[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 มิถุนายน 2567 11:29:46 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ไต้หวันยังคงเป็นประเด็น 'อ่อนไหวที่สุด' ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน  (อ่าน 85 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 27 พฤศจิกายน 2566 07:04:07 »

ไต้หวันยังคงเป็นประเด็น 'อ่อนไหวที่สุด' ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-11-26 16:20</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ในการประชุมซัมมิทของผู้นำจีน-สหรัฐฯ ครั้งล่าสุดมีการหารือกันที่แสดงให้เห็นท่าทีประนีประนอมและมีความคืบหน้าทางเศรษฐกิจ แต่ทั้งสองฝ่ายก็ยังคงย้ำจุดยืนเดิมในประเด็นไต้หวัน ซึ่งนักวิเคราะห์ประเมินว่าในขณะที่ประเด็นนี้ยังอ่อนไหวต่อทั้งสองชาติ มันจะส่งผลต่อเศรษฐกิจและการลงทุนระหว่างสองชาติมหาอำนาจนี้หรือไม่ อย่างไร</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/52269244055_5c38ef5396_o_d.jpg" /></p>
<p>ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ 2 แห่งในโลกคือสหรัฐฯ และจีน เดินออกจากห้องประชุมสุดยอดผู้นำระดับสูงด้วยน้ำเสียงที่ประนีประนอมและสื่อถึงพันธกิจที่ต้องการจะทำการแข่งขันทางเศรษฐกิจในแบบที่จะเป็นประโยชน์กับทั้งสองชาติ แต่อย่างไรก็ตาม มีอยู่ประเด็นหนึ่งที่ยังคงเป็นเสี้ยนหนามต่อความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ นั้นคือประเทศไต้หวัน</p>
<p>เมื่อช่วงกลางเดือน พ.ย. ที่ผ่านมามีการพบปะกันระหว่างผู้นำสหรัฐฯ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน และผู้นำจีน สีจิ้นผิง ซึ่งเหล่านักวิจารณ์ทั้งหลายก็ไม่ได้คาดหวังว่ามันจะทำให้ประเด็นเรื่องไต้หวันมีความคืบหน้าเป็นเรื่องเป็นราว แต่อย่างน้อยก็มีการนำเรื่องไต้หวันมาขึ้นโต๊ะหารือ โดยที่ทั้งสองฝ่ายยังคงแสดงท่าทีในแบบเดิมต่อประเด็นนี้</p>
<p>ไบเดนกล่าวย้ำว่า ถึงแม้ว่าสหรัฐฯ จะเห็นชอบกับนโยบาย "จีนหนึ่งเดียว" แต่พวกเขาก็ยังคงมีจุดยืนแบบเดิมคือมองว่าไต้หวันเป็นประเทศที่มีอธิปไตยของตัวเอง ซึ่งจีนจะอ้างไปในทางตรงกันข้าม</p>
<p>ทางฝ่าย สีจิ้นผิง กลับเรียกร้องให้สหรัฐฯ มีการกระทำที่ดูหนักแน่นกว่านี้ในการที่จะแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้กำลังสนับสนุน "เอกราชของไต้หวัน" ผู้นำจีนยังได้เรียกร้องให้สหรัฐฯ เลิกติดอาวุธให้ไต้หวัน และสนับสนุนสิ่งที่จีนอ้างว่าเป็น "การกลับมารวมชาติระหว่างไต้หวันและจีน"  ด้วย</p>
<p>"จีนจะต้องทำให้การกลับมารวมชาติ(กับไต้หวัน)เป็นจริงให้จงได้ และนี่เป็นสิ่งที่หยุดไม่ได้" สีจิ้นผิงประกาศในที่ประชุมซัมมิท</p>
<p>ถึงแม้ว่าทั้งสองชาติมหาอำนาจจะแสดงออกถึงจุดยืนที่ต่างกันในประเด็นของไต้หวันในที่ประชุมซัมมิท แต่พวกเขาก็ตกลงกันได้ในประเด็นอื่นๆ เมื่อการประชุมจบลง เช่นประเด็นเรื่องการหารือเกี่ยวกับระบบปัญญาประดิษฐ์, การตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ปัญหาการใช้ยาเฟนทานิลเกินขนาด (ซึ่งในไทยถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท ๒ ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด) และการทำให้มีการสื่อสารกันในระดับสูงของกองทัพสองทั้งประเทศอีกครั้ง</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ปมขัดแย้งไต้หวัน</span></h2>
