[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
02 พฤษภาคม 2567 01:04:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 ... 234 235 [236]
4701  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / Re: จงฝึกมหาสติ เพื่อช่วยโลก ( หลวงปู่พุทธะอิสระ ) เมื่อ: 12 มีนาคม 2553 09:27:13
ภาพงานวันตรุษจีน
 
 

 
 
 

 

พระบาทองค์พระนาคปรกและพระหัตถ์ ที่ประดิษฐานอยู่หน้าโรงเจ ให้สาธุชนได้มีโอกาสปิดทอง ก่อนนำขึ้นประดิษฐานกับองค์ใหญ่ที่สูงถึง 60 เมตร
 
 
 

หลวงปู่นำเจริญพระพุทธมนต์ ทุกวันช่วงเทศกาลตรุษจีนที่หน้าโรงเจหอคุณธรรมฟ้า ในเวลา 18.00 น.พร้อมทั้งสาธุชนที่มาร่วมทำบุญ
 


หลวงปู่ทำพิธีปลุกเสกองค์พระนาคปรกจำลองหน้าตัก 5 นิ้ว
 


 

 
 
 

 
 
 

 
 
 

 
 
 
 
 

 
 
 



มีอีกเพียบ เก็บภาพไปได้ จ้า สาธุ

http://www.onoi.org/index.php?option=com_phocagallery&view=category&id=29:-2553&Itemid=82
4702  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / Re: จงฝึกมหาสติ เพื่อช่วยโลก ( หลวงปู่พุทธะอิสระ ) เมื่อ: 12 มีนาคม 2553 09:25:04




ลูกรัก...

คราใดที่เจ้ารู้สึกตัวว่า เจ้าอยู่ในพระพุทธศาสนานี้    
 ครานั้น เจ้าคือคนของพระศาสนา

คราใดที่เจ้าเป็นคนของพระศาสนา    
ครานั้น เจ้าก็ต้องทำงานให้กับพระศาสนา


คราใดที่เจ้าทำงานให้กับพระศาสนา    
ครานั้น เจ้าก็ต้องทำความเจริญให้กับพระศาสนา

คราใดที่เจ้าทำความเจริญให้กับพระศาสนา    
ครานั้น เจ้าจงรู้ไว้เถิดว่า เจ้ากำลังทำความเจริญให้กับจักรวาล
และตัวเจ้าเอง
4703  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / Re: จงฝึกมหาสติ เพื่อช่วยโลก ( หลวงปู่พุทธะอิสระ ) เมื่อ: 12 มีนาคม 2553 09:23:27
ภาพงานกิจกรรมวันปีใหม่ 2010
 
4704  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / ธรรมะจากทองผาภูมิ เมื่อ: 12 มีนาคม 2553 09:19:05



ธรรมะจากทองผาภูมิ
10-13 ธันวาคม 2552
เราจะมีการฝึกเคร่งครัดอย่างยิ่งเพื่อให้เกิด ตัวรู้ ให้ท่านผู้รู้เติบโตในจิตวิญญาณ แล้วความรู้รอบ ๆ ตัว  ความเข้าใจความจริงของธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ชีวิต จิตวิญญาณ ก็จะหลั่งไหลมาเอง  สิ่งสำคัญคือ เราต้องมีการเตรียมการให้พร้อม  เช่น การตั้งใจ  ไม่ควรสนใจสิ่งอื่นนอกตัว ให้มีแต่ตัวกูล้วน ๆ มีแต่มึงกับกู
  • กติกาการศึกษา 4 ข้อ :
[LIST=1]
  • ไม่พูด ไม่สนใจเรื่องนอกตัว
  • อยู่อย่างเป็นผู้ที่พึ่งตัวเองได้ และเป็นที่พึ่งให้ผู้อื่นได้  ทำ พูด คิด ด้วยจิตสาธารณะ
  • อย่าทำหรืออยู่เพราะแรงผลักดันของตัณหาพาไป
  • ให้เกียรติและเคารพกัน มีคารวะธรรมในใจ
  • วิเคราะห์สาระจากพระไตรปิฏก บุคคลผู้มีราตรี 1 เจริญ
[LIST=1]
  • บุคคล 3 จำพวก :
  • 1. บุคคลที่คำนึงถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว – เราได้มี รูป เวทนา สัญญา  สังขาร  วิญญาณ ในสิ่งที่ล่วงแล้ว
  • 2. บุคคลผู้มุ่งในสิ่งที่ยังไม่มาถึง - ขอเราพึงมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างนี้ในอนาคต
  • 3. บุคคลผู้เห็นแจ้งในปัจจุบัน /ไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนในธรรมที่เป็นปัจจุบัน  ได้แก่ บุคคลที่เห็นพระอริยเจ้า /สัตตบุรุษ , บุคคลผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้าและสัตตบุรุษ, บุคคลผู้ปฏิบัติตามธรรมของพระอริยเจ้าและสัตตบุรุษ
[LIST=1]
  • บทวิเคราะห์ โดยหลวงปู่พุทธะอิสระ :
  • พระพุทธเจ้าทรงยกเอาขันธ์ 5 มาอธิบาย ว่า บุคคลผู้อยู่ในปัจจุบันจริง ๆ นั้นจะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่งมีอยู่ในขันธ์ 5 เห็นแจ้งความไม่เที่ยงของขันธ์ 5 ในปัจจุบัน
  • บุคคลผู้อยู่ในปัจจุบันธรรม จะไม่เกิดอนาคต สังขารทั้งหลาย (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ตั้งอยู่แล้วดับไป  เราก็จะรู้ว่ามันจะไม่ส่งผลไปในอนาคตได้  เพราะเห็นมันดับไปในปัจจุบัน  ถ้ามีปัญญารู้ชัดอย่างนี้อนาคตก็จะดับสูญลงไปด้วย  แต่เพราะเรารู้ไม่ชัดจึงไปปรุงแต่งปัจจุบัน จึงเกิดอนาคตขึ้นมา
  • สิ่งที่ล่วงไปแล้วสังขารที่ล่วงไปแล้ว  เราจะเห็นได้เมื่อเรารู้ในปัจจุบัน  สิ่งใดที่ล่วงไปแล้วไม่มีตัวตน ที่เรามีตัวกู ของกู คือ เรามีอุปาทาน ความไม่รู้
  • เราเจริญได้ด้วย 1 วินาทีเดียว (ปัจจุบันธรรม) จะเจริญด้วยเรื่องอันใดก็ตาม ก็มีเพียงขณะเดียวเท่านั้น  ที่เหลือเป็นกระบวนการสืบเนื่องต่อ ๆ มา กระบวนการของ ตัณหา ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ  เข้ามาหล่อเลี้ยงทำให้อายุขัยสืบเนื่อง
  • พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนว่า เรามีชีวิตจริงแค่ 1 วินาที (ขณะจิต) เท่านั้น วินาทีต่อไป ขึ้นกับว่าอะไรมาหล่อเลี้ยงเรา : เป็นทางเจริญ หรือเสื่อม
- หนทางที่เจริญ : คือการหล่อเลี้ยงของวิชชา
- หนทางอันเสื่อม :  อวิชชาเลี้ยง
ถ้าเรามีชีวิตอยู่ 100,000 วินาที ด้วยความดี  ก็เป็นความต่อเนื่องของ บุญของวิชชา
ถ้าเรามีชีวิตอยู่ 100,000 วินาที ด้วยความอัปรีย์  ก็เป็นความต่อเนื่องของ บาปของอวิชชา
เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับว่า 1 วินาทีนั้น ถูกอะไรหล่อเลี้ยง  บุญ /บาป , วิชชา / อวิชชา   นั่นคือกรรม
  • อย่าเข้าใจผิดว่าเรามีอายุยืน ทุกคนมีชีวิตแค่วินาทีเดียวเท่านั้น ชีวิตของสัตว์ มีวินาทีเดียว คือวินาทีที่มาปฏิสนธิในครรภ์มารดา แล้วต่อจากนั้นเป็นการมาหล่อเลี้ยงของกรรม
  • การเกิดเป็นมนุษย์เป็นได้ยาก และเป็นผู้ใหญ่กว่าสัตว์อื่น ๆ เพราะเราสามารถเลือกชีวิตเราให้วิชชาเจริญขึ้นได้  ดังนั้น
- ความดีเราจึงต้องสะสม ให้บ่อยมาก และถี่มาก วินาทีต่อวินาที
- ความไม่ดีเราจึงต้องละ ให้บ่อยมาก และถี่มาก วินาทีต่อวินาที ไม่ใช่ 1 วัน หรือ 1 ปี
  • มนุษย์ ถือว่าเป็นผู้ใหญ่ เพราะสามารถพัฒนาได้ ไม่ตัน สามารถเลือกทำกรรมได้  เทวดาพรหมยังไม่ใหญ่ เพราะมันตัน เลือกไม่ได้
    • สัตว์เดรัจฉาน  ทำตามสัญชาติญาณ
    • เทวดา ทำตามโปรแกรมบุญที่ได้มา
    • มนุษย์ไม่มีโปรแกรม เดี๋ยวก็ชั่วได้ เดี๋ยวก็ดีได้ อยู่ที่เราเลือกให้วินาทีนั้นมี กุศล หรืออกุศล ชี้ชวน
    • ธรรมชาติของมนุษย์ไม่เป็นไปตามกติกา ตารางสอน มนุษย์จะเป็นไปตามสิ่งเร้า ชักชวน หรือเสพย์ ดังนั้นมนุษย์ผู้ปัญญาเท่านั้นที่จะมีพลังในการคัดสรร และสร้างวิธีการพัฒนาตน คือ สร้างสิ่งเร้าองค์ประกอบในเชิงบวกให้มีมากขึ้น  เพื่อให้ชีวิตของเราทุกวินาทีไม่ตกเป็นทาสของซาตาน
สรุป : 1. ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตา การจะรู้ชัด รู้จักของจริง ต้องเป็นผู้มีปัญญา รู้ชัดในปัจจุบันขณะ ( 1 วินาที)
2. การปรุงแต่ง / สังขาร / อายุขัย / การสืบเนื่อง  ของแต่ละขณะจิต เป็นการกระทำของกรรมซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ เท่านั้น คือ  บุญ (วิชชาเลี้ยง)  ,  บาป (อวิชชาเลี้ยง)
3. ผู้มีปัญญาจะเจริญทุกวินาที  (วิชชาเลี้ยง)  -  ผู้ไม่มีปัญญา ก็อัปรีย์ทุกวินาที (อวิชชาเลี้ยง)  ซึ่งเราเลือกได้   เพราะฉะนั้นปัญญาเท่านั้น ที่จะให้เราได้รู้ทันวินาทีนั้น  จึงต้องสั่งสมอบรม
4. การสั่งสมปัญญา มาเลี้ยงดูจิต โดยวิธีการ ฟัง เรียน อบรม ลงมือทำ เพื่อป้องกันกรรมชั่วทั้งปวง ให้ชีวิตเรามีวินาทีที่ดีหลาย ๆ วินาที..จนถึงทั้งวัน.. ทั้งปี.. ทั้งชีวิต



