ปชช.ใต้ จัดวงถก 'คาร์บอนเครดิต' ชี้ไม่ลดโลกร้อน รัฐสอบตกธรรมาภิบาล ชุมชนหวั่นเสียสิทธิจากป่าชายเลน
<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2023-09-04 13:41</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>บัณฑิตา อย่างดี, ศูนย์สร้างจิตสํานึกนิเวศวิทยา (สจน.) : รายงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ภาค ปชช.ใต้ ฝั่งนดามัน จัดวง วิพากษ์ 'คาร์บอนเครดิต' ชี้ไม่ลดโลกร้อน รัฐสอบตกธรรมาภิบาล ชุมชนหวั่นเสียสิทธิจากป่าชายเลน ย้ำชุมชนท้องถิ่นที่รักษาป่าต่างๆ ต้องได้รับการสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งควรสร้างกระบวนการเรียนรู้ของภาคประชาชน ในประเด็นคาร์บอนเครดิต ตลาดคาร์บอน</p>
<p> </p>
<p>28 ส.ค. 2566 ที่มูลนิธิอันดามัน ศูนย์สร้างจิตสํานึกนิเวศวิทยา เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด มูลนิธิอันดามัน มูลนิธิภาคใต้สีเขียวและสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา จัดเวที "คาร์บอนเครดิต กู้วิกฤตโลกร้อนจริงไหม ? ชุมชน ได้-เสีย อะไร ? " มีผู้เข้าร่วมจำนวน 120 คน จาก 6 จังหวัด ได้แก่ ตรัง สตูล กระบี่ พังงา ระนอง และ สุราษฏร์ธานี และมีการถ่ายทอดสดทางเพจขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม P-move และเพจสื่อเถื่อน</p>
<p>วิทยากรประกอบด้วย กฤษฎา บุญชัย สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา นำเสนอหัวข้อ ‘การเมืองของคาร์บอนเครดิต’ สมบูรณ์ คำแหง ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน นำเสนอหัวข้อ ‘คาร์บอนเครดิต ใครได้ ใครเสีย ?’ รวมถึง ภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ มูลนิธิอันดามัน และ วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี สมาคมรักษ์ทะเลไทย ชวนคิดชวนคุยในประเด็นคาร์บอนเครดิตกับชุมชน</p>
<p>กฤษฎา บุญชัย กล่าวว่า ในปีนี้อุณหภูมิโลกสูงสุด เพราะอุตสาหกรรมฟอสซิลยังคงโตขึ้น นั่นหมายความว่าข้อตกลงต่างๆ ในการลดก๊าซเรือนกระจก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไร้ผล IPCC ประเมินว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดล้วนมาจากชุมชนที่ยากจน เนื่องจากพวกเขามีความสามารถรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้น้อยที่สุด การประเมินระบุว่ามีผู้คนจำนวน 3.3 ถึง 3.6 พันล้านที่อาศัยอยู่ในจุดเสี่ยงต่างๆ ในส่วนประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับประเทศที่มีความเสี่ยงต่อผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอันดับ 7-10 ของโลก รัฐบาลและทุกภาคส่วนควรจะมาคุยกันว่าจะหาระบบหนุนเสริมการปรับตัวของคนเล็กคนน้อย คนยากจนอย่างไร</p>
<p> </p>
