ถก‘สื่อพลิกผันในสถานการณ์พลิกขั้ว’ สะท้อนสภาพการทำงานสื่อท่ามกลาง ภัยคุกคาม ทางออกจะเป็นอย่างไร?
<span class="submitted-by">Submitted on Wed, 2023-09-27 12:12</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>เวทีสาธารณะ "สื่อพลิกผันในสถานการณ์พลิกขั้ว" สะท้อนสภาพการทำงานของสื่อมวลชนที่ยากลำบากท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองแบ่งขั้วมานานหลายปี ต้องเผชิญทั้งภัยคุกคามหลายด้านทั้งกฎหมายที่ปิดกั้น ความเสี่ยงต่อการถูกสอดแนม ไปจนถึงภัยคุกคามต่อชีวิตจนไปกระทบต่อการทำงานและเสรีภาพในการแสดงออกของสื่อ แต่เมื่อรัฐบาลเปลี่ยนหน้าจะคาดหวังความเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่</p>
<p>26 ก.ย.2566 ที่โรงแรมไอบิส สไตล์ รัชดาฯ ประชาไทจัดเวทีสาธารณะ "สื่อพลิกผันในสถานการณ์พลิกขั้ว" เพื่อนำเสนอสภาพกานทำงานของสื่อภายใต้ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วงตั้งแต่ปี 2557-2566 ทั้งกรณีที่สื่อถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพจากการทำงานข่าวไม่ว่าจะเป็นการคุกคามทางกายภาพ การถูกดำเนินคดี ไปจนถึงความไม่ปลอดภัยในการทำงานที่ไม่มีมาตรการคุ้มครองจากที่ทำงาน</p>
<p>โดยช่วงแรก ผศ.ดร.พรรษาสิริ กุหลาบ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จุฑารัตน์ กุลตัณกิจจา ผู้ช่วยวิจัยในโครงการวิจัย เป็นผู้นำเสนอ “สื่อในการรายงานข่าวการประท้วง: บทบาทของสื่อมวลชนไทยในการชุมนุมและความรุนแรงทางการเมือง(พ.ศ. 2557-2565)”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เปิดสถิติสื่อถูกคุกคามระหว่างทำข่าวชุมนุม</span></h2>
<p>พรรษาสิริเปิดข้อมูลสถิติที่ทำให้เห็นภาพความเสี่ยงในการทำงานของนักข่าวภาคสนามที่ต้องเผชิญระหว่างการทำข่าวการชุมนุมครั้งใหญ่ 5 ครั้งตั้งแต่พฤษภาทมิฬปี 2535 การชุมนุมของกลุ่มประชาชนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(พธม.หรือคนเสื้อเหลือง) การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.หรือคนเสื้อแดง) การชุมนุมของ กปปส. และล่าสุดการชุมนุมของม็อบราษฎร</p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53217138970_36be24ea69_b.jpg" /></p>
<p>อ.นิเทศจุฬาฯ มีข้อสังเกตว่านอกจากข้อมูลสถิติข้างต้นแล้วจากการสัมภาษณ์สื่อที่เคยทำงานในช่วงการชุมนุมใหญ่เหล่านี้มามักมีคำตอบใกล้เคียงกันว่าพฤติกรรมของตำรวจในพื้นที่ชุมนุมไม่ได้มีการสอดส่องหรือเข้มงวดไปจนถึงแสดงท่าที่เป็นปฏิปักษ์มากเท่ากับเจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติหน้าที่ในช่วงการชุมนุมม็อบราษฎร</p>
<p>พรรษาสิริกล่าวถึงการเสียชีวิตของสื่อต่างประเทศ 2 คนระหว่างทำข่าวการชุมนุมของ นปช.และยังมีสื่อที่ได้รับบาดเจ็บจากกอาวุธหนักด้วยว่าแม้จะมีการไต่สวนโดยศาลแต่กลับบอกไม่ได้ว่าเกิดจากเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลที่แอบแฝงเข้ามา จึงยังเป็นกรณีดำมืดและถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงมาก ระดับเสรีภาพในช่วงนั้นตกต่ำมาก แต่ไม่มีข้อเท็จจริงที่บอกได้เลยว่ามันเกิดจากอะไร ทั้งที่มีผู้เสียชีวิตเกือบร้อยคนในเวลานั้น</p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53217021069_57b0187665_b.jpg" /></p>
