณทัศนะ สังเกตหรือมองเห็นสิ่งที่เล็กน้อยได้ sensual
ภาวะสับสน: รู้สึกไม่มั่นคง แสวงหาการได้รับการยืนยัน เจ้าราคะ ยึดติดในการฉวยยึด แสวงหาความพึงพอใจ จัดการครอบงำควบคุมผู้อื่น เจ้าอารมณ์จนเกินเลย
ทั่วไป: เกี่ยวข้องกับธาตุไฟ ผัสสะด้านการฟัง สีแดง
 
กระทำการ
ภาวะปกติ: มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นนักปฏิบัติ เต็มได้ด้วยพลังบวก มั่นใจในความสามารถ กระทำการได้เหมาะสมกับเวลา หลอมรวมเชื่อมประสานกับโลกได้ดี
ภาวะสับสน: ไม่สงบ รู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่าง ทำอะไรเร็ว ควบคุม ครอบครอง หิวกระหายในอำนาจ ต้องการแข็งขัน กลัวความล้มเหลว วิตกกังวล อิจฉาริษยา
ทั่วไป: เกี่ยวข้องกับธาตุอากาศ ผัสสะของความรู้สึกทางกาย สีเขียว
4544  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / เฝ้ามองชีวิตเริงระบำ : เล่าเรื่องนาโรปะที่วงจิตวิวัฒน์ (ปี๔๗) เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:39:29

 
 
 
เมื่อผมเข้าเรียนที่นาโรปะเมื่อ ๘ ปีก่อน ตอนแรกก็ไม่ได้ตั้งใจ เพราะว่าคุณพ่ออยากให้เรียน MBA แต่ผมต่อรองว่า ขอเป็น MA เฉยๆได้ใหม คุณพ่อก็เลยถามว่าแล้วจะไปเรียนที่ไหน ผมก็บอกว่า มหาวิทยาลัยนาโรปะ คุณพ่อก็ถามว่า ติดอันดับอะไรบ้าง (หัวเราะ) เพราะว่าไม่มีใครรู้จัก แต่ผมปรึกษาหลายๆ คนแล้ว อ.สุลักษณ์ ก็แนะนำที่นี่ ความจริง ชูมากเกอร์ คอลเลจ (Schumacher College) ก็น่าสนใจ แต่เนื่องจากไม่มีหลักสูตรประจำ มีแต่ course สั้นๆ ก็เลยไปเรียนที่นาโรปะ ตอนแรกตั้งใจไปเรียนเรื่อง Engaged Buddhism แต่คิดไปคิดมา ก็มาดูหลักสูตรผู้นำสิ่งแวดล้อม ซึ่งผมคิดว่าน่าสนใจ เพราะเขาใช้คำว่า The Union of Science, Spirit and Action เป็น theme ของหลักสูตรการศึกษา คือเพื่อให้เข้าใจวิธีคิด กรอบความคิดทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ศาสตร์ทั้งหมดที่เป็นมา เข้าใจมิติของความศักดิ์สิทธิ์ แล้วต้องนำไปสู่การรับใช้ผู้อื่น และการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ความศักดิ์สิทธิ์ถ้าหากไม่ได้ดำรงอยู่ในวิถีชีวิตแล้ว ก็เป็นเพียงแค่ความศักดิ์สิทธิ์ที่เราคิดเอาเอง
แนวคิอีกประการหนึ่งของหลักสูตรนี้ คือนิเวศวิทยาแนวลึก, System Theory, Chaos Theory และนำ principle ทางด้านมานุษยวิทยามาสอนด้วย เช่น Cultural Ecology ผมจึงเลือกเรียนสาขานี้เพราะเห็นว่าท้าทายดี
 
Course แรกก็เป็นอย่างที่เขียนไว้ในเอกสารประกอบ คือต้องออกไปอยู่ทะเลทราย ต้องพาตัวเองเข้าไป เป็นทั้งความรู้ เป็นทั้งตัวทดสอบความรู้ และเข้าไปหาความรู้ เพราะนาโรปะถือว่าความรู้เกิดขึ้นมาจากกระบวนการสัมพันธ์กับธรรมชาติ
 
นาโรปะเป็นมหาวิทยาลัยเล็กๆ ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มคนเล็กๆ คล้ายๆ กับกลุ่มจิตวิวัฒน์ แล้วคิดว่าจะมีกระบวนการเรียนรู้และการศึกษาอย่างไร ที่ทำให้ผู้เรียนสามารถค้นพบความสุขในการเรียน แล้วเปลี่ยนแปลงตัวเอง เท่าทันตัวเอง ผู้ก่อตั้งคือ เชอเกียม ตรุงปะ (Chögyam Trungpa, Rinpoche) กับลูกศิษย์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นศิลปินบ้าง เป็นนักวิทยาศาสตร์บ้าง อลัน กินสเบิร์ก กวีเอกร่วมสมัยของอเมริกา ก็เป็นลูกศิษย์คนหนึ่ง ที่มาช่วยก่อตั้งมหาวิทยาลัยด้วย มีการสอนเปิดสอนในหลายคณะ เช่น จิตวิทยาการศึกษา ดนตรี ศิลปะบำบัด โดยส่วนใหญ่ผู้เรียนจะเป็นชาวอเมริกัน แต่ก็มีจากอังกฤษบ้าง หลายๆ คนที่มาเรียนก็เพื่อเยียวยาตัวเอง เข้าใจตัวเอง และไปรับใช้คนอื่น มีนักศึกษาประมาณ ๑ พันคน (นพ.ประเวศ: เดี๋ยวนี้ มี ๑,๕๐๐ คน)
 
ตอนแรกมหาวิทยาลัยก็ไม่มีเงิน เพราะรัฐไม่อุดหนุน ค่าเล่าเรียนจึงสูง เนื้อหาวิชาส่วนใหญ่ จะมี ๓ เรื่องหลักๆ คือ หนึ่ง เรื่องการเข้าใจตนเอง มีวิชาภาวนา ที่ใช้คำว่า contemplative ไม่ได้ใช้คำว่า meditation เพราะคนที่นับถือศาสนาอื่น ก็มาเรียนได้ มีการแสวงหารูปแบบที่จะพัฒนาการทำงานด้านใน การได้ยินเสียงของตัวเอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงของเรา อาจจะเป็นเสียงของคนอื่น หรือเป็นเสียงของพระเจ้าก็ได้
 
สอง เรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับโลก มีการเรียนพัฒนาการของระบบชีวิต ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องค่อนข้างใหม่ อาจารย์ก็จะให้อ่านทฤษฎีวิวัฒนาการแล้ววิพากษ์ทฤษฎีเหล่านี้ เรียนจนถึงการเกิดขึ้นของทุนนิยม และทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ใน scale ที่ใหญ่และซับซ้อนมากขึ้น เรียนทฤษฎีระบบ โดยใช้หนังสือของ โจแอนนา เมซี (Joanna Macy) ซึ่งถือว่าเป็น scholar ที่โยงกับพุทธศาสนาในเรื่องอิทัปปัจจยตา โยงเข้ากับ General System Theory เธอใช้ภาษาบาลีในการเขียนหนังสือมาก คนที่ไม่ใช่พุทธอย่างเพื่อนผม อ่านแล้วก็หงุดหงิด เพราะไม่รู้ภาษาบาลีสันสกฤต
 
สาม เรื่องการพัฒนา leadership ความเป็นผู้นำ หมายถึง การทำงานเป็นกลุ่ม การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การพัฒนาการฟัง การประสานความขัดแย้ง คือทักษะทุกอย่างที่เกี่ยวกับการสร้างองค์การ หลักสูตรที่ผมเรียน แบ่งเป็น ๓ area แต่ภาควิชาอื่นๆ เช่น ดนตรี ศิลปะ หรือ psychology ซึ่งนาโรปะมีหลากหลายมาก ทั้งการใช้กาย จิต มีสาขาใหม่คือ ecopsychology คือการใช้ธรรมชาติเป็นตัวบำบัด ที่ทำให้เราเยียวยา และปรับจิตใจให้สูงขึ้น จุดที่ผมคิดว่าเป็นข้อเด่นของนาโรปะ คือการรักษาขนาดให้เล็ก เพราะมีผลต่อการสร้างบรรยากาศความเสมอภาคในการเรียน ที่เข้าใจกันว่าฝรั่งมีความเท่าทียมกันในชั้นเรียน ก็ถูกในระดับหนึ่ง คือลูกศิษย์สามารถแย้งอาจารย์ได้ แต่ผมก็คิดว่า power relationship หรือประเด็นเรื่องอำนาจ ยังเป็นปัญหาอยู่ในบรรยากาศของการเรียน ที่นาโรปะพยายามทำคือ ลูกศิษย์กับอาจารย์สามารถเรียนไปด้วยกันได้ อาจารย์ก็สามารถไม่รู้ได้ ยอมรับตรงๆ ว่าไม่รู้แล้วค้นหาร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ก่อตั้งเน้นมาโดยตลอด หลักเรื่องการดำรงอยู่กับความไม่รู้ การไว้วางใจชีวิต การอยู่กับความเปราะบาง vulnerable เป็นจุดที่ผมรู้สึกว่า ในฐานะที่เติบโตมาทางพุทธเถรวาท ไม่ค่อยได้สัมผัส โดยเฉพาะเรื่องการเปราะบาง ในหนังสือซึ่งมีแปลเป็นภาษาไทย เรื่อง Shambhala เชอเกียม บอกว่า หัวใจของนักรบ ต้องเป็นหัวใจที่เปราะบางและแตกได้ตลอดเวลา ไม่ต้องเป็นหัวใจที่มั่นคง เชื่อมั่น แล้วก็รู้ ซึ่งผมคิดว่าเป็น principle หรือหลักการบางอย่างของนาโรปะ ที่มีผลทำให้ให้เปิดกว้างต่อความคิดสร้างสรรค์ และ innovation ความรู้ถูกสร้างขึ้นมาร่วมกันระหว่างครูกับศิษย์ คืออาจารย์จะมีความรู้และมีประสบการณ์มาก แต่เวลาร่วมอยู่ในกระบวนการสอน ในการเรียนรู้ร่วมกัน ก็มักจะมีอะไรที่ใหม่และสดเกิดขึ้นเสมอๆ
 
พื้นฐานของความไว้วางใจ จะใช้คำว่า basic goodness คือความดีความงาม ศักดิ์ศรี ความสง่างามของชีวิต ความสง่างามของความเป็นมนุษย์ มีอยู่แล้ว ไม่สามารถทำลายได้ ซึ่งตรงกับวิธีคิดของชนเผ่าดั้งเดิมของอเมริกา ที่เรียกว่าอินเดียนแดง ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่นาโรปะพยายามนำมาสอดประสานระหว่างความคิดทางพุทธ อินเดียนแดง และวิทยาศาสตร์ อาจารย์คนหนึ่งบอกว่า ไม่ว่าจะนอนดึกขนาดไหน ก็จะตื่นขึ้นมาแต่เช้า เพราะช่วยให้ตนเองมีพลังและช่วยให้สามารถเดินอยู่บนขอบได้ตลอดเวลา และบอกว่าชีวิตของการเรียนรู้ ต้องเดินอยู่บนขอบ ต้องพบความเสี่ยง พบกับอะไรที่มาปะทะมาชนได้ตลอดเวลา
ในแง่ของกระบวนการเรียนรู้ที่ผมอยากจะพูดถึง คือการนำพิธีกรรมมาใช้กระบวนการศึกษา หน้าที่ของพิธีกรรรมจะมีหลายประการ เชื่อมโยงกับที่ใช้กันในสังคมดั้งเดิม ชุมชนดั้งเดิมอยู่แล้ว เชื่อมโยงกับจิตที่แตกออก กับธรรมชาติ ทุกๆ class จะมีธรรมเนียมว่า ผู้เรียนจะนั่งเป็นวงกลมอย่างนี้ พอจบ class ก็จะมีพิธีกรรมเล็กๆ
 
สำหรับการภาวนา หมายถึงการนั่งตามลมหายใจ จะมีครูสอนภาวนาเป็นผู้ให้คำปรึกษา เมื่อนักเรียนที่ไม่คุ้นเคยหรือว่ามีปัญหาเกี่ยวกับภาวนา ก็สามารถ sign up และขอพบอาจารย์ได้ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยจะมีห้องภาวนา ขนาด ๓๐ เบาะ เปิดตั้งแต่เช้า นักศึกษา staff ของมหาวิทยาลัย หรืออาจารย์ สามารถเข้าไปใช้ได้ตลอดเวลา
 
กลับมาเรื่องพิธีกรรมอีกนิด ก็คือ พิธีกรรมที่เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเป็นพิธีกรรมเก่าดั้งเดิม จะมีการค้นพิธีกรรมใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ พวกผมจะถูกฝึก ถูกสั่งการบ้านให้คิดพิธีกรรม แล้วนำมาเสนอให้เพื่อนๆ ทำด้วยกัน ทำตัวเป็นชนเผ่า บางคนก็ใช้การเคลื่อนไหวร่างกาย บางคนก็ใช้การร้อง ฉะนั้น ก็จะหลากหลาย เพื่อนผมหลายคน ใช้พิธีกรรมการร้อง มีสีสันมาก อย่างการร้องโอมมมมม เป็นต้น กรณีนี้ จะเห็นได้ว่า กระบวนการเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากนักศึกษาด้วย หรือการออกไปอยู่ในทะเลทราย อดอาหาร ๓วัน ก่อนออกเดินทาง ครูก็จะแนะนำว่า ให้ฝึกสร้างพิธีกรรมที่จะอยู่กับตัวเอง เพราะเวลาอยู่กับตัวเอง จิตจะฟุ้งง่าย ต้องอาศัยพิธีกรรมช่วย ไม่ว่าจะเป็นการสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม หรือว่าคุยกับมดที่ผ่านไปมา ถามไปเลยว่า ชีวิตผมสับสนมาก ขอคำตอบหน่อย แล้วก็ให้ฟังจริงๆ แต่มดก็เมิน ไม่อยากคุยด้วย (หัวเราะ) คือการออกทะเลทราย (อยู่ในรัฐยูทาห์ ใกล้ๆ กับอริโซนา สวยงามมาก) ในสมัยก่อนเขาใช้คำว่า “Vision Quest” มหาวิทยาลัยเชื่อว่าถ้าปล่อยให้อยู่คนเดียว ในที่ไกลๆ เคว้งคว้าง เวิ้งว้าง จะมีผลต่อวิธีคิด (นพ.ประเวศ: มีเขียนว่า ออกไปแก้ผ้ากลางทะเลทราย) อาจารย์บอกว่าอาจจะเจออะไรดีๆ ผมก็ลองทุกอย่าง แต่ไม่เจออะไรสักที คืออาจารย์จะให้ตั้งคำถามกับตัวเองว่า การออกไปอยู่กับตัวเองครั้งนี้ ต้องการจะรู้เรื่องอะไร เราสามารถขอให้พลังของธรรมชาตินำความกระจ่างชัดเข้ามาในใจเราได้ ในด้านหนึ่ง นี่เป็นกระบวนการที่ช่วยให้เราทำหมายเหตุชีวิต คล้ายการบวชในบ้านเรา ที่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสถานะจากเด็กกลายเป็นหนุ่ม การออกไปอยู่กับตนเองในธรรมชาติ ผมคิดว่าคงมาจากแรงบันดาลใจของหลายๆ คนที่ไปเรียนรู้มาจากอินเดียนแดง ประกอบกับเอาความรู้ความเข้าใจทางด้าน psychology สาย คาร์ล จุง (Carl Gustav Jung) ที่เป็นเรื่องของจิต เป็นเรื่องการตีความระบบสัญลักษณ์ เพราะว่าเมื่อเราออกจากทะเลทราย ก็จะมานั่งล้อมวง แล้วเล่าให้อาจารย์ฟัง อาจารย์ก็จะถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับเราในช่วง ๓ วัน มีนัยสำคัญอย่างไรต่อชีวิตเรา เราตั้งโจทย์ของตัวเองอย่างไร ก็จะมีการตีความเชิงสัญลักษณ์ ในแง่หนึ่งก็ช่วยให้นักเรียนเข้าในตัวเอง เช่น ถ้าบางคนเห็นนกหรืองู อาจารย์ก็จะถามว่า ปรกติคุณมองนกหรืองูอย่างไร โดยไม่ต้องคิด สัญลักษณ์พวกนี้มีความหมายอย่างไร เขาใช้คำว่า synchronisity ความประจวบเหมาะของเหตุการณ์และความหมาย ไม่ใช่อุบัติเหตุ นี่เป็นกระบวนการหนึ่งที่ทุกคนต้องผ่านในการศึกษาระดับปริญญาโท ซึ่งจะโยงเข้ากับความเข้าใจเรื่องนิเวศวิทยาแนวลึก เพราะหากไม่ได้เข้าไปอยู่ตรงนั้น เพียงแต่อ่านหนังสือเกี่ยวกับนิเวศวิทยาลัยแนวลึก ก็จะไม่สามารถเข้าใจเรื่องเหล่านี้ได้
 
พวกเราเคยเชิญนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ของสถาบันวิจัยทางอากาศที่อยู่ในโบลเดอร์ (Boulder) ซึ่งเป็นสถาบันที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในอเมริกา และกำลังวิจัยเรื่องโลกร้อน argument ของเขาคือ โลกร้อนอยู่แล้ว แต่คนไปคิดว่าตัวเองเป็นสาเหตุหลัก แม้เขาจะไม่ปฏิเสธว่ามนุษย์มีส่วนทำให้โลกร้อนยิ่งขึ้นก็ตาม โดยเขาเข้าไปอยู่ในป่า ภาวนา แล้วก็ทำงานในห้องแลป นักศึกษานาโรปะ จึงชวนมาร่วมเวที เพราะนาโรปะจะมีการจัดเวที brownbag lunch คือการถือขนมมานั่งกินมื้อกลางวันในวงสนทนาได้ เป็นกันเองมาก และพิธีกรรมหนึ่งก็คือการทำงานกับอารมณ์ ผมคิดว่า เป็นบรรยากาศทั่วไป ทุกชั้น ทุกสถานที่ ในนาโรปะ คือการให้คุณค่ากับการเข้าใจตนเอง เข้าใจอารมณ์ตัวเอง เพราะคนที่มาเรียนนาโรปะส่วนใหญ่จะใช้ความคิดมาก แต่เข้าใจเรื่องอารมณ์และการทำงานแบบกลุ่มน้อย เป็นเรื่องปกติที่นักศึกษาจะพูดเรื่องที่ตัวเองกลัว หรือเสียใจ แล้วร้องไห้ขึ้นมา การร้องไห้หรือการแสดงอารมณ์ความเศร้า เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ในบรรยากาศของการศึกษา และสำคัญมาก เพราะอยากจะเอื้อเฟื้อให้คนได้สัมผัสแล้วไม่ปฏิเสธอารมณ์ของตัวเอง แต่ก็ไม่ปล่อยให้รุนแรงมากขึ้น
กลับมาที่หลักของการดำรงอยู่ในปัจจุบันขณะ เมื่อตอนที่ผมไปเรียน ผมไม่เคยอ่าน Mission ของนาโรปะหรืออ่านแบบไม่ได้สนใจมากนัก แต่พอเรียนจบแล้วกลับมาทำงาน เมื่ออ่านพันธกิจ ๖ ประการของนาโรปะ จะตรงกับกระบวนการเรียนรู้ที่สัมผัสมาเลย ซึ่งทำให้เปลี่ยนตัวเองมาก เพราะเมื่อก่อน ผมเป็นคนที่เหนียม ไม่แน่ใจ มีภาพลักษณ์ของตัวเองเยอะ ว่าควรเป็นอย่างไร แต่ไม่ได้คิดว่าตัวเองคือใคร ซึ่งก็ถูกยัดเยียดมาในกระบวนการศึกษา ในกระบวนการเติบโต ในความเป็นผู้ชาย ทีนี้กระบวนการทั้งหลายในแต่ละวิชา ก็ช่วยทีละนิดทีละหน่อย ทำให้รับรู้ในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น แล้วก็นำมาประยุกต์ได้
 
ประการที่ ๑ คือ ความรู้เท่าทันปัจจุบันขณะ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้ การสร้างความรู้ เป็นการฝึกฝนและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตัวเอง ซึ่งตรงกับหลักการทางพุทธซึ่งพวกเราคุ้นเคยกันอยู่แล้ว แต่กระบวนการศึกษาในตะวันตก หลักการนี้ถือว่าเป็นข้อแรก ที่สำคัญที่สุด เพราะหากเราสามารถรู้เท่าทันปัจจุบันขณะได้มากขึ้น จะทำให้เรารับรู้ประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้น ทำให้กระบวนการเรียนรู้ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเท่าทันความคิด ความรู้สึก การเกิดขึ้นของความคิดต่างๆ อารมณ์ต่างๆ และการอยู่ในปัจจุบันขณะ ก็จะมีคุณลักษณะต่างๆ ที่สามารถสำแดงออกมา ไม่ว่าจะเป็นความคิดอ่านแม่นยำ ความเข้าใจเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น
 
หลักการที่ ๒ คือ การสร้างสรรค์ชุมชนแห่งการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้ไม่ใช่เรื่องการแสวงหาของปัจเจกเท่านั้น และประสิทธิภาพก็ไม่ได้เกิดขึ้นในห้องเรียนที่แยกสัดส่วนจากสิ่งแวดล้อม แต่ว่าจะต้องเกิดจากปฏิสัมพันธ์ dynamic จากการปะทะสังสรรค์ที่เรามีต่อผู้คนและสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ฉะนั้น บรรยากาศของกัลยาณมิตรหรือการเรียนรู้ จะทำให้เกิดการทดลองการมีชีวิต ท้าทาย ทดสอบสติปัญญา ความรู้ และการรับรู้ของนักศึกษา เป้าหมายการเรียนรู้ในแต่ละวิชา ระบุว่าจริงๆ แล้ว คนที่มาเรียน เมื่อจบออกไป จะหาสมดุลในชีวิตอย่างไร การทำวิชาชีพจะเป็นอย่างไร เพื่อนผมหลายคนบ่นว่า มาลงภาวนาตั้ง ๙ หน่วยกิต จบออกไปจะทำอะไรกิน (หัวเราะ) ใครจะรู้ ใครจะเข้าใจบ้าง ว่าการภาวนามีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน
หลักการที่ ๓ คือ บ่มเพาะการเปิดกว้าง ซึ่งแยกย่อยออกไปอีก คือเขาถือว่า graduate จะต้องมีคุณลักษณะอย่างไร ทั้งหมด ๕ ประการด้วยกัน
 
๓.๑ นักศึกษาต้องมีความเปิดใจและเคารพในประสบการณ์ตรงของตัวเอง ไม่เฉพาะความคิด ประสบการณ์คือทุกๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นความคิด อารมณ์ ความรู้สึก บัณฑิตที่พึงปรารถนาของนาโรปะ จะต้องมองเห็นประสบการณ์ตรงเหล่านี้อย่างตรงไปตรงมา เพราะถ้าพลาดการรับรู้ประสบการณ์ตรงเหล่านี้ การเรียนรู้ก็จะไม่เกิดขึ้น การบ่มเพาะความสนใจใคร่รู้ในโลก ในสิ่งที่อยู่รอบข้าง สามารถดำรงอยู่และยอมรับในสิ่งที่เราเป็นได้อย่างไม่แปลกแยก ซึ่งผมว่าเป็นเรื่องที่ยากที่สุดเรื่องหนึ่งของโจทย์การศึกษาในนาโรปะ ไม่แปลกแยกกับความคิด ไม่แปลกแยกกับความเป็นตัวเอง
 
๓.๒ ทักษะการสื่อสาร การสร้างความสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ คือต้องเรียนรู้ที่จะชื่นชมคุณค่าในประสบการณ์ตรงของคนอื่น มีการฝึก dialogue ของ เดวิด โบห์ม ซึ่งจะคล้ายๆ กับของเควกเกอร์ ต้องรับฟังและเคารพ เมื่อได้ยินเสียงข้างในของตนเอง ก็ต้องเคารพในประสบการณ์ข้างในของคนอื่นด้วย เพราะทักษะในการสื่อสารจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราสามารถชื่นชมประสบการณ์ข้างในของคนอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็นทักษะในการเขียน พูด ฟัง หรือทักษะในศิลปะแขนงต่างๆ เช่น ศิลปะแบบเคลื่อนไหว ทัศนศิลป์ ฯลฯ
 
๓.๓ มีการวิเคราะห์ที่แหลมคม ลุ่มลึก เป็นเรื่องพุทธิปัญญา เข้าใจหลักการต่างๆ เชื่อมโยงได้อย่างมีวิพากษ์ วิจารณ์ มีวิจารณญาณและมีปัญญา มีความสามารถในการเปิดพื้นที่เรียนรู้ ความตั้งใจที่จะแสวงหาความสดใหม่
 
๓.๔ การชื่นชมในความมั่งคั่งในภูมิปัญญาของโลก ว่ามีความหลากหลายเหมือนความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นของชนเผ่า ในศาสนาต่างๆ
 
ในนาโรปะจะมี World Wisdom Chair คือมีผู้อาวุโสคนหนึ่งไปอยู่ประจำ เป็นเทอมๆ เหมือนปราชญ์ประจำสถาบัน ตอนที่ผมอยู่ จะมีแรบไบ (rabbi) ซึ่งทุกเดือนหรือทุก ๒ อาทิตย์ ก็จะมีการนำเสนอเรื่องที่ตนเองสนใจและมีความรู้ โดยเปิดให้คนเข้าฟังได้โดยไม่ต้องเสียเงิน เมื่อครบเทอม ก็จะเลือกกรรมการคนอื่นต่อไป
๓.๕ การกระทำที่มีประสิทธิภาพ บัณทิตจะต้องกระทำเป็น ไม่ใช่คิดเป็นอย่างเดียว สามารถนำความรู้ไปกระทำให้ทะลุปรุโปร่ง
 
(หลักการที่ ๔ มรดกแห่งการศึกษาแนวพุทธ หลักการที่ ๕ วิถีแห่งภูมิปัญญาโลก และหลักการที่ ๖ การไม่ฝักใฝ่ในลัทธิความเชื่อหรือศาสนาใดๆ และความเปิดกว้าง, “บทเรียนจากมหาวิทยาลัยนาโรปะ”
โดย ณัฐฬส วังวิญญู)
 
