[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 มีนาคม 2567 20:35:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก เวบบอร์ด ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

  แสดงกระทู้
หน้า:  1 2 3 [4] 5 6 ... 235
61  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / ภูฏาน...แดนมังกรสายฟ้า พระพุทธศาสนานำสุข เมื่อ: 12 มกราคม 2567 08:52:28


ภูฏาน...แดนมังกรสายฟ้า พระพุทธศาสนานำสุข

ราชอาณาจักรภูฏานหรือประเทศภูฏาน ที่คนไทยคุ้นเคยกับชื่อนี้มาหลายปีแล้ว


ราชอาณาจักรภูฏานหรือประเทศภูฏาน ที่คนไทยคุ้นเคยกับชื่อนี้มาหลายปีแล้ว ซึ่งกว่า 75% ของชาวภูฏานเป็นพุทธศาสนิกชน แบบมหายาน แบบตันตระหรือวัชรยาน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะต่างนิกายกันก็ตาม แต่ในฐานะพุทธศาสนิกชนด้วยกันแล้ว การได้เดินทางไปประเทศนี้ รับรองว่าทั้งสนุกสนานกับการเดินทางและอิ่มบุญแน่นอน

ภูฏานเป็นเพียงประเทศเดียวในโลก ที่ยอมรับนับถือพุทธศาสนามหายานแบบตันตระ เป็นศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ ซึ่งก็จะมีหลักธรรมพื้นฐานคล้ายกับนิกายอื่น แต่จะนับถือบรรดาเทพเจ้าและเหล่าพระโพธิสัตว์ บางครั้งคนก็จะจำแนกพุทธศาสนาแบบภูฏานว่าเป็นนิกายลามะ เหมือนกับทิเบต ที่รวมเอาความเชื่อเรื่องวิญญาณ การบูชาธรรมชาติ การนับถือเทพเจ้าประจำท้องถิ่น เข้าไว้ด้วยกัน

ปัจจุบันในประเทศภูฏานมีพระสงฆ์กว่า 8,000 รูป ซึ่งจะได้รับการอุปถัมภ์จากรัฐบาล บางคนก็คุ้นกับการเรียกพระสงฆ์ที่นี่ว่า “ลามะ” เพราะอาจเข้าใจผิดว่าทุกท่านคือลามะ แต่อันที่จริงแล้วพระสงฆ์ของภูฏานจะมีการแบ่งเป็นลำดับชั้น ตามระดับของความรู้ ความสามารถ ตั้งแต่พระสามัญทั่วไป จนถึงระดับพระสังฆราช ซึ่งเราจะสามารถจำแนกได้จากสีของจีวร




ในอดีตนั้นพระสงฆ์สามารถมีภรรยาได้ แต่ปัจจุบันกลายเป็นข้อห้าม และสงฆ์ต้องถือครองเพศพรหมจรรย์ ละเว้นการสูบบุหรี่หรือดื่มน้ำเมา แต่ยังฉันเนื้อสัตว์ได้ พระที่ภูฏานนั้นฉันได้กระทั่งมื้อเย็น ซึ่งจะต่างจากพระในประเทศอื่นๆ พุทธศาสนานิกายมหายานแบบตันตระนี้ ไม่ได้มีให้เห็นในเมืองไทย ดังนั้นก็จะไม่แปลกนัก หากพุทธศาสนิกชนคนไทยที่ได้มีโอกาสเดินทางมายังวัดในภูฏาน จะกราบไหว้และแสดงความเคารพด้วยกิริยาที่แตกต่างจากคนที่นี่ แต่อย่างน้อยที่สุดขอให้แสดงอาการสำรวม และเคารพจากใจจริงก็เชื่อว่าบุญกุศลก็คงเกิดขึ้นได้

ตั้งแต่กระแสนิยมสมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในสังคมไทย ก็ทำให้คนอยากเดินทางไปเที่ยวภูฏานมากขึ้น คนเริ่มคุ้นเคยกับคำว่า GNH : Gross National Happiness หรือดัชนีมวลรวมความสุขมากขึ้น และหลายคนที่ได้มีโอกาสเดินทางไปสัมผัสกับดินแดนมังกรสายฟ้าแห่งนี้ เกือบทุกคนจะกลับมาพร้อมกับความสุขและความอิ่มเอม คนที่เลือกมาเยือนภูฏานส่วนใหญ่คงต้องการแสวงหาธรรมชาติที่บริสุทธิ์ และสัมผัสวัฒนธรรมที่มีมนต์เสน่ห์ ซึ่งเมื่อมาถึงแล้วทุกคนจะพบว่าทั้งธรรมชาติและวัฒนธรรมของที่นี่ผสานกันอย่างกลมกลืนจนแยกไม่ออก



ภาพทิวธงภาวนาหลากสีที่โบกปลิวอยู่ในวัดวาอาราม อยู่บนเนินเขา หรือแม้แต่พัดผ่านม่านหมอก คือเรื่องธรรมดาสำหรับคนที่นี่ แต่สำหรับนักท่องเที่ยวแล้ว นี่คือความงดงาม ที่เกิดจากส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างธรรมชาติและวัฒนธรรม บนดินแดนที่สูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 2,300 เมตร นอกจากเราจะพบเห็นพระสงฆ์ตามวัดแล้ว ที่ประเทศภูฏานเรายังจะพบเห็นพระสงฆ์ได้ตามสถานที่ที่เรียกว่า “ซอง (Dzong)” ซึ่งแปลว่า “ป้อมปราการ”

เดิมทีซองถูกสร้างเพื่อใช้เป็นป้อมปราการ และแสดงถึงความยิ่งใหญ่เหนือศัตรู แต่ปัจจุบันนี้ได้กลายเป็นทั้งศูนย์ราชการ เป็นที่ตั้งของหน่วยงานบริหารในเขต และยังถูกใช้เป็นวัดประจำเขตและจะมีโรงเรียนสงฆ์ตั้งอยู่ในนั้นด้วย ซึ่งในภูฏานนั้นยังคงมีซองหลงเหลืออยู่หลายแห่ง แต่ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญก็เห็นจะเป็นตรองสาซอง วังดีซอง พาโรซอง ทิมพูซอง และปูนาคาซอง



 

พาโรซองเป็นสถานที่ซึ่งทุกคนที่มาภูฏานต้องไม่พลาด เพราะตั้งอยู่ในเมืองหลวงพาโร และนักท่องเที่ยวที่มาก็ต้องมาลงเครื่องที่เมืองนี้ ส่วนปูนาคาซอง ตั้งอยู่ในเมืองปูนาคา อดีตราชธานีแห่งภูฏาน ตั้งอยู่ระหว่างจุดบรรจบของแม่น้ำสองสาย มองจากภายนอกก็เลยคล้ายกับเรือขนาดยักษ์ที่ลอยอยู่บนผืนน้ำ สร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1637 เคยผ่านภัยพิบัติมาแล้ว ทั้งไฟไหม้ น้ำท่วม และแผ่นดินไหว แต่ทุกครั้งที่เกิดความเสียหาย ก็จะสามารถบูรณะขึ้นมาใหม่ด้วยจิตศรัทธาแห่งพุทธศาสนิกชน

มีสถานที่อยู่อีกแห่งหนึ่ง ที่บรรดานักท่องเที่ยวผู้มาเยือนภูฏานจะต้องไม่พลาด สำหรับนักท่องเที่ยวตะวันตกที่ไม่ใช่ชาวพุทธ การไปเยือนสถานที่นี้อาจจะเป็นความท้าทาย แต่สำหรับพุทธศาสนิกชนแล้ว นี่อาจหมายถึงการพิสูจน์ศรัทธาด้วยก็ได้ เพราะไม่ใช่เพียงระยะทางที่ค่อนข้างโหดเท่านั้น แต่การเดินขึ้นเขาที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 3,000 เมตร และอากาศเบาบางนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย สถานที่ที่ว่านี้ก็คือวัดทัคซัง หรือ Tiger Nest เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ที่สุดที่ตั้งอยู่บนยอดเขา ว่ากันว่าถ้าใครไปถึงภูฏานแล้ว ไม่ได้ไปสักการะวัดทัคซังก็ถือว่ายังมาไม่ถึงประเทศนี้


ชาวภูฏานนิยมเดินทางมาแสวงบุญที่วัดนี้ ภายในเขตวัดมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่ทั้งสิ้น 13 แห่ง ที่มีความเป็นมาเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของภูฏาน แม้จะมีม้าไว้บริการ แต่แนะนำว่าควรเดินเท้าขึ้นไปเอง เพราะแม้ว่าจะเหนื่อยยากเพียงใด แต่ก็เป็นการสร้างความเพียร และฝึกจิตให้อยู่เหนือความลำบากทางกาย ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องยากจนเกินไป เพราะบรรยากาศรอบข้างอันเงียบสงบร่มรื่น ก็เอื้อให้เกิดสติ ให้เรามีสมาธิอยู่กับแต่ละย่างก้าว ไม่หมกมุ่นอยู่กับปลายทางจนเกิดความล้าและความกังวล แต่ต้องตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบัน

แม้ว่าประเทศภูฏานและประเทศไทยจะพูดต่างภาษา มีศาสนาต่างลัทธิ และมีวิถีปฏิบัติที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ความเชื่อและศรัทธาในพระธรรมก็เชื่อมหัวใจพุทธของพวกเราเข้าหากันได้อย่างไม่มีกำแพง กับประเทศเล็กๆ ที่เปี่ยมไปด้วยความสุข “ภูฏาน...แดนมังกรสายฟ้า พระพุทธศาสนานำสุข”



จาก https://www.posttoday.com/lifestyle/299353

เพิ่มเติม http://www.tairomdham.net/index.php/board,37.0.html
62  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / ระบบจักรวาลในศาสนาพุทธ และ พุทธเกษตรคืออะไร (ธรรมะตำนาน) เมื่อ: 12 มกราคม 2567 08:48:46
ระบบจักรวาลในศาสนาพุทธ และ พุทธเกษตรคืออะไร (ธรรมะตำนาน)















<a href="https://www.youtube.com/v//SZRilHqmeHU" target="_blank">https://www.youtube.com/v//SZRilHqmeHU</a>

https://www.youtube.com/live/SZRilHqmeHU?si=NyHqsFYx6lBNZrbN

เพิ่มเติม http://www.tairomdham.net/index.php/board,36.0.html
63  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / บทกวีไฮกุ: สามบรรทัดแห่งการชื่นชมชั่วขณะอย่างที่เป็น เมื่อ: 12 มกราคม 2567 08:45:16
บทกวีไฮกุ: สามบรรทัดแห่งการชื่นชมชั่วขณะอย่างที่เป็น



The old pond, ah!                   
  อา, สระน้ำเก่าแก่!

A frog jump in:                         
 กบกระโจนลงไปในน้ำ

The water’s sound!                 
 แล้วได้ยิน เสียงน้ำ!


ไฮกุ (haiku) อันลือลั่นของบาโซ (1643-94) ผู้ศรัทธาต่อนิกายเซน ทว่ามิใช่ภิกษุเซน กล่าวกันว่า ไฮกุบทนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติไฮกุสมัยใหม่ในประเทศญี่ปุ่น

“ไฮกุ” เป็นกวีที่สั้นที่สุด มีเพียง 17 พยางค์ หรือบทกวีสามบรรทัด แต่ละบรรทัดคือ ห้า เจ็ด ห้าพยางค์ ไฮกุก่อนสมัยบาโชเป็นเพียงการเล่นคำหรือตีฝีปากเท่านั้น โดยไม่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตใดๆ เลย

ครั้งหนึ่งเมื่อบาโชถูกอาจารย์เซนถามถึงเรื่องความจริงแห่งอติมะของสิ่งทั้งหลาย บังเอิญว่าท่านมองเห็นกบกระโดดไปในสระเก่าๆ เสียงที่มันกระโดดลงไปในน้ำได้ทำลายความสงบของสถานการณ์ลงทันที บทกวีไฮกุที่ท่านตอบอาจารย์เซนไปนั้น จึงเป็นการเริ่มต้นขบวนการปฏิวัติบทกวีของท่าน ไฮกุที่สะท้อนจิตของกวีผู้เฝ้าดูอารมณ์ของจิตทุกๆ ขณะ …นี่คือการนำเซนเข้ามาเกี่ยวข้องกับไฮกุ

เซนกับไฮกุ

ปรัชญาเซน จริงๆ แล้วก็คือปรัชญาพุทธมหายานทั่วๆ ไป แต่เซนมีวิธีการรู้แจ้งปรัชญานั้นอันเป็นเอกลักษณ์ของมันเอง ที่มาจากการเห็นความลึกลับของสภาวะของตนเองโดยตรง หรือเห็นความจริงแท้นั่นเอง

เซนไม่ให้เรายึดถือคำสอนที่ใครพูดหรือเขียนไว้ ไม่เชื่อในสภาวะอื่นนอกจากการตื่นรู้ผ่านประสบการณ์ตรงภายในตนเอง เป็นความจริงแท้ที่ข้ามพ้นถ้อยคำหรือมโนทัศน์ทั้งหมด การตื่นรู้นี้ เซนเรียกว่า “ซาโตริ (satori)”

ดีที ซุซุกิ [1] อาจารย์ผู้สื่อสารเซนสู่โลกตะวันตกได้อธิบายว่า ไฮกุที่แต่งขึ้นโดยปราศจากสำนึกของตัวตนนั้นก็ไม่ต่างจากการแสดงความรู้แจ้งอย่างผู้ฝึกเซน แต่เป็น “ซาโตริแบบศิลปะ (the artistic satori)” ที่ตื่นรู้เพียงบางแง่มุมชีวิตของศิลปิน ในขณะที่ ซาโตริของผู้ฝึกเซนครอบคลุมสภาวะทั้งหมดของเขา

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเซนจะมีส่วนสัมพันธ์กับไฮกุ แต่ก็ไม่อาจนำไฮกุกับเซนมาปนเปกันได้ ไฮกุมีพื้นที่ของมันเอง นั่นคือเป็นบทกวีที่ประพิมประพายไปด้วยความใกล้ชิดธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอน ความสันโดษ ความลึกลับ หรือธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็นในชั่วขณะหนึ่งโดยปราศจากการบิดเบือนทางความคิด



เชอเกียม ตรุงปะ กับ ไฮกุ

เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช [2] ธรรมาจารย์ชาวทิเบตผู้มีอิทธิพลอย่างสูงต่อการวางรากฐานของพุทธธรรมในโลกตะวันตก ได้ศึกษาการเขียนบทกวีแบบญี่ปุ่นในช่วงที่พำนักอยู่ในประเทศอินเดีย ท่านชื่นชอบไฮกุเป็นพิเศษ และมักกระตุ้นให้ลูกศิษย์ของท่านแต่งกวีไฮกุเสมอๆโดยเฉพาะหลังการเรียนจัดดอกไม้อิเคบานะ

ตรุงปะมองว่า ไฮกุเป็นการนำแก่นของพุทธธรรมมาแสดงในรูปของบทกวีอย่างฉับพลัน “มันคือโจทย์ที่คุณจะเขียนภาวะจิตของตนลงบนกระดาษ คุณจะเห็นสภาวะจิตของตนเองผ่านบทกวี ไฮกุคือการเขียนจิตตัวเอง” กล่าวคือไฮกุเป็นการแสดงออกถึงสภาวะจิตที่ละเอียดเบาบางอยู่เหนือสภาวะอารมณ์ อย่างไรก็ตาม การทำเช่นนี้คุณต้องเปิดจิตให้เข้าถึงความว่าง ซึ่งเป็นอุดมคติในทางมหายาน บทกวีไฮกุของตรุงปะจึงแสดงถึงวิถีทางในการดำรงอยู่กับประสบการณ์ในชั่วขณะหนึ่งอันไร้เงื่อนไข ดังเช่น

“ พ่อแม่เขาจิบชา

กับเพื่อนหญิงคนใหม่ของเขา

ราวนายพลตรวจกอง ”


ไฮกุกับการรับรู้ตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน

ด้วยความสัมพันธ์ของไฮกุกับวิถีชีวิต บทกวีสามบรรทัดนี้ได้เปิดประตูแห่งประสบการณ์ใหม่ของการบรรสานการสร้างสรรค์กับการภาวนาให้กับกวี ศิลปิน และผู้รักบทกวี อย่างไรก็ตาม คำถามที่ตามมาคือไฮกุจะมาเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงการรับรู้และการชื่นชมสิ่งธรรมชาติตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวันได้อย่างไร

ขลุ่ยไม้ไผ่หนังสือของรวมไฮกุของ พจนา จันทรสันติ [3] ผู้ได้แรงบันดาลใจจากบทกวีไฮกุแบบญี่ปุ่น ได้เขียนอธิบายว่า บทกวีไฮกุเป็นบทกวีที่ไหลออกมาจากใจอย่างตรงไปตรงมา เรียบง่าย สั้นๆ โดยไม่ผ่านการตกแต่งทางภาษา ไม่ใช่สิ่งที่เกิดจากการนั่งนึกฝันเอาเอง เพียงอาศัยข้อความสั้นๆไม่กี่ประโยคคลี่คลายความรู้สึกภายในออกมาและให้จบสิ้นอย่างสมบูรณ์อยู่ในนั้น 

เช่นเดียวกับ นพ.วิธาน ฐานะวุฑฒ์ [4]  ผู้ตกหลุมรักไฮกุและมีผลงานบทกวีไฮกุถึงสองเล่มได้กล่าวถึงการเขียนไฮกุว่า ไฮกุ คือการบรรยายสิ่งที่อยู่ตรงหน้าว่าเราเห็น รับรู้ และรู้สึกอย่างไร โดยการเขียนแสดงการดำรงอยู่ตามความเป็นจริงของสภาวะ

อย่างไรก็ตาม Yoel Hoffmann [5] อธิบายถึงการเขียนไฮกุแตกต่างออกไป เขากล่าวว่า ไฮกุคือความพยายามที่จะ “พูดอะไรโดยไม่พูด” เป็นเหมือนหมึกสองสามบรรทัดในภาพทิวทัศน์ของญี่ปุ่นและจีนที่เน้นความกว้างใหญ่ของฉาก


หลักการและคุณลักษณะของไฮกุ

คุณลักษณะไฮกุประกอบด้วย

(1) การอธิบายสถานะหรือเหตุการณ์เดียว 

(2) เวลาที่เป็นปัจจุบัน และ

(3) เชื่อมโยงกับภาพหนึ่งในสี่ฤดูกาลของญี่ปุ่น

ในเวิร์คช็อปการเขียนไฮกุของ sacred mountain festival  ปี 2020 วิทยากร อ.อนุสรณ์ ติปยานนท์ อธิบายว่า ไฮกุคือการสรุปความคิดที่เราอยากเล่ามากมายลงในสิบเจ็ดพยางค์หรือสามบรรทัด วิธีการเขียนไฮกุเริ่มต้นด้วยการเขียนความเรียงอย่างอิสระหนึ่งหน้ากระดาษหรือเท่าที่เขียนได้เพื่อบรรยาถึงสิ่งที่อยากจะเล่าในขณะนั้น แล้วค่อยกลั่นลงมาให้เหลือเพียงสิบเจ็ดพยางค์สามบรรทัด ห้า เจ็ด ห้า เป็นบทกวีไฮกุ

เชอเกียม ตรุงปะ เสนอการเขียนไฮกุของท่านไว้ว่ามีหลักสามประการ คือ เริ่มต้นจากความคิดในแวบแรก ซึ่งจะเป็นแนวทางของกวีนั้นทั้งหมด บรรทัดที่สองเป็นความต่อเนื่องจากบรรทัดแรก และบรรทัดสุดท้ายเป็นความเคลื่อนไหวส่งท้ายที่ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของบทกวี

แนวการเขียนของ เชอเกียม ตรุงปะ ผู้เขียนมองว่าสอดคล้องกับหลักฟ้า (heaven) ดิน (earth) และมนุษย์ (human) ในการจัดดอกไม้อิเคบานะตามมุมมองธรรมศิลป์ที่ตรุงปะเสนอไว้ กล่าวคือ บรรทัดแรกของไฮกุเป็นความคิดแวบแรกคือหลักการของฟ้า ที่แสดงถึงความเปิดกว้าง และอิสรภาพอันไร้เงื่อนไขที่ดำรงอยู่เสมอ ในการจัดดอกไม้อิเคบานะนั่นคือกิ่งแรกที่ปักลงแจกันซึ่งแสดงถึงโทนการจัดดอกไม้ทั้งหมด บรรทัดที่สองคือหลักการของดิน ซึ่งในอิเคบานะคือกิ่งที่สองที่ปักลงแจกันรองรับและเกื้อหนุนการดำรงอยู่ของฟ้า และบรรทัดสุดท้ายคือหลักการมนุษย์ ที่เชื่อมโยงระหว่างฟ้าและดิน โดยในอิเคบานะมนุษย์คือความรื่นรมย์หรือดอกไม้ที่จะเชื่อมโยงกิ่งแรกและกิ่งสองเข้าด้วยกัน

ด้วยหลักการนี้ หมายความว่าอิสรภาพจากจุดอ้างอิงและแบบแผนความคิดของนักกวีก่อนการแต่งบทกวีเป็นหัวใจสำคัญ ในการสื่อสารและชื่นชมสิ่งต่างๆตามความเป็นจริงได้อย่างอิสระ เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งธรรมชาติและสถานกาณ์ตรงหน้าย่อมสดใหม่เสมอสำหรับการเขียนบทกวีไฮกุชื่นชมสิ่งตางๆอย่างที่มันเป็น

สาวชุดกิโมโน

ณ ทางเข้าสุขาวดี

หนึ่งย่อหนึ่งยืนยิ้ม




8 พฤศจิกายน 2560

ทางเข้าวัดอิคันโด (วัดนิกายสุขาวดี) เมืองเกียวโต ญี่ปุ่น



จาก https://www.vajrasiddha.com/articles-haiku/

เพิ่มเติม http://www.tairomdham.net/index.php/board,34.0.html
64  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / Japan Design (デザイン) "วาบิ-ซาบิ" แนวคิดของความงามในการออกแบบของญี่ปุ่น เมื่อ: 12 มกราคม 2567 08:41:00
Japan Design (デザイン) "วาบิ-ซาบิ" แนวคิดของความงามในการออกแบบของญี่ปุ่น



"วาบิ-ซาบิ" (侘寂 , wabi-sabi )

เป็นแนวทางความงาม ที่สามารถพบได้ในทั่วทุกพื้นที่ของวัฒนธรรมญี่ปุ่น

Wabi-Sabi ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นไปสู่ศิลปะในแขนงต่างๆ 

การออกแบบ, สวนเซน, พิธีชงชา, ห้องพิธีชงชาญี่ปุ่น ,การจัดดอกไม้ ,

แม้กระทั่งในศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิม หรือแม้แต่ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ฯลฯ

เหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของ Wabi-Sabi

Wabi-Sabiหมายถึงมุมมองของโลก ที่ความงามมีศูนย์กลางอยู่ที่การยอมรับของความตายและความไม่สมบูรณ์
คือความงดงามของสรรพสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบ ไม่อยู่คงทนถาวร และไม่เสร็จสมบูรณ์"
ต้นกำเนิดของแนวความคิดนี้ สามารถสืบย้อนไปถึงเมื่อสมัยที่ ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองในญี่ปุ่น
หลังจากศตวรรษของการผสมผสานศิลปะ และอิทธิพลทางพุทธศาสนาจากจีน
ในที่สุดก็กลายเป็นอุดมคติของญี่ปุ่นอย่างเห็นได้ชัด
แนวคิดของ "วาบิ-ซาบิ" นั้นมีความคล้ายคลึงกับแนวความคิด ในศาสนาพุทธ (เกิด,แก่,เจ็บ,ตาย)
โดยชาวพุทธทั่วโลกจะรู้สึกว่าวัตถุ ที่ตรงกับแนวความคิดเหล่านี้เป็น "สิ่งที่สวยงาม."

ในช่วงศตวรรษที่ 12 – 13 หรือก็คือสมัยเฮอัน จนถึงสมัยคามาคุระ
คนญี่ปุ่นถือคติว่า สิ่งที่จะทำให้มนุษย์มีความสุขสงบอย่างแท้จริงได้นั้น
มิใช่ความหรูหรา ความร่ำรวยมั่งคั่ง
แต่เป็นความเรียบง่าย จากสิ่งที่ธรรมชาติได้มอบให้
การมีความสุขทางจิตใจ มีคุณค่ากว่าการยึดติดกับความเจริญทางวัตถุ
ทว่าเมื่ออยู่ยุคสู่สงคราม  บ้านเมืองถูกเผาทำลาย เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง
ผู้คนล้มตาย ในช่วงของสงครามนี้ผู้คนได้เปลี่ยนมายกย่องเงินทอง
เพื่อความอยู่รอดของปากท้องและอำนาจบารมี
ในคำว่าความทุกข์นั้น ยังมีความงดงามแฝงเอาไว้
หลังจากสิ้นสุดสงคราม และบ้านเมืองมีความสงบ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนชั้นสูงของญี่ปุ่น ที่เข้าใจความว่างเปล่าและความไม่สมบูรณ์นั้น
ถือเป็นเกียรติเท่ากับขั้นตอนแรกของการตรัสรู้ เลยทีเดียว
แนวคิดของ วาบิ-ซาบิ ได้หลอมรวมอยู่ภายในจิตสำนึกแห่งความงาม ของชาวญี่ปุ่น
ความสุขสงบทางใจ ที่เงินหาซื้อไม่ได้นี้
เป็นคุณลักษณะที่ชัดเจนและเป็นลักษณะของความงามแบบของญี่ปุ่น
ในวันนี้ของญี่ปุ่นความหมายของ Wabi-Sabiมักจะมีความหมายคือ
"ภูมิปัญญาในความเรียบง่ายตามธรรมชาติ."

"วาบิ-ซาบิ" (侘寂 , wabi-sabi )
Wabi (侘び) ความเรียบง่าย สมถะ ความอิ่มเอิบในความเรียบง่าย
ซึ่งย่อจากคำว่า “วาบิชี่” (wabishii / 侘しい)  ที่แปลว่า รู้สึกแย่ ลำบาก ยากไร้
Sabi (寂び) ความเงียบสงัด สภาพจิตใจที่สงบนิ่ง และสูงส่ง
ซึ่งย่อมาจากคำว่า “ซาบิชี่” (Sabishii / 寂びしい) ที่แปลว่า เหงา เศร้า เดียวดาย
Wabi-sabi (侘寂) จึงเป็นหลักแนวคิดที่ว่า "สรรพสิ่งไม่สมบูรณ์แบบ"
รวมกันแล้ว Wabi-sabi เป็นแนวความคิดที่มองว่า "สรรพสิ่งนั้นไม่สมบูรณ์แบบ"
เป็นแนวคิดที่ได้มาจากการเรียนการสอน ทางพุทธศาสนา
ที่เข้าใจถึงวัฏจักรของธรรมชาติที่ไม่คงทนถาวร มีการเกิด เสื่อมโทรม และตาย
ทุกสิ่งล้วนเรียบง่าย เจียมเนื้อเจียมตัวและไม่เร่งรีบ
Wabi-sabi จึงเป็นความงามที่เรียบง่าย เจียมเนื้อเจียมตัว และมีความเข้มงวด

Wabi-sabi เป็นหัวใจหลักแห่งความงาม ตามลัทธิเซน
คุณจะเห็น ความงามตามแบบ Wabi-sabi จำนวนมากที่มีความไม่สมดุล ไม่สมบูรณ์
หยาบกร้าน และไม่มีการออกแบบที่ซับซ้อน หรือมีการวางแผนใดๆ
ความงามตามธรรมชาตินี้ ถูกนำไปใช้โดยชาวญี่ปุ่น ในหลายสิ่งหลายอย่าง
เช่น งานเซรามิก ภาพวาด สถาปัตยกรรม ดนตรีแบบดั้งเดิม ฯลฯ
"วาบิ-ซาบิ" คือความงามตามทัศนะ ของ "เซน"
เป็นความงามที่ไม่ต้องการ "แบบ" แห่งความสมบูรณ์
คือความงามที่หลุดออกจาก "แบบ" แห่งความสมบูรณ์แล้ว
เพราะทุกสิ่งในโลกนั้นล้วนไม่สมบูรณ์ "แบบ" ที่สมบูรณ์ อาจจะมี แต่สิ่งสมบูรณ์คงไม่จริง
ทุกสิ่งสมบูรณ์ในความไม่สมบูรณ์ของมัน


 Wabi-sabi
หัวใจหลักแห่งความงาม ตามลัทธิเซน



หลักการความงามของ วาบิ-ซาบิ" (侘寂 , wabi-sabi )

เป็นหัวใจแห่งความงาม ตามลัทธิเซนโดยมีหลักการ อยู่ 7 หลักการคือ


-Kanso (簡素) : Simplicity or elimination of clutter.
ความเรียบง่าย หรือการขจัดองค์ประกอบที่ฟุ่มเฟือยออกไป
เปิดเผยถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติ
สิ่งที่จะแสดงในแบบธรรมดาเรียบง่ายอย่างธรรมชาติ ไร้การปรุงแต่ง
คงความเรียบง่ายธรรมดาของสิ่งนั้นๆไว้
ความเรียบง่าย ที่แสดงสัจจะแท้จริงของธรรมชาติอย่างตรงไปตรงมา


-Fukinsei (不均整) : Asymmetry or irregularity.
ความไม่สมส่วน ไม่สมมาตร ไม่สม่ำเสมอ
ความคิดของการควบคุมความสมดุลในองค์ประกอบ
ผ่านความไม่สมส่วนและความไม่สมบูรณ์ เป็นทฤษฎีของความงาม เซน (ZEN)
ตัวอย่างเช่นในภาพวาด Enso (วงกลม "เซน") มักจะวาดเป็นวงกลมที่ไม่สมบูรณ์
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความไม่สมดุล ความไม่สมบูรณ์ เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงอยู่
ความสัมพันธ์ที่มีความกลมกลืนกัน ในความไม่สมดุลยังมีความสมดุล
คือความงามตามธรรมชาติ ที่เต็มไปด้วยความน่าดึงดูด


-Shibui/Shibumi (渋味)Beautiful by being understated, or by being precisely
ความสมถะ เนื้อแท้ แก่นแท้ของวัตถุ แนวคิดของการออกแบบที่เรียบง่าย
คือความสมถะ และความงามผ่านการออกแบบที่ชัดเจนและไม่มีอะไรเพิ่มเติม
"เรียบง่ายโดยไม่ต้องฉูดฉาด. ความเรียบง่ายสง่างาม ความกะทัดรัดชัดเจน"
เป็นคำที่บางครั้งใช้วันนี้ในการอธิบายสิ่ง ที่เรียบง่าย แต่สวยงาม


-Shizen (自然) : Naturalness
ความเป็นธรรมชาติ ความเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไร้การปรุงแต่ง
เช่น การเปิดเผยเนื้อแท้ของลายไม้
หมายถึงความเป็นธรรมชาติ ในการที่จะหลีกเลี่ยงการก่อสร้างเทียม
การวิเคราะห์วิธีการนี้จะต้องหาและแสดงในลักษณะธรรมดา ที่เรียบง่าย และเป็นธรรมชาติ
เพื่อให้ได้ไปถึงที่รากฐาน ตามธรรมชาติของมัน
ถึงแม้จะมีการออกแบบ ที่เรากำลังพยายามที่จะสร้างสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
และมันไม่ได้เป็นธรรมชาติดิบ แต่ผู้ชมรับรู้ได้ถึงความรู้สึก ถึงวัตถุประสงค์และความตั้งใจ


-Yugen (幽玄)  : Profundity or suggestion rather than revelation
ความล้ำลึก ความแยบยล ความงามอันแท้จริงที่สามารถปลุก ให้ตื่นจากความไม่รู้
ความลึกซึ้ง ความงามที่แท้จริงคงอยู่ โดยมีองค์ประกอบหรือความหมายที่ซ่อนอยู่
ในสิ่งที่ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาอย่างชัดเจน ในตัวหนังสือไม่กี่คำ หรือเส้นเพียงไม่กี่เส้น
เช่น สวนญี่ปุ่นนั้นสามารถจะกล่าวได้ว่า เป็นที่รวมของภูมิปัญญา และองค์ประกอบสัญลักษณ์
นักออกแบบสามารถคิดหลายวิธีการ เพื่อที่จะบ่งบอกถึงการมองเห็นที่มากขึ้นโดยไม่แสดง
นั่นก็คือการแสดงมากขึ้นโดยการแสดงออกแต่น้อย

-Datsuzoku (脱俗) : Freedom from habit or formula
ความเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์ รูปแบบ ประเพณีนิยม หลบหนีจากชีวิตประจำวัน
หลักการนี้จะอธิบายถึงความรู้สึกของความประหลาดใจ
และความประหลาดใจ เมื่อได้ตระหนักว่า พวกเขาสามารถมีอิสระจากข้อผูกมัด
มีอิสระจากกฏเกณฑ์ หรือข้อจำกัดต่างๆ นักออกแบบควรมีความคิด จินตนาการของตน
แล้วปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ ให้เป็นไปอย่างอิสระ


-Seijaku (静寂)  : Tranquility or an energized calm (quite)
พลังของความสงบ ความเงียบสงบ ความสงัดในจิตใจอันไม่ถูกเงื่อนไขใดใดร้อยรัด
ความเงียบสงบ สันโดษ นี้อาจจะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่คุณอาจจะมี เมื่อได้อยู่ในสวนญี่ปุ่น


Wabi-sabi (侘寂) คือปรัชญาของความงามญี่ปุ่น
ความไม่สมบูรณ์และอนิจจัง ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ของญี่ปุ่น
ไม่ใช่ว่าเพียงเพราะมีข้อบกพร่อง แล้วนั่นก็คือ Wabi Sabi
มันเป็นไปไม่ได้ที่จะอธิบายด้วยคำพูด คุณจะต้องใช้ความรู้สึกสำหรับ Wabi-sabi


Wabi-sabi (侘寂)
สำหรับผมเป็นการรับรู้ที่ไม่อาจอธิบายได้ เพียงแค่มองดูหรืออ่าน
เหมือนรู้ว่าคืออะไร แต่อธิบายไม่ได้
ปรัชญาที่อยู่ในจิตวิญญาณของชาวญี่ปุ่นนี้
ไม่ว่าจะเป็นวิถีแห่ง "เซน"(ZEN) หรือ Wabi-sabi (侘寂)
ทำให้งานดีไซน์ การออกแบบ ของชาวญี่ปุ่น ทั้งสุขุมลุ่มลึก มีความนัย
ละเมียดละไม เข้าใจความเป็นธรรมชาติ
และมีเอกลักษณ์เฉพาะ ที่ไม่เหมือนใคร

จาก https://fdesignbasis.blogspot.com/2014/04/japan-design-2-wabi-sabi.html?m=1

จาก http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16213.0.html
65  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / ปัจเจกพุทธาปธาน | เหตุให้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อ: 12 มกราคม 2567 08:37:03


ปัจเจกพุทธาปธาน | เหตุให้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

<a href="https://www.youtube.com/v//WhtpaBfl7i8" target="_blank">https://www.youtube.com/v//WhtpaBfl7i8</a> 

https://youtu.be/WhtpaBfl7i8?si=jLL6pBqlS7M6RiF9

<a href="https://www.youtube.com/v///-D0p62b18O0" target="_blank">https://www.youtube.com/v///-D0p62b18O0</a> 

https://youtu.be/-D0p62b18O0?si=qo_CvYKwK55uAYbH

<a href="https://www.youtube.com/v//AfdopEPh3rs" target="_blank">https://www.youtube.com/v//AfdopEPh3rs</a> 

https://youtu.be/AfdopEPh3rs?si=gA9Wyd4W44oqeFZ-

จาก http://www.tairomdham.net/index.php/board,33.0.html
66  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / ลำดับพระพุทธเจ้า เพราะใครๆ ก็บรรลุได้ | Myth Universe เมื่อ: 12 มกราคม 2567 08:35:03


ลำดับพระพุทธเจ้า เพราะใครๆ ก็บรรลุได้ | Myth Universe

พระพุทธเจ้ามีกี่แบบ? จริงหรือที่พระพุทธเจ้าในสมัยต่างๆ มีรายละเอียดในชีวิตแตกต่างกันไป? แล้วทำไมคนคนหนึ่งถึงอยากจะเป็นพระพุทธเจ้า? ตำแหน่งที่ต้องบำเพ็ญบารมีนานแสนนาน อย่างน้อย 4 อสงไขยแสนกัป กับต้นกำเนิดพระพุทธเจ้ายุคสมัยเรา (และสมัยอื่นๆ)

<a href="https://www.youtube.com/v//bo2uB4Ip140" target="_blank">https://www.youtube.com/v//bo2uB4Ip140</a> 

https://youtu.be/bo2uB4Ip140?si=jMzviAIQT_umFi1e

จาก http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16289.0.html
67  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / Re: คือเมฆสีขาว ทางก้าวเก่าแก่ วรรณกรรมพุทธประวัติในทัศนะใหม่ (ติช นัท ฮันห์) เมื่อ: 11 มกราคม 2567 07:50:05
อ่านธรรมะง่ายๆ สร้างแรงบันดาลใจ ผลงานของ "ติช นัท ฮันห์" พระภิกษุนิกายเซนชาวเวียดนาม แปลโดย "รสนา โตสิตระกูล"



อ่านธรรมะง่ายๆ  สร้างแรงบันดาลใจ กับงานเขียนเบสเซลเลอร์ระดับโลก  "ติช นัท ฮันห์" พระภิกษุนิกายเซนชาวเวียดนาม แปลโดย "รสนา โตสิตระกูล" ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 50

การจัดงานฉลองครั้งยิ่งใหญ่ "ครบรอบ 60  ปี ประพันธ์สาส์น-PRAPHANSARN 60th  Anniversary" ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50  อบอุ่นคึกคักท่ามกลางเพื่อนพ้องน้องพี่กัลยาณมิตรวงการน้ำหมึก นักคิด นักเขียน
 
เป็นกิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอันหลากหลาย ในหัวข้อต่างๆ ซึ่งอีกหนึ่งงานเสวนาน่าสนใจ เป็นการสนทนากันในเรื่อง "หนังสือแปลของ "ติช นัท ฮันห์" โดย รสนา โตสิตระกูล ดำเนินรายการโดย อาทร เตชะธาดา กรรมการผู้จัดการ บริษัท สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น ทำหน้าที่ซักถามว่าที่ผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร  ในบทบาทของนักแปล  มืออาชีพ กับผลงานธรรมะ ของหลวงปู่ นัท ฮันห์ ให้พุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้อ่านกันหลายเล่ม
 