  • หลักการปฏิบัติปราณโอสถ  การฝึกเดิน / เคาะนิ้ว ปรัชญาปรามิตาสูตร :
ชีวิตจริง ๆ ของเรามีอยู่แค่ 1 วินาทีเท่านั้น   เรามาทำของใหม่ที่เป็นปัจจุบันธรรม  ให้ (เจริญ) เป็นบุญ เป็นสติ สมาธิ ปัญญา หล่อเลี้ยงจิตตลอด 1 ชม.
- การเคาะนิ้ว 1 ครั้ง  หรือก้าวเดินตามจังหวะ 1 ก้าว =1 วินาทีอันเจริญของเรา
- ให้เราเคาะให้ชัด การเคาะชัดแสดงว่าชีวิตของเราไม่ขาด ไม่เกิน มีความเหมาะสมและซื่อตรงดี
- พยายามสลับนิ้วไปมา เคาะให้ได้ทั้ง 3 ข้อนิ้ว เพื่อฝึกความคล่องของสัมปชัญญะ ไม่ใช้สัญญา
- ก้าวเดินพร้อมเสียงป็อก 3 อย่างต้องรวมเป็น 1 : หูได้ยินเสียง / ใจรู้ / เท้าก้าวเดิน
- ฝึกให้เผชิญกับการเปลี่ยนจังหวะอย่างต่อเนื่อง   ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงจังหวะ ก้าว/ เคาะ 
จิตต้องไม่กระเพื่อม
มีสติรักษาภายใน พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง
- การเดินขั้น 3 ประกอบลมหายใจ เป็นขั้นที่เกิดปราณ และโคจร  ต้องไม่กลั้นลม (ท่อต้องไม่ตัน) ไม่   
ขังมันไว้ที่ใด ต้องให้ปราณแล่นไปทั่วร่างกาย
- เมื่อเดินขั้น 3 แล้ว ต้องสลับมาเดินขั้น 2 เป็นขั้นผ่อนคลาย เพื่อสลายปราณที่เกิดขึ้น
- สภาวะธรรมในการเดิน / เคาะจังหวะ: ถ้าทำถูกต้อง เราจะสามารถรู้ล่วงหน้าว่าเสียงป็อกจะมาเมื่อใด (จิตรู้)  สัมปชัญญะจะเตรียมกายเหมาะสม  พัฒนาการของจิตจะสูงขึ้น ตัวรู้มีความใสสะอาดมากขึ้น  ความไวของจิตจะมากขึ้น ทำให้เราเหมือนจะรู้ล่วงหน้าว่า จะเกิดขึ้นเมื่อใด
 
  • การฝึกเจริญมนต์ : ตาดูมนต์  ใจรู้มนต์  ปากอ่านมนต์
แม้เมื่อมีเสียง หรือสถานการณ์รบกวนจากภายนอกต่างๆ เช่น เสียงเพลง โยนถาด ฯลฯ  จิตต้องไม่กระเพื่อม  มีสติรักษาภายใน จรดจ่อกับการงานที่กำลังทำอย่างซื่อตรง
  • ปัจฉิมโอวาท :
[LIST=1]
  • ผู้บริหารที่ดี ที่วิเศษยิ่งใหญ่ ไม่ใช่บริหารตัวเลข แต่เป็นการบริหารเวลา และอารมณ์  บริหารทุกเสี้ยววินาทีให้มีกำไรทุกวินาที ให้เรามีอารมณ์เป็นสุขทุกวินาที
  • การบริหารชีวิตให้เป็นสุข คือ ชีวิตของเรามีเพียงชั่วขณะเดียว ขณะหนึ่งเท่านั้น  อายุ 20 ปี มันตั้งอยู่แค่ขณะเดียว เวลาเป็นสิ่งที่ผ่านมาผ่านไป   หากเรายังไม่ได้ทำเท่าที่เราเสียไป เท่ากับว่าเราเสียชีวิตช่วงนั้น ๆ ของเราไป  เราจึงต้องมีความเพียร และมีอัปปมาทะธรรม คือความไม่ประมาท
  • อยากให้ลูกหลาน อยู่อย่างไม่ประมาท มัวเมา ในการทำภาระกรรมของตน ๆ
  • ชีวิตของเรามีแค่ 1 ขณะจิต ขณะนั้นจะสุข ทุกข์ , ดี-ชั่ว, ได้-เสีย : ขึ้นอยู่กับเราเลือก
  • เป็นผู้ซื่อตรง ทำ พูด คิด เรื่องเดียวกัน
-----------------
สรุปโดยคุณปู : 15 ธค. 52
    http://www.onoi.org/index.php?option=com_content&view=article&id=178:2009-12-16-03-43-08&catid=35:2009-04-14-16-21-52&Itemid=59
    4705  สุขใจในธรรม / ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก / Re: น้องหมา 2 ขาหัวใจแกร่ง เมื่อ: 12 มีนาคม 2553 09:01:39







     








    http://picpost.mthai.com/view_picpost.php?cate_id=28&post_id=376913
    4706  สุขใจในธรรม / ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก / Re: น้องหมา 2 ขาหัวใจแกร่ง เมื่อ: 12 มีนาคม 2553 08:59:15

     

     

     

     
     


    4707  สุขใจในธรรม / ไขปัญหาโลก ธรรม และความรัก / น้องหมา 2 ขาหัวใจแกร่ง เมื่อ: 12 มีนาคม 2553 08:53:46













    เรียบเรียงโดยกระปุกดอทคอม
    ภาพประกอบจากมติชนออนไลน์

              ใครที่คิดว่าชีวิตนี้ลำบากเหลือเกิน ทำไมโลกช่างโหดร้ายกับเราอย่างนี้... บ้านก็ต้องเช่า ข้าวก็ต้องซื้อ งานก็ไม่มี เงินก็ยิ่งไม่มี แถมยังอกหัก รักคุด ตุ๊ดเมินอีก โอ้ย...!!! มีอะไรที่แย่กว่านี้อีกไหม ท้อแท้... ท้อแท้... ท้อแท้สุดๆ หมดใจไม่อยากทำอะไรต่อไปแล้ว จะมีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไรกัน...!!!
              หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่กำลังรู้สึกแย่ ท้อแท้ สิ้นหวัง หมดกำลังใจ จนไม่อยากทำอะไร รู้สึกว่าตัวเองสู้ต่อไปไม่ไหวแล้ว ทั้งๆ ที่บางทีคุณอาจยังไม่เคยคิดที่จะเริ่มต้นสู้เลยด้วยซ้ำ (ใช่ไหม) ลองดูภาพน่ารักๆ ของเจ้าสุนัข  2 ขาที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา สู้ทนใช้ชีวิตพิการด้วยความมุ่งมั่นตัวนี้ดู แม้มีเพียง 2 ขาผิดจากสุนัขธรรมดาทั่วไป แต่ก็ไม่เคยนอนรอความตาย แถมยังทำอะไรต่อมิอะไรได้ตั้งหลายอย่าง เรียกได้ว่าเป็น "หมาสู้ชีวิต" เลยก็ว่าได้

              เอ้า!! เห็นอย่างนี้แล้ว มนุษย์อย่างเราๆ จะยอมแพ้มันเชียวหรือ...
    4708  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : วิวัฒนาการสุดท้ายของสังคมมนุษย์ เมื่อ: 08 มีนาคม 2553 08:52:02

     
     
    วิวัฒนาการสุดท้ายของสังคมมนุษย์
     
     
    ที่ตั้งเป็นหัวข้อของบทความ แถมยังจะบอกว่า มนุษย์เรานั้นยืนอยู่ระหว่างสัตว์ร้ายกับเทวดา-ตามที่โพลตินัสเขียนไว้นั้น-ท่านผู้อ่านก็โปรดอย่าคิดว่าผู้เขียนจะฉายหนังซ้ำ ซึ่งอีกหน่อยผู้เขียนจะชี้แจงเอง ความจริงก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ คือมนุษยชาติกำลังย่างก้าวสู่ฉากสุดท้ายของวิวัฒนาการของจักรวาล วิวัฒนาการคือการไหลเลื่อน เคลื่อนที่ เปลี่ยนแปลง โดยเชื่อมโยงกับทั้งหมดหรืออนัตตา และเรากำลังเป็นเทวดาที่เคน วิลเบอร์ บอกว่า เรากำลังมีจิตของพระเจ้า (God consciousness) จริงๆ แล้ววิทยาศาสตร์ใหม่-จักรวาลวิทยาใหม่ก็บอกในทำนองนั้น จักรวาลอันนี้ของเรากำลังขยายตัวหรือพองตัว (inflation) เร็วขึ้นและเร็วขึ้นจริง เหมือนน้ำแข็งที่ละลายเมื่อโดนแดด (melt) อย่างที่นักจักรวาลวิทยาในปัจจุบันแทบทุกคนว่าไว้จริงๆ ผู้เขียนคิดเอาเองว่าจักรวาลอันนี้ของเรากำลังย่างเท้าเข้าสู่สภาวะหดตัว (big crunch) ซึ่งถึงตอนนั้นจะไม่มีสิ่งมีชีวิตเพาะอะไรๆ ก็จะแตกสลายไปทั้งหมด เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างจบสิ้นแล้ว หากเราเชื่อในลัทธิพระเวทก็จะมี "ลีลา" ใหม่ของพระเจ้าหรือองค์พรหม

    ผู้เขียนพูดและเขียนตลอดเวลามาว่า จักรวาลของเราแห่งนี้มีหน้าที่เพียงอย่างเดียว นั่นคือหน้าที่ที่ต้องจัดการให้มีวิวัฒนาการของทุกสิ่งทุกอย่างที่ประกอบมันขึ้นมาเป็นจักรวาล เช่น กาแล็กซีและดาวต่างๆ โลก ชีวิตต่างๆ มนุษย์ ฯลฯ รวมทั้งตัวของจักรวาลเอง นั่นคือสรรพสิ่งทั้งหลายทั้งหมดเลย ก่อนหน้านี้ไปไม่นานนักเรามีนักวิจัยมากมายที่ได้ทำงานวิจัยเรื่องการเจริญเติบโตของเด็ก หรือวิวัฒนาการของมนุษย์-ทั้งวิวัฒนาการของกายและจิต-โดยเฉพาะจากที่เด็กได้คลอดออกจากครรภ์แม่มาแล้ว แต่วงการศึกษาและวงการแพทย์รู้สึกว่านักวิจัยที่มีชื่อเสียงระดับนำที่สุดในด้านกายภาพ มีเพียงผู้เดียวที่เป็นเอตทัคคะ คือ ฌอง เปียเจต์ ที่ตายไปแล้วเมื่อไม่นานนัก ส่วนในทางด้านจิตภาพ เท่าที่รู้ยังไม่มีข้อสรุปเป็นเอกฉันท์ แต่มันก็มีหลายคนที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น แดเนียล โกลแมน, เบนนาเดตตา โรเบิร์ต, แอนโตนิโอ ดามาสิโอ, สตานิสลัฟ โกรฟ ฯลฯ และในปัจจุบันนี้เราก็มีข้อมูลใหม่ๆ ด้านจิต ซึ่งทำวิจัยในช่วงตั้งครรภ์ก่อนคลอด (prenatal) ในระดับต่างๆ มากมาย รวมทั้งการวิจัยของสมองโดยใช้ภาพเหมือนจริง (MRI) ในคนระหว่างที่สมองได้ทำงานหรือมีประสบการณ์ต่างๆ เช่นในสมาธิหรือกำลังมีประสบการณ์เร้นลับ (mysticism) และที่กำลังหวือหวาฮือฮากันอย่างยิ่งอยู่ในขณะนี้-ที่ผู้เขียนคิดว่าเป็นการเริ่มต้นของยุคแห่งจิตวิญญาณ (noosphere) ของปิแอร์ เตยา เดอ ชาดัง ที่พ้องจองกับศรี อรพินโธ ซึ่งผู้เขียนได้เขียนเล่ามาตลอด ยุคแห่งจิตวิญญาณอันเป็นผลของวิวัฒนาการ-ของจิตมนุษย์-ของจักรวาล ตามที่ได้ยกมาตั้งเป็นหัวข้อเรื่องของบทความของวันนี้ ซึ่งมีความหมายว่าในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน สภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) คือเป้าหมายสุดท้ายของจักรวาล ที่มีหน้าที่จัดให้มีวิวัฒนาการของสรรพสิ่งสรรพปรากฏการทั้งหลายที่อยู่ข้างใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิวัฒนาการของมนุษย์และตัวมนุษย์ (กับสังคม) เอง ซึ่งจะวิวัฒนาการไล่ขึ้นไปในฐานะของจิตวิญญาณตามระดับย่อยๆ หรือระดับละเอียดต่างๆ-ตามสเปกตรัมของจิต (spectrum of consciousness) จนกระทั่งถึงนิพพาน-มีเป้าหมายของการดำรงอยู่รอด (existence) ของมนุษย์ในจักรวาลและโลกนี้ให้จงได้ ซึ่งก็คือต้องเรียนรู้หน้าที่และความสัมพันธ์ของตัวเองกับธรรมชาติอื่นๆ รอบตัวชนิดแยกออกจากกันไม่ได้ เพราะมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวต่างก็เป็นธรรมชาติเหมือนกัน นั่นคือการเรียนรู้ว่าระบบนิเวศวิทยา (ecology) นั้นมีความหมาย และมีความสำคัญต่อการอยู่ให้รอดของมนุษยชาติอย่างไร?