มี paper อีกชิ้นหนึ่งเรื่อง “เบญจคุณ” ที่ผมแปลจาก “Five Wisdoms” ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระหว่างคุณลักษณะทั้ง ๕ จะคล้ายๆ กับนพลักษณ์ แต่ว่าอาจจะมาทางสายธิเบต เช่น แต่ละคุณลักษณะจะเผยตัวอย่างไรในแต่ละคน มีวิธีการอย่างไร เช่น สีแดงของผมมีมากเกินไป สีน้ำเงินของผมมีน้อย ผมต้องการสีน้ำเงินมาก ก็จะมีกระบวนการ เป็นห้อง ๕ ห้องที่ออกแบบไม่เหมือนกัน แต่ละห้องจะระบายสีแต่ละสี แล้วรูปลักษณะของห้องเป็นกระบวนการที่ช่วยให้เราดึงลักษณะบางอย่างออกมา ไม่ว่าจะเป็นความใจเย็น ความสงบ หรือว่าความจัดจ้าน บางคนมีความจัดจ้านน้อยไปหน่อย ก็จะมีห้องฝึกการแสดงออก บางคนใช้ความคิดมาก อยู่กับกายน้อย บางคนอยู่กับกายมากไป ก็ไม่ค่อยดี คือช่วยให้คนเรียนได้ค้นหาสมดุลของตัวเอง คือจะมี course ที่เปิดให้คนข้างนอกมาร่วมเรียนด้วยได้ ไม่จำกัดความรู้และอายุ ส่วนใหญ่อาจารย์ที่ไปสอน ก็เพราะอยากจะ cross discipline ก้าวไปสู่พรมแดนความรู้ของคนอื่นบ้าง ว่าคนอื่นคิดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในแง่ของการเรียนที่หลากหลาย ก็จะแบ่งพื้นที่ไว้ให้นักศึกษาได้ออกแบบการเรียน ว่าอยากจะอ่านหนังสือเล่มไหน การเลือกสถานที่เรียน อาจจะนัดหมายที่ร้านกาแฟ หรือที่ห้องสมุดก็ได้
 
ผมไม่มีโอกาสได้เรียนกับเชอเกียม ตรุงปะ เพราะท่านเสียชีวิตไปก่อนแล้ว ตอนที่เชอเกียมยังมีชีวิตอยู่ ก็จะมีเรื่องมากมายให้ได้ชื่นชมและหมั่นไส้ เขาเป็นคนแปลกๆ ที่ไม่ธรรมดา แต่ก็มีวิธีการสื่อสารกับชาวตะวันตกได้ดีมาก เชอเกียมชอบสอนเรื่องความคิดฉับพลัน ความคิดแรก มหาวิทยาลัยนาโรปะจะให้ฝึกเรื่องการจับความคิดแรก บ่อยๆ เพราะส่วนใหญ่เราจะถูกความคิดที่ ๒ - ๓ ทับถมความคิดแรกซึ่งดีที่สุด ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการฝึกพู่กัน ยิงธนู จัดดอกไม้ หรือพิธีชงชา พิธีกรรมและกระบวนการเหล่านี้มีขึ้นเพื่อฝึกการปล่อยพื้นที่ว่างให้กับความคิดแรก เชอเกียม บอกว่าทำโต๊ะให้ว่าง แล้วอาหารอันโอชะจะถูกส่งมาจากสรวงสวรรค์ การทำโต๊ะให้ว่างก็คือการอดอาหาร (หัวเราะ) แล้วอาหารอันโอชะจะถูกนำมาจากสรวงสวรรค์
อ.เอกวิทย์: สังเกตดูว่าการเรียนที่นี่ ค่อนข้างจะหลากหลาย
 
 
คุณณัฐฬส: มีหลายแบบครับ อาจารย์สอน วิธีการสอน และวิธีการให้คะแนนจะมีหลายแบบ บางวิชาอาจารย์ก็จะถามว่า ทำไมเราให้คะแนนตัวเองเท่านี้ และไปถามเพื่อนๆว่า พัฒนาการของเราเป็นอย่างไร
อย่างวิชา Group Dynamic เป็นวิชาที่ค่อนข้างยากเพราะมีความขัดแย้งกันสูง หลายๆ คนที่มาเรียนก็คาดหวังที่จะออกไปเป็นนักสิ่งแวดล้อม ไปทำงาน policy อะไรอย่างนี้ แต่หลายคนก็ไม่ได้สนใจจะดูตัวเอง สนใจแต่จะได้ MAไปสมัครเข้า UN หรือรัฐบาล ฉะนั้น พอมาเจอกระบวนการอย่างนี้ ก็จะรับไม่ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชายที่รับไม่ได้ ว่าร้องไห้กันทำไม แต่ผมยอมรับว่า ครูที่สอนเรื่องเหล่านี้ จะต้องมีประสบการณ์สูงมาก เพราะการจัดการความขัดแย้งในห้องเรียนขนาด ๔๐ คน แล้วเริ่มด่าทอกัน คนที่จะมีปัญญาจัดการได้ ต้องแสดงให้เห็นเลยว่ามีวิธีการอย่างไร
 
ในปัจจุบัน มีทฤษฎีหรือหนังสือมากมายเกี่ยวกับเรื่อง group dynamic เรื่อง Field Theory ทฤษฎีสนามพลังของกลุ่ม เปรียบเทียบได้กับศิลปะการป้องกันตัว ไอกิโด้ ซึ่งก็เป็นศาสตร์ที่น่าสนใจอีกด้านหนึ่งและควรจะปรับมาใช้กับบ้านเราได้บ้าง
 
 
อ.เอกวิทย์: มีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยข้างเคียงมาเรียนบ้างหรือเปล่า
 
 
คุณณัฐฬส: ก็มีบ้างครับ อย่างเช่น มาจากมหาวิทยาลัยโคโรลาโด ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่สนใจมาทางนี้มากกว่า แต่บางคนก็ไม่เคยรู้จักเลย คนที่เป็นฝ่ายซ้ายมากๆ ก็จะมองว่านาโรปะเป็นมหาวิทยาลัยของพวกคร่ำครวญกับชีวิตตัวเอง (หัวเราะ) ไม่ทำอะไร ไม่มี action ไม่มีจุดยืนทางการเมือง ซึ่งก็มีส่วนที่เป็นจริง คือคณะที่เรียนไปทางกวีนิพนธ์ อักษรศาสตร์ ศิลปะ หรือดนตรี ก็จะไม่มี action ในเชิงการเมืองมาก ไม่เหมือนนักศึกษาสิ่งแวดล้อม อย่างเช่นเพื่อนผม เคยเอาโซ่ล็อกคอตัวเองไว้กับร้านกาแฟสตาร์บัคที่มาเปิดใหม่ เพราะจะมาทำลายร้านกาแฟเล็กๆ ในเมืองโบลเดอร์ ซึ่งมีร้านกาแฟเล็กๆ น่ารักๆ มากมาย เพื่อนผมไม่ยอม ก็โดนจับไป
 
 
อ.เอกวิทย์: นาโรปะเป็นมหาวิทยาลัยทางเลือกที่น่าทึ่ง แต่ไม่ทราบว่า เท่าที่คุณณัฐฬสสังเกต คนที่เข้าเรียนมากน้อยเพียงใดที่สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้
 
 
คุณณัฐฬส: ผมไม่แน่ใจว่าจะตอบได้หรือเปล่า ถ้าดูจากคนที่ผมรู้จัก ผมเชื่อว่าถ้าคนที่มาเรียนแล้วสามารถเปลี่ยนตัวเองได้มีอยู่จริงไม่มากก็น้อย เพราะแต่ละปี ก็มีนักศึกษาเป็นพันคน และนักศึกษาจะถูกฝึกให้เปลี่ยนวิธีคิด จากการเรียนเพื่อไปสมัครงานที่ไหน ให้เป็นเรียนเพื่อจะสร้างงานของตัวเองเหมือนกับการสร้างพิธีกรรม บางคนอาจจะเป็นอาสาสมัคร กลับไปอยู่บ้าน ไปเป็นกรรมการในท้องถิ่นตัวเอง บางคนก็ไปเป็นครู และที่เป็นกันมาก คือ counsellor เดี๋ยวนี้ ก็จะมีเครือข่าย มี e-mail ส่งมาบอกว่า มีศิษย์เก่านาโรปะอยู่ที่นั่นที่นี่
 
อ.เอกวิทย์: ไม่ทราบว่านาโรปะมีการรับรองวิทยฐานะ ที่จะมีผลต่อการเรียนจบแล้วไปทำงานไหม
 
 
คุณณัฐฬส: ผมคิดว่า ก.พ. คงไม่รู้จัก ของไทยคงไม่มีการรับรอง แต่ว่าถ้าเทียบดูเนื้อหาวิชา ก็ไม่ห่างจากหลักสูตรที่อื่นมาก เพียงแต่มีวิธีการสอนและเนื้อหาบางอย่างที่แปลกออกไป อย่างผมเรียนตั้ง ๖๐ หน่วยกิต ในขณะที่หลักสูตรทั่วไปต้องการแค่ ๓๐ หน่วยกิต ถือว่าเป็นการเสริมเนื้อหาเข้าไป อย่างวิชาดนตรี หรือวิชา visual art ก็เป็นหลักสูตรที่น่าสนใจ หรือผมไปเรียนสีน้ำ เขาก็ไม่ได้สอนเทคนิคอะไรมาก แต่บอกว่า ศิลปะไม่ใช่การวาดภาพเหมือน แต่คือการสอนใจตัวเอง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งที่เรามอง ที่เราชื่นชม และอย่าลากพู่กันจนกระทั่งไม่มีเราเสียก่อน คือจะฝึกในการมอง ฝึกจิต แล้วจึงค่อยทำ ผมคิดว่า ความเข้าใจเรื่องการภาวนาก็มีผลต่อการออกแบบหลักสูตร ออกแบบวิชา
 
 
นพ.ประเวศ: ผมไปเยี่ยมนาโรปะเมื่อ ๒ สัปดาห์ก่อน ที่ประทับใจคือ เวลาเดินเข้าไป คนทั้งหมดจะมีหน้าตายิ้มแย้ม มีความสุข ตั้งแต่ผู้บริหาร ครู พนักงาน นักศึกษา ที่น่าสนใจ คือผมได้คุยกับอธิการบดี รองอธิการบดี และหัวหน้าแผนก religious ทำให้ทราบ คนที่เป็นครูจะมาเข้าเรียนเพิ่มเติม เพื่อให้เห็นจิตใจตนเอง และเข้าใจจิตใจผู้อื่น แล้วครูก็จะกลับไปสอนศิษย์ เป็นกระบวนการที่ดีมาก เป็นจุดที่ยิ่งใหญ่ เพราะของเราจะเรียนแต่เทคนิค ไม่เข้าใจตนเอง และความเป็นมนุษย์
อ.สุมน: สิ่งที่ยังไม่ค่อยเข้าใจนัก คือเรื่องความเปราะบางของจิตใจ เพราะเวลาพัฒนาจิต เราจะบอกว่าเพื่อให้จิตแข็งแกร่ง เข้มแข็ง แต่คุณมาพูดถึงความเปราะบาง หมายความว่าอย่างไร อ่อนไหวหรือโรแมนติก ถ้าภาษาอังกฤษจะเข้าใจ แต่พอมาเป็นหัวใจเปราะบาง พร้อมที่จะแตกสลาย จะไม่เข้าใจ
 
คุณณัฐฬส: ความเข้าใจของผม เขาจะใช้ image ของพระโพธิสัตว์ ลักษณะเด่นก็คือความสามารถในการฟัง โดยเฉพาะเรื่องราวความยุ่งยากได้อย่างลึกซึ้ง ซึ่งหัวใจที่จะเข้าไปรับฟังได้ ต้องไม่แข็งกระด้าง ที่เขาใช้คำว่า vulnerable หมายถึง broken ได้ รับรู้ได้ ไหวตัว และตื่นตัว อีกคำหนึ่งที่ใช้คือ surrender หรือศิโรราบ ผมคิดว่า เรื่องนี้ถกเถียงได้ว่าภาวะความเป็นผู้นำที่ต้องการ ความเข้มแข็งที่ว่าเป็นอะไรได้บ้าง อ่อนโยนได้อย่างไร ทุกข์ไปกับสิ่งที่เรารับรู้ได้หรือไม่ พระโพธิสัตว์รับรู้ความทุกข์และเป็นหนึ่งเดียวกับความทุกข์ หมายความว่าอย่างไร เพราะเชื่อว่า เมื่อเป็นหนึ่งเดียวกับความทุกข์ ไม่ปฏิเสธความทุกข์ action จะเกิดขึ้นจากความเมตตา แต่ใจจะต้อง broken heart, compassion ต้องเกิดมาจากใจที่ broken heart แต่นำมาตีความในเถรวาท ผมไม่รู้ว่าจะใช้ภาษาอะไร คนอื่นอาจจะช่วยเสริม
 
อ.เอกวิทย์: ความเข้าใจของผม คำว่า ความเปราะบาง vulnerable ในภาษาของการเล่นไพ่บริดจ์ หมายความถึงจุดที่จะต้องตัดสินใจ ว่าจะทิ้งไพ่หรือไม่ แต่คนที่จะทิ้งไพ่ได้ถูกต้อง ต้องเป็นคนที่เฉลียวฉลาด แหลมคม มีความอ่อนไหวสูงพอที่จะเข้าใจคนอื่น เข้าใจสถานการณ์ เข้าใจชีวิต นำไปสู่การเรียนรู้ และตัดสินใจที่ถูกต้อง
 
 
นพ.ประเวศ: ความหมายอีกประการหนึ่ง ก็คือการเปิดให้กับความเสี่ยงที่อะไรจะเกิดขึ้น เช่น การทำงานเพื่อส่วนรวม จะต้องถูกกระทบ
คุณวิศิษฐ์: เพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเชื่อมโยงกับกระบวนการเรียนรู้ ผมคิดว่า ความเปราะบาง คือการนำตัวเองเข้าไปสู่ความเสี่ยง ในการเรียนรู้ จะมี ๒ โหมดหลักๆ ในชีวิต คือ โหมดปกป้องตัวเอง กับ โหมดเรียนรู้ พื้นฐานที่สุดของโหมดปกป้อง คือความกลัว การนำตัวเองไปสู่จุด vulnerability หรือจุดเปราะบาง เมื่อนำพาตัวเองไปที่ๆ เรากลัว หรือเสี่ยงภัยบ่อยๆ พบกับการท้าทายที่ยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุด ตัวเองก็จะไม่กลัว
 
อีกด้านหนึ่ง เมื่อเรานำพาตัวเองไปสู่สิ่งที่เรากลัว หรือ uncomfortable zone ที่เราไม่สะดวกสบาย การเรียนรู้จะเกิดขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่อยู่ในความสะดวกสบายเดิมๆ ความคิดเดิมๆ ความรู้สึกเดิมๆ และไม่เปลี่ยน
 
ทีนี้ ในแง่หัวใจแตกสลาย คือมีการศึกษาและสังเกตองค์ทะไลลามะ เมื่อมีการสนทนากับนักวิทยาศาสตร์ เรื่องความเมตตากรุณา เมื่อท่านฟังความทุกข์ของคนอื่น ท่านจะ suffer ทันทีภายใน ๒-๓ วินาที ร่วมทุกข์ร่วมสุขไปกับเรื่องราวที่ท่านได้ยิน หลังจากนั้น ท่านก็ฟื้นคืนสดชื่นขึ้นมาทันที คือมันเป็นพลังของการรับรู้ความทุกข์ของคนอื่นถึงก้นบึ้งที่หัวใจของเราแตกสลายได้
 
นพ.โกมาตร: ผมเข้าใจว่า การตีความสามารถแตกต่างกันได้ ผมนึกถึงการสัมมนาที่หาดใหญ่ คุณสุรภี (ชูตระกูล) ซึ่งแลคุณสุภาพรจนถึงนาทีสุดท้าย เล่าว่า ในจังหวะที่ต้องดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ใกล้ตาย จะมีอยู่ช่วงหนึ่ง ที่ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บปวดอย่างยิ่งทั่วร่างกาย ชนิดแทบทนไม่ได้ แม้แต่จะขยับแขนขา ก็ต้องค่อยๆ ยกเป็นมิลลิเมตร ทีนี้คนดูแลก็เป็นมนุษย์ บางครั้งก็ไม่สามารถอยู่ในสถานการณ์อย่างนั้นได้ตลอดเวลา ส่วนผู้ป่วยเองก็หงุดหงิด เพราะว่าครั้งหนึ่งเคยควบคุม เคยจัดการกับชีวิตตัวเองได้ ปัจจุบัน แม้แต่เวลาคันก็ต้องเรียกคนอื่นมาเกาให้ พออยู่ในสถานการณ์อย่างนั้น คุณสุภาพร ซึ่งปฏิบัติมาตลอด ก็จะหงุดหงิด จิตใจขุ่นมัว คนดูแลก็อยู่ในความบีบคั้น และเหนื่อยกับการดูแลข้ามวันข้ามคืน ก็จะเกิดการปะทะกัน ผมคิดว่าจุดนี้คือความเปราะบาง และถ้าเราไม่เปิดตัวเองกับความเปราะบางนั้น เราก็จะไปไม่พ้น และเรียนรู้จะไม่เกิดขึ้น เพราะไม่เห็นความเปราะบางของตัวเอง นักรบแท้จริง จะต้องมีสุขภาวะที่เข้าไปในเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับความเปราะบางนี้ เพื่อจะได้เติบโต และเรียนรู้ ดีกว่าการหวังว่าไม่ต้องพบ ไม่ต้องคิด แต่หงุดหงิดต่อไป หรือหาทางปกป้องตัวเองด้วยวิธีการเดิม ก็ไม่มีทางจะได้เรียนรู้
 
อ.เอกวิทย์: ดูเสมือนหนึ่งว่า นักรบชั้นยอด ศิลปิน กับพระสงฆ์ จะมีจิตอยู่ในระดับเดียวกัน
 
นพ.โกมาตร: คือพอแปล vulnerability เป็นความเปราะบาง จะมีลักษณะของความสุ่มเสียง ความหมิ่นเหม่ เกิดสิ่งที่ใจเรายากจะรับได้ มีความไม่แน่นอน
 
อ.จุมพล: เวลาฟังคุณณัฐฬสพูดถึง vulnerability เรื่องของความเปราะบาง ความรู้สึกแรกก็คิดในเชิงคำหมายว่า ถ้าเราใช้คำภาษาไทย ว่า “เปราะบาง” เราจะติดกับประสบการณ์เดิม เช่น แก้ว ที่เราเรียกว่าเปราะบาง แตกสลายได้ง่าย แล้วกลับมารวมกันลำบาก แต่พอฟังไประยะหนึ่ง ก็มีความรู้สึกว่า คำนี้มีความหมายกว้างมากกว่านั้นมาก
 
ผมรู้สึกว่า vulnerability เป็นศักยภาพ เป็นความสามารถของคน ที่พร้อมจะเปลี่ยน ซึ่งจะต้องยอมรับอะไรเข้ามา จึงจะเปลี่ยนได้ ถ้าใช้คำว่า บอบบาง แทน เปราะบาง อาจจะมีความหมายที่ผิด แต่ว่าจริงๆ ก็คือ ยอมให้อะไรซึมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเราได้ ไม่ไปสกัดกั้น หรือปกป้องเหมือนที่พูด พอซึมเข้ามา ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของเราไปทันที แล้วหลังจากนั้นก็จะเกิดไปเป็นสิ่งใหม่


อ่านต่อที่

http://www.buddhayan.com/board.php?subject_id=102
 
4545  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: Bohmian Dialogue “สุนทรียสนทนา” ศิลปะ ธรรมชาติ ศาสตร์แห่งการสนทนาแนวใหม่ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:37:18
ดังที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นในตอนแรกคือความอึดอัด เงอะๆงะ ทำอะไรไม่ถูก เพราะคนเคยชินกับการพูดคุยตามวาระที่เตรียมไว้ล่วงหน้า มีเป้าหมายในการพูดคุยที่ชัดเจน รับรู้ร่วมกันอย่างเป็นลำดับขั้น แต่ไม่เคยชินกับความ “ไร้ระเบียบ” แต่ถ้าผ่านช่วงนี้ไปได้ บรรยากาศจะดีขึ้น เรื่องใดก็ตามที่เห็นว่ามีความสำคัญ ก็จะมีคนกระโดดเข้ามาร่วมพูดคุยมาก แต่บางเรื่องอาจโผล่ขึ้นมาครั้งเดียวแล้วก็เงียบหายจากวงสนทนาไปเลย เพราะไม่มีคนรับลูกต่อ ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดาในวงสนทนาแบบนี้

ประการที่ห้า

สิ่งที่ควรตระหนักเป็นเบื้องต้นคือ ไม่ควรหวังผลว่าจะต้องมีสิ่งนั้นสิ่งนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังจากจบลงของสุนทรียสนทนา เพราะความคาดหวังดังกล่าวเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่มีการยืนยันว่า สุนทรียสนทนาจะเกิดมรรคผลเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งแล้ว เพราะความคิดไม่ได้หายไปไหน แต่อาจผุดตามหลัง จึงควรทำให้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ข้อสำคัญคือ ควรหลีกเลี่ยงการสรุปแบบรวบยอด เพราะการสรุป เป็นการเปิดช่องว่างให้ใช้อำนาจแบบรวบรัด ขยายส่วนที่ชอบ ปิดบังส่วนที่ไม่อยากได้ยิน และข้อสำคัญคือการนำข้อสรุปไปเป็นเครื่องมือบีบบังคับให้คนอื่นทำตามความต้องการของตนเองในภายหลัง การสรุปควรถือเป็นหน้าที่ของแต่ละคนที่เข้าร่วมกระบวนการสุนทรียสนทนา ซึ่งสามารถหยิบประเด็นที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองได้ตามความสนใจของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน

แม้สุนทรียสนทนาจะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง คือไม่สามารถหวังผลได้ในระยะเวลาอันจำกัดดังที่กล่าวมาแล้ว แต่คุณูปการของมันก็มีมากมาย แน่นอน “หลายหัวย่อมดีกว่าหัวเดียว” ความคิดถือเป็นสมบัติกลาง ไม่มีใครเป็นเจ้าของความคิด ทุกคนสามารถคิดในเรื่องเดียวกันได้ ความคิดเป็นความสามารถพิเศษของมนุษย์ ในขณะที่คิดร่วมกันอยู่นั้น ความคิด คำพูดของคนหนึ่งอาจไปช่วยกระตุกให้อีกคนหนึ่งนึกอะไรขึ้นมาได้ และสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามหาศาล สามารถนำไปแปลงลงสู่การปฏิบัติได้ในอนาคต พลังจากการคิดร่วมกันในวงสุนทรียสนทนา จะงอกเงยได้อย่างไม่ที่สิ้นสุด ขอเพียงปลดปล่อยให้มันหลุดพ้นจากสิ่งที่ห่อหุ้ม ทับถมมันอยู่อย่างแน่นหนาเท่านั้น ระบบปฏิบัติการสมอง กับคลื่นพลังงานความรู้และความคิด จะวิ่งเข้าหากัน จนเกิดความสว่างทางปัญญา และสามารถนำมาใช้ได้จริง


ท้ายที่สุด David Bohm ทิ้งท้ายไว้อย่างถ่อมตัวว่า เขาไม่เชื่อหรอกว่าสิ่งที่เขาเรียกว่า dialogue หรือที่บทความเรื่องนี้รับคำแปลมาจากที่อื่นว่า “สุนทรียสนทนา” นั้น จะเป็นคำตอบสุดท้ายของการแก้ปัญหาอันสลับซับซ้อนบนโลกใบนี้ได้ทุกเรื่อง แต่เขาคิดว่าสุนทรียสนทนาเป็นเพียงการเริ่มต้นของการแก้ปัญหาที่มนุษย์สร้างขึ้นนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งความเชื่อนี้ อาจจะเป็นจริงก็ได้ เพราะปรัชญาตะวันออก ซึ่งเป็นต้นธารความคิดเรื่องสุนทรียสนทนาของ David Bohm ได้ให้การรับรองไว้ว่า ถ้าคนสามารถถอดถอนอำนาจ อุปาทาน ความคิด ความเชื่อที่ห่อหุ้มอยู่อย่างแน่นหนาทั้งหลายทั่วโลก มานั่งพูดคุยกันแบบมนุษย์สัมผัสมนุษย์ได้ ก็น่าจะเป็นการเริ่มต้นของการแก้ปัญหาของโลก แต่ความรักจะโบยบินออกไปเสมอ ตราบใดคนพูดจากันไม่รู้เรื่อง และสร้างโลกของความหมายร่วมกันไม่ได้ (Love will go away if we can not communicate and share meaning.)

บทส่งท้าย

บทส่งท้ายจากผู้เขียน อยากจะสรุปว่า การจัดการกับปัญหาเชิงระบบที่โยงใยแบบอิทัปปัจยตานั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ยากยิ่ง เพราะไม่สามารถแสวงหาจุดเริ่มต้น และไม่สามารถคาดการณ์จุดสิ้นสุดของมันได้ แต่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า ในท่ามกลางความยุ่งเหยิงซับซ้อน จับต้นชนปลายไม่ถูกนั้น “ตัวเรา” ก็คือส่วนหนึ่งของความโยงใยทั้งมวลและเป็นส่วนที่เราสามารถยื่นมือเข้าไปจัดการได้ง่ายที่สุด เพราะมันเป็นตัวเราเอง แต่การจะทำเช่นนั้นได้ เราต้องรื้อถอนอุปาทาน สมมุติบัญญัติต่างๆที่ห่อหุ้มตัวเราอยู่ให้หมดสิ้นไป เพื่อให้สามารถใช้สติปัญญาได้อย่างอิสระ และมองเห็นความยุ่งเหยิงซับซ้อนภายนอกทั้งหลายว่า “มันเป็นเช่นนั้นเอง” และเราจะเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของมัน



.........................


เอกสารอ้างอิง

Bohm, David (1996) . On Dialogue. edited by Lee Nichol, Routledge, London

วิศิษฐ์ วังวิญญู (2547). ปฐมบทของการสนทนาอย่างสร้างสรรค์. โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.). จุลสารปันความรู้สู่กระบวนทัศน์ใหม่ ปีที่ 1 ฉบับที่ 3 กุมภาพันธ์-มีนาคม 2547 หน้า 21-23. สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

ทีมงานวิชาการ สรส.ส่วนกลาง (2547). การเรียนรู้จากวาทพิจารณ์. โครงการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส). จุลสารปันความรู้สู่กระบวนทัศน์ใหม่ ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ธันวาคม-มกราคม 2547.

