สุรพศ ทวีศักดิ์: มองการเมืองผ่านเลนส์ปรัชญา
<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-08-31 17:50</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สุรพศ ทวีศักดิ์</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>บางคนอธิบายว่าปัญหาการเมืองบ้านเราเวลานี้เป็นเรื่องของ <strong>“การเมืองเชิงคุณค่า vs. การเมืองเชิงสถาบัน”</strong> ก้าวไกลคือตัวแทนการเมืองเชิงคุณค่า เพราะเป็นการเมืองที่เชิดชูคุณค่าของอุดมการณ์ หลักการประชาธิปไตย และความฝันสร้างรัฐสวัสดิการที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ส่วนเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลคือตัวแทนของการเมืองเชิงสถาบัน หรือการเมืองที่อยู่กับ “ความเป็นจริง” ของสถาบันทางการเมืองไทยปัจจุบัน ที่ต้องต่อรองเพื่อจัดตั้งรัฐบาลให้สำเร็จภายใต้เงื่อนไขของรัฐธรรมนูญ, จำนวน ส.ส. เพียงพอที่จะโหวตนายกฯ และตั้งรัฐบาลที่มั่นคงได้ตามหลัก “คณิตศาสตร์การเมือง” และจำเป็นต้องทำตาม “เงื่อนไข” ของสถาบันอำนาจทางการเมืองที่เป็นจริงในสังคมไทย เช่น สถาบันกษัตริย์, กองทัพ, วุฒิสภา, พรรคฝ่ายเผด็จการและนั่งร้านที่ได้ ส.ส. มาจากการเลือกตั้งตามกติกาที่ทุกฝ่ายตัดสินใจเลือกลงแข่งขัน</p>
<p style="margin-bottom:0cm; margin:0cm 0cm 8pt"><strong>แต่ “คำถามพื้นฐานทางปรัชญา” ที่สำคัญมากอย่างหนึ่งคือ เราสามารถพูดถึงวิถีชีวิต, วิถีสังคมและการเมือง โดยไม่พูดถึง “คุณค่า” (values) ใดๆ เลยได้จริงหรือ พูดเฉพาะ “ข้อเท็จจริง” หรือ “ความเป็นจริง” ของวิถีชีวิต, วิถีสังคมและการเมืองเท่านั้นก็ได้หรือ และคำถามท้าทายสุดขั้วเลยคือ มันมี facts ที่ปราศจาก values อยู่จริงหรือไม่ โดยเฉพาะ facts ที่เกี่ยวกับวิถีชีวิต, วิถีสังคมและการเมือง</strong></p>
<p>มีนักปรัชญาบางคน เช่น ฟรีดริช นีทเชอ (Friedrich Nietzsche) ปฏิเสธว่า “คุณค่าทางศีลธรรม” ไม่มีอยู่จริง ด้วยการใช้ข้อโต้แย้งเชิงประวัติศาสตร์ (historical arguments) ของการเกิดความเชื่อทางศีลธรรมแบบต่างๆ (โดยเฉพาะคริสต์ศาสนา) ว่าความเชื่อทางศีลธรรรมเกิดขึ้นจากผู้คนในสังคมเห็นว่า “การกระทำ” หรือ “ความประพฤติ” แบบใดแบบหนึ่งที่ทำให้ตนหรือคนอื่นๆ ได้ประโยชน์ก็พากันเรียกการกระทำหรือความประพฤตินั้นๆ ว่า “ดี” หรือเป็น “ความดี” พูดอีกอย่างคือผู้ที่ได้ประโยชน์จากการกระทำหรือความประพฤติแบบนั้นๆ คือผู้ที่เรียกการกระทำหรือความประพฤตินั้นๆ ว่า “ดี” หรือเป็นความดีทางศีลธรรม แต่นีทเชออธิบายใหม่ว่า</p>
