[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
10 กรกฎาคม 2568 01:42:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า:  1 2 3 [4] 5 6 ... 10
 31 
 เมื่อ: วานนี้ 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
โรยแป้งรอบบ้าน "กันมด" ผู้เชี่ยวชาญนิเวศวิทยาเฉลยแล้ว ได้ผลจริงหรือ?
         


โรยแป้งรอบบ้าน "กันมด" ผู้เชี่ยวชาญนิเวศวิทยาเฉลยแล้ว ได้ผลจริงหรือ?" width="100" height="100  โซเชียลแชร์ทริก โรยแป้งรอบบ้าน "กันมด" ผู้เชี่ยวชาญนิเวศวิทยาเฉลยแล้ว ได้ผลจริงหรือ?
         

https://www.sanook.com/news/9813050/
         

 32 
 เมื่อ: วานนี้ 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
นิวเจนพรรคภูมิใจไทย ถามทีมเจรจา “ภาษีทรัมป์” ไม่เก่งหรือถูกครอบงำ
   


นิวเจนพรรคภูมิใจไทย "ชลัฐ รัชกิจประการ" ถามทีมเจรจา “ภาษีทรัมป์” ในมือพรรคเพื่อไทย มีเวลาแต่ไม่สามารถพลิกเกม ไม่เก่ง หรือถูกครอบงำ เตือน เหลือเวลาอีก 3 อาทิตย์ ต้องลดให้ไม่เกิน 20%
   

https://www.thairath.co.th/news/politic/2869301
   

 33 
 เมื่อ: วานนี้ 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
ถอดออกแล้วเสาไฟฟ้าประติมากรรมเชียงใหม่ หลังมีดราม่าเชย ไม่สวยงามและเหมาะสม
   


เชียงใหม่ – ถอดออกแล้วเสาไฟฟ้าประติมากรรม หลังมีดราม่า โดนโซเชียลถล่มเชยมาก ไร้รสนิยม ผอ.แขวงทางหลวงชนบทเชียงใหม่ น้อมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน สั่งเปลี่ยนรูปแบบ พร้อมเปิดรับไอเดีย
   

https://www.thairath.co.th/news/local/2869287
   

 34 
 เมื่อ: วานนี้ 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
เงื่อนไขปลดล็อกการเมือง ของ ปชน. เป็นไปได้แค่ไหนในสมการความเป็นจริง
 


<span>เงื่อนไขปลดล็อกการเมือง ของ ปชน. เป็นไปได้แค่ไหนในสมการความเป็นจริง</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>รายงาน: ทีมข่าวการเมือง</p></div>
      <span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2025-07-08T20:15:00+07:00" title="Tuesday, July 8, 2025 - 20:15">Tue, 2025-07-08 - 20:15</time>
</span>