น.พ ประสาน ต่างใจ (2547). การบรรยายเกี่ยวกับ “การเสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการการวิจัยบูรณาการ Transdisciplinary Commons” มหาวิทยาลัยมหิดล. 15 สิงหาคม 2547 ณ พนาศรม ต.คลองโยง พุทธมณฑล นครปฐม .

จาก
http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=transteam&topic=10&page=2
4546  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: Bohmian Dialogue “สุนทรียสนทนา” ศิลปะ ธรรมชาติ ศาสตร์แห่งการสนทนาแนวใหม่ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:36:39
แนวทางการจัดสุนทรียสนทนา

พึงระลึกไว้เสมอว่า คำแนะนำต่อไปนี้ เป็นเพียงแนวทางกว้างๆ ไม่ใช่ตำราทำอาหารที่จะต้องทำตามอย่างเคร่งครัดโดยไม่สนใจอย่างอื่นนอกจากความหมายตามตัวอักษรของคำแนะนำ แต่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับสุนทรียสนทนา สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากต้นฉบับเรื่อง On Dialogue ของ David Bohm ให้เข้าใจและนำไปทดลองปฏิบัติเป็นกลุ่มเล็กๆให้เกิดความชำนาญ และช่วยกันวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งร่วมกัน อย่างไรก็ตาม มีข้อแนะนำเกี่ยวกับแนวทางการทำสุนทรียสนทนา ดังต่อไปนี้

ประการแรก

ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาและแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังของการทำสุนทรียสนทนาให้ทะลุ การคิดร่วมกันทำให้ความคิดที่กระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆมารวมตัวกัน และทำให้เกิดการเชื่อมโยง (coherent of thought) เพื่อให้เกิดพลัง เช่นเดียวกับการทำให้พลังงานแสงที่พุ่งกระจายไปคนละทิศคนละทางและไร้พลัง แต่เมื่อมีเทคโนโลยีทำให้แสงเกิดการรวมตัวกัน พุ่งตรงไปในทิศทางเดียวกัน จะกลายเป็นแสงเลเซอร์ ที่สามารถทะลุทะลวงสิ่งต่างๆได้อย่างเหลือเชื่อ การเข้าใจปรัชญาของสุนทรียสนทนาอย่างลึกซึ้ง จะทำให้เกิดความเชื่อมั่น ศรัทธาในกระบวนการ สามารถฟันฝ่ากำแพงความลังเลสงสัยไปได้

ประการที่สอง

เป้าหมายสำคัญของสุนทรียสนทนาคือ การรื้อถอนสมมุติบัญญัติ ปลดปล่อยตนเองจากภารกิจ บทบาท หน้าที่ อำนาจและอุปาทานที่ห่อหุ้มตัวตนอยู่ในทุกรูปแบบ เพื่อมิให้กลายเป็นกำแพงอุปสรรค (blocking) ต่อการเรียนรู้เพื่อการเข้าถึงความจริงที่ฝังลึกอยู่ภายในตัวเอง (tacit knowledge) ดังนั้น ผู้ที่เข้าร่วมวงสุนทรียสนทนา จึงต้องรื้อถอนสิ่งเหล่านี้ด้วยความสมัครใจของตนเอง อ่อนน้อมถ่อมตัว มีเมตตากับตัวเอง โดยการไม่ยกตนข่มท่าน หรือไม่กดตนเองลงจนหมดความสำคัญ แต่ควรกำหนดบทบาทของตัวเองเป็นกัลยาณมิตร กับทุกคน ไม่ควรลืมว่า เป้าหมายของการรื้อถอนจำกัดขอบเขตอยู่ที่ตนเองเท่านั้น การก้าวล่วงไปวิพากย์วิจารณ์เพื่อเปลี่ยนแปลงรื้อถอนคนอื่น เป็นสิ่งที่พึงละเว้นโดยเด็ดขาด



ประการที่สาม

การสาดไฟย้อนกลับมาค้นหาฐานคติ (assumptions) ที่ฝังลึกอยู่ในใจ แต่การเพ่งมองอย่างเดียว จะไม่เห็นอะไรเลย จนกว่าฐานคติเหล่านั้นจะแสดงตัวตนออกมาเป็นอารมณ์(emotion) อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อมีอะไรเข้าไปกระทบกับมันเข้า เช่นเมื่อได้ยิน ได้เห็น หรือใจนึกขึ้นได้ กล่าวกันว่า ฐานคติกับอารมณ์ ทำงานใกล้ชิดกันมากจนแทบแยกกันไม่ออกว่าอะไรเป็นอะไร สิ่งที่ต้องทำในสิ่งแรกคือการเฝ้าสังเกต (observer) สิ่งที่มากระทบ (observed) ว่ามันทำให้เราเกิดอารมณ์อะไรขึ้นมา และหาทางระงับมัน (suspension) เพราะถือว่ามันเป็นตัวปิดกั้นอิสรภาพในการรับรู้ความจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

ในทางปฏิบัติคือ เมื่อเข้าไปอยู่ในวงสุนทรียสนทนา จะต้องไม่ให้ความสนใจเฉพาะสิ่งที่ได้ยินได้ฟังเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตอารมณ์ ความรู้สึกของตนเองในขณะที่ได้ยินได้ฟังสิ่งเหล่านั้นด้วย เพราะโดยทั่วไปขณะที่ฟังนั้น เรามักจะ “บิวด์” ความรู้สึกบางอย่างตามไปด้วย เช่น รำคาญ หมั่นไส้ เคลิบเคลิ้ม ขำกลิ้ง ชื่นชม ฯลฯ และความรู้สึกเหล่านี้คือที่มาของ ‘bias’ ต้องมันตามให้ทันด้วยการฟังให้ได้ยิน (deep listening) สงบระงับ การตามความรู้สึกให้เท่าทันจึงเป็นการป้องกัน bias และการสงบระงับคือการสร้างปัญญาที่เกิดจากการฟัง เมื่อคิดว่า สามารถจัดการกับความรู้สึกตัวเองได้แล้ว ก็สามารถเริ่มต้นตั้งวงคุยเพื่อคิดร่วมกันได้เลย

ประการที่สี่

การตั้งวงสุนทรียสนทนา ประกอบด้วยคนสองคนขึ้นไป 7-8 คน ถือว่ากำลังดี แต่ถ้าจำเป็นก็อาจมีได้ถึง 20 กว่าคน นั่งล้อมวงเป็นวงกลมให้ทุกคนสามารถมองเห็นหน้ากันได้ทั้งหมด ตั้งกติกาการพูดคุยไว้อย่างหลวมๆ เช่น หลีกเลี่ยงการเสนอแนะ การโต้แย้ง การผูกขาดเวที การทำให้ผู้อื่นเสียหน้า พูดให้สั้น หลังจากพูดแล้ว ควรรอให้คนอื่นๆได้มีโอกาสพูดผ่านไปก่อนสองหรือสามคน ค่อยกลับมาพูดอีก ความจริงกติกาเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ทุกคนปฏิบัติกันอยู่แล้ว มากน้อยตามโอกาส แต่การนำกติกาขึ้นมาเขียนให้ทุกคนเห็น จะช่วยเตือนสติได้ดีขึ้น ในตอนแรกอาจต้องมีใครสักคนทำหน้าที่จัดการกระบวนการ (facilitator) เพื่อช่วยลดความขลุกขลัก แต่ถ้าผู้ร่วมวงสามารถนำกติกาเข้าไปอยู่ในใจได้แล้ว เขาจะควบคุมการสนทนาได้เอง และไม่จำเป็นต้องมีใครทำหน้าที่นี้อีกต่อไป


4547  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: Bohmian Dialogue “สุนทรียสนทนา” ศิลปะ ธรรมชาติ ศาสตร์แห่งการสนทนาแนวใหม่ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:35:53
หลักการสำคัญของสุนทรียสนทนาอีกประการหนึ่งคือ “การฟังให้ได้ยิน” (deep listening) โดยพยายามไม่ใส่ใจว่า เสียงที่ได้ยินเป็นเสียงของใคร เพียงแค่กำหนดใจให้รู้ได้ว่า เสียงที่ได้ยิน คือเสียงของกัลยาณมิตรของเราคนหนึ่ง ที่ปรารถนาจะให้เราได้ยินได้ฟังแต่สิ่งดีๆเท่านั้น นอกจากนี้ จะต้องมีการเฝ้าสังเกตอารมณ์และความรู้สึกของตนเองในขณะที่ได้ยินเสียงต่างๆที่ผ่านเข้ามากระทบ เสียงเหล่านั้นอาจจะเป็นเสียงของตนเองที่พูดคุยกับตนเอง เสียงของคนในวงสนทนา หรือเสียงจากธรรมชาติ เช่นเสียงนกร้อง น้ำไหล และเสียงจิ้งหรีดเรไรยามค่ำคืน เป็นต้น ถ้าหากฟังอย่างตั้งใจ และฟังเพื่อให้ได้ยิน อาจจะมีความคิดบางอย่างวาบขึ้นมาในใจ และความคิดนั้น อาจจะถูกนำไปใช้ในการเริ่มต้นของการทำอะไรบางอย่างที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคมได้ในอนาคต

การยอมรับในหลักการของสุนทรียสนทนา คือความพยายามเบื้องต้นในการถอดถอนอิทธิพลของอำนาจ อุปาทาน ซึ่งทำงานอยู่ในรูปของระบบสัญญลักษณ์ พิธีการต่างๆที่ห่อหุ้มตัวตนไว้ในโลกอันคับแคบ หดหู่ ซึมเศร้า และเป็นสถานบ่มเพาะเชื้อแห่งความรุนแรงไว้อย่างล้ำลึก เชื่อกันว่า หากคนสามารถก้าวข้ามสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไปได้ จิตใจก็จะถูกปลดปล่อยเป็นอิสระ (deliberation) สามารถเรียนรู้จากการฟังได้อย่างไม่มีข้อจำกัด เพื่อยกระดับภูมิธรรมของตนเองให้สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็เป็นเรื่องที่คนธรรมดาทำได้ยาก

ดังนั้น จึงไม่มีใครสามารถบังคับใคร ให้เข้าไปนั่งอยู่ในกระบวนการสุนทรียสนทนาได้ โดยที่เขาไม่มีความสมัครใจ และไม่ยอมรับเงื่อนไข หลักการเบื้องต้นเหล่านี้เสียก่อน การยอมรับเงื่อนไขแปลกๆเหล่านี้มิใช่เรื่องง่าย เพราะคนส่วนใหญ่มีประสบการณ์ และเคยชินกับการพูดคุยแบบเป็นการเป็นงาน มีการวางวาระ เป้าหมายของการพูดคุยไว้ล่วงหน้า มีการโต้เถียง ลงมติและข้อสำคัญมีคนที่ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม เมื่อเข้ามาอยู่ในบรรยากาศที่ตนเองไม่คุ้นเคย ก็เลยหงุดหงิด เพราะทำใจไม่ได้กับการพูดคุยแบบไม่มีทิศทาง David Bohm ได้ให้คำแนะนำว่า ความรู้สึกเหล่านี้ถือเป็นเรื่องธรรมดา คนที่เชื่อมั่นในกระบวนการของสุนทรียสนทนาจะต้องเผชิญหน้ากับมัน และผ่านจุดสำคัญนี้ไปให้ได้ หลังจากนั้น บรรยากาศจะค่อยๆดีขึ้น เพราะทุกคนสามารถปรับตัวให้คุ้นเคยกับบรรยากาศการพูดคุยแบบใหม่ จนแทบไม่มีใครอยากจะเลิกราไปง่ายๆ

ความมหัศจรรย์ของสุนทรียสนทนา

มีคำถามที่มักถามกันมาเสมอคือว่า พูดคุยกันแบบนี้แล้วมันได้ประโยชน์อะไร คุยกันแล้วข้อยุติที่จะนำไปปฏิบัติก็ไม่มี ก็ไม่รู้จะคุยกันไปทำไม ก็ขอตอบว่า สุนทรียสนทนามิได้แยกการพูดออกจากการกระทำ การพูดคือการกระทำอย่างหนึ่ง นั่นคือการแสวงหาความรู้ สุนทรียสนทนาจึงไม่ใช่เป็นพูดคุยเพื่อหาข้อยุติ แต่เป็นการชุมนุมพูดคุยเพื่อแสวงหาคลื่นของพลังงานความรู้ ความคิดที่ล่องลอยอยู่ในจักรวาลอันไพศาล โดยเปรียบสมองของมนุษย์ว่าเป็นระบบปฏิบัติการหรือตัว‘hard ware’ ที่จำเป็นจะต้องมีคลื่นพลังงานความรู้ ความคิด หรือ ‘soft ware’ ที่เหมาะสมกัน (compatible) มาใส่เข้าไปในระบบปฏิบัติการ เพื่อให้สมองสามารถทำงานได้ คิดได้ สร้างความรู้ได้ หาไม่แล้วสมองมนุษย์ก็เป็นเพียงเนื้อเยื่อโปรตีน ไขมันและเส้นประสาทที่ปราศจากความหมายใดๆทั้งสิ้น

คลื่นความรู้และพลังงานที่ถูกฝังเข้าไปในระบบปฏิบัติการของมนุษย์ จึงเป็นความรู้ที่เรียกว่า “ความรู้ฝังลึก” (tacit knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง แต่อธิบายออกมาเป็นคำพูดให้ใครฟังไม่ได้เช่นเดียวกับคนที่มีความสามารถในการขี่จักรยาน แต่ไม่สามารถอธิบายวิธีการทำให้จักรยานทรงตัวไม่ได้ นอกจากทำให้ดูแล้วนำไปฝึกฝนด้วยตนเองจนเกิดความชำนาญ

ดังนั้น การเข้ามาอยู่ในวงสุนทรียสนทนา จึงเป็นการแสวงหาคลื่นพลังงานความรู้และความคิดร่วมกัน เมื่อใครคนหนึ่งรับได้ ก็จะเกิดการถ่ายทอดโยงใยไปยังคนอื่นๆที่อยู่ในวงสุนทรียสนทนาให้รับรู้ด้วยกัน ผู้ที่สามารถเข้าถึงคลื่นพลังงานความรู้และความคิดเหล่านี้ได้ จะเกิดความรู้สึกว่า เสียงของคนอื่นก็เหมือนกับเสียงของตนเอง สิ่งที่ตนเองอยากจะพูดก็มีคนอื่นพูดแทนให้ และเมื่อคนอื่นพูดออกมา บางครั้ง เราจึงรู้สึกว่า คำพูดแบบนี้แหละคือสิ่งที่ตนเองอยากจะพูด
4548  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: Bohmian Dialogue “สุนทรียสนทนา” ศิลปะ ธรรมชาติ ศาสตร์แห่งการสนทนาแนวใหม่ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:35:23
อย่างไรก็ตาม คนในสมัยใหม่ก็ตระหนักถึงปัญหาและพยายามแก้ไขปัญหานี้เช่นเดียวกัน พยายามพูดคุย ประชุมปรึกษาหารือกัน แต่ก็มักจะจบลงด้วยข้อสรุปและกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งเป็นการเปิดช่องว่างให้คนใช้ข้อสรุปและกฎระเบียบแบบบิดเบือนเพื่อประโยชน์ของตนเอง David Bohm ชี้ให้เห็นว่า ปัญหาใดๆก็ตาม จะไม่สามารถแก้ไขได้ โดยใช้ฐานคิดและวิธีการเดิมกับที่สร้างปัญหาเหล่านั้นขึ้นมา ดังนั้น การประชุมพูดคุย ถกเถียง และลงมติเพื่อหาข้อสรุป จึงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา แต่อาจเป็นการเริ่มต้นของปัญหาใหม่ๆ และคนวิ่งตามไม่ทัน

การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ ก็เป็นความพยายามในการแก้ปัญหาด้วยตรรกะชุดเดียวกับที่สร้างปัญหาขึ้นมา เพื่อเชื่อมโยงคนทั้งโลกเข้าหากัน เริ่มตั้งแต่การประดิษฐ์คิดค้นเครื่องรับส่งวิทยุ โทรทัศน์ รถยนต์ เครื่องบินที่ทันสมัย โทรศัพท์มือถือ อินเตอร์เนตความเร็วสูง แต่ท้ายที่สุดก็พบว่า นวัตกรรมเหล่านี้สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ แต่กลับเพิ่มความสลับซับซ้อนและสร้างปัญหาใหม่ๆให้แก่โลกมนุษย์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด เช่นโทรทัศน์กลายเป็นสื่อกระตุ้นให้เกิดการบริโภคจนเกินความจำเป็นพื้นฐาน จอโทรทัศน์ทำให้คนในครอบครัวถูกแยกออกจากกัน มิได้ให้ความสนใจซึ่งกันและกัน รถยนต์ทำให้เกิดมลภาวะ อากาศเสีย โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เนตความเร็วสูงทำให้ข้อมูลท่วมโลก คนเล็กๆตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบมากขึ้น เพราะทรัพยากร ธรรมชาติถูกดูดไปใช้ในการพัฒนา สร้างความเจริญ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในเมือง เป็นต้น

คนสมัยใหม่ถูกสอนให้ต่างคนต่างคิด และคิดกันอยู่คนละมุม แล้วก็นำเอาสิ่งที่ตนเองคิดและเชื่อไว้ก่อนแล้ว หรือ “ฐานคติ” (presupposition) นั้น ขึ้นสู่เวทีถกเถียง โต้แย้ง มุ่งเอาชนะคะคานกันแบบไม่รู้จริง แต่ในที่สุดก็เป็นผู้แพ้ทั้งคู่ วัฒนธรรมต่างคนต่างคิด จึงทำให้โลกสมัยใหม่เต็มไปด้วยความยุ่งเหยิงซับซ้อนอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจครอบงำทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งโดยวิธีการป่าเถื่อนและงดงามแต่แฝงด้วยเล่ห์กลอันแยบยล เพื่อบีบบังคับ หรือโน้มน้าวให้ผู้อื่นคิดและเชื่อและปฏิบัติตามความต้องการของคนที่มีอำนาจ


ปัญหาของโลกปัจจุบันเป็นปัญหาแบบ “อิทัปปัจยตา” ที่โยงใยถึงกันแบบรอบทิศทาง ซ้ำยังอยู่นอกเหนือการควบคุมของอำนาจใดๆอีกด้วย เพราะไม่สามารถคลำหาต้นสายปลายเหตุของปรากฎการณ์ได้ ยิ่งแก้ก็ยิ่งยุ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ การกลับมาแก้ไขที่ “ตนเอง” จึงเป็นทางออกของปัญหาอันสลับซับซ้อนนี้ เพราะตนเอง คือส่วนของปัญหาที่สามารถยื่นมือเข้าไปจัดการได้ง่ายที่สุดสำหรับมนุษย์

ในฐานะของผู้มีประสบการณ์ที่ผ่านจุดสูงสุดของวิชาการจากโลกตะวันตก และเข้าใจวิธีคิดแบบตะวันออกอย่างลึกซึ้ง David Bohm จึงประกาศความเชื่อในชีวิตบั้นปลายว่า การคิดร่วมกันด้วยกระบวนการสุนทรียสนทนา (dialogue) น่าจะเป็นทางออกของการแก้ไขปัญหาอันสลับซับซ้อนของโลกยุคใหม่ เพราะการคิดร่วมกัน การรับฟังซึ่งกันและกัน โดยไม่มีการถือเขาถือเรา เป็นวิธีการจัดการความแตกต่างหลากหลาย โดยทำให้ทุกฝ่ายต่างเป็นผู้ชนะร่วมกัน (win-win)


แนวคิดและหลักการเบื้องต้นของสุนทรียสนทนา


หลักการของสุนทรียสนทนาคือ การพูดคุยกันโดยไม่มีหัวข้อ หรือวาระ (agenda) ที่ตายตัวไว้ล่วงหน้า และไม่มีเป้าหมายเพื่อค้นหาข้อสรุปร่วมกัน เพราะจะเป็นการเปิดช่องว่างให้อำนาจเข้ามาชี้นำเข้าหาผลประโยชน์ของตนเอง โดยใช้สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องมือ คนในวงสนทนาสามารถพูดเรื่องอะไรก็ได้ ถามอะไรขึ้นมาก็ได้ คนในวงสนทนาจะตอบหรือไม่ตอบก็ได้ แต่ก็มิได้หมายความว่า สุนทรียสนทนา เป็นการพูดคุยแบบลมเพลมพัด เหะหะพาที ตลกโปกฮา ตรงกันข้าม พฤติกรรมเหล่านี้ เป็นสิ่งต้องห้ามในวงสุนทรียสนทนาด้วยซ้ำไป ทั้งนี้เพื่อมิให้อารมณ์แบบสรวลเสเฮอาเหล่านี้ กลายเป็นอุปสรรคต่อความสงบ และรบกวนสมาธิของผู้เข้าร่วมวงสุนทรียสนทนา

การเข้าไปอยู่ในวงสุนทรียสนทนา ทุกคนจะต้องให้ความเคารพต่อบรรยากาศของความเงียบสงบ ปล่อยอารมณ์ให้ผ่อนคลาย พูดจากันพอได้ยิน พูดเรื่องอะไรก็ได้ แต่โดยส่วนใหญ่จะหลีกเลี่ยงการแนะนำ และการตอบคำถาม เพราะถือว่า คำถามที่เกิดขึ้น เป็นคำตอบในตัวของมันเอง นอกจากนี้ สุนทรียสนทนา ยังไม่อนุญาตให้มีการโต้แย้ง หรือสนับสนุน จนเกิดการปะทะกันทางความคิดใดๆ เพราะถ้าปล่อยให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น นั่นหมายถึงการปล่อยให้แต่ละคนนำเอาฐานคติของตนออกมาประหัตประหารกัน และจบลงด้วยความคิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกตีตกจากวงสนทนาไป ซึ่งผิดหลักการของสุนทรียสนทนา
4549  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: Bohmian Dialogue “สุนทรียสนทนา” ศิลปะ ธรรมชาติ ศาสตร์แห่งการสนทนาแนวใหม่ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:34:59
กระบวนการสุนทรียะสนทนาที่เหมาะสม จะทำให้เกิดการคิดร่วมกันได้อย่างมีพลัง แต่ผู้เข้าร่วมวงสุนทรียสนทนาจะต้องพยายามถอดถอนวาระ เป้าหมายส่วนตัว รวมทั้งอาภรณ์เชิงสัญญลักษณ์ที่ใช้ห่อหุ้มตนเองอยู่ในรูปของยศถาบรรดาศักดิ์ และอำนาจทั้งปวงออกจากตัวเอง เพื่อให้สามารถเข้าใจสรรพสิ่ง (entities) ได้ตามสภาพที่มันเป็นจริง โดยปราศจากอิทธิพลการปรุงแต่งของสิ่งสมมุติที่มนุษย์สร้างขึ้นตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เชื่อกันว่า พลังของสุนทรียสนทนา คือความคิดสร้างสรรค์ที่ผุดบังเกิดขึ้น ภายหลังจากที่กระบวนการสุนทรียสนทนาจบสิ้นลงไปแล้ว โดยผู้ที่ร่วมกระบวนการจะได้ขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องมีใครชี้แนะ นอกจากนี้ กระบวนการสุนทรียสนทนาที่เน้นให้เกิดการฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening) สงบระงับ ไม่ด่วนสรุป (suspension) จะช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี


ทำไมต้องทำสุนทรียสนทนา


มีคนเป็นจำนวนมากสงสัยว่า ทำไมต้องทำสุนทรียสนทนา เพราะเห็นว่า ปกติคนในสังคมก็พูดจาพาทีกันเป็นประจำอยู่แล้ว สุนทรียสนทนาจึงไม่น่าจะเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องมาเรียนรู้เพิ่มเติมกันอีก ข้อสงสัยเหล่านี้น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว

ในสังคมไทยท้องถิ่นก็มีคำที่บ่งบอกความหมายของการกระทำคล้ายๆกับสุนทรียสนทนาหลายคำ เช่น ภาษาอีสานใช้คำว่า “นั่งโสกัน” ภาษาคำเมืองจะเรียกว่า “นั่งแอ่วกัน” หรือ “นั่งอู้กัน” ภาษาปักษ์ใต้อาจจะเรียกว่า “นั่งแหลงกัน” แม้ในหมู่นักพัฒนาแบบทางเลือกและคนทำงานด้านประชาสังคมกับชุมชนท้องถิ่น ก็มักจะพูดว่า “นั่งจับเข่าคุยกัน” “ล้อมวงคุย” หรือ “เปิดเวที” ซึ่งถือว่าเป็นความพยายามในการนำวิธีการพูดคุยแบบมนุษย์สัมผัสมนุษย์กลับมาใช้ใหม่


นอกจากนี้ ก็มีการข้อสังเกตว่า วิธีการแบบสุนทรียสนทนา เป็นวิถีปฏิบัติของคนสมัยโบราณที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ มีปฏิสัมพันธ์แบบใกล้ชิด เห็นหน้าค่าตากันอยู่ทุกวัน เช่นที่ปรากฏในวิถีสังคมของชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเหนือ โดยอ้างจากรายงานของนักมานุษยวิทยา David Bohm บรรยายว่า คนกลุ่มเล็กๆอยู่รวมกันประมาณ 40-50 คน โดยไม่มีการพูดจาพาทีกันอะไรมากมาย ไม่มีการโต้เถียง ไม่มีการสั่งการจากหัวหน้าเผ่า แต่ต่างคนต่างรู้หน้าที่ว่าตนเองต้องทำอะไรในแต่ละวัน เช่นชายหนุ่มรู้หน้าที่เองว่าจะต้องออกไปล่าสัตว์ ผู้หญิงจะต้องออกไปหาอาหารใกล้บ้าน คนที่มีหน้าที่เหมือนกันก็ชวนกันไปทำหน้าที่เหล่านั้น ให้เสร็จลุล่วงไปโดยไม่มีใครมาคอยติดตาม ตรวจสอบ สำนึกในหน้าที่ของแต่ละคน ฝังลึกอยู่ภายในจิตใจของแต่ละคน โดยไม่มีใครบอก โดยไม่เคยมีการประชุมปรึกษาหารือกันให้เสียเวลาเลย วิถีดังกล่าว ยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า มนุษย์รู้จักการทำสุนทรียสนทนามาเป็นเวลานานแล้ว

