[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 มิถุนายน 2567 12:11:09 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: กามิกาเซ่ - เที่ยวบินนี้ไม่มีกลับ  (อ่าน 3296 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5528


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 04 มีนาคม 2558 09:48:22 »

.



กามิกาเซ่ (Kamikaze)

กามิกาเซ่ หรือคะมิกะเซะ (Kamikaze) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า กองกำลังจู่โจมพิเศษ เป็นฝูงบินพลีชีพของกองทัพญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ภิยะพรรณี วัฒนายากร เขียนบทความไว้ในนาวิกศาสตร์ของกองทัพเรือ ว่า กามิกาเซ่มาจากคำ ๒ คำต่อกัน คือ kami หมายถึง พระเจ้า (god) และ kaze หมายถึงลม (wind) รวมกันมีความหมายว่าลมแห่งเทวะ หรือลมแห่งสวรรค์ และยังหมายถึงลมสลาตันหรือพายุไต้ฝุ่นที่เกิดขึ้นใน ค.ศ.๑๒๗๔ ช่วยให้ญี่ปุ่นรอดพ้นจากการรุกรานของกองทัพเรือ ๔,๕๐๐ ลำ ของมองโกล นำโดยจักรพรรดิกุบไลข่าน ชาวญี่ปุ่นรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณพายุไต้ฝุ่นลูกนี้ จึงตั้งชื่อว่า กามิกาเซ่ แปลว่าพายุเทพเจ้า เป็นที่มาของชื่อกองบินอากาศยานพลีชีพของญี่ปุ่นที่บรรทุกระเบิดแล้วพุ่งเข้าชนเรือ และคำนี้ยังหมายถึงนักบินผู้บังคับอากาศยานด้วย

ปฏิบัติการของฝูงบินกามิกาเซ่นับได้ว่าเป็นการรบทางอากาศที่มีอิทธิพลและเป็นที่รู้จักมากกว่ารูปแบบอื่นๆ ของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ หน่วยทหารที่รับผิดชอบมีชื่อว่า "โทคูเบตสุ โคกิคิไท" แปลว่ากองกำลังจู่โจมพิเศษ ญี่ปุ่นใช้ยุทธวิธีพลีชีพด้วยฝูงบินกามิกาเซ่ในช่วงบุกฟิลิปปินส์ในปี ๑๙๔๔และเพื่อหยุดยั้งการบุกของกองทัพเรือฝ่ายสัมพันธมิตร และที่เมืองโอกินาวา ในช่วงปี ๑๙๔๖ ไปกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ การพลีชีพของนักบินกามิกาเซ่ถือเป็นการตายอย่างมีเกียรติเพื่อองค์จักรพรรดิและประเทศของพวกเขา



     กำเนิดของหน่วย กามิกาเซ่เริ่มต้นเมื่อ น.ท.อะไซกิ ทาไม อาจารย์สอนการบินทหารเรือ สอบถามนักเรียนการบิน ๒๓ คน ว่ามีใครสนใจจะเข้าร่วมในกองกำลังโจมตีพิเศษบ้าง นักเรียนทั้งหมดตกลงเข้าร่วมปฏิบัติการ โดยมี ร.ท.เซกิ ยูคิโอะ เป็น ผู้บังคับการ รวมเป็นนักบิน ๒๔ คนในหน่วยโจมตีพิเศษที่ประกอบด้วย ๔ หน่วยย่อย ได้แก่ หน่วยชิคิชิมา (Shikishima), หน่วย ยามาโตะ (Yamato), หน่วยอาซาฮี (Asahi) และ หน่วยยามาซากุระ (Yamaza kura) ชื่อของหน่วยย่อยเหล่านี้นำมาจากบทกวี เกี่ยวกับความรักชาติ ประพันธ์ โดยนักปราชญ์ยุคคลาสสิคของญี่ปุ่น ชื่อ โมโตริ โนรินากะ