            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ท่ามกลางการสั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาลระดับหลายแมกนิจูด ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย รับหน้าที่เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีไปก่อน หากเกิดกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้แพทองธาร มีความผิดตามข้อกล่าวหาของบรรดา สว.ที่ตั้งเรื่องไว้ คำถามต่อมาคือ ฉากทัศน์การเมืองจะเป็นยังไงต่อไป การเลือกนายกฯ ใหม่กลายเป็นประเด็นถกเถียงร้อนแรง ระหว่างแคนดิเดตสำคัญ 2 คน ‘ชัยเกษม-อนุทิน’ ซึ่งพรรคประชาชนยังไม่ฟันธงว่าจะโหวตให้ใคร เพียงตั้งเงื่อนไขหลักไว้ 3 อย่าง 1.แก้รัฐธรรมนูญ 2.แก้ปัญหาชายแดน-ผ่านงบประมาณ 3.รีบยุบสภาภายในปีนี้ เงื่อนไขเหล่านี้หากเกิด ‘จุดเปลี่ยน’ จากศาลรัฐธรรมนูญ นายกฯ ค่ายแดง กับค่ายน้ำเงิน มีความแตกต่างกันตรงไหน และมีโจทย์อะไรที่ยังแก้ไม่ตกสำหรับการปลดล็อคการเมืองที่ตั้งธงไว้&nbsp;</p><p>&nbsp;</p><p>เป็นกระแสร้อนแล้วร้อนอีก ต่อเนื่องหลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยรับคำร้องถอดถอนแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และสั่งให้นายกฯ ‘หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว’ จากกรณีที่สมาชิกวุฒิสภา นำโดยพลเอกสวัสดิ์ ทัศนา ยื่นถอดถอนด้วยข้อหาละเมิดจริยธรรมร้ายแรง ปมคลิปคุยส่วนตัวกับฮุนเซน</p><p>ท่ามกลางการสั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาลระดับหลายแมกนิจูด ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย รับหน้าที่เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรีไปก่อน หากเกิดกรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้แพทองธาร มีความผิดตามข้อกล่าวหาของบรรดา สว.ที่ตั้งเรื่อง คำถามต่อมาคือ ฉากทัศน์การเมืองจะเป็นยังไงต่อไป การเลือกนายกฯ ใหม่กลายเป็นประเด็นถกเถียงร้อนแรง ระหว่างแคนดิเดตสำคัญ 2 คน ‘ชัยเกษม-อนุทิน’ ซึ่งพรรคประชาชน ซึ่งยืนยันให้ระบบรัฐสภาทำงานต่อไปได้ ยังไม่ฟันธงว่าจะโหวตให้ใคร เพียงตั้งเงื่อนไขไว้หลัก 3 อย่าง 1.แก้รัฐธรรมนูญ 2.แก้ปัญหาชายแดน-ผ่านงบประมาณ 3.รีบยุบสภาภายในปีนี้ เงื่อนไขเหล่านี้หากเกิด ‘จุดเปลี่ยน’ จากศาลรัฐธรรมนูญ นายกฯ ค่ายแดง กับค่ายน้ำเงิน มีความแตกต่างกันตรงไหน และมีโจทย์อะไรที่ยังแก้ไม่ตกสำหรับการปลดล็อคการเมืองที่ตั้งธงไว้&nbsp;</p><h2>ปชน.ยันระบบสภาไปต่อ เปิดทาง ‘โหวตนายกฯ’ ไม่ร่วมรัฐบาล</h2><p>ตัวแสดงทางการเมืองหลักรอบบนี้คือ ศึก 3 ก๊ก อันประกอบไปด้วย 1. พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลปัจจุบัน และมี สส.มากเป็นอันดับสอง 2. พรรคประชาชน ฝ่ายค้านที่มี สส.มากที่สุด และ 3. พรรคภูมิใจไทย ที่เพิ่งโดนดีดไปเป็นฝ่ายค้าน แม้ว่าจะมี สส.เป็นอันดับ 3 แต่อาวุธสำคัญของเขาที่ใครๆ ต่างโจษจันคือ เสียง สว.ส่วนใหญ่ หรือกลุ่ม ‘สว.สีน้ำเงิน’</p><p>2 ขั้วใหญ่ที่เสนอทางออกให้กับประเทศไทย คือพรรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชน</p><p>จุดยืนพรรคเพื่อไทย คือไม่ยุบสภาฯ และเสนอให้พยุงรัฐบาลให้อยู่ต่อจนครบวาระปี 2570 เพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วนต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ที่โดนฮุนเซน วางหมากเขย่าให้เห็น ‘ความเปราะบางขั้นสุด’ ของการเมืองไทย และหากเจอพิษ ‘นิติสงคราม’ จนหลุดจากตำแหน่ง และถูกตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิตด้วยข้อหา ‘ฝ่าฝืนจริยธรรมร้ายแรง’ ก็ยังมีชัยเกษม นิติสิริ แคนดิเดตนายกฯ เบอร์ 3 ของพรรคขึ้นมาสานต่อหน้าที่นายกฯ จุดยืนนี้มีมาต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงพีคของม็อบรวมพลังแผ่นดินปกป้องอธิปไตย จนถึงศาลรับคำร้องและสั่งนายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่&nbsp;</p><p>ส่วนพรรคประชาชนออกแถลงการณ์เมื่อ 3 ก.ค. 2568 หรือ 2 วันหลังจากศาลสั่งนายกฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ เสนอทางออกปลดล็อกการเมืองแบบ "Semi-Confidence and Supply" ความหมายรูปธรรมก็คือ พรรคประชาชนช่วยอุดความเสี่ยงของอำนาจนอกระบบ ให้ระบบรัฐสภาเดินต่อไปได้ โดยจะช่วยโหวตสนับสนุน ‘นายกฯ ใหม่’ กรณีที่ศาลตัดสินในแพทองธารหลุดจากตำแหน่ง โดยไม่ขอร่วมรัฐบาล ‘อย่างเด็ดขาด’ แต่การโหวตดังกล่าวพรรคแกนนำต้องยอมรับเงื่อนไขของพรรคประชาชน หลักๆ ได้แก่ ยุบสภาฯ ภายในปลายปีนี้, ผลักดันการแก้รัฐธรรมนูญ โดยให้จัดให้มีประชามติ ‘ครั้งแรก’ พร้อมเลือกตั้งเพื่อถามประชาชนเรื่องการมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) มาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่</p><p>พรรคประชาชน มองว่า รัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย บริหารประเทศต่อยาก เพราะขาดความชอบธรรม และหากดื้อรั้นให้แพทองธารอยู่ต่อ ก็มีแต่จะเจอนิติสงครามรุมสกรัมไปเรื่อยๆ จนอาจเกิดเดทล็อกไม่ให้ยุบสภาฯ เลือกตั้งใหม่ แต่ในเวลาเดียวกัน ประเทศตอนนี้ก็มีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องจัดการเรื่องข้อพิพาทไทย-กัมพูชา พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย 2569 รวมถึงการเจรจาภาษีกับรัฐบาลสหรัฐฯ ของโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ขึ้นภาษีศุลกากรนำเข้าสินค้าจากไทย สูงลิ่วไปกว่า 36% จึงจะให้เวลาในการจัดการปัญหาต่างๆ ก่อนแล้วค่อยยุบสภาฯ</p><h2>อลหม่าน โหวต ‘อนุทิน’ มายังไง</h2><p>ความอลหม่านในข้อถกเถียงเกิดขึ้น เพราะก่อนที่พรรคประชาชน จะมีแถลงเงื่อนไขอย่างเป็นทางการ 1 วัน (2 ก.ค.) ‘ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ’ หัวหน้าพรรคได้ให้สัมภาษณ์ในรายการกรรมกรข่าวคุยนอกจอ&nbsp;โดยตอบคำถามผู้ดำเนินรายการทำนองที่ตีความว่าไม่ได้ปิดกั้นโอกาสของการโหวตแคนดิเดตนายกฯ พรรคภูมิใจไทย หากยอมรับเงื่อนไขของพรรคประชาชนได้ นอกจากนี้ ยังมีการพูดคุยในระดับ ‘ปฏิบัติการ’ อยู่บ้าง จากนั้นจึงเกิดการถกเถียงกันมาในสื่อโซเชียลตามมาเป็นระลอก มีการตีความและวิจารณ์ถึงการที่พรรคประชาชนจะดัน ‘อนุทิน’ ขึ้นเป็นนายกฯ ขณะที่บางส่วนยืนยันว่า หัวหน้าพรรคไม่ได้พูดชัดเจนว่าจะโหวตให้ใคร</p><p>อย่างไรก็ตาม&nbsp;ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกฯ ได้ออกมาโพสต์ตอบโต้การให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ของณัฐพงษ์ พร้อมตั้งคำถามล่วงหน้าว่าจะบังคับให้ภูมิใจไทย ทำตามเงื่อนไขเหล่านี้ได้จริงหรือไม่ และหากตั้งรัฐบาลภูมิใจไทยสำเร็จ มีคนจากพรรคการเมืองบางพรรคเป็น รมว.ยุติธรรม กำกับราชการ DSI ชะตากรรมของคดีฮั้ว สว.ที่กำลังเดินหน้าจะเป็นอย่างไร</p><p>อย่างไรก็ดี หากดูจากตัวแถลงของพรรคประชาชน อย่างเป็นทางการและคำให้สัมภาษณ์ของแกนนำหลายคนต่างยืนยันว่าไม่มีการล็อกสเปกพรรคใดพรรคหนึ่งแต่เอาเงื่อนไขเป็นตัวตั้ง ข้อดีของวิธีการนี้ พรรคประชาชน ระบุว่าพรรคที่ต้องการจัดตั้งรัฐบาลจะไม่ต้องเผชิญกับ สส.พรรคร่วมที่มาต่อรองเก้าอี้ รมต. หรือเรียกค่าตัวสูงจนเกินไปจนรัฐบาลเกิดปัญหาไปต่อไม่ได้นั่นเอง</p><p>ขณะเดียวกัน สส.พรรคภูมิใจไทย รวมถึงอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคต่างก็ปฏิเสธเสียงแข็งว่าไม่เคยมีการเสนอตัวเพื่อให้ ปชน.โหวตแคนดิเดตนายกฯ และเป็นความเข้าใจที่ “คลาดเคลื่อนอย่างมาก”</p><p>วันที่ 3 พ.ค.เช่นเดียวกัน มีการประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้าน ได้แก่ พรรคประชาชน, ภูมิใจไทย, พลังประชารัฐ, ไทยสร้างไทย และเป็นธรรม และมีการแถลงร่วมกันถึง 4 ประเด็นที่จะผลักดัน</p><p>1.กดดันให้รัฐบาลถอนร่าง พ.ร.บ.เอนเตอร์เทนเมนท์คอมแพล็กซ์</p><p>2.การเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยืนยันเดินหน้าเสนอให้มีการจัดทำประชามติพร้อมกับการเลือกตั้งใหม่</p><p>3.การพิจารณากฎหมายนิรโทษกรรม ยังมีรายละเอียดอีกหลายส่วนที่พรรคร่วมฝ่ายค้านยังเห็นต่างกันจึงตั้งคณะทำงานศึกษาเรื่องนี้</p><p>4.