<p>พรรษาสิริเห็นว่าจากผลกระทบที่เกิดขึ้นรูปแบบในการปิดกั้นการทำงานของสื่อมวลชนในการชุมนุมฝ่ายภาครัฐใช้แบบแผนเดิมๆ คือ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เข้าควบคุมสถานการณ์เมื่อมีการชุมนุมที่มีคนจำนวนมากเข้าร่วมมและยังใช้ในการสกัดกั้นการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ส่วนรูปแบบที่โดดเด่นขึ้นมาคือช่วง นปช. ที่มีปฏิบัติการสลายการชุมนุมด้วยอาวุธหนักที่ส่งผลต่อสื่อมวลชนด้วย ส่วนกรณีม็อบราษฎรมีกรณีที่น่าสนใจและเพิ่มเข้ามาคือมีการนำตัวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีมติบอกว่าข้อเสนอปฏิรูปสถาบันกษัตริย์เข้าข่ายล้มล้างการปกครองเอามาใช้ในการขอความร่วมไม่ให้สื่อวิทยุโทรทัศน์รายงานเกี่ยวกับข้อเรียกร้องของผู้ชุมนุม ขณะเดียวกันก็มีบรรยากาศความเกร็งที่จะรายงานข่าวเมื่อมีจำนวนคดี ม.112 ต่อนักกิจกรรมและผู้ชุมนุมที่พุ่งสูงขึ้น จึงสะท้อนความกังวลและบรรยากาศความกลัวความเกร็งในช่วงนั้น</p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53216648596_aaea8ac07e_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">พรรษาสิริ กุหลาบ</span></p>
<p>อ.นิเทศจุฬาฯ ยังมีข้อสังเกตต่อสถานการณ์การปิดกั้นการทำงานสื่ออยู่อีก 3 ประเด็น</p>
<p>1. ไม่มีการบันทึกการใช้ความรุนแรงและการปิดกั้นสื่ออย่างเป็นระบบก็เลยไม่เห็นรูปแบบของการคุกคามสื่อและยังถูกมองว่าเป็นเรื่องของลูกหลงหรือปัญหาของปัจเจกที่เข้าไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงเอง ทำให้ไม่เกิดโครงสร้างในการระวังป้องกันความรุนแรงได้โดยเฉพาะความรุนแรงจากรัฐ</p>
<p>2. การตรวจสอบไม่เป็นระบบจากภาครัฐ ทำให้เกิดการพ้นผิดลอยนวล หรือเมื่อมีสื่อมวลชนดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดีก็ไม่ได้นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ชัดเจน</p>
<p>3. ผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้เห็นอุตสาหกรรมสื่อขาดการคุ้มครองแรงงาน และการเยียวยาผลกระทบจากการทำงาน อุตสาหกรรมไม่ส่งเสริมการรวมกลุ่มแรงงานของสื่อไม่เกิดเป็นสหภาพแรงงานในองค์กรสื่อ เมื่อไม่เกิดการรวมตัวก็ไม่มีอำนาจต่อรองและถูกมองว่าเป็นปัญหาของปัจเจกแล้วก็ถูกมองว่าเป็นเรื่องฟุ่มเฟือยแทน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ความพร้อมในการรับมือความรุนแรงของสื่อ</span></h2>
<p>จุฑารัตน์ กุลตัณกิจจา ผู้ช่วยวิจัยนำเสนอเพิ่มเติมถึงแนวทางในการจับตาความรุนแรงทางการเมืองของสื่อว่า ในฐานะที่ตัวเองเป็นอดีตนักข่าวภาคสนามของประชาไทในช่วงที่มีสถานการณ์ม็อบราษฎรช่วงปี 2563-2564 มีการชุมนุมมากกว่า 1,000 ครั้งและมีสื่อได้รับบาดเจ็บเกือบเท่าปี 35 ทำให้กองบรรณาธิการเริ่มเห็นว่าสถานการณ์ข้างหน้าอาจจะเกิดความรุนแรงทางการเมืองได้แม้ว่าในช่วงนั้นการชุมนุมจะยังเป็นไปโดยสงบไม่มีความรุนแรงจึงเริ่มมีการฝึกอบรมการประเมินสถานการณ์ความรุนแรงและเมื่อเกิดสถานการณ์สลายการชุมนุมเกิดขึ้นก็ทำให้ต้องเพิ่มการฝึกอบรมการปฐมพยาบาลและการดูแลสภาพจิตใจหลังเผชิญสถานการณ์รุนแรง</p>