    ที่จริงเรื่องของจักรวาลและของโลก กับวิวัฒนาการของจิตไล่ขึ้นไปถึงระดับ หรือขั้นที่เรียกว่าระดับจิตวิญญาณ (spirituality) นี้ ผู้เขียนได้เล่าไปหลายหนแล้ว แต่ทว่าเสมอไปจะเป็นการเขียนเล่าในภาพของวิวัฒนาการของกาย-จิตอันเป็นไปตามธรรมชาติของโลก นั่นคือจากสิ่งไม่มีชีวิตกรวดหินดินทราย (physicosphere) เป็นสิ่งมีชีวิตหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา (biosphere) และไปเป็นวิวัฒนาการของจิตสู่จิตวิญญาณ (noosphere) แต่ทว่าบทความนี้จะเล่าถึงกระบวนการวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของสังคมมนุษย์ที่คลี่ขยายไปในทิศทางเดียวกัน

    มนุษย์ในภาพรวมเฉลี่ยอยู่คนเดียวไม่ได้ ต้องมีการอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ และสิ่งอื่นๆ เป็นครอบครัว เป็นชุมชนและสังคม เล็กใหญ่ตามลำดับ มีอยู่สิ่งหนึ่งที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์ที่เกิดกับมนุษย์เป็นประจำ นั่นคือคำพูดที่มีว่า "มันเป็นเช่นนั้นของมันเอง" มนุษย์ทุกคนเป็นทั้งสัตว์ร้ายกับเทวดา แล้วก็สังคมมนุษย์ทุกสังคมมีทั้งสิ่งที่ดีและสิ่งที่เป็นปัญหาเสมอไป โดยไม่มีสังคมไหนหรือสังคมสมัยใดได้รับการยกเว้น เหมือนกับว่ามีใครแกล้ง สังคมทุกสังคมนั้นนับวันก็ยิ่งซับซ้อน ปัญหาก็ยิ่งใหญ่และซับซ้อนขึ้นไปด้วย สังคมจะมีมนุษย์หรือชีวิตที่สัมพันธ์กับสสารวัตถุอย่างใกล้ชิดที่สุดเสมอไป จริงๆ แล้วอาจพูดได้ว่าแยกจากกันไม่ได้ เพราะว่าต่างก็เป็นธรรมชาติเช่นเดียวกัน ธรรมชาติที่ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตอย่างหนึ่ง กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตอีกอย่างหนึ่ง ทั้งสองจะต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันเป็นระบบ-แต่เพราะว่าเป็นเราคิดเอาเองด้วยความอหังการ แยกตัวเองเป็นมนุษย์ฝ่ายหนึ่งและสิ่งแวดล้อมอีกฝ่ายหนึ่ง สิ่งแวดล้อมที่รวมทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต (ซึ่งก็คือระบบนิเวศน์)-โดยมีพลังงานเป็นสื่อกลาง เพราะเราคิดแยกส่วนออกไปว่า มนุษย์เป็นเผ่าพันธุ์ที่พิเศษยิ่งเหนือธรรมชาติทั้งหลายทั้งปวง-ดั่งที่นักปรัชญาหลายคนที่ทรงอิทธิพลยิ่งในยุคแห่งเหตุผล (age of reason) เช่น ทอมัส ฮอบส์, ฟรานซิส เบคอน, อเล็กซานเดอร์ โป๊ป, จอห์น ล็อก ฯลฯ ปลูกฝังเป็นวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของสังคมให้เราไว้ เรา-โดยเฉพาะเราในยุโรป-จึงมักดูถูกเหยียบย่ำ ฆ่าทิ้ง-เผา-ตัด-เจาะ-ถอนธรรมชาติโดยเฉพาะสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายทั้งปวงมาตั้งแต่นั้นจนกระทั่งบัดนี้

    ถ้าหากเราหันย้อนกลับไปดูวิวัฒนาการของชุมชน-สังคมของมนุษย์ในทางประวัติศาสตร์ (โบราณคดีวิทยา) และวัฒนธรรมมาตั้งแต่เริ่มมีโฮโมซาเปียนส์เกิดขึ้นมาบนโลกเลย เมื่อประมาณ 200,000 (สองแสน) ปีก่อน จริงๆ แล้วก่อนหน้านั้นเสียอีก เมื่อบรรพบุรุษของมนุษย์เรายังเป็นโฮโมอีเรกตัสระยะหลังๆ หรือมีการรวมกันเป็นตระกูล-ชุมชนไล่ล่าสัตว์เป็นอาหาร (hunter-gatherer) ในช่วงปลายของยุคพลีสโตซีน (pliestocene) ในด้านของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมนั้น เรา-ผู้อ่านและผู้เขียน-ไม่จำเป็นต้องย้อนกลับไปถึงเวลานั้น เพียงกลับไปที่เวลาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ หลังจากที่มีการทำไร่ทำฟาร์มและการทดน้ำ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ภาษาพูดมีลักษณะที่เพียบพร้อมไวยากรณ์ที่สุดราวๆ 12,000-15,000 ปีก่อนคริสตกาล

    มนุษย์เราตั้งแต่สมัยหินใหม่ระยะหลัง (late neolithic) ของประวัติศาสตร์มาแล้ว-จะได้สร้างสรรค์สังคมวัฒนธรรมที่เชื่อว่า แม้ว่ามนุษย์จะสัมพันธ์อย่างล้ำลึกกระทั่งเกรงกลัวธรรมชาติแบบที่สังคมก่อนหน้านั้นเกรงกลัว ดังที่เรารู้จากนิยายปรัมปรา (myth)-แต่ว่ามนุษย์ก็ยังคิดว่า สิ่งแวดล้อมธรรมชาตินั้นได้แยกออกจากมนุษยชาติเด็ดขาด ประหนึ่งว่ามนุษยชาติไม่ไช่ธรรมชาติกระนั้น ดังนั้นมนุษย์จึงรู้ว่าตัวเองไม่มีอำนาจอะไรที่จะเอาชนะธรรมชาติได้ จึงสังวรและควบคุมตัวเองด้วยนิยายปรัมปรานั้น มนุษย์ที่ยังมีน้อยนักในช่วงนั้น ซึ่งกินเวลานานนักหนาจนกระทั่งถึงยุคสมัยหลังจากการตั้งถิ่นฐานบ้านช่องและเริ่มมีระบบการเมืองแล้ว มนุษย์จึงรู้ว่านอกจากตัวเองจะไม่มีอำนาจเหนือธรรมชาติแล้ว มนุษย์ยังไม่มีระเบียบหรือระบบกฎหมายที่ใช้ควบคุมปกครองสังคมที่มีแต่จะโตขึ้นๆ เรื่อยๆ และจนกระทั่งสังคมมนุษย์ได้ค้นพบเหตุผลและอยู่กับความเข้าใจแล้ว ที่ทำให้ค้นพบวิทยาศาสตร์และผลิตพลังงานขึ้นมาใช้ จึงค่อยๆ รู้ว่าตัวของมนุษย์เองเก่งกับฉลาด สามารถมีอำนาจควบคุมธรรมชาติได้ทั้งหมดอย่างไร ความกลัวต่อความไม่ปลอดภัยของมนุษย์ต่อความไม่มีอำนาจในการควบคุมธรรมชาติภายนอกอย่างที่ตาเห็น กับปัญหาทางการขาดแคลนนักกฎหมายและความเป็นนิติรัฐจึงหายไป ในประเทศประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ในช่วงเวลาราวๆ ร้อยปีที่ผ่านมานี้ (ในระยะเวลาที่ผู้เขียนยังไม่เกิดจนกระทั่งเกิดและเป็นเด็กและยังเป็นหนุ่มใหญ่ หรือช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจนถึงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือราวๆ ทศวรรษที่ 1880-1980 จะเป็นสมัยที่สังคมมนุษย์เจริญด้วยเทคโนโลยีถึงขีดสุด คือเป็นช่วงสมัยที่มีน้ำมันราคาถูก และมนุษย์เราได้เอาเปรียบธรรมชาติและระบบนิเวศน์อย่างสุดๆ นั่นคือช่วงสมัยที่มนุษย์อยู่กับวัตถุภายนอก กับมีความสุขกับวัตถุภายนอกหรือกายภาพ และในยุคสมัยต่อมาหลังทศวรรษ 1980 ไปแล้ว ซึ่งเป็นเวลาที่เราๆ-ท่านๆ ยังมีชีวิตอยู่เดี๋ยวนี้ ที่มีความสุขอยู่กับวัตถุภายนอกกายครึ่งหนึ่ง และจิตรู้หรือความคิดจิตสำนึกที่เป็นเรื่องทางจิตอย่างตื้นภายในครึ่งหนึ่ง ทั้งหมดในช่วงเวลานี้ได้ก่อประกอบให้สองสิ่งสองอย่างเกิดขึ้น อย่างหนึ่งคือคุณค่าความหมายองค์การดำรงอยู่ของชีวิต กับอีกอย่างหนึ่งคือความไม่เป็นธรรมของสังคมวัฒนธรรม หรือความเป็นสองมาตรฐาน คนรวยกับคนจน ผิวขาวกับผิวดำ ประเทศมหาอำนาจกับประเทศที่ไม่มีอำนาจ ฯลฯ ทุกๆ คนจะแสวงหาทางออก และทุกๆ คนจะคิดว่าประชาธิปไตยตัวแทนและสิทธิมนุษยชน-บนความได้เปรียบเสียเปรียบที่เกิดจากภายนอกที่ตาเห็น-คือทางออกนั้น ความไม่เป็นธรรมหรือความไม่เท่าเทียมกันจะก่อต่อไป เป็นการเคลื่อนไหวของกลุ่มชนต่างๆ ที่จะก่อเป็นความแตกแยก เป็นสงคราม และความล่มสลายของระบบต่างๆ ที่มนุษย์-คิดขึ้น ไม่ว่าเป็นระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคมวัฒนธรรม ระบบการศึกษา ระบบสาธารณสุข ฯลฯ ดังที่ชวนจื่อได้พูดไว้ โดยที่ชวนจื่อพูดว่า "เมื่อเต๋าจากไป ยังมีคำสอนที่ก้องหูและคุณธรรม เมื่อคุณธรรมจากไป ที่เหลืออยู่ก็คือความยุติธรรม ซึ่งจะตามมาอย่างรวดเร็วของความล่มสลายหายนะของระบบทุกๆ ระบบ" จนกว่า...จนกว่าแสงทองส่องอำไพ เมื่อจิตวิญญาณที่อยู่ลึกข้างในได้คลี่ขยายออกมา (ช่วงหลังนี้ผู้เขียนว่าตามที่คนเขาว่า)