หนังสือวรรณกรรมพุทธประวัติในทัศนะใหม่ เรื่อง “คือเมฆสีขาว ทางก้าวเก่าแก่” ชุดไฮไลต์นำมาโชว์บนเวทีมีทั้งหมด 3 เล่ม เป็นผลงานแปลจากศรัทธาของ รสนา โตสิตระกูล (แปลร่วมกับ สันติสุข โสภณสิริ) แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษที่มีนักแปลชาวอเมริกัน แปลไว้ภาษาเวียดนาม ซึ่ง รสนา ใช้เวลาถึง 9 ปีในการแปลหนังสือ 3 เล่มนี้





อาทร กล่าวเปิดเวทีโดยเริ่มตั้งคำถามที่นักอ่านหลายๆ คน คงอยากรู้ว่าหลวงปู่ผู้ล่วงลับ และได้รับการยกย่องท่านคือพระผู้นำระดับโลก ท่านเขียนสิ่งใดประดับไว้ให้โลกวรรณกรรมบ้าง แต่ละเล่มล้วนเป็นเบสเซลเลอร์ระดับโลกทั้งสิ้น รสนา กล่าวว่าก่อนอื่นขอย้อนเวลาตั้งแต่ได้พบท่าน นัท ฮันห์ ครั้งแรกตอนที่ท่านเข้ามาประชุมด้านพุทธศาสนา จ.เชียงใหม่ พ.ศ. 2518 เป็นยุคปลายๆ สงครามเวียดนามซึ่งท่านเรียกร้องให้ยุติสงคราม จนขัดแย้งกับรัฐบาลและต้องกลายเป็นผู้ลี้ภัยในที่สุด ณ ประเทศฝรั่งเศส
 
“ช่วงนั้นดิฉันไปอยู่ที่ จ.สงขลา และได้เห็นชาวเวียดนามอพยพที่เรียกกันว่า โบ๊ทพีเพิล ลอบเข้ามาตามชายฝั่งทะเลไทย ดิฉันจึงมีความเข้าใจท่านที่ต่อต้านสงครามนี้ และประทับใจท่านมากๆ ท่านมีคำพูดกินใจ เช่น “ศัตรูของเราไม่ใช่มนุษย์ แต่คือความโกรธ โลภ หลง” ถ้านับวันเวลาก็ผ่านมาเกือบ 50 ปีเกือบครึ่งศตวรรษแล้วนะคะ แต่ดิฉันจดจำประโยคต่างๆ ที่ท่านพูดกับเราได้ดีเหมือนผ่านมาไม่นานนี้เอง เช่น “เธอลืมลมหายใจตัวเองไปหรือเปล่า” แต่ละประโยคล้วนนเป็นธรรมะง่ายๆ รูปแบบใหม่ๆ กับคำสอนให้อยู่กับปัจจุบันขณะ เช่น “ล้างจานเพื่อล้างจาน” “กินส้มเพื่อกินส้ม” คนไทยฟังก็งงๆ ไม่คุ้นเคยกับคำสอนทำนองนี้ แต่นี่คือสอนธรรมะด้วยประโยคง่ายที่สุด มีความสวยงามมาก มีความเป็นบทกวี สอนให้ใจกายอยู่ที่เดียวกัน หรือการสอนเดินจงกรม ท่านสอนให้ใจเราอยู่กับปัจจุบันขณะไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ไม่ต้องฟุ้งซ่านคิดไปในอดีต คิดไปอนาคต แค่เราอยู่ในปัจจุบัน กายอยู่ไหน ใจก็อยู่ที่นั่น”
 
รสนา แปลหนังสือของ ติช นัท ฮันห์ ตั้งแต่ในยุคแรก เช่น เรื่องปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ ส่วนเล่มที่กล่าวถึงบนเวทีครั้งนี้อีกเรื่องที่มีความโดดเด่น “เดิน วิถีแห่งสติ” แปลเมื่อ พ.ศ. 2528 
 
“เป็นช่วงที่ดิฉันไปปฏิบัติธรรมฝึกเดินจงกรมที่วัดป่าสุคะโต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ พระของเราท่านสอนยกเท้าซ้ายขวา เดินหนอ ย่างหนอ แต่ท่านนัท ฮันห์ สอนแบบกวี สอนให้เดินแบบไม่ต้องมีเป้าหมายก็ได้ เดินแบบเด็กเล็กๆ หัดเดิน จิตเราจะมั่นคงอยู่กับปัจจุบันด้วยจิตใจสงบ ทำให้ทุกก้าวย่างของเรามั่นคงมาก ได้ค้นหาสันติสุขในใจเรา

อีกประเด็น อาทร กล่าวถามถึงจดหมายของ หลวงปู่นัท ฮันห์ เคยเขียนถึง รสนาฐานะเป็นผู้แปลผลงานของท่านในฉบับภาษาไทยไว้ร่วมสิบเล่มเลยทีเดียว
 
"ท่านเขียนจดหมายถึงเมืองไทยหลายฉบับค่ะ ในช่วง พ.ศ. 2523 ช่วงสงครามเวียดนามจบไปแล้วแต่ควันสงครามทั้งผู้อพยพและผู้ต่อต้านยังมีอยู่มากมายในประเทศ ท่านจึงเขียนจดหมายถึงดิฉันขอให้ช่วยแปลจดหมายเป็นภาษาไทยถึงสมเด็จพระสังฆราชของเรา เพื่อบอกกล่าวถึงความเดือดร้อนของพระสงฆ์ แม่ชี และพี่น้องร่วมประเทศของท่านที่ได้รับจากสงคราม เพื่อให้พระสงฆ์ร่วมศาสนาพุทธด้วยกันได้รับรู้ แล้วจดหมายก็กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เราอยากแปลงานของท่านเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เลยค่ะ

คำสอนอีกเรื่องที่ดิฉันประทับใจท่านสอนในแบบศีลห้ายุคใหม่ เป็นวัตรปฏิบัติที่ ท่านนัท ฮันห์ ใช้คำภาษาอังกฤษเทียบกับคำว่า Inter being ทุกๆ สิ่งในธรรมชาติล้วนอิงอาศัยซึ่งกันและกัน ดิฉันแปลให้นักอ่านพุทธศาสนิกชนชาวไทยได้อ่านหนังสือธรรมะในรูปบบภาษากวีสวยงาม คงรูปแบบอ่านง่ายๆ ไว้เช่นเดิม อ่านเพื่อบ่มเพาะแรงบันดาลใจ และเป็นหลักปฏิบัติไว้ยึดเป็นหลักในการใช้ชีวิต ที่ไม่ว่าเราจะอยู่ในฐานะใดในสังคม เรื่องเหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องที่ทุกคนควรฝึกฝน เพื่อการเติบโตในทางจิตใจค่ะ”

จาก https://m.pantip.com/topic/41365460?
68  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / Re: คือเมฆสีขาว ทางก้าวเก่าแก่ วรรณกรรมพุทธประวัติในทัศนะใหม่ (ติช นัท ฮันห์) เมื่อ: 11 มกราคม 2567 07:22:33


คือเมฆสีขาว ทางก้าวเก่าแก่ เล่มที่ 3

คือเมฆสีขาว ทางก้าวเก่าแก่ วรรณกรรมพุทธประวัติในทัศนะใหม่ เชิญทุกท่านรับฟังเสียงอ่านที่จะพาเราย้อนอดีตไปสู่ยุคพุทธกาล สัมผัสถึงพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐยิ่ง

________________

คือเมฆสีขาว ทางก้าวเก่าแก่ เล่ม 3  

สารบัญ

หนังสือเล่มนี้นับว่าเหมาะสมแก่สมัย เพราะเป็นเรื่องพุทธประวัติที่เขียนขึ้นสำหรับคนรุ่นใหม่ อันจะแสดงให้เห็นถึงพระมหากรุณาอันลึกซึ้งของพระบรมศาสดา ถ่ายทอดด้วยภาษาที่เรียบง่าย ลุ่มลึก โดย ท่านติช นัท ฮันห์ ถ่ายทอดเป็นภาษาไทยโดย รสนา โตสิตระกูล และ สันติสุข โสภณสิริ

บทที่ 56 อานาปานสติ: รู้แจ้งลมหายใจอย่างเต็มเปี่ยม
บทที่ 57 พ่วงแพนิใช่ฝั่ง
บทที่ 58 ธุลีดินล้ำค่าหนึ่งกำมือ
บทที่ 59 ข่ายแห่งทฤษฎี
บทที่ 60 ความทุกข์โศกของนางวิสาขา
บทที่ 61 สีหนาท
บทที่ 62 สีหนาทแห่งพระสารีบุตร
บทที่ 63 ตลอดเส้นทางสู่ทะเล
บทที่ 64 วัฎฎะแห่งการเกิดและตายไม่มีการเริ่มต้น ฯลฯ

<a href="https://www.youtube.com/v//Ligcl-4z2LI" target="_blank">https://www.youtube.com/v//Ligcl-4z2LI</a>  

https://youtu.be/Ligcl-4z2LI?si=1pS_nHJpPGEQBXXC

ติดตามฟัง คือเมฆสีขาว ทางก้าวเก่าแก่ ตอนอื่นๆได้ทางลิงก์ https://youtube.com/playlist?list=PLLxnUCCXMcfgYVjweGIx9hQlgBMGb8HfG&si=WraojR3wFeor7QYH

เล่ม 3 เขาทยอยลง เราก็ทยอยฟัง
69  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / จริยาปิฎก หรือ คัมภีร์ว่าด้วยพระพุทธจริยา (การบำเพ็ญบารมีของพระพุทธเจ้า) เมื่อ: 08 มกราคม 2567 09:20:54


จริยาปิฎก (คัมภีร์ว่าด้วยพระพุทธจริยา)

(จริยาปิฎกหรือคัมภีร์ว่าด้วยพระพุทธจริยานี้ นับเป็นเรื่องใหญ่หัวข้อสุดท้ายในเล่มที่ ๓๓ ซึ่งเริ่มด้วยเรื่องอปทานกับเรื่องพุทธวงศ์มาแล้วโดยลำดับ.

จริยาหรือความประพฤติในอดีตของพระพุทธเจ้า ที่นำมากล่าวไว้ใน จริยาปิฎก มี ๓๕ เรื่อง โดยแยกแสดงว่า เป็นการบำเพ็ญทานบารมี ๑๐ เรื่อง, เป็นการบำเพ็ญศีลบารมี ๑๐ เรื่อง, เป็น การบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ( การออกบวช ) ๖ เรื่อง, สัจจบารมี ๖ เรื่อง, เมตตาบารมี ๒ เรื่อง, อุเบกขาบารมี ๑ เรื่อง, รวม เป็น ๑๕ เรื่อง กับตอนสุดท้าย มีสโมธานกถา คือคำสรูปว่า เรื่องไหนเป็นบารมี อะไรในบารมีมี ๑๐ ประการ.

มีข้อที่ควรพิจารณาในเบื้องแรก คือไฉนจริยาปิฎกจึงแบ่งบารมีไว้เพียง ๖ แต่ใน สโมธานกถากล่าวว่า บารมีมี ๓๐ และใน สำนวนกวีที่เล่าไว้ในจริยา ๓๕ เรื่องนั้น แสดงเป็นสำนวนของพระผู้มีพระภาคว่า เราเป็นผู้นั้นผู้นี้ในชาตินั้นชาตินี้.

ตามความ เห็นส่วนตัวของข้าพเจ้า ( ผู้จัดทำ ) สันนิษฐาน ว่า มีผู้แต่งเป็นบทกวีขึ้นใน ชั้นหลังที่มีการสังคายนาพระธรรมวินัยแล้ว โดยรวบรวมเรื่องราวมาจัดระเบียบขึ้นให้ค้นง่าย ๆ หาง่าย. ทั้ง ๆ ที่ปรากฏว่ามีคำ กล่าวว่า พระพุทธเจ้าเคยเสวยพระชาติ เฉพาะที่ปรากฏในชาดกนับจำนวนหลายร้อย แต่กลับนำมาแสดงในจริยาปิฎกเพียง ๓๕ เรื่อง เพียง ๖ บารมี ไม่ครบ ๑๐ บารมี ในสโมธานกถา หรือคำสรูปแสดงบารมี ๑๐ แจกเป็น ๓๐ คือบารมี หรือคุณธรรมที่ ให้ถึงฝั่งแห่งความสำเร็จอย่างธรรมดา ๑ สูงขึ้นมากกว่านั้น เรียกอุปบารมี ๑ สูงสุด เรียกปรมัตถบารมี ๑ บารมี ๓ ขั้นนี้ เป็น ไปในคุณธรรม ๑๐ ข้อ จึงเป็นบารมี ๓๐. คุณธรรม ๑๐ ข้อ คือ



๑. ทาน การให้
๒. ศีล การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
๓. เนกขัมมะ การออกบวช หรือออกจากกาม
๔. ปัญญา
๕. วิริยะ ความเพียร
๖. ขันติ ความอดทน
๗. สัจจะ ความจริงใจ
๘. อธิฏฐาน ความตั้งใจมั่น
๙. เมตตา ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุข
๑๐.อุเบกขา วางใจเป็นกลาง

ในสโมธานกถาได้ แสดงไว้ด้วยว่า เรื่องอะไรบ้างเป็นบารมีเฉย ๆ เป็นอุปบารมี และเป็นปรมัตถบารมี แต่ก็แสดงไว้พอเป็นตัวอย่าง ไม่ถึงร้อยเรื่อง ต่อไปนี้จะกล่าวตามลำดับจริยาตามที่ปรากฏในบาลีเป็นลำดับไป ).

- ทานบารมี ๑๐ เรื่อง
- ศีลบารมี ๑๐ เรื่อง
- เนกขัมมบารมี
- อปทาน ภาคที่ ๒
- พุทธวังสะ (วงค์แห่งพระพุทธเจ้า)
- จริยาปิฎก (คัมภีร์ว่าด้วยพระพุทธจริยา)
- สโมธานกถา กล่าวคำสรุป

Link นี้ ค้นคว้าอ่านดูได้ https://www.baanjomyut.com/pratripidok/prasudtanpidok/2504.html

เพิ่มเติม จาก https://dhamtara.com/?p=17555



พุทธจริยาในอดีตชาติ 35 เรื่อง มีรายการดังนี้

(1) บำเพ็ญทานบารมี

1 อกิตติจริยา จริยาของอกิตติดาบส

2 สังขพรามหณจริยา จริยาของสังขพราหมณ์

3 กุรุธัมมจริยา จริยาของพระเจ้าธนัญชัย

4 มหาสุทัสสนจริยา จริยาของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ

5 มหาโควินทจริยา จริยาของมหาโควินทพราหมณ์

6 เนมิราชจริยา จริยาของพระเจ้าเนมิราช

7 จันทกุมารจริยา จริยาของพระจันทกุมาร

8 สิวิราชจริยา จริยาของพระเจ้าสิวิราช

9 เวสสันตรจริยา จริยาของพระเวสสันดร

10 สสปัณฑิตจริยา จริยาของสสบัณฑิต

(2) บำเพ็ญศีลบารมี

11 สีลวนาคจริยา จริยาของพญาช้างสีลวนาค

12 ภูริทัตตจริยา จริยาของภูริทัตตนาคราช

13 จัมเปยยจริยา จริยาของจัมเปยยกนาคราช

14 จูฬโพธิจริยา จริยาของจูฬโพธิปริพพาชก

15 มหิสราชจริยา จริยาของพญากระบือ

16 รุรุมิคจริยา จริยาของพญาเนื้อรุรุมิคะ

17 มาตังคจริยา จริยาของพญาช้างมาตังคะ

18 ธัมมเทวปุตตจริยา จริยาของธัมมเทวบุตร

19 ชยทิสจริยา จริยาของพระเจ้าชยทิส

20 สังขปาลจริยา จริยาของสังขปาลนาคราช

(3) บำเพ็ญเนกขัมมบารมีเป็นต้น

21 ยุธัญชยจริยา จริยาของยุธัญชยกุมาร (เนกขัมมบารมี)

22 โสมนัสสจริยา จริยาของโสมนัสสกุมาร (เนกขัมมบารมี)

23 อโยฆรจริยา จริยาของอโยฆรกุมาร (เนกขัมมบารมี)

24 ภิงสจริยา จริยาของภิงสพราหมณ์ (เนกขัมมบารมี)

25 โสณันทปัณฑิตจริยา จริยาของโสณันทบัณฑิต (เนกขัมมบารมี)

26 มูคผักขจริยา จริยาของมูคผักขกุมาร (คือเตมิยกุมาร) (อธิษฐานบารมี)

27 กปิลราชจริยา จริยาของพญาวานร (สัจจบารมี)

28 สัจจสวหยปัณฑิตจริยา จริยาของสัจจดาบส (สัจจบารมี)

29 วัฏฏกโปฏกจริยา จริยาของลูกนกคุ่ม (สัจจบารมี)

30 มัจฉราชจริยา จริยาของพญาปลา (สัจจบารมี)

31 กัณหทีปายนจริยา จริยาของกัณหทีปายนดาบส (สัจจบารมี)

32 สุตโสมจริยา จริยาของพระเจ้าสุตโสม (สัจจบารมี)

33 สุวัณณสามจริยา จริยาของสุวัณณสามดาบส (เมตตาบารมี)

34 เอกราชจริยา จริยาของพระเจ้าเอกราช (เมตตาบารมี)

35 มหาโลมหังสจริยา จริยาของมหาโลมหังสบัณฑิต (อุเบกขาบารมี)


<a href="https://www.youtube.com/v//kDybiMZ180s" target="_blank">https://www.youtube.com/v//kDybiMZ180s</a>  
https://youtu.be/kDybiMZ180s?si=woJOhXuFgR8yYThi


<a href="https://www.youtube.com/v//_Xob3T6Hc70" target="_blank">https://www.youtube.com/v//_Xob3T6Hc70</a>  

https://youtu.be/_Xob3T6Hc70?si=F5aNZIhpCtxy95S4


<a href="https://www.youtube.com/v//eEyFhn9qNhw" target="_blank">https://www.youtube.com/v//eEyFhn9qNhw</a>  

https://youtu.be/eEyFhn9qNhw?si=ISW6NwmChNEbnVxs

<a href="https://www.youtube.com/v//3xe9Qqlpn3A" target="_blank">https://www.youtube.com/v//3xe9Qqlpn3A</a>  

https://youtu.be/3xe9Qqlpn3A?si=9tT9NErAA3CcTRMJ


<a href="https://www.youtube.com/v//M7ZDTYiwWNk" target="_blank">https://www.youtube.com/v//M7ZDTYiwWNk</a>  

https://youtu.be/M7ZDTYiwWNk?si=9giAbu3JyVK-2LtW

55 คลิป ฟังจนจบ ตาม Link ไป https://youtube.com/playlist?list=PLmEqBKrOSN3C_NVRHPnn4RJekRHqX87le&si=3I7ZXvDlmt6f2pzf

อีกที่ http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16284.0.html

70  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / พุทธวงศ์ "คำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้า 28 พระองศ์" (ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย)พุทธวงศ์ " เมื่อ: 08 มกราคม 2567 08:04:40


พุทธวงศ์ "คำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้า 28 พระองศ์"

พุทธวงศ์ (*1) (บาลี: พุทฺธวํส) หมายถึง สายของพระพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องพุทธวงศ์ไว้คราวประทับ ณ นิโครธาราม ระหว่างการเสด็จนิวัตกรุงกบิลพัสดุ์ (หลังตรัสรู้) การสืบสายพุทธวงศ์ไม่ได้มาจากการสืบสายโลหิตหรือการชิงอำนาจปราบดาภิเษกอย่างการสืบราชสมบัติ แต่มาจากสั่งสมบำเพ็ญบารมีและรับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าในอดีต ในการสังคายนาครั้งที่ 1 ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์สาวกที่ร่วมสังคายนาได้จัดให้เรื่อง "พุทธวงศ์" นี้เป็นคัมภีร์หนึ่งในหมวดอปทาน ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎกในพระไตรปิฎกภาษาบาลี