<p>คาร์บอนเครดิตเป็นการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทุนนิยมโลกไม่ยอมศิโรราบกับปัญหาโลกร้อน ไม่เปลี่ยนระบบให้สมดุลกับธรรมชาติ หลักคิดคาร์บอนเครดิตป่าไม้ผิดตรงที่เอาธรรมชาติเป็นเครื่องจักร เอาชุมชนเป็นแรงงานรับจ้าง ผลิตสิทธิการปล่อยคาร์บอนราคาถูกให้ทุนรายใหญ่ใช้เสริมความมั่งคั่งจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยังอ้างว่าช่วยโลกช่วยชุมชนด้วย ประเทศไทยต้องเปลี่ยนภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดคือภาคพลังงาน การที่พลังงานฟอสซิลจะเปลี่ยนเป็นพลังงานหมุนเวียนไม่ได้ทำให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเสียหายย่อยยับ แต่เกิดโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ๆ</p>
<p>สมบูรณ์ คำแหง กล่าวว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตเป็นมหกรรมของการฟอกเขียว เป็นมหกรรมแย่งยึดทรัพยากรของพี่น้องโดยภาครัฐยกไปให้กลุ่มทุน ระบบซื้อขายคาร์บอนเครดิตไม่ได้แก้ปัญหาโลกร้อน แต่คือการสร้างความชอบธรรมให้กับกลุ่มทุนที่ยังปล่อยมลพิษ ด้วยการสร้างกลไกการตลาด เพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจเท่านั้น ใครยอมรับก็เท่ากับร่วมกันทำลายโลกใบนี้อย่างเห็นแก่ตัวที่สุด</p>
<p> </p>
<p>ในเดือนกันยายน ปี 2565 ก่อนการประชุมเอเปค มีการจัดสรรพื้นที่ป่าชายเลนให้เอกชน 17 บริษัท รอบแรก 44,712 ไร่ ในตอนนี้ทราบว่าหนึ่งในบริษัทที่ได้รับโควต้าป่าชายเลนมีการทำสัญญากับชุมชนและหน่วยงานรัฐไปแล้ว 110,948 ไร่ แล้วอีก 16 บริษัทที่เรายังไม่มีข้อมูลมีการจัดสรรพื้นที่ป่าชายเลนไปแล้วรวมกี่แสนไร่</p>
<p> </p>
<p>ในส่วนสัญญาคาร์บอนเครดิตระหว่างชุมชนกับบริษัทแห่งหนึ่ง พบว่าในสัญญามีการระบุว่าชุมชนได้รับทุนสนับสนุน 200,000 บาท ได้รับค่าดำเนินการ ในปีแรก 450 บาท ต่อไร่ และในปีที่ 2 ถึงปีที่ 30 จำนวน 200 บาท ต่อไร่ และได้รับส่วนแบ่งจากการขายคาร์บอนเครดิต 20% ส่วนบริษัทได้ส่วนแบ่ง 70% กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ส่วนแบ่ง 10% มีการระบุว่าบริษัทเป็นผู้ทรงสิทธิในผลงานหรือทรัพย์สินทางปัญญา หมายความว่าชุมชนไม่ได้เป็นเจ้าของป่าชุมชนอีกต่อไป หากจะดำเนินการใดต้องแจ้งบริษัทก่อน ไม่สามารถตัดไม้ไปใช้ประโยชน์ได้อีก</p>
<p> </p>
<p>จากการคำนวณของกรีนพีซพบว่าพื้นที่ป่าชายเลนที่มีการจัดสรรให้เอกชน 17 บริษัท ในรอบแรก 44,712 ไร่ มีส่วนแบ่งรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิตในระยะเวลา 30 ปี ดังนี้ บริษัทได้ส่วนแบ่ง 70% เท่ากับ 1,524 ล้านบาท ชุมชนได้ส่วนแบ่ง 20% เท่ากับ 435 ล้านบาท กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ส่วนแบ่ง 10% เท่ากับ 217 ล้านบาท ชุมชนดูแลรักษาป่าชายเลนเป็นระยะเวลาหลายสิบปีจนเป็นป่าสมบูรณ์ แต่บริษัทไม่เคยปลูกป่าสักต้น การจัดสรรส่วนแบ่งคิดบนฐานคิดอะไร ในขณะที่ป่าชายเลนที่สมบูรณ์ ต้นไม้โตแล้ว สามารถนำไปขายคาร์บอนเครดิตได้เลย แบบนี้เป็นการชุบมือเปิบไหม</p>