    มนุษยชาติจำต้องแสวงหาความเป็นธรรมชาติซึ่งมนุษยชาติเป็นอยู่ และเราจะต้องเป็นธรรมชาติอย่างนี้ เสมอไปโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยงอย่างหนึ่งอย่างใดทั้งสิ้น ธรรมชาตินั้นมีสองระดับ ซึ่งผู้เขียนได้พูดได้เขียนบอกไว้ตลอดเวลา (คือ nature กับเจ้าพ่อเจ้าแม่ไล่ขึ้นไปถึงเทพ เทวดา พระเจ้า หรือ Nature) เพราะฉะนั้นความไม่เท่าเทียมกัน หรือความไม่เป็นธรรมสองมาตรฐานหรือสิทธิมนุษยชน-ที่ไม่ยักมีใครพูดถึงสิทธิของการดำรงอยู่ของชีวิตทุกๆ ชีวิต-จึงไม่ใช่ธรรมชาติ และไม่เหมือนกระบวนการธรรมชาติเลย แต่ภาวะจิตวิญญาณ (spirituality) เป็นและเหมือน ความเท่าเทียมกันหรือความเป็นธรรมจึงไม่ใช่สิ่งที่ตั้งอยู่ภายนอกหรือสิ่งที่ตามองเห็น แต่เป็นสิ่งที่อยู่ภายในของเราทุกคนโดยไม่ต้องแสวงหา แต่ทว่ามันจะคลี่ขยายโผล่ปรากฏเมื่อไรไม่มีใครรู้ หรืออาจจะเป็นเมื่อมนุษยชาติทั้งเผ่าพันธุ์เจ็บปวดยิ่งมากที่สุด นั่นคือเมื่อไหร่ที่เรามี "แสงทองผ่องอำไพ เมื่อจิตวิญญาณที่อยู่ลึกภายในถึงเวลาคลี่ขยายออกมา".
     
    http://www.thaipost.net/sunday/070310/18946
    4709  สุขใจในธรรม / รวมข่าวภัยพิบัติ ทั้งในอดีต และปัจจุบัน / Re: แผ่นดินไหวในชิลี ส่งผล แกนโลกเอียง เวลาเดินช้าลง เมื่อ: 04 มีนาคม 2553 22:48:25
     หัวเราะลั่น

    อยากลงครายออน 3 เล่ม ให้อ่านจังเลยยยยย สาระเพียบๆๆๆๆ
    เกี่ยวกับ ภัยพิบัติ แต่ มองในแง่ดี มีกำลังใจ สวยงามมาก

    อ่านแล้ว จะอ๋อ ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

    อีก 1 ปี ข้า จะกลับมา พร้อมความแกร่ง ที่เพิ่มขึ้น
    จะลุยแบบเต็ม ๆ กว่านี้ ถ้า จังหวะ ฟ้า อำนวย

    ขอปลีกตัวเป็น ขงเบ้งซุ่มกายา อยู่หลังเขาก่อนล่ะนะ

    โชคดี แต่จะ แวะมาทักให้หายคิดถึง ล่ะ
    4710  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / Re: ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ( ตอนปรัชญาปารามิตาหฤทัยสูตร ) เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2553 15:54:15




    ผู้ให้ แท้จริง คือผู้รับ
    ผู้รับ แท้จริง คือผู้ให้
    แปลกดีไหม พุทธธรรม



    บ๊าบบาย

     โปรยคำ พรำอักษร แต่งกระทู้ ธรรมทาน
     สาธุ สาธุ สาธุ เย็นชุ่มฉ่ำ

    สายฝนพรำ เป็นสายน้ำ สู่มหาสมุทรใหญ่
    ขอมอบ มหาสมุทรแห่งถ้อยธรรม ที่เอื้อเฟื้อแบ่งปัน
    จากผู้อ่าน ส่งกลับสู่ผู้ให้ เป็นกุศล ทบทวีมิขาดตอน

    จวบจนสู่ สิ่งที่หมาย ทั้งทางโลก และทางธรรม เทอญ

    ขอความสุขสวัสดี สุขกาย สบายใจ จงอยู่คู่คนโพส และคนอ่านนะ

    กิน เดิน นั่งนอน ทุกท่วงท่า อิริยาบท ขอให้มีแต่ดอกบัวพันกลีบเข้ารองรับ

    ขอให้พลังพุทธะ สารพัดพลังแห่งความดีงาม จงอยู่คู่ท่าน

    ไปล่ะ บาย
    4711  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : บุพนิมิตเผ่าพันธุ์ใหม่-จากกายและจิตรู้สู่จิตวิญญาณ เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2553 15:33:54



    บุพนิมิตเผ่าพันธุ์ใหม่-จากกายและจิตรู้สู่จิตวิญญาณ
    คอลัมน์ - ความทรงจำนอกมิติ
    นพ.ประสาน ต่างใจ

    14 สิงหาคม 2548 กองบรรณาธิการ

    เชื่อว่าผู้อ่านของเราทุกคนคงต้องรู้จักธรรมชาติของความเป็นหนึ่งเดียวกันที่ไหลเลื่อนเคลื่อนที่เป็นองค์รวมที่ไล่วนไปตามลำดับเป็นอย่างดี ระหว่างห่วงต่างๆ ของมหาห่วงโซ่แห่งการดำรงอยู่


    ที่ผู้เขียนเอามาเขียนตลอดเวลา (the great chain of beings or existence) ระหว่าง สสาร ชีวิต มนุษย์ (และการดำรงอยู่เป็นสังคมของมนุษย์) จิตสำนึกหรือจิตรู้ (conscious mind) และจิตวิญญาณ ซึ่งทุกๆ ห่วงและแต่ละห่วงของมหาห่วงโซ่ล้วนเชื่อมโยงกันอย่างที่จะแยกออกจากกันไม่ได้ ดังนั้น ชื่อของบทความวันนี้ - โดยวลีหลัง - บ่งถึงความหมายว่าจิตจะสามารถมีวิวัฒนาการสู่จิตวิญญาณหรือธรรมจิต (spirituality) ได้ก็ต่อเมื่อรูปกาย รวมทั้งและโดยเฉพาะสมอง (ดู Paul MacLean : The Triune Brain, 1970) ได้วิวัฒนาการมาจนถึงที่สุดแล้ว พร้อมกับวิวัฒนาการของจิตรู้ที่ไล่สูงขึ้นมาด้วย - จากจิตหยาบดิบหรือจิตสัญชาตญาณของสัตว์ สู่จิตอารมณ์ของสัตว์ชั้นสูง และสู่สติปัญญาความฉลาดของเผ่าพันธุ์ตามลำดับ - พร้อมกันนั้น บทความบทนี้ก็ยังต้องการชี้บ่งว่า เป็นเพราะระบบและรูปแบบทางกายภาพของเราและสังคมของเรา ที่ใช้มันมาเพื่อการดำรงอยู่ (existence) - ที่เราคิดว่าจำเป็น และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ - ต่างหาก ที่เป็นอุปสรรคต่อวิวัฒนาการของจิต และทำให้จิตไม่สามารถที่จะมีวิวัฒนาการต่อไปตามครรลองของธรรมชาติแห่งความเป็นองค์รวมได้ นั่นคือบทความนี้ จะขยายความคิดของนักคิดระดับโลกจำนวนมากที่เชื่อว่า อารยธรรมที่ตั้งอยู่บนระบบสังคมเศรษฐกิจและการเมืองที่ดั่ง - อีกที - อยู่บนโครงสร้างทางกายภาพ (physicals) เพียงด้านเดียวที่เราใช้เพื่อการดำรงอยู่ของเรามายาวนาน - โดยเฉพาะในช่วง 400 ปีหลังจากยุคฟื้นฟูและยุคแห่งเหตุผล - กำลังจะถึงจุดจบเมื่อถึงเวลาซึ่งก็คือเวลานี้ และเมื่ออุปสรรคที่เกิดจากระบบและโครงสร้างหมดสิ้นไป ต่อไปนับแต่นี้จิตก็จะสามารถวิวัฒนาการไล่สูงขึ้นไปได้ง่าย

    เมื่อนักคิดระดับนำของโลกมาพบกัน เป็นทรานสแอตแลนติก ไดอะล็อก (transatlantic dialoc) เมื่อช่วงปลายของศตวรรษที่แล้ว รายการสนทนาครั้งนั้นก็มีคนรวบรวมขึ้นมาพิมพ์จำหน่าย หนังสือเล่มนั้นกลายเป็นหนังสือขายดีของปีเริ่มต้นศตวรรษใหม่ที่ผ่านมาสำหรับนักวิชาการส่วนหนึ่ง (Ervin Laszlo, Peter Russell, Stanislav Grof : Consciousness Revolution, 1999) น่าเสียดายที่หนังสือเล่มนี้ไม่มีขายในบ้าน

    เรา บังเอิญผู้เขียนกับหมอประเวศ วะสี ต่างก็ได้ก๊อบปี้ของหนังสือนี้มาคนละเล่มโดยการอนุเคราะห์ของเพื่อนที่เป็นสมาชิกของกลุ่ม "จิตวิวัฒน์" อีกคนหนึ่ง เดวิด สปิลเลน เป็นผู้ก๊อบปี้มาให้ จิตวิวัฒน์ได้นำไปก๊อบปี้ต่อที่ผู้อ่านท่านใดที่สนใจก็อาจไปขอยืมอ่านได้จากห้องสมุด "รุ่งอรุณ" ที่ถนนสาทร ผู้เขียนเคยยกบางส่วนบางตอนมาเล่าไว้ในคอลัมน์นี้อย่างน้อยก็สามสี่ครั้งแล้ว วันนี้จะขอนำข้อสรุปข้อหนึ่งของนักคิดที่ยิ่งใหญ่ - ทั้งสามที่ต่างเป็นนักวิทยาศาสตร์เลื่องชื่อ ในสายงานของตนมาใช้อีกครั้ง - จริงๆ แล้ว ชื่อของบทความนี้ ผู้เขียนได้มาจากการสรุปใจความของส่วนนำของหนังสือเล่มนั้น ตามที่ผู้เขียนเข้าใจ

    ข้อสรุปมีว่า อารยธรรม "สมัยใหม่" ของสังคมโลกานุวัตรกำลังถึงจุดจบ แต่นั่นคือความวิกฤติ วิกฤตการณ์จากสองมูลเหตุที่เกิดจากความคิดความเคยชินของเรา ประการแรก ด้วยความคิดและด้วยวิทยาศาสตร์กายภาพ เราเชื่อมั่นว่าระบบต่างๆ ที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อสนองตอบต่อความจริงทางโลก (ที่มีเท่าตาเห็นและที่ประสาทสัมผัสภายนอกบอกเรา) นั้นเป็นสิ่งที่เปลี่ยนไม่ได้ ประการที่สอง จากความคิดที่สรุปเช่นนั้นทำให้เรามาสงสัยต่อไปว่า หากระบบที่เราใช้อยู่เกิดมีปัญหา ต่อไปนี้เราควรดำรงชีวิตและนำพาสังคมของเราต่อไปอย่างไรดี ในเมื่อขณะนี้ เราไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตแบบนี้ได้อีกต่อไปโดยไม่ก่อความล่มสลายหายนะอย่างใหญ่หลวงให้กับเราทั้งหมดโดยรวม - ไม่ว่าจากภัยพิบัติธรรมชาติ และ/หรือจากความไม่สงบในที่นั่นและที่นี่ เช่น การก่อการร้าย สงคราม การอพยพลี้ภัย ฯลฯ ความไม่อาจดำรงอยู่ต่อไปด้วยวิถีที่เรารู้จัก และเคยชินจะเป็นเรื่องใหม่สิ่งท้าทายใหม่ๆ ที่เผ่าพันธุ์ของเราไม่ได้เตรียมตัวหรือคิดมาก่อน ต่อไปนี้ เราทำอะไรอย่างเดิม หาทางแก้ไขชีวิตเดิมๆ ไม่ได้อีกแล้ว เราจะ "ไปให้ไกลไปให้ถึง พัฒนาอย่างยั่งยืน" เช่นเราจะคิดผลิตสินค้าให้เพิ่มขึ้นและหวังว่าจีดีพีจะเพิ่มขึ้นเพื่อให้คนจนพอมีกินแต่คนรวยรวยมากขึ้น - คงทำไม่ได้อีก จะฝันเห็นนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวบ้านเรามากๆ โดยให้เขาเชื่อเราว่าสึนามิที่มาแบบไม่รู้ตัว ไม่มีทางเกิดขึ้นมาอีก - คงทำไม่ได้อีก เราคงไม่สามารถแม้จะวางแผนสร้างถนนสร้างเขื่อนหรือตัดต้นไม้ไปกี่ต้นหรือจะปลูกทดแทนกี่ต้น หรือทำอย่างอื่นแบบที่เราเคยทำได้อีกต่อไป เมื่อทำแบบเก่าก็ไม่ได้หรือคิดแก้วิกฤติใหม่ด้วยวิธีที่เคยใช้แก้ก็ไม่ได้ เราจึงมีเส้นทางที่เหลือเพียงอย่างเดียวที่ตัวเราเองแต่ละคน นั่นคือเราเองที่จะต้องเปลี่ยนแปลง

    ในความเห็นของนักวิทยาศาสตร์ระดับนำที่มาพบกันดังกล่าว พวกเขาล้วนเชื่อว่า อารยธรรมของเรา - ระบบสังคมเศรษฐกิจการเมือง - ได้มาถึงจุดจบแล้วจริงๆ ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังเชื่อว่า มนุษยชาติกำลังเผชิญหน้ากับความล่มสลายที่ยิ่งใหญ่แบบที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์จริงๆ ด้วยข้อเท็จจริงเช่นที่กล่าวมานี้ เราจะทำอย่างไร? ถึงจะอยู่รอดจากภัยพิบัติเหล่านั้น? หากเส้นทางมีเพียงอย่างเดียวอย่างว่า เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างไร?