คราวนี้มาถึงคำอธิบายว่า ทำไมต้องเป็นสุนทรียสนทนา David Bohm อธิบายว่า เมื่อโลกมันเปลี่ยน ผู้คนทั้งโลกถูกเชื่อมโยงเข้าหากันด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ แต่ในทางกลับกัน “ความเจริญ” เหล่านี้กลับแยกคน แยกโลกออกจากกันเป็นส่วนๆ ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี เพื่อเชื่อมโยงคนเข้าหากันกลับกลายเป็นการสิ้นสุดของความสัมพันธ์ทางสังคม ปัจเจกชนเผชิญกับโรคร้ายชนิดใหม่คือ “ความเหงาท่ามกลางฝูงชน” ทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว ว้าเหว่ ขาดความอบอุ่น ไม่รู้ว่าตนเองเป็นใคร และจะเข้าไปมีสัมพันธภาพกับคนอื่นๆในโลกนี้ได้อย่างไร

รากเหง้าของปัญหาที่สำคัญอันหนึ่งคือ การที่ตัวตนของปัจเจกชนในโลกปัจจุบันต่างห่อหุ้มตนเองด้วยอาภรณ์ตำแหน่งหน้าที่ ฐานะทางเศรษฐกิจสังคม วัยวุฒิ ความเชื่อทางศาสนา และสังกัดทางการเมืองฯลฯ ความสัมพันธ์แบบ “มนุษย์สัมผัสมนุษย์” ขาดหายไป ต่างคนต่างมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันผ่านประเพณีและพิธีการซึ่งถูกอำนาจกำหนดขึ้นภายหลัง ทั้งยังเต็มไปด้วยระบบสัญญลักษณ์ที่มีความหมายอันสลับซับซ้อน ปิดกั้นไม่ให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างเป็นธรรมชาติ อย่างเช่นที่เกิดขึ้นในอดีต ดังได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น
4550  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Bohmian Dialogue “สุนทรียสนทนา” ศิลปะ ธรรมชาติ ศาสตร์แห่งการสนทนาแนวใหม่ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:34:33
Bohmian Dialogue
“สุนทรียสนทนา” เพื่อการคิดร่วมกันอย่างเป็นธรรมชาติ: แนวคิดและวิธีการจัดการ


โสฬส ศิริไสย์
สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท
มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
<lcssr@mahidol.ac.th>
-------------------------------------------------

บทนำ

การสนทนาเพื่อการคิดร่วมกันแบบ “สุนทรียสนทนา” (dialogue) ตามแนวทางของ David Bohm กำลังได้รับความสนใจ และมีแนวโน้มว่าจะถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในทุกวงการในอนาคต เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว และสอดคล้องกับวิถีไทยซึ่งเป็นวัฒนธรรมแบบปากต่อปาก (oral tradition) นอกจากนี้ ยังเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการกระดมความคิดเพื่อค้นหาวิธีการและความรู้ใหม่ๆในการทำงาน รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับบุคคลได้ดีอีกด้วย

บทความเรื่องนี้เป็นความพยายามในการอธิบายความเป็นมาในเชิงหลักการ แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังของการสนทนา รวมทั้งมรรควิธีการจัดการในเบื้องต้น เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสศึกษา ทำความเข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม

ความหมายและความเป็นมา

คำว่า dialogue มีผู้นำไปใช้ในสำนวนภาษาไทยที่แตกต่างกันหลายสำนวน เช่น “สุนทรียสนทนา” “สนทนาแลกเปลี่ยน” “วาทวิจารณ์” รวมทั้งคำว่า “สนทนา” และมีคำขยายต่อท้ายออกไป เช่น “การสนทนาอย่างสร้างสรรค์” หรือ “การสนทนาเพื่อคิดร่วมกัน” ซึ่งผู้เขียนใช้ในตอนแรก นอกจากนี้ ยังมีคำในภาษาไทยกลางอีกคำหนึ่ง คือคำว่า “สนทนาวิสาสะ” ซึ่งหมายถึงการพูดคุยแบบคนคุ้นเคยกัน เนื่องจากผู้เขียนไม่ปรารถนาจะประดิษฐ์คำศัพท์ใหม่ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนมากยิ่งขึ้น จึงขอเลือกใช้คำว่า “สุนทรียสนทนา” แทนคำว่า dialogue ในความหมายของ David Bohm เนื่องจากข้อความกระชับ และสื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ Bohmian Dialogue


ความหมายของรากศัพท์ดั้งเดิมของคำว่า dialogue สามารถผ่าออกมาดูได้ดังนี้ คือ dia= through “ทะลุทะลวง”, logo = meaning of the word “ความหมายของคำที่พูดออกไป” แต่ David Bohm ผู้ซึ่งนำเอาวิธีการแบบ “สนุทรียสนทนา” ไปเผยแพร่ในบริบทของสังคมตะวันตก ยืนยันว่า ความหมายใหม่ของคำว่า ‘dialogue’ มิใช่เพียงแค่ การเข้าใจความหมายของคำที่พูดออกมาแบบทะลุทะลวง แต่เป็น stream of meaning หรือ “กระแสธารของความหมาย” ที่ไหลเลื่อนเคลื่อนที่ ถ่ายเทไปหากันได้โดยปราศจากการปิดกั้น (blocking) ของสิ่งสมมุติใดๆที่มนุษย์สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นฐานคติเดิมที่ฝังอยู่ในหัว (presupposition) วิธีการกำหนดใจเพื่อรับรู้โลกภายนอก (assumption) รวมทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิ อำนาจ ยศถาบรรดาศักดิ์ หรือตำแหน่งหน้าที่ใดๆที่บุคคลได้มาจากการเป็นสมาชิกของสังคมใด สังคมหนึ่ง

การเข้าสู่กระบวนการแบบสุนทรียสนทนา คือ การสร้างพื้นที่ทางสังคมใหม่ที่เอื้อต่อในการคิดร่วมกันอย่างเสมอภาค ในสภาวะปกติ คนจะคิดคนเดียว และเอาความคิดของตนเองออกไปปะทะประสานกับคนอื่นในรูปของการถกเถียง โต้แย้ง ทำให้เกิดการแบ่งแยกเป็นฝ่ายแพ้ ฝ่ายชนะ และฝ่ายถูกฝ่ายผิด อันเป็นการบ่มเพาะเชื้อของความอึดอัด คับข้องใจ และนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ แต่การสนทนาที่นำไปสู่การคิดร่วมกันแบบสุนทรียสนทนานั้นไม่ใช่เป็นการนำเอาความคิดของแต่ละคนมาเสนอแนะ หรือมาโต้เถียง ขัดแย้งกันเพื่อหาผู้ชนะ แต่เป็นการมาเพื่อจะฟังซึ่งกันและกันโดยไม่มีการตัดสินด้วยข้อสรุปใดๆ ความคิดที่ดี เกิดจากการฟังที่มีคุณภาพ การตั้งใจฟังกัน คือการเทใจมารวมกัน มีสมาธิอยู่กับตัวเองและสิ่งที่ได้ยิน ไม่สรวลเสเฮฮา ไม่วอกแวกแยกวงคุย แต่จะให้ความสนใจกับเสียงของคนอื่น แม้กระทั่งเสียงของความเงียบ จะต้องกำหนดใจรับรู้ความเงียบด้วยความรู้สึกในเชิงบวก เห็นความเงียบเป็นสิ่งเดียวกับตนเอง และในความเงียบนั้น กัลยาณมิตรในวงสนทนาต่างก็กำลังลำดับความคิดของตนเองอยู่ ยังไม่พร้อมที่จะพูดออกไปเช่นเดียวกับตัวเราที่กำลังรับฟังอยู่ เราสามารถรอได้ คอยได้เสมอ
4551  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : จิตวิทยาการศึกษา-จงเร่งเอสคิวจิตวิญญาณ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:33:30

 
 
จิตวิทยาการศึกษา-จงเร่งเอสคิวจิตวิญญาณ
 
จิตที่ผู้เขียนเชื่อว่าเป็นเรื่องใหญ่และซับซ้อนที่สุด - ดังที่คิดเอาเองทั้งได้พูดได้เขียนมาตลอด โดยเฉพาะในช่วง 4-5 ปีหลังๆ มานี้ - โดยส่วนหนึ่งได้มาจากหลายๆ ที่มา ซึ่งจะไม่อ้างอิง เพราะมาจากหลายที่เหลือเกินจนอ้างไม่ไหว แต่พอจะสรุปได้ว่าเอามาจาก 3 ที่มาใหญ่ๆ (นอกจากที่คิดเอาเอง) คือเอามาจากมหายานและวัชรญาณพุทธศาสนา ปรัชญาและจิตวิทยา โดยเฉพาะจอห์น เซิร์ล วิลเลียม เจมส์ กับคาร์ล จี. จุง กับฟิสิกส์ใหม่ทั้ง 2 ทฤษฎี โดยเฉพาะควอนตัมเม็คคานิกส์ คือผู้เขียนคิดและเชื่อว่า หนึ่ง จิตไม่ใช่สมอง แต่สมองเป็นตัวแทนหรือตัวแสดงของจิต สอง จิตรู้หรือจิตสำนึก (conscious mind) ที่อยู่ในปัจเจกบุคคลมาจากจิตไร้สำนึกร่วมของสากลของจักรวาล (unconscious continuum) สาม สมองมีหน้าที่บริหารหรือเปลี่ยนจิตไร้สำนึกร่วมที่เข้ามาอยู่ในสมองของแต่ละคนให้เป็นจิตสำนึกด้วยกลไกควอนตัมเม็คคานิกส์ (quantum-wave collapse) ซึ่งข้อ 3 นี้ จะยกเว้นจิตหนึ่งซึ่งเป็นแก่นแกนของจิตไร้สำนึกอันกระจ่างใส ซึ่งอยู่ภายในสุดของจิตไร้สำนึกร่วมของจักรวาล (ที่เราเรียกเช่นนั้นเฉพาะขามาของวิวัฒนาการของจักรวาลจากหนึ่งสู่ความหลากหลายเท่านั้น ส่วนวิวัฒนาการขากลับจากความหลากหลายกลับไปหาหนึ่งนั้นเราจะเรียกว่านิพพาน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวกับจิตหนึ่ง) - นั่นตรงกับภาษาอังกฤษ uni + verse การหวนกลับไปหาหนึ่ง - นักศาสนปรัชญาส่วนใหญ่เชื่อว่าจิตสำนึกต้องหาแก่นแกนของจิตไร้สำนึกให้พบ หรือรวมกับแก่นแกนของจิต ด้วยวิวัฒนาการขากลับตามวิวัฒนาการโดยธรรมชาติของจิตผ่านจิตวิญญาณอันเป็นจิตเหนือสำนึก (super-conscious) ไปเรื่อยๆ จนถึงนิพพาน เพราะฉะนั้นท่านผู้อ่านจะเชื่อก็ได้ ไม่เชื่อเลยก็ได้ หรือว่าเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่งก็สุดแล้วแต่ ทั้งนี้ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอ่านของท่านผู้อ่านที่อ่านบทความนี้แต่อย่างใด
 
บทความวันนี้ - ตามหัวข้อที่ตั้งไว้ข้างบน - มีความหมายที่จะชี้บ่งถึงการปลูกฝังหรือการเร่งเร้าให้มนุษย์เกิดหรือมีวิวัฒนาการของจิตเหนือสำนึกเร็วขึ้นและมากขึ้น เพราะภัยธรรมชาตินานัปการซึ่งเราสร้างขึ้นมาด้วยมือของเราเองจากความไม่รู้และความอวดดีหลงตัวเอง (อวิชชา และ anthropocentric) นั่นคือ เอสคิว (SQ ซึ่งคนทั่วไป และดาเนียล โกลแมน จะเรียกว่า social quotient ซึ่งสัมพันธ์กับเวลาและสถานที่ของสังคมในขณะนั้นๆ ซึ่งไม่ได้สัมพันธ์กับวิวัฒนาการของมนุษยชาติ ฉะนั้นในที่นี้ SQ จะมีความหมายที่จิตวิญญาณ หรือหมายถึง spiritual quotient) ซึ่งนักจิตวิทยาเด็กมักจะพูดรวมๆ กันไปกับสติปัญญาความฉลาดที่วัดได้ (IQ) ที่ฟรานซิส แกลตัน นักจิตวิทยาอังกฤษคิดขึ้นและแพร่มาถึง
 
บ้านเราตอนที่ผู้เขียนยังเล็กๆ และบ้านเราก็รับทันที เพราะฟรานซิส แกลตัน เชื่อหนักเชื่อหนาว่าสืบทอดในตระกูลได้โดยเป็นกรรมพันธุ์ หรืออย่างน้อยก็เป็นลักษณะจำเพาะเป็นพิเศษ (trait) ประจำครอบครัว ที่ผู้เขียนบอกว่าที่บ้านเรารับในทันทีจนกระทั่งปัจจุบันนี้ - ทั้งๆ ที่มีข้อมูลใหม่ๆ ที่บอกว่าการวัดสติปัญญาความฉลาด (psychometric) หรือไอคิวนั้นเชื่อไม่ได้ - ก็เพราะว่าความเชื่อดังกล่าว มันเกิดไปตรงกับภูมิปัญญาชาวบ้านของบ้านเราที่บอกว่า "เสือย่อมไม่ทิ้งลาย" หรือ "เชื้อย่อมไม่ทั้งแถว" อะไรพวกนี้ นั่นคือ ถ้าพ่อเป็นโจรก็ให้ระวังลูกที่อาจเป็นโจรตามพ่อก็เป็นได้ จริงๆ แล้วผู้เขียนคิดว่าภูมิปัญญาชาวบ้านน่าจะถูกอย่างน้อยก็น่าจะเป็นลักษณะจำเพาะ (trait) ที่ว่า
 
ส่วนอารมณ์ความรู้สึกที่ผู้เขียนคิดเอาเองว่าความรู้สึกแยกออกจากอารมณ์ (EQ) ไม่ได้ ความชอบ ไม่ชอบ หรือเฉยๆ จึงแยกจากเวทนาไม่ได้ เพราะอารมณ์นั้นเป็นผลพวงของความรู้สึกทางกายภาพ (sensual) ที่เป็นไปในทันทีทันใด คือห้ามไม่ให้เกิดไม่ได้ แต่ระงับ (suppress) ได้โดยจิตที่อยู่เหนือสำนึกที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติบางส่วน โดยซ่อนตัวอยู่ลึกล้ำที่ภายใน ซึ่งจะโผล่ปรากฏออกมาเมื่อชีวิตหนึ่งชีวิตใดกำลังตกอยู่ในอันตรายหรือกำลังจะตายไปในทันทีถ้าหากช่วยไม่ทัน จิตเหนือสำนึก (spirituality หรือในที่นี้ก็คือ SQ) - ซึ่งพ้นผ่านหรือก้าวล่วง - จิตสำนึก เราเรียกว่าจิตวิญญาณ หรือธรรมจิต ซึ่งก็คือจิตบริสุทธิ์ที่งามพร้อมที่เป็นเป้าหมายสูงสุดของในทุกศาสนา ในศาสนาพุทธคือเส้นทางไปสู่นิพพาน ส่วนในศาสนาที่มีพระเจ้าคือการที่จิตอันบริสุทธิ์แต่ละดวงได้รวมกับพระจิตของพระเจ้าเป็นหนึ่งเดียว 3 ความฉลาดที่วัดได้ (quotients) ที่ว่า ทั้งไอคิว อีคิว และเอสคิว นั้นมีส่วนที่มนุษย์เองสามารถสร้าง (co-creator) บางส่วน หรือเร่งเร้าให้เกิดขึ้นมาก็ได้ ซึ่งนักจิตวิทยาที่เชื่อมั่นศรัทธาในพระเจ้าผู้สร้างโลกสร้างจักรวาล รวมทั้งสร้างสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งปวงโดยเฉพาะมนุษย์-เชื่อ มนุษยชาติได้ผ่านหรือพบกับไอคิวและอีคิวมาแล้ว แต่เรายังขาดเอสคิวที่โดยปกติแทบไม่มีเลย ที่มีอยู่บ้างก็ถูกซ่อนตัวเอาไว้อย่างล้ำลึก นั่นคือเนื้อหาสาระของบทความวันนี้
 
อย่างไรก็ตาม การอภิปรายถึงการสร้างสรรค์ของมนุษย์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความฉลา
 
ดที่วัดได้ (นักจิตวิทยาการศึกษาส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเชื่อโฮวาร์ด การ์ดเนอร์ ว่าวัดไม่ได้) เราจะต้องรู้ความหมายของทั้ง 3 ความฉลาดเสียก่อน (ไอคิว อีคิวและเอสคิว) ก่อนอื่นควรจะอธิบายนิยามของสติปัญญาความฉลาด (intelligence) รู้และเข้าใจอารมณ์ที่แยกออกจากความรู้สึกยากมาก (emotion) และจิตวิญญาณ (spirituality) พอสังเขปตามที่ผู้เขียนเข้าใจและนำมาใช้ในบทความนี้
 
ในความเห็นของผู้เขียน ทั้ง 3 หรือไอคิว อีคิวและเอสคิวนั้น เราเอามาเรียงกันอย่างผิดๆ ซึ่งหากเราเรียงตามการเจริญเติบโตวิวัฒนาการ ไม่ใช่สนใจหรือว่าพบอันไหนและวัดอันไหนก่อน ความฉลาดทางอารมณ์ต้องมาก่อนเพื่อนนานนักหนา เพราะเป็นเรื่องของการ "รู้รอด" ซึ่งสัมพันธ์กับสัญชาตญาณ จริงอยู่ทั้ง 3 เป็นวิวัฒนาการของจิตไร้สำนึกร่วมของจักรวาลที่เข้ามาอยู่ในปัจเจกบุคคลเพื่อ "การรู้" (cognition) แต่อีคิวเป็นวิวัฒนาการที่หยาบ ซึ่งมาก่อนในสัตว์ที่มีระบบลิมบิกวิวัฒนาการแล้วเท่านั้น เราต้องรู้ว่าจักรวาลมีเป้าหมายเพียงอย่างเดียวคือวิวัฒนาการเท่านั้น และวิวัฒนาการนั้นจะต้องดำเนินไปสู่ "การรู้" ที่สูงขึ้นกว่า ซับซ้อนยิ่งขึ้นกว่า และลึกล้ำมากขึ้นกว่าตลอดเวลา ทั้งในทางกายภาพและทั้งจิตภาพ แต่กายภาพจะมีวิวัฒนาการก่อนและจิตภาพมาทีหลัง โดยมีวิวัฒนาการช้ามากกว่า กระทั่งส่วนใหญ่มากๆ หรือแทบทุกคนก็ว่าได้ ซึ่งพุทธศาสนาบอกว่าจะต้องมีการสะสมบารมีข้ามภพข้ามชาติมาตลอดเวลา และผู้เขียนก็เชื่อเช่นนั้น ทั้งจะเป็นวิวัฒนาการสุดท้ายของจักรวาลเมื่อมนุษย์ทุกคน สัตว์โลกทั้งหมดทุกๆ ตัวสามารถจะ "รู้แจ้ง"
 
เค็น วิลเบอร์ จะบอกว่า วิวัฒนาการทางจิตในมนุษย์ - ผ่านสเปกตรัมต่างๆ ที่เรียกว่า "เส้นทาง" (line) - จะเป็นการต่อยอดของเส้นทางที่เดิมมีเพียงเส้นทางเดียวก็ได้ หรือจะเป็นวิวัฒนาการที่เริ่มต้นจะมีหลายๆ เส้นทางก็ได้ ฉะนั้น เส้นทางหรือ line จึงไม่มีความสำคัญเมื่อพิจารณาถึงหน้าที่ของจิตรู้ที่สัมพันธ์กับรูปร่างทางกายภาพ แต่ผู้เขียนเชื่อว่าหากพิจารณาจากลักษณะของความเป็นองค์รวมของวิวัฒนาการแล้ว องค์กรใหม่จะเป็นการวิวัฒนากรขององค์เก่า บวกกับส่วนที่ได้มาใหม่เสมอ (transcend and include) ซึ่งเค็น วิลเบอร์ ก็ได้พูดมาเองและผู้เขียนก็เชื่อเช่นนั้น เพราะฉะนั้น กระบวนการวิวัฒนาการก็น่าจะเป็นเช่นนั้น มนุษย์หรือสัตว์โลกทั้งหลายจะต้องเรียนรู้หรือวิวัฒนาการมาตามลำดับ รู้รอดต้องผ่านสัญชาตญาณก่อน และรู้เพื่อรู้ต้องตามหลังรู้รอด ฉะนั้นสติปัญญาความฉลาด (intelligence) จึงต้องตามหลังการต่อสู้และหนีภัย และความฉลาดเหนือสติปัญญา (wisdom) ต้องผ่านความฉลาดธรรมดาๆ ก่อน เอสคิว หรือการรู้ของจิตวิญญาณ (spirituality) - อันจะนำไปสู่ความรู้แจ้งแทงตลอดและวิมุตติ - จึงเหนือกว่าสติปัญญาความฉลาดธรรมดามากนัก
 
จากที่พูดมาทั้งหมด เราสามารถสรุปและสามารถยืนยันได้ว่า ทั้งศาสนาและปรัชญากับทั้งวิทยาศาสตร์ - ที่ต่างก็พยายามอธิบายความจริงแท้ของธรรมชาติ แต่อธิบายบนหลักการและวิธีการคนละอย่างแตกต่างกัน - บอกเหมือนๆ กันว่าความจริงแท้มีเพียงหนึ่งเดียว ซึ่งศาสนากับปรัชญาบอกว่าเป็นจิตเป็นปฐม ส่วนวิทยาศาสตร์บอกว่าเป็นรูปกายวัตถุที่ตั้งอยู่ข้างนอก แล้วก็อธิบายจักรวาล ซึ่งเป็นตัวเริ่มต้นของทุกสิ่งทุกอย่างไปตามนั้น และทั้ง 2 ก็บอกว่าจักรวาลมีเป้าหมายอย่างเดียวจริงๆ คือวิวัฒนาการ และวิวัฒนาการไปทำไม? ทั้งศาสนากับวิทยาศาสตร์บอกว่าวิวัฒนาการเพื่อให้มีชีวิตและมนุษย์ดำรงอยู่ได้ นั่นคือที่มาของความรู้ เห็นกับไม่เห็นที่พิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือรูปกายวัตถุไม่ได้ เพราะจิตไม่ใช่กาย วิทยาศาสตร์จึงปลดความรู้ออกจากศาสนา เหลือไว้แค่ความเชื่อความศรัทธาอันไม่ใช่ความจริงที่แท้จริง ส่วนศาสนาก็เถียงว่าวิทยาศาสตร์ไม่ยุติธรรม เพราะเล่นใช้แต่วิธีการทางรูปกายวัตถุอย่างเดียวในการพิสูจน์ แต่ไม่ใช้วิธีการทางจิตเลย เช่น การทำสมาธิที่มีในทุกๆ ศาสนาอย่างไม่มีการยกเว้น หลังจากนั้นเมื่อเถียงกันไม่รู้จักจบหรือจบไม่ได้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาทั้ง 2 ก็แยกไปเด็ดขาดโดยเดินกันคนละทาง จนกระทั่งมีฟิสิกส์ใหม่ที่คล้ายๆ กับศาสนา โดยเฉพาะศาสนาที่อุบัติขึ้นทางตะวันออก ฟิสิกส์ใหม่ซึ่งให้ความจริงแท้ของธรรมชาติ (ทั้ง 2 ระดับคือทั้งกายและจิต) ยิ่งกว่าวิทยาศาสตร์กายวัตถุเป็นไหนๆ
 
เอสคิวที่ผู้เขียนหมายถึงในที่นี้ คือการวัดความฉลาดทางวิวัฒนาการของจิตวิญญาณ และความฉลาดนั่นก็ไม่ใช่สติปัญญา (intelligence) หากแต่เป็นปรีชาญาณการหยั่งรู้หรือภาวนามยปัญญา (intuition or wisdom) ซึ่งเป็นไปเพื่อวิวัฒนาการของเหตุผลที่ไม่มีเหตุผล คือเป็นอารมณ์ด้านบวก อารมณ์ทุกๆ อารมณ์จะไม่มีเหตุผลทั้งนั้น จริงๆ แล้วก่อนหน้านี้ อารมณ์กับเหตุผลเชื่อกันว่าอยู่ด้วยกันไม่ได้ ถ้ามีเหตุผลก็ต้องไม่มีอารมณ์ หรือถ้าหากคนกำลังมีอารมณ์อยู่ก็อย่าหวังว่าจะใช้เหตุผลช่วยได้ เพราะเราอยู่ในยุคที่มีเหตุผลเป็นใหญ่ - ที่ผิดความจริงทางควอนตัมอย่างชัดๆ - ดังนั้นเรื่องของอารมณ์โดยเฉพาะด้านลบจึงเป็นของต้องห้าม ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิด แต่ผลของการวิจัยใหม่ๆ ชี้บ่งอย่างเป็นตรงกันข้าม ทั้ง 2 กลับเสริมเติมซึ่งกันและกันเพื่อวิวัฒนาการของจิตวิญญาณ รักเมตตาและให้อภัยด้วยใจจริง อารมณ์ช่วยให้เหตุผลเกิด และเหตุผลจะช่วยกำจัดอารมณ์ในคราวต่อๆ ไปให้มีน้อยลงๆ และค่อยๆ หมดไป (Antonio Damasio : Descartes' Error, 1999) โลกในอนาคตอันใกล้นี้ การอยู่รอดของมนุษยชาติจะไม่ขึ้นอยู่กับเหตุผล (rational) และสติปัญญาความฉลาด (intelligence) อีกต่อไปแล้ว หากแต่จะขึ้นอยู่กับภาวนามยปัญญา (wisdom) ซึ่งจะมีได้เป็นปกติธรรมชาติต่อเมื่อมนุษยชาติมีวิวัฒนาการทางจิตไปสู่ระดับจิตวิญญาณหรือธรรมจิต (spirituality) เส้นทางไปสู่นิพพานแล้วเท่านั้น.


http://www.thaipost.net/sunday/081109/13205
4552  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / จิตวิวัฒน์ อนาคตของมนุษยชาติอยู่ที่การมีจิตใหญ่ ( ศ.นพ.ประเวศ วะสี ) เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:32:18
จิตวิวัฒน์
อนาคตของมนุษยชาติอยู่ที่การมีจิตใหญ่



โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 19 มีนาคม 2547

ร่างกายของมนุษย์จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปอีกมากนัก เมื่อแสนปีที่แล้วเป็นอย่างไร เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็นอย่างนั้น และอีกแสนปีข้างหน้าก็คงจะเป็นคล้ายๆ อย่างปัจจุบัน แต่จิตของมนุษย์ยังจะวิวัฒน์หรือเติบใหญ่ได้อีกมาก อนาคตของมนุษยชาติอยู่ที่การมีจิตใหญ่ จิตของมนุษย์มีขนาดแตกต่างกันได้มาก เช่น ระหว่างจิตของโจรกับจิตของพระพุทธเจ้า

จิตเล็ก คือความรู้สึกนึกคิดแคบๆ ไม่รู้เห็นทั้งหมด ติดอยู่ในความคับแคบในตัวเอง ขัดแย้งกับธรรมชาติ เพราะธรรมชาตินั้นใหญ่ เมื่อจิตเล็กจึงขัดแย้งกับธรรมชาติ เกิดความบีบคั้น เกิดความติดขัด เกิดความทุกข์ และก่อทุกข์ โลกวิกฤตเพราะมนุษย์มีจิตเล็ก

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า “ถ้ามนุษยชาติจะอยู่รอดได้ ต้องการวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง” (“We shall require a substantially new manner of thinking if mankind is to survive.”)