ศาสนาพุทธเชื่อว่าพระพุทธเจ้าในอดีตมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน (*2) แต่พระพุทธเจ้าในอดีตที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงนับเข้าในพุทธวงศ์ของพระองค์มีอยู่ 24 พระองค์ เพราะ 24 พระองค์นี้เป็นผู้ประทานพยากรณ์ว่าพระโคตมโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อรวมพระโคตมพุทธเจ้าด้วย จึงมีพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น 25 พระองค์ในพุทธวงศ์

ลำดับพระพุทธเจ้าในพุทธวงศ์

• วงศ์ที่ 1 พระทีปังกรพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 2 พระโกณฑัญญพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 3 พระมังคลพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 4 พระสุมนพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 5 พระเรวตพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 6 พระโสภิตพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 7 พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 8 พระปทุมพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 9 พระนารทพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 10 พระปทุมุตตรพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 11 พระสุเมธพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 12 พระสุชาตพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 13 พระปิยทัสสีพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 14 พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 15 พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 16 พระสิทธัตถพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 17 พระติสสพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 18 พระปุสสพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 19 พระวิปัสสีพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 20 พระสิขีพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 21 พระเวสสภูพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 22 พระกกุสันธพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 23 พระโกนาคมนพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 24 พระกัสสปพุทธเจ้า

• วงศ์ที่ 25 พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน)

อ้างอิง

(*1)ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 129

(*2)สุชีพ ปุญญานุภาพ, พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน, , กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2550, หน้า 636

<a href="https://www.youtube.com/v//zkPucmlHWHg" target="_blank">https://www.youtube.com/v//zkPucmlHWHg</a>  

พุทธวงศ์ 1 https://youtu.be/zkPucmlHWHg?si=okxLsLXRlm7Ew5Jy

Playlist ฟังเป็นชุดจนจบ https://youtube.com/playlist?list=PLmEqBKrOSN3ClQI0XbMMBU7Bx7LWtawH2&si=D8_TqvjLZ19Isobc

พุทธวงศ์  2 https://youtu.be/NUSxNfIhcF4?si=mGqVTquTleZWYCc8

พุทธวงศ์ 3 https://youtu.be/mkdR51AKyUw?si=QANgDuqrgoMqhnfF

พุทธวงศ์ 4 https://youtu.be/NKysMzl5zW8?si=UwKL0314z_zes8Rl

พุทธวงศ์ 5 https://youtu.be/IkU-hd236dM?si=xNDmRMcZl-58ygk_

พุทธวงศ์ 6 https://youtu.be/tZvS2aMYI-g?si=JaDrMaGUuG_oTJ90

พุทธวงศ์ 7 https://youtu.be/Mrb-Jpy3rYs?si=Ceb1txy8QRa7RLpq

พุทธวงศ์ 8 https://youtu.be/6crbfgC_gOM?si=LuPLStT3qrlyrG8O

พุทธวงศ์ 9 https://youtu.be/4a06wWvUVdk?si=iCrkpI4SAy61UG8G

พุทธวงศ์ 10 https://youtu.be/EQYaN3c1-bc?si=N_ObU4iQVi4rnZ8c

จาก
http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16282.0.html
71  สุขใจในธรรม / พุทธประวัติ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า / พระพุทธเจ้าผู้ทรงคุณ ขยายความพระนามและพระคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า เมื่อ: 08 มกราคม 2567 08:01:11






พระพุทธเจ้าผู้ทรงคุณ ขยายความพระนามและพระคุณลักษณะต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า

<a href="https://www.youtube.com/v//IgMOdoh4rvA" target="_blank">https://www.youtube.com/v//IgMOdoh4rvA</a> 

https://youtu.be/IgMOdoh4rvA?si=3LOgFh8KIPXBC4jV

ฟังจนจบ https://youtube.com/playlist?list=PLmEqBKrOSN3AJNDlmfOSXLrigiUMQ2tza&si=TkDCAsrsoVw3IubX

72  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / Re: มณฑลจักรวาล (จำลอง) ใน บุโรพุทโธ (Culture ศิลปวัฒนธรรม) เมื่อ: 07 มกราคม 2567 10:08:16


มณฑลจักรวาล (จำลอง) ในบุโรพุทโธ (2)

จากเมื่อครั้งก่อนเราได้ทราบกันเบื้องต้นแล้วว่าบุโรพุทโธ มหาสถูปทางพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดและซับซ้อนที่สุดในศิลปะชวา สร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 14 โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ ตามคติ ‘มณฑล’ หรือระบบจักรวาลในพุทธศาสนามหายาน รวมทั้งยังจำลองระบบภูมิ 3 ระบบอาทิพุทธ-ธยานิพุทธ และระบบตรีกาย ซึ่งถือเป็นพุทธปรัชญาสำคัญของนิกายนี้นั่นเอง


สถูปเกสาริยา (Kesariya) ศิลปะอินเดียสมัยปาละ

เมื่อพิจารณารูปแบบทางสถาปัตยกรรมจะพบว่าบุโรพุทโธแห่งนี้ น่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถูปเกสาริยา ซึ่งเป็นสถูปในศิลปะอินเดียสมัยปาละ ศาสนสถานแห่งนี้สร้างอยู่บนเนินดินธรรมชาติที่มีความสูงจากระดับพื้นปกติประมาณ 15 เมตร แสดงถึงความฉลาดของผู้สร้างที่ใช้สภาพภูมิศาสตร์และลักษณะกายภาพของพื้นที่มาช่วยในการออกแบบให้สอดคล้องไปกับคติจักรวาลในพระพุทธศาสนา

โดยปกติจันทิหรือศาสนสถานที่พบในชวาภาคกลางจะแบ่งองค์ประกอบเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนฐาน หมายถึง โลกหลังความตาย ส่วนเรือนธาตุ หมายถึง โลกมนุษย์ ภายในอาคารถือเป็นดินแดนบริสุทธิ์ และส่วนยอด หมายถึง ชั้นภูมิเทวดาหรือเทพเจ้า แต่สำหรับที่บุโรพุทโธนั้นแม้จะแบ่งอาคารออกเป็น 3 ส่วนเหมือนกัน แต่ความหมายจะต่างออกไป ดังนี้ (Jan Fontain : 1990)

1.“กามธาตุ” หมายถึง โลกหรือดินแดนที่ยังอยู่ในสังสารวัฏ

2.“รูปธาตุ” หมายถึง โลกหรือดินแดนบริสุทธิ์ ที่ซึ่งมนุษย์สามารถเอาชนะกิเลสตัณหาได้ แต่ยังคงมีรูปอยู่

3.“อรูปธาตุ” หมายถึง ภาวะสูงสุด เป็นการหลุดพ้นออกไปสู่การไม่มีรูปใดๆ อีกต่อไป

สำหรับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของบุโรพุทโธแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ฐานล่างสุด ฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมที่มีทางประทักษิณ และฐานกลมด้านบนซึ่งรองรับสถูป โดยใช้กระบวนการ 3 วิธี ในการจำลองระบบมณฑลจักรวาล คือ (รองศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี : 2558)

1.แผนผังทางสถาปัตยกรรม จะสังเกตได้ว่า บุโรพุทโธนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม 2 ส่วน คือ ส่วนฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมซึ่งมีภาพสลักและส่วนฐานกลมซึ่งไม่มีภาพสลัก

                เนื่องจากฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมนั้น “มีการหยักมุม” และมีภาพสลักที่ซับซ้อน ดังนั้นจึงเปรียบได้กับการมีรูป ซึ่งตรงกับ ‘กามภูมิ’ และ ‘รูปภูมิ’ ส่วนฐานกลมด้านบนนั้นเป็นฐานเขียงที่เรียบง่าย ไม่มีการหยักมุมและไม่มีภาพสลักใดๆ




ส่วนนี้จึงน่าจะตรงกับ ‘อรูปภูมิ’ ซึ่งเป็นภูมิที่ไม่มีรูปแล้ว เป็นภูมิแห่งการหลุดพ้นและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระอาทิพุทธเจ้า

2.ภาพสลักในพุทธศาสนาที่ฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมนั้นปรากฏภาพสลักทางพุทธศาสนามหายานจำนวนหลายเรื่อง ซึ่งภาพสลักเหล่านี้นอกจากจะเพื่อจำลองภพภูมิทางจักรวาลแล้ว ผู้ศรัทธาสามารถเรียนรู้เรื่องราวและคติธรรมทางพุทธศาสนาสอดแทรกอยู่ระหว่างเดินประทักษิณอีกด้วย โดยภาพสลักที่ด้านบนมักเป็นสัญลักษณ์ทางภูมิธรรมที่สูงกว่าด้านล่างเสมอ

– ฐานชั้นล่างสุด สื่อถึง ‘กามภูมิ’ หรือดินแดนของมนุษย์ ผู้อาศัยอยู่ในกามภูมิยังคงมัวเมาในกิเลสตัณหา ด้วยเหตุนี้บริเวณฐานชั้นล่างสุดจึงได้สลักภาพตาม “คัมภีร์กรรมวิภังค์” อันเป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนามหายานที่เกี่ยวข้องกับกฎแห่งกรรมและการทำดี-ชั่วของมนุษย์ (รองศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี : 2558)








สำหรับภาพสลักที่ปรากฏนั้นมักแบ่งออกเป็น 2 ตอนเสมอ คือ การกระทำและผลของการกระทำ อย่างเช่น ภาพสลักเรื่องผลของการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ด้านหนึ่งเป็นภาพคนกำลังเหวี่ยงแหจับปลาและกำลังล่านก ส่วนอีกภาพหนึ่งเป็นภาพนรกซึ่งมีกระทะทองแดง อันเป็นผลจากการกะทำดังกล่าว เป็นต้น

ปัจจุบันได้มีภาพสลักบางภาพที่ชั้นนี้ถูกปิดไม่ให้ชม ส่วนสาเหตุนั้นบางท่านเชื่อว่าเป็นการเสริมหินที่ฐานให้มั่นคงแข็งแรง แต่ก็มีบางท่านคิดเห็นว่าบุโรพุทโธเป็นศาสนสถานที่น้อมนำคนสู่การบรรลุภพภูมิที่สูงขึ้น จึงไม่เป็นการเหมาะสมที่จะให้ภาพของกามภูมิปรากฏให้เห็น จึงมีการปิดไว้ไม่ให้เห็น

– ฐานประทักษิณชั้นที่ 1 เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างกามภูมิกับรูปภูมิ เพื่อให้ฐานประทักษิณชั้นนี้เป็นกามภูมิที่มีภูมิธรรมสูงกว่ากามภูมิชั้นล่าง จึงได้มีการเลือกเอาภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าศรีศากยมุนี ผู้เป็นพระมานุษิพุทธเจ้าในกัปปัจจุบัน ตามคัมภีร์ลลิตวิสตระและชาดก-อวทาน



ภายในเจดีย์โปร่งที่บุโรพุทโธ ประดิษฐานพระไวโรจนะพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าศรีศากยมุนี ตามคติฝ่ายมหายานนั้นถือว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ในกามภูมิอันเป็นขั้นแรกของการตรัสรู้เท่านั้น นอกจากนี้ภาพที่เกี่ยวเนื่องกับพระองค์ยังแสดงให้เห็นความพยายามหลุดพ้นจากกามภูมิสู่รูปภูมิ จึงถือเป็นสัญลักษณ์ของหัวลี้ยวหัวต่อระหว่างทั้งสองภูมิได้ (รองศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี : 2558)

คัมภีร์ลลิตวิสตระ ถือเป็นคัมภีร์พุทธประวัติฝ่ายมหายานที่มีปาฏิหาริย์และรายละเอียดที่แตกต่างจากแบบเถรวาท อย่างไรก็ตามเรื่องราวพุทธประวัติในคัมภีร์นี้ได้กล่าวจบที่ตอนแสดงปฐมเทศนา โดยภาพสลักที่บุโรพุทโธนี้ก็บที่ตอนแสดงปฐมเทศนาเช่นกัน

ส่วนชาดกและอวทานทางฝ่ายมหายานนั้น เป็นอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและพระสาวก ปรากฏในคัมภีร์ฝ่ายมหายานหลายเล่ม เช่น คัมภีร์ชาดกมาลา (John N. Miksic : 2010), คัมภีร์ทิวยาวทาน และคัมภีร์อวทานศตกะ เป็นต้น โดยพระโพธิสัตว์จะเน้นการสละชีวิตช่วยเหลือสรรพสัตว์ เพื่อการบรรลุโพธิญาณสู่การเป็นพระพุทธเจ้าต่อไปในอนาคตกาล

ตัวอย่างชาดกในชั้นนี้ เช่น มหากปิชาดก พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญาวานร ต่อมาถูกกษัตริย์และบริวารออกมาล่าฝูงลิง พระโพธิสัตว์จึงได้ใช้หางของตนมัดไว้กับต้นไม้อีกต้นหนึ่งเพื่อช่วยฝูงลิงหนีไปได้ สุดท้ายกษัตริย์สำนึกผิดและได้ฟังธรรมจากพญาวานร นอกจากนี้ยังมีเรื่องกัจฉปาวทาน ที่พระโพธิสัตว์เสวยชาติเป็นพญาเต่ายักษ์ และพระเจ้าศีพี ผู้สละร่างกายของตนเพื่อช่วยนกเขาจากเหยี่ยว

– ฐานประทักษิณชั้นที่ 2-3 กล่าวถึง ‘รูปภูมิ’ ที่ฐานประทักษิณทั้ง 2 ชั้นนี้สลักภาพเล่าเรื่องจากคัมภีร์คัณฑวยุหสูตร อันเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระสุธนผู้แสวงหาการตรัสรู้โดยการเข้าหาครูถึง 55 คน แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการบรรลุธรรมขั้นสูงตามแบบพุทธมหายาน ฐานประทักษิณชั้นนี้จึงตรงกับรูปภูมิ อันเป็นการหลุดพ้นจากกามภูมิอย่างแท้จริง (รองศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี : 2558)

คัมภีร์คัณฑวยุหสูตรเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์อวตัมสกสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่สำคัญที่สุดพระสูตรหนึ่งในฝ่ายมหายาน ด้านในมีการเล่าเรื่อง “พระสุธน” ผู้แสวงหาการตรัสรู้เป็นพระโพธิสัตว์ โดยการแสวงบุญเพื่อหาครูผู้ที่จะชี้ทางไปสู่การบรรลุมรรคผล ครูทั้ง 55 คนของพระสุธนนั้นเรียกว่า ‘กัลยาณมิตร’ หรือเพื่อนที่ดี  (John N. Miksic and others : 2010) ประกอบด้วย พระโพธิสัตว์มัญชุศรีตัวแทนแห่งปัญญา ซึ่งพระสุธนเริ่มต้นเข้าหาเป็นพระองค์แรก, พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรตัวแทนแห่งความกรุณา, พระโพธิสัตว์ไมเตรยะอันเป็นอนาคตพุทธ ซึ่งได้สอนหลักธรรมให้แก่พระสุธนด้วยนิมิตต่างๆ จำนวนมาก และพระโพธิสัตว์สมันตภัทรแห่งการตรัสรู้ธรรม เป็นต้น









นอกจากนี้พระสุธนยังเดินทางไปหาพระนางมหามายาเทวี พุทธมารดา หรือแม้แต่พระศิวะเองนั้น ก็กลับใจมานับถือพุทธมหายาน ทั้งหมดนี้แสดงความไม่ถือตัวของพระสุธน ซึ่งน้อมรับและเรียนรู้ธรรมะจากกัลยาณมิตรทุกๆ คน

– ฐานประทักษิณชั้นที่ 4 เล่าเรื่องต่อจากชั้นที่ 2-3 กล่าวถึงเนื้อความจากคัมภีร์ภัทรจารี อันถือเป็นบทสรุปสุดท้ายของคัมภีร์คัณฑวยุหสูตรอีกทีหนึ่ง กล่าวถึงการที่พระสุธนได้ไปหาพระโพธิสัตว์สมันตภัทร ซึ่งถือเป็นครูคนสุดท้ายและได้บรรลุธรรม โดยพระสมันตรภัทรได้แสดงนิมิต “พระพุทธเจ้าทั้งหลายในจักรวาล” ให้แก่พระสุธน

ส่วนลานประทักษิณชั้นที่ 5 ไม่มีภาพสลัก เนื่องจากต้องการสื่อถึงการค่อยๆเข้าสู่ภาวะ “อรูปภูมิ” โดยมีเจดีย์โปร่งเป็นสัญลักษณ์ และเมื่อถึงชั้นที่เป็นเจดีย์ทึบตันบนยอดสูงสุด นั่นคือตัวแทนของ “อรูปภูมิ” ที่สมบูรณ์แล้วนั่นเอง (วราภรณ์ สุวัฒนโชติกุล : 2558)







3.พระพุทธรูปและสถูป บุโรพุทโธใช้วิธีการอันชาญฉลาดในการจำลองพระพุทธเจ้าในพุทธศาสนามหายานที่มีฐานะต่างๆ กัน กล่าวคือใช้พระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ สื่อถึง ‘การมีรูป’ และใช้สถูปซึ่งไม่เป็นรูปมนุษย์ สื่อถึง ‘การไม่มีรูป’

โดยในฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมปรากฏพระพุทธรูปที่สื่อถึงพระธยานิพุทธเจ้า 4 พระองค์ ที่ประดิษฐานในซุ้มจระนำทั้ง 4 ทิศ เช่น พระอักโษภยะพุทธเจ้า แสดงปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่ในซุ้มจระนำด้านตะวันออก เป็นต้น การที่สามารถมองเห็นพระพุทธรูปได้อย่างชัดเจน โดยไม่มีสถูปโปร่งมาบดบังนั้น แสดงถึง ‘การมีรูป’ ในรูปภูมินั่นเอง

ถัดขึ้นไปด้านบน ปรากฏสถูปโปร่งบรรจุพระพุทธเจ้าแสดงปางปฐมเทศนาจำนวนมาก ซึ่งก็คือพระไวโรจนะพุทธเจ้า ธยานิพุทธประจำทิศเบื้องกลางนั่นเอง พระพุทธเจ้าองค์นี้มีฐานะใกล้เคียงกับพระอาทิพุทธมากที่สุด ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงอยู่ในฐานะที่สูงกว่าธยานิพุทธอีก 4 พระองค์ ทั้งยังอยู่ในฐานะ “กึ่งสัมโภคกายกึ่งธรรมกาย” และทรงประทับใน “กึ่งรูปภูมิกึ่งอรูปภูมิ” (รองศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี : 2558)

ด้วยเหตุที่พระพุทธรูปแทน ‘การมีรูป’ และสถูปแทนการ ‘การไม่มีรูป’ พระไวโรจนะพุทธเจ้าซึ่งประดิษฐานในสถูปโปร่ง จึงแสดงให้เห็นฐานะ “หัวเลี้ยวหัวต่อ” ระหว่างความมีรูปและความไม่มีรูปของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้