    นั่น แท้ที่จริงแล้วเป็นเรื่องสองเรื่องสองประการที่อาจเกี่ยวเนื่องเป็นเหตุปัจจัยกันโดยตรงก็ได้ หรือไม่เกี่ยวกันในฐานะเป็นเหตุปัจจัยกันเลยก็ได้ แต่มูลเหตุอาจเป็นทั้งสองโดยสืบเนื่องกันมาในด้านลึก - เรื่องของจิตวิญญาณ - ดังที่ผู้เขียนยืมเอามาเขียน (จากนักคิดอีกหลายๆ คน) ซึ่งในความเห็นของผู้เขียนดังที่เขียนและพูดมาตลอด ทั้งสองประการ - ภัยพิบัติต่างๆ ที่นำมาซึ่งจุดจบแห่งอารยธรรมและนำพาความล่มสลายแทบเท่า "ระดับโลก (massextinction)" อย่างหนึ่งกับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง (transformation) ของปัจเจกบุคคล พร้อมๆ กับส่งอิทธิพลให้คนทั่วไปจำนวนมากจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย อีกประการหนึ่ง ทั้งหมดนี้ชี้บ่งกำเนิดการของ "สังคมที่ยั่งยืน" ที่มีจิตวิญญาณเป็นพื้นฐานของมนุษยชาติทั่วทั้งโลก จากข้อมูลหลากหลายที่เคยเอามาเขียนไปมากแล้ว ผู้เขียนกับนักคิดส่วนหนึ่งเชื่อว่า วิวัฒนาการของจิตวิญญาณจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2013 - ราว 8 ปีจากวันนี้ เป็นต้นไป บทความนี้จะเน้นถึงการเปลี่ยนแปลงตัวเองจากภายใน - จากกาย (วัฒนธรรมหลงรูป) สู่จิตรู้ (ระบบเศรษฐกิจโลกานุวัตร) และสุดท้ายสู่จิตวิญญาณ (หรือธรรมจิต) อย่างไร?




    ก่อนการเปลี่ยนแปลง (transformation) ดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นในหรือหลังช่วงปี 2013 คือช่วงเวลาแห่งวิกฤตการณ์นานัปการที่เกิดจากสภาวะล่มสลายของโลกธรรมชาติที่ได้ค่อยๆ ทวีความร้ายแรงขึ้นมาเรื่อยๆ ดังที่เราทุกคนต่างก็ได้เห็นกันในระดับหนึ่งตั้งแต่ช่วงหลังของทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา นั่นเป็นทศวรรษที่มีสภาพโลกร้อนอย่างที่สุดและร้อนยาวนานที่สุด และหลังจากนั้น สภาพโลกธรรมชาติก็เปลี่ยนไปอย่างชัดแจ้งพร้อมๆ กับความถี่และความรุนแรงของภัยพิบัติธรรมชาติ เป็นต้นว่าน้ำท่วมฉับพลันที่จีนในช่วงรอยต่อของศตวรรษ เป็นต้นว่าเฮอริเคนและทอร์นาโดที่มีจำนวนมากขึ้นและรุนแรงมากขึ้นที่อเมริกา เป็นต้นว่า คลื่นความร้อนที่คร่าชีวิตชาวฝรั่งเศสไปเป็นเรือนหมื่นคนเมื่อสามปีก่อน เป็นต้นว่า แผ่นดินไหวในที่ต่างๆ ที่เกิดบ่อยขึ้นและหนักหน่วงยิ่งขึ้นกระทั่งเกิดเป็นคลื่นสึนามิที่คร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 250,000 คน รวมทั้งร่วมหมื่นคนที่ประเทศไทย รวมทั้งโรคระบาดชนิดต่างๆ - หลายต่อหลายโรคเป็นโรคที่เราไม่ได้คาดคิดมาก่อนทั้งสิ้น นั่นเรายังไม่นับวิกฤติน้ำมันและความถดถอยทางเศรษฐกิจที่เริ่มรู้สึกได้ทั่วกันในที่ต่างๆ และนั่นเรายังไม่นับความขัดแย้งทางการเมือง การก่อการร้าย สงครามและความไม่สงบอื่นๆ ในที่ต่างๆ ทั่วโลก โลกเราจะประสบกับสภาพการณ์เช่นนั้น จากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม และการหมดไปของทรัพยากรทั้งหมดจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสถานภาพทางสังคมการเมืองและเศรษฐกิจไปอีกช่วงสั้นๆ ช่วงหนึ่ง และแล้วหลังจากนั้น ภัยธรรมชาติรวมทั้งมหาพิบัติทางภูมิศาสตร์และภูมิดาราศาสตร์ก็จะทยอยปรากฏขึ้นอย่างถี่กระชั้นและรุนแรงอย่างที่ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติไม่เคยมีมาก่อน ดังที่ริชาร์ด ลีกคีย์ ดังที่พอล แอร์ลิช ดังที่สถาบันจับตาโลก ดังที่ซูซาน แดนนอน และนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ได้เขียนไว้ ตามที่ผู้เขียนนำมาเขียนเล่าและอ้างอิงไว้ผ่านคอลัมน์นี้มาอย่างยาวนาน

    แต่ดังที่ ปีเตอร์ รัสเซลล์ นักฟิสิกส์จากเคมบริดจ์ที่มาได้ดีทางจิตวิทยาวิจัยศาสตร์ (experimental psychology) ได้กล่าวไว้ในหนังสือที่อ้างแล้วข้างบนนั้นว่า เขาเชื่ออย่างแน่นหนาว่า มนุษยชาติจะประสบภัยพิบัติอย่างสุดแสนจะสาหัสสุดเท่าที่จะคาดคิดได้ โดยเฉพาะความล่มสลายทางวัตถุไปแทบทั้งหมด นั่นคือจุดจบของอารยธรรมตะวันตกโลกานุวัตรที่เริ่มจากความล่มสลายหายนะอย่างรุนแรงของระบบเศรษฐกิจและระบบนิเวศธรรมชาติ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเผ่าพันธุ์ของมนุษย์จะสูญสิ้นไปทั้งหมด แม้ว่านครและเมืองใหญ่ๆ จะร้างผู้คนไปแทบทั้งนั้น แต่เราก็จะมีหย่อมหรือชุมชนน้อยๆ ของมนุษย์อยู่ที่นั่นและที่นี้ สุดท้าย ปีเตอร์ รัสเซลล์ ก็สรุปว่า "นั่นฟังแล้วเหมือนกับว่าผมเป็นคนมองโลกทางด้านร้าย แต่จริงๆ แล้วผมก็ยังมองโลกในด้านดี คือยังมองว่า มนุษยชาติคงไม่สิ้นสูญพันธุ์ไปทั้งหมด...แม้เราจะมีชีวิตอย่างสุดทารุณโหดร้ายจากสภาพการณ์ "ไร้วัตถุ" แต่เราก็จะมีล้นเหลือในทางจิตใจและจิตวิญญาณ...."

    จริงๆ แล้ว ความคิดเห็นที่กล่าวมาข้างบนนั้นแทบว่าจะมีความเป็นเอกภาพ - โดยหลักการที่ไม่มีใครคัดค้านโต้แย้ง - ระหว่างนักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ในระดับนำของโลกอย่างแทบไม่มีผู้ยกเว้น นั่นคือมิติแห่งความเปลี่ยนแปลงที่จะมีสามมิติด้วยกัน คือ หนึ่ง การเปลี่ยนพาราไดม์ขององค์ความรู้หรือวิทยาศาสตร์ไปทั้งหมด สอง การเปลี่ยนแปลงทางความคิดและวิธีคิดของสังคม และสาม วิวัฒนาการทางจิตที่จะผ่านพ้นตัวตนสู่จิตวิญญาณหรือธรรมจิตของปวงชนอันประเด็นหลักของบทความนี้

    ในหนังสืออีกเล่นหนึ่งของปีเตอร์ รัสเซลล์ (Peter Russell : The Global Brain Awaken, 1995) ปีเตอร์ รัสเซลล์ อ้างผลงานวิจัยหลากหลาย เป็นต้นว่างานวิจัยว่าด้วยผลของการปฏิบัติสมาธิที่เรียกว่า "ผลลัพธ์มหาริชี (maharishi effect)" ที่ชิคาโก ที่บอกว่าสถิติอาชญากรรมใน 11 ตำบล ที่มีคนมาหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของประชากรทำสมาธิรวมกันทุกวันในเวลาหนึ่งปีเต็ม ปรากฏว่าอาชญากรรมมีจำนวนลดลง 8.2% ในขณะที่อีก 11 ตำบลที่มีลักษณะทางสังคมคล้ายๆ กัน แต่ไม่มีการทำสมาธิ อาชญากรรมเพิ่มขึ้น 8.3% และในปี 1993 การทดลองที่ประกอบด้วยผู้ปฏิบัติสมาธิอย่างจริงจังจำนวน 4,000 คนที่วอชิงตันดี.ซี.เป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม พบว่าไม่เพียงอาชญากรรมที่ลดลงถึง 18% เท่านั้น แต่เหตุร้ายต่างๆ เช่น แอคซิเดนท์ การเจ็บป่วยฉุกเฉิน การฆ่าตัวตาย ก็ล้วนมีสถิติลดลงมาเช่นเดียวกัน


    บุพนิมิตเผ่าพันธุ์ใหม่-จากกายและจิตรู้สู่จิตวิญญาณ

    นักวิทยาศาสตร์ใหม่หลายคน รวมทั้งปีเตอร์ รัสเซลล์ เชื่อว่า การทำสมาธิมีผลอย่างแน่นอนดังนี้

    1.ผลทางด้านจิตวิญญาณจะไม่เพียงได้รับเฉพาะแต่กับผู้ปฏิบัติ แต่สามารถแผ่พลังงานสู่คนอื่นๆ ในชุมชนนั้นๆ ให้มีจิตที่ดีงามด้วย

    2.โดยสถิติพบว่า ผลที่เป็นบวกจะปรากฏให้เห็นกับชุมชนนั้น หากอัตราของผู้ทำสมาธิต่อประชากรมีอย่างน้อยหนึ่งเปอร์เซ็นต์ขึ้น

    3.พลังงานส่วนหนึ่งชี้บ่งไปทางด้านพลังงานแม่เหล็กที่มีความถี่คลื่น 7.2 เฮิรตซ์ และพลังงานจะเพิ่มเป็นสองเท่าหากมีระยะทางของผู้ทำสมาธิอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับการหมุนรอบตัวของโลก

    4.ผลของสมาธิอาจมีผลต่อสังคมโลกโดยปฏิกิริยาห่วงโซ่ (chain reaction) หากจำนวนประชากรที่ทำสมาธิมีจำนวนมากพอจนถึง "จุดอันวิกฤติ" (critical mass) เมื่อจิตของทุกคนในสังคมโลกจะเปลี่ยนไปในทันที - เพียงมากหรือน้อย.