ยังไม่ตัดสินใจยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 151 เมื่อไร เนื่องจากภายใต้สถานการณ์​ ‘นิติสงคราม’ ยังมีความไม่แน่นอนสูง</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54628972387_e8eaceb3af_b.jpg" width="1023" height="682" loading="lazy">พรรคร่วมฝ่ายค้านแถลงข่าวหลังการประชุมเมื่อ 3 ก.ค. 2568 (ภาพจากทีมสื่อพรรคประชาชน)</p><p>ในประเด็น ‘มีการพูดคุยหลังบ้านกัน’ ได้รับการขยายความจากทอม เครือโสภณ นักธุรกิจ กล่าวในรายการ EXCLUSIVE TALK ของ PPTV (4 ก.ค.) ว่า ตัวเขาเป็นคนนัด สส.รังสิมันต์ โรม และ สส.รักชนก ศรีนอก พรรคประชาชน ไปคุยกับอนุทิน ซึ่งขณะนั้นตัวของหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ออกจากรัฐบาลมาเป็นฝ่ายค้านแล้ว แต่ยืนยันว่าหัวหน้าพรรคของทั้ง 2 พรรคยังไม่เคยได้คุยกัน ต่อมาทั้งโรม และรักชนก ต่างปฏิเสธว่าการคุยดังกล่าวไม่ใช่เรื่องดีลโหวตนายกฯ แต่เป็นการคุยหาข้อมูลแก้ปัญหาแก๊งสแกมเมอร์</p><p>ท้ายที่สุด ทอม เครือโสภณ&nbsp;แถลงขอโทษที่ทำให้เกิดดราม่าโดยไม่ได้ตั้งใจ พร้อมอธิบายบริบทว่าเป็นการคุยกันเรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ในช่วงรอยต่อหลังจากอนุทิน ซึ่งเคยคุมมหาดไทย ซึ่งดูแล กฟภ.ออกจากพรรคร่วมรัฐบาลพอดี</p><h2>คณิตศาสตร์การเมือง ปชน. เป็น Kingmaker หรือยัง</h2><p>ช่วงเวลานี้อาจนับว่า ปชน.ในฐานะพรรคฝ่ายค้านสามารถกำหนดวาระทางการเมืองได้พอสมควร จากการตั้งเงื่อนไขปลดล็อคการเมืองแลกกับการโหวตนายกฯ (หากมีอันสะดุดลงจากคำตัดสินของศาล)</p><p><strong>สส.พรรครัฐบาล</strong><strong>&nbsp;11 พรรคการเมือง จำนวน 256 เสียง</strong></p><ol><li aria-level="1">พรรคเพื่อไทย 141 คน</li><li aria-level="1">พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 คน</li><li aria-level="1">พรรคกล้าธรรม 26 คน</li><li aria-level="1">พรรคประชาธิปัตย์ 25 คน</li><li aria-level="1">พรรคพลังประชารัฐ 20 คน</li><li aria-level="1">พรรคชาติไทยพัฒนา 10 คน</li><li aria-level="1">พรรคชาติพัฒนา 3 คน</li><li aria-level="1">พรรคเสรีรวมไทย 1 คน</li><li aria-level="1">พรรคประชาชาติ 9 คน</li><li aria-level="1">พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 คน</li><li aria-level="1">พรรคไทยรวมพลัง 2 คน</li></ol><p><strong>สส. พรรคฝ่ายค้าน 5 พรรค จำนวน 239 เสียง</strong></p><ol><li aria-level="1">พรรคประชาชน 143 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคภูมิใจไทย 69 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคพลังประชารัฐ 20 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคไทยสร้างไทย 6 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคเป็นธรรม 1 เสียง</li></ol><div class="note-box"><p>หมายเหตุ : จำนวนนี้ยังไม่รวมกับ สส.ที่ตัวอยู่ แต่ใจไปพรรคอื่น</p></div><p>&nbsp;</p><p>จะเห็นว่า รัฐบาลนี้เสียงค่อนข้างปริ่มน้ำ หลังจากภูมิใจไทย ออกจากพรรคร่วมรัฐบาลไปเป็นฝ่ายค้าน หากเป็นไปดั่งที่ณัฐวุฒิ กล่าวว่า เสียงพรรคร่วมตอนนี้เหนียวแน่น ก็เป็นไปได้ว่าอาจไม่ต้องใช้เสียงของพรรคประชาชน แต่เรื่องนี้ก็ยังเป็นปริศนาที่ต้องรอวันพิสูจน์ เนื่องจากการขยับไปมาของกลุ่มก๊วนต่างๆ ระหว่างค่ายแดงกับน้ำเงินดูเหมือนยังไม่นิ่งนัก</p><h2>4 ฉากทัศน์การจับมือ (หากแพทองธารหลุดจากตำแหน่ง)</h2><p><strong>ฉากทัศน์ 1</strong> : พรรคเพื่อไทยส่งไม้ต่อให้ ชัยเกษม นิติสิริ เป็นนายกฯ คนต่อไป โดยไม่พึ่งมือของภูมิใจไทย พรรคร่วมรัฐบาลปัจจุบันต้องห้ามแตกแถวเป็นอันขาด เพราะตอนนี้เสียงปริ่มน้ำ แต่อำนาจต่อรองของ สส.พรรคร่วมรัฐบาลก็น่าสูงยิ่ง อย่างน้อยที่สุดหากพรรคเพื่อไทยยังบริหารต่อการแก้ไขปัญหาพิพาทกับกัมพูชาที่เน้นการเจรจาน่าจะยังคงเป็นวาระหลัก และขึ้นอยู่กับว่าพรรคเพื่อไทย จะสามารถดึงอำนาจการบริหาร ‘การเปิด-ปิดด่าน’ อันเป็นจุดสำคัญสำหรับการตอบโต้ของกัมพูชา ให้มาอยู่ในมือรัฐบาลเพื่อให้ทางออกทางการเมืองนำการทหารได้มากแค่ไหน&nbsp;</p><p><strong>ฉากทัศน์ 2</strong> :&nbsp;พรรคประชาชน ยอมโหวตให้พรรคเพื่อไทย โดยไม่เป็นรัฐบาล ถือเป็นการผ่าทางตัน และการันตีให้ชัยเกษม นิติสิริ เป็นนายกฯ ต่ออย่างหนักแน่น แต่ก็ขึ้นกับว่าพรรคเพื่อไทย ยอมรับเงื่อนไขของพรรคประชาชนมากน้อยแค่ไหน อันที่จริง 2 พรรคนี้มีจุดยืนต้องการแก้รัฐธรรมนูญเหมือนกัน แต่ติดเดทล็อคที่ ‘รัฐธรรมนูญมีชัย’ วางเงื่อนไขต้องใช้เสียง สว. 1 ใน 3 เรื่องนี้ยังเป็นประเด็นเสมอมา ท่ามกลางสถานการณ์การดำเนินคดี ‘ฮั้ว สว.’ ซึ่งยังไม่รู้จะออกมาในรูปไหน ใช้เวลาเท่าไร และดูเหมือน สว.ทั้งหมดยังสามารถทำหน้าที่ได้โดยสะดวก ไม่มีการสั่งหยุดการปฏิบัติหน้าที่เหมือนฝ่ายบริหาร</p><p><strong>ฉากทัศน์ที่ 3</strong>&nbsp;: พรรคประชาชน โหวตให้พรรคภูมิใจไทย หลังภูมิใจไทย ตัดสินใจเสนอแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคตนเอง โดยภูมิใจไทย ต้องยอมรับเงื่อนไขของพรรคประชาชน ประเด็นนี้มีความน่าสนใจตรงที่ใครๆ ต่างมองว่าเงื่อนปมเสียง สว.1 ใน 3 นั้นอยู่ในมือพรรคภูมิใจไทย แม้แต่หัวหน้าพรรคประชาชนเองก็นำเสนอประเด็นนี้ในการให้สัมภาษณ์กับสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา ด้วยหวังว่าหากพรรคน้ำเงิน ‘ยอม’ รัฐบาลสีน้ำเงินจะเปิดทางแก้รัฐธรรมนูญได้เป็นรูปธรรมมากกว่ารัฐบาลสีแดง&nbsp;</p><p>ชุติพงศ์&nbsp; พิภพภิญโญ สส.พรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ว่า การเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย เราอาจไม่เคยเห็นกัน นับเป็น ‘นวัตกรรม’ ทางการเมือง เมื่อฝ่ายค้านเป็นผู้นำในทางความคิด แล้วฝ่ายรัฐบาลเล็กกว่า ตอนนั้นใครเป็นรัฐบาลก็ต้องฟังเสียงฝ่ายค้านเพราะรัฐบาลเล็กกว่า เรียกว่ายอมเพราะการรับภารกิจเฉพาะนี้ ทำหน้าที่เพื่อพาประเทศออกจากวิกฤติ นักการเมืองที่อยู่ในการเมืองมานานอาจจินตนาการไม่ออก</p><p>“ถ้าวันนั้นพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชนเป็นฝ่ายค้าน แล้วคุณอนุทินเป็นนายกฯ&nbsp; แล้วตระบัดสัตย์ ผ่านไปเดือนหนึ่งก็รู้แล้วเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ คุณโดน 2 พรรคนี้ล้ม คุณอยากเป็นนายกฯ คนแรกที่โดนอภิปรายไม่ไว้วางใจแล้วล้มไหมล่ะ” ชุติพงศ์ กล่าว</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54640162880_4841dac5fb_b.jpg" width="1023" height="682" loading="lazy">(ซ้าย) ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ และ (ขวา) อนุทิน ชาญวีรกูล (ที่มา: ทีมสื่อพรรคประชาชน)</p><p><strong>ฉากทัศน์ 4</strong> : พรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทย กลับมาจับมือกัน แม้มีคนวิเคราะห์ในแนวนี้ แต่&nbsp;วิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.พรรคเพื่อไทย และประธานวิปรัฐบาลให้สัมภาษณ์ว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะดึงพรรคภูมิใจไทยกลับมา โดยเฉพาะเมื่อมีคดีฮั้ว สว.ซึ่งประชาชนจับตาทั้งประเทศ การจับมือกันยิ่งเกิดข้อครหาใหญ่หลวง ขณะที่&nbsp;ชัยเกษม นิติสิริ แคนดิเดตนายกฯ เบอร์ 3 ของพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์เรื่องความเป็นไปได้ในการดึงพรรคภูมิใจไทย กลับมาร่วมรัฐบาลว่าต้องคุยกัน ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ คุยแล้วเห็นว่าถ้าทำอย่างไหนเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่ากัน ทุกคนก็ยอมรับได้ ซึ่งต้องถึงเวลานั้นถึงจะคาดเดาสถานการณ์ได้ ส่วน&nbsp;สส.ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ จากพรรคประชาชน บอกว่า ถ้าพรรคภูมิใจไทยกลับไปจับมือกับพรรคเพื่อไทย พรรคประชาชนก็ไม่เสียหายอะไร เพราะว่าประกาศตัวเองมาเสมอว่าจะเป็นฝ่ายค้าน</p><p>ทั้งหมดนี้ต้องย้ำว่าประเด็นที่ลากมาไกลขนาดนี้ เหตุหลักสืบเนื่องจากคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์มายาวนานแล้วว่ามักจะสร้าง ‘จุดเปลี่ยน’ ทางการเมืองที่ส่งผลเขย่าให้รัฐบาลไร้เสถียรภาพเสมอ รวมถึงทำให้ภาคการเมืองโดยรวมอ่อนแอลง&nbsp;