<p>ไต้หวันเป็นประเทศเกาะที่ปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย ประเด็นเกี่ยวกับเอกราชไต้หวันกลายเป็นประเด็นที่เสี่ยงต่อการปะทุเป็นความรุนแรงในช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ มีความตึงเครียดต่อกันมากขึ้นเรื่อยๆ</p>
<p>สองมหาอำนาจต่างก็โต้เถียงกันเรื่องไต้หวันมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยรัฐบาลก่อนหน้านี้ของสหรัฐฯ คือรัฐบาล โดนัลด์ ทรัมป์ ส่วนจีนก็กล่าวอ้างหลายครั้งว่าพวกเขาอาจจะจำเป็นต้องใช้กำลังเพื่อ "ยึดคืน" ไต้หวันถ้าหากจำเป็น</p>
<p>การยกระดับความขัดแย้งทางการทูตบวกกับการที่จีนเน้นมองกลับเข้าไปภายในประเทศตัวเองมากขึ้นรวมถึงบรรยากาศแบบที่จำกัดการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ และการที่จีนใช้อำนาจยึดกุมฮ่องกงได้มากขึ้นนั้น ทำให้ทุนพากันไหลออกจากจีน</p>
<p>อลิเซีย การ์เซีย-เฮอร์เรโร หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ธนาคารการลงทุนสัญชาติฝรั่งเศส นัตติซิส กล่าวว่า "ประเด็นไต้หวันเป็นส่วนที่สำคัญในการประชุมซัมมิท"</p>
<p>การ์เซีย-เฮอร์เรโร บอกว่า "คำปราศรัยที่บรรจงร่างออกมาอย่างดีของสีจิ้นผิงในช่วงที่มีการประชุมซัมมิททางธุรกิจนั้นมีความสำคัญมาก มันแสดงให้เห็นว่าจีนจะไม่ทำสงครามเย็นใดๆ หรือแสดงให้เห็นว่าจีนไม่ได้ต้องการให้มีการสู้รบ"</p>
<p>"...ฉันคิดว่า จีนรู้ดีว่าประเด็นไต้หวันนั้นเป็นวาระที่มีความสำคัญสูงสุดในสายตาของกลุ่มผู้บริหารธุรกิจ แล้วความเสี่ยงจากประเด็นนี้เองได้กลายมาเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ว่า ทำไมนักลงทุนบางส่วนถึงไม่ลงทุนทั้งในไต้หวันหรือในจีนแผ่นดินใหญ่ ดังนั้นแล้วฉันจึงคิดว่ามัน(คำแถลงของจีน)เป็นคำแถลงที่ใหญ่โตมาก" การ์เซีย-เฮอร์เรโร กล่าว</p>
<h2><span style="color:#3498db;">"การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ"</span></h2>
<p>ในช่วงเย็นของการประชุมซัมมิทกลางเดือน พ.ย. กับไบเดน สีจิ้นผิงได้พูดปราศรัยในห้องที่เต็มไปด้วยกลุ่มผู้นำทางธุรกิจในซานฟรานซิสโก โดยเรียกร้องให้มี "การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ" ให้เป็นพื้นฐานขั้นแรกต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ที่ต้องรักษาไว้ในฐานะสองชาติมหาอำนาจ</p>
<p>ศีจิ้นผิงเน้นย้ำว่า จีนจะไม่ขัดแข้งขัดขาสหรัฐฯ หรือแทรกแซงกิจการภายในของสหรัฐฯ "และเช่นเดียวกันคือ สหรัฐฯ ไม่ควรจะขัดแข้งขัดขาจีนหรือแทรกแซงกิจการภายในของจีน"</p>
<p>สีกล่าวอีกว่า "การรุกรานและการขยายอาณาเขตอำนาจนั้นไม่ได้อยู่ในยีนส์ของพวกเรา"</p>
<p>คำพูดของสีจิ้นผิงจะช่วยลดความตึงเครียดในคาบสมุทรไต้หวันได้มากแค่ไหน และจะช่วยลดความตึงเครียดในระดับความขัดแย้งทะเลจีนใต้ไปด้วยมากน้อยแค่ไหนนั้น เป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์จะต้องจับตามองต่อไป รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านไต้หวันอย่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่นที่เป็นพันธมิตรสำคัญกับสหรัฐฯ จะต้องจับตามองเรื่องนี้ต่อไปด้วยเพราะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อพวกเขา</p>
