[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤศจิกายน 2567 07:59:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

วิทยาศาสตร์ทางจิต เรื่องลี้ลับ
เรื่องแปลก - ประสบการณ์ทางจิต - เรื่องลึกลับ
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue) (ผู้ดูแล: มดเอ๊ก)


.:::

ประวัติ ท่าน กฤษณมูรติ ผู้จุดประกาย ไดอาล็อก

:::.
หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติ ท่าน กฤษณมูรติ ผู้จุดประกาย ไดอาล็อก  (อ่าน 5483 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
Moderator
นักโพสท์ระดับ 14
*****

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2553 05:21:02 »

กฤษณมูรติ





ประวัติกฤษณมูรติ


กฤษณมูรติ (ค.ศ. 1895 – 1986) ถือกำเนิดในครอบครัวพราหมณ์ ที่เมืองมัทนพาลี รัฐอันตรประเทศ อินเดียใต้ เมื่ออายุ 14 ปี ผู้นำสมาคมเทวญาณวิทยาได้พบเห็นเขาเล่นสนุกอยู่กับเพื่อนๆ บนชายหาดอัธยาร์ เมืองมัฑราส ดร.แอนนี่ บีเซ็นและลีดบีเตอร์ซึ่งเป็นผู้นำสมาคมเทวญาณวิทยาในเวลานั้น เชื่อว่าเด็กคนนี้จะเป็นผู้ค้นพบสัจธรรมและประกาศคำสอนใหม่ เพื่อความสงบสุขแก่มวลมนุษยชาติและนำสันติภาพมาสู่โลกในอนาคต บุคคลทั้งสองนี้เห็นพ้องกันและรับกฤษณมูรติมาเป็นบุตรบุญธรรม ในเวลาต่อมาเขาได้นำกฤษณมูรติไปยังประเทศอังกฤษ เพื่อเตรียมตัวให้เป็นศาสดาของโลก ได้มีการจัดตั้งองค์กรอัครสาวกมีสาขาแทบทั่วโลก เพื่อให้อัครสาวกเหล่านั้นช่วยในการเผยแผ่ศาสนาใหม่ที่จะประกาศในไม่ช้าหลังจากได้ใช้ชีวิตอยู่ในท่ามกลางอัครสาวก สานุศิษย์และผู้ศรัทธามากมายมหาศาลที่ห้อมล้อมและมุ่งหวังให้เป็นผู้ไถ่บาป ชำระความทุกข์โศกและปลดปล่อยพวกเขาให้เป็นอิสระจากปัญหาทั้งปวงนั้น ปรากฏว่าในปี 1926 หลังจากได้ใคร่ครวญตรวจสอบเข้าสู่อาณาจักรแห่งจิตใจและปรากฏการณ์ของสังคมโลกอยู่หลายปี การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจอย่างลึกซึ้งได้เกิดขึ้นในชีวิตของเขา ในไม่ช้าหลังจากนั้นเมื่อ ค.ศ. 1929 เขาได้ประกาศยุบเลิกองค์กรอัครสาวกและปีต่อมาประกาศเป็นอิสระจากสมาคมเทวญาณวิทยา เป็นอิสระจากคำสอนของทุกลัทธิความเชื่อ จากจารีตประเพณีทั้งหลายทั้งปวงและปรัชญาทุกระบบ เขาค้นพบว่าสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดการแตกแยกและความทุกข์โศกแก่มวลมนุษย์



ถ้อยคำประกาศ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของแก่นของคำสอน คือ

“สัจจะเป็นสิ่งที่ไร้ขอบเขต ไร้เงื่อนไขกำหนด ไม่อาจเข้าถึงได้ไม่ว่าโดยวิถีทางใด ๆ ทั้งสิ้น จะรวบรวมสัจจะขึ้นเป็นระบบระเบียบก็ไม่ได้ จะจัดตั้งองค์กรใด ๆ ขึ้นเพื่อนำพาหรือบีบบังคับผู้คนให้ปฏิบัติตามหนทางใดโดยเฉพาะก็ไม่ได้ หากองค์กรใดตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์นี้ มันจะกลายเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวเป็นเครื่องค้ำยัน เป็นความอ่อนแอ เป็นพันธนาการ ทำให้ปัจเจกบุคคลพิกลพิการและเป็นอุปสรรคขัดขวางเขาจากการค้นพบสัจจะอันเป็นที่สุดและไร้เงื่อนไขกำหนด”