งานวิจัยของ 'ประจักษ์ ก้องกีรติ' จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์&nbsp; เรื่อง 'การเลือกตั้งเพื่อลดความขัดแย้งและส่งเสริมคุณภาพประชาธิปไตย' ซึ่งทำให้สถาบันพระปกเกล้า (2566) มีข้อมูลส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า ตลอด 30 ปีของการเลือกตั้ง นับตั้งแต่รัฐบาลชวน หลีกภัย (2535) จนถึงรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา แทบไม่มีรัฐบาลไหนอยู่ได้ ‘ครบวาระ’ ยกเว้นรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร กับรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา</p><p>นอกจากนี้ รัฐบาลทั้งหมดดังกล่าวก็มีลักษณะเป็น ‘รัฐบาลผสมหลายพรรค’ มีเสียง สส.เพียง 50-60% เป็นส่วนใหญ่ แต่มีเพียงรัฐบาลทักษิณ 1 เท่านั้นมีเสียงรวมกันแล้วมากถึง 73.6% และเมื่อได้รับเลือกตั้งสมัยที่ 2 ก็มีเสียงมากถึง 75.3% สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ แต่นั่นก็มาพร้อมข้อกล่าวหา ‘เผด็จการรัฐสภา’ การชุมนุมประท้วง และจบลงที่การรัฐประหาร</p><p>ดูเหมือนปัจจุบันเรากำลังกลับไปวนซ้ำเส้นทางรัฐบาลแบบเดิม อันเป็นผลจากความขัดแย้งทางการเมืองและการออกแบบรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ทำให้ ‘ผลงาน’ เกิดขึ้นได้ยากในทุกรัฐบาลซึ่งล้วนไร้เสถียรภาพทางการเมือง</p><h2>ส่องจุดยืน พท.-ภท.เป็นไปได้แค่ไหน ตามเงื่อนไข ปชน.</h2><p>หากเราดูจุดยืนของทั้งพรรคภูมิใจไทย พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชน มันเป็นไปได้หรือไม่ ที่พรรคเพื่อไทย และภูมิใจไทย จะรับเงื่อนไขของพรรคประชาชน ในเรื่องการผลักดันให้เกิดการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หลักเกณฑ์การทำประชามติ และนิรโทษกรรมคดีการเมือง เอาแค่ 3 ประเด็นหลัก</p><ul><li aria-level="1"><h2>แก้ พ.ร.บ.ประชามติ ปลดล็อค 2 ชั้นถูกเตะถ่วงโดย สว.</h2></li></ul><p>พ.ร.บ.ประชามติ แต่เดิมถูกเขียนไว้ให้ใช้หลักเกณฑ์ 2 ชั้น คือ</p><ol><li aria-level="1">ต้องมีผู้มาใช้สิทธิประชามติจำนวนเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ</li><li aria-level="1">ต้องมีผู้เห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติ</li></ol><p><strong>พรรคประชาชน และพรรคเพื่อไทย</strong> มีจุดยืนที่ชัดเจนแต่แรกว่า ต้องการแก้ไขให้เหลือหลักเกณฑ์เพียง 1 ชั้นที่ระบุว่าต้องมีผู้เห็นชอบจำนวนเกินกึ่งหนึ่งกว่าผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติ เพราะหากยังคงหลักเกณฑ์ 2 ชั้นอยู่ คงยากผ่านที่จะผ่านคำถามประชามติได้ในทุกเรื่อง ไม่ใช่เพียงการแก้ไขรัฐธรรมนูญ</p><p>นอกจากนี้ การใช้หลักเกณฑ์ 2 ชั้นผ่านประชามติ เป็นการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียมกัน เพราะว่าฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยสามารถรณรงค์ให้คนเลือกไม่ออกมาใช้สิทธิออกเสียงในเรื่องนั้นได้ ทำให้ฝ่ายที่ต้องการผลักดันให้ผ่านประชามติเสียเปรียบอย่างมาก&nbsp;</p><p><strong>พรรคภูมิใจไทย</strong> มีจุดยืนแต่แรกเลยว่าต้องการใช้หลักเกณฑ์ประชามติ 2 ชั้นมาตลอด โดยให้เหตุผลว่าการร่างรัฐธรรมนูญปี 2560 มีผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงประชามติจำนวนมาก ฉะนั้น การจะแก้ไขเรื่องใหญ่ของประเทศควรใช้เสียงสนับสนุนที่มากพอ จุดยืนนี้ยังสอดคล้องกับ ‘วุฒิสภา’ ที่ได้แก้ ร่าง พ.ร.บ.ประชามติ จากสภาผู้แทนราษฎรที่โหวตกันไปแล้วว่าให้แก้เหลือ หลักเกณฑ์ชั้นเดียว เป็นผลให้กฎหมายนี้ต้องถูก ‘ฟรีซ’ หรือระงับไปถึง 6 เดือนก่อนที่สภาผู้แทนราษฎรจะสามารถโหวตยืนยันความเห็นของตนเอง (หลักเกณฑ์ประชามติ 1 ชั้น) ได้ คาดหมายว่าจะมีการนำร่าง พ.ร.บ.ประชามติ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเร็วๆ นี้</p><p>กล่าวได้ว่า การโหวตเปลี่ยนเนื้อหากฎหมายประชามติของเหล่า สว. เป็นสารตั้งต้นที่สำคัญที่ทำให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องหยุดชะงัก</p><ul><li aria-level="1"><h2>ประชามติ 2 หรือ 3 ครั้ง ยังเป็นประเด็น</h2></li></ul><p>ในประเด็นเรื่องทำประชามติ 2 หรือ 3 ครั้ง ถือว่าเป็นประเด็นถกเถียงกันหนัก เนื่องจากการตีความคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 มีความแตกต่างกัน</p><ol><li aria-level="1"><strong>พรรคเพื่อไทย และพรรคประชาชน</strong> ตีความคำวินิจฉัยว่า ไม่ต้องทำประชามติ 3 ครั้ง โดยทำประชามติเพียงแค่ 2 ครั้ง คือ ตอนแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เพื่อตั้ง สสร. ที่มาจากเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนผ่านแล้ว และครั้งที่สุดท้าย คือหลังจาก สสร.ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว</li><li aria-level="1">ฝ่ายที่เห็นด้วยกับการทำรัฐธรรมนูญ 3 ครั้ง ยกตัวอย่าง นิกร จำนงค์ พรรคชาติไทยพัฒนา และ<strong>พรรคภูมิใจไทย</strong> ที่ตีความว่าต้องทำประชามติตั้งแต่ก่อนแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 ว่าด้วยเรื่อง สสร.</li></ol><p>โดยครั้งที่ 1 ถามประชาชนว่าประสงค์จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่ แล้วจึงตามมาด้วยครั้งที่ 2 คือจะรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 เรื่อง สสร. ที่ผ่านสภาแล้วหรือไม่ จบด้วยครั้งที่ 3 คือ รับรองรัฐธรรมนูญที่ร่างโดย สสร. หรือไม่</p><p>ย้อนไปตอน 13 ก.พ. 2568 พรรคประชาชน และพรรคเพื่อไทย ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 ว่าด้วยการตั้ง สสร.เพื่อมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยในช่วงการเปิดประชุมรัฐสภา สมัยพิเศษวันนั้น ไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย ได้ลุกขึ้นแถลงว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.256 สุ่มเสี่ยงจะขัดต่อคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ จึงขออนุญาตไม่ร่วมพิจารณา ก่อนพา สส.ของพรรคภูมิใจ และ สว.สีน้ำเงิน วอล์กเอาต์ จนการประชุมรัฐสภาล่ม 2 วันติดต่อกัน</p><p>จนกระทั่งเมื่อ 17 มี.ค. 2568 เปรมศักดิ์ เพียยุระ สมาชิกวุฒิสภา และวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส.พรรคเพื่อไทย ได้มีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความคำวินิจฉัยเดิมอีกครั้ง ได้ยื่นถามศาลรัฐธรรมนูญว่า รัฐสภามีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ได้หรือไม่ โดยยังไม่ต้องทำประชามติสอบถามความต้องการของประชาชนก่อน และ 9 เม.ย. 2568&nbsp;ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 3 รับวินิจฉัย และผ่านไปแล้ว 3 เดือนปัจจุบันยังรอคำวินิจฉัยอยู่</p><p>ผลจากเกมของพรรคภูมิใจไทย และ สว. ต้องบอกว่าเป็นผลทำให้การคิกออฟแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังไม่ได้นับหนึ่งเสียที และไม่แน่ใจว่าเงื่อนไขของพรรคประชาชนที่ให้ทำประชามติ พร้อมกับการเลือกตั้งใหม่หลังยุบสภาฯ พรรคภูมิใจไทยจะยอมรับได้หรือไม่</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54324571671_5511de44be_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">สุทิน คลังแสง นำทัพพลพรรคเพื่อไทย แถลงหลังจากการประชุมรัฐสภาล่ม เพราะว่าองค์ประชุมไม่พอ ทำให้การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพิ่มหมวด 15/1 ว่าด้วยการตั้ง สสร. ต้องสะดุดลง เมื่อ 13 ก.พ. 2568 (ที่มา: สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร)</p><ul><li aria-level="1"><h2>แก้ไขรัฐธรรมนูญทุกหมวดทุกมาตรา หรือยกเว้นหมวด 1-2</h2></li></ul><p>สำหรับจุดยืนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าต้องแก้ไขทุกหมวดทุกมาตราหรือไม่นั้น ก็แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายเช่นเดียวกัน</p><ol><li aria-level="1"><strong>พรรคประชาชน</strong> มองว่ารัฐธรรมนูญต้องแก้ไขได้ทุกหมวดทุกมาตรา โดยไม่มีข้อห้ามตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน อ้างอิงจากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ระบุแต่เพียงว่า สสร.จะไม่มีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีผลให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐ ข้อเสนอนี้สอดคล้องกับภาคประชาชนด้วยเช่นกัน</li><li aria-level="1"><strong>พรรคภูมิใจไทย และพรรคเพื่อไทย</strong>&nbsp;รวมถึงพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ มีจุดยืนที่ไม่แตะหมวดที่ 1 (บททั่วไป) และหมวดที่ 2 (ว่าด้วยพระมหากษัตริย์)</li></ol><p>หากอ้างอิงจากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ของพรรคเพื่อไทย ระบุชัดเจนว่า การแก้ไขหมวด 1 และ หมวด 2 ไม่สามารถกระทำได้</p><p>ขณะที่ของพรรคภูมิใจไทย ชาดา ไทยเศรษฐ์ สส.อุทัยธานี ของพรรคฯ เผยแพร่คลิปเมื่อ 5 ก.ค. 2568 ท่ามกลางกระแสข่าวลือว่าพรรคประชาชน และพรรคภูมิใจไทย อาจจับมือกัน โดยในช่วงหนึ่งของคลิป ชาดา ระบุว่า เขาพร้อมหนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ขอว่าอย่าแตะหมวดที่ 1 และหมวดที่ 2</p><ul><li aria-level="1"><h2>เกมล้างคดี ภท.</h2></li></ul><p>นอกจากข่าวลือว่า<strong>พรรคภูมิใจไทย</strong> อาจกำลังเดินเกมขอให้พรรคประชาชนช่วยโหวตให้เป็นนายกฯ ตั้งรัฐบาลเฉพาะกิจ ก็มีบางคนมาร่วมวิเคราะห์ว่าทำไมพรรคภูมิใจไทย ถึงมาอยากเป็นนายกฯ เอาช่วงนี้ เป็นไปเพื่อปลดล็อกการเมืองให้เดินหน้าหรือมีอะไรเคลือบแฝง</p><p>ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษานายกฯ แพทองธาร ตั้งข้อสังเกตหลังเกิดกระแสตีความคำให้สัมภาษณ์หัวหน้าพรรคประชาชนเปิดทางโหวต ‘อนุทิน’ ว่า หากระหว่างที่รัฐบาลเฉพาะกิจของพรรคภูมิใจไทย บริหารประเทศก่อนยุบสภาฯ ถ้ามีคดีฮั้วเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) หรือเรื่องอื่นๆ ผุดขึ้นมา พรรคประชาชนก็ต้องคอยโหวตประคองรัฐบาลเพื่อให้บรรลุเงื่อนไขตัวเองหรือไม่ หรือจะกำหนดท่าทีต่อเรื่องเหล่านี้อย่างไร</p><p>บางส่วนตั้งข้อสังเกตว่าการพยายามเป็นนายกฯ ของพรรคภูมิใจไทย เพื่อจะเคลียร์คดีความ ‘ฮั้ว สว.’ และเรื่องคดีเขากระโดง</p><p>ทั้งนี้ คดีฮั้ว สว.ลากยาวมาตั้งแต่ 10 ก.พ.2568 คณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนส่วนกลาง คณะที่ 26 ของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) โดยมีสมาชิกเป็นเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ กกต. และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กำลังทยอยเรียก สว. และนักการเมืองที่เกี่ยวข้อง เข้ามารับทราบข้อกล่าวหาฐานความผิด พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561</p><p>ระวี อักษรศิริ ผอ.กองคดีการฟอกเงินทางอาญา อัพเดทความคืบหน้าเรื่องกรณีของการฮั้ว สว.ว่า ฐานความผิดตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง สว. ใกล้เสร็จแล้ว และคาดว่าจะสรุปสำนวนส่งให้ กกต.ได้ประมาณกลางเดือน ก.ค. 2568 เบื้องต้นมีผู้เกี่ยวข้องรวมแล้ว 200 กว่าราย และอาจผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ เพิ่มเติม</p><p>ส่วนข้อหา ‘ฟอกเงิน-อั้งยี่’ ที่ดีเอสไอ รับผิดชอบยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ โดยตอนนี้เรียกพยานมาสอบสวนเส้นทางการเงิน ปัจจุบันมีพยานเข้ามาพบแล้วจำนวน 3 ราย จากจำนวนพยานที่เรียกมาทั้งหมด 7 ราย</p><ul><li aria-level="1"><h2>นายกฯ รักษาการ ยุบสภาได้หรือไม่?</h2></li></ul><p>อีกข้อวิเคราะห์หนึ่งที่เปิดโดยผู้ดำเนินรายการเจาะลึกทั่วไทยฯ&nbsp;คือ แหล่งข่าวนักธุรกิจประเมินว่าพรรคเพื่อไทย เตรียมทางหนีทีไล่ไว้ราว 3 เดือน จึงยุบสภา เพื่อรอให้ผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณ และมีการแต่งตั้งข้าราชการต่างๆ ในช่วงเดือน ก.ย. 2568 ให้เรียบร้อยเสียก่อน สอดคล้องกับระยะเวลารอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ประเมินแล้วน่าจะกินเวลาราว 2-3 เดือน&nbsp;</p><p>การมีวิเคราะห์ยังมีต่อไปด้วยว่า <strong>พรรคเพื่อไทย</strong> ซึ่งอยู่ในสภาพเสียงปริ่มน้ำอย่างมาก อาจจะไม่อยากให้มีการโหวตนายกฯ คนใหม่ในสภาฯ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะ ‘โดนไฮแจ็ก’ ตำแหน่งฝ่ายบริหารก็เป็นได้ จึงจะชิงยุบสภาฯ ในขณะรักษาการ&nbsp;