ส่วนสถูปทึบด้านบนสุด เป็นตัวแทนของพระอาทิพุทธผู้เป็นกษัตริย์ของพระพุทธเจ้าทั้งมวล สถูปนั้นเป็นตัวแทนของความไม่มีรูป ซึ่งเข้ากันได้ดีกับพระอาทิพุทธผู้มีธรรมกายแห่งอรูปภูมิอันปราศจากรูปนั่นเอง


จาก https://www.matichonacademy.com/content/culture/article_43116

อีกที่ http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16216.0.html
73  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / มณฑลจักรวาล (จำลอง) ใน บุโรพุทโธ (Culture ศิลปวัฒนธรรม) เมื่อ: 07 มกราคม 2567 10:06:22
มณฑลจักรวาล (จำลอง) ในบุโรพุทโธ (1)



บุโรพุทโธ เป็นมหาสถูปทางพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในศิลปะชวา สร้างขึ้นประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 14 โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ซึ่งนับถือพุทธศาสนามหายาน นอกจากจะเป็นสถาปัตยกรรมที่สำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดแล้ว ที่แห่งนี้ยังแฝงด้วยคติการจำลองจักรวาลในพุทธศาสนามหายานที่ซับซ้อนที่สุดอีกด้วย

สำหรับศาสนาพุทธนั้นเริ่มเจริญรุ่งเรืองในดินแดนชวาภาคกลางเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ราชวงศ์ไศเลนทร์มีอำนาจปกครองชวาภาคกลางแทนที่ราชวงศ์สัญชัย (มะตะราม) เดิมนั้นราชวงศ์ไศเลนทร์นับถือฮินดู จนกระทั่งเมื่อกษัตริย์นาม ‘ปนังกะรัน’ ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา พระองค์ได้หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานแบบตันตระ โดยเชื่อกันว่านิกายดังกล่าวเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ปาละ-เสนะของอินเดีย (วราภรณ์ สุวัฒนโชติกุล : 2558)

บุโรพุทโธ สร้างตามคติจักรวาล ซึ่งถือเป็นคติความเชื่อที่เข้ามาพร้อมกับการนับถือพระพุทธศาสนาในชวา ระบบจักรวาลนี้มีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง ล้อมรอบด้วยเขาสัตตบริภัณฑ์และทะเลสีทันดร 7 ชั้น ซึ่งคติจักรวาลนี้แสดงให้เห็นได้อย่างเด่นชัดในการวางผังที่หมายถึงจักรวาลและอำนาจของพระอาทิพุทธเจ้า หรือพระพุทธเจ้าผู้สร้างโลกในพุทธศาสนามหายาน (สุภัทรดิศ ดิศกุล : 2545) ศูนย์กลางที่เป็นเขาพระสุเมรุ ใช้สัญลักษณ์คือสถูปทึบตันบนยอดสูงสุด ที่แผ่อำนาจบารมีไปทั่วทั้งจักรวาล

ในพุทธศาสนามหายานนั้น การจำลองจักรวาลมาอยู่ในสถาปัตยกรรม ประติมากรรม หรือจิตรกรรมนั้นเรียกว่าระบบ “มณฑล” (รองศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี : 2558) โดยบุโรพุทโธได้แสดงมณฑลที่จำลองภูมิทางจิต 3 ระดับ หรือภูมิ 3 ซึ่งหมายถึงภพภูมิทางจิตของสัตว์โลกในคติมหายาน โดยเรียงจากฐานด้านล่างสู่ยอดด้านบน และระบบอาทิพุทธ-ธยานิพุทธ ดังนี้



1.กามภูมิ คือ ภพภูมิที่ยังมัวเมาในกิเลสตัณหา จึงต้องเวียนว่ายตายเกิดและตกอยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม ร่างกายของมนุษย์ที่อยู่ในภูมินี้จะตกอยู่ภายใต้การเกิด แก่ เจ็บ ตาย พระพุทธเจ้าประจำภูมินี้คือ “พระมานุษิพุทธ” หรือพระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ เกิดจากพระธยานิพุทธประจำกัปอีกทีหนึ่ง เป็นพระพุทธเจ้าที่ลงมาตรัสรู้เพื่อสั่งสอนสัตว์โลก เช่น พระศรีศากยมุนี (คนจีนเชื่อว่าคือ พระยูไล) พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

2.รูปภูมิ คือ ภพภูมิที่ไม่ต้องการกามแล้ว แต่ยังคงปรากฏการมี “รูป” คือหลุดพ้นจากกิเลสหยาบได้ แต่ยังไม่หลุดพ้นจากกิเลสละเอียด บุคคลที่เกิดในภูมินี้จะไม่เกิด แก่ เจ็บ ตาย มีร่างกายที่รุ่งเรือง เป็นอมตะและมีความสุขตลอดไป พระพุทธเจ้าประจำภูมินี้คือ “พระธยานิพุทธ” เป็นพระพุทธเจ้าประจำทิศทั้ง 5 เกิดขึ้นจากสมาธิของพระอาทิพุทธ และเป็นพระพุทธเจ้าผู้ผลัดเปลี่ยนดูแลกัปต่างๆ ในระยะเวลาที่ต่างกัน ประกอบด้วย

•พระไวโรจนะ พระพุทธเจ้าประจำทิศเบื้องกลาง เป็นประธานของพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์ มีกายสีขาว ตราประจำพระองค์คือธรรมจักร ทรงแสดงธรรมจักรมุทรา (ปางปฐมเทศนา) มีพาหนะเป็นสิงโตเผือก ทรงเป็นต้นวงศ์ของพระโพธิสัตว์ตระกูลตถาคตโคตร อันได้แก่ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์ และพระมัญชุศรีโพธิสัตว์

•พระอักโษภยะ พระพุทธเจ้าประจำทิศตะวันออก พระนามของพระองค์แปลว่า ผู้ไม่หวั่นไหว มีกายสีน้ำเงิน ตราประจำพระองค์คือวัชระ ทรงแสดงภูมิสปรรศมุทรา (ปางมารวิชัย) มีพาหนะเป็นช้าง ทรงเป็นต้นวงศ์ของพระโพธิสัตว์ตระกูลวัชรโคตร คือ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ และพระกษิติครรภโพธิสัตว์

•พระรัตนสัมภวะ พระพุทธเจ้าประจำทิศใต้ พระนามของพระองค์แปลว่า ผู้เกิดมาจากมณี มีกายสีเหลืองทอง ตราประจำพระองค์คือรัตนมณีหรือจินดามณี ทรงแสดงวรทมุทรา (ปางประทานพร) มีพาหนะเป็นม้า ทรงเป็นต้นวงศ์ของพระโพธิสัตว์ตระกูลรัตนโคตร ได้แก่ พระรัตนปาณีโพธิสัตว์

•พระอมิตาภะ พระพุทธเจ้าประจำทิศตะวันตก เป็นพระพุทธเจ้าประจำกัปปัจจุบัน พระนามของพระองค์แปลว่า ผู้มีแสงสว่างนิรันดร์ (คำว่าอมิตาพุทธ ก็น่าจะเพี้ยนเสียงมาจากชื่อของพระองค์) มีกายสีแดง ตราประจำพระองค์คือดอกบัว ทรงแสดงธยานมุทรา (ปางสมาธิ) มีพาหนะเป็นนกยูง ทรงเป็นต้นวงศ์ของพระโพธิสัตว์ตระกูลปัทมโคตร ได้แก่ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์

•พระอโมฆสิทธิ พระพุทธเจ้าประจำทิศเหนือ พระนามของพระองค์แปลว่า ผู้สมหวังตลอดกาล มีกายสีเขียว ตราประจำพระองค์คือวิศววัชระ ทรงแสดงอภัยมุทรา (ปางประธานอภัย) มีพาหนะเป็นครุฑ ทรงเป็นต้นวงศ์ของพระโพธิสัตว์ตระกูลกรรมโคตร คือ พระวิศวปาณีโพธิสัตว์

3. อรูปภูมิ คือ ภพภูมิที่ไม่ต้องการทั้ง “กาม” และ “รูป” บุคคลที่เกิดในภพนี้คือผู้บรรลุนิพพาน เป็นผู้ที่เข้าไปรวมแล้วกับความจริงอันสูงสุด ซึ่งไม่ตกอยู่ภายใต้กาลเวลา จึงไม่มีจุดสิ้นสุด เป็นอมตะ พระพุทธเจ้าประจำภูมินี้คือ “พระอาทิพุทธ” เป็นพระพุทธเจ้าองค์แรกของจักรวาล เป็นพระพุทธเจ้าผู้เกิดขึ้นเอง เป็นอมตะ ทรงเป็นผู้สร้างจักรวาลทั้งปวง ทั้งยังสร้างพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ โลก และสรรพสัตว์ทั้งมวล (รองศาสตราจารย์ ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี : 2558)

ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีผู้มากระทำประทักษิณ คือการเดินเวียนขวารอบบุโรพุทโธขึ้นไปนั้น เมื่อเดินขึ้นไปแต่ละชั้นก็จะพ้นจากชั้น “กามธาตุ” ไปยังชั้น “รูปธาตุ” และในที่สุดแล้วก็จะขึ้นไปสู่ชั้น “อรูปธาตุ” ซึ่งถือเป็นชั้นสูงสุดนั่นเอง (วราภรณ์ สุวัฒนโชติกุล : 2558)

จากแนวคิดดังกล่าวนี้เชื่อมโยงกับคติ “ตรีกาย” อันเป็นพุทธปรัชญาสำคัญประการหนึ่งของมหายานที่เชื่อว่า พระพุทธเจ้านั้นเป็นทิพยภาวะ มีภาวะความเป็นอยู่คู่กับโลกเสมอ การปรินิพพานของพระพุทธองค์เป็นเพียงภาพมายาเท่านั้น โดยความเป็นจริงแล้ว พระพุทธเจ้านั้นเป็นอนาทิ เป็นอนันตะ

นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่าตรีกายมีกำเนิดในราวพุทธศตวรรษที่ 11 (พิริยะ ไกรฤกษ์ : 2555) จากนิกายโยคาจารที่เสนอความเป็นนิรันดรของจิต และการแสวงหาการหลุดพ้นของจิตด้วยตนเอง หรืออาจมีเค้ามูลจากนิกายมหาสังฆิกวาทที่กล่าวถึงการดำรงอยู่ของพระตถาคตในฐานะพุทธสภาวะอันเป็นนิรันดร มีพระชนม์เป็นอนันตกาลไม่ดับสูญหรือเสื่อมสลาย พระตถาคตที่ปรากฏพระองค์บนโลกมนุษย์เป็นเพียงการแสดงปาฏิหาริย์ของพระตถาคตผู้ทรงเป็นโลกุตรสภาวะ (พิริยะ ไกรฤกษ์ : 2555) 

ในกายตรยสูตร ของลัทธิมหายาน พระศากยมุนีมีพุทธดำรัสกับพระอานนท์ว่าทรงมีพระกายสามมิใช่กายเดียว (อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสต์ : 2551) โดยพุทธปรัชญา “ตรีกาย” ประกอบด้วย

1.นิรมาณกาย (กายเนื้อ) ในอดีตเรียกว่า “รูปกาย” เป็นกายที่ธรรมกายหรือสัมโภคกายเนรมิตขึ้นในรูปของพระมานุษิพุทธะ หรือพระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ที่ยังเผชิญกับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เช่นเดียวกับทุกสรรพสัตว์ เพื่อให้มนุษย์ตระหนักถึงความไม่จีรังยั่งยืนของสังขารและใช้สั่งสอนศาสนาในโลกมนุษย์แทนพระองค์ คำสอนของลัทธิตันตรยานกล่าวว่า “พระศากยมุนีพุทธเจ้าเสด็จลงมายังชมพูทวีปในรูปของนิรมาณกาย ได้ทรงประกอบกิจอันยิ่งใหญ่ 8 ประการ และทรงตรัสรู้ สิ่งทั้งมวลนี้ล้วนเป็นมายาจากองค์พระสมันตภัทรวัชรสัตว์” กายนี้จึงมีทั้งจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ไม่เป็นนิรันดร์

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระอดีตพุทธะ พระปัจจุบันพุทธะคือพระศากยมุนี หรือพระอนาคตพุทธะที่ประสูติและทรงสั่งสอนพระธรรมในโลกมนุษย์จึงล้วนเป็นนิรมาณกาย

2.สัมโภคกาย (กายทิพย์) คือ สภาวะของพระตถาคตในฐานะร่างเนรมิตของธรรมกาย เพื่อใช้สั่งสอนธรรมแทนพระองค์ สภาวะนี้จึงมีจุดเริ่มต้น ไร้ขีดจำกัด แต่ก็เป็นนิรันดร์ กายเนรมิตนี้มีเพียงพระตถาคต พระโพธิสัตว์ และเทพเจ้าเท่านั้นที่สามารถทอดพระเนตรได้ เช่น มหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ และอสีตยานุพยัญชนะ หรือลักษณะย่อยอีก 80 ประการ หรือแม้แต่พระฉัพพัณณรังสี มนุษย์ปุถุชนทั่วไปไม่อาจมองเห็นความพิเศษดังกล่าวได้โดยตรงนอกจากผ่านทางพระพุทธรูปอันเป็นรูปจำลองของสัมโภคกายเท่านั้น

สัมโภคกายเองก็มีความสามารถในการเนรมิตพระตถาคต พระโพธิสัตว์ หรือเทพเจ้าเพื่อสั่งสอนพระธรรมในรูปของสัมโภคกายได้เช่นกัน แต่ในกรณีของพระตถาคตมักปรากฏในรูปของนิรมาณกาย



 3. ธรรมกาย (กายธรรม) คือ สภาวะของพระตถาคตในฐานะที่เป็นแก่นสารของหลักธรรม ดำรงอยู่ตลอดไปไม่เสื่อมสูญ ดังสาธยายในวิมลเกียรตินิทเทสสูตร ของลัทธิมหายานว่าพระวรกายแท้จริงของพระตถาคตทั้งหลายคือพระธรรมกาย ธรรมกายเป็นสัทธรรมในตนเอง ไม่มีจุดเริ่มต้น และไม่มีจุดสิ้นสุด

ในลัทธิมหายานพระตถาคตทุกพระองค์ล้วนดำรงพุทธสภาวะธรรมกาย ส่วนลัทธิตันตรยานซึ่งแยกพุทธสภาวะตรีกายของพระตถาคตค่อนข้างชัดเจน จัดให้พระตถาคต เช่น พระมหาไวโรจนะ พระวัชรธร และพระสมันตภัทรวัชรสัตว์เป็นธรรมกาย

นอกจากนี้ธรรมกายยังเป็นมูลฐานให้กับกายที่เหลืออีกสองกาย คือ สัมโภคกายและนิรมาณกาย เนื่องจากธรรมกายเป็นพุทธสภาวะไร้ตัวตน ไม่อาจโปรดสรรพสัตว์ได้ แต่ด้วยการดำรงพุทธสภาวะดุจเทวะผู้สร้างสรรค์จึงยังสามารถเนรมิตกายที่เหลืออีกสองกายเพื่อสั่งสอนพระธรรมแทนพระองค์ ในรูปของสัมโภคกายและนิรมาณกาย(พิชญา สุ่มจินดา : 2559)

ขณะที่บางท่านเชื่อว่าตรีกายไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่มีอยู่แล้วในแนวคิดดั้งเดิมของศาสนาพราหมณ์  (Urban Hammar : 2005) กล่าวคือ สัมโภคกายเทียบได้กับ “เทพเจ้า” และธรรมกายเทียบได้กับ “พรหมัน” นั่นเอง





จาก https://www.matichonacademy.com/content/article_42495

เด๋วมาต่อ ภาค 2
74  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / ตาราขาว มนต์อันทรงพลัง ขจัดภัยร้าย อันตรายทั้งปวง ( White Tara Mantra ) เมื่อ: 05 มกราคม 2567 22:16:32



ตาราขาว ॐ #มนต์อันทรงพลัง White Tara Mantra 白塔拉咒语 Om Tare Tuttare Ture Mama | โอม ตาเรตู ตาเร ตูเร

พระโพธิสัตว์ตาราขาว 7 เนตร ( พระแม่เจ็ดตา )

<a href="https://www.youtube.com/v//2wcMttiqrhk" target="_blank">https://www.youtube.com/v//2wcMttiqrhk</a> 

https://youtu.be/2wcMttiqrhk?si=_AYp5FlwszSnj_IJ





White Tara ที่มา ตำนาน

ชาวธิเบตเรียกพระโพธิสัตว์องค์นี้ว่า ดอล.มา.คาร.โม.ส่วนชาวจีนเรียกว่าแปะโต๋วบ้อ ​

พระโพธิสัตว์ธาราขาว"ถือกำเนิดมาจากน้ำตาด้านซ้ายของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ซึ่งในขณะนั้นพระองค์ทรงเกิดความเมตตาสงสารที่เห็นเวไนยสัตว์ลุ่มหลงอยู่แต่ในห้วงทะเลทุกข์ส่วนน้ำตาที่ไหลออกมาทางข้างขวาเป็น พระโพธิสัตว์ธาราเขียว

พระโพธิสัตว์ธาราขาวทรงเป็นหนึ่งในพระโพธิสัตว์ผู้ประทานอายุวัฒนะ พระแม่ธาราขาวมีดวงตาเจ็ดดวง ฝ่ามือสองดวง ฝ่าเท้าสองดวง กลางหน้าผากหนึ่งดวงดวงตาปกติสองดวง พระแม่ธาราขาวได้ชื่อเรียกอีกอย่างว่าพระแม่เจ็ดตา ​

อานิสงค์ในการปฏิบัติธรรมบูชาแด่องค์พระแม่ธาราขาว คือ ความมีอายุวัฒนะสุขภาพที่ดีหายป่วยจากโรคภัย



เจ็ดดวงตา สู่ ปริศนาธรรม

พระแม่ตาราขาวมีดวงตาถึงเจ็ดดวง

ดวงตากลางหน้าผาก
เฝ้ามองตถาคตเจ้าทั้งหลาย
เพื่อถวายรับใช้และเคารพบูชา

ดวงตาคู่ปรกติ
เฝ้ามองเทวะ และมนุษยภูมิ
ปกป้องอุ้มชูช่วยเหลือให้ดำรงอยู่อย่างมิตกต่ำ

ดวงตาที่ฝ่ามือทั้งสอง
เฝ้ามองเดรัจฉาน และหมู่เปรต
ปกป้องเพื่อให้ผ่านความลุ่มหลงและโลภ

ดวงตาที่ฝ่าเท้า
เฝ้ามองนรกภูมิ และอสุรกายต่างๆ
ปกป้องเพื่อให้รอดพ้นจากความโกรธ
และความพยาบาท

ตาทั้งเจ็ดต่างทำหน้าที่มากมาย
ช่วยเหลือปกป้องคุ้มกัน
คือ ความเสมอภาคไม่แบ่งแยกเพราะ
คือ ตาแห่งการุณย์
จากใจหนึ่งที่มอบแต่ปรารถนาดี
คือใจ แห่งแม่โพธิสัตว์
คือใจ ของแม่ที่แท้จริง แม้ว่าจะมิใช่ผู้ให้กำเนิด
ได้แต่ให้การพึ่งพิง นำพา จนกว่าจะออกจากสังสารวัฏ
75  สุขใจในธรรม / จิตอาสา - พุทธศาสนาเพื่อสังคม / เหวินเฉิง ราชินีธิเบต (文成公主 The Queen of Tibet ) เมื่อ: 05 มกราคม 2567 19:17:07