<p>“แม้ว่าจะพยายามทำตามที่ฝึกอบรมแล้วแต่ก็ยังมีนักข่าวของเราเจอความรุนแรงอยู่ดีก็คือคุณศรายุทธ (ตั้งประเสริฐ) ที่โดนกระสุนยางแต่ว่าสิ่งที่ถูกโต้แย้งกลับมาว่าเราเผชิญความรุนแรงคือ คุณยืนอยู่ผิดที่ผิดทางเข้าไปโดนลูกหลงเองอะไรแบบนี้ซึ่งนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทางเราพยายามขอให้สอบสวนเอาผิดทางคดีแต่ก็ได้คำตอบกลับมาว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้แบบถูกต้องแล้วแต่เป็นนักข่าวที่ไปยืนผิดที่ทำให้โดนลูกหลง” จุฑารัตน์กล่าวถึงปัญหาที่ทำให้การสอบสวนเอาผิดไม่คืบหน้าและเมื่อคดีไปถึงศาลแพ่งก็ยกฟ้องทั้งที่ไม่มีการไต่สวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">สื่อออนไลน์และสตริงเกอร์เผชิญภัยคุกคามมากกว่า</span></h2>
<p>ธีรนัย จารุวัสตร์ อดีตนักข่าวของข่าวสด อดีตอุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และล่าสุดเป็นผู้ประสานงานโครงการเฝ้าระวังเสรีภาพสื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (PFMSea) ซึ่งเป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาในเดือนธันวาคม 2565 เพื่อติดตามสถานการณ์เสรีภาพของสื่อมวลชน โดยเขาได้สำเสนอข้อมูลการคุกคามเสรีภาพสื่อออนไลน์และสตริงเกอร์ในช่วงธ.ค.2565- ก.ย. 2566 ว่าข้อมูลที่องค์กรเก็บนั้นครอบคลุมคนทำงานสื่อมวลชนที่มีสังกัด สตริงเกอร์ที่ทำข่าวส่งจากจังหวัดต่างๆ ส่งให้สำนักข่าวต่าง สื่อพลเมืองที่รวมถึงคนทำเพจเฟซบุ๊กและยูทูบเบอร์ ไปจนถึงผู้ที่ทำงานด้านข้อมูลข่าวสารที่เป็นแหล่งข้อมูลเช่น ไอลอว์ ไทยเน9ติเช่น เนื่องจากแม้กลุ่มนี้จะไม่ใช่สื่อโดยตรงแต่เป็นผู้ให้ข้อมูลกับสื่อ</p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53216648541_57cdfc0634_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ธีรนัย จารุวัสตร์</span></p>
<p>ข้อมูลที่ธีรนัยนำเสนอมีการแบ่งลักษณะการคุกคามเป็น 5 รูปแบบการทำร้ายร่างกายและติดตามข่มขู่คุกคาม 8 กรณี คุกคามทางวาจาหรือด้อยค่า 7 กรณี การฟ้องร้องหรือขู่ว่าจะดำเนินคดี 11 กรณี ปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร 1 กรณี และอื่นๆ 2 กรณี</p>
<p>ธีรนัยมีข้อสังเกตว่ากรณีที่เป็นการข่มขู่คุกคามและการทำร้ายร่างกายโดยทั่วไปที่ไม่ใช่สถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองนั้นนักข่าวในต่างจังหวัดหรือสตริงเกอร์นั้นถูกกระทำรุนแรงมากกว่าสื่อในพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างไรก็ตามมีกรณีช่างภาพของสเปซบาร์ที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบเฝ้าติดตามถึงที่พักและเมื่อตรวจสอบเรื่องนี้ไปที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้วก็ไม่ได้มีคำตอบอะไรกลับมา แต่ตำรวจที่มาปฏิบัติการก็เคยชี้แจงว่ามาเฝ้าเพราะนช่างภาพคนดังกล่าวเป็นบุคคลที่มีการกระทำที่อาจกระทบความมั่นคง</p>
