[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
08 มิถุนายน 2567 15:31:56 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - นักวิชาการชี้ไทยจะเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงานจากประชากรวัยทำงานลดลงต่อเนื่อง  (อ่าน 48 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 03 ธันวาคม 2566 21:50:46 »

นักวิชาการชี้ไทยจะเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงานจากประชากรวัยทำงานลดลงต่อเนื่อง
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2023-12-03 16:44</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>นักวิชาการชี้ไทยจะเผชิญปัญหาขาดแคลนแรงงานจากประชากรวัยทำงานลดลงต่อเนื่อง มีปัญหาการกระจุกตัวของการผลิตและการจ้างงานสูง เกิดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ ประกันสังคมช่วยสร้างระบบสวัสดิการขนาดใหญ่และระบบการออมแบบบังคับ แรงงานเพื่อนบ้านช่วยบรรเทาปัญหา การเคลื่อนย้ายแรงงานสะท้อนธุรกิจอุตสาหกรรมยังไม่ยกระดับสู่การผลิตมูลค่าสูงทักษะแรงงานสูง เสนอปฏิรูประบบทุนประกอบการและแรงงานรับมือ AI สร้างความเป็นธรรมและความสามารถแข่งขันไปพร้อมกัน</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51291944880_893a3722be_o_d.jpg" /></p>
<p>3 ธ.ค. 2566 รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนและการค้าระหว่างประเทศ และ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ประชากรในวัยทำงานของไทยลดลงอย่างต่อเนื่องและในอัตราเร่งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์แล้ว โดยปี 2566  มีผู้สูงวัย 20% วัยแรงงาน 63% และวัยเด็กเพียง 16% ประชากรในวัยทำงานปัจจุบันอยู่ที่ 42.4 ล้านคน และ มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ขณะนี้บางกิจการ บางอุตสาหกรรมสามารถทำการผลิตต่อไปได้โดยอาศัยแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน บางอุตสาหกรรมปรับใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ ระบบหุ่นยนต์และเอไอมากขึ้น พึ่งพิงแรงงานมนุษย์ลดลง และผลิตภาพเพิ่มสูงขึ้น</p>
<p>จากงานวิจัยของ ธนาคารโลก เรื่อง “Aging and the Labour Market in Thailand" พบว่า ภาวะประชากรสูงวัยส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดแรงงานไทยและการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวม จำนวนประชากรวัยทำงานที่ลดลงของประเทศไทยส่งผลให้รายได้เฉลี่ยของบุคคลในประเทศเติบโตลดลง และหากไม่มีการปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้การเติบโตของ GDP ต่อหัวลดลงอีกร้อยละ 0.86 ในทศวรรษ 2020 ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างมาก นอกจากนี้รายงานยังระบุว่า หากอัตราการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานนั้นคงที่ตามอายุและเพศแล้ว โครงสร้างประชากรของประเทศไทยจะเปลี่ยนไปโดยคาดการณ์ว่าจะส่งผลให้อัตราการมีส่วนร่วมของแรงงานโดยรวมจะลดลงประมาณร้อยละ 5 ระหว่างปี 2563 ถึงปี 2603 และจำนวนแรงงานลดลงถึง 14.4 ล้านคน ทั้งนี้จำนวนแรงงานที่ลดลงอาจส่งผลให้ประเทศอยู่ในภาวะขาดแคลนแรงงานซึ่งอาจขัดขวางโอกาสในการเติบโตของประเทศไทยได้ อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น อาจช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานได้บางส่วน ในขณะที่ผลกระทบต่อประเทศอื่นๆ อาจทวีความรุนแรง เนื่องจากความต้องการแรงงานที่มีทักษะความชำนาญในด้านนี้เพิ่มมากขึ้น</p>