กฤษณมูรติทิ้งอะไรไว้บ้าง งานของเขากำลังได้รับความสนใจจากผู้แสวงหาทั่วโลก ในท่ามกลางความสับสน บางคนพบว่าสิ่งที่เขาทิ้งไว้เป็น ปรัชญาการศึกษาใหม่ บางคนเห็นว่าเป็น จิตวิทยา บ้างมีทัศนะว่าเป็น ศาสนา เป็นสิ่งใหม่ซึ่งไม่ปนเปื้อนด้วยจารีตประเพณี พิธีกรรมและสิ่งที่คนทั่วไปยอมรับว่าเป็นศาสนา และมองว่าเขาเป็นบรมครู หรือศาสดาองค์ใหม่ของโลกคล้ายพระศรีอริยเมตไตรย ผู้ค้นพบสัจธรรมสูงสุด แต่กฤษณมูรติปฏิเสธทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้คนมอบให้ เขาสลัดทุกอย่างทิ้งโดยสิ้นเชิง ทั้งสถานภาพทางสังคม อำนาจ เกียรติยศ ชื่อเสียง ทรัพย์ศฤงคาร ปฏิเสธบทบาทศาสดา ปฏิเสธตำนานความเชื่อของทุกศาสนาที่ว่ามีพระศรีอริยเมตไตรย มีพระผู้ช่วยให้รอด เขาเดินไปอย่างโดดเดี่ยวโดยลำพังในโลกนี้ ไม่ต้องการเป็นผู้นำใคร และไม่ต้องการให้ใครตามเป็นสานุศิษย์ เขาเพียงพร้อมเสมอที่จะเป็นเพื่อนร่วมเดินทางกับผู้แสวงหาสัจจะ ดังที่เขากล่าวว่า





“สิ่งที่ผมสนใจเพียงประการเดียวคือ ปลดปล่อยมนุษย์ให้เป็นอิสระปราศจากเงื่อนไขใดๆ อย่างสิ้นเชิง”

“สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่เราได้สร้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ในโบสถ์หรือพิธีกรรมต่างๆ ทั้งหมดนั้นสร้างขึ้นด้วยความคิด ความคิดสร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้น สร้างพระผู้ไถ่บาป สร้างวัดวาอารามในประเทศอินเดียและสิ่งต่างๆ ที่อยู่ภายในวัด ความคิดได้สร้างสิ่งทั้งหลายที่เรียกกันว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สิ่งที่กล่าวมานั้นคุณปฏิเสธไม่ได้ แต่ความคิดโดยตัวมันเองไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมื่อความคิดสร้างพระเจ้าขึ้นมา พระเจ้าจึงไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์

ดังนั้น อะไรเล่าคือภาวะศักดิ์สิทธิ์ สภาวะนั้นจะเข้าใจได้หรือจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีอิสรภาพที่สมบูรณ์สิ้นเชิงจากความกลัวและความทุกข์โศก เมื่อมีความรู้สึกรักและความการุณย์อันเปี่ยมพร้อมด้วยปัญญาของมันเอง จากนั้นเมื่อจิตเงียบลงอย่างถึงที่สุด ภาวะศักดิ์สิทธิ์จึงจะเกิดขึ้นได้

เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษที่กฤษณมูรติได้เดินทางอย่างไม่หยุดหย่อน เพื่อพบปะพูดคุยกับผู้คน ทั้งพูดในที่สาธารณชน สนทนากับนักวิทยาศาสตร์ เหล่าบัณฑิต นักปรัชญาศิลปิน นักบวช นักการเมือง นักศึกษา ทั่วโลก ในบรรดาผู้คนเหล่านั้น มีนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงของโลก ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ และปากตรงกับใจมากที่สุด ได้เขียนถึง กฤษณมูรติได้ดังนี้

“เขาเป็นมนุษย์ที่งดงามที่สุดเท่าที่ข้าพเจ้าได้เคยพบมา
 
http://huaikumboard.board.ob.tc/-View.php?N=80&Page=1

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
Moderator
นักโพสท์ระดับ 14
*****

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2553 05:22:01 »

ประวัติชีวิตของชิฑฑู กฤษณมูรติ

 
 
ชิฑฑู กฤษณมูรติ (2438 -2529) เกิดที่ เมืองมัทนะพาลี เมืองเล็กๆ ในรัฐแคว้นอันตรประเทศ ทางตอนใต้ของอินเดีย เป็นบุตรคนที่ 8 ใน 11 คน เมื่ออายุได้ 10 ปี มารดาของเขาเสียชีวิตลง ครอบครัวจึงย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เมืองมัทราส เพราะบิดาของเขาต้องการจะทำงานให้กับสมาคมเทวญาณวิทยาหลังจากที่เกษียณอายุราชการ