<p>ผู้ประสานงานจาก PFMSea กล่าวต่อถึงรูปแบบการดำเนินคดีหรือขู่ดำเนินคดี พบว่าเป็นวิธีการที่ถูกนำมาใช้บ่อยมากที่สุดและในไทยก็มีกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) มีการขู่ติดกันถึง 3 ครั้งว่าจะฟ้องสื่อแม้ว่าจะมีหนึ่งครั้งที่เป็นการให้ข้อมูลผิดจากทาง กกต.เองทำให้สุดท้ายต้องขอโทษเดอะ แมทเทอร์ อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็ทำให้เห็นว่าเวลาที่หน่วยงานรัฐเป็นผู้ให้ข้อมูลผิดเองกลับไม่มีการลงโทษหรือต้องรับผิดชอบกับความผิดพลาดของตัวเอง</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ธีรนัยกล่าวว่าการเฝ้าระวังของโครงการยังมีข้อจำกัดอยู่คือสามารถนับข้อมูลได้เฉพาะที่มีการรายงานข่าวและมีหลักฐานชัดเจนเกิดขึ้น แต่ก็มีการคุกคามอย่างการเซนเซอร์ตัวเองของสื่อที่จะต้องนับรวมด้วยแต่ว่ามักจะไม่ปรากฏข่าวออกมาให้เห็นแม้ว่าจะเกิดค่อนข้างบ่อย</p>
<p>ผู้ประสานงาน PFMSea ยังกล่าวถึงอีกปัญหาว่าหลายครั้งคนทำงานสื่อเองไม่ได้มองว่าตัวเองถูกคุกคามอยู่แต่มองว่าเป็นเรื่องปกติที่เจออยู่ในการทำงานอยู่แล้วไม่ว่าการข่มขู่คุกคาม ถูกพูดด้อยค่าโดยเฉพาะกับนักข่าวรุ่นเก่าทำให้ไม่มีการรายงานกลับมาว่าถูกคุกคาม นอกจากนั้นยังนิยามของคำว่า “คุกคาม” มีความคลุมเครือ เพราะหากมองว่าประชาชนเป็นเหยื่อที่ถูกสื่อรายงานข่าวอย่างบิดเบือนข้อเท็จจริง ประชาชนจะสามารถฟ้องดำเนินคดีสื่อได้หรือไม่และจะถือว่าเป็นการคุกคามสื่อหรือไม่? ไปจนถึงการที่สื่อถูก “ทัวร์ลง” ในสื่อสังคมออนไลน์จะถือเป็นการวิจารณ์การทำงานหรือเป็นการคุกคาม?</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">การสอดแนมเป็นปัญหาการเมือง อัพเวอร์ชั่น IOS ใช่จะแก้ได้</span></h2>
<p>รัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล จากไอลอว์ ในฐานะผู้ที่ติดตามประเด็นเรื่องสปายแวร์เพกาซัสที่ถูกนำมาใช้กับนักกิจกรรม นักวิชาการ และนักการเมืองในไทย เขากล่าวว่าที่ผ่านมาเรื่องการสอดแนมทางออนไลน์นั้นที่ผ่านมาเรื่องนี้อาจจะเคยเป็นเพียงทฤษฎีสมคบคิดเท่านั้นเพราะไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนนักว่ามีการใช้ แต่เมื่อพบว่าเพกาซัสถูกนำมาใช้กับนักวิชาการ นักกิจกรรม และนักการเมืองในไทยถึง 35 คน ก็เหมือนเป็นเครื่องยืนยันว่าเรื่องที่เป็นความเชื่อมาโดยตลอดนั้นเป็นเรื่องจริงว่ารัฐไทยมีความสามารถพอที่จะใช้เพกาซัสในการสอดส่องประชาชน</p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53216959038_e4b0b4fe02_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">รัชพงษ์ แจ่มจิรไชยกุล</span></p>
<p>รัชพงษ์กล่าวว่าการตรวจสอบนี้ยังมีข้อจำกัดทางเทคนิคทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนที่เป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ถูกติดตั้งเพกาซัสด้วยหรือไม่ และยังไม่สามารถขยายการตรวจไปยังสื่อของสำนักข่าวอื่นๆ ที่อยู่นอกเครือข่ายการทำงานของเขาได้</p>