    นักวิทยาศาสตร์ใหม่หลายคน รวมทั้งปีเตอร์ รัสเซลล์ เชื่อว่า การทำสมาธิมีผลอย่างแน่นอนดังนี้

    1.ผลทางด้านจิตวิญญาณจะไม่เพียงได้รับเฉพาะแต่กับผู้ปฏิบัติ แต่สามารถแผ่พลังงานสู่คนอื่นๆ ในชุมชนนั้นๆ ให้มีจิตที่ดีงามด้วย

    2.โดยสถิติพบว่า ผลที่เป็นบวกจะปรากฏให้เห็นกับชุมชนนั้น หากอัตราของผู้ทำสมาธิต่อประชากรมีอย่างน้อยหนึ่งเปอร์เซ็นต์ขึ้น

    3.พลังงานส่วนหนึ่งชี้บ่งไปทางด้านพลังงานแม่เหล็กที่มีความถี่คลื่น 7.2 เฮิรตซ์ และพลังงานจะเพิ่มเป็นสองเท่าหากมีระยะทางของผู้ทำสมาธิอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับการหมุนรอบตัวของโลก

    4.ผลของสมาธิอาจมีผลต่อสังคมโลกโดยปฏิกิริยาห่วงโซ่ (chain reaction) หากจำนวนประชากรที่ทำสมาธิมีจำนวนมากพอจนถึง "จุดอันวิกฤติ" (critical mass) เมื่อจิตของทุกคนในสังคมโลกจะเปลี่ยนไปในทันที - เพียงมากหรือน้อย.
    4712  วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ / กระบวนการ NEW AGE / ความทรงจำนอกมิติ : รูป นาม วิญญาณกับจักรวาลวิทยา เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2553 14:00:45


    คอลัมน์ - ความทรงจำนอกมิติ / นสพ.ไทยโพสต์

    เมื่อไม่กี่วันก่อนได้ไปพูดที่ มหาวิทยาลัยสงฆ์เรื่องจิตวิญญาณ ในแง่วิทยาศาสตร์กับพุทธศาสตร์
    ให้นักศึกษาปริญญาโทที่ส่วนมากเป็นพระ ตั้งแต่เปรียญ 4 ประโยคกระทั่งเปรียญ 9 ประโยคฟัง
    มีฆราวาสราวๆ หนึ่งในสี่ร่วมเสวนาอยู่ด้วย

    ได้พูดถึงจักรวาลวิทยาใหม่กับแควนตัมฟิสิกส์เท่าที่พอจะรู้
    มีคำถามของพระสองคำถามที่เป็นคำถามที่คนทั่วไปมักถามที่ ตอบได้ยากมากๆ หรือตอบแล้วก่อคำถามต่อจึงตอบได้ไม่หมด หรือไม่มีทางหมดเลย ทำให้ทุกคนเข้าใจเหมือนกันไม่ได้

    คำถามแรกถามว่า
    จิตวิญญาณกับจิตใจและสมองมีความสัมพันธ์ต่อกัน หรือเป็นเหตุปัจจัยต่อกัน และกันอย่างไร?



    คำถามที่สองพระอีกรูปถามว่า รูป นามและวิญญาณใน ทางวิทยาศาสตร์แยกกันอย่างไร?


    พระผู้ถามคำถามที่สองนี้ได้ให้ข้อมูลความ เห็นเพิ่มเติมแล้วถามบนข้อมูลที่ให้ใหม่ว่า

    ในทางพุทธศาสนาถือว่าแสงหรือ รังสีที่แผ่ไปกระทบวัตถุและสะท้อนจากวัตถุหรือสิ่งของมากระทบกับตา
    ทำให้ตา “เห็น” เป็นรูปนั้น แสงหรือรังสีนั้นเองก็จัดเป็นรูปด้วย เฉพาะแต่ สิ่งที่เกิดจากจิตรู้ทำให้เรารู้ว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ ชอบหรือไม่ชอบถึงจะเป็นนาม

    ดังนั้น ถ้าหากว่าวิทยาศาสตร์แควนตัมบอกว่า ในระดับที่ละเอียดนั้น ความจริงมันให้ความเป็นได้ทั้งเป็นสสาร
    ที่เรียกว่าอนุภาคซึ่งก็คือรูป อย่างหนึ่ง กับเป็นคลื่นที่รวมแสงรังสีเสียงที่บอกว่าเป็นนามอีกอย่างหนึ่ง ความรู้วิทยาศาสตร์จะไม่ขัดหรือค้านกับพุทธปรัชญาหรือ?

    อีกประการหนึ่งที่ วิทยาศาสตร์ใหม่บอกว่า
    จิตไม่ได้เป็นผลตามหลังของสมองหรือของกายตามที่วิทยาศาสตร์กายภาพบอกให้เชื่อ
    วิทยาศาสตร์ใหม่จะจัดเรื่องของวิญญาณ หรือจิตวิญญาณในทางศาสนา กับเรื่องของนาม กับเรื่องของรูปเอาไว้ตรง ไหนอย่างไร?

    นั่นไม่ใช่คำถามธรรมดา บางทีผู้ถามที่เรียนปริยัติทางศาสนา อาจมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์มากกว่านักศึกษาวิทยาศาสตร์เสียด้วยซ้ำ คำถามสองคำถามนั้นต่างกัน แต่คาบเกี่ยวกัน และจริงๆ แล้วเชื่อว่าเป็นคำถาม ที่ค้างคาใจของคนช่างคิดทุกคนในโลก เพราะคำตอบตอบไม่ได้ทั้งหมด แถมที่ตอบได้บ้างนั้นก็เช่นที่กล่าวไปแล้ว แม้แต่คนฟังแต่ละคนที่รับฟังคำ
    ตอบด้วยกันพร้อมๆ กัน ก็ยังเข้าใจไม่เหมือนกัน

    นั่นก็เพราะว่าเรื่องของจิต เรื่องของวิญญาณมันมีแต่คำถามๆๆ แต่ไม่มีคำตอบที่เป็นวิทยาศาสตร์สุดท้าย ได้สมบูรณ์ทั้งหมด เพราะจิตมันไม่มีสัญญาอะไรที่จะบ่งบอกว่ามันเป็นจิต และก็ไม่มีอะไรมาค้ำจุนให้จิตมันตั้งอยู่ได้
    ดังนั้นเองนักวิทยาศาสตร์ที่มองอะไรเป็นเครื่องจักรเครื่องยนต์อยู่แล้ว ก็ต้องบอกว่าจิตไม่มีอยู่จริง หรือไม่

    หากจะคงเอาไว้ก็พยายามอธิบายจิตให้เป็นเครื่องจักรเครื่องยนต์ให้ได้ รถไฟรถยนต์วิ่งได้คงไม่ใช่เพราะใครเอาม้าไปซ่อนไว้ข้างใน หรือมีผีอยู่ในเครื่องจักรนั้น หากแต่เมื่อกระบวนการพัฒนาวิวัฒนาการมันซับซ้อนถึงจุดหนึ่ง มันก็สามารถทำงานได้เอง

    เมื่อสมองมีความซับซ้อนมากขึ้นเช่นสมองของคน จิตก็เกิดขึ้นมาเอง
    เราเลยคิดจะสร้างจิตเทียมด้วยคอมพิวเตอร์แม้กระทั่งทุกวันนี้
    แต่จิตกลับเป็นความจริงแท้ในทางศาสนา และปรัชญาที่ บอกกับเราเช่นนั้นนับเป็นพันๆ ปีมาแล้ว ไม่ใช่ว่ามองไม่เห็นหรือไม่มี สัญญาแล้วแปลว่าไม่มี หรือว่าอะไรที่ไม่มีสิ่งใดค้ำเอาไว้ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ดังที่กล่าวเอาไว้เป็นพุทธปรัชญาว่า
    อนิทัสสนามัง วิญญานามัง...อับติทิษ ฐามัง วิญญานามัง

    ที่ใครก็สามารถรู้ได้ว่ามีจริง เมื่อเราเป็นอิสระจากสิ่งลวงตามายาทั้งหลายสามารถขยายสติให้ละเอียดถึงที่สุด...
    จะวิมุตตามัง...คือ ความอิสระนั้น

    เพียงแต่ความจริงเช่นนั้นเป็นประสบการณ์ของแต่ละคนด้วยตนเองเป็นปัจเจก เป็นปัจจัตตังเวทิตัพโพธิ วิญญูหิติ
    เป็นญาณทัสนะที่ได้ มาจากสมาธิภาวนา และต้องเป็นสมาธิภาวนาที่วิมุตติอย่างว่าจริงๆ ด้วย ไม่ใช่ว่าได้มาครึ่งๆ กลางๆ
    แล้วก็มาคิดว่ารู้หมดแล้ว ต่างเถียงกันหน้าดำ หน้าแดงจนสาธารณชนทั่วไปสับสนกันไปหมด

    บทความวันนี้จึงเป็นความพยายามที่จะตอบคำถามสองข้อนั้น ซึ่งอาจตอบรวมกันได้
    เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับใจกับสมองนั้น ไม่มีข้อ พิสูจน์เด็ดขาด หรือแม้ว่าใกล้เคียงเด็ดขาด หรือให้ความเป็นเอกฉันท์ได้

    ระหว่างนักวิทยาศาสตร์แท้ๆ ด้วยกัน เพราะวิทยาศาสตร์ไม่สามารถพิสูจน์ จิตให้เป็นรูปธรรมได้ทั้งหมดหรือเป็นส่วนมาก และวิทยาศาสตร์ก็ทำสมอง ให้เป็นนามธรรมไม่ได้อยู่แล้ว สมองอาจทำได้เพียงจิตในระดับที่ต่ำสุด เช่น
    การตอบสนองของระบบประสาท การบริหารข้อมูลและการใช้ข้อมูล (จำ - ระลึก - คิดและเรียบเรียงหรือคอมพิวต์)
    ที่เป็นเรื่องของตรรกะ เช่น ภาษา หรือคณิตศาสตร์
    หรือจะกล่าวได้ว่า สมองสามารถบริหารที่สมองเองได้ เพียงการกระทำตามคำสั่ง (intentional)
    ด้วยกายวจีและใจที่เกี่ยวกับการคิดคำนวณ สมองไม่สามารถรู้ได้ รู้ว่าเป็นฉันเองที่รู้ และรู้ว่าชอบหรือไม่ชอบ
    กระทั่งรู้ว่าอยากได้ และฉันต้องได้มันมาให้ได้ ในกระบวนการทั้งหมดของ
    จิตที่สมองอาจทำได้ก็แค่บางส่วนของเวทนากับสัญญา
    ส่วนที่เหลือรวมทั้ง เรื่องของสังขารหรือเจตนา (volition-intentionality)
    รวมทั้งและโดยเฉพาะวิญญาณ (ในที่นี้แปลว่าจิตที่รู้ว่าตัวเองรู้) นั้นสมองอาจไม่เกี่ยวข้องด้วยเลย


    ดังที่ เซอร์จอห์น เอ็คเคิลส์ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล บอกว่า จิตรู้ หรือจิตตั้งใจ (intention) อยู่นอกมิติของที่ว่างและเวลาเป็นสากลในทุกหน แห่งเข้ามาอยู่ในสมองมนุษย์ตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนอยู่ในครรภ์แม่
    (John Eccles, The Wonder of Being Human, 1985)