ปี 1986 เคยเอามาทำเป็นหนังจีน เรื่อง เหวินเฉิง ราชินีธิเบต (文成公主 The Queen of Tibet )

Legend of A Princess to The West Regions in The Tang Dynast











<a href="https://www.youtube.com/v//fIhf9lsbbQU" target="_blank">https://www.youtube.com/v//fIhf9lsbbQU</a> 

https://youtu.be/fIhf9lsbbQU?si=tU0mtkEAuI5RPFEr





องค์หญิงเหวินเฉิง สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน

           องค์หญิงเหวินเฉิง (文成公主) ทรงเป็นพระราชนัดดาในองค์พระจักรพรรดิ์ถังไท่จง พระจักรพรรดิองค์ที่สองแห่งราชวงศ์ถัง ผู้ซึ่งเสกสมรสกับกษัตริย์ทิเบตพระนาม พระเจ้าซรอนซันกัมโป ซึ่งเป็นการอภิเษกสมรสเพื่อสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีระหว่างจีนกับทิเบต พระนางมีพระสมัญญานามอันเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวทิเบตว่า "กยาซา" แปลว่า "พระภรรยาชาวจีน"

กล่าวกันว่าองค์หญิงเหวินเฉิงนั้น ทรงเป็นหนึ่งในกุลสตรีซึ่งงดงามแห่งยุคผู้หนึ่ง ทรงรอบรู้ในเหล่าสรรพวิชาการต่างๆ รวมทั้งในเชิงวิชาสรรพวุธด้วย เนื่องจากในต้นราชวงศ์ ผู้หญิงก็จำเป็นต้องฝึกยุทธ เพื่อจะได้ทำให้ร่างกายแข็งแรงและเป็นวิชาป้องกันตัว



ในการเริ่มต้นแผ่นดินราชวงศ์ถังนั้น พระเจ้าถังเกาจู่ (หลี่หยวน) ได้ทำการรวบรวมแผ่นดินและสถาปนาราชวงศ์ถังขึ้น แต่ผู้ที่ทำให้แผ่นดินนั้นมีความเป็นปึกแผ่น คือ พระเจ้าถังไท่จง (หลี่ซื่อหมิ่น) ผู้เป็นพระโอรส โดยในช่วงที่พระองค์ครองราชย์ พระองค์ได้ทรงทำการปราบเหล่ากบฎ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายก๊ก และเหล่าชนเผ่าแห่งแดนเถื่อน (เหล่าผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่นอกอาณาเขตกำแพงเมืองจีน) จนได้กลายเป็นแผ่นดินที่กว้างใหญ่ไพศาล จนคนในยุคนั้นได้ถือว่า เมืองฉางอัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ถังในสมัยนั้น ได้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งโลกตะวันออกเลยทีเดียว

ในช่วงต้นนั้น ชนเผ่าและอาณาจักรน้อยใหญ่ ต่างก็ตั้งตัวเป็นศัตรูแห่งราชวงศ์ถัง เช่นในคาบสมุทรเกาหลี ราชสกุลโกแห่งอาณาจักรโกคูรยอ และ ราชสกุลพูยอแห่งอาณาจักรแพ็กเจ ก็มีท่าทีเป็นศัตรู แต่ยังพอมีผู้ที่มีท่าทีเป็นมิตรกับทางราชวงศ์ถังอยู่บ้าง เช่น ราชสกุลคิมแห่งอาณาจักรชิลลา รวมไปถึง พระเจ้าซรอนซันกัมโป แห่งทิเบตด้วย



          พระเจ้าซรอนซันกัมโปพระองค์นี้ เป็นกษัตริย์ทิเบตระหว่าง ค.ศ. 620 - 650 เป็นกษัตริย์พระองค์แรกของทิเบตที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชัดเจน ทรงครองราชย์ในสมัยที่ทิเบตเรืองอำนาจทางทหาร ทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับกษัตริย์แห่งจีนและเนปาล โดยอภิเษกกับเจ้าหญิงภริคุติ ราชธิดาของพระเจ้าอังศุวรมันแห่งเนปาล ทั้งยังชื่นชอบวัฒนธรรมของราชวงศ์ถังเป็นอย่างมาก และหวังจะได้รับการสนับสนุนจากราชวงศ์ถังที่เจริญรุ่งเรือง พระเจ้าถังไท่จึงยกองค์หญิงเหวินเฉิงให้อภิเษกด้วย โดยตามบันทึกของจีน ในปี ค.ศ. 634 ได้กล่าวถึงราชทูตของพระเจ้าซรอนซันกัมโปว่า "ทรงทูลขอพระราชทาน (ในประวัติศาสตร์ทิเบตว่า ทรงเรียกร้อง) ที่จะสมรสกับเจ้าหญิงของถัง แต่กลับถูกปฏิเสธ" ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 635-636 กองทัพของพระเจ้าซรอนซันกัมโปก็ทรงได้ไปบุกเข้าโจมตีชนเผ่าอาซา ที่ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณทะเลสาบโกโกนูร์ (ปัจจุบันคือ ทะเลสาบชิงไห่) ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญของจีนในอดีต ในปีเดียวกันนั้นได้มีเหตุการณ์วุ่นวายเกิดขึ้น เพื่อสัมพันธภาพทางการทูต พระจักรพรรดิถังไท่จงจึงโปรดให้มีการอภิเษกสมรส ระหว่างองค์หญิงเหวินเฉิงกับกษัตริย์ทิเบตในปี ค.ศ. 640 และได้กลายเป็นสัมพันธภาพที่ดีระหว่างทิเบตกับจีนตลอดรัชสมัยของพระเจ้าซรอนซันกัมโป



           ปี ค.ศ. 641 องคค์หญิงเหวินเฉิงเดนทางไปทิเบต โดยมีข้าราชการเดินทางไปด้วย พระราชพิธีอภิเษกสมรสจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้การต้อนรับอย่างดีมากของชาวทิเบต ชาวบ้านต่างร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนาน แต่เดิมชาวทิเบตอาศัยอยู่ในเต้นท์พัก แต่ว่ากันว่า เพื่อต้อนรับองค์หญิง จึงทำการก่อสร้างพระราชวังอย่างหรูหราขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งก็คือ พระราชวังโปตาลาในปัจจุบันนั้นเอง



          ครั้นองค์หญิงผู้รักการอ่านหนังสือ และทรงพระปรีชาหลายด้าน ได้เข้ามาอาศัยยังทิเบต ก็ได้ทรงนำเอายารักษาโรค หนังสือ เมล็ดพันธ์พืช และงานหัตถกรรมของราชวงศ์ถังไปด้วย นอกจากนี้ยังมีช่างฝีมือในการเลี้ยงหม่อนไหม ช่างหมักเหล้า ช่างผลิตกระดาษ และช่างทอผ้าร่วมเดินทางไปด้วย องค์หญิงทรงนับถือศาสนาพุทธว่ากันว่าองค์หญิงเป็นผู้เลือกสถานที่สร้างวัดต้าเจา (วัดโจคัง) เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมของชนชาติฮั่นสู่ชาวตูโป ทำให้วัฒนธรรมและการผลิตของตูโปพัฒนาขึ้นมากกว่าเดิม




         องค์หญิงเหวินเฉิงมีชีวิตอยู่ในทิเบตเป็นระยะเวลากว่า 40 ปี พระองค์ได้เสียสละตนเพื่อสร้างมิตรภาพที่ดีระหว่างสองชนชาติ ชาวธิเบตต่างก็ได้เคารพรักและรำลึกถึงองค์หญิงเสมอมา จนถึงปัจจุบัน วัดต้าเจาและพระราชวังโปตาลาในเมืองลาซา ก็ยังคงมีรูปปั้นขององค์หญิงเหวินเฉิงประดิษฐานไว้ นอกจากนี้ในกลุ่มชนชาติธิเบตก็ยังมีเรื่องราวตำนานเกี่ยวกับองค์หญิงเหวินเฉิงมากมาย

จาก http://uppos.blogspot.com/2013/09/blog-post_663.html?m=1

จาก http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16270.0.html
76  สุขใจในธรรม / เสียงธรรมเทศนา - เอกสารธรรม - วีดีโอ / รวมคำสอนตั้งแต่ตรัสรู้จนถึงปรินิพพาน จากหนังเรื่อง : #พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก เมื่อ: 04 มกราคม 2567 17:27:25


รวมคำสอนตั้งแต่ตรัสรู้จนถึงปรินิพพาน จากหนังเรื่อง : #พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก

<a href="https://www.youtube.com/v//KwiNdvnaQXQ" target="_blank">https://www.youtube.com/v//KwiNdvnaQXQ</a>

https://youtu.be/KwiNdvnaQXQ?si=f7oHJ8hsqOh0oZfh
77  นั่งเล่นหลังสวน / หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง) / FRIEREN คำอธิษฐานในวันที่จากลา : ชวนเราพิจารณาความชรา ความตาย และการจากลา เมื่อ: 04 มกราคม 2567 07:07:44




FRIEREN คำอธิษฐานในวันที่จากลา : อนิเมะที่ชวนเราพิจารณาความชรา ความตาย และการจากลาของเหล่าผู้กล้า

 》 ซีรีส์อนิเมะ FRIEREN ที่มีชื่อไทยว่า ‘คำอธิษฐานในวันที่จากลา’ ไม่ได้จบลงตรงที่เหล่า ‘ผู้กล้า’ สามารถปราบ ‘ราชาปิศาจ’ ลงได้ และทุกคนบนโลกใบนั้นก็ใช้ชีวิตอยู่กันอย่างสงบสุขไปชั่วกาลนาน แต่นั่นคือจุดเริ่มต้นของเรื่องราว เพื่อที่ตัวละครจะได้เรียนรู้ถึงความเสื่อมถอยและการจากลาที่แท้จริงในชีวิตต่างหาก

》 ฟรีเรน คือชื่อของนักเวทสาวเผ่าเอลฟ์ผู้มีอายุยืนยาว ที่แม้จะถูกใครๆ มองว่าเป็นคนเย็นชา ไร้ความรู้สึก และดูไม่ค่อยจะใส่ใจกับสิ่งต่างๆ รอบตัวมากนัก แต่ถึงอย่างนั้น เธอก็เคยใช้เวลาถึงหนึ่งทศวรรษในการออกเดินทางเพื่อช่วยเหลือผู้คน และกำจัดราชาปิศาจ ในฐานะของ ‘ผู้กล้า’ ร่วมกับเพื่อนๆ ผู้แสนเฮฮาอย่างฮีโร่ ฮิมเมล, นักบวช ไฮเตอร์ และนักรบคนแคระ ไอเซ็น มาแล้ว

》อย่างไรก็ดี หลังจากงานศพของฮิมเมลเสร็จสิ้นในอีก 50 ปีถัดมา ฟรีเรนที่รู้สึกสั่นสะเทือนอยู่ภายใน ก็ตัดสินใจเดินทางไปตามลำพังอีกครั้ง แล้วออกเดินทางไปตามเส้นทางที่เธอและพวกฮิมเมลเคยผจญภัยไปด้วยกัน เพื่อรำลึกถึงความทรงจำที่พวกเขามีร่วมกันมาแต่หนหลัง และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น คือเพื่อที่จะทำความเข้าใจ ‘มนุษย์’ ให้มากขึ้นกว่านี้

》เรื่องราวของฟรีเรน และผองเพื่อนที่ค่อยๆ จากลาเธอไปทีละคน อาจทำให้ผู้ชมอย่างเราได้หันมาพิจารณาถึง ‘ความเปลี่ยนแปลง’ ในชีวิตของตัวเอง ที่ไม่ว่าใครๆ ก็ต้องประสบเข้าในสักวัน หากมีชีวิตอยู่ได้นานพอ ไม่ว่าจะเป็นภาวะความเสื่อมถอยของมนุษย์ หรือการจากลา ที่ที่ทำให้ฟรีเรนต้องหันกลับมาทบทวนตัวเองว่า เธอได้เคยพยายามเข้าใจคนอื่นๆ มากพอแล้วหรือยัง และหากว่าคำตอบคือ ‘ยัง’ เธอควรต้องเรียนรู้ที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในชีวิตด้วยวิธีการใด


<a href="https://www.youtube.com/v//tYcRTdJJOmQ" target="_blank">https://www.youtube.com/v//tYcRTdJJOmQ</a>

https://youtu.be/tYcRTdJJOmQ?si=bub0OTxcilBW0Jaf

ในเรื่องเล่าแฟนตาซีส่วนใหญ่ หลายเรื่องมักจบลงตรงที่เหล่า ‘ผู้กล้า’ สามารถปราบ ‘ราชาปิศาจ’ ลงได้ในท้ายที่สุด และทุกคนบนโลกใบนั้นก็ใช้ชีวิตอยู่กันอย่างสงบสุขไปชั่วกาลนาน

แต่ซีรีส์อนิเมะ FRIEREN ที่มีชื่อไทยว่า ‘คำอธิษฐานในวันที่จากลา’ กลับเริ่มต้นเล่าเรื่องราวหลังจากนั้น และบอกกล่าวกับเราว่า “...แต่ชีวิตของเหล่าผู้กล้าก็ยังคงต้องดำเนินต่อไป”



ซีรีส์ ‘คำอธิษฐานในวันที่จากลา FRIEREN’ เริ่มต้นเล่าเรื่องราวหลังจากที่เหล่า ‘ผู้กล้า’ สามารถปราบ ‘ราชาปิศาจ’ ลงได้ และบอกกล่าวกับเราว่า “...แต่ชีวิตของเหล่าผู้กล้าก็ยังคงต้องดำเนินต่อไป”

ฟรีเรน คือชื่อของนักเวทสาวเผ่าเอลฟ์ผู้มีอายุยืนยาว ที่แม้จะถูกใครๆ มองว่าเป็นคนเย็นชา ไร้ความรู้สึก และดูไม่ค่อยจะใส่ใจกับสิ่งต่างๆ รอบตัวมากนัก แต่ถึงอย่างนั้น เธอก็เคยใช้เวลาถึงหนึ่งทศวรรษในการออกเดินทางเพื่อช่วยเหลือผู้คน และกำจัดราชาปิศาจ ในฐานะของ ‘ผู้กล้า’ ร่วมกับเพื่อนๆ ผู้แสนเฮฮาอย่างฮีโร่ ฮิมเมล, นักบวช ไฮเตอร์ และนักรบคนแคระ ไอเซ็น มาแล้ว

และหลังจากที่ทำภารกิจสำเร็จลุล่วง จนได้มาเฉลิมฉลองกันเป็นครั้งสุดท้ายในคืนที่มีฝนดาวตกที่ในรอบ 50 ปีจะเกิดขึ้นสักครั้ง ทั้งยังมีรูปปั้นผู้กล้าเป็นของตัวเองตั้งตระหง่านอยู่กลางเมืองหลวง พวกเขาก็แยกย้ายกันไปตามเส้นทางชีวิตของตัวเอง ทั้งฮิมเมลที่ตัดสินใจลงหลักปักฐานอยู่ในเมืองแห่งนั้นต่อไป, ไอเซ็นที่กลับไปยังหมู่บ้านคนแคระของตน, ไฮเตอร์ที่หวนคืนไปยังเมืองศักดิ์สิทธิ์ และฟรีเรนที่ออกตระเวนไปศึกษาเวทมนตร์ทั่วภูมิภาค

โดยพวกเขาสัญญากันไว้ว่า จะกลับมาร่วมดูฝนดาวตกหาชมยากนี้ด้วยกันอีกครั้ง ในอีก 5 ทศวรรษข้างหน้า





“ฉันไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเขาเลย เราเดินทางมาด้วยกันแค่ 10 ปีเท่านั้นเอง …มนุษย์น่ะอายุขัยสั้น แต่ทั้งที่รู้อยู่แล้วแท้ๆ ทำไมฉันถึงไม่พยายามทำความรู้จักเขาให้มากกว่านี้กันนะ”

ฟรีเรนเอ่ยประโยคดังกล่าวขึ้นมาพร้อมน้ำตาที่นองหน้า ขณะยืนดูโลงศพที่บรรจุร่างไร้วิญญาณในวัยชราของฮิมเมลค่อยๆ ถูกฝังกลบลงดิน เพราะกว่าที่เธอจะได้เจอหน้าเขาอีกครั้ง -ซึ่งกลายมาเป็นการเจอกันครั้งสุดท้าย- และร่วมเดินทางไปดูฝนดาวตกตามที่สัญญากันเอาไว้ ‘เวลา’ ก็ล่วงผ่านมานานเกินไป โดยที่เอลฟ์อย่างเธอแทบจะไม่ทันได้ตั้งตัว

หลังจากงานศพของฮิมเมลเสร็จสิ้น ฟรีเรนจึงตัดสินใจเดินทางไปตามลำพังอีกครั้ง เพียงแต่ครั้งนี้ไม่ใช่แค่การออกศึกษาเวทมนตร์เพียงอย่างเดียว ทว่ายังเป็นการออกเดินทางไปตามเส้นทางที่เธอและพวกฮิมเมลเคยผจญภัยไปด้วยกัน เพื่อรำลึกถึงความทรงจำที่พวกเขามีร่วมกันมาแต่หนหลัง

และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น คือเพื่อที่จะทำความเข้าใจ ‘มนุษย์’ ให้มากขึ้นกว่านี้





โดยในฉบับซีรีส์อนิเมะ 4 ตอนแรกที่ถูกปล่อยออกมา (FRIEREN เริ่มต้นจากการถูกตีพิมพ์เป็นมังงะ ซึ่งในบ้านเรามีลิขสิทธิ์แปลไทยอยู่ที่สำนักพิมพ์ Siam Inter Comics) เราจะได้เห็นถึงการเดินทางของฟรีเรน นับจากที่ฮิมเมลตายไปแล้วอีกราว 20-30 ปี ที่ทำให้เราค่อยๆ เข้าใจความรู้สึกนึกคิดที่ซุกซ่อนอยู่ภายใต้สีหน้าท่าทางที่ดูไร้อารมณ์ของเธอมากขึ้น ว่าฟรีเรนก็นึกถึงใจของ ‘เพื่อน’ มากกว่าที่ใครคิดด้วยเหมือนกัน – ซึ่งถึงแม้ว่าซีรีส์จะเล่าชีวิตของตัวละครเหล่านี้ผ่านช่วงเวลานานเป็นหลายสิบปี แต่มันก็ยังสามารถถ่ายทอดช่วงเวลาอันเนิ่นนานเหล่านั้นออกมาได้ ด้วยจังหวะที่กระชับฉับไว และตรงตามประเด็นต่างๆ ที่ผู้เล่าอยากจะสื่อสาร

ทั้งจากการที่ฟรีเรนไปเยี่ยมเยือนไฮเตอร์ที่บ้านกลางป่าแสนสันโดษของเขา ที่ทำให้เธอพบว่าอดีตนักบวชผู้นี้แก่ชราลงไปมาก และเขาก็กำลังรับมือกับอาการป่วยไข้ อันเป็นผลมาจากนิสัยการเป็น ‘นักดื่ม’ ในช่วงวัยหนุ่มของตน ซึ่งนั่นก็ทำให้เขาตัดสินใจฝากฝัง เฟรุน เด็กหญิงกำพร้าที่เขารับมาดูแล ให้ฟรีเรนช่วยรับหน้าที่นี้แทน และฝึกฝนเด็กหญิงในฐานะ ‘ว่าที่นักเวท’ ผู้เปี่ยมพรสวรรค์ต่อไป