<p><span style="color:#2980b9;">ไม่ใช่ผู้ที่ได้ประโยชน์จากการกระทำหรือความประพฤติของคนอื่นหรอกที่บอกว่าการกระทำหรือความประพฤตินั้นๆ “ดี” แต่คือชนชั้นนำทั้งหลาย ขุนนาง ราชวงศ์ ผู้ปกครองในสังคมโบราณที่บอกว่าตนเอง (และวิถีชีวิตของพวกตน) “ดี” ส่วนสามัญชน ทาส เชลย เป็นพวก “เลว” การแบ่งระหว่าง “ดี” กับ “เลว” ในช่วงแรกน่าจะเป็นความแตกต่างระหว่าง “ชั้นสูง” กับ “ชั้นต่ำ” เสรีชนกับทาส ผู้นำกับผู้ตาม ผู้มีความรู้กับผู้ไร้การศึกษา เหล่านี้เป็นคำที่ผู้มีอำนาจแซ่ซ้องสรรเสริญตนเอง ความแข็งแกร่ง และวิถีชีวิตของพวกตน และแสดงถึงระยะห่างที่พวกเขารู้สึกว่าคั่นกลางระหว่างพวกตนกับคนหมู่มากที่อ่อนแอ ยากไร้ ไม่มีปัญญาคิดอ่าน (เอ็ดเวิร์ด เครก,
ปรัชญา: ความรู้ฉบับพกพา, น.148)</span></p>
<p style="margin-bottom:0cm; margin:0cm 0cm 8pt">ส่วนสามัญชน ทาส และเชลย หรือชนชั้นผู้ถูกกดขี่ก็ถือว่าอะไรที่ชนชั้นสูงหรือชนชั้นผู้กดขี่ถือว่าดีล้วนแต่เป็นความเลว และวิถีชีวิตผู้ถูกกดขี่ที่ตรงข้ามกับชนชั้นสูง เช่น การอุทิศตนช่วยเหลือผู้ยากไร้ ความเมตตา และความรักเป็นต้น คือ “ความดี” แต่นีทเชอมองว่าความคิดแบบนี้เกิดจาก “ความเกลียดชัง” และความต้องการแก้แค้นชนชั้นผู้กดขี่ ที่จริงแล้วธรรมชาติของชีวิตคือ “เจตจำนงเพื่ออำนาจ” (will to power) ชนชั้นนำคือพวกที่ใช้เจตจำนงนี้เพื่อแสวงหาอำนาจ แต่ชนชั้นผู้ถูกกดขี่คือพวกที่ปฏิเสธชีวิต (ที่มีเจตจำนงเพื่ออำนาจ) โดยมีพวกนักบวชที่ปฏิเสธชีวิตมากกว่าเป็นผู้ปลอบประโลมใจ ด้วยการอ้างคุณค่าทางจิตวิญญาณและความดีทางศีลธรรมมาให้ความหวังเรื่องการมีชีวิตที่ดีในโลกนี้และในสวรรค์ของพระเจ้าในโลกหน้า สำหรับนีทเชอการใช้ชีวิตอย่างซื่อตรงต่อชีวิตคือการเลือกทำตามเจตจำนงเพื่ออำนาจ ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าในที่สุดนีทเชอเองก็ยังยืนยัน “คุณค่า” อยู่ดีไม่ใช่หรือ เมื่อเขายืนยันว่าการเลือกใช้ชีวิตอย่างซื่อตรงต่อธรรมชาติของชีวิต คือการทำตามเจตจำนงเพื่ออำนาจควรจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า</p>
<p style="margin-bottom:0cm; margin:0cm 0cm 8pt">แต่ถ้าพูดแบบนักปรัชญาสายประโยชน์นิยม (utilitarianism) อย่างจอห์น สจ๊วต มิลล์ (John Stuart Mill) “ความมีประโยชน์” ของการกระทำ, หลักการ, นโยบาย หรือวิธีปฏิบัติต่างๆ ของเรานั่นแหละคือ “คุณค่าทางศีลธรรม” ตัวอย่างเช่น ที่พวกชนชั้นนำเห็นว่าวิถีชีวิตแบบพวกเขาดีกว่าสามัญชน ทาส เชลยหรือชนชั้นต่ำ ก็เพราะพวกเขาได้รับประโยชน์จากวิถีชีวิตเช่นนั้น แต่ทว่า “ประโยชน์” ที่ควรถือเป็น “คุณค่าทางศีลธรรม” ในความหมายที่มิลล์เสนอ ไม่ใช่ประโยชน์ในความหมายแบบชนชั้นสูงหรือชนชั้นผู้กดขี่ หากคือ “ประโยชน์สุขของทุกคนเท่าเทียมกัน” หรือ “ประโยชน์สุขส่วนรวม” ที่ต้องกระจายแก่สมาชิกของสังคมทุกคนอย่างยุติธรรมบนหลักการที่ว่าทุกคนมี “ความเป็นคนเท่ากัน” ในฐานะที่เราต่างเป็นปัจเจกบุคคลผู้มีอำนาจสูงสุดเหนือสิทธิและเสรีภาพของตนเอง</p>