<p>ในขณะเดียวกันมันก็ทำให้เกิดคำถามที่ว่าคำพูดของสีจิ้นผิงจะสามารถกลับมาสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนให้นำเงินลงทุนก้อนใหม่ไปลงที่จีนได้หรือไม่</p>
<p>ประเทศสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ต่างก็เคยแสดงการต่อต้านสิ่งที่พวกเขามองว่าเป็นภัยคุกคามจากจีน ในตอนที่จีนทำการซ้อมรบรอบๆ ไต้หวันเพื่อแสดงออกว่าพวกเขามีอำนาจอธิปไตยเหนือประเทศไต้หวัน กองเรือจีนยังทำการซ้อมรบในแบบรุกล้ำทะเลจีนใต้ในตอนที่มีข้อพิพาทน่านน้ำกับฟิลิปปินส์ด้วย</p>
<p>ข้อพิพาทระหว่างสองมหาอำนาจในเรื่องไต้หวันนั้น เคยทำให้จีนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในช่วงที่ แนนซี เปโลซี เดินทางเยือนไต้หวันในตอนที่เธอดำรงตำแหน่งเป็นโฆษกสภาผู้แทนสหรัฐฯ เมื่อเดือน ส.ค. 2565</p>
<p>หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น จีนก็โต้ตอบด้วยการระงับช่องทางการสื่อสารทางการทหารกับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเพราะช่องทางการสื่อสารนี้เป็นหนทางสุดท้ายที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการเผชิญหน้ากันทางการทหารในแบบที่ไม่ได้ตั้งใจ</p>
<p>Zhang Baohui ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์และกิจการระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยหลิงหนานในฮ่องกงกล่าวว่า ถึงแม้ว่าการกลับมาเปิดช่องทางสื่อสารทางการทหารระหว่างสหรัฐฯ กับจีนอีกครั้งนั้น มันจะไม่ได้ส่งผลอะไรมากต่อประเด็นไต้หวัน แต่มันก็ยังคงนับเป็นสิ่งที่ช่วยคงเสถียรภาพต่อความสัมพันธ์ความเสี่ยงสูงของทั้งสองประเทศ</p>
<p>Zhang บอกว่า "การที่สหรัฐฯ สามารถบรรลุเป้าหมายในการเปิดช่องทางการสื่อสารทางการทหารและสร้างความร่วมมือกับจีนได้อีกครั้งในขณะที่จีนก็บรรลุเป้าหมายเรื่องการสร้างเสถียรภาพกับคู่แข่งทางยุทธศาสตร์ เป็นสิ่งที่จะป้องกันไม่ให้อะไรๆ แย่ลงไปกว่าเดิม"</p>
<p>Zhang บอกอีกว่า เขาคิดว่าผลลัพธ์จะเป็นบวกต่อทั้งสองประเทศ ทั้งสองประเทศจะมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นจากการที่คนมองว่าพวกเขาร่วมมือกันในการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของโลก</p>
<h2><span style="color:#3498db;">ในแง่การเงินเป็นอย่างไรบ้าง</span></h2>
<p>ในแง่การเงินและธุรกิจ กลุ่มนักลงทุนกำลังอยู่ในท่าทีรอดูต่อไปว่า การประชุมซัมมิทระหว่างสหรัฐฯ กับจีนจะส่งผลกระทบอะไรบ้าง สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่งคือสหรัฐฯ ไม่ได้ยกเลิกการควบคุมการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ระดับสูง (วัตถุดิบที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์) ซึ่งเรื่องนี้จีนได้พูดถึงตอนประชุมซัมมิท และได้วิพากษ์วิจารณ์อเมริกันว่าพยายามจะปฏิเสธไม่ให้ประชาชนจีน "มีสิทธิที่จะพัฒนา"</p>