    สมองเป็นเพียงเปียโน ที่รอการเคาะการเล่น หรือเป็นผู้แปลโค้ด
    แม้ตรงนี้จะยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่เด็ดขาด หรือมีบ้างก็มักจะเหลื่อมล้ำหรือซ้อนทับกัน
    จนระหว่างนักวิทยาศาสตร์ กันเองก็ตกลงกันไม่ได้

    เอากันง่ายๆ ระหว่างนักฟิสิกส์ยุคใหม่ส่วนมากที่ เป็นนักปรัชญาไปแล้ว กับนักชีววิทยาและนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ส่วนใหญ่ (ที่ล้วนเป็นนักประสาทวิทยาศาสตร์หรือประสาทสรีรวิทยาที่เป็นวิทยาศาสตร์วัตถุนิยม) ต่างก็เหมือนอยู่กันคนละโลก


    นักชีววิทยาที่รู้เรื่องชีวิตทั้งหมด จากทฤษฎีของดาร์วิน จึงหงุดหงิดใจที่ตัวเองให้คำตอบเรื่องจิตที่เป็นส่วนของชีวิตไม่ได้ นักจิตวิทยาแบบเก่าลูกศิษย์ลูกหาของฟลอยด์ที่ศึกษาจิตแท้ๆ ก็หงุดหงิดใจที่ตอบอะไรในเรื่องของจิตไม่ได้ทั้งหมดหรือเป็นส่วนมาก มันจะตอบได้อย่างไรในเมื่อนักวิทยาศาสตร์เหล่านี้พยายามทำเรื่องที่ไม่ใช่สสาร เรื่องที่ไม่อยู่ในมิติสามมิติของสสารที่ต่อเนื่องกับอีกหนึ่งมิติของเวลา ย่อมเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว
    ไม่ว่าจะพยายามอย่างไร ทั้งๆ ที่ได้พยายาม มากว่าสองร้อยปีแล้ว


    อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ นักวิทยาศาสตร์ทางจิตทางประสาท และสมองในทุกสาขาส่วนหนึ่งที่สำคัญ ได้ยอมรับร่วมกันว่า
    จิตมีอยู่จริงๆ โดยธรรมชาติและเรื่องของจิตที่ทุกวันนี้เรียกว่าวิทยาศาสตร์ทางจิตนั้น ไม่ว่าสาขาใดก็มีความสำคัญและถูกต้องในขอบเขตที่จำกัดนั้นๆ

    ดังนั้น นักวิทยาศาสตร์พวกนี้จึงหันมาทำงานร่วมกัน ค้นคว้าความสัมพันธ์ระหว่าง จิตกับสมองที่อาจจะสรุปอย่างหยาบที่สุดได้เป็นสามประเด็นใหญ่ คือ

    (1) จิตเป็นผลผลิตของกายวิภาคและสรีรภาพของสมองหรือกาย ตามกระบวน วิวัฒนาการชีววิทยา (epiphenomenon)


    ในกรณีนี้คำว่าจิตก็คือกาย นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้พยายามพิสูจน์ให้จิตเป็นเรื่องของสมองให้ได้ทั้งหมด สมองก็คือสารเคมีหรือคอมพิวเตอร์ทำด้วยเลือดเนื้อ สมองจึงเป็นทั้งหมด คือเป็นทั้งตัวรู้ว่าเป็นตัวฉันที่รู้ และรู้ว่ารูปนั้นเป็นอะไร หรือรู้ว่าฉันกำลัง กระทำอะไรในขณะนั้นๆ

    จิตกับสมองแยกจากกัน (dualism) จิตเป็นนาม สมองเป็นรูป การทำงานของจิตผ่านสมองมีตัวกลาง

    ตัวรู้ที่รู้ว่า เป็นฉันที่รู้ เป็นเรื่องของจิต (res-cogitan) ของเดส์การ์ตส์ ส่วนรูปที่ฉันเห็น หรือการกระทำที่ฉันกำลังกระทำ อยู่เป็นเรื่องของกายของสมอง (res-extensa) (3) จิตกับสมองมีที่มาดั้งเดิมเดียวกัน เช่นที่มาของสรรพสิ่งทั้งหมดของจักรวาล
    ซึ่งเคลื่อนไหวเชื่อมโยง เป็นองค์รวมเป็นนิรันดร “ที่มา” นี้คือพลังงานจิตที่เป็นพื้นฐานของจักรวาล ที่ เดวิด โบห์ม คิดว่าอยู่ในรูป ของสนามเหนือแควนตัม (เหนือนามสภาพความเป็นคลื่น wave-function field) สนามที่ม้วนซ่อนสสาร พลังงานและความหมาย
    ในที่นี้ความหมาย คือตัวรู้ตัวที่ทำให้เรารู้ว่าดำรงอยู่ (being) คือจิต ผู้สร้างจักรวาลและสรรพ สิ่งกระทั่งเป็นนามรูปเป็นใจกายของเราก็คือสภาวะหนึ่งของ “ที่มา” สนามที่ไม่หยุดนิ่งตัวนี้

    (3) ข้อนี้กำลังมาแรง กรณีนี้จึงเป็นจิตของมนุษย์ที่มาจาก
    “ที่มา” ตัวนี้ที่สร้างพระเจ้าเทวดาขึ้นมา สร้างโลก สร้างดวงดาว สร้างกาแล็กซีขึ้นมา
    ถ้าหากไม่มีจิตรู้ที่เข้ามาอยู่ในตัวมนุษย์ในตัวเรา จักรวาลและสรรพสิ่งจะมีขึ้นมาได้อย่างไร?
    พระเจ้าเทวดามาได้อย่างไร?


    จิตเรานั้นแหละที่สร้างทั้งหมดขึ้นมา เราจึงสร้างเทพธิดา เทวดาหรือพระเจ้า ให้มีรูปร่างเหมือนกับเรา
    ถ้าแบบไทยก็ใส่ชฎาไม่ใส่เสื้อ เพราะเทวดาก็ร้อน เป็นเช่นเดียวกับมนุษย์
    เทวดาฝรั่งจะมีปีกและสวมเสื้อคลุมยาว แต่จิตที่เข้า มาอยู่ในชีวิตนั้นเองก็มีหลายระนาบระดับ
    และมีขั้นตอนที่วิวัฒนาการไปตาม วิวัฒนาการของชีวิตของกาย

    นั่นคือวิวัฒนาการของจิตและของกายที่ตามมาทีหลังตามขั้น ตอนที่เป็นธรรมชาติ
    จิตที่เป็นตัวรู้ที่เรียกว่าวิญญาณหรือจิตวิญญานจึงเป็นสากล เป็นทั้งหมด และอยู่ในทุกหนทุกแห่งไม่มีตำแหน่งแหล่งที่ (non-local)

    ที่ วิลเดอร์ เพ็นฟิลด์ บอกว่า ไม่อยู่ในคอร์เท็กซ์สมองแน่นอน
    และเซอร์จอห์น เอ็คเคิลส์ บอกว่า ไม่อยู่ในสมอง แต่มีสมองเป็นตัวผ่านเป็นที่ทำงาน


    ที่ โรเจอร์ เพ็นโรส บอกว่า เป็นคลื่นอนุภาคจากข้างนอกที่วิ่ง เข้ามาทำงานในรูปแบบแควนตัมในไมโครทุบูล์ของเซลล์สมอง <!--colorc-->


    ที่ จุง เรียกว่าจิตไร้สำนึกโบราณ (Jung’s archetype) รู้ผ่านตัวฉันและผ่านสมองของฉัน - ที่เห็นเป็นรูปอะไรหรือรู้ว่ากำลังกระทำอะไร ผ่านกล้ามเนื้อหรือเป็น ภาษาพูดในการสื่อกับภายนอก หรือเป็นการคิดหรือคอมพิวต์ที่ภายในด้าน ภาษาของสมอง


    นั่นคือความสัมพันธ์ของจิตหรือจิตวิญญาณ กับจิตใจหรือนาม กับสมองหรือรูป นั่นคือความสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณ - นาม - รูปที่อยู่ในคำถามทั้งสองคำถาม

    ในความเข้าใจนั้น คลื่นหรืออนุภาคที่เป็นอิสระในธรรมชาติ คือนามรูปที่ต้องไปด้วยกันตลอดเวลาไม่แน่นอน เป็นอนิจจัง อนัตตา จึงไม่ใช่นามหรือรูปที่แยกกันโดดๆ แต่เป็นธรรมชาติสภาวธรรมตามกฎของ ไฮเซ็นเบิร์ก (uncertainty) และของ นีลส์ บอห์ร (complimentarity) แต่หากคลื่นกับอนุภาคแยกจากกันมาทำงานทั้งสองจะมีลักษณะและมีหน้าที่เฉพาะ

    ดังนั้น ที่พุทธศาสนาจัดเป็นรูปจึงถูกต้องและไม่ขัดกัน แต่ในธรรมชาติคลื่นกับอนุภาคเป็นสองสภาวะที่ร่วมกันเสริมกันและกัน
    เช่นเดียว กับนามรูปที่เป็นสภาวธรรมร่วมกันในความหมายเมื่อไม่ได้แยกจากกัน

    นามรูปไม่ใช่นามหรือรูป

    ไม่ใช่คลื่นที่แยกออกมาโดดๆ เช่นแสงแดดหรือแสงเทียน

    ซึ่งผู้ถามในฐานะเป็นผู้ศึกษาพุทธศาสนาจบเปรียญ 9 ประโยค ผ่านการวิตกวิจารณ์มายาวนาน อาจเทียบเคียงเพื่อความเข้าใจได้ว่า ที่มาของสรรพสิ่งของสสารวัตถุ ของกาย ของจิตอันเป็นธรรมธาตุหรือธรรมฐิติ
    หรือพื้นฐานของจักรวาลที่เป็นความจริงแท้นั้น เป็นรูปแบบหนึ่ง ของพลังงานที่ม้วนซ่อนอยู่ในสนามของความเป็นหนึ่งที่บริสุทธิ์ยิ่ง

    หนึ่ง ที่ว่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นหนึ่งที่เป็นดวงๆ เช่นดวงแก้วดวงใหญ่ดวงเดียว แต่เป็นหนึ่งเช่นเป็นเยื่อใยร่างแหผืนเดียวที่เป็นพื้นฐานของทั้งหมด
    พลังงาน ที่เป็นหนึ่งเดียวกันในความหมายนี้คือร่างแหจิต
    (พลังงานในรูปแบบอื่นคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ คือสสาร คือที่ว่างเวลา และก็คือข้อมูล)

    สนามจิตบริสุทธิ์หรือหนึ่งดั้งเดิมนี้อาจเทียบได้กับพุทธะหรือจิตหนึ่งหรือ
    ธรรมชาติที่สุดของธรรมชาติตามที่ท่านพุทธทาสเรียก และสภาวะของความ บริสุทธิ์นี้คือสภาวะที่เป็นนิพพานด้วย

    ทั้งสองเป็นสิ่งเดียวกันก็ได้โดยความบริสุทธิ์ หรือต่างกันก็ได้โดยลักษณะ
    จิตพุทธะเป็นเนื้อหาที่นำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งหลากหลายไม่สิ้นสุด เป็นอนันตัง ดังที่มีกล่าวว่า
    อนิทัสสนามัง วิญญานามัง อนันตามัง สัพโตปภามัง

    เมื่อสิ้น อิสระเมื่อก่อประกอบเปลี่ยนแปลงไปเป็นอนุภาคก็คือ ปฐมามังอุปปัญโญ
    ที่ที่ จะเป็นที่มาของนามหรือรูปที่แยกกันออกไป ที่เป็นนามจะมีวิวัฒนาการไป ตามขั้นตอนของนาม สอดคล้องกับด้านที่วิวัฒนาการไปเป็นรูปกาย ที่เป็นนามคือจิตระดับต่างๆ ของชีวิตที่หลากหลาย
    กระทั่งเป็นจิตของมนุษย์ที่ จะยังต้องวิวัฒนาการต่อไปอีก