<p style="margin-bottom:0cm; margin:0cm 0cm 8pt">มิลล์เชื่อมโยงปัจเจกบุคคลกับสังคมส่วนรวมเข้าด้วยกัน ด้วยการเสนอ “หลักเสรีภาพ” (ในหนังสือ “On Liberty”) บนตรรกะที่ว่า ถ้ารัฐและสังคมปล่อยให้ปัจเจกบุคคลทั้งหลายมีเสรีภาพเลือกการกระทำหรือวิถีชีวิตในแบบที่ตนชอบ และมีเสรีภาพอภิปรายสาธารณะได้เต็มที่ ตราบที่ “ไม่ทำอันตรายต่อคนอื่น” ปัจเจกบุคคลแต่ละคน สังคมส่วนรวม หรือมนุษยชาติจะได้รับประโยชน์สูงสุดและมีความก้าวหน้าด้านต่างๆ มากกว่าการที่รัฐหรือสังคมจำกัดเสรีภาพ ด้วยการบังคับให้ปัจเจกบุคคลต้องกระทำหรือมีวิถีชีวิตในแบบที่รัฐหรือสังคมต้องการให้เป็น เช่น ต้องการให้ปัจเจกบุคคลทั้งหลายจงรักภักดีต่อชนชั้นปกครอง จึงปิดกั้นเสรีภาพในการพูดหรือการวิจารณ์ตรวจสอบสถานะ อำนาจและบทบาทของชนชั้นปกครองที่ส่งผลประทบต่อส่วนรวม การปิดกั้นเสรีภาพเช่นนี้ย่อมทำให้ปัจเจกบุคคลเสียโอกาสในการเลือกวิถีชีวิตทางการเมืองด้วยตัวของพวกเขาเอง และทำให้สังคมส่วนรวมสูญเสียประโยชน์, ความก้าวหน้าทางการเมืองการปกครองและอื่นๆ ที่พึงจะมี</p>
<p style="margin-bottom:0cm; margin:0cm 0cm 8pt">แต่อิมมานูเอล คานท์ (Immanuel Kant) คิดต่างจากมิลล์ว่า คุณค่าทางศีลธรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับ “ความมีประโยชน์” เช่น มีดมีประโยชน์ในการ “ฟักลาบ” (ภาษาอิสาน) แต่ไม่ได้หมายความว่ามีดมีศีลธรรม หรือพูดอีกอย่างถ้าเราเอา “ประโยชน์” มาใช้เป็นเป้าหมายของศีลธรรม ก็มีตัวอย่างมากมายที่คนเราทำเพื่อประโยชน์อย่างผิดศีลธรรม ชนชั้นผู้กดขี่เขาก็หาเหตุผลมาสนับสนุนว่าวิถีชีวิตและสถานะอำนาจของพวกเขา “ดี” กว่าสามัญชน ทาส เชลยหรือคนชั้นต่ำ แต่นั่นไม่ใช่ความดีทางศีลธรรม</p>
<p style="margin-bottom:0cm; margin:0cm 0cm 8pt">สำหรับคานท์คุณค่าทางศีลธรรม คือสิ่งสะท้อน “เสรีภาพ” และ “ศักดิ์ศรีในตัวเอง” ของมนุษย์ การกระทำที่ดี เช่น ไม่โกหก การช่วยเหลือกันและกัน การปกป้องคนอื่นที่ถูกละเมิดสิทธิ เสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นคน หรือถูกกระทำอย่างอยุติธรรม ฯลฯ เป็น “หน้าที่” (duty) ของมนุษย์ที่ต้องทำโดยไม่นำผลลัพธ์ใดๆ หรือความพอใจ ไม่พอใจใดๆ มาเป็นเงื่อนไข (ให้กระทำหรือไม่กระทำ) การทำดีจึงเกิดจาก “อิสรภาพในการกำหนดตนเองทางสีลธรรม” (moral autonomy) คือกำหนดตนเองให้สามารถใช้เหตุผลที่เป็นอิสระจากอารมณ์ด้านบวกและลบที่เป็นผลของกฎทางชีววิทยา และเป็นอิสระจากอิทธิพลครอบงำของความเชื่อ หรือกฎต่างๆ ทางสังคม ซึ่งคานท์เชื่อว่าเสรีภาพหรือความเป็นอิสระเช่นนี้เกิดขึ้นได้จริง เมื่อเราใช้ “เหตุผลปฏิบัติบริสุทธิ์” (pure practical