[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
24 พฤษภาคม 2567 01:16:59 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ILO Voices: ผู้ย้ายถิ่นควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิของตนในประเทศปลายทาง  (อ่าน 121 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 28 กันยายน 2566 17:25:54 »

ILO Voices: ผู้ย้ายถิ่นควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิของตนในประเทศปลายทาง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-09-28 16:00</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ILO Voices แพลตฟอร์มการเล่าเรื่องแบบมัลติมีเดียขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้นำเสนอเรื่องราวของ 'ดิไทรซา รามิเรส' (Ditraiza Ramírez) ผู้อพยพและผู้ประกอบการชาวเวเนซุเอลาที่อาศัยอยู่ในเมืองกาลี ประเทศโคลอมเบีย ในเวลาว่าง เธอได้ช่วยให้ผู้ย้ายถิ่นได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิของตนในประเทศปลายทาง ผ่านแคมเปญ "Rights Migrate Too"</p>
<p><img alt="" src="https://images.prismic.io/ilo-voices/bd4e2421-83e0-43a5-abf6-99d4fdbb8f27__MG_8462+Ditraiza+in+the+middle+of+talking+HERO.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">'ดิไทรซา รามิเรส' (Ditraiza Ramírez) ผู้อพยพและผู้ประกอบการชาวเวเนซุเอลาที่อาศัยอยู่ในเมืองกาลี ประเทศโคลอมเบีย | ที่มาภาพ: Mauricio Pulido Bonilla</span></p>
<p>เราย้ายจากเวเนซุเอลาไปยังโคลอมเบียในปี 2021 เนื่องจากสถานการณ์ทางการเงินของเรา แม้ฉันจะร่ำเรียนมาทางการบริหารจัดเก็บภาษี แต่ต้องทำงานในห้องครัวของโรงเรียนสำหรับเด็ก 350 คน มันเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบาก ทำให้ฉันต้องตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า</p>
<p>สามีของฉันเป็นช่างไฟฟ้าและทำงานให้กับบริษัทเอกชน วันหนึ่ง ฉันบอกเขาว่าเราต้องออกจากประเทศนี้ และไปโคลอมเบีย ตอนแรกเขาปฏิเสธและพูดว่า “ผมจะตายในประเทศของผม” ฉันจึงบอกเขาว่าฉันจะย้ายไปโดยไม่มีเขาก็ได้ เพราะฉันต้องการอนาคตที่ดีกว่าสำหรับลูกๆ วันหนึ่งเมื่อเขาทำงานเสร็จและได้รับเงิน เขาก็กลับมาบ้านแล้วพูดว่า “เรามีเงินแค่นี้ เราจะอยู่หรือจะไป” ฉันตอบกลับไปว่า "เราไปกันเถอะ"</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/pBIG1I5asuY?si=HLEWSEFYRsyuY5CV" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p>เมื่อฉันย้ายถิ่นฐาน ฉันไม่รู้จริงๆ ว่าฉันได้รับสิทธิประโยชน์การคุ้มครองทางสังคม เช่น การรักษาพยาบาลและเงินบำนาญ เนื่องจากฉันเป็นคนนอก ฉันแค่อธิษฐานขออย่าให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงเหมือนแต่ก่อนอีก ฉันมั่นใจว่าฉันจะตายถ้ามันกำเริบขึ้นมา</p>
<p>เริ่มแรกเราอาศัยอยู่ที่กูกูตา เมืองชายแดนของโคลอมเบียเป็นเวลา 1 ปี สามีของฉันได้งานก่อสร้าง ส่วนฉันได้งานเป็นผู้ช่วยในครัว เย็นวันหนึ่ง ฉันป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง สามีเลยไม่ไปทำงานเพื่อดูแลฉันอยู่ที่บ้าน วันรุ่งขึ้นเขาถูกไล่ออก</p>