<p>แต่นอกจากเรื่องทางเทคนิคแล้ว เจ้าหน้าที่จากไอลอว์ยังชี้ให้เห็นอีกข้อจำกัดคือการดำเนินคดีทางกฎหมายแต่ความยากคือการระบุว่าใครเป็นคนทำเพราะไม่รู้ว่ามีหน่วยงานรัฐใดบ้างที่มีเครื่องมือนี้นอกจาก ปปส. ทางไอลอว์และเครือข่ายจึงร่วมกับผู้เสียหายที่รวมตัวกันฟ้องร้องดำเนินคดีกับบริษัทในอิสราเอลชื่อ NSO ที่เป็นผู้ผลิตต่อศาลแพ่งของไทย แต่ศาลไม่รับฟ้องโดยเหตุผลว่าผู้เสียหายถูกกระทำต่างกรรมต่างวาระกันเป็นคนละความผิดต้องแยกฟ้องจึงมีการฟ้องร้องใหม่อีกครั้งแยกกันคนละคดี ซึ่งเท่าที่เขาทราบทางศาลแพ่งได้มีหมายศาลไปถึงบริษัท NSO แล้ว ส่วนอีกอีกคดีที่ฟ้องรัฐไทยต่องศาลปกครองไปในฐานละเมิดศาลไม่รับโดยให้เหตุผลว่าคดีนี้เป็นคดีอาญาต้องฟ้องศาลอาญา เขามีข้อสังเกตต่อเรื่องนี้คดีทั้งหมดที่เกิดขึ้นนี้ศาลยังไม่มีการพิจารณาลงไปในเนื้อหาของคดีเลยว่ามีสปายแวร์นี้อยู่จริงหรือไม่ แต่เป็นเรื่องเทคนิคกฎหมายทั้งหมดในการพิจารณาไม่รับฟ้องเป็นคดี</p>
<p>รัชพงษ์ยังชี้ให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่มีการใช้สปายแวร์ลักษณะนี้ว่าทำให้เกิดบรรยากาศความกลัวขึ้นในสังคมและการถูกละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวยังเป็นช่องให้เกิดการละเมิดสิทธิอื่นๆ ตามมา เช่น เสรีภาพในการแสดงออกหรือเสรีภาพการชุมนุมเพราะเมื่อเจ้าหน้าที่รู้แล้วเป้าหมายกำลังจะทำอะไรก็อาจเข้ามาห้ามไม่ให้เกิดการการใช้เสรีภาพได้ก่อน ซึ่งด้วยตรรกะเดียวกันก็กระทบกับเสรีภาพของสื่อมวลชนได้เช่นกันเพราะเมื่อถูกรู้ก่อนว่าสื่อกำลังจะนำเสนอเรื่องอะไรก็อาจถูกเข้ามาห้าม ไปจนถึงสิทธิในร่างกายหากถูกรู้เส้นทางการเดินทางก็สามารถดักทำร้ายกันได้ และยังสร้างบรรยากาศความกลัวให้กับสังคมตามมาจนทำให้เกิดการเซนเซอร์ตัวเองของสื่อเมื่อรู้ว่าทำประเด็นไหนแล้วจะเกิดความเสี่ยงอย่างไร ไปจนถึงผู้ให้ข้อมูล (Whistleblower) อาจจะกลัวที่จะให้ข่าวกับสื่อเพราะอาจถูกติดตาม</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ข้อเสนอจากเวที</span></h2>
<p>ธีรนัยเสนอว่าควรยกระดับความปลอดภัยในการทำงานของสื่อด้วย เพราะอย่างกรณีสตริงเกอร์ที่ทำงานในความเสี่ยงแต่ได้รับเงินเป็นชิ้นส่งมากได้มากส่งน้อยได้น้อย แต่เงินที่ได้จากงานที่เสี่ยงก็ไม่ได้เพิ่ม แล้วก็ไม่มีเทรนนิ่งให้</p>
<p>ทั้งนี้ผู้ประสานงานของ PFMSea มองว่าปัญหาเรื่องความปลอดภัยและในการทำงาน การไม่มีค่าเสี่ยงภัยให้กับนักข่าวส่วนหนึ่งมาจากนักข่าวไม่มีสหภาพแรงงานในองค์กรของตัวเองทำให้ไม่มีการรวมตัวกันต่อรองกับเจ้าของสื่อ</p>