หลักฐานเกี่ยวกับการโจมตีครั้งแรกของกามิกาเซ่ที่เชื่อถือได้จากรายงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งเป็นที่ยอมรับของหลายๆ ฝ่าย คือการโจมตีเรือลาดตระเวนหนักของออสเตรเลีย ชื่อ HMAS Australia เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๑๙๔๔ เรือลำดังกล่าวถูกเครื่องบินญี่ปุ่นที่บรรทุกระเบิดหนัก ๒๐๐ กิโลกรัม (๔๔๑ ปอนด์) พุ่งเข้าชนกลางทะเลนอกเกาะเลเต เครื่องบินปะทะเข้ากับส่วนโครงสร้างเหนือดาดฟ้าใหญ่ของเรือ เหนือสะพานเดินเรือ เกิดการระเบิด น้ำมันลุกไหม้ พบซากปรักหักพังกระจัดกระจายเป็นวงกว้าง แต่ระเบิดหนัก ๒๐๐ กิโลกรัมที่ติดมากับเครื่องบินไม่เกิดการระเบิด มีคนเสียชีวิตบนเรืออย่างน้อย ๓๐ นาย อย่างไรก็ตาม การโจมตีครั้งนี้ไม่ได้มาจากเครื่องบินของหน่วยโจมตีพิเศษของ น.ท.ทาไม แต่เป็นปฏิบัติการของนักบินญี่ปุ่นไม่ทราบนาม

๔ วันต่อมา ในวันที่ ๒๕ ตุลาคม ฝูงบินกามิกาเซ่ ประกอบด้วย เครื่องบินซีโร่ จำนวน ๕ ลำ นำโดย ร.ท.ยูคิโอะ เข้าโจมตีเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกันของสหรัฐอเมริกา ชื่อ USS St.Lo ซึ่งแม้ว่าจะมีเครื่องบินซีโร่เพียงลำเดียวที่พุ่งเข้าชนเรือได้สำเร็จ แต่ก็ส่งผลรุนแรง ระเบิดที่ติดมากับเครื่องบินระเบิดขึ้น เกิดไฟไหม้ลุกลามต่อไปยังคลังระเบิดของเรือ เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงจนเรือจม

นอกจากนี้เครื่องบินกามิกาเซ่ลำอื่นๆ ได้สร้างความเสียหายให้เรือรบฝ่ายสัมพันธมิตรอีกมากมายนับไม่ถ้วน เนื่องจากเรือรบของสัมพันธมิตรจำนวนมากในยุคนั้นดาดฟ้าเรือทำด้วยไม้ เป็นเชื้อเพลิงของไฟจากระเบิดเป็นอย่างดี  กล่าวได้ว่าเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐในช่วงนั้นตกเป็นเป้าการโจมตีของกามิกาเซ่ได้ง่ายกว่าเรือบรรทุกเครื่องบินของอังกฤษที่มีดาดฟ้าทำด้วยเหล็ก


  หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุด รายงานของญี่ปุ่นระบุว่า นักบินทหารเรือสังเวยชีวิตในภารกิจพลีชีพ จำนวน ๒,๕๒๕นาย กองทัพบก ๑,๓๘๗ นาย โดยเหล่านักบินที่ห้าวหาญจมเรือรบของฝ่ายสัมพันธมิตร ๘๑ ลำ และทำความเสียหายให้เรือรบ ๑๙๕ ลำ และระบุว่า กามิกาเซ่ได้สร้างความสูญเสียให้แก่กองทัพเรือสหรัฐ ในการรบทางทะเลฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์ จากสาเหตุความสูญเสียทั้งหมด ขณะที่ข้อมูลของฝ่ายสัมพันธมิตรว่า มีเรือรบฝ่ายสัมพันธมิตรจมเพราะการโจมตีของกามิกาเซ่ ๓๔ ลำ และ ๒๘๘ ลำได้รับความเสียหาย

อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่าปฏิบัติการของฝูงบินกามิกาเซ่สร้างความเสียหายให้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นอย่างมาก แม้ไม่ได้รุนแรงมากจนกลายเป็นปัจจัยชี้ขาดในการแพ้หรือชนะสงคราม แต่ผลกระทบในทางจิตวิทยาที่มีต่อทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรกลับลึกซึ้ง