<p>บร็อค ซิลเวอร์ส หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนของไคหยวน แคปิตอล กล่าวว่า "การประชุมซัมมิทจะส่งผลลัพธ์ในระยะยาวต่อตลาดการเงินเพียงเล็กน้อย สีจิ้นผิงเคยได้รับการตอบรับทางบวกอย่างมากจากกลุ่มผู้นำทางธุรกิจมาก่อน แต่ในครั้งนี้ เหมือนเขาแค่เทศนาในสิ่งที่ทุกคนรู้อยู่แล้ว"</p>
<p>ซิลเวอร์ส บอกอีกว่า มีการพูดคุยและตกลงกันน้อยเกินกว่าที่จะทำให้เหล่านักลงทุนหัวแข็งเชื่อว่าจีนจะแก้ปัญหาเรื่องการกดดันการลดค่าเงิน มีการปฏิรูปที่จำเป็น หรือมีการแก้ไขปัญหาเรื่องที่น่าเป็นห่วงเกี่ยวกับความสามารถในการเข้าลงทุนของนักลงทุน ทำให้จีนสามารถเปลี่ยนใจนักลงทุนได้น้อยมาก</p>
<p>แต่ การ์เซีย-เฮอร์เรโร ก็มองโลกในแง่ดีมากกว่า เธอมองว่าโดยรวมแล้วการประชุมระหว่างผู้นำจีน-สหรัฐฯ จะเป็นการส่งสัญญาณให้กลุ่มธุรกิจต่างชาติเล็งเห็นว่า "บางทีแล้วจีนอาจจะไม่ได้ถึงขั้นไม่น่าลงทุนด้วย"</p>
<p>การ์เซีย-เฮอร์เรโร ประเมินว่าจีนจะได้รับการลงทุนมากขึ้นหลังจากการประชุม ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีมาตรการอย่างเป็นมั่นเป็นเหมาะในเรื่องยกเลิกการควบคุมการส่งออกหรือยกเลิกภาษีนำเข้าศุลกากรก็ตาม แต่มันก็แสดงให้เห็นว่าจีนมีความถ่อมตัวลงบ้างและเข้าใจว่าตัวเองกำลังเดินไปในทางที่ผิดในเรื่องการดึงดูดนักลงทุนถ้าหากว่าพวกเขายังคงแสดงออกในเชิงก้าวร้าวต่อไป</p>
<p>เจมส์ ดาวเนส ประธานโครงการการเมืองและรัฐประศาสนศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฮ่องกงเมโทรโปลิแทนกล่าวว่า การประชุมซัมมิทจะส่งผลบวกต่อการวางรากฐานเริ่มต้นทางเศรษฐกิจเพื่อที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า</p>
<p>ดาวเนสบอกว่า ประเด็นไต้หวันนั้นเป็นปัญหาเชิงภูมิศาสตร์การเมืองระยะยาวที่มีความซับซ้อน มันจะดีที่สุดสำหรับทั้งสองฝ่ายที่จะละเรื่องนี้ไว้ก่อนชั่วคราว แล้วกันมาเน้นเรื่องเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และระบบปัญญาประดิษฐ์ แทนที่จะผลักดันจุดยืนในเรื่องไต้หวันของตัวเองไปข้างหน้า</p>
<p>ซึ่งดูเหมือนว่าจีนจะเห็นด้วยกับเรื่องนี้เหมือนกัน เพราะแม้แต่สีจิ้นผิงก็ยอมรับว่าไต้หวันยังคงเป็น "ประเด็นที่สำคัญที่สุดเและมีความอ่อนไหวมากที่สุด" สำหรับความสัมพันธ์สหรัฐฯ-จีน</p>
<p><strong>เรียบเรียงจาก</strong>
Taiwan remains the ‘most sensitive’ issue in US-China relations, Benar News, 17-11-2023</p>
<p><strong>ข้อมูลเพิ่มเติมจาก</strong>
เฟนทานิล (Fentanyl), กองควบคุมยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">รายงานพิเhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/11/106984
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 502 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 539 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 417 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 428 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 320 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.48 วินาที กับ 30 คำสั่ง

Google visited last this page 05 พฤษภาคม 2567 01:13:23