 
เมื่ออายุได้ 14 ปี กฤษณมูรติถูกเลือกให้เป็นผู้ที่จะมาเป็นยานแห่งครูโลกโดย CW ลีด บี เทอร์ บุคคลสำคัญคนหนึ่งในเทวญาณวิทยา ต่อจากพระคริสต์และพระพุทธเจ้า กฤษณมูรติจึงถูกนำมาเลี้ยงดูอย่างระมัดระวังและเอาใจใส่โดยผู้นำของสมาคม เพื่อเตรียมพร้อมให้เขารับบทบาทอันพิเศษนี้ เพื่อรองรับการกลับมาของครูโลก ได้มีการก่อตั้งสมาคม “ดวงดาวแห่งตะวันออก” ซึ่งเป็นองค์กรใหญ่ มีสมาชิกและทรัพย์สินมากมาย

 
แต่ในปี 2472 ด้วยความประหลาดใจและงุนงงอย่างยิ่งของเหล่าสมาชิกสมาคม กฤษณมูรติประกาศสละทิ้งทุกบทบาทที่ตั้งขึ้นเพื่อเขา และแยกทางจากสมาคมเทวญาณ และกลับประกาศไม่เห็นด้วยกับอำนาจของผู้รู้ผู้มีอิทธิพลเหนือจิตวิญญาณ ปฏิเสธบทบาทพระศรีอริยเมไตร และลัทธิความเชื่อต่างๆ ทั้งหมด เขาประกาศชัดเจนว่าไม่ต้องการก่อตั้งศาสนาใหม่ แต่สิ่งที่เขาสนใจเพียงประการเดียว คือ “ปลดปล่อยมนุษย์” ให้เป็นอิสระ โดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ อย่างสิ้นเชิงจาก เป็นเวลา 70 ปี ที่กฤษณมูรติเดินทางทั่วโลกอย่างไม่หยุดหย่อน เพื่อพูดกับสาธารณชน และเสวนากับผู้ที่สนใจฟังและค้นหาด้วยใจที่เปิดกว้าง

 
มูลนิธิกฤษณมูรติทุกแห่งตั้งขึ้นเพื่อจัดหมายกำหนดการโปรแกรมการเดินทางไปพูด และจัดพิมพ์งานที่มีมากมายของกฤษรมูรติจากการพูด การสนทนา การเสวนา ตามสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก ความใส่ใจเป็นห่วงเป็นใยที่กฤษณมูรติมีต่อเยาวชนในฐานะอนาคตของมวลมนุษย์ ทำให้เขาก่อตั้งโรงเรียนขึ้นในประเทศอังกฤษ อเมริกา และ อินเดีย มีนักคิด นักเขียน กวี ศิลปิน นักวิทยาศาสตร์ บุคคลสำคัญเหล่านั้นหลายคน รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่มีอำนาจทางการเมือง คือ มิตรที่คุ้นเคยกับกฤษณมูรติเป็นการส่วนตัว และเป็นกลุ่มที่มาร่วมเสวนาค้นหาเข้าสู่ปัญหาที่อยู่คู่กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านาน

เป็นที่ทราบกันดีว่า หนึ่งในผู้สอนของโลกในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติที่กฤษณมูรติเคารพเป็นพิเศษ คือ พระพุทธเจ้า การที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกตะวันออกได้รับผลกระทบอย่างลึกซึ้งจากคำสอนอันนุ่มนวลของพระพุทธเจ้า จึงคาดคะเนได้ว่าผู้คนในภูมิภาคนี้เป็นเสมือนผืนดินที่เปิดรับกฤษณมูรติและคำสอนของเขา แต่กระนั้น ข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ แม้ว่ากฤษณมูรติจะเดินทางเพื่อพูดคุยและเสวนาเป็นเวลายาวนานถึง70 ปี ท่านก็ยังไม่เคยไปเยือนซีกโลกตะวันออก

