[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
03 กรกฎาคม 2568 20:52:20 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : ถ้าโลกและจักรวาลมีชีวิต-มันมีจุดประสงค์ใด?  (อ่าน 2432 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 6.0 MS Internet Explorer 6.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 05 มิถุนายน 2554 16:11:36 »



ก่อนที่จะลงไปในเนื้อหาสาระของบทความนี้ ในความคิดความเห็นของผู้เขียนก็ต้องบอกว่าไม่เชื่อในตรรกะและเหตุผลในความจริงตามที่มนุษย์เราเห็นหรือที่เรารับรู้กันอยู่ในทุกวันนี้ เพราะว่ามันไม่เป็นความจริงที่แท้จริง ไม่ว่าเราจะมองมันจากมุมมองไหนก็ถูกสำหรับคนผู้นั้นอยู่วันยังค่ำ แต่มันอาจจะไม่ถูกสำหรับคนอื่นแม้จะใช้ภาษาเดียวกัน เรา-มนุษย์จึงมีปัญหากันอยู่เรื่อยๆ แต่เราก็ “จำเป็น” ต้องอยู่กับมัน เพราะไม่มีทางเลือกอื่นแม้แต่น้อย แถมคนแทบจะทั่วทั้งโลกต่างล้วนแล้วแต่เชื่อว่าจริงตามนั้น ใครที่ไม่เชื่อตามนั้นต่างหากที่เป็นตัวปัญหา ไอน์สไตน์และคนส่วนใหญ่มากๆ ถึงได้ไม่เชื่อในควอนตัมเม็คคานิกส์  เพราะมันทำอะไรแปลกๆ และพิลึกๆ เช่น โฟตอนอาจอยู่ใน 2 ตำแหน่งพร้อมๆ กัน อิเล็กตรอนอาจจะมุดหรือดำดินหนีที่กักขังมันได้ หรือมันอาจจะวิ่งถอยหลังในเวลาของอดีตก็ได้ 

และด้วยความจริงทางโลกที่เรารับรู้อยู่ทุกๆ วันเช่นนี้ มันจึงมีคำถามอยู่  2 คำถามจากชื่อเรื่องของบทความนี้ คือ 1.โลกและจักรวาลพร้อมกับสรรพสิ่งและสรรพปรากฏการณ์ที่อยู่ในโลกในจักรวาลนั้น - ที่เราๆ ถือว่าเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง - มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต? ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่จริงๆ ของโลกหลายๆ คนบอกว่ามีแน่ๆ พร้อมกับยกเหตุผลที่น่าเชื่อมาประกอบ เช่น เจมส์  ลัฟล็อก และเซอร์เฟร็ด ฮอยล์ กับ 2.ถ้าหากโลกและจักรวาลมีชีวิตจริงๆ แล้วล่ะก็ ทั้ง 2 สิ่งมีจุดประสงค์ใดหรือ? ถึงได้ปล่อยให้ธรรมชาติมาทำร้ายมนุษยชาติถึงปานนี้!

คำถาม 2 คำถามนี้ ถามโดยคิดว่ามนุษย์นั้นยิ่งใหญ่ พิเศษ เหนือกว่าเผ่าพันธุ์ใดๆ (anthropocentric) ตามที่สาธารณชนคนทั่วไปเขาคิด - ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวตะวันตกที่คิดบนศาสนาคริสต์ว่ามนุษย์พิเศษเหนือกว่าเผ่าพันธุ์ อื่นใด เพราะเชื่อในเจเนซิส (Genesis) ที่มีว่าพระเจ้าทรงสร้างเฉพาะเผ่าพันธุ์ของมนุษย์เท่านั้น “ให้มีภาพลักษณ์เหมือนกับพระองค์”