<p>ไทยมีปัญหาการกระจุกตัวของการผลิตและการจ้างงานสูง เกิดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ แต่ระบบประกันสังคมช่วยสร้างระบบสวัสดิการขนาดใหญ่ครอบคลุมแรงงานในระบบทั่วทั้งประเทศ และ สร้างระบบการออมแบบบังคับเพื่อดูแลผู้สูงอายุในวัยเกษียณ จากงานวิจัยของ ศ. ดร. ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ พบว่า ความเหลื่อมล้ำของค่าจ้าง มีดัชนีจินีอยู่ที่ 0.4 ถือว่าสูงเกินไปและโอกาสการมีงานทำ หรือ working-lifetime สั้นเกินไป แรงงานจำนวนไม่น้อยออกจากตลาดแรงงานในระบบโรงงานตั้งแต่อายุ 45 ปี การทำงานหรือประกอบอาชีพอะไรหลังจากนั้นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม ปัญหาการกระจุกตัวของการผลิต การประกอบการ การจ้างงานในประเทศไทย สะท้อน ปัญหาความเหลื่อมล้ำในมิติพื้นที่อย่างชัดเจน กรุงเทพและปริมณฑลมีการจ้างงานในระบบ 6-7 ล้านคน มีสถานประกอบการในระบบกว่า 239,000 แห่ง มีจีดีพีอยู่ที่ 7.5-7.6 ล้านล้านบาท และมีโอกาสการมีงานทำสูงสุด เป้าหมายทางนโยบายสาธารณะต้องลดการกระจุกตัวและกระจายโอกาสในการจ้างงานไปยังทั่วทุกภูมิภาค การย้ายแหล่งการผลิตและการจ้างงานไปยังต่างจังหวัดตามภูมิภาคต่างๆ จะเกิดผลดีต่อพื้นที่ และ เกิด “ตัวทวีคูณท้องถิ่น” (Local Multiplier) นอกจากนี้ยังลดปัญหาความแออัด ปัญหามลพิษทางอากาศและปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาสลัมในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และ การแตกสลายของสถาบันครอบครัวในชนบทจากการที่พ่อแม่ลูกไม่ได้อยู่ด้วยกัน </p>
<p>เศรษฐกิจและภาคการผลิตบางส่วนต้องอาศัยแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะงานที่ใช้ทักษะต่ำ ขณะที่แรงงานไทยทักษะปานกลางและสูงจำนวนไม่น้อยเคลื่อนย้ายไปทำงานในต่างประเทศที่มีค่าตอบแทนสูงกว่ามาก ลักษณะการเคลื่อนย้ายแบบนี้ คือ แรงงานทักษะต่ำไหลเข้า แรงงานทักษะปานกลางและสูงจำนวนหนึ่งไหลออก สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาโครงสร้างตลาดแรงงาน ระบบค่าจ้าง และบ่งชี้ว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่สามารถยกระดับขึ้นมาเป็นระบบเศรษฐกิจการผลิตที่ใช้แรงงานทักษะสูง และ ผลิตสินค้ามูลค่าสูงด้วยนวัตกรรมได้อย่างแท้จริง ยังติดกับดักโครงสร้างการผลิตและเศรษฐกิจแบบเดิม ขณะเดียวกัน  ในอีกประมาณ 17 ปีข้างหน้า ไทยจะ เข้าสู่ “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” คาดการณ์ว่าจะมีผู้สูงอายุถึง 30% ขณะที่วัยแรงงานลดลงเหลือ 55% และวัยเด็กเพียง 12% อัตราภาวะเจริญพันธุ์ของไทยที่ต่ำกว่าระดับทดแทนในปัจจุบันนั้น หากพิจารณาจากประสบการณ์ของประเทศที่มีอัตราเจริญพันธุ์ต่ำกว่าระดับทดแทนมาก่อนประเทศไทย พบว่ายังไม่มีประเทศใดสามารถทำให้อัตราภาวะเจริญพันธุ์เพิ่มสูงขึ้นได้ภายในระยะเวลา 