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาให้ละเอียดขึ้น จะพบว่ากฤษณมูรติและคำสอนของเขา ได้เข้าไปอยู่ในใจของชาวซีกโลกตะวันออก คำสอนของกฤษณมูรติห่างไกลจากเหตุการณ์ในโลก และไม่ถูกขัดขวางโดยกลียุคทางสังคม-การเมือง และอุปสรรคด้านภาษา จึงทำให้คำสอนของท่านค่อยๆ ซึมผ่านอย่างแท้จริงและค่อยเป็นค่อยไปเข้าสู่ใจคน และมีผู้สนับสนุนและเห็นด้วยในประเทศในตะวันออกไกล และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
มดเอ๊ก
Moderator
นักโพสท์ระดับ 14
*****

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« ตอบ #2 เมื่อ: 04 พฤศจิกายน 2553 05:22:37 »

แด่หนุ่มสาว : กฤษณมูรติ





ไปเถิดคนหนุ่ม โลกนี้เป็นของเจ้า
ไม่มีอะไรที่ทำไปแล้ว ไม่มีอะไรที่รู้ไปแล้ว
บทกวีที่ดีที่สุดยังไม่ได้เขียน
ทางรถไฟที่ดีที่สุดยังไม่ได้สร้าง
รัฐที่สมบูรณ์แบบยังไม่ได้คิดค้นออกมา
ทุกสิ่งทุกอย่างยังรอให้ลงมือแท้เทียว
ทุกสิ่งเลย

-- Lincoln Steffens


วัยหนุ่มสาวคือวันคืนที่ร่าเริงด้วยพลังกระปรี้กระเปร่า ด้วยจิตใจสดใหม่ของการสร้างสรรค์ คนหนุ่มสาวจึงเป็นชีวิตชีวาของโลกและเป็นความหวังของวันพรุ่งนี้ แต่เวลาพรากเอาวัยหนุ่มสาวไปได้รวดเร็ว ใครที่ปล่อยวันผ่านไปโดยไม่ทันหยุดพิจารณา ก็อาจพบว่าตนได้กลายเป็นผู้ใหญ่ในแบบที่ตนเองตั้งใจว่าจะไม่มีวันเป็นไปเสียแล้ว

กฤษณมูรติเขียนถึงประเด็นที่หนุ่มสาวควรใส่ใจในเล่มนี้ เช่นเรื่องของการศึกษา การทำความเข้าใจจิตใจของตนเอง เสรีภาพ และความรัก ประเด็นเหล่านี้น่าสนใจ เพราะหากเราไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้ตั้งแต่ในวัยหนุ่มสาวแล้ว ก็เป็นได้ว่าเราจะไม่มีวันได้รู้จักมันเลย

หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของหนุ่มสาวคือการเรียน เราใช้เวลาหลายปีในโรงเรียน แต่มีใครเคยสงสัยบ้างหรือไม่ว่าเราเรียนไปเพื่ออะไร กฤษณมูรติเห็นว่าหน้าที่อันแท้จริงของการศึกษาคือเพื่อที่เราจะได้พบความหมายของชีวิตได้ด้วยตนเอง ปัญญาที่เกิดขึ้นต้องเป็นความสามารถที่จะคิดได้เองโดยอิสระ กล้าจะหลุดจากกรอบของประเพณี สังคม ความเชื่อ หรือสถาบันใดๆ การศึกษาต้องทำให้เราแต่ละคนพบว่าเราต้องการจะเป็นอะไร ต้องการทำอะไร ซึ่งการแสวงหานี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราปราศจากความกลัว

การยอมรับสิ่งต่างๆ ตามคนหมู่มากย่อมเป็นเรื่องน่าสบายใจกว่า เพราะมีความมั่นคงปลอดภัยในนั้น แต่ความคิดอิสระจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากเรายังกลัวการแบ่งแยกหรือโดดเดี่ยว เสรีภาพทางความคิดจะเกิดได้เต็มที่ก็ต่อเมื่อเราได้ทำลายความกลัวลงเสียก่อน

ในวัยเยาว์ หนุ่มสาวควรจะทำความเข้าใจจิตใจของตนเองให้ถ่องแท้ คำกล่าวนี้อาจฟังดูแปลกประหลาดเพราะว่าวัยใดเล่าที่คนเราจะสับสนตัวเองเท่ากับวัยรุ่น แต่วัยนี้เองที่จิตใจจะเปี่ยมด้วยความใคร่รู้และพลังแห่งการค้นหา วัยเยาว์ทำให้เราสามารถจะรู้สึกและสัมผัสถึงสิ่งต่างๆ ได้อย่างลึกซึ้ง คนหนุ่มสาวไม่จำเป็นต้องฝืนจิตใจให้เป็นคนดี หรือหักห้ามความรู้สึกเพียงเพราะเห็นว่าไม่ถูกไม่ควร แต่เราควรมีความรู้สึกที่แรงกล้า กฤษณมูรติเขียนถึงเรื่องนี้ได้น่าจับใจว่า