<p><img alt="" src="https://images.prismic.io/ilo-voices/ff77bcb1-856f-41f0-8861-4fbaa44592b7__MG_8569+Ditraiza+with+two+sons.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">นี่คือลูกของฉัน 2 คน พวกเขาคือเหตุผลหลักที่ฉันอยากย้ายไปโคลอมเบีย เพื่อให้พวกเขามีอนาคตที่ดีกว่า | ที่มาภาพ: Mauricio Pulido Bonilla</span></p>
<p>จากนั้นเราตัดสินใจย้ายไปที่เมืองกาลีซึ่งอยู่ในโคลอมเบียเช่นกัน ฉันไปกับลูกชายคนโตก่อน ฉันมีลูกพี่ลูกน้องที่นั่นซึ่งบอกว่าเราจะอยู่กับพวกเขาได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ </p>
<p>ฉันไปถึงสถานีขนส่งตอนเที่ยงคืน ฉันไม่ได้นอนหรือกินอะไรเลย เวลา 7.00 น. ฉันออกไปตามถนนสายต่างๆ เพื่อหางานทำ หลังจากหางานมาหลายวัน ฉันได้งานเป็นผู้ช่วยในครัวที่ร้านอาหารมังสวิรัติแห่งหนึ่ง ไม่มีสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร มีเพียงข้อตกลงด้วยวาจา พวกเขาจ่ายเงินให้ฉัน 10 เหรียญสหรัฐฯ ต่อวัน ฉันอยู่ที่นั่นเพียง 2 เดือน เนื่องจากเจ้าของร้านขอให้ฉันทำงานมากกว่าที่ตกลงกันไว้ในตอนแรก ฉันอารมณ์เสียมาก ฉันบอกเพื่อนร่วมงานว่า “อีกไม่นานเธอ [เจ้าของร้าน] จะขอให้เราทำความสะอาดชุดชั้นในของเชฟ”</p>
<p>หลังจากนั้นไม่นาน ฉันได้ยินมาว่าสามารถลงทะเบียนขออนุญาตเป็นผู้อยู่อาศัยชั่วคราวบนเว็บไซต์ได้ เมื่อฉันลงทะเบียน อีก 2 เดือนต่อมาก็ถูกเรียกไปรับการตรวจไบโอเมตริกซ์  ฉันได้รับบัตรประจำตัวผู้อยู่อาศัยชั่วคราว ฉันทำขั้นตอนเดียวกันนี้กับทั้งครอบครัว ขอบคุณพระเจ้าที่ตอนนี้เราทุกคนได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการในฐานะผู้อยู่อาศัยในโคลอมเบียแล้ว</p>
<p>จากนั้นฉันก็ตัดสินใจว่าสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับฉันคือทำงานอิสระเหมือนที่พ่อแม่ทำ ตอนที่ฉันอายุ 13 ปี พ่อของฉันเปิดธุรกิจน้ำอัดลมในจัตุรัสหลักที่เราอาศัยอยู่ในเวเนซุเอลา และฉันเคยช่วยเขา ฉันยังช่วยแม่ทำธุรกิจขายอาหารด้วย</p>
<p>ฉันเริ่มทำธุรกิจขายขนมหวาน ฉันเคยทำขนมหวานในเวเนซุเอลา ตอนที่ฉันทำงานที่โรงเรียน ฉันมักจะทำตอนที่มีการฉลองวันเกิดเสมอ</p>
<p>ฉันชอบมีธุรกิจเป็นของตัวเอง แม้มันยังไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด แต่ก็เป็นเรื่องดีที่ได้มีส่วนช่วยในการศึกษาของลูกชาย ฉันขายขนมหวานให้กับผู้คนในละแวกบ้านของฉัน และเริ่มรับทำขนมสำหรับงานอีเว้นท์ด้วย ตอนนี้ฉันกำลังเรียนรู้ด้านการบริหารธุรกิจไปด้วย ฉันรู้ว่าฉันจะบรรลุทุกสิ่งที่ฉันใฝ่ฝันได้</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="https://images.prismic.io/ilo-voices/00c691d0-27e7-404c-882a-8d1a6976246e_WhatsApp+Image+2023-06-16+at+21.30.09+creamy+desserts+made+by+Ditraiza.jpeg" />
<span style="color:#f39c12;">ขนมหวานหล่านี้ เป็นที่นิยมของลูกค้าของฉัน | ที่มาภาพ: Ditraiza Ramírez</span></p>
<p>ฉันชอบช่วยเหลือผู้อื่น ฉันคิดว่าพระเจ้าเฝ้าดูทุกสิ่ง แม้ว่าฉันจะไม่ได้อะไรกลับมาบนโลกนี้ก็ตาม ฉันก็รู้ว่าพระเจ้าจะตอบแทนฉัน และพระองค์จะทรงทำสิ่งนั้นกับลูกๆ ของฉัน</p>