มีใครเคยคิดบ้างหรือเปล่าว่าที่จริงธรรมชาตินั้นใหญ่กว่าโลก ใหญ่กว่าจักรวาลมากนัก? ธรรมชาตินั้นจะรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ศาสนาอันมีพระเจ้าบอกว่าธรรมชาติคือสิ่งซึ่งพระเจ้า (Creator) เป็นผู้สร้างขึ้นมาจากที่ว่างอันมืดมิด - ที่ทางวิทยาศาสตร์บอกว่าเป็นโครงสร้างทางกายภาพหรือวัตถุเท่านั้น ซึ่งจิตของพระเจ้าหรือพระจิตที่อยู่ภายในจะรวมกันเป็นธรรมชาติทั้งหมด พุทธศาสนาจะบอกว่าทั้งหมดนั้นรวมทั้งพระจิตของพระเจ้า (ซึ่งศาสนาพุทธไม่มี แต่มีนามหรือจิตมาแทน) คู่กับรูปหรือสรรพสิ่งและสรรพปรากฏการณ์ทั้งหมดว่า  “ธรรมะ” ส่วนนักวิทยาศาสตร์ที่อ้างชื่อข้างต้นจะรวมทั้งโลกและจักรวาลไว้ที่โครงสร้างกายภาพหรือวัตถุ รวมทั้งสรรพสิ่งและสรรพปรากฏการณ์เฉพาะทางกายภาพ “ที่มองเห็น” ทั้งหมด พูดง่ายๆ ก็คือวัตถุหรือกายภาพทั้งสิ้นนั้นไว้ด้วยกัน วิทยาศาสตร์นั้น หมายถึงวิทยาศาสตร์เก่าที่มีนิวโตเนียนฟิสิกส์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ของประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาใหม่ๆ ของเอเชีย รวมทั้งสาธารณชนคนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน รวมทั้งประเทศไทยส่วนใหญ่จะบอกว่ามันก็คือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่วนมาก ที่ทุกๆ  ประเทศแย่งกันผลิตเป็นอุตสาหกรรม โดยอ้างว่าเพื่อคุณภาพที่ดีของมนุษย์  ซึ่งเป็นการผลิตหรือการกระทำที่ได้มาด้วยการกดขี่ข่มเหงอย่างทารุณต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
จากที่พูดมานี้จะเห็นได้ว่าธรรมชาติกับโลกและจักรวาลนั้นมีความใกล้เคียงกัน เพียงแต่ว่าในทางศาสนา ธรรมชาติมันใหญ่กว่า เพราะศาสนาทุกศาสนาจะรวมพระจิตของพระเจ้า (mind of God) หรือจิตที่มองไม่เห็นและไม่มีทางเห็น ส่วนทางวิทยาศาสตร์จะพูดเฉพาะแต่โครงสร้างทางกายภาพหรือทางวัตถุสถานเดียว อย่าลืมว่าพุทธศาสนาไม่ได้มีพระเจ้าก็จริง แต่จะรวมถึงความจริงแท้ ซึ่งเป็นจิตที่มองไม่เห็นไว้ในธรรมชาติด้วย พุทธศาสนานั้นจะพูดถึงเรื่องของกรรมและกฎแห่งกรรมเป็นเรื่องสำคัญอย่างที่สุด ทั้งนี้ เพราะว่าพุทธศาสนาจะถือว่ากรรมและกฎแห่งกรรมเป็นสิ่งที่กำหนดการเกิดใหม่ในสังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเรื่อยๆ ไป ทั้งนี้ จนกว่าจะได้นิพพานแล้วเท่านั้น

ฉะนั้น คำถามทั้ง 2 คำถามของบทความบทนี้เป็นต้นว่า คำถามที่ 1 ถ้าหากว่าโลกจักรวาลเป็นสิ่งที่มีชีวิตจริงๆ ตามที่นักวิทยาศาสตร์ใหญ่ๆ พูดมานั้น  (ดู The Living Universe by Duane Elgin, 2009 ด้วย) โลกและจักรวาลก็มีชีวิตจริงและก็มีปัญญาจริงๆ ดังนั้นจุดประสงค์อันเป็นคำถามต่อไปก็จะบ่งว่าจุดประสงค์ (ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์นะครับ) ของธรรมชาติ โลกหรือจักรวาลก็เป็นเรื่องของกรรมและกฎแห่งกรรมตามธรรมดาของพุทธศาสนา มนุษย์เราซึ่งกำลังรับกรรมอยู่ในขณะนี้ รับภัยธรรมชาติอยู่ขณะนี้ เป็นเพราะกรรมที่เรากระทำต่อสิ่งที่มีชีวิตของโลกและจักรวาลนั้น ภัยธรรมชาติจึงมีความรุนแรงและมีความถี่ขึ้น และมันก็ไม่มีทางที่จะหนีไปไหนได้ 

