ศาลไม่เพิกถอนคำสั่งยกคำร้องคัดค้านผู้พิพากษา คดี #ม็อบย่างกุ้ง
<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-11-30 16:55</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเผยศาลไม่เพิกถอนคำสั่งยกคำร้องคัดค้านผู้พิพากษา คดี #ม็อบย่างกุ้ง ชี้ไม่ผิดระเบียบ เหตุเป็นคำสั่งไม่รับคำร้องเพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ ไม่ใช่การพิจารณาเนื้อหา </p>
<p><img alt="" src="
https://tlhr2014.com/wp-content/uploads/2023/11/30nov23wevoWEB.jpg" /></p>
<p>
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่าวันที่ 29 พ.ย. 2566 ศาลแขวงดุสิตมีคำสั่งยกคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งศาลที่ผิดระเบียบในคดีของ “โตโต้” ปิยรัฐ จงเทพ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกล และสมาชิกกลุ่ม WeVo หรือ We Volunteer รวม 11 คน จากการจัดกิจกรรม #ม็อบย่างกุ้ง เพื่อจำหน่ายกุ้งของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 บริเวณสนามหลวงและอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2563</p>
<p>ย้อนไปเมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2566 จำเลยและทนายความจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งศาลที่ผิดระเบียบผ่านทางระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม ระบุเหตุในการยื่นคำร้องโดยสรุปว่า เนื่องจากในวันที่ 20 พ.ย. 2566 ได้มีการยื่นคำร้องคัดค้านผู้พิพากษา คือ สิรพัชร์ สินมา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนและนั่งพิจารณาคดีนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 12 โดยอ้างเหตุอันมีสภาพร้ายแรงซึ่งอาจทำให้การพิจารณาหรือพิพากษาคดีเสียความยุติธรรมไป และต่อมาผู้พิพากษาสิรพัชร์ได้สั่งยกคำร้องดังกล่าวด้วยตนเอง ซึ่งจำเลยและทนายจำเลยเห็นว่า เป็นการสั่งคำร้องโดยไม่มีอำนาจ ไม่เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 13 วรรคสาม จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ</p>
<p>29 พ.ย. 2566 ศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งศาลที่ผิดระเบียบ สรุปได้ดังนี้ </p>
<p>คำสั่งศาลต่อคำร้องคัดค้านผู้พิพากษา ฉบับลงวันที่ 20 พ.ย. 2566 เป็นกรณีที่ศาลตรวจคำร้องคัดค้านผู้พิพากษาดังกล่าวแล้วเห็นว่า คำร้องคัดค้านผู้พิพากษาดังกล่าวไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์การคัดค้านผู้พิพากษาตามกฎหมาย จึงมีคำสั่งยกคำร้อง เท่ากับเป็นคำสั่งไม่รับคำร้องคัดค้านผู้พิพากษาดังกล่าว มิใช่เป็นกรณีที่ศาลพิจารณาในเนื้อหาคำร้องคัดค้านผู้พิพากษาในเรื่องที่ถูกคัดค้าน แล้วมีคำสั่งยอมรับ หรือยกเสียซึ่งคำคัดค้านผู้พิพากษา อันต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 14 </p>
<p>กรณีจึงไม่มีคำสั่งที่ผิดระเบียบ ไม่มีเหตุให้เพิกถอน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ให้ยกคำร้อง</p>
<p>เจ้าหน้าที่ประจำห้องพิจารณาระบุว่า สิรพัชร์ สินมา ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเป็นผู้สั่งคำร้องดังกล่าว</p>
<p>ทั้งนี้ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีข้อสังเกตว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 13 วรรคสาม ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาคนเดียวและผู้พิพากษาคนนั้นถูกคัดค้าน หรือถ้าศาลใดมีผู้พิพากษาหลายคน และผู้พิพากษาทั้งหมดถูกคัดค้าน ให้ศาลซึ่งมีอํานาจสูงกว่าศาลนั้นตามลําดับเป็นผู้ชี้ขาดคําคัดค้าน” ได้วางหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยคำร้องคัดค้านผู้พิพากษา โดยกรณีที่ศาลใดมีผู้พิพากษาคนเดียวและผู้พิพากษาคนนั้นถูกคัดค้าน ผู้มีอำนาจในการวินิจฉัยคำร้อง คือ ศาลซึ่งมีอำนาจสูงกว่า เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์ของกฎหมายในการคุ้มครองหลักความเป็นอิสระของตุลาการ</p>
<p>ดังนั้น เมื่อพิจารณาเจตนารมณ์กฎหมายประกอบกับบทบัญญัติข้างต้น ในการวินิจฉัยคำร้องคัดค้านผู้พิพากษา ผู้พิพากษาที่ถูกคัดค้านจึงไม่ควรมีอำนาจในการสั่งตามคำร้องดังกล่าวด้วยตนเอง ไม่ว่าจะโดยเหตุที่ได้พิจารณาในเนื้อหาคำร้องแล้วจึงให้ยอมรับหรือยกเสีย หรือโดยเหตุที่เห็นว่าคำร้องไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์จึงไม่รับคำร้อง</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/11/107041 