ท่านทะไลลามะ ตรัสว่า อนาคตของมนุษยชาติอยู่ที่ การปฏิวัติจิต (Spiritual Revolution)

โกรพ, ลาซโล และ รัสเซล (Grof, Laszlo, and Russell) กล่าวว่า ทางรอดจากวิกฤตปัจจุบันคือ “การปฏิวัติจิตสำนึก” (Consciousness Revolution)

จิตใหญ่ หรือ จิตสำนึกใหม่ (New Consciousness) หมายถึง ความรู้สึกนึกคิดที่มีปริมณฑลกว้างขวาง เข้าถึงความเป็นทั้งหมด หรือความเป็นหนึ่งเดียวของธรรมชาติ หลุดพ้นจากความบีบคั้นจากความคับแคบ เป็นอิสระ มีความสุข เกิดมิตรภาพอันไพศาล รักเพื่อนมนุษย์ และรักธรรมชาติทั้งหมด
นักบินอวกาศอเมริกัน ชื่อ เอ็ดการ์ มิตเชล ยืนอยู่บนดวงจันทร์มองมาเห็นโลกทั้งใบ การเห็นความเป็นหนึ่งเดียวของโลกทั้งหมด ทำให้จิตของเขาเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เอ็ดการ์ มิตเชล กล่าวว่า “ผมกลับมายังโลก กลายเป็นคนที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง” (“I came back to Earth a totally changed man.”) เกิดความรักต่อเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติทั้งหมด นี้เป็นตัวอย่างของการเกิดจิตสำนึกใหม่ หรือการปฏิวัติจิตสำนึก จากจิตเล็กเป็นจิตใหญ่ที่เข้าถึงความเป็นหนึ่งเดียวของสรรพสิ่ง เอ็ดการ์ มิตเชล ได้ตั้งสถาบันชื่อ Institute of Noetic Science (IONS) ที่แคลิฟอร์เนีย อันเป็นสถาบันที่ศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่เกี่ยวกับจิตสำนึกใหม่ และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะผู้คนในโลกต่างตระหนักกันมากขึ้นทุกทีว่า จิตสำนึกที่คับแคบก่อให้เกิดความทุกข์ ความขัดแย้ง และวิกฤตการณ์ในปัจจุบัน จิตสำนึกใหม่อันเป็นจิตใหญ่ก่อให้เกิดความเป็นอิสระ ความสุข และมิตรภาพอันไพศาล ทำให้ได้ประสบความงาม จนรู้ว่าถ้าเข้าถึงความจริงจะเจอความงาม ถ้ายังไม่เจอความงาม แปลว่ายังเข้าไม่ถึงความจริง

การมีจิตใหญ่ จึงเป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ทั้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

มนุษย์ได้ค้นพบวิธีการอันหลากหลายในการเกิดจิตสำนึกใหม่ เช่นการเข้าถึงธรรมชาติ จากการศึกษาจักรวาล จากการทำงาน จากศิลปะ จากกระบวนการชุมชน จากการเจริญสติ จากการเจริญความเมตตา ฯลฯ มีหนังสือและสื่อในรูปอื่นมากมายทั่วโลกที่ว่าด้วยการเกิดจิตสำนึกใหม่

มีคนไทยกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันศึกษาเรื่องจิตวิวัฒน์ หรือการเกิดจิตสำนึกใหม่ หรือจิตใหญ่ โดยศึกษาค้นคว้าจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งจากการปฏิบัติของตัวเองด้วย เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปส่งต่อให้เพื่อนคนไทย บุคคลคณะนี้มีรายนามดังต่อไปนี้
๑. พระไพศาล วิสาโล
๒. ศ.นพ.ประสาน ต่างใจ
๓. ศ.นพ.ประเวศ วะสี
๔. ดร.เอกวิทย์ ณ ถลาง
๕. ศ.สุมน อมรวิวัฒน์
๖. ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม
๗. คุณ David J. Spillane
๘. ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
๙. ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน
๑๐. ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
๑๑. คุณวิศิษฏ์ วังวิญญู
๑๒. นพ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์
๑๓. ดร.จารุพรรณ กุลดิลก
๑๔. คุณศุภชัย พงศ์ภคเธียร
๑๕. ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ

มี ดร.นพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ เป็นประธาน และ ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ เป็นผู้ประสานงาน โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) บัดนี้มีข้อตกลงระหว่างหนังสือพิมพ์ มติชน และกลุ่มจิตวิวัฒน์ ว่าจะมีการตีพิมพ์บทความจากสมาชิกของกลุ่มสัปดาห์ละครั้งติดต่อกันไป นอกจากนั้น ถ้าหากสาธารณะมีความสนใจ ทางกลุ่มก็ยินดีไปร่วมในการปาฐกถาหรืออภิปรายเป็นครั้งคราว

จะเป็นการดีอย่างยิ่ง ถ้าในแต่ละจังหวัดมีการรวมตัวของผู้ที่สนใจในเรื่องจิตสำนึกใหม่ จะเรียกว่า กลุ่มจิตวิวัฒน์จังหวัด หรือชื่อใดอื่นก็ตาม เพื่อศึกษาค้นคว้าเผยแพร่การพัฒนาจิตให้สูงยิ่งๆ ขึ้น เพื่อการเกิดขึ้นแห่งสันติวัฒนธรรม ดังที่มีเกิดขึ้นแล้วในบางจังหวัด เช่น เชียงราย และแพร่ เป็นต้น กลุ่มจิตวิวัฒน์มีความยินดีที่จะส่งเสริมและร่วมมือกับกลุ่มจิตวิวัฒน์ที่จะเกิดขึ้น ณ ที่ต่างๆ จนเกิดเป็นเครือข่ายแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขยายตัวไปทั่วประเทศ

[INDENT]จิตวิวัฒน์ทำให้เกิดสุข
เป็นความสุขที่ราคาถูก – Happiness at low cost
เมื่อราคาถูกจึงเป็นไปได้สำหรับทุกคน
[/INDENT]


วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2547 at ที่ 15:15 น. by knoom    
ป้ายกำกับ: บทความมติชน, ประเวศ วะสี | 0 ความคิดเห็น
4553  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาวจริงๆ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:31:09





น่าแปลกใจว่ามันต้องมีอะไรที่ดลใจทำให้ ฟรานซิส ทอมป์สัน กวีขี้ยาชาวอังกฤษแต่งโคลงที่ไพเราะ และมีกลิ่นอายของความเร้นลับขึ้นมาในปี 1893 โคลงที่บอกเล่าถึงการหมดทางหลีกหนีกฎของสวรรค์ ที่ไม่ว่าอย่างไรผู้ที่กระทำบาปก็ต้องได้รับการลงโทษอยู่วันยังค่ำ นั่นคือโคลงที่รวบรวมไว้ในบทกวีที่ชื่อว่า หมาไล่เนื้อของสวรรค์ (The Hound of Heaven) ที่บอกเราว่า "คุณไม่สามารถเด็ดดอกไม้ (บนโลก) ได้โดยไม่รบกวนถึงดาว" ท่านผู้อ่านหลายคนคงรู้สึกคุ้นๆ กับกวีที่ยกมาเป็นหัวข้อของบทความวันนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ในยุคสมัยของฟรานซิส ทอมป์สัน และแม้ในวันนี้เวลานี้ เราหลายคนก็ยังคิดว่าแม้จะเป็นข้อคิดที่สวยงามน่าสนใจ แต่ว่าข้อเท็จจริง-ตามหลักวิทยาศาสตร์แบบที่เราเรียนมา ซึ่งล้าสมัยสำหรับนักฟิสิกส์ยุคใหม่ชาวตะวันตก-ของทุกวันนี้ มันไม่เพียงเป็นไปไม่ได้เท่านั้น แต่มันเป็นความจริงแท้ที่พิสูจน์ทั้งในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์และในทางคณิตศาสตร์ได้หมดสิ้นจริงๆ ไม่ว่าที่ใดและเมื่อไหร่? นั่นคือความจริงที่แท้จริงขององค์รวมซ้อนองค์รวม ซ้อนๆ องค์รวมที่ใหญ่กว่า ซ้อนๆๆ องค์รวมที่ใหญ่กว่านั้นขึ้นไปอีก...แอดอินฟินิตัม...และแท้จริงแล้ว พุทธศาสนาได้บอกเราสอนเราอย่างนั้นมาตั้งเป็นพันๆ ปีแล้วว่า ทั้งหมดคือหนึ่ง หนึ่งคือทั้งหมด (อวตามสกสูตร) เช่น แหมณีของพระอินทร์ซึ่งคนโบราณเชื่อ คนสมัยใหม่ไม่เชื่อว่ามีพระอินทร์ แต่ตอนนี้คนหลังสมัยใหม่ (postmodernist) กลับมาเชื่อใหม่ (ยกเว้นพระอินทร์ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อว่าไม่มี) ว่าไปแล้วนั่นเป็นความจริงที่แท้จริงของควอนตัมเมกานิกส์ จริงๆ แล้วนั่นคือหนึ่งในแปดข้อของความจริงทางควอนตัม (Copenhagen Interpretation of quantum reality) ที่ทุกวันนี้นักฟิสิกส์ยุคใหม่ทุกๆ คนรู้และยอมรับเป็นเอกฉันท์
 
นั่นเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดในด้านวิชาการ ที่แม้แต่วันนี้พวกนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่จริงๆ โดยเฉพาะนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ในประเทศกำลังพัฒนาหรือพัฒนาใหม่ รวมทั้งในบ้านเราพากันไม่เชื่อ หรือไม่ก็อยู่เฉยๆ เพราะว่าไม่ได้เรียนมา และที่สำคัญกว่าคือมันไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย เหตุผลที่เราไม่เคยเอามาคิด เพราะมันติดอยู่กับสามัญสำนึกด้วยความเคยชินของเราว่าเราเป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้นเราทำอะไรย่อมถูกทั้งหมด ยกเว้นการกระทำอะไรๆ ของเรานั้นเรากระทำกับมนุษย์ด้วยกันเอง เราถึงได้เรียกร้องแต่กับสิทธิมนุษยชน ส่วนชีวิตอื่นเผ่าพันธุ์อื่นๆ ช่างหัวมันปะไร


 
ความจริงที่เรามีทุกวันนี้จึงได้เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง แม้ว่าวันนี้มันยังไม่สมบูรณ์ดี แต่เท่าที่เรารู้แล้วมันเปลี่ยนโดยสิ้นเชิงจริงๆ ชนิดที่นักฟิสิกส์เองก็ยังไม่เชื่อ-หลายคนที่ค้นพบฟิสิกส์ใหม่ รวมทั้งไอน์สไตน์เองก็ไม่เชื่อจนวันที่ตัวเองตาย-เพราะว่าความรู้ที่เราภูมิใจนักหนาที่รู้และเรียนกันมาว่า มันคือความจริงถึง 400 กว่าปี คือรู้ว่าวิทยาศาสตร์นั้นไม่เป็นความจริงที่แท้จริงอีกต่อไปเสียแล้ว นั่น-ได้สร้างความตื่นตกใจและรับไม่ได้ เพราะว่ามันไปเหมือนกับมายากลหรือเหมือนผีหลอก ที่คนขนาดไอน์สไตน์ยังบอกว่า ที่เขาไม่เชื่อเพราะมันไม่น่าเชื่อจริงๆ ว่า "พระเจ้า (ผู้ทรงศีลอันบริสุทธิ์) จะเล่นการพนัน (ทอดลูกเต๋า) ได้อย่างไร?" และเพราะคนขนาดนั้น รวมทั้งยอดนักวิทยาศาสตร์ของโลกส่วนใหญ่จึงไม่เชื่อหรือยังคลางแคลงใจ นักวิทยาศาสตร์มากหลายทั่วทั้งโลก รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์ในบ้านเราจึงพากันไม่เชื่อ หรือพลอยคลางแคลงใจตามไปด้วย อย่างน้อยในตอนแรกๆ นักประวัติศาสตร์ยังถกเถียงกันตลอดมาว่า อย่างน้อยในตอนแรกๆ นั้นเป็นเมื่อไหร่กันแน่? บางคนคิดว่าน่าจะเป็นปี 1905-เมื่อไอน์สไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษว่า พลังงานก็คือสสารที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วยกกำลังสอง (E=MC) และยังบอกว่าความเร็วสูงสุดในจักรวาลนี้คือความเร็วของแสง และแสงเดินทางได้ราวๆ 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที-บางคนว่าเป็นปี 1927-ปีที่สรุปการค้นพบควอนตัมเมกานิกส์ พร้อมๆ กับที่มีการแปลความจริงทางควอนตัมขึ้นมา-แต่บ้างก็ว่าเป็นปี 1982-เมื่อทางรัฐบาลของสหรัฐโดยสภาคองเกรสรับรองว่า ฟิสิกส์ใหม่เป็นวิทยาศาสตร์ที่ให้ความจริงที่แท้จริงอย่างที่สุด ส่วนความรู้เหนือธรรมชาติ (ESP) ไม่เป็นวิทยาศาสตร์-แต่นั่นเป็นเสียงข้างมากที่สูสีกัน โดยเสียงข้างน้อยเชื่อว่าอีเอสพีเป็นวิทยาศาสตร์
 
ที่สำคัญกว่าสิ่งใดก็คือ ความละม้ายคล้ายคลึงกันระหว่างพุทธศาสนากับฟิสิกส์ใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับควอนตัมเมกานิกส์ อย่างที่เคยเขียนมาเคยอ้างอิงมาตลอดเวลา นั่นคือสรรพสิ่งและสรรพปรากฏการณ์ทั้งหลายทั้งปวงของจักรวาล เมื่อเราไล่ไปจนละเอียดสุดละเอียดแล้ว มันล้วนแล้วแต่พัวพันกันอย่างอีนุงตุงนัง (ที่ชโรดิงเกอร์เรียกว่า entanglement) ว่าไปแล้วนั่นคือความจริง ที่ทำให้ศาสนากับวิทยาศาสตร์ไม่พูดกันเลยมาตั้งหลายร้อยปี อยู่ๆ ก็เกิดมาละม้ายคล้ายคลึงกันได้อย่างไร? ตรงนี้มีคำถามที่เราหรือนักวิทยาศาสตร์ระดับโลกไม่เข้าใจ หรือตอบไม่ได้อยู่ถึงสามประการ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อเราหรือมนุษยชาติอย่างยิ่งยวด สามประการนั้นคือ หนึ่ง-วิธีการที่ได้มาหรือเข้าถึงความจริงนั้น สอง-เวลาที่เราค้นพบและเข้าใจซึ่งเวลานั้น ทำไม? ถึงต้องเป็นในเวลานี้ ที่มนุษยชาติและโลกของเรากำลังอยู่ในภาวะที่เลวร้ายทางศีลธรรมจริยธรรม หรือเรื่องของจิตใจที่หนักหนาสาหัสไปแทบทั้งหมดทั่วทั้งโลก และสาม-ดังที่ได้ตั้งเป็นหัวข้อของเรื่องในวันนี้ ว่าทั้งหมดนั้นเกี่ยวข้องกับเด็ดดอกไม้บนโลกจะกระเทือนถึงดาวบนฟ้าได้อย่างไร? เพราะว่ามันอยู่ห่างไกลกันเหลือเกิน
 
ประเด็นแรกน่าคิดมากๆ เพราะว่าวินัยทั้งสองมีวิธีการ (methodology) ที่เข้าถึงความจริงแท้แตกต่างกัน พุทธศาสนาใช้ประสบการณ์ตรงส่วนตัว ซึ่งรับรู้ด้วยบุคคลที่หนึ่งหรือจิตของตัวเอง แต่วิทยาศาสตร์แห่งยุคใหม่ใช้การทดลองซึ่งเป็นบุคคลที่สามรับรู้ได้เหมือนๆ กัน แต่ก็ต้องใช้จิตที่อยู่ภายในของตัวเอง หรือบุคคลที่หนึ่งนั่นแหละรับรู้หรือสังเกตก่อน (เพื่อให้สภาพที่เป็นทั้งคลื่นทั้งอนุภาคพร้อมๆ กันได้สลายความเป็นคลื่นไป wave-function collapse) นั่น-แตกต่างไปจากฟิสิกส์คลาสสิกโบราณ ที่ใช้ตาเห็นหรืออวัยวะรับรู้ของมนุษย์คนไหนก็ได้ ซึ่งเป็นบุคคลที่สามเห็นหรือรับรู้เหมือนกัน น่าแปลกที่นักวิทยาศาสตร์โบราณเหล่านั้นใช้วิธีการนั้นที่มนุษย์เท่านั้นเห็นหรือรับรู้
 
"สิ่งที่ตั้งอยู่ข้างนอกนั่น" หรือสิ่งนั้นชีวิตอื่นๆ ที่มากมายหลายเผ่าพันธุ์นั้น ต่างถูกบังคับว่าต้องเห็นและรับรู้เหมือนกับมนุษย์ด้วย ซึ่งเราก็รู้ว่าชีวิตอื่นๆ ใดๆ ต่างก็ล้วนเห็นหรือรับรู้ไม่เหมือนกัน เพราะต่างก็เรียนรู้รอดเพื่ออยู่ในโลกให้ได้ หรือรับผิดชอบชีวิตของตนแตกต่างกัน ทุกๆ ชีวิตจึงเห็นและรับรู้ไม่เหมือนกัน เช่น อาหารไม่เหมือนกัน หรือมีศัตรูคนละอย่างกัน ประการที่สอง-เรื่องของเวลา ทำไม? ถึงต้องเป็นเวลานี้? แต่คำถามนั้นก็ต้องถามต่อไปว่า ถ้าไม่ใช่ตอนนี้แล้วให้เป็นตอนไหน? เราต้องคิดว่าธรรมชาตินั้น เท่าที่เรารู้และสังเกตมาตลอดเวลา มันมีลักษณะเฉพาะที่จำเป็นอยู่สามประการ-ที่น่าแปลกใจตรงที่พุทธศาสนาสอนเรากับที่ฟิสิกส์ใหม่บอกเรานั้นตรงกันเหลือเกิน - คือหนึ่ง-ความเป็นองค์รวมที่ทางศาสนากับควอนตัมฟิสิกส์เหมือนกันเป๊ะดังได้กล่าวมาแล้ว สอง-การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ซึ่งทางพุทธศาสนาเรียกว่า อิทัปปัจจยตา และทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า ระบบการจัดองค์กรให้กับตัวเอง (self-organizing system) สาม-ทั้งสองประการนั้นทำให้ธรรมชาติ "ไหลเลื่อนเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาโดยเชื่อมโยงกันและกันกับทั้งหมด" ซึ่งทางพุทธศาสนาเรียกสั้นๆ ว่า อนิจจังหรืออนัตตา นั่นคือลักษณะหรือคุณสมบัติของธรรมชาติที่แปรเปลี่ยนไม่ได้โดยเด็ดขาด-หากว่าธรรมชาติโลกและจักรวาลรู้ตัว-โลกและจักรวาลที่นักวิทยาศาสตร์ เช่น ดเวน เอลยิน, ปีเตอร์ รัสเซล, เจมส์ ลัฟล็อก ฯลฯ บอกว่าเป็นประหนึ่งสิ่งที่มีชีวิต นั่นคือระบบนิเวศน์วิทยา (ecology) ที่เป็นศัตรูกับระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มนุษย์และสังคมเป็นผู้คิดขึ้น (economy) หรือเป็นวัฒนธรรมที่ส่วนใหญ่มักตั้งบนอวิชชาที่ไม่ตั้งใจ โหมกระหน่ำด้วยกิเลสและตัณหาของ โลภะ โทสะ โมหะ จนกระทั่งธรรมชาติรู้ตัวว่ากำลังล่มสลายแล้ว (ทรัพยากรธรรมชาติติดลบแล้วร่วมสิบเปอร์เซ็นต์)
 
ด้วยความไม่รู้และโอหัง แบ่งพรรคแบ่งพวก แบ่งความเชื่อ แบ่งชาติกำเนิด งมงายอยู่กับอวิชชาและกามโลกีย์ ซึ่งคนส่วนใหญ่มากๆ เหล่านี้มักจะละเลยคุณธรรมจริยธรรมอย่างหนักหน่วงและเพิ่มทวียิ่งขึ้นทุกวัน กลับกลายเป็นนอร์มใหม่ของสังคมไปโดยไม่เกรงกลัวฟ้าดิน แม้ว่าตอนนี้จะมีบางคนที่รู้สึกตัวบ้างแล้ว แต่ก็สายเกินไปที่จะหยุดยั้งกรรมร่วมโดยรวม (collective karma) ไม่ให้มันเกิดขึ้นได้ ประการที่สาม-เรื่องของความสัมพันธ์พึ่งพาอาศัยกันขององค์รวมซ้อนองค์รวม ซ้อนๆ องค์รวม ฯลฯ แอดอินฟินิตัม ซึ่งอาร์เธอร์ คอสเลอร์ เรียกว่า "องค์รวมกับส่วนขององค์รวมที่ใหญ่กว่า" ซ้อนๆ องค์รวมกับส่วนขององค์รวมที่ใหญ่กว่านั้นอีกไปเรื่อยๆ อย่างไม่รู้จบ (holon= whole and part) นั่นคือธรรมชาติของโลกและจักรวาล ไม่ว่าจะมีจักรวาลเดียวหรือหลายๆ จักรวาลอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งสำหรับผู้เขียนเชื่อว่าโลกและจักรวาล-ไม่ว่าจะมีจักรวาลเดียวหรือซ้อนๆ กันหลายๆ จักรวาล ดังที่ได้เขียนมาตลอดโดยเฉพาะเมื่อวันอาทิตย์ที่แล้ว-คือสิ่งที่มีชีวิต เช่นเดียวกับมนุษย์และสัตว์โลกทั้งผอง เพราะว่าผู้เขียนเชื่อว่าอะไรก็ตามที่มีจิตอยู่ข้างในร่าง สิ่งนั้นคือชีวิตหรือมีชีวิต พูดง่ายๆ จิตกับชีวิตคือสิ่งเดียวกัน โดยเฉพาะสัตว์โลก (sentience) จะมีเวทนาความรู้สึก ซึ่งเป็นเรื่องผลของการบริหารจิตไร้สำนึกให้เป็นจิตสำนึก หรือจิตตื่นรู้ในแต่ละตัว (คน) (unconsciousness to consciousness and a conscious mind) เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งสรรพปรากฏการณ์ต่างล้วนแล้วมีที่มีจิตกันทั้งนั้น ดังที่ราษฎร์ กฤษนันท์ ว่า "จิตหลับในก้อนหิน ตื่นแต่ไม่รู้ในพืชพันธุ์ไม้ ตื่นและมีกิริยา (active) ในสัตว์ ตื่นรู้ในคน" ดังนั้น ทุกสรรพสิ่งที่อยู่ในจักรวาลจึงมีชีวิตทั้งสิ้นรวมทั้งตัวจักรวาลเอง "จักรวาลก็เป็นเช่นเดียวกับจิต เหมือนความคิดมาก กว่าจะเป็นเครื่องจักรเครื่องยนต์ดังที่นักวัตถุนิยมคิด.....หรือเป็นดังที่นักฟิสิกส์ผู้ค้นพบฟิสิกส์แห่งยุคใหม่แต่ละคนเลยคิดและเชื่อ จักรวาลนั้นอธิบายให้เราเข้าใจไม่ได้ เพราะเป็นมายากลที่ต้องเอาจิตวิญญาณไปรวมด้วย" (Ken Wilber: The Eye of Spirit, 1998) เด็ดดอกไม้จึงกระเทือนถึงดาวและจักรวาลจริงๆ.
 