<p> </p>
<p>ส่วน กันยา ปันกิติ ผู้เข้าร่วมจากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จ.ตรัง กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาโลกร้อนต้องเป็นธรรม หลายปีที่ผ่านมาเกษตรกรในพื้นที่ที่ถูกเขตอุทยานฯ ประกาศทับที่ หากตัดโค่นต้นยางพาราเพื่อปลูกใหม่จะถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายข้อหาทำให้โลกร้อน แต่โรงงานอุตสาหกรรมที่ทำให้โลกร้อนกลับไม่ถูกเรียกค่าเสียหายอะไร ในส่วนการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในพื้นที่ป่าชายเลนตามข้อมูลที่นำเสนอ ชุมชนได้ส่วนแบ่ง 20% นั้นไม่ถูกต้อง ชุมชนดูแลรักษาป่ามานาน ต่อไปพี่น้องจะนำไม้ในป่าชายเลนมาใช้ได้ไหม สิ่งที่ถูกห้ามกับสิ่งที่ได้มามันคุ้มกันหรือไม่ บริษัทเอาคาร์บอนเครดิตจากชุมชนไปขายต่อ เขาได้กำไร เขาไม่หยุดปล่อยคาร์บอน ลดโลกร้อนไม่ได้</p>
<p> </p>
<p>สมาน ทันยุภัก ผู้เข้าร่วมจากสมาคมชาวประมงพื้นบ้านอ่าวพังงา กล่าวว่า ตนดูแลรักษาป่าชายเลนมา 30 ปี หลังจากป่าชายเลนเสื่อมโทรมเพราะมีการสัมปทานเหมืองแร่ ได้รับรางวัลพิทักษ์ป่าและรางวัลป่าชุมชน ชุมชนประมงในพื้นที่จังหวัดพังงาได้เข้าโครงการคาร์บอนเครดิตกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ก่อนทำ MOU ได้ประชุมรับฟังความคิดเห็นจากกรม และบริษัท 3-4 ครั้ง เขาบอกถึงข้อดีข้อเสีย ไม่ได้มัดมือชก ตนได้ถามว่าหากเข้าร่วมโครงการคาร์บอนเครดิต จะมีสิทธิเหมือนป่าชุมชนไหม เขาบอกว่าสามารถหากุ้งหอยปูปลาได้ปกติ สามารถนำไม้มาทำคอกไก่ได้ สามารถใช้กฎกติกาของป่าชุมชน ชุมชนจะได้รับการสนับสนุนทุกปี ที่ผ่านมาป่าชายเลนดูดซับคาร์บอนทุกปีแต่ชุมชนไม่ได้รับการสนับสนุน</p>
<p> </p>
<p>ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเวทีมีการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสอบถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหลายช่วง ซึ่งตัวแทนชุมชนมีการแสดงความคิดเห็นที่หลากหลาย ทั้งคัดค้าน สนับสนุน และยังไม่ตัดสินใจ โดยมีความกังวลว่าชุมชนจะเสียสิทธิอย่างไรบ้าง ก่อนปิดการประชุมได้มีการประมวลข้อสรุป 4 ประเด็น ดังนี้ </p>
<p> </p>
<p>1. เราตระหนักว่ากระบวนการคาร์บอนเครดิตไม่สามารถลดโลกร้อน และจะเพิ่มปัญหา สร้างความไม่เป็นธรรมแก่สังคม (ผู้ก่อมลพิษต้องรับผิดชอบโดยตรง)</p>
<p> </p>
<p>2. กระบวนการของรัฐไทยไม่มีธรรมาภิบาล สอบตก</p>
<p> </p>
<p>3. เรารับรู้ว่าชุมชนท้องถิ่นที่รักษาป่าต่างๆ ต้องได้รับการสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ</p>
<p> </p>
<p>4. ควรสร้างกระบวนการเรียนรู้ของภาคประชาชน ในประเด็นคาร์บอนเครดิต ตลาดคาร์บอน</p>
<p> </p>
<p> </p>
<p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/09/105762 