ปฏิบัติการกามิกาเซ่ดูบ้าบิ่นเกินมนุษย์ในสายตาตะวันตก แต่กองทัพญี่ปุ่นไม่เคยขาดแคลนอาสาสมัครนักบินที่จะมาทำงานนี้ ทั้งมีมากกว่าจำนวนเครื่องบินที่มีอยู่ถึง ๓ เท่า ในการคัดเลือกตัวนักบิน พวกนักบินมากประสบการณ์ เสืออากาศ จะถูกกันออกไป เนื่องจากนักบินเหล่านี้มีคุณค่าในการรบเชิงป้องกันและในการฝึกสอนนักบินรุ่นใหม่ นักบินพลีชีพกามิกาเซ่ส่วนใหญ่จึงมีอายุอยู่ในช่วง ๒๐ ปี เป็นนักศึกษาวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย แรงจูงใจมาจากความรักชาติ ความปรารถนาที่จะนำเกียรติยศมาสู่วงศ์ตระกูลของตนด้วยการสละชีพเป็นชาติพลี และเพื่อพิสูจน์คุณค่าความเป็นลูกผู้ชาย ซึ่งเป็นค่านิยมร้อนแรงในหมู่วัยรุ่นญี่ปุ่นยุคนั้น

ก่อนนักบินกามิกาเซ่จะออกปฏิบัติการ หน่วยจะจัดพิธีพิเศษให้แก่นักบินเหล่านั้น มีการสวดมนต์ให้พรนักบินและญาติมิตรของนักบินที่มาร่วมในงาน และเหล่านักบินจะได้รับเครื่องยศทางทหาร พิธีดังกล่าวมีผลต่อขวัญและกำลังใจ ทำให้เกิดภาพพจน์และแรงจูงใจต่ออาสาสมัครที่ต้องการจะมาเป็นนักบินกามิกาเซ่รุ่นต่อๆ ไป

เที่ยวบินนี้ไม่มีกลับ จากเรื่องเล่าขานกันมา เมื่อนักบินหนุ่มผู้รักชาติออกปฏิบัติการพลีชีพ พวกเขาจะบินย้อนไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่น ข้ามผ่านภูเขา เมาน์ ไคมอน ซึ่งมีความสูง ๙๒๒ เมตร ภูเขาลูกนี้ รู้จักกันดีในชื่อ เซตซูมา ฟูจิ (คนละลูกกับภูเขาฟูจิที่มีชื่อเสียง แต่มีสวยงามและรูปร่างคล้ายกัน จึงได้ชื่อว่า เซตซูมา ฟูจิ) อยู่ในจังหวัดเซตซูมา นักบินพลีชีพจะมองข้ามหัวไหล่ของตนเองย้อนกลับไปดูภูเขาลูกนี้ ซึ่งเป็นภูเขาที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ญี่ปุ่น พร้อมกล่าวคำอำลาแผ่นดินแม่ และแสดงความเคารพเซตซูมา ฟูจิ

และจากคำบอกเล่าของชาวบ้านบนเกาะคิไคจิมา ทางตะวันออกของอะมามิโอชิมา เมื่อนักบินพลีชีพกามิกาเซ่บินผ่านเกาะแห่งนี้ พวกเขาจะโปรยดอกไม้ลงมาจากอากาศ ก่อนบินผ่านไปปฏิบัติหน้าที่สำคัญครั้งสุดท้ายในชีวิต ทำให้คิดกันว่าทุ่งดอกคอร์นฟลาวเวอร์ ที่บานสะพรั่งบนเนินเขาเหนือสนามบินคิไคจิมา ในทุกเดือนมีนาคม แพร่พันธุ์มาจากดอกไม้ของเหล่านักบินกามิกาเซ่.



ที่มา(ข้อมูล-ภาพ) : หนังสือพิมพ์รายวันข่าวสด ฉบับประจำวันที่ ๒ และ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘


Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 พฤศจิกายน 2558 14:00:53 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.328 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 20 มีนาคม 2567 22:22:48