<p>ธีรนัยยังเสนออีกว่าควรมีช่องทางให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายสำหรับสื่อมวลชนโดยเฉพาะเพราะแม้ว่าในสำนักข่าวใหญ่ๆ จะมีฝ่ายกฎหมายของตัวเองในการจัดการเรื่องคดีแต่เขาก็ยกตัวอย่างปัญหาของสำนักข่าวที่เขาเคยทำว่าฝ่ายกฎหมายของสำนักข่าวเองก็มีคดีที่บริษัทถูกฟ้องต้องรับผิดชอบเป็นจำนวนมากจนมองว่าบางคดีอาจจะไม่คุ้มสู้แล้วเลือกที่จะเซนเซอร์ตัวเองไปแทนด้วยการถอดข่าวที่มีปัญหาออก ส่วนสื่อรายเล็กก็อาจจะไม่ได้มีฝ่ายกฎหมายของตัวเองในการรับมือเรื่องนี้ ซึ่งเขาเห็นว่าการต่อสู้ทางคดีนอกจากคดีเชิงรับที่สำนักข่าวถูกฟ้องแล้ว สำนักข่าวเองก็ควรจะมีช่องทางทางกฎหมายในการสู้คดีเชิงรุกด้วย เช่นมีทนายความทำคดีฟ้องกลับกรณีที่นักข่าวถูกทำร้ายร่างกายระหว่างปฏิบัติงาน หรือมีทนายความที่ช่วยสู้คดีที่สำนักข่าวถูกฟ้องให้ไปถึงศาลฎีกาเพื่อให้มีการวางแนวฎีกาของคดีความนั้นๆ</p>
<p>ผู้ประสานงานของ PFMSea มองว่าบทบาทสมาคมวิชาชีพสื่อเองที่ไม่แข็งแรงก็จะกระทบต่อวงการสื่อด้วยเพราะที่ผ่านมาเองเวลาภาครัฐอยากจะทำอะไรกับสื่อก็มักจะเข้าหากับทางสมาคมวิชาชีพเพื่อพูดคุยมากกว่าไปที่สำนักข่าวโดยตรงอยู่แล้ว และเป็นเรื่องน่าเสียดายที่สมาคมวิชาชีพสื่อยังไม่ค่อยมีการแสดงท่าทีหรือแถลงการณ์มากนักต่อกรณีมีนักข่าวที่ถูกคุกคามจนเป็นข่าวแล้ว แม้ว่าทางสมาคมวิชาชีพจะมีการเข้าไปถามความต้องการของนักข่าวอยู่บ้างว่าต้องการความช่วยเหลือหรือไม่ ซึ่งทำให้เห็นว่าสมาคมเองมองแต่ในส่วนที่เป็นความต้องการของนักข่าวในฐานะปัจเจกมากกว่า เรื่องนี้เขาเห็นว่าสมาคมวิชาชีพเองควรต้องมีการออกมาแสดงท่าทีต่อการคุกคามที่เกิดขึ้นกับนักข่าวมากกว่านี้</p>
<p>ธีรนัยยังมีประเด็นที่ฝากถึงรัฐบาลใหม่ด้วยว่าการแสดงท่าทีที่ชัดเจนว่าจะปกป้องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกก็จะส่งผลต่อท่าทีของหน่วยงานรัฐอื่นๆ ตามมาด้วยเพราะหน่วยงานรัฐต่างๆ ก็มักจะคอยมองทิศทางท่าทีของฝ่ายบริหารอยู่แล้วถ้ารัฐบาลมีท่าทีที่ชัดดีต่อเรื่องนี้หน่วยงานรัฐก็จะมีท่าทีไปในทิศทางเดียวกัน</p>
<p>ผู้ประสานงานของ PFMSea มีข้อเสนอต่อองค์กรเอ็นจีโอไปจนถึงองค์กรแหล่งทุนจากต่างประเทศว่า ควรมีบทบาทในการส่งเสริมเสรีภาพสื่อเพราะจะเห็นว่าบทบาทของรัฐไทยต่อเสรีภาพสื่อเป็นอย่างไร ส่วนภาคธุรกิจไทยเองเวลาพูดเรื่องเสรีภาพการแสดงออกขึ้นมาก็มองว่าเป็นเรื่องการเมืองไม่อยากจะเข้ามายุ่ง จึงไม่สามารถคาดหวังให้โครงการส่งเสริมเสรีภาพสื่อจะได้รับทุนจากภายในประเทศได้ ทำให้ต้องพึ่งพาแหล่งทุนจากองค์กรระหว่างประเทศหรือสถานทูตต่างๆ</p>
<p>ธีรนัยยังเสนอให้มีการปฏิรูปกระบวนการในชั้นศาลเพื่อไม่ให้เกิดการใช้ SLAPP เพราะเมื่อห้ามคนฟ้องไม่ได้ แต่ศาลก็สามารถตัดคดีทิ้งได้ เขายกตัวอย่างมาตรา 161/1 ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่เปิดให้ศาลและอัยการสามารถไม่ฟ้องหรือไม่รับฟ้องคดีที่เห็นว่ามีเจตนาฟ้องโดยไม่สุจริตได้แต่ในความเป็นจริงไม่ถูกใช้ และเท่าที่เคยคุยกับอัยการเองก็เคยบอกว่าถ้าใช้มาตรานี้แล้วตัวอัยการเองก็อาจจะถูกฟ้องด้วยมาตรา 157 ได้</p>
<p>สุดท้ายผู้ประสานงานของ PFMSea ยังเสนอให้มีการเสริมสร้างการเฝ้าระวังการคุกคามสื่อที่เป็นระบบ ถ้ามีการทำฐานข้อมูลการคุกคามสื่อก็จะมองเห็นรูปแบบของการละเมิดสิทธิได้และจะทำให้วางมาตรการรับมือหรือป้องกันการคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะฝ่ายผู้ลงมมือคุกคามเองก็มีการพัฒนารูปแบบการคุกคามไปเรื่อยๆ ด้วยเช่นกัน ทำให้แก้ปัญหาได้ถูกจุดมากขึ้น เพราะการแก้ปัญหาด้วยการฝึกอบรมนักข่าวอาจจะไม่เพียงพอ</p>