การวิเคราะห์นี้อาจไม่มีน้ำหนักมากนักก็ได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้วคือ ข้อถกเถียงว่า ‘รักษาการนายกฯ’ มีอำนาจยุบสภาหรือไม่ ชูศักดิ์ ศิรินิล ฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย ยืนยันว่า นายกฯ รักษาการมีอำนาจในการยุบสภาได้เหมือนนายกรัฐมนตรี</p><p>หากย้อนไปดูสมัย ‘รัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา’ วิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ฝ่ายกฎหมายและกูรูที่ใครๆ มักสอบถามข้อกฎหมาย เคยตอบคำถามว่า นายกฯ รักษาการมีอำนาจยุบสภาหรือไม่ว่า “ทำได้เหมือนนายกฯ ทุกอย่าง”&nbsp; (24 ส.ค.2565)&nbsp;&nbsp;</p><p>เมื่อคำถามนี้มาเยือนอีกครั้ง 2 ก.ค. 2568 วิษณุ ตอบคำถามในเนชั่นทีวีอีกหนว่า&nbsp; “ยอมรับความมี 2 ความเห็น ความเห็นหนึ่งเห็นว่าเมื่อเป็นรักษาการนายกฯ สามารถทำอะไรได้ทุกอย่างเหมือนนายกฯ อีกความเห็นหนึ่งบอกว่าไม่ได้ อำนาจยุบสภาเป็นอำนาจเฉพาะตัวของนายกรัฐมนตรีเท่านั้น ผมเห็นไปในทางที่ว่าสามารถยุบสภาฯ ได้ อยู่ที่ว่าพระเจ้าอยู่หัวท่านจะลงพระปรมาภิไธยให้หรือไม่ ก็ถ้าถวายขึ้นไปท่านลงพระปรมาภิไธยมาแล้วใครจะเถียงกันว่าใครทำผิดรัฐธรรมนูญ ไม่มีหรอก”&nbsp;</p><p>ทันทีทันควัน ปกรณ์ นิลประพันธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา&nbsp;โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวโต้กลับ โดยยืนยันว่า รักษาการนายกฯ ยุบสภาไม่ได้</p><p>“ผมอธิบายว่าตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของบ้านเรา การเสนอแต่งตั้งรัฐมนตรี และการยุบสภา เป็นอำนาจเฉพาะตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเท่านั้น เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศที่ปกครองในระบอบรัฐสภาแบบเวสต์มินสเตอร์ (Westminster) เป็นไปตาม “หลักความไว้วางใจ”.... รนม. (รองนายกรัฐมนตรี) รักษาราชการแทน นรม. (นายกรัฐมนตรี) จะเสนอให้ยุบสภา ถ้ายังมีผู้ดำรงตำแหน่