"เมื่อรู้สึกว่ามีกิเลสก็จงมี เมื่อโกรธก็จงโกรธ แต่จงเฝ้ามองดูมัน หยอกล้อกับมัน แสวงหาความจริงจากมัน เพราะถ้าเธอไปกดมันไว้ ถ้าเธอบอกตัวเองว่า 'ฉันจะโกรธไม่ได้ ฉันมีกิเลสไม่ได้ เพราะมันเป็นสิ่งที่ผิด' ถ้าเธอคิดดังนั้นจิตใจของเธอก็จะถูกจำกัดไว้ด้วยแวดวงแห่งความคิด และความนึกคิดของเธอนั้นเล่าก็จะกลับตื้นเขิน เธออาจจะฉลาดมาก อาจจะมีความรู้แบบครอบจักรวาล แต่ถ้าไร้ซึ่งพลังแห่งความรู้สึกอันลึกซึ้งดื่มด่ำเสียแล้ว ความเข้าใจของเธอก็จะเป็นเหมือนดอกไม้ที่ไร้กลิ่นหอม"
ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่ควรรู้จักและเข้าใจให้ดีตั้งแต่วัยหนุ่มสาวคือความรัก ความรักเช่นนี้มิใช่การครอบครอง ไม่ใช่การตอบสนองว่าฉันรักเธอเพราะเธอรักฉัน หรือฉันรักเธอเพราะฉันต้องการเธอ แต่เป็นรักที่ไม่เรียกร้องสิ่งใดตอบแทน "แม้แต่ความรู้สึกที่ว่าเธอกำลังให้อะไรบางสิ่งอยู่ก็ไม่มี"

"เธอรู้ไหมว่าการรักผู้อื่นนั้นหมายถึงอะไร การรักต้นไม้ นกหรือสัตว์เลี้ยงหมายถึงอะไร ควรหมายถึงการเอาใจใส่เลี้ยงดูทำนุบำรุง แม้ว่ามันจะไม่ให้อะไรตอบแทนเลยก็ตาม แม้ว่ามันจะมิได้ให้ร่มเงา ไม่ได้คอยติดตาม ไม่ได้คอยพึ่งพิงเราเลยก็ตาม คนส่วนใหญ่มิได้มีความรักไปในทำนองนั้น คนส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าใจความรักในทำนองนี้ เพราะความรักของเราถูกกีดขวางอยู่ด้วยความหงุดหงิดกังวล ความอิจฉาริษยาและความกลัว ซึ่งทำให้เราต้องไปพึ่งพิงผู้อื่นทางใจ โดยการต้องการจะเป็นที่รักของคนอื่น เราไม่ต้องการเพียงแค่จะไปรักใครสักคน และเพียงแต่รักโดยไม่หวังผลตอบแทน แต่เรากลับต้องการเรียกร้องเอาบางสิ่งบางอย่างกลับคืน และในการเรียกร้องนั้นเองก็เท่ากับว่าเราได้พึ่งพิงขาดเสรีในตัวเองแล้ว"
เสรีภาพเป็นของคู่กับความรัก เมื่อเรามีเสรีในความคิดและรู้จักรัก จิตใจก็จะเติบโตอย่างไม่มืดบอด เราจะได้มองดูชีวิตด้วยความริเริ่ม และเมื่อนั้นเองที่หนุ่มสาวจะสร้างโลกใหม่ได้