<p>ฉันอยากจะทำอะไรบางอย่างให้กับผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาคนอื่นๆ ตอนแรกฉันได้เข้าร่วมกลุ่ม Whatsapp สำหรับชุมชนชาวเวเนซุเอลา และค้นพบองค์กรพัฒนาเอกชน United Colombians and Venezuelans Foundation หรือ Funcolven ที่คอยสนับสนุนชุมชนผู้อพยพชาวเวเนซุเอลา ฉันสมัครเป็นอาสาสมัคร และทำงานอาสาสมัครให้กับ Funcolven จนถึงทุกวันนี้</p>
<p>ฉันได้เข้าร่วมการฝึกอบรมต่างๆ ผ่าน Funcolven รวมถึงการฝึกอบรมที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ที่เรียกว่า "โรงเรียนผู้อพยพเพื่อการคุ้มครองทางสังคม" ประสบการณ์นั้นเติมเต็มจิตวิญญาณของฉัน ฉันได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างที่ฉันไม่เคยรู้มาก่อน ฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับแคมเปญ "Rights Migrate Too" พวกเขาสอนฉันเกี่ยวกับสิทธิของฉันในฐานะแรงงานข้ามชาติ รวมถึงสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองทางสังคม เช่น เงินบำนาญและการรักษาพยาบาล พวกเขาให้ชุดเครื่องมือรวมทั้งแผ่นพับแก่เรา ตอนนี้ฉันได้เป็นโฆษกของโรงเรียนแห่งนี้แล้ว</p>
<p>เมื่อฉันกลับถึงบ้าน สิ่งแรกที่ฉันทำคือพูดคุยกับสามีเกี่ยวกับความเสี่ยงต่างๆ ในตำแหน่งคนขับรถบรรทุกที่เขาทำอยู่ ฉันแจ้งให้เขาทราบถึงสิทธิของเขาและสวัสดิการที่นายจ้างควรมีให้ เขาไม่รู้เรื่องนี้เลยและเขาอยากที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม ฉันอธิบายว่าถ้าเขาขับรถแล้วประสบอุบัติเหตุ นายจ้างต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตอนนี้ฉันเป็นคนที่ไปหาเขาและเพื่อนร่วมงาน หากมีอะไรเกิดขึ้นพวกเขาจะมาขอคำแนะนำจากฉัน</p>
<p><img alt="" src="https://images.prismic.io/ilo-voices/d6ae9f30-7a10-4fca-a9b4-d234cfec6839__MG_8552+Ditraiza+shows+shopkeeper+Rights+migrate+too+campaign+materials.jpg" />
<span style="color:#f39c12;">ฉันเป็นอาสาสมัครพูดคุยกับผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาคนอื่นๆ ในละแวกบ้านของฉัน ฉันอธิบายกระบวนการที่พวกเขาต้องดำเนินการทีละขั้นตอนเพื่อลงทะเบียน เพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์การคุ้มครองทางสังคมในโคลอมเบียได้ | ที่มาภาพ: Mauricio Pulido Bonilla</span></p>
<p>ฉันยังมีส่วนร่วมในรายการวิทยุชื่อ "เสียงการเดินทาง" สำหรับผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาในโคลอมเบีย หลังจากการฝึกซ้อมจัดรายการฉันรู้สึกตื่นเต้นมาก ฉันแบ่งปันสิ่งที่ฉันได้เรียนรู้กับเพื่อนร่วมงาน และเสนอว่าจะสัมภาษณ์ผู้อำนวยการ ILO โคลอมเบีย ฉันพูดกับตัวเองว่า “ถ้าคนอื่นทำได้ แล้วทำไมฉันจะทำไม่ได้ และฉันจะทำมันให้ดีด้วย” พวกเขาให้ไฟเขียวกับฉันในการสัมภาษณ์ มันเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากสำหรับฉัน</p>