 
---------

เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาวจริงๆ | ไทยโพสต์
4554  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : กาลจักรเก่า กับ จักรวาลวิทยาใหม่ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:30:20
http://img151.imageshack.us/img151/9904/26annuz6.jpg

ผู้เขียนได้อ่านและวิเคราะห์ข้อมูล ที่ค่อนข้างไม่น่าเชื่อ แปลก และน่าสนใจสำหรับสาธารณชนทั่วไป โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์


รวมทั้งผู้เขียน - ในฐานะที่เรียนและทำงานในด้านวิทยาศาสตร์แห่งชีวิตในระดับของเซลล์มานาน - นั่นคือข้อมูลที่ให้ความสอดคล้องต้องกันอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้ระหว่างคัมภีร์กาลจักร (ผู้หมุนเวลา) ของวัชรญาณพุทธศาสนาของทิเบตกับจักรวาลวิทยาใหม่ ความสอดคล้องต้องกันระหว่างประสบการณ์ตรงจากภายในของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า - ตามคำบอกเล่าที่เชื่อกัน - เมื่อกว่า 2500 ปีก่อนกับความรู้ว่าด้วยจักรวาลวิทยาใหม่ที่เพิ่งได้มาใหม่ๆ เพียงเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ซึ่ง - สำหรับผู้เขียน - ข้อมูลที่พูดได้ว่าตรงกันโดยหลักการ - ได้ก่อความสงสัยอัศจรรย์ใจว่า ความจริงที่ได้มาจากทั้งสองเส้นทางในระยะเวลาที่ห่างกันหลายพันปี มันเกิดมาตรงกันในหลักการสำคัญๆ ได้อย่างไร? บทความวันนี้ จะพูดถึงข้อมูลที่ตรงกันที่ว่านั้น เพื่อให้ผู้อ่านนำไปคิดพิจารณาถึงความเป็นไปได้ของการได้มาซึ่งความจริงแท้ที่เป็นหนึ่งเดียวกันที่มาจากภายในและจากความเป็นสัพพัญญูของพระพุทธองค์ - ที่ว่าไปแล้วก่อนตรัสรู้พระองค์ก็เป็นมนุษย์ธรรมดาๆ คนหนึ่ง - กับความรู้ที่ได้มาจากภายนอก หรือวิทยาศาสตร์ นั่นคือเหตุผลที่ทำให้ผู้เขียนมีความมั่นใจโดยปราศจากข้อสงสัยในสัทธรรมความจริงที่มีหนึ่งเดียวของพระพุทธองค์เอามาเขียนเล่าให้ผู้อ่านนำไปพิจารณาต่อ เหมือนที่ วิลลิส ฮาร์แมน อดีตศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และอมิต โกสวามี นักฟิสิกส์แควนตัมแห่งมหาวิทยาลัยโอเรกอน - ต่างกรรมต่างวาระ - เอามาเขียนที่ผู้เขียนนำมาเขียนและอ้างอิงให้ไว้แล้วในคอลัมน์นี้จึงไม่อ้างซ้ำอีก ส่วนข้อมูลอื่นๆ ผู้เขียนได้มาจากหนังสือห้าเล่มจะอ้างอิงไว้ที่ท้ายของบทความนี้

คัมภีร์กาลจักรนั้นอ้างว่า หลังจากพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้วหนึ่งปี ในกลางเดือนสาม พระองค์ได้ไปปรากฏที่เขาคิชกูฏและพร้อมกันนั้นก็ได้ส่งกายทิพย์ของพระองค์ไปที่มหาเจดีย์ของเมืองอมราวัตถี (มัทราส) ที่อินเดียตอนใต้เพื่อแสดงความสำคัญของโพธิวิมุตติด้วยระบบกาลจักราตันตระ ซึ่งต่อมาได้บันทึกไว้เป็นภาษาสันสกฤต และแพร่ไปถึงทิเบตโดยภิกษุชูลีปะจากนาลันธะ กับบัณฑิตที่ชื่อ นารถภัตชาวอินเดีย (ผู้มีชื่อเรียกหากันในทิเบตว่านาโรปะ) เมื่อปี พ.ศ.1026 ต่อมาคัมภีร์ที่เป็นภาษาสันสกฤตเล่มนั้นก็ถูกนำมาแปลเป็นภาษาทิเบตโดยโสมณะภัตที่เป็นศิษย์ของนาโรปะ

คัมภีร์กาลจักรเล่าว่า จักรวาลนั้นจริงๆ แล้วเป็นอนันต์ (infinity) ไม่มีการเกิดการดับแต่จะให้ลูกหลานจากการพองๆ ยุบๆ เรื่อยไป นั่นหมายถึงไม่มีเหตุที่ก่อผล ขณะที่จักรวาลที่มีโลกและสัตว์โลกอาศัยอยู่แห่งนี้ เป็นเพียงหนึ่งของจักรวาลที่มีนับจำนวนไม่มีที่สิ้นสุด ชีวิตและมนุษย์ รวมทั้งสรรพสิ่งสรรพปรากฏการณ์ทั้งหลายทั้งปวง ล้วนเกิดมาจากธาตุห้าธาตุ คือดิน น้ำ ไฟ ลม และอากาศธาตุ (อากาศธาตุถูกแยกเป็นสองธาตุในบาลีไตรปิฎกของเถรวาทเป็นที่ว่างหรือเรียกซ้ำว่าอากาศธาตุกับวิญญาณธาตุ) โดยมีดิน น้ำ ไฟ ลมที่ล้วนวิวัฒนาการขึ้นมาจากอากาศธาตุ (space element) เป็นความว่างเปล่า หรือสุญตาเป็นพื้นฐานที่มา คัมภีร์กาลจักรบอกว่าอากาศธาตุนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นความว่างที่ไม่มีอะไรเลย หากจะประกอบด้วย "อนุภาคว่างเปล่า" (empty particles or space particles) ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางที่ให้กำเนิดแก่สสารอนุภาคที่รวมตัวกันเป็นดิน น้ำ ไฟ ลม โดยที่อนุภาคว่างเปล่าเองก็ประกอบด้วยอนุภาคที่มีความละเอียดอย่างยิ่ง - ละเอียดจนประหนึ่งเป็นความว่างเปล่า - อีกที และเป็นอนุภาคว่างเปล่านี้เองที่ให้วิวัฒนาการ (ของลม ไฟ น้ำ ดิน) และวิวัฒนาการย้อนกลับ (สลายด้วยการดูดซึมกลับสู่ความว่างเปล่าของดิน น้ำ ไฟ ลม) ที่ประกอบเป็นรูปกายและพลังงานของจักรวาล (นี้) รวมทั้งชีวิตทั้งหลายทั้งปวง หรืออีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่า อากาศ (space) และอนุภาคว่างเปล่า (space particles) คือที่มาของกระบวนการทั้งหมดของจักรวาล คำว่าอนุภาคนั้น - ในระบบกาลจักร - ให้ความหมายที่ไม่ได้แปลว่าเป็นสสารเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงศักยภาพ (potentialities) ของความเป็นสสารหรือพลังงานด้วย

ฟิสิกส์จักรวาลวิทยาใหม่ให้ข้อมูลที่อาจชี้บ่งว่า จักรวาลมีจำนวนเป็นอนันต์ (infinity or multiverses) โดยงอก (budding) หรือให้ลูกหลานออกจากจักรวาลแม่ตลอดเวลา ที่ไร้สาเหตุ (non-local) สสารและ/หรือพลังงานรวมชีวิตและมนุษย์วิวัฒนาการขึ้นมาจากอนุภาคเทียม (virtual particles) - ไร้มวลไร้พลังงานชั่วคราวที่ประกอบเป็นความว่างของที่ว่าง (และเวลา) - ที่มีศักยภาพให้อนุภาคจริงๆ ได้

ระบบกาลจักรบอกว่าการเกิดและการสลายของจักรวาลมีลักษณะเป็นวงจรหรือวัฏจักรที่ประกอบด้วยสี่ระดับหรือสี่ช่วงระยะคือ หนึ่ง การเกิดของจักรวาล สอง การตั้งอยู่และการเปลี่ยนแปลงไป สาม การสลายตัวของจักรวาล และสี่ ระดับหรือช่วงระยะแห่งความว่างเปล่าเมื่อดิน น้ำ ไฟ ลม สลายและถูกดูดซึมกลับสู่ความว่างและแล้วจักรวาลใหม่ก็จะเกิดขึ้นมาจากซากของจักรวาลเก่าที่ซ่อนเร้นอยู่ในอนุภาคว่างเปล่านั้น

จักรวาลวิทยาใหม่ชี้บ่งว่าจักรวาลเกิดจากการสั่นสะเทือน (quantum fluccuation) ของพลังงานหลงเหลือจากการสลายตัวของจักรวาลเก่าสู่สภาพว่างทางแควนตัม (quantum vacuum) โดยเริ่มต้นด้วยอนุภาคเทียม ที่จะกลายเป็นอนุภาคจริง (real particle) หรือสสารทีหลัง โดยนักฟิสิกส์ส่วนหนึ่งเชื่อว่า กระบวนการที่เป็นวงจรของจักรวาลวิทยาใหม่ (ขึ้นอยู่กับการหากฎแห่งความเป็นเอกภาพที่ยิ่งใหญ่ grand unified theory or GUT ที่รวมกฎทั้งหมดทางฟิสิกส์ให้พบ) จะประกอบด้วยสี่ช่วงระยะคือ หนึ่ง ซิงกูลาริตี้เมื่อกฎและสมการทางคณิตศาสตร์ล่มสลายไปทั้งหมดและเกิดการระเบิดที่เรียกกันว่าบิ๊กแบง จากการสั่นสะเทือนของพลังงานหลงเหลือที่ซ่อนอยู่ในความว่างเปล่าทางแควนตัมที่ว่านั้น สอง การดำรงอยู่ของจักรวาลที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา สาม การสลายตัวของจักรวาลบิ๊กครันช์หรือบิ๊กฟรีซ (big crunch or big freeze) โดยการรวมตัวกันของหลุมดำที่อยู่ในใจกลางของกาแล็กซีหรือที่อี่นใด และสี่ ความว่างเปล่าทางแควนตัม เมื่อสสารและพลังงาน (ซากของจักรวาลเก่า) ถูกดูดซึมกลับสู่ความว่างนั้น

คัมภีร์กาลจักรยังบอกต่อไปด้วยว่า แม้ว่าจักรวาลนี้เองก็มีความกว้างใหญ่ไพศาลอย่างยิ่ง โดยใช้คำว่าพันล้านเท่าของจำนวนโลก หรือจำนวนของโลกที่คาดคิดไม่ได้ยกกำลังสอง (square untold) ในมัชฌิมจักรวาล (กาแล็กซี) ของเราเองก็มีระบบดาวที่เกิดใหม่และระบบดาวที่ตายไปตลอดเวลา และระบบสุริยะของเราก็เกิดมาด้วยกระบวนการนั้น ดาวทั้งหมดรวมทั้งดาวเคราะห์หรือโลกล้วนมีลักษณะทรงกลมแขวนโคจรอยู่ในที่ว่างของอวกาศ (empty space) ฉะนั้น จากคัมภีร์ที่มีในช่วงแรกๆ ของพุทธศาสนาจึงไม่เพียงแต่กล่าวถึงระบบโลกที่มีมากมาย (multiple world systems) หรือมีมากยิ่งกว่าเม็ดทรายที่เรียงรายอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคาเท่านั้น หากยังระบุว่าระบบดาวแต่ละระบบมีการเกิดใหม่และมีการดับสลายตลอดเวลา โดยผ่านวัฏจักร (a cycle of an aeon) สี่ช่วงระยะ หรือสี่ยุค (era)

ว่าไปแล้ว โดยหลักการรวมทั้งบางครั้งแม้ในรายละเอียด จักรวาลวิทยาของพุทธศาสนาโดยเฉพาะที่บันทึกไว้ในกาลจักราตันตระนั้น ไม่ได้มีความแตกต่างจากจักรวาลวิทยาที่ตั้งบนฟิสิกส์ใหม่หรือวิทยาศาสตร์ใหม่ในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ นั่นคือจักรวาลทั้งหลายทั้งปวงนั้น ไม่มีการเกิดและการดับอย่างสิ้นสูญไปจริง มีแต่การไหลเลื่อนเปลี่ยนแปลงไปไม่รู้จบ นักฟิสิกส์ยุคใหม่ทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ มักเชื่อในหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อย่างที่มิชิโอะ กากุ ที่อ้างอิงถึงข้างท้ายของบทความนี้ว่า จักรวาลมีความเป็นอนันต์ (multiverses) - เกิดใหม่และดับสลายไป - แบบไม่มีความจบสิ้น โดยมีจักรวาลของเราเฉพาะจักรวาลที่มนุษย์เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้เป็นหนึ่งในนั้น ยิ่งไปกว่านั้น มิชิโอะ กากุ ยังกล่าวต่อไปว่าพุทธศาสนาบอกว่าจักรวาลไม่มีเกิดไม่มีดับเป็นวัฏจักรของวิวัตตาและสังวิวัตตา - มีบิ๊กแบงที่ไม่มีการจบสิ้น - นั้น ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะพุทธศาสนาหมายถึงจักรวาลที่เป็นทั้งหมด (multiverses) จึงไม่มีความจบสิ้น ส่วนศาสนาอื่น เช่น คริสต์ศาสนาที่บอกว่ามีการสร้างจักรวาลนั้น ก็เป็นเรื่องถูกต้องอีกเหมือนกัน เพราะเป็นการกล่าวถึงเฉพาะจักรวาลนี้ หรือจักรวาลของมนุษย์ที่มีการสร้างขึ้นหลังจากที่มีการระเบิดบิ๊กแบงเพียงครั้งเดียว

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากจักรวาลแห่งรูปกายและปรากฏการณ์ ที่ดูจะตรงกันระหว่างข้อมูลของกาลจักราตันตระกับข้อมูลจักรวาลวิทยาใหม่ในทางวิทยาศาสตร์ แต่เนื่องจากหลักการและวิธีการของวิทยาศาสตร์ต้องจำกัดตัวเองโดยการพิสูจน์ในห้องทดลองและ/หรือสนับสนุนด้วยสูตรและสมการทางคณิตศาสตร์ผ่านประสาทสัมผัสภายนอกที่รับรู้ด้วยจิตรู้อีกที ดังนั้น วิทยาศาสตร์จึงต้องทิ้งเรื่องของจิต (consciousness) หรืออย่างดี สามารถแตะได้เพียงบางส่วนบางตอน (ของ mental pathway) ที่เล็กน้อยเท่านั้น ทำให้เรื่องของจิตส่วนใหญ่โดยเฉพาะเรื่องจิตวิญญาณจะดำรงอยู่นอกวิทยาศาสตร์ในขณะที่ศาสนา รวมทั้งระบบกาลจักร อธิบายเรื่องของจิตจากประสบการณ์ภายในของผู้ปฏิบัติศาสนาถึงระดับวิมุตติ ประสบการณ์ที่สาธารณชนคนทั่วไปจะต้องเลือกว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อฉะนั้นเอง เรื่องของจิตทั้งกระบิ สติ เวทนา สัญญา - รวมทั้งจิตรู้ ที่ประกอบเป็นความคิด มโนทัศน์ทั้งหลายทั้งปวงที่ส่วนหนึ่งวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาหรืออธิบายดังที่กล่าวมาข้างบน - และเรื่องของจิตไร้สำนึก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจิตใต้สำนึก หรือเป็นเรื่องจิตเหนือสำนึกที่เป็นธรรมจิต จึงเป็นประสบการณ์ที่ได้จากเส้นทางภายใน หรือศาสนา

พุทธศาสนาและกาลจักราตันตระล้วนพูดถึงความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกำเนิดของจักรวาล (นี้) กระทั่งวิวัฒนาการของโลกแห่งสสารและโลกแห่งชีวิต - สัตว์โลกทั้งหลายทั้งปวงรวมทั้งมนุษย์ - กับวิวัฒนาการของจิต หรืออีกนัยหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่าพุทธศาสนาบอกว่า กำเนิดของจักรวาล (นี้) มีขึ้นมาได้ก็เพื่อให้สัตว์โลกและมนุษย์สามารถวิวัฒนาการตามขึ้นมาได้ และวิวัฒนาการทางกายภาพมีขึ้นมาก็เพื่อให้จิตเข้าไปอาศัยอยู่และเรียนรู้โลก เรียนรู้ตัวเองและความสัมพันธ์ระหว่างกัน และรวมทั้งการเรียนรู้จักรวาลหรือสัทธรรมความจริงได้ ซึ่งตรงกับจักรวาลวิทยาใหม่ที่อธิบายว่าจักรวาลนี้มีขึ้นมาก็เพื่อมนุษย์สามารถมีขึ้นมาได้ และสุดท้ายก็สามารถเรียนรู้ตัวเองรู้จักรวาลได้ (cosmological anthropic principle) เพราะฉะนั้นเอง จักรวาลวิทยาของพุทธศาสนาจึงพูดถึงกฎหรือกลไกที่บริหารและควบคุมวิวัฒนาการของจักรวาลโลกและภพภูมิต่างๆ รวมทั้งสัตว์โลกรวมทั้งมนุษย์และสังคมของมนุษย์ว่า มีอยู่ด้วยกันสองกฎหรือสองกลไก ซึ่งจะมีปฏิสัมพันธ์กันและกัน นั่นคือ กฎแห่งกรรม กับกฎแห่งการเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกัน หรือ อิทัปจยตา ในขณะที่จักรวาลวิทยาที่เป็นวิทยาศาสตร์ จะรู้จักและเน้นเฉพาะประเด็นหลังประเด็นเดียว (self - organizing principle).

(Dalai Lama : The Universe in a Single Atom, 2006; Jeffrey Hopkins : Kalchakra Tantra, 1989; Francisco Valera,ed.The New Physics and Cosmology, 2003; Michio Kaku : Parallel Worlds, 2005; Brian Greene : The Fabric of Cosmos, 2004)

จาก

http://board.agalico.com/showthread.php?t=9274
4555  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : จิตคือฟิสิกส์ใหม่-ต้องรู้ก่อนจะสายเกินไป เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:29:18

 
 
สำหรับผู้เขียนซึ่งได้ติดตาม คาร์ล ซี. จุง มานาน รู้ว่าแม้เขาจะเรียนวิทยาศาสตร์และเป็นคนช่างสังเกตมากๆ แต่ผู้เขียนก็ยังคิดว่าเขาเป็นจิตนิยมอยู่ดี ในที่นี้คำว่าจิตนิยมไม่ได้แปลว่าเขาเชื่อมั่นศรัทธาในพระเจ้าเท่านั้น แต่เขาพยายามจะอธิบายศาสนาให้เป็นวิทยาศาสตร์ด้วย เช่น เรื่องของ "ความสอดคล้องพ้องจองกัน" (synchronicity) หรือความบังเอิญ (ซึ่งจุงไม่เชื่อ) ที่ประสบการณ์ตรงทางจิต (เช่น ความฝัน ภาพหรือการรับรู้ต่างๆ ฯลฯ) เกิดมาพ้องจองกันกับเหตุการณ์จริงๆ ทางโลกแห่งกายอย่างมีความหมาย ทั้งๆ ที่ไม่มีสื่อใดๆ บ่งบอก - ที่ผู้เขียนเชื่อเพราะเคยเกิดขึ้นกับผู้เขียนหลายครั้ง - ซึ่งคาร์ล ซี. จุง อธิบายว่าประสบการณ์ตรงทางจิตกับเหตุการณ์จริงๆ ทางโลกกายภาพเป็นเรื่องของการติดต่อกันอย่างอีนุงตุงนัง (entanglement) - จุงไม่ได้ใช้คำนี้ แต่ผู้เขียนคิดว่าความหมายเป็นอย่างเดียวกัน - ของจิตไร้สำนึกสากลของจักรวาล แต่อดรู้สึกประหลาดใจไม่ได้ที่จะคิดว่า การค้นพบควอนตัมเม็คคานิคส์หรือฟิสิกส์ใหม่ ซึ่งค้นพบในขณะที่มนุษยชาติกำลังลำพองใจกับความก้าวหน้า (หรือการเริ่มต้นของการทำร้ายและทำลายโลกธรรมชาติของมนุษยชาติ หรืออีกนัยหนึ่งเป็นการเริ่มต้นของการต่อสู้ระหว่างธรรมชาติ vs มนุษยชาติ) ของวิทยาศาสตร์กายภาพหรือกายวัตถุ การค้นพบของวิทยาศาสตร์ที่เรียกว่าทฤษฎีควอนตัมของตะวันตก ซึ่งสอดคล้องต้องกันหรือสนับสนุนซึ่งกันและกันกับศาสนาที่อุบัติขึ้นทางตะวันออก เช่น ศาสนาพุทธ ศาสนาเต๋า และศาสนาฮินดู ทำให้ผู้เขียนอดไม่ได้ที่จะคิดถึงความน่าเป็นไปได้ของการติดต่อกันอย่างอีนุงตุงนังของจิตไร้สำนึกสากลของจักรวาล (universal unconscious continuum) อย่าลิมว่าจิตไร้สำนึกที่ว่านี้ ก่อประกอบเป็นทุกๆ สรรพสิ่งและสรรพปรากฏการณ์ที่อยู่ในจักรวาล รวมทั้งสถานที่และเวลา ในมหายานและวัชรญาณพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูถึงได้บอกเหมือนๆ กันว่า อวกาศ (สถานที่ + เวลา หรือ absolute space) คือธาตุที่ 5 ที่ผู้เขียนเข้าใจว่าเป็นที่มาของอวกาศ (spac) และวิญญาณ (unconsciousness as consciousness) ผู้เขียนเข้าใจเอาเองว่า เถรวาทพุทธศาสนาจะ
 
เรียกอากาศว่าที่ว่างในร่างกาย และเรียกวิญญาณว่าความรู้แจ้งทางอารมณ์
 
ปัจจุบันสังคมสมัยนี้อยู่กันด้วยตรรกะหรือเหตุผล ไม่ว่าสถานที่ใดหรือองค์กรสถาบันไหน วันๆ มีการตั้งกรรมการอนุกรรมการมาประชุมสัมมนากันเพื่อตัดสินปัญหา-หามติกัน โดยยกเหตุผลมาแสดงจนแทบโกรธกันจนตาย ยิ่งถ้าหากเกิดมีผลประโยชน์หรือเงินเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว อาจจะเป็นความเป็นความตายของผู้มีเหตุผลดี หรือตรงไปตรงมาจึงต้องตาย ที่เราๆ ท่านๆ ต่างล้วนได้ยินได้ฟังมาแทบทุกคนก็ว่าได้ โดยเฉพาะในสังคมที่ด้อยพัฒนาที่ยิ่งด้อยพัฒนาแค่ไหน และยิ่งต้องการทำตามประเทศที่พัฒนามากและนานเป็นร้อยปีแล้วแค่ไหนก็ยิ่งมีการตายการแตกแยกขัดแย้งทะเลาะกันมากขึ้นเท่านั้น นั่นคือ ยิ่งทำผิดธรรมชาติ ผิดธรรมะมากขึ้นและมากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นวิกฤติมหาวิกฤติ ที่ทุกวันนี้พูดตามตรง หมดทางแก้ไขไดๆ ทั้งสิ้น รอเพียงอย่างเดียวคือ เรารอสังคมประเทศชาติหรือโลกทั้งโลกฉิบหายสลายไปด้วยกัน เพราะตรรกะและเหตุผลของมนุษยชาติที่เรียกว่าทันสมัยนั่นแหละ
 
ที่พูดมานั้นย่อมมีเหตุผลอันเป็นสากลโดยไม่ใช่ของมนุษยชาติแต่เพียงชีวิตเดียว หรือเฉพาะคนไทยพุทธเถรวาทที่ยังหนุ่มแน่นโดยเฉพาะผู้ชาย ผู้เขียนไม่ได้มีปมเขื่องหรือปมด้อย ทั้งไม่ใช่เป็นคนต่อต้านสังคมที่มองโลกในด้านร้าย และก็ไม่ใช่คนที่แช่งให้โลกฉิบหายไวๆ แต่เป็นตรงกันข้ามกับที่เพิ่งพูดมาในพารากราฟนี้ทั้งหมด ผู้เขียนมีความคิดเห็นโดยอยากดูและปรารถนาที่จะเห็นมนุษยชาติซึ่งพิเศษสุดพิเศษ คือประเสริฐกว่ามวลชีวิตทั้งหลาย คือต้องการเห็นมนุษย์ "ประเสริฐ" และอิสระจริงๆ กันทุกคน ไม่ต้องมีวัตถุ คุกตะราง หรือกระดาษ เช่น รัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือมีพี่เบิ้ม เช่น อเมริกาที่ผิดธรรมชาติ - ทั้งสองระดับ - มาตลอดตั้งแต่ตั้งสังคมประเทศชาติมาคอยควบคุมให้ปฏิบัติตาม ผู้เขียนคิดและเชื่อมั่นว่ามนุษยชาติจะต้องมีวิวัฒนาการ - ทางกายและทางจิตโดยมีพลังงานเป็นเครื่องมือกลไก - ไม่ใช่สัตว์ป่าที่โหดเหี้ยมชั่วร้ายอีกต่อไป และจะวิวัฒนาการทางจิตสู่เทวดาดังที่โพลตินัสกล่าวไว้เมื่อ 2,000 ปีที่แล้ว ซึ่งจิตจะต้องมีวิวัฒนาการต่อไปตามสเปกตรัมสู่โลกทัศน์ใหม่กระบวนทัศน์ใหม่ ผ่านรู้ทั้ง 3 รู้ คือ รู้รอด รู้เพื่อรู้ และรู้แจ้ง ซึ่งเราลองผิดลองถูกมานานจนสังคมโลกวิกฤติ (ส่วนใหญ่มากๆ จะเป็นการลองผิดและวิกฤติเกิดจากการลองผิดนั้นๆ) ขณะนี้มนุษยชาติทั้งเผ่าพันธุ์ไม่มีเวลาเหลือที่จะลองและผิดอีกแล้ว นอกจากความหวังต่อไปนี้อย่างเดียวคือ ต้องปฏิบัติเพื่อเป็นเทวดาที่โพลตินัสว่าให้ได้ การเกิดเป็นมนุษย์นั้นสุดวิเศษ เพราะเป็น "สุขคติ" และไปนิพพานได้ ความหวังของผู้เขียนนั้นคือ การปฏิบัติจิตปฏิบัติธรรมจะนำจิตสู่ธรรมชาติระบบบน (spirituality) ได้ ซึ่งจะทำให้มนุษย์เป็นอิสระ เกิดปัญญา สามารถจะมองเห็นโลกกับเห็นจักรวาลคือ "บ้านของเรา" ได้ เราและมวลชีวิตทั้งหลายจึงจะอยู่ได้รอดปลอดภัยเท่านานแสนนาน จึงขอตั้งความหวังที่แท้จริงว่ามนุษย์ทั้งหลายจงอย่าประมาท เราไม่มีเวลาเหลืออีกแล้วจริงๆ แม้แต่ 3-4 ปีข้างหน้านี้ก็จงอย่ารอเลย เพราะจะสายเกินไป
 
การปฏิบัติจิตปฏิบัติธรรมหรือปฏิบัติสมาธิสู่จิตวิญญาณนั้นในระดับบนนี้ ไม่ว่าศาสนาใดก็ไม่มีความแตกต่างกันโดยหลักการแม้แต่น้อย ที่ต่างกันเป็นเรื่องของระดับล่าง ไม่ใช่ที่ระดับบนหรือระดับจิตวิญญาณ (spirituality) ที่แตกต่างกัน ระดับล่างที่แตกต่างกันนั้น แตกต่างกันที่ "ตัวกูของกู" ที่จะต้องดีกว่าถูกต้องกว่า "ตัวมึงของมึง" เพราะตาและใจที่ลำเอียงหรือมองเห็นแต่ข้างเดียว เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณีหรือภาษาวัฒนธรรม ซึ่งผู้เขียนคิดว่าเป็นลักษณะของกระบวนทัศน์เก่าที่ต้องวิวัฒนาการต่อๆ ไป แต่เราส่วนใหญ่ไม่เชื่อจึงไม่คิด ไม่รู้ และไม่เปลี่ยนแปลง
 