การไปทำความสะอาดรูปปั้นของฮิมเมลที่ถูกปล่อยร้างในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ตามคำขอของหญิงนักเก็บสมุนไพรวัยชราที่เคยถูกฮิมเมลช่วยชีวิตไว้ในวัยเด็ก จนทำให้ฟรีเรนอยากออกตามหา ‘หญ้าจันทร์คราม’ ดอกไม้หายาก -และอาจถึงขั้นสูญพันธุ์ไปแล้ว- ที่ฮิมเมลเคยเล่าให้เธอฟังว่าเติบโตอย่างงอกงามในบ้านเกิดของเขา เพื่อนำมาปลูกประดับรอบๆ รูปปั้นให้สำเร็จ

และการไปพบไอเซ็นที่หมู่บ้านคนแคระ เผื่อว่าเธอจะสามารถช่วยเหลืออะไรเขาได้บ้าง ก่อนที่เขาจะบอกให้เธอช่วยค้นหาสมุดบันทึกเวทมนตร์ของ ฟรังเม จอมเวทหญิงในตำนาน ผู้เป็นอาจารย์ของฟรีเรน ที่ถูกร่ายคาถาซ่อนเอาไว้ในต้นไม้เก่าแก่ต้นหนึ่งบนผืนป่ากว้างใหญ่เมื่อราวพันปีที่แล้ว ซึ่งในนั้นน่าจะเขียนถึงวิธีการติดต่อกับ ‘คนที่ตายไปแล้ว’ และมันก็อาจทำให้ฟรีเรนรู้ว่า หลังจากนี้เธอควรต้องเดินทางไปที่ใดต่อ

เรื่องราวของฟรีเรน และผองเพื่อนที่ค่อยๆ จากลาเธอไปทีละคน อาจทำให้ผู้ชมอย่างเราได้หันมาพิจารณาถึง ‘ความเปลี่ยนแปลง’ ในชีวิตของตัวเอง ที่ไม่ว่าใครๆ ก็ต้องประสบเข้าในสักวัน หากมีชีวิตอยู่ได้นานพอ

เรื่องราวของฟรีเรน และผองเพื่อนที่ค่อยๆ จากลาเธอไปทีละคน อาจทำให้ผู้ชมอย่างเราได้หันมาพิจารณาถึง ‘ความเปลี่ยนแปลง’ ในชีวิตของตัวเอง ที่ไม่ว่าใครๆ ก็ต้องประสบเข้าในสักวัน หากมีชีวิตอยู่ได้นานพอ

ไม่ว่าจะเป็นภาวะความเสื่อมถอยของมนุษย์ ที่ปรากฏในหลายรูปแบบ ทั้งความป่วยไข้ ที่ทำให้ไฮเตอร์อยากทำความดีก่อนตายอีกสักหน ด้วยการรับดูแลเด็กสาวที่เคยอยาก ‘ตาย’ ตามพ่อแม่ไปอย่างเฟรุน และความแก่ชรา ที่ทำให้ไอเซ็นผู้เคยเหวี่ยงขวานได้อย่างทรงพลังเมื่อครั้งอดีต ถึงกับเอ่ยปากกับฟรีเรนว่า เมื่อแก่ตัวลง ทุกอย่างที่เราเคยทำได้ก็ ‘ยากขึ้น’ จนน่าแปลกใจ






หรือจะเป็นการจากลา ทั้งการ ‘จากเป็น’ ที่ฟรีเรนเคยต้องเผชิญมาอย่างนับครั้งไม่ถ้วนตลอดช่วงชีวิตแบบเอลฟ์ของเธอ ก่อนที่เจ้าตัวจะค่อยๆ ตระหนักได้ว่า ช่วงเวลาก่อนหน้านั้นที่ ‘เรายังได้เจอกัน’ คือโมเมนต์ที่เธอควร ‘รู้สึกรู้สา’ ให้มากกว่าที่เคยเป็นมา และการ ‘จากตาย’ ที่ทำให้ฟรีเรนต้องหันกลับมาทบทวนตัวเองว่า เธอได้เคยพยายามเข้าใจคนอื่นๆ มากพอแล้วหรือยัง และหากว่าคำตอบคือ ‘ยัง’ เธอควรต้องเรียนรู้ที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในชีวิตด้วยวิธีการใด

เพราะจากเมื่อก่อนที่เธอเคยเข้าใจว่า ผู้คนและสิ่งต่างๆ รอบข้างไม่ได้สลักสำคัญสำหรับเอลฟ์อย่างเธอถึงเพียงนั้น แต่มาในตอนนี้ เธอได้เริ่มตระหนักแล้วว่า การเอาแต่ตั้งหน้าตั้งตามุ่งไปสู่จุดหมายปลายทาง อาจไม่ได้มีความหมายมากเท่ากับสิ่งที่เธอได้เรียนรู้ระหว่างการเดินทางผจญภัยเหล่านั้น ทั้งจากสิ่งของ เรื่องราว และผู้คนรอบข้าง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณค่าของ ‘เวลาในชีวิตของผู้อื่น’ ที่เธอเคยได้ ‘ผูกพัน’ ไปโดยไม่รู้ตัว




อย่างไรก็ดี จะว่าไปแล้ว พวกเราที่กำลังใช้ชีวิตอยู่บนโลกในสังคมทุกวันนี้ ก็คงมีสถานะคล้ายคลึงกับ ‘ผู้กล้า’ ท่านหนึ่งเหมือนกัน เพราะปัญหาต่างๆ ที่เราต้องพานพบระหว่างเส้นทาง หรือเป้าหมายสุดโหดหินที่เราตั้งเอาไว้เพื่อต้องการที่จะทุ่มเทกายใจไปให้ถึงนั้น อาจสามารถเปรียบได้กับ ‘ราชาปิศาจ’ ที่เหล่าผู้กล้าในเรื่องเล่าแฟนตาซีอย่าง FRIEREN เคยต้องฝ่าฟันไปให้ได้

แต่ถึงอย่างนั้น แม้เราจะรู้สึกว่า ตัวเองสามารถเอาชนะ ‘ราชาปิศาจ’ ที่ว่านั้นไปได้เรียบร้อยแล้ว

...แต่ชีวิตของเราก็ยังคงต้องดำเนินต่อไป

เราอาจต้องใช้ ‘ความกล้าหาญ’ ในการรับมือกับอะไรๆ อีกมากมายหลายสิ่ง โดยเฉพาะจากการพยายามทำความเข้าใจกับความสัมพันธ์อันละเอียดอ่อนที่สามารถผันแปรไปได้อยู่ตลอด ภายในของตัวเราเองและผู้คนแวดล้อม อีกวันแล้ววันเล่า

และเราก็อาจต้องใช้ ‘ความกล้าหาญ’ ในการรับมือกับอะไรๆ อีกมากมายหลายสิ่ง โดยเฉพาะจากการพยายามทำความเข้าใจกับความสัมพันธ์อันละเอียดอ่อนที่สามารถผันแปรไปได้อยู่ตลอด ภายในของตัวเราเองและผู้คนแวดล้อม อีกวันแล้ววันเล่า

ตราบเท่าที่เรายังต้องมีลมหายใจ เพื่ออยู่เคียงข้างใครสักคน

แม้ว่าใครสักคนนั้น จะหมายถึงตัวของเราเองก็ตาม





จาก https://plus.thairath.co.th/topic/subculture/103800




จาก http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16246.0.html
78  นั่งเล่นหลังสวน / หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง) / เภสัชกรเทพสองโลก Parallel World Pharmacy อนิเมะ การปรุงยาผสมแฟนตาซีต่างโลก เมื่อ: 03 มกราคม 2567 23:12:34


เภสัชกรเทพสองโลก Parallel World Pharmacy อนิเมะแนวการแพทย์ การปรุงยาผสมแฟนตาซีต่างโลก

https://img-prod.api-onscene.com/cdn-cgi/image/format=auto,width=960/https://sls-prod.api-onscene.com/partner_files/trueidintrend/315330/cover_image/1664510454260.jpg


สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะมารีวิว อนิเมะแนวการแพทย์ เภสัชศาสตร์ อย่างเรื่อง เภสัชกรเทพสองโลก ที่เต็มไปด้วยความรู้ด้านการแพทย์และการปรุงยาเพื่อรักษาอาการผู้ป่วยอย่างน่าสนใจ ซึ่งมาพร้อมกับความแฟนตาซีต่างโลก และเรื่องความคิดความเชื่อของผู้คนในยุคกลางกับการรักษาโรค
เภสัชกรเทพสองโลก



ชื่อภาษาญี่ปุ่น : 異世界薬局

โรมาจิ : Isekai Yakkyoku

ชื่อภาษาอังกฤษ : Parallel World Pharmacy

ชื่อภาษาไทย : เภสัชกรเทพสองโลก

ต้นฉบับ : ไลต์โนเวล

เขียนโดย : คุณลิซ ทากายามะ

แนว : การแพทย์ ต่างโลก แฟนตาซี ดราม่า

รับชมได้ทาง : Muse Thailand , Bilibili

อนิเมะมีจำนวน : 12 ตอน




เรื่องย่อ

ยาคุทานิ เภสัชกรตัวท็อปผู้อุทิศตนให้งานวิจัยเพื่อช่วยผู้คนจำนวนมาก เค้าได้โหมงานอย่างหนักแล้วหลับไป ต่อมาพบว่าตัวเองตื่นขึ้นมาเป็น ฟาร์มา เดอ เมดิซิส บุตรชายคนรองของตระกูลขุนนางชนชั้นสูงผู้เป็นแพทย์โอสถหลวงในต่างโลก ที่มีความรู้ด้านศาสตร์การปรุงยา เค้าได้ปรับตัวและใช้ชีวิตอยู่ในโลกแห่งนั้นพร้อมใช้ความรู้ความสามารถด้านเภสัชศาสตร์เพื่อช่วยเหลือผู้คนและเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากขึ้น จนวันหนึ่งได้ถวายการรักษาให้องค์จักรพรรดินีที่ป่วยหนักให้อาการดีขึ้นได้ ทำให้พระองค์ทรงประทานรางวัลอย่างการเปิดร้านขายยา ให้กับเค้าที่ใฝ่ฝันอยากจะช่วยเหลือผู้คนทุกชนชั้นอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง รวมถึงชาวบ้านผู้ยากไร้ให้สามารถเข้าถึงการรักษาที่ราคาย่อมเยาได้ นี่จึงเป็นที่มาของ "ร้านขายยาในต่างโลก" เรื่องราวการรักษาและช่วยเหลือผู้คนจึงได้เริ่มต้นขึ้น



รีวิว

เป็นแนวทางการแพทย์ วิชาการจัดเต็มแบบไม่กั๊ก อย่างกับห้องเรียนเคมี ว่าซั่นนน ผสมผสานแอ็กชันแฟนตาซี ต่างโลก บวกพลังเทพของพระเอก คุณนักเขียนหาข้อมูลมาแน่นมาก เราไม่ค่อยรู้แนวการแพทย์ เคมี อะไรพวกนี้เท่าไหร่ พอมาดูแล้วศัพท์ทางวิชาการ ศัพท์ทางแพทย์ก็มีเยอะอยู่เหมือนกัน รู้สึกได้ถึงความทุ่มเทของคุณนักเขียน ในเรื่องมีการวินิจฉัยโรคต่าง ๆ และปรุงยาขึ้นมาตามอาการของผู้ป่วยได้อย่างน่าสนใจ




เซตติ้งช่วงเวลาฉากต่าง ๆ คิดว่าอยู่ในช่วงยุคกลางของอังกฤษ จึงมีการสะท้อนแนวความคิดความเชื่อหลายอย่างของคนยุคนั้นด้วย เรื่องการแบ่งแยกชนชั้นและผู้คนได้รับการรักษาอย่างไม่เท่าเทียม พระเอกจึงอยากช่วยเหลือผู้คนที่ไม่ได้มีโอกาสให้ได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพในราคาที่เข้าถึงได้ อีกทั้งแนวคิดใหม่ ๆ ที่พระเอกได้เผยแพร่ออกไปก็เป็นสิ่งที่ช่วยได้มาก

เรื่องนี้คงเป็นแรงบันดาลใจให้คนที่ชอบและอยากเรียนเภสัชศาสตร์ได้ดี เหมาะกับคนที่สนใจแนวการแพทย์ รู้สึกว่าพระเอกเป็นคนที่เกิดมาเพื่อเป็นเภสัชกรอย่างแท้จริง เพราะนอกจากจะมีความรู้แล้ว เค้ายังสื่อสารกับคนไข้ได้ดีและอบอุ่นอ่อนโยน ทุ่มเทเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโดยไม่เกี่ยงว่าจะชาติไหน ชนชั้นอะไรก็ตาม มีจรรยาบรรณของแพทย์ ประทับใจค่ะ อาชีพแพทย์เนี่ยเป็นอะไรที่เสียสละและทำเพื่อผู้คนจริง ๆ เลยนะคะ ซึ้ง ಥ⁠‿⁠ಥ ขอบคุณที่เหนื่อยค่ะ เป็นกำลังใจให้บุคลากรทางแพทย์ทุกท่านนะคะ




ช่วงต้นเรื่องบรรยากาศสดใส ดำเนินไปสักพักเริ่มมีดราม่าปน ๆ และตอนท้าย ๆ ก็มีความลุ้นและซีเรียสมากยิ่งขึ้น แต่รู้สึกว่าเรื่องแอบรวบรัดไปหน่อย ยังอยากให้มีเรื่องราวเยอะกว่านี้ เจอผู้ป่วยการวินิจฉัยโรคหลายรูปแบบ การปรุงยาออกมาหลากหลายมากกว่านี้ เพราะเป็นส่วนที่น่าสนใจมาก แต่ตัดจบเพียงแค่ 12 ตอน ปมในอดีตของพระเอกก็มีออกมาให้เห็นเพียงเล็กน้อย

ตัวละครแนวโลลิน่ารัก บรรยากาศดูสดใส สกิลพระเอกคือเทพมาก พลังมหาศาลเวอร์วังอลังการมาก ทั้งความรู้แน่นด้านการแพทย์ ศาสตร์แห่งเทพ การปรุงยา พลังโกงมากจ้า ???? แต่ถึงอย่างนั้นเราชอบตรงที่พระเอกก็ไม่ได้หลงระเริงไปกับพลังและคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ อย่างมีเหตุมีผลค่ะ ????

https://img-prod.api-onscene.com/cdn-cgi/image/format=auto%2Cwidth=640%2Cheight=360/https://sls-prod.api-onscene.com/partner_files/trueidintrend/315330/FbP5SIjUcAASp7j.jpeg



ความประทับใจอีกอย่างก็คือ ในพาร์ทของตอนที่เป็นโรคระบาดติดเชื้อ คิดว่าดูคล้ายสถานการณ์โควิดที่เราได้เจออยู่ เป็นสิ่งที่ทำให้ตระหนักว่าเราควรนึกถึงส่วนรวมด้วยและไม่หละหลวมในมาตรการป้องกัน เพราะทุกคนก็ห่วงชีวิตของตัวเองกันทั้งนั้น แม้มันจะป้องกันได้ยากแต่ถ้าหากร่วมแรงร่วมใจกันก็คงจะผ่านพ้นไปได้ในสักวัน

นอกจากนี้ดูอนิเมะเรื่องนี้แล้วการอ่านคอมเมนต์คือได้ความรู้ใหม่ ๆ จากคุณผู้รู้หลายท่านเยอะมากเลยค่ะ ทั้งศัพท์วิชาการ ชื่อสาร โรคต่าง ๆ เป็นอะไรที่ดีมากจากการที่มีผู้คนมาแบ่งปันความรู้แลกเปลี่ยนกันแบบนี้

คะแนนจากผู้เขียน 9/10

ตัวละคร


https://img-prod.api-onscene.com/cdn-cgi/image/format=auto%2Cwidth=640%2Cheight=360/https://sls-prod.api-onscene.com/partner_files/trueidintrend/315330/FXUAirOUIAQ6Ade.jpeg


ฟาร์มา เดอ เมเดซิส

เด็กหนุ่มผู้มีความสามารถด้านเภสัชศาสตร์และการปรุงยา เป็นคนที่มีจิตใจเมตตา อ่อนโยน ยิ้มง่าย มองโลกในแง่ดี มีเหตุผล

https://img-prod.api-onscene.com/cdn-cgi/image/format=auto%2Cwidth=640%2Cheight=360/https://sls-prod.api-onscene.com/partner_files/trueidintrend/315330/FXUATvUUcAAoNR0.jpeg



ชาร์ล็อต ซอลลาร์

ล็อตเต้ เป็นข้ารับใช้ของฟาร์มา ที่คอยดูแลเคียงข้างเค้า เป็นเด็กน่ารักสดใส เธอมักชอบพูดคุยกับผู้คนและมีมนุษยสัมพันธ์ดี

https://img-prod.api-onscene.com/cdn-cgi/image/format=auto%2Cwidth=640%2Cheight=360/https://sls-prod.api-onscene.com/partner_files/trueidintrend/315330/FY_xeDLaQAAxkSp.jpeg


เอเลโอนอร์ บอนฟัว

เอเลน เป็นลูกศิษย์ของพ่อฟาร์มา แถมเป็นอาจารย์ของ ฟาร์มา ที่คอยช่วยเหลือเค้า และช่วยเปิดร้านขายยาด้วย


https://img-prod.api-onscene.com/cdn-cgi/image/format=auto%2Cwidth=640%2Cheight=360/https://sls-prod.api-onscene.com/partner_files/trueidintrend/315330/FXUJXdiUUAA6v9d.jpeg


บรูโน เดอ เมเดซิส

พ่อของฟาร์มา เค้าเป็นแพทย์โอสถหลวงและแกรนด์ดยุกแห่งแซงต์เฟลิฟ ผู้ที่ฟาร์มารู้สึกยอมรับว่าเก่งมาก เป็นคนช่างสังเกตและฉลาด แม้จะเคร่งครัดกับฟาร์มาแต่เป็นพ่อที่ดีมาก

https://img-prod.api-onscene.com/cdn-cgi/image/format=auto%2Cwidth=640%2Cheight=360/https://sls-prod.api-onscene.com/partner_files/trueidintrend/315330/FX4OfFzaAAAnXpm.jpeg


บลานซ์ เดอ เมเดซิส

น้องสาวฟาร์มา เป็นเด็กที่น่ารักนุ่มนิ่มมาก ฟาร์มารักน้องสาวเป็นพิเศษ

https://img-prod.api-onscene.com/cdn-cgi/image/format=auto%2Cwidth=640%2Cheight=360/https://sls-prod.api-onscene.com/partner_files/trueidintrend/315330/FZAhEhWakAAYqVZ.jpeg


จักรพรรดินีอลิซาเบธที่ 2

เป็นผู้บริหารบ้านเมืองได้อย่างดี นึกถึงประชาชน และเป็นผู้สนับสนุนฟาร์มาอีกด้วย

เป็นยังไงกันบ้างคะกับเรื่อง เภสัชกรเทพสองโลก นอกจากความรู้เรื่องยาและการรักษาเรื่องนี้ยังได้สะท้อนให้เห็นด้านสังคมและจรรยาบรรณของคนเป็นแพทย์ด้วย การแก้สถานการณ์ต่าง ๆ การสื่อสารกับผู้ป่วยก็เป็นสิ่งที่สำคัญ แอบเสียดายที่ตัดจบเนื้อเรื่องรวบรัดไปหน่อย อยากให้มีต่อเพราะเป็นอนิเมะแนวความรู้ที่ดีอีกเรื่องนึงเลยค่ะ


จาก https://entertainment.trueid.net/detail/RMvrqNkR1LmM






<a href="https://www.youtube.com/v//TmbArYYJSG0" target="_blank">https://www.youtube.com/v//TmbArYYJSG0</a> 

https://youtu.be/TmbArYYJSG0?si=1JdLcKhReZEXyDfu


<a href="https://www.youtube.com/v//a1cmT5Lj0gc" target="_blank">https://www.youtube.com/v//a1cmT5Lj0gc</a> 

https://youtu.be/a1cmT5Lj0gc?si=bdPxBw6LWIGn1GOP

Link อีกที่ http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16244.0.html
79  นั่งเล่นหลังสวน / หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง) / Frieren คำอธิษฐานในวันที่จากลา กับการตามหาความหมายของชีวิต เมื่อ: 03 มกราคม 2567 23:09:48
Frieren คำอธิษฐานในวันที่จากลา กับการตามหาความหมายของชีวิต



ชีวิตจะยังมีความหมายอยู่ไหม ถ้าเราไม่มีวันตาย?