<p>ฉันชอบงานรณรงค์ ฉันไปหาผู้คนแล้วพูดว่า “คุณรู้ไหมว่าหลังจากย้ายถิ่นเราก็มีสิทธิด้วยเช่นกัน” ฉันอธิบายว่าการคุ้มครองทางสังคมเป็นสิทธิไม่ว่าเราจะมาจากประเทศใดก็ตาม สิทธิของเราย่อมเป็นของเรา ไม่มีใครพรากมันไปได้</p>
<p>ฉันแนะนำให้พวกเขาตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาได้ลงทะเบียนเพื่อรับการคุ้มครองทางสังคม แม้ว่าพวกเขาจะไม่รู้ว่าพวกเขาจะอยู่ในประเทศนี้ไปอีกนานแค่ไหน</p>
<p>คุณไม่มีทางรู้ว่าคุณจะป่วยเมื่อใด แม้คุณจะสบายดีในวันนี้ แต่ในวันพรุ่งนี้ล่ะ หากคุณยังไม่ได้ลงทะเบียน การเข้าถึงสิทธิ์ของคุณก็จะยากขึ้น</p>
<p>คนที่ฉันคุยด้วยมีความสุข เพราะพวกเขาไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านี้</p>
<p>การเรียนรู้ว่าเรามีสิทธิในฐานะคนทำงานได้เปลี่ยนชีวิตฉัน ฉันรู้สึกได้รับพลังจากการมีความรู้นี้ ตอนนี้ฉันสามารถให้ข้อมูลนี้เป็นของขวัญแก่ผู้อื่น แบ่งปันให้กับชุมชนของพวกเขา เมื่อเวลาผ่านไปทั้งชุมชนก็จะมีความรู้นี้เช่นกัน</p>
<p> </p>
<div class="summary-box">
<p><strong>Fast facts</strong></p>
<ul>
<li>ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลามากกว่า 2.4 ล้านคน อาศัยอยู่ในโคลอมเบีย หรือคิดเป็นประมาณ 34% ของผู้อพยพและผู้ลี้ภัยจากเวเนซุเอลาทั้งหมด</li>
<li>การเข้าถึงบริการสุขภาพเป็นหนึ่งในความท้าทายหลักที่ผู้อพยพชาวเวเนซุเอลาต้องเผชิญ ผู้ย้ายถิ่นส่วนใหญ่ไม่ได้ลงทะเบียนในระบบการรักษาพยาบาล สิ่งนี้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงการรักษาพยาบาล ยา และการรักษาที่จำเป็น</li>
<li>แคมเปญ "Rights Migrate Too" มุ่งเป้าไปที่ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยชาวเวเนซุเอลา โครงการนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคม รวมถึงบริการด้านสุขภาพ การว่างงาน เงินบำนาญ และความคุ้มครองอุบัติเหตุและความเจ็บป่วยในที่ทำงาน</li>
<li>การฝึกอบรมที่เรียกว่า “โรงเรียนผู้อพยพเพื่อการคุ้มครองทางสังคม” ผู้เข้าร่วมจะได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับสิทธิการคุ้มครองทางสังคมและทักษะด้านอารมณ์ พวกเขายังได้รับชุดเครื่องมือเพื่อให้สามารถแบ่งปันความรู้จากแคมเปญได้</li>
<li>การรณรงค์นี้ดำเนินการโดย ILO และโครงการอาหารโลก (WFP) โดยความร่วมมือกับกระทรวงแรงงานโคลอมเบีย ได้รับทุนจากสหภาพยุโรปผ่านการปรับปรุงการทำงานร่วมกันระหว่างการคุ้มครองทางสังคมและโครงการการจัดการการคลังสาธารณะ</li>
</ul>
</div>
<p><strong>ที่มา:</strong>
Rights migrate too (ILO Voices, 6 September 2023)</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/09/106119
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 490 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 510 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 390 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 408 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 300 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.191 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 14 เมษายน 2567 04:04:47