ศาสนาทุกศาสนาจะพูดถึงความไม่รู้หรืออวิชชาของมนุษย์โดยใช้ภาษาของตัวเองที่ผิดแผกแตกต่างกันไป เช่น เพราะไปเชื่องู ไม่เชื่อพระเจ้า ทำให้มนุษย์ตกลงมาจากสวนอีเด็นในคริสต์ศาสนา ที่ว่าความไม่รู้นั้นก็คือว่า เราไม่รู้ความจริงที่แท้จริงของโลกของจักรวาล ซึ่งถูกซ่อนไว้ข้างหลังสิ่งที่รับรู้ด้วยประสาทสัมผัส เช่น ตาหรือหูของเรา สิ่งที่เราเรียกว่าความเป็น 2 (dualism) ที่จำเป็นที่สุดของการอยู่รอดของชีวิต รวมทั้งมนุษย์ ให้เชื่อแต่เฉพาะแต่ตาหู และประสาทสัมผัสภายนอกของตัวเองเท่านั้นว่าเป็นความจริงแท้ ย้ำที่คำว่าตัวเองเท่านั้น ทั้งนี้ ก็เพื่อความอยู่รอดของชีวิตของตัวเอง นั่นคือ ความอยู่รอด (existence ของปรัชญา existentialism ของปอล ซาร์ต (Paul Satre) - ที่ชาวตะวันตกเชื่ออย่างผิดๆ เพราะไม่ได้คิดว่าคือเป้าหมายของพุทธศาสนา - แต่ผู้เขียนเชื่อว่าการรู้ของสัตว์โลก รวมทั้งมนุษย์ทั้ง 3 รู้ (รู้รอด รู้เพื่อรู้ รู้แจ้ง) นั้นเป็นประวัติศาสตร์ขององค์ความรู้ - ตามความเห็นของเดวิด โบห์ม คือ ข้อมูลที่คลี่ขยายจากการซ่อนตัวเองอยู่ในจักรวาล องค์กรที่ไม่เคยหยุดนิ่งอยู่กับที่ หากแต่จะไหลเลื่อนเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงโดยเชื่อมโยงกับทั้งหมด ซึ่งก็คือธรรมชาติหรือธรรมะ - ซึ่งรวมธรรมชาติปกติธรรมดาอย่างหนึ่ง และรวมธรรมชาติที่สุดของธรรมชาติตามที่ท่านพุทธทาสกล่าวไว้อีกอย่างหนึ่งด้วย - ทั้ง 2 ระดับอันเป็นอภิปรัชญาทางศาสนา ตอนนี้ผู้เขียนคิดว่า เรา - ในปัจจุบัน มีองค์ความรู้อีกองค์ความรู้หนึ่ง หรือควอนตัมเม็คคานิกส์ที่พิสูจน์สิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาหรือได้ยินด้วยหู นั่นคือ สิ่งที่องค์ทะไล ลามะ บอกว่าได้มาจากบิกแบ็ง "ที่มีบิกแบ็งๆ ของจักรวาลอันไม่มีที่สิ้นสุด" หรือการโผล่ปรากฏของจิตปฐมภูมิ (ญาณะ = primordial consciousness) รูปกายปฐมภูมิ (ธรรมธาตุ) และพลังงานปฐมภูมิ (ปราณะ) 3 ปฐมภูมิ (ปถนมามัง อุปถัมภันโน) ที่แยกออกจากกันไม่ได้ องค์กรที่เดวิด โบห์ม เรียกว่าองค์กรซ่อนเร้นตัวเอง (implicate order) องค์กรที่ซ่อนตัวเองอยู่ข้างหลังความจริงที่ตามองเห็นหูได้ยิน (David Bohm : Wholeness and Implicate Order, 1981) นั่นเป็นทฤษฎีทางฟิสิกส์ใหม่ที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อกัน นั่นคือความจริงใหม่ที่ค่อนไปทางจิต หรือผู้เขียนเชื่อว่า ควอนตัมฟิสิกส์เท่าที่ผู้เขียนรู้ ทำงานคล้ายกับจิต แต่จิตนั้นละเอียดยิ่งกว่ามาก นักฟิสิกส์ใหญ่ๆ ที่ค้นพบฟิสิกส์ใหม่ควอนตัมเม็คคานิกส์ เช่น แมกซ์ แพลงก์ นีลส์ บอร์ ไฮเซนเบิร์ก ชโรดิงเกอร์ ฯลฯ รวมทั้งไอน์สไตน์เองได้ค้นพบทฤษฎีนี้ และชุมชนวิทยาศาสตร์ได้รับรองวินัยใหม่นี้ในปี 1927 ซึ่งแทบจะอธิบายหลักธรรมชาติของความจริงได้ทั้งหมด - ทั้งที่คลาสิคัลฟิสิกส์อธิบายได้กับอธิบายไม่ได้เลยแม้แต่น้อย แถมยังแม่นยำกว่านิวโตเนียนฟิสิกส์ด้วย - ดังนี้
 
1.ทฤษฎีควอนตัมอธิบายว่าหนึ่งคือทั้งหมด ทั้งหมดคือหนึ่ง
 
2.ในระดับละเอียดจริงๆ (ระดับอะตอมลงมา) ไม่พบสสารวัตถุใดๆ เลย
 
3.ในระดับเช่นนั้นมีแต่ความ "น่าเป็นไปได้" ของสภาวะอนุภาคหรือสภาวะคลื่นอย่างใดอย่างหนี่ง หรือในสภาวะอื่นๆ
 
4.สุดท้ายความเป็นไปได้นั้นจะต้องมีจิตของผู้สังเกต
 
5.ในธรรมชาตินั้นความจริงแท้ไม่รู้ว่าตั้งอยู่ที่ไหน แต่จะติดต่อกันได้เองในทันทีทันใด
 
6. "จง" อย่าหาเหตุผลเพื่ออธิบายควอนตัมเด็ดขาด เพราะมันไม่มี
 
นั่นตรงกันข้ามกับหลักการคลาสิคัลฟิสิกส์ทุกอย่างเลย ทฤษฎีควอนตัมมีแต่ความไม่แน่นอนที่ทำนายล่วงหน้าไม่ได้ (indeterminism) ทั้งไม่ได้เป็นสิ่งที่ "ตั้งอยู่ข้างนอกนั่น" (non-local) แถมยังเกี่ยวกับจิตผู้สังเกตด้วย ส่วนทฤษฎีที่ 3 ทฤษฎีที่มาของจิตสำนึกนั้นอธิบายด้วยพลวัตที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจิตไร้สำนึกของจักรวาลเป็นจิตสำนึกที่สมอง คือความสัมพันธ์ระหว่างจิต-สมอง (mind-brain interaction) ของวอน นิวแมน-วิกเนอร์-แสตปป์ (อ้างแล้ว) ที่มองว่าจิตไร้สำนึกคือข้อมูลพื้นฐานจักรวาล (information) หรือจิตที่แปลข้อมูลเป็นความหมายที่ส่งมาด้วยพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเป็นความถี่คลื่น ให้สมองเปลี่ยนเป็นจิตสำนึกเป็นบิตของข้อมูลผ่าน 2 กรรมวิธี : จิต-สมอง (ที่เป็นไปด้วยกลไกทางควอนตัมกับกลไกของสมองที่เป็นไปด้วยกระแสไฟฟ้าและสารเคมีตามปกติ (process I-II of Von Neuman-Wigner-Stapps)




 
http://www.thaipost.net/sunday/011109/12854
4556  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: ควอนตัมกับดอกบัว : การเดินทางสู่พรมแดนที่วิทยาศาสตร์และพุทธศาสนามาบรรจบ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:26:56
ตห (เต้าหู้)

คนสวน

offline
 
กระทู้: 1101
 

 
 

 

ชอบมากค่ะเล่มนี้ โดยเฉพาะบทที่เก้า ที่เขียนไว้ในกระทู้ order versus chaos
ท่าน Matthieu Ricard จากนักชีวโมเลกุล สู่ ภิกษุในพุทธศาสนา (ใครเป็นแฟนพันธ์แท้ของท่านคงจะทราบว่า มีเล่มก่อนหน้านี้ ภิกษุกับนักปรัชญา คือท่านกับพ่อของท่านคุยกัน นั่นก็สนุก)
 
ตอนนี้ TED TALK ยกให้ท่านเป็น "happiest man in the world" ไปเรียบร้อยแล้ว

http://www.ted.com/talks/matthieu_ricard_on_the_habits_of_happiness.html

 
นอกจากนี้ หากท่านใดได้มีโอกาสคลิ๊กเข้าไปที่แกลอรี่ของท่าน http://www.matthieuricard.org/index.php/gallery/จะพบอีกว่าท่านมาติเยอ ฝีมือถ่ายภาพชั้นเซียนจริงๆ


ลิงค์มาให้ชื่นชม
 
4557  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: ควอนตัมกับดอกบัว : การเดินทางสู่พรมแดนที่วิทยาศาสตร์และพุทธศาสนามาบรรจบ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:26:32







พิมพ์สวนเงินมีมา, มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป และสำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติองค์ทะไลลามะที่ 14 และอาจถือเป็นงานเปิดตัวหนังสือ “ควอนตัมกับดอกบัว” ที่พี่ชิวหรือ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ เค้าไปช่วยแปลด้วย ส่วนผู้ร่วมแปลอีกท่านหนึ่งคือ คุณกุลศิริ เจริญศุภกุล
 

โปสเตอร์การเสวนานี้ - ที่มา - เว็บไซต์ข้างล่างนี้
 
สาเหตุที่ทราบเรื่องเสวนานี้ก็คือ วิทยากรท่านหนึ่งคือ พี่ชิว นั่นเอง อีกสองท่านก็คือ พระครรชิต คุณวโร (ท่านอยู่วัดญาณเวศกวัน – วัดเดียวกับท่านพระพรหมคุณาภรณ์ ที่ผมกล่าวถึงไปในตอนที่แล้วนั่นเอง) ส่วนอีกท่านหนึ่งคือ ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ โดยมี คุณณัฐฐา โกมลวาทิน พิธีกรจาก ThaiPBS เป็นผู้ดำเนินรายการ รายละเอียดรายการนี้มากกว่านี้อยู่ที่เว็บไซต์ของ สนพ.สวนเงินมีมาที่ http://www.suan-spirit.com/home_activity.asp?go=read&group=2&id=75 หรืออาจใช้ชื่อพี่ชิว search แล้ว ตามไปดูที่ GoToKnow ที่พี่ชิวเค้าเขียน blog อยู่ก็ได้ครับ คงมีภาพบรรยากาศงานให้ชมด้วย เพราะพี่เค้าติดกล้องไปด้วย คนฟังเต็มห้องประชุมเลยครับ น่าจะอยู่ในราว 160-180 คน เห็นจะได้ (ซึ่งถือว่าดีมาก สำหรับหัวเรื่องที่น่าจะถือว่า "หนัก")

วันนั้น มีหลายประเด็นที่อาจจะนำมาเล่าสู่กันฟังได้ แต่ผมขอพูดถึงสัก 2 ประเด็นคือ มีอยู่ช่วงหนึ่งมีวิทยากรท่านหนึ่งบอกว่า พุทธศาสนาไปกันได้ดีกับวิทยาศาสตร์ “มากกว่า” ศาสนาอื่นอีกหลายศาสนา – สังเกตนะครับว่า คำพูดนี้เป็นได้แค่ “สมมติฐาน” และโดยส่วนตัวผมถือว่าเป็นสมมติฐานที่สุ่มเสี่ยงมาก การจะตอบเรื่องนี้ได้คงต้องทำวิจัยกันชุดใหญ่เลยทีเดียวล่ะครับ
 
ผม “เชื่อว่า” สาเหตุที่ “ดูเหมือน” ศาสนาพุทธไปกันได้ดีกับวิทยาศาสตร์ อาจจะเป็นเพราะ (1) คนไทยไม่ค่อยกล้าวิจารณ์ศาสนาของไทยนัก จึง “โน้มเอียง” ที่จะยกพุทธให้เข้ากับเรื่องที่ตนคิดว่าดี ในกรณีนี้คนที่เชื่อว่าวิทย์ดี ก็จะบอกว่าพุทธ มีความเป็นวิทย์อยู่ในทีด้วย และพยายามยกส่วนที่คิดว่าสอดคล้องกันขึ้นมากล่าว และ (2) คนไทยยังไม่ค่อยมีวัฒนธรรมการวิจารณ์บน “หลักฐาน” มากนัก จึงเป็นการพูดด้วยความเชื่อกันมาก
 
ถ้ายังจำกันได้ผมเคยกล่าวถึงวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตของพระอาจารย์โสภณ โสภโณ มีเนื้อความตอนหนึ่งของปาฐกถาของท่านที่กล่าวถึง “การเกิด” แบบอื่นๆ ของมนุษย์ที่ไม่ได้เกิดจาก “ท้องแม่” ทั่วไป เช่น การปุ๊บปั๊บไปเกิดในดอกบัวยักษ์ หรืออีกกรณีหนึ่งที่ ฤาษีตนหนึ่งที่ได้คำแนะนำจากพระอินทร์ให้เอามือลูบท้องนางฤาษิณีที่เป็นภรรยา (แต่ต่างถือพรหมจรรย์ ไม่หลับนอนด้วยกันตามวิสัยคฤหัสถ์) ก็ได้ลูกด้วยวิธีนี้ ซึ่งลูกที่มาเกิดก็คือ พระโพธิสัตว์ ที่มาสั่งสมบุญและช่วยฤาษีและฤาษิณีที่ต้องตาบอดทั้งคู่จากกรรมเก่า เป็นต้น จะเห็นว่าการเกิดทั้ง 2 แบบที่ยกมานั้น ทางวิทยาศาสตร์ถือว่า “ยังมีหลักฐานชัดเจน และยังพิสูจน์ไม่ได้ด้วยข้อมูลเท่าที่มีอยู่ว่า เกิดขึ้นได้จริง” (ไม่ได้บอกว่า เกิดขึ้นไม่ได้ – ต่างกันนะครับ ลองคิดดูดีๆ) ดังนั้น หากถามนักวิทยาศาสตร์ในวันนี้ ก็คงจะตอบ (ตามหลักฐาน) ว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้!
 
 

หน้าปกหนังสือ "ควอนตัมกับดอกบัว"
 
มีคำกล่าวที่วิทยากรท่านหนึ่งอ้างถึงคำพูดของไอน์สไตน์ ที่กล่าวถึง “ศาสนาคอสมิก (Cosmic religion)” หรือศาสนาที่เป็นสากลว่า “ถ้าจะมีศาสนาใดที่เข้ากับวิทยาศาสตร์ได้มากที่สุด ก็คงจะเป็นศาสนาพุทธ” พี่ชิวกล่าวถึงข้อความตรงนี้ไว้ว่า ได้เคยตรวจสอบดู ก็พบจาก Wikipedia ว่า เป็น quote ที่ไม่สามารถหาแหล่งข้อมูลเบื้องต้นหรือต้นตอ (original source) ได้พบ ... หรืออาจแปลได้ว่า ... อาจจะไม่เคยกล่าว หรือหากจะกล่าวไว้ ก็ไม่เคยบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรด้วยตัวของไอน์สไตน์ในที่ใดเลย!
 
ทั้งนี้และทั้งนั้น ... อย่าเชื่อในทันที (เพราะใครพูดก็ตาม) ลองไตร่ตรองและสืบสวนกันดูเองได้ ก่อนเชื่อนะครับ!
 
นำชัย
 
 
http://www.biotec.or.th/Guru/

4558  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ควอนตัมกับดอกบัว : การเดินทางสู่พรมแดนที่วิทยาศาสตร์และพุทธศาสนามาบรรจบ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:26:03

 
 
ชื่อหนังสือ : ควอนตัมกับดอกบัว
การเดินทางสู่พรมแดนที่วิทยาศาสตร์และพุทธศาสนามาบรรจบ
 
(The Quantum and the Lotus)
 
รหัสสินค้า : P-SM-0098
 
กลุ่มหนังสือ : ศาสนธรรมเพื่อสังคมร่วมสมัย & ชีวประวัติเพื่อแรงบรรดาลใจ
ผู้แต่ง : มาติเยอ ริการ์ และ ตริน ซวน ตวน เขียน /
กุลศิริ เจริญศุภกุล และ บัญชา ธนบุญสมบัติ แปล
พิมพ์ครั้งที่/ จำนวนหน้า/ กระดาษ : พิมพ์ครั้งที่ ๑
ขนาด ๑๖ หน้ายกพิเศษ (๑๔.๕ x ๒๑.๐ ซม.)
ความหนา ๕๑๒ หน้า
ราคา : ๔๒๐ บาท
 
รายละเอียดย่อ
 

 
เราทั้งมวลล้วนเกิดจากฝุ่นละอองของดวงดาว เป็นพี่น้องของผองสัตว์ป่า เป็นเครือญาติกับมวลดอกไม้ในท้องทุ่ง เราทั้งมวลล้วนบอกเล่าเรื่องราวของจักรวาล เพียงเราหายใจ เราก็เชื่อมโยงเข้ากับสรรพสิ่งที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้
 
รายละเอียดเต็ม
เพราะมีอยู่ในหนึ่งอะตอม
จึงมีอยู่ในทุกอะตอม
โลกทั้งมวลก้าวล่วงสู่ที่นั้น
ลึกล้ำจนมิอาจหยั่งถึง
 
(จากพระสูตรของพระพุทธเจ้า)
 
 
เพื่อเห็นโลกในเม็ดทราย
และสรวงสวรรค์ในดอกไม้ป่า
จงวางความเป็นอนันต์ไว้บนฝ่ามือ
และความเป็นนิรันดร์ไว้ในโมงยาม
 
(วิลเลียม เบลค)
 
 
 
เอกภพมีจุดกำเนิดหรือไม่? การปรับแต่งอย่างประนีตเหมาะเจาะจนน่าพิศวงของเอกภพ แสดงว่ามี "หลักการแห่งการสร้าง" บนโลกของเราใช่ไหม? หากใช่ ย่อมหมายความว่า โลกมีพระเจ้าผู้สร้างเช่นนั้นหรือ?
 
การตีความ ความจริง แบบฟิสิกส์ควอนตัมที่เปลี่ยนฐานคิดจากเดิม คล้ายคลึงหรือแตกต่างจากการเข้าใจ ความจริง ของพุทธศาสนาอย่างไร?...และอีกหลายคำถาม
ควอนตัมกับดอกบัว จะนำผู้อ่านไปร่วมค้นหาคำตอบเหล่านี้ ผ่านบทสนทนาอันแหลมคมของสองสายธารความคิด ระหว่างคำสอนในพุทธศาสนาและผลการค้นพบของวิทยาศาสตร์ใหม่
.......................................................
คำนำโดย มาติเยอ ริการ์
 
ตลอดเวลายี่สิบปีที่ผ่านมา มีการสนทนาระหว่างฝ่ายพุทธศาสนาและฝ่ายวิทยาศาสตร์ โดยสืบเนื่องมาจากความสนใจในวิทยาศาสตร์ของปราชญ์ชาวพุทธบางท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ทะไลลามะ ในปี 1987 อดัม เองเกิล (Adam Engle) ซึ่งเป็นนักธุรกิจ กับนักวิทยาศาสตร์ ฟรานซิสโก วาเลรา (Francisco Valera) ได้จัดให้มีการพบปะกันครั้งแรกระหว่างองค์ทะไลลามะกับนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่ง อันประกอบด้วย นักประสาทวิทยา นักชีววิทยา จิตแพทย์ นักจิตวิทยา และนักปรัชญา ซึ่งการเสวนาวิสาสะในครั้งนั้นนำไปสู่การพบปะอย่างต่อเนื่องในเวลาต่อมา บรรดาผู้เข้าร่วมการสนทนาบันทึกไว้ว่า
 
“การพบปะที่วิเศษยิ่งเหล่านั้นเป็นการแสดงทัศนะจากนักปฏิบัติชาวพุทธและนักวิทยาศาสตร์อย่างเปิดใจกว้าง แต่ก็วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเต็มที่ ทั้งสองฝ่ายต่างกระตือรือร้นที่จะขยายโลกทัศน์ของตนเอง จากการเรียนรู้กลวิธีในการตั้งคำถามและการเข้าถึงองค์ความรู้ของอีกฝ่ายหนึ่ง การตีพิมพ์บทสนทนาจากการพบปะภายใต้ชื่อ ‘จิตและชีวิต’ (Mind and Life) จึงได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้ที่สนใจบทสนทนาข้ามวัฒนธรรมและศาสตร์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับธรรมชาติแห่งจิต”
 
หนังสือในชุดประกอบด้วย Gentle Bridges (สะพานอันอ่อนโยน) Healing Emotions (อารมณ์เพื่อการบำบัด) Sleeping Dreaming and Dying (การนอนหลับ การฝันและความตาย) และ Science and Compassion 3 (วิทยาศาสตร์กับความกรุณา) นอกจากนี้ยังมีหนังสือเพื่อการศึกษาเชิงลึกซึ่งช่วยอธิบายเรื่องราวต่างๆ เพิ่มเติม ได้แก่ The Embodied Mind4 (จิตอันปรากฏรูป) โดย ฟรานซิสโก วาเลรา และคณะ Choosing Reality (การเลือกความจริง) และ The Taboo of Subjectivity (ข้อต้องห้ามของอัตวิสัย) โดย บี. อลัน วอลเลซ (B. Alan Wallace) การสนทนาที่บันทึกอยู่ในหนังสือเล่มนี้ก็มีลักษณะและจุดมุ่งหมายในทำนองเดียวกันกับการบันทึกบทสนทนาต่างๆ ดังที่กล่าวมา .......................................................
 
 
 
http://www.suan-spirit.com/coming_book.asp?id=217
4559  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: พระพุทธศาสนา ไม่เคยทะเลาะ กับ วิทยาศาสตร์ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:23:39




วิปัสสนากับควอนตัม


วิปัสสนาเป็นวิธีมองโลกที่ช่วยให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือสอนให้ใช้จิตมองจิตของเรา การมองจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเรา เราสามารถปลี่ยนความคิดให้บริสุทธิ์ขึ้น นั่นคือทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องใสเป็นสจิตปริโยทปนะคือทำจิตของเราให้ผ่องใส เราจะทำจิตผ่องใสได้ก็ต่อเมื่อผู้มองมีผลกระทบต่อกระแสจิตที่ถูกมอง


ฟิสิกส์ควอนตัมศึกษาความจริงที่คนทั่วไปยากที่จะเข้าใจเพราะโครงสร้างอะตอมนั้นเล็กมากขนาดที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า พระพุทธศาสนาก็เช่นเดียวกัน คือ ศึกษาเรื่องจิตที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ซึ่งยากที่จะเข้าใจถ้าไม่ฝึกปฏิบัติ


การค้นพบของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยสนับสนุนหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาในเรื่องของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อเรามองเห็นสิ่งต่างๆ ว่าไม่แน่นอนเช่นเดียวกับหลักการแห่งความไม่แน่นอน เราจะไม่ยึดมั่นถือมั่น แม้แต่คนที่เราคบหามานานก็ต้องเปลี่ยนไปเพราะมีเหตุปัจจัยมากมายที่ทำให้เขาเปลี่ยนไป เมื่อเราไม่สามารถที่จะรู้เหตุปัจจัยเหล่านั้นทั้งหมด เราก็ต้องทำใจยอมรับความไม่แน่นอน ตามหลักการแห่งความไม่แน่นอน นั่นคือตามหลักอนิจจัง คือความไม่เที่ยงในพระพุทธศาสนา


เหตุนี้คำสอนของพระพุทธศาสนาในหลายเรื่องจึงมีลักษณะเป็นเงื่อนไข เราไม่อาจฟันธงลงไปว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เวลาที่เรามองเห็นสรรพสิ่งเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ มันเป็นอย่างนั้นในตัวของมันเองหรือเราคิดไปเอง บางทีสรรพสิ่งที่เราเห็นนั้น มันไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิดหรือเราเข้าใจ มุมมองของเราต่างหากไปจัดให้มันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้


ในฟิสิกส์ควอนตัม เมื่อมองในมุมหนึ่ง เราจะเห็นว่าส่วนประกอบของอะตอมเป็นอนุภาค(Particle) เมื่อมองในอีกมุมหนึ่ง เราจะเห็นเป็นคลื่น(wave) ของสิ่งเดียวกันจึงมีสองลักษณะตามมุมมองของเรา ในทำนองเดียวกัน สิ่งที่เราเห็นในปัจจุบันอาจจะมีทั้งคุณและโทษก็ได้ นั่นขึ้นอยู่ที่ว่าเรามองสิ่งนั้นในมุมไหน


โลกเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับมุมมองของเรา ความจริงจึงเป็นเรื่องสัมพัทธ์ มันไม่ได้จริงในตัวมันเอง มันสัมพันธ์กับมุมมองของผู้มอง ดังที่ทฤษฎีสัมพัทธ์ของไอน์สไตน์ถือว่ากาลเวลาขึ้นอยู่กับจุดของผู้สังเกตการณ์ เหมือนกับที่เราพูดถึงองค์ประกอบของอะตอมว่าเป็นอนุภาคหรือคลื่นก็แล้วแต่มุมมองของเรา เพราะฉะนั้นโลกที่เรารับรู้จึงไม่ได้เป็น “ปรวิสัย”ทั้งหมด บางอย่างเป็น ”อัตวิสัย” คือเป็นโลกแห่งประสบการณ์ที่เราสร้างขึ้น ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสกับโรหิตัสสะเทพบุตรว่า
“เราบัญญัติโลก เหตุให้เกิดโลก ความดับโลก ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับโลก ในกายอันยาววาหนึ่ง มีสัญญา มีใจครอง”