<p>จุฑารัตน์กล่าวถึงข้อเสนอที่มีต่อรัฐบาลใหม่ว่าก็คาดหวังว่ารัฐบาลใหม่จะมีความเข้าใจเรื่องสิทธิเสรีภาพสื่อมากขึ้นแม้ว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนจะมีการรับรองเอาไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว แต่ขั้นต่ำที่ควรจะมีอย่างการไม่ละเมิดและขัดขวางการใช้สิทธิเสรีภาพก็ยังเกิดขึ้นอยู่เพราะไทยมีเรื่องความมั่นคงของรัฐที่ถูกเอามาตีความใช้อย่างกว้างขวางมาก แต่ยิ่งกว่าการไม่ละเมิดสิทธิแล้วรัฐยังต้องส่งเสริมเสรีภาพสื่อเพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่รับรองไว้ด้วย แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นให้เกิดการจำกัดสิทธิเสรีภาพอยู่ได้บ้างแต่ก็ต้องก็มี 3 ขั้นตอนที่ต้องเอามาพิจารณาคือ หนึ่งต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดเท่านั้น และสอง เมื่อจะใช้ความรุนแรงหรือกำลังก็ต้องทำอย่างได้สัดส่วน สุดท้ายขั้นที่สามเมื่อจำกัดสิทธิหรือใช้กำลังแล้วจะต้องมีความรับผิดรับชอบตามมาด้วยแต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่เห็นว่ารัฐทำทั้งสามขั้นตอนนี้ชัดเจนนัก</p>
<p><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53215773162_31fea13da3_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">จุฑารัตน์ กุลตัณกิจจา</span></p>
<p>จุฑารัตน์ยังเสนอว่าควรจะมีช่องทางให้ประชาชนและสื่อเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายมากกว่านี้ เพราะตอนนี้เป็นเรื่องยากทั้งเรื่องค่าใช้จ่าย เวลา และสื่อเองก็ยังอาจจะรู้สึกไม่สบายใจที่จะลุกขึ้นมาเป็นคู่ขัดแย้งกับผู้ที่ละเมิดสิทธิเอง</p>
<p>พรรษาสิริ มีข้อเสนอต่อรัฐบาลใหม่โดยเริ่มจากการมองว่า การปิดกั้นเสรีภาพสื่อและประชาชนนั้นเป็นเรื่องการเมืองสะท้อนระบอบการปกครองขณะนั้น ที่ผ่านมาหลักการประชาธิปไตยของเรามันบิดเบี้ยวจนเราลืมว่าเส้นมันอยู่ตรงไหน เพราะเราต่ำกว่าเส้นมานานมากอย่างน้อย 8 ปีที่ถูกแช่แข็งทั้งรัฐบาลจากการรัฐประหารและ Guided Democracy หรือประชาธิปไตยที่ถูกสั่งการโดยอำนาจที่ไม่ได้มาจากประชาชน ต่อมาเรามีตัวแทนจากการเลือกตั้งอย่างน้อยแนวคิดหลักการของประชาธิปไตยน่าจะมาคุยอีกเพราะท้ายที่สุดแล้วเสรีภาพสื่อ สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน</p>
<p>"เราพูดถึงสิทธิเสรีภาพสื่อ โดยไม่พูดถึงเสรีภาพประชาชนมันเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นคนที่ทำงานสื่อก็ต้องเข้าใจว่าเราเอาสิทธิของประชาชนมาใช้ดังนั้นถ้าสมมติเห็นแก่ตัวเองว่าเราต้องปกป้องเสรีภาพและสิทธิของสื่อโดยที่เราไม่ได้ดูเลยว่าประชาชนเจออะไร มันไม่ได้" พรรษาสิริ กล่าว</p>