    ส่วนที่เป็นรูป ก็คือรูปร่างอันหลากหลาย ของมวลชีวิต ทั้งสองกระบวนธรรมชาติที่เป็นไปเองตามหลักการและขั้นตอนของสังสารวัฏ นั่นคือเส้นทางขามา

    ส่วนนิพพานนั้นเป็นสภาวะจิตที่ บริสุทธิ์ที่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลงได้อีก อันเป็นเส้นทางขากลับ

    ซึ่งสำหรับพุทธ ปรัชญาแล้วไม่จำเป็นว่าจะต้องไปรวมกัน
    เช่นศาสนาพราหมณ์ที่สุดท้าย อาตมันรวมกับปรมาตมันหรือพรหมมัน ความบริสุทธิ์ของหลักสำคัญสูงสุด ทั้งสองประการ

    คือ จิตหนึ่งหรือพุทธะด้านหนึ่ง

    กับนิพพานอีกด้านหนึ่ง

    จะมีคุณสมบัติและความบริสุทธิ์เป็นเช่นเดียวกัน แต่ต่างกันที่บริบทที่มิติและ มีเส้นทางที่ต่างกันออกไป

    เปรียบได้กับจักรวาลวิทยาว่าด้วยการเกิดของ จักรวาลที่เป็นขามาหลังบิ๊ก-แบง กับจักรวาลที่เป็นขากลับ
    (ซึ่งความเห็นยัง ไม่ยุติระหว่างจักรวาลปิดหรือจักรวาลเปิด)

    แต่ไม่ว่าจะเป็นบิ๊ก-ครันช์ของจักรวาลปิด หรือจุดกลางของหลุมดำของจักรวาลเปิด ต่างก็มีแต่การเกิดๆ ดับๆ ที่ไม่สิ้นสุดในวิชาจักรวาลวิทยาใหม่ ที่ก็ไม่ได้ต่างกันกับจักรวาลวิทยาในทางพุทธศาสตร์
    ความเป็นขามาและขากลับไปของวิวัตตา – สังวิวัตตาตลอดไป.

    4713  สุขใจในธรรม / ห้องวิปัสสนา - มหาสติปัฏฐาน 4 / หลงนิมิต ( อ.บูรพา ผดุงไทย ) เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2553 13:53:09



    เรื่องของนิมิตนับว่าเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่มีความสำคัญมากต่อการปฏิบัติสมาธิภาวนา เพราะนิมิตนั้นเปรียบเสมือนดาบสองคม หากรู้จักวิธีการใช้ภาพนิมิตเป็นเครื่องมือในการนำจิตเข้าถึงภาวะสมาธิจิตได้ ย่อมเกิดผลดีต่อการปฏิบัติ แต่หากผู้ปฏิบัติยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องภาพนิมิตแล้วนำมาใช้ไม่เป็นก็ย่อมเป็นเหตุบั่นทอนในการปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น ด้วยเพราะหากขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องภาพนิมิตแล้ว จิตอาจไปยึดถือเอาภาพนิมิตเหล่านั้นมาคิดเป็นจริงเป็นจังจนเกิดเป็นความหลงนิมิตได้

    ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ อาการหลงนิมิตเป็นเรื่องที่ผู้ปฏิบัติจำนวนมากกำลังประสบอยู่ เนื่องจากขาดครูบาอาจารย์ผู้ที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริงในการเพ่งภาพนิมิตคอยให้คำชี้แนะ เป็นผลให้ผู้ปฏิบัติหลายคนไปติดอยู่กับภาพนิมิต ซึ่งบางรายถึงกับเกิดอาการหลงในนิมิตเป็นอย่างมาก ยึดมั่นถือมั่นในภาพมายานิมิตเหล่านั้นว่าเป็นเรื่องจริง เกิดเป็นอวิชชาความหลงและยึดเอานิมิตเหล่านั้นมาเป็นอารมณ์จิตของตน ก่อให้เกิดเป็นอัตตาขึ้นในจิต ไม่ยอมปล่อยวาง สุดท้ายจิตจึงไม่อาจก้าวหน้าในทางปฏิบัติ

    โดยปกติแล้ว ในช่วงที่จิตกำลังจะตัดกระแสความคิดและเข้าถึงความสงบในระดับฌานสมาธิ มักจะมีภาพนิมิตปรากฏขึ้นภายในจิตของผู้ปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการปฏิบัติเลยก็ว่าได้ เพราะหากในช่วงนี้ผู้ปฏิบัติขาดครูบาอาจารย์ที่คอยให้คำแนะนำอย่างถูกต้องในการปฏิบัติแล้ว ย่อมมีความเสี่ยงสูงที่ผู้ปฏิบัติอาจจะเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตีความภาพนิมิตที่ได้พบเจอจากการปฏิบัติ

    ผู้ปฏิบัติบางรายมีอาการที่จิตถูกครอบงำโดยภาพนิมิต ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่จิตไม่เท่าทัน จิตไปหลงยึดในภาพนิมิตเหล่านั้นว่าเป็นเรื่องจริง และไม่ยอมปล่อยวางภาพนิมิตเหล่านั้น เป็นเหตุให้จิตหลงไปตามอุปาทานสัญญาที่ถูกปรุงแต่งสร้างขึ้นด้วยจินตนาการของจิต แล้วภาพมายาเหล่านั้นก็จะไปสร้างเป็นสวรรค์วิมานตามที่กิเลสในใจเราต้องการ สุดท้ายมายาภาพนิมิตและอวิชชาความหลงของจิตก็จะกลับมาเป็นอุปสรรคในการปฏิบัติสมาธิภาวนา เพราะเมื่อจิตไม่ยอมปล่อยวาง จิตก็ย่อมไม่อาจก้าวไปสู่ภูมิแห่งจิตในขั้นที่ละเอียดสูงขึ้นไปอีกได้
    ในปัจจุบันพบว่ามีหลายสำนักที่นิยมนำเอาวิชาการจูงจิตและสร้างภาพมายานิมิตในรูปแบบต่างๆ มาใช้ในการสอนปฏิบัติสมาธิภาวนา โดยผู้สอนจะอาศัยการจูงจิตและการสร้างอุปาทานสัญญาให้ผู้ปฏิบัติเชื่อว่าภาพนิมิตที่บังเกิดขึ้นในดวงจิตนั้นดูเป็นจริงเป็นจัง เมื่อจิตของผู้ปฏิบัติถูกชักจูงด้วยคำพูดในช่วงขณะที่จิตกำลังตกอยู่ในภวังคจิต คำพูดเหล่านั้นจึงกลายเป็นคำสั่งที่สั่งตรงไปยังจิตใต้สำนึก อันเป็นภาวะก่อนที่จะถึงจิตเดิมแท้

    จิตใต้สำนึกเป็นจิตที่มีพลังที่อยู่เหนือการควบคุมของสติโดยปกติ หรือถ้าจะกล่าวอีกอย่างก็คือ อยู่เหนือการควบคุมของจิตสำนึกโดยทั่วไปนั่นเอง ดังนั้น การส่งคำสั่งเข้าไปยังจิตส่วนลึกหรือจิตใต้สำนึกจึงทำให้ภาพนิมิต แล้วคำสั่งที่ถูกจูงจิตนั้นก็จะฝังแน่นเข้าไปยังจิตส่วนลึก จิตเมื่อเกิดอาการหลงแล้วย่อมเป็นการยากที่จะให้จิตนั้นยอมรับความเป็นจริงได้ ผู้ที่ถูกจูงจิตจึงกระทำตามคำสั่งเหล่านั้นโดยปราศจากการพิจารณาไตร่ตรอง และนี่ก็เป็นคำอธิบายที่ว่า "ทำไมผู้ที่ถูกครอบงำจิตจึงไม่สามารถบังคับจิตของตนเองได้เลย?"

    แม้ว่าในการใช้ภาพกสิณนิมิตจะบังเกิดผลดีต่อการปฏิบัติในแง่ที่ว่าจิตของผู้ปฏิบัติจะบังเกิดเครื่องรู้ที่ช่วยนำพาจิตให้เข้าสู่ภาวะสมาธิได้แต่โดยง่ายก็ตาม แต่หากบังเอิญผู้ปฏิบัติแจ็กพอตไปพบเจอเข้ากับผู้สอนที่ใช้การจูงจิต ป้อนคำสั่งเข้าไปยังจิตใต้สำนึก จนผู้ปฏิบัติเกิดอาการหลงนิมิต มีอัตตาตัวตนเป็นเขาเป็นเรา และยอมทำตามคำสั่งของผู้สอนอย่างที่ไม่มีการพิจารณาไตร่ตรองใดๆ ผลที่จะตามก็คือ บางรายไปติดหลงในนิมิตถึงขั้นที่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อมาบริจาคทำบุญ จนกระทั่งหมดเนื้อหมดตัว ขาดสติปัญญาในการพิจารณาไตร่ตรอง เป็นปัญหาที่พบเห็นกันอยู่บ่อยๆ ของคนในสังคมปัจจุบัน

    เมื่อผู้ปฏิบัติได้ตระหนักถึงโทษภัยจากการเล่นกับภาพนิมิต และการเพ่งกสิณนิมิตที่เสี่ยงต่อการนำไปสู่การหลงยึดมั่นถือมั่นในภาพนิมิต รวมถึงกระบวนการเข้าครอบงำจิตได้อย่างง่ายๆ เช่นนี้แล้วจะได้ไม่ประมาทและรู้จักเลือกใช้ในส่วนดีของภาพนิมิตกสิณให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติ

    หากผู้ปฏิบัติมีความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการใช้อุบายกรรมฐานกองนี้ในการเข้าถึงสมาธิจิตดีในระดับขั้นใช้งานได้ หรือมีโอกาสได้พบเจอครูบาอาจารย์ที่คอยแนะนำสั่งสอนเรื่องการเพ่งภาพนิมิตกสิณในทางที่ถูกต้องแล้ว ภาพนิมิตกสิณต่างๆ นั้นย่อมจะเป็นอุบายในการนำพาจิตให้เข้าถึงความว่างและช่องว่างแห่งจิตได้

    แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เมื่อภาพนิมิตที่เราได้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องรู้แก่จิตในการนำพาเราเข้าสู่ภาวะสมาธิจิตได้ บรรลุถึงวัตถุประสงค์ของมันแล้ว ผู้ปฏิบัติจะต้องปล่อยวางภาพนิมิตเหล่านั้นทิ้งไปให้ได้ เพราะเมื่อจิตได้สัมผัสถึงความว่างและช่องว่างแห่งจิตแล้ว จิตจะต้องวางอุบายกรรมฐานทุกชนิดลง ด้วยเหตุผลที่ว่า "หากจิตยังมัวไปยึดกรรมฐานอันใดเอาไว้ จิตจะไม่สามารถเข้าสู่ภาวะความว่างแห่งจิตได้"

    จิตที่ไม่ยอมปล่อยวางภาพนิมิตกสิณ ยังคงมีความยึดมั่นถือมั่นคิดเป็นจริงเป็นจัง จิตจะเริ่มมีอาการปรุงแต่งภาพนิมิตเหล่านั้นไปตามอุปาทานความเชื่อภายในจิตใจของตน จนเกิดเป็นความเห็นผิดที่ยากจะแก้ไขได้.


    อ.บูรพา ผดุงไทย


    http://www.thaipost.net/tabloid/210210/18235
    หน้า:  1 ... 234 235 [236]
    Powered by MySQL Powered by PHP
    Bookmark and Share

    www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
    Mckaforce Group | Sookjai Group
    Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
    Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
    Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
    หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.961 วินาที กับ 26 คำสั่ง