ในพุทธพจน์นี้ โลกก็คือโลกแห่งประสบการณ์ของแต่ละคน


ในปรัชญาปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenology) เราเรียกโลกแห่งประสบการณ์ว่า “Lived World” คือโลกที่เราอยู่ หมายถึงโลกแห่งประสบการณ์ของเรา ไม่มีโลกแบบปรวิสัย มีแต่โลกที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างเราผู้มองกับสิ่งที่ถูกมอง เราให้ความหมายแก่โลกรอบตัวเราต่างกันไป ความหมายสำหรับโลกของเราย่อมต่างจากความหมายที่คนอื่นให้แก่โลกของเขา ดังเช่น ภูเขาสวยงามสำหรับนักท่องเที่ยวอย่างเรา แต่ภูเขาเดียวกันนั้นเป็นความท้าทายสำหรับนักปีนเขาหรือเป็นขุมทรัพย์สำหรับพวกต้องการระเบิดหินไปสร้างถนน


เพราะฉะนั้น หน้าที่ของจิตก็คือการให้ความหมายแก่โลก (Meaning-giving activity) และข้อสำคัญก็คือ เราจะให้ความหมายแก่โลกภายนอกตัวเราอย่างไร นั่นขึ้นอยู่กับตัวเราเอง โลกภายนอกเป็นอย่างไรไม่สำคัญสำหรับเรา ที่สำคัญคือเราตีตราหรือกำหนดความหมายให้คุณค่าแก่มันอย่างไรต่างหาก ถ้าเราตกอยู่ใต้อำนาจกิเลสตัณหา เราก็ตีค่าสถานการณ์ไปทางหนึ่ง แต่ถ้าเรามีธรรมประจำใจ เราก็ให้ความหมายแก่โลกไปอีกทางหนึ่ง


ธรรมะประจำใจช่วยสร้างกรอบในการมองโลกและให้ความหมายแก่โลกในทางสร้างสรรค์ ถ้าเรามองโลกด้วยเมตตา (ความรัก) และกรุณา (ความสงสาร) เราก็สามารถที่จะมองคนในแง่ดีและอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ ดังเช่นคนที่กำลังมีความรักย่อมมองโลกสดใสงดงาม แต่คนที่มองโลกด้วยความโลภ ความโกรธและความหลง โลกของเขาก็จะมีแต่ความเร่าร้อน


ดั้งนั้น “สุข” หรือ “ทุกข์” จึงชึ้นอยู่กับวิธีที่เรามองโลกหรือให้ความหมายแก่โลกแห่งประสบการณ์ของเรา ดังบทกลอนที่ว่า


สุขและทุกข์อยู่ที่ใจมิใช่หรือ
ถ้าใจถือก็เป็นทุกข์ไม่สุขใส
ถ้าไม่ถือก็ไม่ทุกข์พบสุขใจ
เราอยากได้ความสุขหรือทุกข์นา


ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธศาสนาเถรวาทของเราที่สอนเรื่องวิปัสสนา หรือเป็นพระพุทธศาสนามหายานที่สอนสมาธิแบบเซนต่างก็บอกวิธีมองโลกแบบเดียวกัน คือมองโลกให้เห็นศูนยตาหรือความว่างในสรรพสิ่ง ศูนยตาในมหายานก็คืออนัตตาในเถรวาทนั่นเอง สรรพสิ่งเป็นอนัตตาคือไม่มีแก่นสารก็เพราะมันเป็นศูนยตาคือว่างจากแก่นแท้ถาวร เมื่อใดจิตใจของเราหยุดปรุงแต่ง เราก็จะเห็นความว่างในจักรวาล ปริศนาธรรมหรือโกอานของพระพุทธศาสนานิกายเซนสอนให้เรามองโลกแบบศูนยตาคือว่างจากการปรุงแต่งที่ใจเราสร้างขึ้น พระพุทธศาสนาเถรวาทเรียกการมองโลกแบบนี้ว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ แปลว่ารู้เห็นตามความเป็นจริง

 
ปริศนาธรรมส่งท้าย

พระพุทธศาสนานิกายเซนตั้งปริศนาธรรมไว้ว่า เสียงปรบมือของมือสองข้างดังอย่างไรไม่ถาม แต่อยากทราบว่าเสียงของมือข้างเดียวดังอย่างไร ตอบว่า เสียงของมือข้างเดียวคือความเงียบที่เกิดจากการไม่ปรุงแต่ง สรรพสิ่งเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กันเหมือนกับเสียงปรบมือของมือสองข้าง ดังกรณีที่เราผู้มองโลกให้ความหมายแก่โลก หรือกรณีที่ปฏิสัมพันธ์ของอะตอมก่อให้เกิดสรรพสิ่งขึ้นในโลก เมื่อไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอะตอมก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นในจักรวาลนี้


ในเดือนกันยายน ๒๕๕๑ สถาบันฟิสิกส์ในเยอรมนีทดลองปล่อยให้โปรตอน 2 อนุภาควิ่งสวนกันด้วยความเร็วแสงในอุโมงค์ใต้ดินยาว 27 กิโลเมตร ถ้าโปรตอนชนกันก็จะเกิดพลังงานมหาศาล เรียกว่าเป็นการระเบิดครั้งใหญ่ (Big Bang) ขนาดย่อม ซึ่งจะช่วยไขปริศนาที่ว่าจักรวาลนี้ก่อกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร


การทดลองที่นักวิทยาศาสตร์ทำให้โปรตอน 2 อนุภาคชนกันอย่างนี้ช่วยให้เข้าใจเรื่องกำเนิดของจักรวาล ความเข้าใจเรื่องอะตอมในฟิสิกส์ควอนตัมนำไปสู่การไขปริศนาความลับของกำเนิดจักรวาล จากความรู้ในเรื่องจุลภาคนำไปสู่ความเข้าใจในระดับมหภาค ในทำนองเดียวกัน การรู้จักธรรมชาติของจิตใจของตนเองอย่างดีก็ทำให้พระพุทธเจ้าทรงเป็นโลกวิทูคือรู้จักโลกทั้งโลก เหมือนกับการที่เรารู้จักใบไม้หนึ่งใบเป็นอย่างดีก็ทำให้เรารู้จักใบไม้ในป่าทั้งป่า


การศึกษาทำความเข้าใจฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เราเข้าใจพระพุทธศาสนาในมุมองใหม่ได้มากขึ้น แม้จะมีความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับฟิสิกส์ควอนตัมอยู่บ้าง ความแตกต่างนั้นมีแต่จะทำให้เราเกิดความสนใจว่าทำไมจึงต่างกัน ทั้งนี้เพราะเหตุผลที่ว่า ผู้ที่เหมือนกันย่อมจะคบหากัน ผู้ที่แตกต่างกันย่อมจะสนใจกัน
 
 
 
 
ที่มา : สารจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
 
http://www.mcu.ac.th/site/
4560  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / Re: พระพุทธศาสนา ไม่เคยทะเลาะ กับ วิทยาศาสตร์ เมื่อ: 13 มิถุนายน 2553 14:23:04

 
ควอนตัมกับพุทธธรรม

ความก้าวหน้าของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เราเข้าใจในพระพุทธศาสนาได้มากขึ้นอย่างไร ?
 
ประการแรก ฟิสิกส์ควอนตัมช่วยสนับสนุนเรื่องอนัตตาในพระพุทธศาสนา นั่นคือทั้งพระพุทธศาสนาและทฤษฎีควอนตัมต่างยืนยันว่าไม่มีอะตอมหรืออัตตาที่แบ่งแยกไม่ได้ อะตอมหรืออัตตาเป็นสิ่งที่แบ่งย่อยออกไปได้ ไม่มีอะไรที่เป็นแก่นสารตั้งอยู่ได้ตามลำพังตนเอง ทุกสิ่งทุกอย่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้นตามหลักปฏิจจสมุปบาท

ประการต่อมา หลักการแห่งความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle) ของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เราเข้าใจคำสอนเรื่องอนิจจังคือความไม่เที่ยงในพระพุทธศาสนาได้ดียิ่งขึ้น
อนิจจังหรือความไม่เที่ยงนี้มีเหตุ มีปัจจัย มีตัวแปรมากมายเกินกว่าที่จะมาคิดในเชิงนิยัตินิยมแบบนิวตัน ดังที่หลักกรรมในพระพุทธศาสนากำหนดว่า “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว” เมื่อพูดถึงพระพุทธศาสนากับฟิสิกส์ควอนตัม คนมักสงสัยว่าความเชื่อของชาวพุทธในเรื่องกฎแห่งกรรมจะขัดกับหลักการของฟิสิกส์ควอนตัมหรือไม่?

ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจกฎแห่งกรรมในมุมมองที่ว่า ใครก็ตามที่เชื่อว่าปัจจุบันที่เราเป็นอยู่นี้เป็นผลมาจากกรรมในอดีต





ความเชื่อนี้ถูกต้อง

แต่ใครที่เชื่อว่ากรรมที่เราทำทุกอย่างในวันนี้เราจะต้องได้รับผลในอนาคตอย่างแน่นอน


ความเชื่อนี้ผิดหลักพระพุทธศาสนา


เพราะอะไร? ก็เพราะถ้าคิดว่ากรรมที่เราทำทุกอย่างในวันนี้ เราจะต้องได้รับผลหรือวิบากตามในอนาคตทั้งหมด คนที่ทำบาปกรรมมามากก็ไม่สามารถจะเป็นพระอริยะได้เพราะเขาต้องไปชดใช้กรรมไม่รู้จักจบสิ้น

หลักคำสอนของพระพุทธศาสนามีอยู่ว่า เราสามารถทำกรรมดีในปัจจุบันเพื่อล้างบาปกรรมในอดีตได้ เราจึงสามารถเปลี่ยนอดีตได้ ด้วยเหตุนี้ คนเคยทำบาปก็สามารถเป็นพระอรหันต์ได้ ชีวิตของเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการทำกรรมดีในปัจจุบัน

หลักการแห่งความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle) ของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยทำให้เราสามารถสร้างอนาคตของเราได้ใหม่ ชีวิตของเราไม่ได้ถูกลิขิตตายตัวจากอดีต ชีวิตของเรามีความไม่แน่นอนรออยู่ข้างหน้า ถ้าเราหมั่นทำดี เราก็จะเจริญก้าวหน้า

เป็นการยากที่จะพยากรณ์ล่วงหน้าได้ว่าคนที่ทำดีอย่างนั้นๆจะได้ดีในอนาคตเมื่อไร เพราะมีตัวแปรมากมาย เนื่องจากคนเราทำกรรมทั้งดีและชั่วคละเคล้ากันไป จึงเป็นการยากที่จะบอกว่าที่คนคนนี้ได้ดีครั้งนี้เพราะทำความดีนั้นไว้เมื่อวันนั้นวันนี้ในอดีต พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เส้นทางการให้ผลของกรรมเป็นอจินไตย คือเป็นเรื่องที่ไม่ควรคิดปัจจัยตัวแปรมากจึงมีความไม่แน่นอนอยู่เสมอ
ครั้งหนึ่งหลวงพ่อชาวัดหนองป่าพงถูกลูกศิษย์ขอร้องให้ทำนายทายทักโชคชะตาอนาคตของเขา ท่านทนรบเร้าไม่ไหวจึงบอกให้เขาแบมือยื่นมาให้ท่านดูลายมือ หลวงพ่อชาเพ่งดูลายมือลูกศิษย์อยู่พักใหญ่แล้วพึมพำว่า “น่าสนใจ น่าสนใจ” ลูกศิษย์ถามว่า “อนาคตผมเป็นอย่างไรหรือครับ” หลวงพ่อชาตอบว่า “อนาคตของคุณน่าสนใจเพราะมันมีแต่ความไม่แน่นอน”

เป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่า “Uncertainty (ความไม่แน่นนอน)” ซึ่งเป็นหลักการหนึ่งของฟิสิกส์ควอนตัม ก็ตรงกับคำว่า “อนิจจตา (ความไม่เที่ยง)” ในพระพุทธศาสนา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาเรื่องโครงสร้างของอะตอมกลับยิ่งมาส่งเสริมความเข้าใจในเรื่อง “ทุกขัง (เป็นทุกข์)”


คำว่าทุกข์มี 2 ความหมายที่สำคัญคือประการแรกทุกข์หมายถึง “ทุกขเวทนา” ได้แก่ความไม่สบายกายไม่สบายใจซึ่งหมายของทุกข์ในอริยสัจ ทุกข์ในอีกความหมายหนึ่งคือ “ทุกขลักษณะ” ซึ่งเป็นทุกช์ในไตรลักษณ์ ทุกขลักษณะหมายความว่า สรรพสิ่งตกอยู่ภายใต้การบีบคั้นให้ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราโยนก้อนดินขึ้นไปบนท้องฟ้าแล้วมันก็ต้องตกลงมาแตกบนพื้นดิน การที่ก้อนดินตกลงมาแตกเป็นอนิจจังคือความไม่เที่ยง แต่เหตุที่ก้อนดินตกลงมาจากท้องฟ้าก็เพราะถูกแรงดึงดูดของโลกบีบคั้นให้ต้องตกลงมา ก้อนดินไม่อาจจะอยู่บนฟ้าเพราะมีแรงที่ไปกด ไปบีบ ไปดึงก้อนดินให้ตกลงมานั่นแสดงว่าก้อนดินเป็น“ทุกขัง” คือทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก
ในจักรวาลนี้ไม่มีอะไรที่อยู่ได้ด้วยตัวของมันเองโดยไม่ถูกกระทำจากพลังอื่น อีเล็คตรอน โปรตอนและนิวตรอนไม่ได้อยู่ตามลำพัง มันมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันก่อให้เกิดพลังบีบถูกคั้นให้ต้องเปลี่ยนแปลง มันจึงเป็นทุกขัง คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้


การที่อนุภาคพื้นฐานของอะตอมอยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ก็หมายถึงว่ามันเป็น“อนัตตา”คือไม่มีแก่นสารของตัวเอง ไม่มีสิ่งใดที่ตั้งอยู่ถาวรด้วยตัวของมันเอง สรรพสิ่งต่างอาศัยกันและกันเกิดขึ้นตามหลัก “ปฏิจจสมุปบาท” ซึ่งมาจากคำว่า “ปฏิจจะ” แปลว่า อาศัยกันและกัน “สมุปบาท” แปลว่า เกิดร่วมกัน

ในโลกนี้ไม่มีอะไรอยู่ได้ด้วยตัวลำพังของมันเอง เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนั้นก็มี เมื่อสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นก็เกิด เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นก็ดับ เรื่องนี้เรานำมาโยงกับเรื่องอริยสัจ 4 ในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

มีทุกข์เพราะมีสมุทัยคือมีเหตุแห่งทุกข์ เมื่อดับเหตุได้ก็เกิดนิโรธคือความดับทุกข์ จะดับทุกข์ได้ก็ต้องมีมรรคคือวิธีการดับทุกข์ นี่คือประยุกต์ปฏิจจสมุทปบาทเอามาใช้ในชีวิตจริง
 
สติกับควอนตัม

ในการประยุกต์ปฏิจจสมุทปบาทเอามาใช้ในชีวิตจริงนั้น ตัวมรรคหรือวิธีปฏิบัติที่เป็นหัวใจสำคัญก็คือ “สติ” เรามักจะพูดว่า “สติมาปัญญาเกิด สติเตลิดมักเกิดปัญหา” เวลาที่เรามีความทุกข์ในใจ เวลาเราเครียด เวลาเรากลุ้ม เวลาเราโกรธ เราจะดับทุกข์ได้อย่างไร

สติมี 2 อย่างคือ 1. ระลึกรู้ทันสิ่งที่เกิดกับเรา อย่างเช่น มองเห็นสิ่งต่างๆ ภายนอกในขณะปัจจุบันนี้ หรือเสียงที่เข้าหูเรา ปัจจุบันอยู่ตรงไหนรู้ทันหมด เหมือนเราขับรถก็เห็นไฟเขียวไฟแดง นี่คือมีสติกับสิ่งภายนอก 2. ระลึกรู้ทันความคิดที่เกิดขึ้นในจิตของเรา เวลาเราเห็น เวลาเราฟังแล้วคิดอย่างไร เรารู้ทันความคิดที่มาเกิดขึ้นภายในจิตใจ เราก็เรียกความรู้ทันนี้ว่าสติ เช่น จิตโกรธก็รู้ว่าโกรธ เซ็งก็รู้ว่าเซ็ง เครียดก็รู้ว่าเครียด

ฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เข้าใจเรื่องสติได้อย่างไร ?

ทฤษฎีเรื่องความไม่แน่นอนของฟิสิกส์ควอนตัมช่วยให้เราเข้าใจว่า เมื่อเราพยายามจะสังเกตความเร็วหรือธรรมชาติของอีเล็คตรอน เราก็จะต้องหยุดอีเล็คตรอนไม่ให้เคลื่อนที่ พออีเล็คตรอนหยุดมันก็จะเสียความเคลื่อนไหว ธรรมชาติของมันก็เปลี่ยนไป เราก็ศึกษาธรรมชาติของมันไม่ได้ นี่เรียกว่ามีผลกระทบจากผู้สังเกตต่อสิ่งที่ถูกสังเกต การสังเกตได้เข้าไปเปลี่ยนธรรมชาติของสิ่งที่ถูกสังเกต มันจึงมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น เมื่อเราไปเข้าสังเกตหรือศึกษามันเมื่อใด มันก็เปลี่ยนแปลงไปเมื่อนั้น

เพราะฉะนั้นสิ่งนี้ก็คือความไม่แน่นอน

แม้แต่ในทฤษฎีสัมพัทธ์ก็เหมือนกัน “กาละ” หรือ “เวลา” ขึ้นอยู่กับจุดที่เราสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เคลื่อนไหว คนคนหนึ่งไปสังเกตสิ่งหนึ่งตรงจุดนี้ เวลาขณะนั้นผ่านไปช้ามาก เช่น เวลาแห่งการรอคอยที่ผ่านไปอย่างเชื่องช้า อีกคนหนึ่งไปสังเกตสิ่งหนึ่งอยู่ที่อื่นเวลาก็ผ่านไปเร็วมาก ดังเช่น เมื่อเรามีความสุข เวลาผ่านไปอย่างกับมีปีกบิน เวลาจึงเป็นเรื่องของความสัมพัทธ์ตามทฤษฎีของไอน์สไตน์

ในทำนองเดียวกัน สิ่งที่อยู่ภายในตัวเราคือจิต มันเคลื่อนที่เร็วมาก มันเกิดดับเร็วมาก โกรธขึ้นมาปั๊บเราไม่ทันรู้ตัวเราเลย เมื่อเครียดขึ้นมา ความเครียดก็ท่วมทับจิตใจของเรา โดยที่เราไม่ได้สังเกตมันเลย และเราก็มักจะปล่อยให้ความทุกข์มันท่วมหัว เราเครียด เราทุกข์ โดยไม่เคยหันมาสังเกต สภาวะจิตของเราในขณะนั้นเลย

ถามว่าเราจะสามารถสังเกตสภาวะของจิตในขณะปัจจุบันได้หรือไม่ ?

คำตอบก็คือไม่ได้


สมมติว่าตอนนี้เรากำลังมีความสุขเหลือเกิน มีความสุขจากการทานอาหารที่อร่อย ถามว่ารู้ได้อย่างไรว่าอร่อย เราเอาจิตมองมาที่ความรู้สึกของเรา จิตเกิดต่อกันเป็นกระแสอย่างนี้ จิตปัจจุบันจะไม่สามารถรู้ตัวของมันเอง จิตที่มีความรู้สึกว่าอร่อย มันเป็นคนละดวงกับจิตที่สังเกตความรู้สึกอร่อย

จิตผู้สังเกตเป็นดวงปัจจุบัน ขณะที่จิตที่ถูกสังเกตเป็นดวงจิตอดีต จิตที่เป็นปัจจุบันจะมองหรือเพ่งตัวเองไม่ได้ เหมือนกับคมมีดที่ไม่อาจจะตัดตัวมันเองหรือเหมือนกับไฟฉายที่ส่องไปที่อื่น ไฟฉายส่องตัวเองไม่ได้ จิตในปัจจุบันจึงสังเกตรู้จิตที่เป็นอดีตเท่านั้น เมื่อหนึ่งนาทีที่ผ่านมาท่านรู้สึกอย่างไร ท่านกำหนดรู้ได้ อธิบายได้ เพราะเป็นการใช้จิตปัจจุบันมองจิตอดีต

ถามว่าเป็น ‘อดีต’ ที่แท้จริงหรือเปล่า ?

นี่ก็เหมือนกับหลักการแห่งความไม่แน่นอนในทฤษฎีควอนตัม พอเราไปหยุดจิตเพื่อศึกษามัน มันก็ไม่เป็นความจริงร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะจิตได้สูญเสียความเป็นผู้รู้ (subject) และกลายเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดรู้ (object) ยกตัวอย่างการที่เราผิดหวังเพราะไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง ฟังข่าวครั้งแรกนี่ช็อคเลย ทำไมเจ้านายทำกับเราอย่างนี้ เราอุตส่าห์ขยันทำงาน บุญก็ทำมามาก เราช็อคจนทำอะไรไม่ถูกแล้วก็ไม่มีความสุข


พอผ่านไปอีก 5 วัน ความรู้สึกมันคลายลงไป หายช็อค หายทุกข์ หายเครียด แล้วเราก็มองย้อนกลับมาดูตอนที่เราได้ฟังข่าวครั้งแรกที่เราเครียด เราช็อค รู้สึกผิดหวัง เราย้อนมองความรู้สึกตอนนั้น ถ้าให้บรรยายราก็สามารถที่จะบอกได้ว่าช็อคอย่างนั้นเสียใจอย่างนี้

แต่สิ่งที่บอกเล่าวันนี้ไม่ใช่ความรู้สึกที่แท้จริงเมื่อสามวันก่อน ยิ่งเวลาผ่านไปปีหนึ่ง เรายิ่งรู้สึกเฉยมากกับเหตุการณ์ครั้งนั้น แม้เราพยายามจะฟื้นความรู้สึกนั้นมันก็ไม่กลับมา มันเป็นความทรงจำที่ลางเลือน ไม่เข้มข้นเต็มที่เหมือนตอนที่เราได้ฟังข่าวร้ายครั้งแรก

เพราะอะไร


ก็เพราะสถานะของเราในปัจจุบันมันไปกระทบกับสิ่งที่ถูกมอง เราไม่ได้ไปเสวยอารมณ์ในอดีต เรามองอดีตเหมือนกับสิ่งที่อยู่ภายนอก เหมือนกับไม่ใช่ตัวของเรา ผลก็คือผู้มองได้เปลี่ยนสถานะความเป็นจริง เปลี่ยนความเข้มข้นของสิ่งที่ถูกมองในกระแสจิตเดียวกัน


ทำไมต้องรอให้มันผ่านไปสามวัน เราค่อยมามองตัวเอง ทำไมจึงไม่มองตัวเองในวินาทีแรก?
ในขณะที่เรากำลังโกรธ ถ้าเราลองเอาจิตของเรามองความโกรธของเราเองทันที การมองจะเปลี่ยนสถานะของสิ่งที่ถูกมอง นั่นคือ ความโกรธจะลดลงทันที

นี่คือหลักในการปฏิบัติธรรม


ถ้าอธิบายด้วยหลักของฟิสิกส์ควอนตัมก็คือว่าผู้สังเกตได้ไปจับสิ่งที่สังเกตให้หยุดนิ่งจนมันเปลี่ยนสถานะ ตัวอย่างเช่น เรากำลังร้องเพลงคาราโอเกะอย่างสนุกสนานกับเพื่อนๆ ทันทีนั้นเรานึกถึงตัวเองว่าเรามาทำบ้าอะไรอยู่ที่นี่ ลูกกำลังอดข้าวอยู่ที่บ้านยังจะมาร้องเพลงอยู่อีกหรือ


เห็นอะไรไหม?
จิตเปลี่ยนไปเลยใช่หรือไม่?


เพราะผู้สังเกตได้เปลี่ยนสิ่งที่ถูกสังเกตนั่นก็คือเปลี่ยนตัวเอง เหมือนกับการปฏิบัติกรรมฐาน หลายคนพอนั่งกรรมฐานทีไรฟุ้งซ่านทุกที ลืมกำหนดหายใจเข้า หายใจออก คิดเตลิดไปไหนก็ไม่รู้ เห็นภาพอะไรเต็มไปหมด อาจารย์สอนว่า เวลาจิตคิดฟุ้งซ่านให้กำหนดรู้ว่าฟุ้งหนอ ฟุ้งหนอ เรากำลังฟุ้งคิดอะไรให้รู้ทันว่ากำลังคิด


พอเราเอาจิตไปมองจิตที่กำลังฟุ้ง มันจะหยุดกระแสของความฟุ้งซ่านทันที เพราะผู้สังเกตมีผลกระทบต่อสิ่งที่ถูกสังเกต ถ้าเวลาที่เราโกรธ เรามีสติกำหนดรู้ว่าเรากำลังโกรธ ความโกรธจะลดลงทันที ตรงกับหลักการแห่งความไม่แน่นอน (Uncertainty Principle) ที่ผู้สังเกตมีผลกระทบต่อสิ่งที่ถูกสังเกต เราเอาใจมองใจ ใจที่มองจะมีผลกระทบต่อใจที่ถูกมอง


แต่สิ่งสำคัญก็คือ ต้องมีสติทันที เช่นพอโดนด่าว่าแล้วเกิดความโกรธ เราย้อน มองตัวเองทันทีว่าทำไมต้องโกรธ พอเรามองดูความโกรธเท่านั้น ความโกรธก็จะเจือจางลงทันที
ปัญหาก็คือ เราไม่ได้ฝึกสติ สติจึงมาไม่ทัน เราก็เลยสติแตกเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นถ้าสติมาปัญญาก็เกิด คือเห็นตัวเองตามความเป็นจริง แต่ถ้าสติเตลิด มักเกิดปัญหา เพราะฉะนั้นในการปฏิบัติธรรมเราต้องฝึกมองด้านในคือมองตน ดังคำกลอนที่ว่า


โลกภายนอกกว้างไกลใครๆ รู้
โลกภายในลึกซึ้งอยู่รู้บ้างไหม
จะมองโลกภายนอกมองออกไป
จะมองโลกภายในให้มองตน


โลกภายนอกในระดับมหภาคขึ้นอยู่กับกฎแห่งเหตุผลในฟิสิกส์ดั้งเดิม แต่โลกภายในอะตอมระดับจุลภาคขึ้นอยู่กับหลักการแห่งความไม่แน่นอนในฟิสิกส์ควอนตัม การที่พระพุทธศาสนาสอนให้มองด้านใน เราก็มองให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาภายในจิตใจ
หน้า:  1 ... 226 227 [228] 229 230 ... 236
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 2.711 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 07 เมษายน 2561 08:03:22