<p>สำหรับความคาดหวังต่อรัฐบาลเศรษฐานั้น พรรษาสิริ เสนอว่า ต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนก่อนคำนึงถึงเสรีภาพสื่อ ดังนั้นคิดว่าสัญญาณที่ดีที่สุดในการที่รัฐบาลจะส่งว่าเรารับประกันเสรีภาพสื่อและประชาชนคืออย่างน้อยที่ภาคประชาชนส่งรายชื่อเสนอจัดทำประชามติจตัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ 2 แสนกว่าชื่อ หากมีสัญญาณต่อเรื่องนั้นว่าจะทำอย่างไรต่อจะเป็นการรับประกันว่าเห็นเสียงของประชาชนว่ามีคุณค่าเท่าใด ซึ่งจะนำไปสู่การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ที่สิทธิต่างๆ จะถูกรื้อฟื้นมา</p>
<p>ประเด็นต่อมาสิ่งที่กลัวหรือเกร็ง และภาวะการสอดแนม คือ ประเด็นการก้าวล่วงสถาบันฯ อย่างที่นำเสนอให้เห็นกรณีการชุมนุมแล้วรัฐบาลก่อนหน้านี้ใช้ทุกมาตรการในการปิดกั้นผู้ชุมนุมรวมทั้งสื่อด้วย เนื่องจากข้อเรียกร้องสถาบันกษัตริย์เป็นภัยต่อความมั่นคง ดังนั้นสัญญาณที่รัฐบาลชุดใหม่จะส่งให้เห็นว่ารัฐบาลเห็นความสำคัญของสิทธิในเสรีภาพการแสดงความเห็นก็คือพิจารณา ม.112 ที่เป็นปัญหาปิดกั้นการแสดงความเห็นของประชาชน แม้ไม่แก้ตัวกฎหมาย รัฐบาลก็ควรพูดคุยก็จะทำให้เห็นว่าสังคมไทยจะก้าวไปอย่างไร ไม่เช่นนั้นสังคมไทยก็ยังคาราคาซังอยู่ที่เดิม</p>
<p>รัชพงษ์เห็นว่าด้วยความสามารถของสปายแวร์ที่ป้องกันได้ยากลักษณะนี้เป็นเสมือนแมวไล่จับหนูเพราะแม้วันหนึ่งบริษัทสมาร์ทโฟนจะออกอัพเดตแพทช์มาป้องกันได้แต่เทคโนโลยีของสปายแวร์ก็พัฒนาความสามารถในการเจาะระบบป้องกันได้ด้วยเช่นกัน</p>
<p>“ปัญหาในเรื่องการสอดส่องในโลกออนไลน์หรือโลกความเป็นจริง โดยเนื้อแท้แล้วเป็นปัญหาการเมืองทั้งนั้นมันหมายความว่าเราต้องไปศึกษาเพื่อออกกฎหมายมาจำกัดการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ในการสอดส่องและเทคโนโลยีเหล่านี้เทียบกับอาวุธประเภทหนึ่งในทางการค้าระหว่างประเทศ เพราะบริษัท NSO ขายให้กับรัฐบาลเท่านั้นเขาไม่ขายให้เอกชนผมมีเงินพันล้านก็ซื้อไม่ได้ผมต้องทำในนามรัฐบาลเท่านั้นและจะต้องไปขอซื้อและได้รับการอนุมัติจากกระทรวงกลาโหมของอิสราเอลที่เป็นรัฐบาลเพราะถูกตีว่าเป็นอาวุธ”</p>
<p>รัชพงษ์เสนอว่าจะต้องมีการศึกษากฎหมายที่เป็นการทำข้อตกลงระหว่างประเทศร่วมกันเพื่อควบคุมการขายและใช้อาวุธลักษณะนี้ และสร้างระบบตรวจสอบถ่วงดุลเพื่อสร้างความโปร่งใสในการใช้สปายแวร์เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องชี้แจงได้ว่าถูกใช้กับใคร หน่วยงานใดบ้างที่ใช้ และบริษัทเองก็ไม่ยอมบอกว่าประเทศใดเป็นลูกค้าบ้าง</p>
<p>การสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่มี accountability ที่หมายถึงเมื่อมีการใช้อำนาจอย่างหนึ่งอย่างใดไปแล้วจะต้องอธิบายเรื่องนี้กับใคร ซึ่งในระบบการเมืองไทยยังไม่มีเรื่องนี้ และการใช้เพกาซัสก็สะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยไม่มี accountability เพราะเมื่อรัฐบาลไทยถูกเปิดโปงเรื่องนี้แล้วกลับไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าตกลงมีหรือไม่มีการใช้สปายแวร์ในการสอดส่องประชาชนกันแน่ ดังนั้นรัฐบาลใหม่จะต้องทำให้เกิดการสอบสวนเรื่องนี้อย่างขจริงจัง</p>
<p> </p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">คุกคามสื่
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/09/106090