เราต้องรู้โดยไม่มีข้อสงสัยอย่างใดเลย ซึ่งที่กล่าวมานี้มีความสำคัญอย่างที่สุดว่าทุกสรรพสิ่งกับทุกๆ ปรากฏการณ์ในโลกนี้หรือจักรวาลนี้ล้วนแล้วแต่เชื่อมโยงติดต่อกันเป็นหนึ่งเดียวดังที่พุทธศาสนาและควอนตัมเม็คคานิกส์บอก  ฉะนั้นอย่าได้มีความสงสัยกังขาอย่างเด็ดขาด โดยมีเหตุผลเพียงที่ไม่ใช่เหตุผลทางกายหรือทางวัตถุเสียด้วยซ้ำ แต่ทว่ามันเป็นความจริงที่แท้จริงหรือความจริงตามธรรมชาติหรือทางธรรมที่ละเอียดไปตามลำดับ เมื่อเชื่ออย่างมีเหตุผลเช่นนี้ในทุกๆ ด้าน ทุกๆ แง่มุมโดยไม่ใช้ผลจากอวัยวะประสาทสัมผัส (sense  organs) เลย เพราะว่าสัตว์โลกต่างๆ ทุกชนิดประเภทเลย ไม่ว่าช้างหรือมดแดงหรือมนุษย์เห็นหรือรับรู้ก็จริงอยู่ แต่ต่างล้วนเห็นไม่เหมือนกันหรือรับรู้ สิ่งที่เห็นหรือรับรู้ที่เหมือนกันเปี๊ยบ - ไม่เหมือนกัน

ผู้เขียนคิดว่าอะไรๆ ก็เชื่อมโยงติดต่อเป็นหนึ่งเดียวกันเช่นนั้น อาทิเช่น  ความรู้ทั้งหมดที่เรามีและแบ่งแยกออกเป็นวิชาต่างๆ โดยเฉพาะวิชาที่แตกต่างกันมากอย่างสุดกู่ เช่น ศาสนศาสตร์หรือเทววิทยา กับวิทยาศาสตร์อย่างที่บอกย้ำเมื่อเดือนที่แล้วว่ากำลังจะเป็นหนึ่งเดียวกัน บทความนี้กำลังตอกย้ำเช่นนั้น  และไม่เพียงแต่ 2 วิชาที่ต่างกันสุดกู่เท่านั้น วิชาศิลปศาสตร์และความงาม (arts  and aesthetics) ที่จัดอยูใกล้ๆ กับธรรมชาติและความจริงที่แท้จริงก็เชื่อมโยงติดต่อเป็นหนึ่งเดียวกันกับความรู้ทั้งหมด รวมคณิตศาสตร์ พูดอีกนัยหนึ่ง ความรู้ที่เรามีทั้งหมดทั้งสิ้นที่ค้นพบแล้ว รวมทั้งความรู้ที่เรายังไม่ค้นพบ เช่น  คณิตศาสตร์ที่กล่าวแล้ว หรือจริงๆ แล้วคล้ายๆ มันรอคอยเวลาเพื่อที่เราจะค้นพบ มันเหมือนกับมีสนามบางอย่างที่มองไมเห็นที่รอคอยหรือชักใยอยู่ข้างหลัง  - กำลังรอคอยกาลเวลาที่สามารถทำให้มนุษย์ค้นพบ - กระนั้น เป็นต้นว่าในทางฟิสิกส์วิทยาศาสตร์นั้น สนามเช่นที่ได้กล่าวมาได้เอื้ออำนวยให้นักคณิตวิทยาศาสตร์ เช่น เบอนาร์ด รีแมนน์ ค้นพบสมการความสัมพันธ์ของสันเขากับผู้สังเกตที่ไม่ได้มีความหมายหรือมีประโยชน์กับใครเลย อีกหลายปีต่อมาเมื่ออัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพก็ไม่สามารถจะพิสูจน์ทฤษฎีของตนได้ จนกระทั่งได้อาศัยทฤษฎีของรีแมนน์ ที่ไม่มีประโยชน์กับใครเลยนั้นมาช่วยพิสูจน์ หรือดังที่เซอร์อาร์เธอร์ เอ็ดดิงตัน ที่พูดว่า นักฟิสิกส์มักเจออะไรที่แปลกๆ เหมือนกับเราที่ไปพบกับเกาะเกาะหนึ่งที่ไม่เคยสำรวจมาก่อน ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อนว่าอย่างนั้นเถอะ ทีนี้เราไปเดินรอบๆ เกาะ เราไปเดินที่ชายหาด เราแปลกใจที่มีรอยเท้าเหมือนกับว่ามีคนมาพบเกาะนี้ก่อนที่เราจะพบ เรารีบจำลองรอยเท้าที่พบนั้น รู้ไหมว่าเป็นรอยเท้าของใคร? มันเป็นรอยเท้าของเราเอง!   