 35 
 เมื่อ: วานนี้ 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
ย้อนฟัง "บอย ภิษณุ" เปิดใจกับ "นิกกี้ ณฉัตร" ถูกทักแววตาทำไมเศร้า?
         


ย้อนฟัง &quot;บอย ภิษณุ&quot; เปิดใจกับ &quot;นิกกี้ ณฉัตร&quot; ถูกทักแววตาทำไมเศร้า?" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;บอย ภิษณุ ย้อนฟังคำสัมภาษณ์ในรายการของ นิกกี้ ณฉัตร ถูกทักทำไมแววตาเศร้าจัง เปิดใจเรื่องงานหดในรอบ 20 ปี
         

https://www.sanook.com/news/9813006/
         

 36 
 เมื่อ: วานนี้ 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
ศาลรัฐธรรมนูญ: ผู้กำหนด "จุดเปลี่ยน" การเมืองไทย
 


<span>ศาลรัฐธรรมนูญ: ผู้กำหนด "จุดเปลี่ยน" การเมืองไทย</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>เรื่อง: ณัชปกร นามเมือง เครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ</p><p>อินโฟกราฟิก: กิตติยา อรอินทร์</p></div>
      <span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2025-07-02T19:44:07+07:00" title="Wednesday, July 2, 2025 - 19:44">Wed, 2025-07-02 - 19:44</time>
</span>