การมีชีวิตอยู่อย่างยืนยาวดูจะเป็นภารกิจที่มนุษย์เราเสาะแสวงหา เราพยายามยืดชีวิตของเราออกไปให้ยาวนานมากที่สุดด้วยวิทยาการทางการแพทย์ ไปจนถึงความเชื่ออย่างยาอายุวัฒนะ การได้พรพิเศษต่างๆ ที่ทำให้มนุษย์ก้าวข้ามข้อจำกัดสำคัญของเผ่าพันธุ์ไปให้ได้อย่างศัตรูตามธรรมชาติของเรานั่นคือ ความตาย

ทว่าถ้าเรามองลงไปอย่างลึกซึ้งในนามของมนุษย์ เช่นคำว่า Mortal ลักษณะสำคัญของเราคือการเป็นสิ่งมีชีวิตที่ตายได้ เพราะเรามีชีวิต เราจึงตาย ในหลายตำนานจึงมักพูดถึงการที่มนุษย์ก้าวข้ามเส้นเขตแดนของความตาย ไปสู่การเป็นอมตะ ในนวนิยาย เรื่องเล่า และตำนานมากมายทำให้มองเห็นว่า ความไม่ตายนั้นอาจเป็นพรหรือคำสาปก็ยังไม่แน่นัก

ยิ่งถ้าเรานึกคิดไปถึงว่า ชีวิตของเรามีความหมายอย่างไร ความหมายของการใช้ชีวิตหนึ่งๆ ของเรานั้น ส่วนหนึ่งมาจากการมองเส้นตรงของชีวิตที่มีเวลาอยู่อย่างจำกัด เราเกิดและตายภายในช่วงอายุขัยหนึ่ง จะ 70, 80 หรือ 100 ปี การตระหนักถึงปลายทางที่รอเราอยู่ก็อาจเป็นหลักคิดหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่า ชีวิตของเรานี้ ‘มีความหมาย’ เป็นความหมายที่ว่าสุดท้ายแล้วเราย่อมจะต้องสูญเสียมันเป็นการสิ้นสุดลง ซึ่งดูจะเป็นอีกเงื่อนไขสำคัญในการผลักดันการใช้ชีวิตของเรา




คำถามที่ฟังดูจริงจังและเป็นคำถามของมวลมนุษยชาติ เป็นส่วนสำคัญของอนิเมะที่กำลังฉายและเป็นกระแสน่าสนใจคือ Frieren คำอธิฐานในวันที่จากลา อนิเมะจากมังงะที่เรานิยามได้ว่า เป็นงานเขียนแนวแฟนตาซี แต่ความแฟนตาซีของเรื่องนี้กลับมีความน่าสนใจ คือเรื่องราวของฟรีเรน เอลฟ์จอมเวทผู้มีอายุยืนยาว โดยตัวเรื่องไม่ได้เล่าจากจุดเริ่มต้นแล้วค่อยๆ พาเราไปยังการผจญภัยต่อสู้ตามขนบแฟนตาซีทั่วไป แต่เรื่องนี้กลับพาเราไปจุดสิ้นสุดของการต่อสู้

การเริ่มต้นจากจุดสิ้นสุดและการเล่าเรื่องด้วยสายตาของเผ่าพันธุ์อื่น จึงนับเป็นอีกหนึ่งการใช้ประเภทงานเขียนแฟนตาซีได้อย่างน่าสนใจ เป็นงานเขียนที่พาเราไปยังโลกและตรรกะอื่นๆ ที่สุดท้ายแล้วในสายตาของอายุแสนยืนยาว ในความฝันของเราที่มีต่อเผ่าพันธุ์อื่นๆ อย่างเอลฟ์ ในการครุ่นคิดและนึกทบทวน ความสนุกของแฟนตาซีในที่นี้ จึงถูกนำมาให้ความหมายใหม่ เป็นความหมายที่พาเรากลับมาตั้งคำถามกับตัวเราเองในฐานะมนุษย์ได้อีกครั้ง



ในวันที่การเดินทางสิ้นสุด อีกช่วงเวลาของโลกแฟนตาซี

จริงๆ Frieren เป็นเรื่องแนวแฟนตาซีที่อาจจะเริ่มมาจากคำถามเรียบง่าย ซึ่งเป็นคำถามที่ไม่ค่อยมีงานเขียนหรือมังงะแฟนตาซีเรื่องไหนทำอย่างจริงจัง คือการเล่าอีกด้านของการเดินทาง เป็นจุดคล้ายกับเวลาที่เราเล่นเกมผจญภัยจบ เราอาจจะทำเควสย่อยหรืออ้อยอิ่งไปสักพัก แต่ถ้าเรื่องเล่าแฟนตาซีเป็นชีวิตจริงล่ะ ถ้าเราจบภารกิจของช่วงชีวิตในฐานะมนุษย์ เราก็คงแค่ใช้ชีวิตต่อไปจนตายลง และฝากเรื่องเล่าของเราเอาไว้เหมือนกับตัวละครมนุษย์อื่นๆ หน้าที่ของเราก็จบลงเท่านั้น ทว่าคำถามที่ง่ายแต่ซับซ้อนกว่านั้นคือ ถ้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้วใช้ชีวิตต่อไป อะไรจะเป็นเป้าหมายและแรงจูงใจในการใช้ชีวิตของเรา

ถ้าเรามองย้อนวรรณกรรมประเภทแฟนตาซี แฟนตาซีถือเป็นหนึ่งเรื่องเล่าเก่าแก่ เกือบทั้งหมดพูดเรื่องการผจญภัยที่ชัยชนะ หรือความสงบสุขเป็นตอนจบของเรื่อง เราอ่านเรื่องราวการเดินทางไปทำลายแหวน อ่านการเติบโตของพ่อมดน้อยจนเรียนจบและเอาชนะเจ้าแห่งศาสตร์มืด และเก่ากว่านั้นอย่างตำนานเบวูล์ฟ ก็พูดเรื่องมหากาพย์การต่อสู้ กระทั่งเรื่องราวในมหากาพย์กรีกที่พูดถึงหลังสงครามกรุงทรอย ก็ไม่ได้พูดถึงในฐานะดินแดนอันสงบสุข ชีวิตหรือเรื่องเล่าของมนุษย์เรา คือการเดินทางและไขว่คว้าอะไรบางอย่าง และอันที่จริงหนึ่งในนั้นคือ สันติสุข




ถ้าเรามองเรื่องราวของ Frieren หากเรานิยามฟรีเรนเป็นวีรสตรี หรือตัวเอกอย่างฮีโร่ที่พาเราไปผจญภัยและประกอบวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ และยิ่งถ้าเราดูจากมุมมองของการเป็นมังงะแบบโชเน็นแล้ว ฟรีเรนเกือบจะเป็นตัวละครและงานแฟนตาซีแบบแอนตี้ฮีโร่ (Anti Hero) ได้เลย เพราะด้วยบริบทของการสิ้นสุด การต่อสู้ และความยิ่งใหญ่เป็นเรื่องที่ผ่านมาเนิ่นนานแล้ว ฟรีเรนเองเป็นตัวเอกที่แทบจะตรงข้ามกับภาพพระเอกกระทั่งนางเอกในมังงะ เรื่องราวและตัวฟรีเรนเองดำเนินไปอย่างอ้อยอิ่ง ฟรีเรนไม่อินังขังขอบอะไรกับชีวิต ไม่ได้เป็นตัวละครที่โผงผายโวยวาย ซ้ำในช่วงการต่อสู้ วิธีการของเธอกลับใช้วิธีที่ถูกนิยามว่า ขี้ขลาด คือการควบคุมปริมาณพลัง ไปจนถึงการปกปิดตัวตนที่ใช้ชีวิตมาอย่างเนิ่นนาน

อีกมิติที่น่าสนใจคือ ตัวเรื่องฟรีเรนไม่ได้เล่าในฐานะผู้ที่กำลังเติบโตเหมือนกับเรื่องราววีรบุรุษโดยทั่วไป แต่เล่าในฐานะผู้ชี้แนะสั่งสอน แม้ลักษณะทั่วไปของฟรีเรนเองจะมีความแปลกประหลาดบ้าง ไม่ค่อยสมกับภาพความเป็นเอล์ฟที่ดูสูงส่ง หรือเข้าใจโลกอย่างสลับซับซ้อน แต่จริงๆ เงื่อนไขของฟรีเรนคล้ายการสำรวจความปรารถนาของมนุษย์เรา เช่นในเรื่องคลาสสิกอย่างเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เราเองก็มองว่าโลกของเอลฟ์เป็นโลกที่พึงปรารถนา อนิเมะเรื่องนี้เลยพาเราไปสำรวจความหมายของการมีอายุที่ยืนยาวอย่างแท้จริงไปเลย



ปลายทางของชีวิตและการเดินทางที่ไม่มีจุดหมายใหญ่

บรรยากาศที่น่าสนใจและน่าลุ้นมากของเรื่อง คือการเป็นแฟนตาซีที่มีจังหวะเนิบๆ เป็นเรื่องที่ไม่โผงผาง ไม่โชว์พลังการต่อสู้อะไรตั้งแต่ช่วงต้น ตัวเรื่องมีความโดดเด่นในความเนิบนาบของการใช้ชีวิต เป็นการใช้ชีวิตหลังการต่อสู้จบ ความเรื่อยๆ ของตัวเรื่อง จึงนับได้ว่าเป็นอนิเมะที่เลือกหยิบเอามิติทางความรู้สึกมาเล่าให้เรารู้สึกอยากติดตาม

ฟรีเรนจึงดูต่างจากเอลฟ์อย่างที่เราคาดหวัง นึกภาพว่าเวลาเราพูดถึงเอลฟ์ เรามักนึกถึงตัวละครที่เต็มไปด้วยความลึกลับ เป็นตัวละครที่เข้าใจโลก มองเห็นอดีต หยั่งรู้อนาคต ทว่าฟรีเรนเองกลับไม่เชิงว่าเป็นเช่นนั้น เพราะมีมุมมองต่อโลกจากการมีชีวิตยืนยาวโดยตลอดตั้งแต่ต้นของเรื่อง และจุดเด่นของเรื่องนี้คือการที่ฟรีเรนได้กลับไปสำรวจความหมายของชีวิต ผ่านการกลับไปเดินทางอีกครั้ง กลับไปยังรายทางที่ตัวเองเคยเดินและพิชิตมาแล้ว ในแง่นี้การหวนไปหาความทรงจำ จึงเป็นอีกกระบวนการเพื่อค้นหาความหมายของชีวิตที่สำคัญอย่างหนึ่ง

การเดินทางในครั้งนี้ของฟรีเรน จึงยังแตกต่างกับการเดินทางทั่วไปของโลกแฟนตาซี เป็นการเดินทางย้อนเส้นทางของตัวเอง และยังนับเป็นการเดินทางที่ไม่มีจุดหมายหลัก เราจะเห็นว่าการเดินทางของเธอและคณะเดินทางใหม่ เป็นการเดินทางที่มีรายทางเล็กๆ สุดแล้วแต่เรื่องราวและภารกิจย่อยๆ จะพาไป



ตรงนี้เองทั้งในมิติการเรียนรู้ความหมายของชีวิตผ่านความทรงจำ และการเดินทางหรือการใช้ชีวิตที่บางครั้งเราเองก็ไม่ได้มีจุดหมายสลักสำคัญหรือจุดหมายใหญ่ แม้เราจะเป็นมนุษย์ แต่เราเองกลับเชื่อมโยงตัวเราเข้ากับมุมมองและการใช้ชีวิตในโลกแฟนตาซีของฟรีเรนได้ ชีวิตที่บางครั้งเราก็รู้สึกว่าไร้ความหมาย เพราะหลายครั้งเราก็ทำเป้าหมายปลายทางของเราหล่นหายไป

ดังนั้นแล้วท่ามกลางโลกของเหล่านักใช้ชีวิต เหล่าวัยรุ่น และผู้เจนโลกที่เต็มไปด้วยเปลวไฟและเป้าหมายที่ตนเองพร้อมจะบุกตะลุยไป เรื่องราวของฟรีเรนจึงเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการใช้ชีวิต ที่ตัวละครเองก็พยายามค้นหาความหมายของชีวิต เป็นเรื่องราวในโลกแฟนตาซี ซึ่งทำให้เราย้อนกลับมามองเห็นตัวตนของเราในโลกของความจริง โลกที่บอกกับเราว่าต้องมีเป้าหมาย และใช้ชีวิตเป็นเส้นตรง

ในความเนิบช้าและในความเบาหวิวของชีวิต โลกแฟนตาซีและเรื่องราวที่นิ่งเฉยของเอลฟ์ผู้มีอายุนับพันปีนั้น การค้นหาความหมายของชีวิตผ่านรายทาง ผ่านการมองย้อนไปอดีต ผ่านการจดจำ กระทั่งผ่านการเริ่มต้นการเดินทางและความสัมพันธ์ครั้งใหม่ๆ เรื่องราวที่ดูไกลตัวและอยู่คนละโลกนั้นอาจกำลังช่วยให้เราเข้าใจความหมายของชีวิต ความหมายที่อาจไม่ได้อยู่แค่ปลายทาง แต่อาจอยู่ในเส้นทางที่เราเดินผ่านมาแล้ว ความหมายที่อาจอยู่ในเส้นทางใหม่ๆ ซึ่งเราอาจเลือกเริ่มต้นอีกครั้งกับกลุ่มคนและการเดินทางใหม่ๆ

 

นี่คือพลังของโลกแฟนตาซี โลกที่ทำให้สิ่งที่ไม่สมจริงกลับมาอธิบายความจริงบางอย่างได้

จาก https://thematter.co/entertainment/frieren-beyond-journeys-end/217424












<a href="https://www.youtube.com/v//q0b46t5obQ4" target="_blank">https://www.youtube.com/v//q0b46t5obQ4</a>

https://youtu.be/q0b46t5obQ4?si=_orKqeVhvrJuvGW4

<a href="https://www.youtube.com/v//4XAhVVMjaJw" target="_blank">https://www.youtube.com/v//4XAhVVMjaJw</a> 

https://youtu.be/4XAhVVMjaJw?si=KgdgFal4fkzfCUWR

<a href="https://www.youtube.com/v//94i5TO_lcuw" target="_blank">https://www.youtube.com/v//94i5TO_lcuw</a> 

https://youtu.be/94i5TO_lcuw?si=Wmc3NHH0ZEGYe3KN

<a href="https://www.youtube.com/v//wwztEW9BeBw" target="_blank">https://www.youtube.com/v//wwztEW9BeBw</a>

https://youtu.be/wwztEW9BeBw?si=dDTGXd2ZWt0M1RFY

อีกที่ http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16245.0.html
80  นั่งเล่นหลังสวน / หนังกลางแปลง (ดูหนัง รีวิวหนัง) / เรื่องน่ากลุ้มของเจ้าเหมียวผู้สามารถ The Masterful Cat Is Depressed Again Today เมื่อ: 03 มกราคม 2567 21:07:08


เรื่องน่ากลุ้มของเจ้าเหมียวผู้สามารถ The Masterful Cat Is Depressed Again Today



The Masterful Cat is Depressed Again Today หรือ เรื่องน่ากลุ้มของเจ้าเหมียวผู้สามารถ ซับไทย โดยทีมงานได้ทำการรวบรวมข่องทางการดูออนไลน์แบบถูกลิขสิทธิ์มาให้แล้ว เป็นอนิเมะเรื่องใหม่ประจำซีซั่นที่อาจจะไม่เป็นที่โปรโมทกันอย่างแพร่หลายนัก แต่มีความแปลกประหลาดและชวนให้ทาสแมว…เอ๊ย! ผู้ชื่นชอบแมวนั้นสนใจแน่นอน







ชื่อญี่ปุ่น: デキる猫は今日も憂鬱
ชื่ออังกฤษ: The Masterful Cat is Depressed Again Today
ชื่อไทย: เรื่องน่ากลุ้มของเจ้าเหมียวผู้สามารถ
ผู้เขียนมังงะ: Hitsuji Yamada
ลิขสิทธิ์มังงะสำนักพิมพ์: Dexpress Publishing
จำนวนตอน: 13 ตอน

เรื่องย่อ เรื่องน่ากลุ้มของเจ้าเหมียวผู้สามารถ The Masterful Cat Is Depressed Again Today



อนิเมะเรื่องนี้เป็นเรื่องราวของสาววัยทำงานคนหนึ่งที่ชื่อว่าซาคุ ที่ทำงานออฟฟิศเหนื่อยสายตัวแทบขาด จนกลับบ้านมาสภาพโทรมดูไม่ได้แทบทุกที แต่ยังดีที่มีน้องแมวสีดำ ยูคิจิ ที่เธอเก็บมาเลี้ยงคอยช่วยดูแลเวลาที่เธอหมดแรง…เพราะมันสามารถทำอาหาร ทำงานบ้าน และดูแลซาคุได้อย่างสมบูรณ์แบบ คอยช่วยคุมอาหารและจัดระเบียบให้ชีวิตเธออยู่กับร่องกับรอย แถมตัวโตสูงใหญ่กว่าเจ้าของ จนมองผ่าน ๆ แทบจะนึกว่าเป็นหมี!

เรียกได้ว่าเป็นการนำเรื่องเล่าเกี่ยวกับสัตว์ที่ทดแทนพระคุณให้กับมนุษย์ มาแต่งใหม่ให้ถึงที่สุด สมใจเหล่าผู้รักแมวและสาวโสดที่ทำงานหนักจนไม่มีเวลาดูแลตัวเอง อยากมีคนช่วยดูแล แต่ยังไม่อยากมีแฟน หรืออยากมีสัตว์เลี้ยงที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยง (เพราะเป็นฝ่ายเลี้ยงคนแทน!)


<a href="https://www.youtube.com/v//FIp4KGfLdrI" target="_blank">https://www.youtube.com/v//FIp4KGfLdrI</a> 

https://youtu.be/FIp4KGfLdrI?si=OC0g2sHqdfDSG9m6



เรื่องราวอันอบอุ่นหัวใจและแปลกประหลาดนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป ต้องติดตามชมในอนิเมะ เรื่องน่ากลุ้มของเจ้าเหมียวผู้สามารถ สามารถรับชมได้ทาง Ani-One Asia, Ani-One Thailand และ iQIYI ครับ

จาก https://www.online-station.net/anime/698272/

Link สำรอง http://www.tairomdham.net/index.php/topic,16233.0.html
หน้า:  1 2 3 [4] 5 6 ... 235
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 2.564 วินาที กับ 26 คำสั่ง

Google visited last this page 12 มีนาคม 2567 15:51:41