เรารู้ว่าในทางวิทยาศาสตร์ได้มีการค้นพบใหม่ๆ ตลอดเวลา ทำให้เรามีความรู้ใหม่ๆ ที่ซับซ้อนยิ่งกว่าเก่าตลอดเวลา แต่ที่เซอร์อาร์เธอร์ เอ็ดดิงตัน  เล่าให้เราฟังนั้นซึ่งคงจะจริง นั่น-คงมากไปหน่อย คิดว่ารีแมนน์และเอ็ดดิงตันคงหมายถึงสนามที่มองไม่เห็นที่ควบคุมอยู่ข้างหลัง

การพบว่า ทำไม? มนุษย์ถึงต้องมีสองอย่างตลอดเวลาเลย คือมีทั้งสติ  หรือการรู้ตัว (conscious ที่มาก่อน (secondary) awareness) กับจิตสำนึก  หรือจิตรู้ (consciousness or cognition) ซึ่งต่างก็เป็นการบริหารจัดการของสมองของปัจเจกบุคคล เพียงแต่มันมีเวลาก่อน-หลังจากกัน ความจริงการรู้ตัวตั้งใจเป็นเรื่องกายภาพของสมองที่เป็นรูปกายร้อยเปอร์เซ็นต์ (attention) กับสติที่เป็นเรื่องของจิต (intention) ก็ไม่ได้มาพร้อมกัน จิตรู้นั้นทำหน้าที่เป็นทั้งสิ่งที่ถูกสังเกตและเป็นผู้สังเกต (observer-participatory) ทำให้การเห็นหรือการรับรู้นั้นๆ สัมฤทธิผล แต่สติไม่ได้มีส่วนช่วยในการสัมฤทธิผลนั้นแต่อย่างใด  สติจะช่วยปูทางทำให้จิตรู้สามารถที่จะ “สะท้อนการรู้ของตัวเอง” (self-reflection) ได้ ซึ่งก็คือการทำให้สภาพความเป็นคลื่นทางควอนตัม หรือ “จิตของพระเจ้า” ได้ทำงาน นั่น-เป็นความรู้ทางจิตวิทยา หรือทางวิทยาศาสตร์ -  ตั้งแต่วิชานี้ “ตีจากออกไป” จากพฤติกรรมศาสตร์ คิดว่าราวๆ ทศวรรษที่ 1970  ที่ปัจจุบันในบ้านเรายังคงมีนักจิตวิทยาและจิตแพทย์บางคนยังได้รับอิทธิพลอยู่  ซึ่งมีแต่เพียงพุทธศาสนาเท่านั้นที่เป็นวิทยาศาสตร์เต็มประตู แต่ศาสนาอื่นๆ  แม้ยังห่างไกลจากความเป็นวิทยาศาสตร์ ในฐานะความรู้และระบบ ความเชื่อที่เป็นส่วนของความรู้ - และโดยสนามที่มองไม่เห็นนั้นก็ยังเชื่อมโยงติดต่อกันอยู่ดี เพราะฉะนั้น คำถามแรกคือคำถามที่ถามว่าโลกกับจักรวาล ซึ่งเป็นธรรมชาติที่สำคัญทางด้านกายภาพว่าสิ่งเหล่านี้มีชีวิตหรือไม่มีชีวิต เนื้อหาสาระของบทความนี้บ่งชี้ไปในทำนองมีชีวิต แถมยังมีปัญญาเสียด้วย ซึ่งเป็นตรงกันข้ามจากคนทั่วไปส่วนมากเชื่อและคิดว่า ตัวเองก็รู้ดีอยู่แล้วโดยไม่จำเป็นต้องถามใครว่าโลกกับจักรวาลไม่มีชีวิต แต่ถ้าหากนักวิทยาศาสตร์บอก พร้อมกับเหตุผลเพียบพร้อม ก็น่าจะลองเชื่อดู ต่อจากนั้นก็มาถึงคำถามต่อไปว่า มันมีจุดประสงค์อันใดหรือ? โดยเฉพาะที่ทำให้ธรรมชาติมันหวนกลับมาทำร้ายมนุษย์อย่างไม่หยุดไม่หย่อนเช่นในปัจจุบันนี้ คำถามนี้พุทธศาสนาตอบว่า เพราะว่าโลกและจักรวาลอาจจะเป็นสิ่งที่มีชีวิต และเพราะว่ามนุษยชาติได้ปฏิบัติต่อโลกและจักรวาลหรือธรรมชาติด้วยความทารุณและโหดร้าย ด้วยกิเลสและตัณหาโดยเฉพาะความโลภ แม้จนกระทั่งปัจจุบันวันนี้ก็ยังไม่หยุด กรรมและกฎแห่งกรรมจึงเป็นเรื่องปกติธรรมด๊าธรรมดา.

http://www.thaipost.net/sunday/050611/39691

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.345 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 29 มิถุนายน 2568 22:50:40