            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>การเมืองไทยกำลังจะเผชิญจุดเปลี่ยนอีกครั้ง เมื่อศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร หยุดปฏิบัติหน้าที่ หลังประธานวุฒิสภา มงคล สุระสัจจะ ยื่นคำร้องให้วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ แพทองธารสิ้นสุดลง เนื่องจากขาดคุณสมบัติเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง จากกรณีมีคลิปเสียงสนทนากับฮุน เซน ประธานวุฒิสภากัมพูชา เกี่ยวกับปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา</p><p>แม้คำสั่งดังกล่าวจะเป็นเพียงการสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่คำสั่งนี้ก็สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของการเมืองไทยที่เกิดเหตุเช่นนี้ เพราะในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองผ่านการตัดสินคดีความ จนนำไปสู่จุดเปลี่ยนทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาล พรรคการเมือง รวมถึงระบอบประชาธิปไตย มาแล้วหลายต่อหลายครั้ง</p><p>เพื่อทำความเข้าใจภูมิทัศน์ทางการเมืองของไทยให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เราจะชวนย้อนดูบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในฐานะ ‘ผู้กำหนดจุดเปลี่ยนทางการเมืองไทย’ ผ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดังนี้</p><p>&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54628754224_526443211a_o.jpg" width="4000" height="5000" loading="lazy"><p>&nbsp;</p><h2>ปี 2549 - 2550: จุดเริ่มต้น ‘ตุลาการภิวัฒน์’ ล้มเลือกตั้ง ยุบพรรคไทยรักไทย</h2><p>การขึ้นสู่อำนาจด้วยคะแนนเสียงถล่มทลายของ พรรคไทยรักไทย ภายใต้การนำของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ฝ่ายอนุรักษนิยมจารีตหันมาใช้อำนาจตุลาการ คัดง้างกับหลักการเสียงข้างมากในระบอบประชาธิปไตย</p><p>ศาลรัฐธรรมนูญ เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลทักษิณกับ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งกล่าวหารัฐบาลว่าเป็น ‘เผด็จการรัฐสภา’ ใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตน รวมถึงละเลยหลักนิติรัฐและละเมิดสิทธิมนุษยชน</p><p>ต่อมาในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2549 รัฐบาลทักษิณประกาศยุบสภาเพื่อคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสิน ทว่า พรรคฝ่ายค้านนำโดยพรรคประชาธิปัตย์กลับ ‘บอยคอตการเลือกตั้ง’ วันที่ 2 เมษายน 2549 โดยมองว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ ผลจากการบอยคอตทำให้การเลือกตั้งมีปัญหาในหลายเขตเลือกตั้ง มีผู้สมัครจากพรรคเดียวหรือมีคนมาออกเสียงไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำ และมีการกล่าวหาว่าพรรคไทยรักไทยจ้างพรรคเล็กให้ลงสมัคร</p><p>ต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญมี คำวินิจฉัยที่ 9/2549 ให้การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 เป็นโมฆะ โดยให้เหตุผลว่าไม่เที่ยงธรรม ไม่ได้ผู้แทนปวงชนอย่างแท้จริง และการจัดคูหาเลือกตั้งไม่เป็นความลับตามรัฐธรรมนูญ</p><p>แม้จะมีการกำหนดให้จัดการเลือกตั้งใหม่ แต่ยังไม่ทันดำเนินการ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ก็ได้รัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลทักษิณในวันที่ 19 กันยายน 2549 และดึงศาลรัฐธรรมนูญเข้ามามีบทบาทอีกครั้ง</p><p>หลังรัฐประหาร คมช. ได้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวขึ้นมา ซึ่งกำหนดให้มี "คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ" ทำหน้าที่แทนศาลรัฐธรรมนูญ โดยหนึ่งในคำวินิจฉัยสำคัญคือ การยุบพรรคไทยรักไทย และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคกว่า 111 คน จากข้อหาจ้างคนสมัครรับเลือกตั้ง แม้ภายหลังจะมีการเปิดเผยข้อเท็จจริงว่ามีการว่าจ้างพยานเท็จ รวมทั้งถูกวิจารณ์ว่าเป็นการตัดสินโดยใช้กฎหมายย้อนหลัง</p><p>จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ทำให้การเลือกตั้งเป็นโมฆะ ตามมาด้วยการรัฐประหารและการยุบพรรคไทยรักไทย ได้เปลี่ยนภูมิทัศน์การเมืองไทยอย่างสิ้นเชิง นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองระลอกใหม่ที่แบ่งสังคมออกเป็นสองขั้ว ระหว่าง ‘คนเสื้อเหลือง’ (กลุ่ม พธม.) ผู้ต่อต้านรัฐบาลไทยรักไทย และ ‘คนเสื้อแดง’ (แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.) ผู้ต่อต้านการรัฐประหารและสนับสนุนรัฐบาลทักษิณ</p><h2>ปี 2551 – 2553: สั่งนายกฯ พ้นตำแหน่ง 2 คนรวด - ปูทางพลิกขั้วรัฐบาล</h2><p>หลังการรัฐประหารปี 2549 คมช. ได้ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 และจัดการเลือกตั้งใหม่ พรรคพลังประชาชน ซึ่งถือเป็นพรรคต่อเนื่องจากไทยรักไทย ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย เนื่องจากนโยบาย ‘ประชานิยม’ ในยุครัฐบาลทักษิณยังคงครองใจประชาชน อาทิ การพักหนี้เกษตรกร, กองทุนหมู่บ้าน, OTOP และ 30 บาทรักษาทุกโรค ทำให้ สมัคร สุนทรเวช ได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี</p><p>อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสมัครบริหารประเทศได้ไม่ถึง 1 ปี ศาลรัฐธรรมนูญก็วินิจฉัยให้สมัครพ้นจากตำแหน่ง โดยวินิจฉัยว่าเป็น ‘ลูกจ้าง’ และขัดต่อคุณสมบัติของรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ 2550 คำวินิจฉัยในคดีนี้เป็นที่วิจารณ์ว่าเป็นการตีความที่ขยายความกฎหมายออกให้กว้างขวาง โดยมีเป้าประสงค์ทางการเมือง เนื่องจากเห็นว่า เป็น ‘นอมินี’ ทางการเมืองของพรรคไทยรักไทย หรือ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี</p><p>หลังนายกฯ สมัครพ้นจากตำแหน่ง พรรครัฐบาลเสนอชื่อ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน แต่เขาก็ดำรงตำแหน่งได้เพียง 75 วันท่ามกลางการประท้วงของ พธม.ที่ยึดทำเนียบฯ ยาวนานและปิดสนามบิน ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชน ด้วยข้อกล่าวหาว่ากรรมการบริหารพรรคทุจริตการเลือกตั้ง ส่งผลให้สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ต้องพ้นจากตำแหน่งและถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง</p><p>เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมืองครั้งสำคัญ นั่นคือการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล โดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านในเวลานั้นขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยการสนับสนุนจากกลุ่ม ‘เพื่อนเนวิน’ ที่เคยสังกัดพรรคพลังประชาชน (ซึ่งต่อมาก่อตั้งเป็นพรรคภูมิใจไทย) ท่ามกลางข่าวลือว่ากองทัพอยู่เบื้องหลังการสลับขั้วครั้งนี้</p><p>คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่นำไปสู่การยุบพรรคหลักและตัดสิทธินักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทำให้รัฐบาลอภิสิทธิ์เผชิญกับการต่อต้านอย่างรุนแรง กลุ่มคนเสื้อแดง (นปช.) เริ่มชุมนุมใหญ่ในปี 2552 เรียกร้องให้ยุบสภาและจัดเลือกตั้งใหม่ แต่ข้อเรียกร้องกลับถูกตอบโต้ด้วยการสลายการชุมนุมในปี 2553 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตไม่น้อยกว่า 94 ราย เหตุการณ์นี้ได้กลายเป็นบาดแผลใหญ่ในประวัติศาสตร์ความขัดแย้งทางการเมืองไทย</p><h2>ปี 2555 - 2557: ‘ตุลาการภิวัตน์’ ล้มกฎหมาย โค่นเลือกตั้ง ปูทางรัฐประหาร</h2><p>หลังรัฐบาลอภิสิทธิ์ยุบสภาและมีการเลือกตั้งใหม่ในปี 2554 พรรคเพื่อไทย ภายใต้การนำของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชนะการเลือกตั้งอีกครั้ง และต้องเผชิญกับบทบาทของ ‘ตุลาการภิวัตน์’ จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหลายครั้ง</p><p>บทบาทแรกของศาลรัฐธรรมนูญคือ&nbsp;<strong>การขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญถึง 2 ครั้ง</strong></p><ul><li aria-level="1"><strong>ครั้งแรก: </strong>การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ศาลวินิจฉัยว่าการดำเนินการเช่นนี้ต้องทำประชามติก่อน</li><li aria-level="1"><strong>ครั้งที่สอง:</strong> การแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อแก้ไขส่วนของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ให้มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็น ‘การล้มล้างการปกครอง’ เพราะเป็นกระทำเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองประเทศโดยมิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ</li></ul><p>นอกจากนี้ ศาลยัง<strong>ล้มร่าง พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท</strong> (กฎหมายให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม) โดยให้เหตุผลว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ทั้งเรื่องการใช้จ่ายเงินแผ่นดินที่ไม่อยู่ในกรอบงบประมาณ, ไม่ใช่กรณีเร่งด่วน และไม่เป็นไปตามกรอบวินัยการเงินการคลัง คำวินิจฉัยนี้ถูกวิจารณ์อย่างหนัก โดยเฉพาะเมื่อตุลาการบางคนแสดงความเห็นส่วนตัวถึงความไม่เร่งด่วน เช่น "ให้ถนนลูกรังหมดจากประเทศไทยก่อน" ซึ่งสะท้อนถึงอคติ</p><p>ต่อมา เมื่อสภาผู้แทนราษฎรผ่าน&nbsp;<strong>ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ‘ฉบับเหมาเข่ง’</strong> ทำให้เกิดการชุมนุมใหญ่ของ&nbsp;<strong>กลุ่ม กปปส.</strong> (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) รัฐบาลยิ่งลักษณ์จึงตัดสินใจยุบสภาและกำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่พรรคประชาธิปัตย์บอยคอตการเลือกตั้งอีกครั้ง และกลุ่ม กปปส. ได้ขัดขวางการรับสมัครและปิดคูหาเลือกตั้ง ทำให้บางเขตไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้</p><p>ต่อมาผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการเลือกตั้ง ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า&nbsp;<strong>พระราชกฤษฎีกาเฉพาะส่วนของการกำหนดวันเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและให้เป็นโมฆะ </strong>เพราะไม่ได้จัดการเลือกตั้งพร้อมกันทั่วราชอาณาจักร</p><p>การที่ศาลไม่ได้วินิจฉัยให้พระราชกฤษฎีกาทั้งฉบับเป็นโมฆะ ทำให้เกิด<strong>&nbsp;‘สุญญากาศทางการเมือง’ </strong>เนื่องจากไม่มีความชัดเจนว่า รัฐบาลจะออกพระราชกฤษฎีกาใหม่ได้ และ กกต. ไม่มีอำนาจจัดการเลือกตั้งในเขตที่มีปัญหา สุดท้ายคำวินิจฉัยดังกล่าวประกอบกับการชุมนุมยืดเยื้อของ กปปส.จึงเป็นชนวนนำไปสู่&nbsp;<strong>การรัฐประหารในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557</strong> นำโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)</p><p>หลังการรัฐประหาร มีการชุมนุมต่อต้านอย่างกว้างขวาง นำไปสู่&nbsp;การคุกคามสิทธิเสรีภาพครั้งใหญ่ ประชาชนอย่างน้อย 929 คนถูก คสช. เรียกรายงานตัวและควบคุมตัวในค่ายทหาร มีผู้ถูกตั้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองไม่น้อยกว่า 245 คน และถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 ไม่น้อยกว่า 169 คน ซึ่งล้วนมาจากการแสดงออกต่อต้านคณะรัฐประหาร</p><h2>ปี 2557 - 2562: ศาลรัฐธรรมนูญยุค คสช. คุ้มกันการสืบทอดอำนาจ</h2><p>หลังการรัฐประหารปี 2557&nbsp;<strong>ศาลรัฐธรรมนูญยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป</strong> โดยกระบวนการแต่งตั้งตุลาการในช่วงนั้นถูกมองว่า&nbsp;<strong>ถูกแทรกแซงจาก คสช. อย่างชัดเจน</strong> ทั้งการใช้อำนาจตาม&nbsp;มาตรา 44 เพื่อต่ออายุตุลาการ และการให้ความเห็นชอบผ่าน&nbsp;<strong>สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)</strong> ซึ่งสมาชิกทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งของ คสช.</p><p>บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในช่วงนี้ถูกวิจารณ์ว่า&nbsp;<strong>คุ้มกันอำนาจรัฐบาล คสช.</strong> (รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) และอาจกล่าวได้ว่า&nbsp;<strong>สนับสนุนการสืบทอดอำนาจ</strong></p><ul><li aria-level="1"><strong>วินิจฉัย พ.ร.บ.ประชามติ 2559 ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ</strong>: แม้กฎหมายดังกล่าวจะถูกวิจารณ์ว่าจำกัดสิทธิการแสดงออกของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทำให้การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญไม่เสรีและไม่เป็นธรรมในการรณรงค์ แต่ศาลกลับวินิจฉัยว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และทำให้คนที่ออกไปรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของคสช. ต้องถูกดำเนินคดี</li><li aria-level="1"><strong>ยกคำร้องห้ามชุมนุม 5 คนขึ้นไป: </strong>เมื่อภาคประชาชนร้องให้วินิจฉัยว่าคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน ขัดต่อเสรีภาพในการชุมนุมหรือไม่ ศาลยกคำร้องด้วยเหตุผลทางเทคนิคว่า ผู้ร้องต้องยื่นผ่านศาลอื่นหรือผู้ตรวจการแผ่นดินก่อน ไม่สามารถยื่นตรงได้</li><li aria-level="1"><strong>วินิจฉัยกฎหมาย ป.ป.ช. ไม่ต้องเซ็ตซีโร่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ: </strong>ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 185 ที่กำหนดให้ประธานและกรรมการ ป.ป.ช. (ซึ่งมาจากการเห็นชอบของ สนช.) ยังอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนครบวาระนั้น&nbsp;ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยนี้ส่งผลให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการเห็นชอบจาก สนช. ไม่ต้องถูก ‘เซ็ตซีโร่’ (เริ่มต้นนับวาระใหม่) เหมือนองค์กรอิสระอื่นๆ ที่ คสช. และ สนช. ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)</li></ul><h2>ปี 2562-2566: ยุบพรรคตรงข้าม รัฐบาลประยุทธ์ได้ไปต่อ</h2><p>หลังรัฐธรรมนูญปี 2560 มีผลบังคับใช้และมีการเลือกตั้งในปี 2562 ศาลรัฐธรรมนูญเข้ามามีบทบาทสร้างจุดเปลี่ยนทางการเมืองอย่างมีนัยสำคัญ ดังนี้</p><p><strong>1. การยุบพรรคการเมือง</strong></p><ul><li aria-level="1"><p><strong>ยุบพรรคไทยรักษาชาติ (2562):</strong> พรรคไทยรักษาชาติถูกมองว่าเป็นพรรคคู่ขนานของพรรคเพื่อไทยตามยุทธศาสตร์ ‘แตกแบงค์พัน’ เนื่องจากระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม (MMA) ถูกออกแบบมาเพื่อจำกัดที่นั่งพรรคใหญ่และเอื้อพรรคกลาง โดยถูกยุบจากการเสนอชื่อ&nbsp;<strong>ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี</strong> เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี
&nbsp;</p><p>คดีนี้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เป็นการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แม้จะมีการถกเถียงว่า กกต. มีอำนาจเพียงพอที่จะถอนชื่อได้เอง แต่ศาลกลับวินิจฉัยยุบพรรค ทำให้พรรคไทยรักษาชาติไม่สามารถลงเลือกตั้งได้ และพรรคเพื่อไทยไม่สามารถส่งผู้สมัครได้ครบทุกเขต</p></li><li aria-level="1"><strong>ยุบพรรคอนาคตใหม่ (2563):</strong> ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่ กรณี&nbsp;<strong>ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ</strong> หัวหน้าพรรคให้พรรคกู้เงิน 191.2 ล้านบาท โดยถือว่าเป็นการรับบริจาคเงินโดยมิชอบ คำวินิจฉัยนี้ถูกวิจารณ์ว่าการกู้เงินไม่ใช่การบริจาค และการตีความกฎหมายไม่ครบถ้วนตามองค์ประกอบความผิด แต่มีเป้าหมายเพื่อลดจำนวน ส.ส. ฝ่ายค้านและเสริมสร้างเสถียรภาพให้รัฐบาลประยุทธ์ ซึ่งมีเสียงในสภาแบบปริ่มน้ำ</li></ul><p><strong>2. คุ้มกัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา</strong></p><p>นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญยังมีบทบาทในการคุ้มกันอำนาจของ&nbsp;<strong>พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา</strong> นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ในหลายกรณี เช่น</p><ul><li aria-level="1"><strong>คดีบ้านพักทหาร (ปี 2563):</strong> ศาลวินิจฉัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ไม่ผิดกรณีใช้บ้านพักในค่ายทหารหลังเกษียณราชการ โดยให้เหตุผลว่าเป็นไปตามระเบียบของกองทัพและเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคง&nbsp;</li><li aria-level="1"><strong>คดีดำรงตำแหน่งนายกฯ ครบ 8 ปี (ปี 2565):</strong> ศาลวินิจฉัยว่าการนับวาระ 8 ปีของพล.อ.ประยุทธ์ ควรเริ่มนับจากวันที่รัฐธรรมนูญปี 2560 ประกาศใช้ ทำให้เขาสามารถดำรงตำแหน่งนายกฯ ต่อไปได้อีก</li></ul><p><strong>3. ยื้อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ</strong></p><p>หลังการเลือกตั้ง ปี 2562 พรรครัฐบาลอย่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคฝ่ายค้านที่นำโดยพรรคเพื่อไทยและก้าวไกล (อนาคตใหม่) ต่างเห็นตรงกันว่าควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญและจัดทำฉบับใหม่โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) แต่กระบวนการนี้กลับถูกขัดขวางโดยสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. พวกเขายื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยอ้างว่ารัฐสภาไม่มีอำนาจในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่</p><p>ในทางรูปธรรม ปฏิเสธได้ยากว่า บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญได้ขยายตัวจากการจัดการกับนักการเมือง พรรคการเมือง มาเป็นผู้กุมสภาพทางการเมืองทั้งในทางบริหารผ่านการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และการออกกฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 4/2564 ยืนยันว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่เป็นอำนาจของรัฐสภา แต่ต้องมีการทำประชามติก่อนเพื่อสอบถามประชาชนว่าเห็นชอบให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อมีร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว เพื่อสอบถามความเห็นชอบจากประชาชนอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ความไม่ชัดเจนของคำวินิจฉัยเรื่องจำนวนครั้งของการทำประชามติ ทำให้ ส.ว. ใช้เป็นข้ออ้างในการคว่ำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี 2564 และยังเป็นปัญหาการตีความของฟากฝ่ายการเมืองต่างๆ มาจนปัจจุบัน</p><h2>ปี 2566 - 2568:&nbsp; แช่แข็งเก้าอี้นายกฯ - สั่งนายกฯ พ้นตำแหน่ง - ยุบพรรคก้าวไกล</h2><p>หลังการเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 พรรคก้าวไกล ชนะเป็นอันดับหนึ่ง แต่ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค กลับเผชิญ ‘นิติสงคราม’ เริ่มจากกรณีถูกร้องเรียนเรื่องหุ้น ไอทีวี นำไปสู่การสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. แม้พยานหลักฐานจะคลุมเครือและมีข้อกังขาถึงการหวังผลทางการเมือง การสกัดครั้งนี้สั่นคลอนเสถียรภาพของพรรค และลดทอนความชอบธรรมในการเป็นนายกฯ ของพิธา จนนำไปสู่การพลิกขั้วรัฐบาล โดยมี สว.แต่งตั้งของ คสช. เป็นผู้กำหนดเกมหลัก</p><p>ต่อมา พรรคก้าวไกลเผชิญนิติสงครามอีกครั้ง เมื่อถูกกล่าวหาว่า ล้มล้างการปกครองฯ จากข้อเสนอแก้ไข มาตรา 112 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าเป็นการล้มล้างการปกครองฯ ทั้งที่การแก้ไขกฎหมายเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ การกระทำนี้สะท้อนอำนาจตุลาการที่ก้าวล้ำเข้ามาแทรกแซงอำนาจรัฐสภา และส่งผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายในอนาคต</p><p>ไม่นานหลังจากนั้น ศาลรัฐธรรมนูญยังวินิจฉัยให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีของ เศรษฐา ทวีสิน สิ้นสุดลง ด้วยเหตุผลด้านคุณสมบัติความซื่อสัตย์สุจริต จากการเสนอชื่อบุคคลที่เคยต้องโทษจำคุกเป็นรัฐมนตรี ทั้งที่กรณีดังกล่าวควรไปวินิจฉัยที่คุณสมบัติของบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อ และล่าสุด ศาลรัฐธรรมนูญยังมีคำสั่งให้ แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่ ด้วยเหตุผลเดียวกัน คือขาดคุณสมบัติ "ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์" และ "ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง"</p><p>เหตุการณ์เหล่านี้ชี้ให้เห็นถึง ภาวะนิติสงคราม หรือการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเป็นเครื่องมือจัดการศัตรูทางการเมือง มากกว่าการพิทักษ์ประชาธิปไตย เพราะบทบัญญัติที่ใช้ตัดสินมักเป็น ‘อัตวิสัย’ หรือขึ้นอยู่กับการตีความของผู้มีอำนาจ ขาดความชัดเจน และเป็นกลไกที่เข้ามาแทรกแซงกระบวนการประชาธิปไตย ทั้งในส่วนอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">ศาลรัฐธรรมนูhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">จริยธรรมนักการเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การยุบพรรคการเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C" hreflang="th">ตุลาการภิวัตนhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3" hreflang="th">แพทองธาร ชินวัตhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%AE%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3" hreflang="th">คลิปเสียงฮุนเซน-แพทองธาร ชินวัตhttp://prachatai.com/journal/2025/07/113548
 