reason) อันเป็นความสามารถทางปัญญาที่มนุษย์ทำได้อยู่แล้ว ตัวอย่างเช่น การใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่นำไปสู่ความจริง (ทางคณิตศาสตร์) ก็คือการใช้เหตุผลที่เป็นอิสระจากอารณ์ด้านบวกและลบ หรือการใช้เหตุผลที่ไม่ขึ้นกับอิทธิพลครอบงำใดๆ ภายนอกตัวเรา คานท์มองว่าการใช้เหตุผลตัดสินถูก/ผิดทางศีลธรรมที่เที่ยงตรง และการสร้างกฎศีลธรรมสากลที่เคารพความเป็นมนุษย์ของทุกคนในฐานะที่เราต่างเป็นผู้มีเหตุผล เสรีภาพ และศักดิ์ศรีในตัวเองเสมอภาคกันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ และคุณค่าทางศีลธรรมหรือ “ความดี” ของกฎศีลธรรมสากลและการทำตามกฎนั้น ย่อมเป็น “ความดีในตัวมันเอง” ที่แสดงถึงความมีเสรีภาพ และศักดิ์ศรีในตัวเองของมนุษย์เท่านั้น ไม่ใช่ความดีที่เป็น “เครื่องมือ” ไปสู่ผลประโยชน์ในโลกนี้ หรือสวรรค์ในโลกหน้าใดๆ</p>
<p>พึงเข้าใจว่าเสรีภาพตามความคิดแบบคานท์ ที่หมายถึงความเป็นอิสระจากอารมณ์ด้านบวกและลบ หรือเป็นอิสระจากความโน้มเอียงตามกฎทางชีววิทยาและกฎทางสังคมวิทยา หมายถึง “เสรีภาพทางศีลธรรม” (moral freedom) ที่เกิดจากการใช้เหตุผลปฏิบัติบริสุทธิ์ของปัจเจกบุคคลผู้มีอิสรภาพในการกำหนดตนเองทางศีลธรรม ต่างจาก “เสรีภาพทางการเมือง” (political freedom) ในระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตย คานท์แยกระหว่างเสรีภาพทางศีลธรรมกับเสรีภาพทางการเมือง เหมือนที่เขาแยก “ศีลธรรม” กับ “กฏมาย” บางเรื่องผิดศีลธรรมแต่ไม่ผิดกฎหมาย เช่น การโกหกที่ไม่ทำอันตรายต่อคนอื่น (เช่น ไม่ทำให้เสียทรัพย์ ฯลฯ) ถือว่าผิดศีลธรรมแต่ไม่ผิดกฎหมาย หรือบางเรื่องถูกศีลธรรมแต่อาจผิดกฎหมายก็ได้ เช่น การวิจารณ์ตรวจสอบความความยุติธรรมในการใช้อำนาจของกษัตริย์ถูกศีลธรรม แต่อาจผิดมาตรา 112 เป็นต้น ขณะเดียวกันการกระทำบางอย่างไม่ใช่การใช้เสรีภาพทางศีลธรรม แต่เป็นการใช้เสรีภาพทางการเมือง เช่น คานท์ถือว่าการใช้เฮทสปีชที่ไม่ก่ออันตรายทางกายภาพต่อบุคคลอื่น ไม่ใช่การใช้เสรีภาพทางศีลธรรมเพราะแสดงออกด้วยอารมณ์ แต่ก็ถือเป็นการใช้เสรีภาพทางการเมือง (คือเสรีภาพในการพูด การแสดงออก) ไม่ควรเอาผิดทางกฎหมาย เป็นต้น</p>
<p style="margin-bottom:0cm; margin:0cm 0cm 8pt">จอห์น รอลส์ (John Rawls) คิดต่อจากคานท์ชัดขึ้น คือ เขาแยกระหว่าง “คุณค่าทางศีลธรรม” (moral values) กับ “คุณค่าทางการเมือง” (political values) คุณค่าอย่างแรกมาจากแนวคิดปรัชญาศีลธรรมต่างๆ เช่น แนวคิดประโยชน์นิยมแบบมิลล์ที่อธิบายความดีทางศีลธรรมในรูปแบบของการเชื่อมโยงประโยชน์สุขของปัจเจกบุคคลและประโยชน์สุขส่วนรวมเข้าด้วยกัน โดยมีเสรีภาพปัเจกบุคคลและเสรีภาพทางการเมืองเป็นเงื่อนไขจำเป็นที่ขาดไม่ได้ แนวคิดศีลธรรมแบบคานท์ที่เชื่อมโยงความดีกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เข้าด้วยกัน โดยมีเสรีภาพทางศีลธรรมและเสรีภาพทางการเมืองที่มีนัยต่างกันแต่มีบางแง่เหลื่อมซ้อนกัน (overlap) และคุณค่าทางศีลธรรมจากหลักคำสอนทางศาสนาหรือปรัชญาอื่นๆ ส่วนคุณค่าอย่างหลัง คือหลักความยุติธรรมทางสังคมและการเมือง อันเป็น “หลักความยุติธรรมสาธารณะ” (public principles of justice) ได้แก่ หลักเสรีภาพและหลักการกระจายโอกาสที่เท่าเทียมและเป็นธรรม หรือหลักประกันสิทธิในสวัสดิการพื้นฐานต่างๆ ที่กินความรวมไปถึงหลักอำนาจอธิปไตยของประชาชน หลักความเสมอภาค ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือหลักสิทธิมนุษยชน การเลือกตั้ง การมีส่วนร่วม หลักนิติรัฐ เป็นต้น ที่ถือเป็นคุณค่าทางการเมืองอันเป็นคุณค่าแกนกลางหรือ “คุณค่าหลัก” (core values) ของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่</p>
<p style="margin-bottom:0cm; margin:0cm 0cm 8pt">รอลส์มองว่าคุณค่าทางศีลธรรมกับคุณค่าทางการเมือง มีทั้งด้านที่แตกต่างหรือขัดแย้งกัน และมีทั้งด้านที่เหลื่อมซ้อนกันหรือสอดคล้องไปกันได้ ดังนั้น ถ้าเราจะนำความเชื่อทางศีลธรรมตามหลักปรัชญาและศาสนาต่างๆ มาอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องสาธารณะทางการเมืองจำเป็นต้องตีความให้สอดคล้องไปกันได้กับคุณค่าทางการเมือง และเสนอว่าคุณค่าทางการเมืองหรือคุณค่าสาธารณะดังกล่าวข้างบนต้องบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้สถาบันต่างๆ ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และพลเมืองเสรีและเสมอภาคทุกคนยึดถือร่วมกัน ดังนั้น “การเมืองเชิงสถาบัน” หรือบทบาทสาธารณะทางการเมืองของสถาบันต่างๆ เช่น รัฐสภา รัฐบาล ประมุขของรัฐ พรรคการเมือง กองทัพ ศาล และอื่นๆ จะต้องยึดถือปฏิบัติตามและถูกตรวจสอบจากการอ้างอิงคุณค่าแกนกลางหรือคุณค่าหลักดังกล่าวนี้เสมอ</p>
<p style="margin-bottom:0cm; margin:0cm 0cm 8pt">จากที่อภิปรายมา จะเห็นได้ว่าวิวาทะทางการเมืองในบ้านเราเวลานี้ที่ว่า “การเมืองเชิงคุณค่า vs. การเมืองเชิงสถาบัน” มันคือ “ปัญหาปลอม” เพราะไม่ว่าฝ่ายก้าวไกล หรือเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล ไม่มีฝ่ายไหนที่สามารถพูดถึงการเมืองโดยไม่ยืนยัน “คุณค่าทางการเมือง” ได้จริง</p>
<p><strong>ต่างกันแค่ฝ่ายหนึ่งยืนยันคุณค่าทางการเมืองครบถ้วน แต่อีกฝ่ายเลือกยืนยันเฉพาะบางคุณค่า เช่น เน้นการเลือกตั้ง เสียงข้างมาก โดยเลี่ยงจะพูดถึงหลักเสรีภาพ และอื่นๆ </strong></p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">บทคว
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/08/105708 