"ความหวังของโลกใหม่อยู่ที่ตัวเธอ ผู้ซึ่งเริ่มมองเห็นว่าอะไรเป็นสิ่งผิด และทำการปฏิวัติล้มล้างสิ่งผิด มิใช่การปฏิวัติด้วยคำพูดเท่านั้น แต่จะต้องลงมือกระทำ และนี่เป็นสาเหตุที่เธอจะต้องแสวงหาระบบการศึกษาที่ถูกต้อง มีเพียงการเติบโตในเสรีภาพเท่านั้นจึงอาจจะทำให้เธอสามารถสร้างโลกใหม่ ซึ่งมิได้ตั้งอยู่บนประเพณี หรือเปลี่ยนแปลงไปด้วยลัทธิของนักปรัชญาหรือนักอุดมคติ"
ฉันประทับใจหนังสือเล่มนี้อย่างลึกซึ้งนักเมื่ออ่านครั้งแรกในวัยเข้ามหาวิทยาลัย หนังสือเล่มนี้ยังเป็นหนังสือที่มีความหมายที่สุดเล่มหนึ่งของวัยนั้นที่อ่านได้บ่อยครั้ง แด่หนุ่มสาว เป็นหนังสือที่หนุ่มสาวทุกคนน่าจะได้อ่าน เพราะจุดความคิดที่สำคัญหลายประการ โดยเฉพาะการแสวงหาและกล้าคิดในแบบของตนเอง เหตุที่ควรอ่านตั้งแต่วัยหนุ่มสาวก็เพราะเราควรได้ใคร่ครวญและค้นหาก่อนที่จิตใจของเราจะกลายเป็นใจเฉยชาของผู้ใหญ่ ที่หมดคำถามความสงสัยกับชีวิต ได้แต่ยอมรับและมั่นคงอยู่ในอาณาเขตส่วนตัวที่เรากั้นให้ตัวเอง คุณค่าของหนังสือเล่มนี้น่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้หนุ่มสาวหลายต่อหลายรุ่นมาแล้ว ฉันเป็นคนหนุ่มสาวรุ่นก่อนที่อยากแนะนำหนังสือดีเล่มนี้ให้คนรุ่นต่อไป

เพราะความหวังของโลกใหม่อยู่ที่ตัวเธอ


เกี่ยวกับผู้เขียน Jiddu Krishnamurti (1895 - 1986) เกิดที่มัทนปาล อินเดีย ได้ศึกษาต่อที่อังกฤษเมื่ออายุ 16 ปี เพื่อเตรียมให้เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของโลก ในปี 1929 กฤษณมูรติละทิ้งบทบาทนี้ และใช้ชีวิตพเนจรไปที่ต่างๆ โดยกล่าวว่า

Truth is a pathless land, and you cannot approach it by any path whatsoever, by any religion, by any sect. Truth, being limitless, unconditioned, upapproachable by any path whatsoever, cannot be organized; nor should any organisation be formed to lead or to coerce people along any particular path.
กฤษณมูรติเสียชีวิตที่สหรัฐอเมริกา
เกี่ยวกับผู้แปล พจนา จันทรส้นติ เกิดที่กรุงเทพ มีผลงานแปลบางส่วนคือ วิถีแห่งเต๋า กุญแจเซ็น แด่หนุ่มสาว งานแปลความเรียงของเดวิด ธอโร และงานแปลที่เกี่ยวกับอินเดียนแดงอีกหลายเล่ม ผลงานเขียนคือ ขลุ่ยไม้ไผ่ ทางสายใบไม้ร่วง คืนหอมฯ

แด่หนุ่มสาว : กฤษณมูรติ แปลโดยพจนา จันทรสันติ
ISBN 974-7014-01-7 มูลนิธิโกมลคีมทอง ๑๒๐ หน้า
บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
สาระธรรมควรคิด ท่าน ว.วชิรเมธี
สมถภาวนา - อภิญญาจิต
เงาฝัน 0 3458 กระทู้ล่าสุด 26 มิถุนายน 2553 13:34:23
โดย เงาฝัน
ดอกอะไร ไดอาล็อก ( คุยอ่นเครื่อง ก่อนผจญภัย )
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 19 15187 กระทู้ล่าสุด 13 พฤศจิกายน 2553 23:26:14
โดย หมีงงในพงหญ้า
ไดอาล็อก สุนทรียสนทนา ( ภาวนาสนทนา ) : นายแพทย์ ประสาน ต่างใจ
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 2 4267 กระทู้ล่าสุด 13 พฤศจิกายน 2553 23:27:11
โดย หมีงงในพงหญ้า
ไดอาล็อก กะ น้องอิ๋ม ปราณอักษรา ออร่าแห่งอักษร ภพภูมิแห่งถ้อยคำ
ไดอะล็อก คือ ดอกอะไร - พลังไดอะล็อก (Dialogue)
มดเอ๊ก 1 2953 กระทู้ล่าสุด 20 พฤศจิกายน 2553 17:07:47
โดย มดเอ๊ก
แห่งความเข้าใจชีวิตและการศึกษาที่แท้ ( Think on These Things ) โดย กฤษณมูรติ
สุขใจ ห้องสมุด
มดเอ๊ก 0 339 กระทู้ล่าสุด 23 มกราคม 2566 18:18:19
โดย มดเอ๊ก
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.536 วินาที กับ 36 คำสั่ง

Google visited last this page 7 ชั่วโมงที่แล้ว