ผลการศึกษาพบคนทำงานในเอเชีย 82% มีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตปานกลางถึงสูง
<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-09-26 10:31</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ผลการศึกษาคนทำงานในเอเชีย 13,000 คน พบทำงานภายใต้ “ความเครียดด้านสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญ” โดย 82% มีความเสี่ยงปานกลางถึงสูงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิต ทั้งนี้ปัญหาสุขภาพจิตที่รวมถึงภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในหมู่พนักงานทุกระดับและทุกอุตสาหกรรมทั่วเอเชีย</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/50697831853_2369ae88cc_o_d.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">ที่มาภาพประกอบ: CREST Research (CC BY-NC-SA 2.0)</span></p>
<p>ตามรายงานฉบับใหม่จากประกันภัย AON และ TELUS Health ที่ได้ทำการสำรวจคนทำงานในเอเชีย 13,000 คน เมื่อเดือน พ.ย. 2022 พบว่า82% มีความเสี่ยงปานกลางถึงสูงที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิต (แบ่งเป็น47% มีความเสี่ยงปานกลาง และ 35% ที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตสูง) นอกจากนี้ 51% ระบุว่าพวกเขารู้สึกไวต่อความเครียดมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2021</p>
<p>“แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะสิ้นสุดลงในปี 2022 แต่พนักงานทั่วเอเชียต้องเผชิญกับความเครียดใหม่ๆ หลายประการ” เจมี แมคเลนแนน (Jamie MacLennan) รองประธานอาวุโสและกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ TELUS Health กล่าว</p>
<p>“นั่นรวมถึงความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ความท้าทายด้านค่าครองชีพ ค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความไม่มั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์” เขากล่าวกับ CNBC</p>
<p>คนทำงานใน เกาหลีใต้ (44%) มาเลเซีย (42%) และญี่ปุ่น (41%) มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิต</p>
<p>“ปัญหาทางจิตหรืออารมณ์ รวมถึงภาวะซึมเศร้าและวิตกกังวล เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในหมู่พนักงานทุกระดับ ทุกอุตสาหกรรม และทุกพื้นที่ทั่วเอเชีย” รายงานกล่าวเสริม</p>
<p>ภูมิภาคเอเชียยังมีความเสี่ยงต่อประสิทธิภาพการทำงานที่ต่ำลง จากความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า “อย่างมีนัยสำคัญ” มากกว่าเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ ของโลก รายงานฉบับนี้เน้นย้ำถึง “ความกังวลที่เพิ่มมากขึ้น” เกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีในที่ทำงานของภูมิภาคเอเชีย</p>
<p>ตัวอย่างเช่น เอเชียมีคะแนนประสิทธิภาพการทำงานอยู่ที่ 47.2 จาก 100 คะแนน เทียบกับ 66.7 สำหรับสหรัฐอเมริกาและ 60.1 สำหรับยุโรป</p>
<p>“ตัวเลขเหล่านี้ได้รับแรงผลักดันจากปัจจัยหลายประการ โดยเริ่มจากข้อเท็จจริงที่ว่าเอเชียมีระดับความกดดันที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตในระดับที่สูงกว่ามาก” แมคเลนแนน อธิบาย</p>
<p>“ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งกล่าวว่าพวกเขาจะกังวลเกี่ยวกับทางเลือกด้านอาชีพที่ถูกจำกัด หากพวกเขามีปัญหาสุขภาพจิตและนายจ้างทราบ”</p>
<p>รายงานยังพบว่า 45% ของพนักงานในเอเชียเชื่อว่าปัญหาสุขภาพจิตของตนกำลังส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งควรเป็นข้อกังวลสำหรับนายจ้างด้วย เนื่องจากต้นทุนทางธุรกิจที่อาจเกิดขึ้น เช่น การลาป่วย ปัญหาสุขภาพระยะยาวของพนักงาน และการลาออกของพนักงาน</p>
<p>การศึกษาล่าสุดจากสิงคโปร์พบว่าผู้ที่มีความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้ามีประสิทธิผลในการทำงานน้อยลง โดยขาดงานเพิ่มอีก 17.7 วันต่อปี ผลผลิตที่สูญเสียไปเนื่องมาจากความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้านี้ คาดว่าจะสร้างความเสียหายให้กับสิงคโปร์เกือบ 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เลยทีเดียว</p>
<p><strong>ที่มา:</strong>
4 in 5 employees in Asia have moderate to high mental health risk, study shows (Goh Chiew Tong, CNBC, 19 September 2023)</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข่
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/09/106072 