 37 
 เมื่อ: วานนี้ 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
พปชร. เปิดตัวอดีตเด็กเพื่อไทย ยกขบวนซบ “ลุงป้อม” โซนอีสานมาเพียบ
   


พรรคพลังประชารัฐ เปิดตัวว่าที่ผู้สมัคร สส. 21 คน อดีตเด็กเพื่อไทยยกขบวนซบ “ลุงป้อม” พรึบ อีสานมาเพียบ “นุกูล แสงศิริ-ศักดา คงเพชร” โผล่ด้วย
   

https://www.thairath.co.th/news/politic/2869260
   

 38 
 เมื่อ: วานนี้ 
เริ่มโดย airrii - กระทู้ล่าสุด โดย airrii
ปัญหาริ้วรอยเกิดจากอะไร

ริ้วรอยเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัยกลางคนขึ้นไป สาเหตุของการเกิดริ้วรอยมีหลายประการ อาทิเช่น
    การลดลงของคอลลาเจนและอีลาสติน: เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ร่างกายผลิตคอลลาเจนและอีลาสตินได้น้อยลง ทำให้ผิวขาดความยืดหยุ่นและเกิดริ้วรอยง่ายขึ้น
    แสงแดดและรังสี UV: แสงแดดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผิวเสื่อมสภาพ รังสี UV ทำลายเนื้อเยื่อผิวและเร่งกระบวนการเกิดริ้วรอย
    พฤติกรรมการใช้ชีวิต: การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การนอนหลับไม่เพียงพอ และความเครียด สามารถส่งผลต่อสุขภาพผิวและทำให้เกิดริ้วรอยเร็วขึ้น
    การแสดงอารมณ์บ่อย: การแสดงสีหน้าบ่อย เช่น การหัวเราะ หงุดหงิด หรือเครียด เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเส้นริ้วบนใบหน้า
    พันธุกรรม: ปัจจัยด้านพันธุกรรมก็มีผลต่อความยืดหยุ่นของผิวและการเกิดริ้วรอย



วิธียกกระชับหน้าให้แลดูอ่อนเยาว์

1. ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว, การทำทรีทเม้นท์, โบท็อก ลดริ้วรอย, ฟิลเลอร์ Filler
ผลิตภัณฑ์สูตรลดริ้วรอย ควรมีคุณสมบัติในการเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอิลาสติน ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยผลัดเซลล์ผิว ซึ่งส่วนผสมที่นิยมใช้กันได้แก่ เรตินอยด์ (Retinoids), วิตามินซี (Ascorbic acid), อัลฟา ไฮดรอกซี แอซิด (AHA), ไนอะซินาไมด์ (Niacinamide), โคเอนไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10), และกรดไฮยาลูโรนิค

2.การทำหัตการด้วยเครื่องมือแพทย์
   
2.1 Exilis Ultra 360
Exilis Ultra 360 คือ การส่งคลื่นความร้อนที่มีความปลอดภัยสูงไปสู่ชั้นผิวหนังเรียกได้ว่าเป็น NEW Model ที่สามารถผสมผสาน ระหว่าง พลังงานคลื่นวิทยุความถี่สูง (Monopolar RF) และ คลื่นเสียง Ultrasound เข้าไว้ด้วยกัน ทำให้การส่งพลังงานสามารถกระจายได้อย่างทั่วถึง ซึ่ง Exilis Ultra 360 จะส่งผ่านพลังงาน 2 ชนิดเข้าไปกระตุ้นการสร้างเส้นใยคอลลาเจน รวมทั้งทำให้คอลาเจนใต้ผิวแข็งแรง ช่วยให้ผิวบริเวณที่มีริ้วรอยกระชับได้
   
2.2 Ulthera
วิธีลดริ้วรอยด้วย Ulthera เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยในการยกกระชับผิวหน้า ปัจจุบันเริ่มเป็นที่คุ้นเคยมากขึ้น โดยการทำงานของ Ulthera จะไม่ต้องฉีดหรือใช้เข็ม ทำงานโดยใช้คลื่นอัลตร้าซาวด์ที่ยิงเข้าไปใต้ชั้นผิว เหมาะกับคนที่ต้องการปรับโครงสร้างหน้าและมีริ้วรอยเล็ก ๆ ช่วย ลดริ้วรอย แก้ไขความหย่อนคล้อยและเพิ่มความกระชับให้กับบริเวณผิวหน้า
   
3.3. New Doublo 2.0
New Doublo 2.0 คือ เครื่องมือในการยกกระชับผิว ที่มาพร้อมกับ Synergy Effect เป็นการรวม 2 พลังงานสำคัญในการกระตุ้นคอลลาเจน ยกกระชับผิว ด้วย คลื่นเสียง - MFU (Micro Focused Ultrasound) และ คลิ่นวิทยุ - RF (Redio Frequency) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีเฉพาะเครื่อง Doublo 2.0 เครื่องแรกและเครื่องเดียวเท่านั้น

ริ้วรอยเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามวัยและปัจจัยเสริมต่าง ๆ ซึ่งสามารถป้องกันและบำรุงรักษาได้ด้วยวิธีการดูแลผิวอย่างเหมาะสม รวมถึงการเลือกใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อยกกระชับหน้าให้ดูอ่อนเยาว์และสุขภาพดีขึ้น หากสนใจวิธีการดูแลและฟื้นฟูผิว ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับสภาพผิวของแต่ละบุคคล


 39 
 เมื่อ: วานนี้ 
เริ่มโดย สุขใจ ข่าวสด - กระทู้ล่าสุด โดย สุขใจ ข่าวสด
"กรมชลประทาน" เดินหน้ารับมือฝนต่อเนื่อง บริหารพื้นที่รองรับอย่างเป็นระบบ พร้อมเก็บกักไว้ใช้ฤดูแล้ง
         


&quot;กรมชลประทาน&quot; เดินหน้ารับมือฝนต่อเนื่อง บริหารพื้นที่รองรับอย่างเป็นระบบ พร้อมเก็บกักไว้ใช้ฤดูแล้ง" width="100" height="100&nbsp;&nbsp;วันที่ 8 กรกฎาคม 2568 ณ ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน รายงานว่า ขณะนี้อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศมีปริมาณน้ำรวมกันอยู่ที่ 43,894 ล้าน ลบ.ม.
         

https://www.sanook.com/news/9812946/
         

 40 
 เมื่อ: วานนี้ 
เริ่มโดย Kimleng - กระทู้ล่าสุด โดย Kimleng




ปุตฺตา วตฺถุ มนุสฺสานํ.
บุตรทั้งหลายเป็นที่ตั้งของมนุษย์ทั้งหลาย

สํ. ส. ๑๕/๕๑
พุทธศาสนสุภาษิต

หน้า:  1 2 3 [4] 5 6 ... 10
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.324 วินาที กับ 22 คำสั่ง