10-20 ปี ประเด็นที่สำคัญที่ต้องแก้ไขคือการปรับทัศนคติว่าการมีบุตรไม่ใช่เรื่องของแต่ละครอบครัวอย่างเดียวหากว่าเป็นเรื่องของส่วนรวมด้วย เนื่องจากเด็กๆของแต่ละครอบครัวจะเป็นทุนมนุษย์สำคัญของสังคม เป็นรากฐานทางเศรษฐกิจที่จะรองรับสัดส่วนประชากรสูงวัยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ประชากรวัยทำงานเป็นแหล่งรายได้ภาษีของภาครัฐเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายสวัสดิการให้ผู้สูงอายุ ประเทศไทยต้องใช้งบประมาณในการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี เฉลี่ยปีละ 7.6-7.7 แสนล้านบาท หรือ อย่างต่ำ 4.5% ของจีดีพี โดยมีกองทุนชราภาพ กองทุนประกันสังคมเป็นผู้รับผิดชอบดูแลสวัสดิการผู้สูงอายุที่ใหญ่ที่สุด แม้นสวัสดิการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี แต่งบประมาณที่จัดสรรไปสู่รายจ่ายทางด้านสวัสดิการสังคมของไทยยังอยู่ในระดับต่ำมากเมื่อเทียบกับจีดีพี คือ อยู่ที่ไม่เกิน 5% ประเทศสแกนดิเนเวียจะอยู่ที่ 29-30% ขณะที่รายจ่ายสวัสดิการสังคมต่องบประมาณของไทยจะอยู่ที่ 20% กว่าๆและมีแนวโน้มสูงขึ้น เรื่อย ๆ ภาวะดังกล่าวสะท้อนรายได้ภาษีต่อจีดีพีต่ำและยังขึ้นอยู่กับภาษีทางอ้อมและภาษีเงินได้เป็นหลัก  </p>
<p>รศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า มีความวิตกกังวลในระดับโลกและในไทยว่า เทคโนโลยีใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ หุ่นยนต์และเครื่องจักรอัตโนมัติอาจทำให้ตำแหน่งแรงงานมนุษย์หดหายมากเกินไปจนทำให้จีดีพีโดยรวมอาจลดลงได้ แต่แนวโน้มที่คาดการณ์ได้แน่ๆเลย ก็คือ ส่วนแบ่งจีดีพีที่เคยเป็นค่าจ้างแรงงานมนุษย์จะลดลงอย่างชัดเจน   ตนเสนอให้มีการปฏิรูประบบแรงงานรับมือสมองกลอัจฉริยะ หรือ AI และเพิ่มความเป็นธรรมและความสามารถแข่งขัน  การเร่งอัตราการขยายตัวทางผลิตภาพขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทยดีขึ้นและตอบโจทย์ปัญหาการขาดแคลนแรงงานมนุษย์ที่จะรุนแรงขึ้นในทศวรรษหน้า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI หุ่นยนต์ จักรกลอัตโนมัติจะทำให้อาชีพและตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงไปแบบพลิกโฉม จำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบการศึกษาเรียนรู้ ระบบพัฒนาทักษะ และ ระบบแรงงานทั้งระบบเพื่อให้ แรงงานมนุษย์สามารถทำงานร่วมกับ AI และ ระบบหุ่นยนต์ได้ดีขึ้น และ หลายอย่างสมองกลอัจฉริยะหรือ AI สามารถทำงานได้ดีกว่าแรงงานมนุษย์และเสริมการทำงานของมนุษย์ ระบบ Software คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณประกอบกับการใช้ Big Data และ Machine Learning สามารถทำงานทางด้านการวิเคราะห์ การคำนวณ การประเมินการลงทุน การศึกษา การวิจัย ได้อย่างดี เป็นต้น กรณีของไทย การว่างงานจากหุ่นยนต์ จักรกลอัตโนมัติและเอไอแย่งงานแรงงานมนุษย์ยังไม่รุนแรง และ สังคมยังมีแนวโน้มขาดแคลนแรงงานมนุษย์ อย่างไรก็ตาม หากในอนาคตการใช้เอไอมีผลกระทบต่อการจ้างงานแรงงานมนุษย์ควรใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานเข้มงวดเรื่องการเลิกจ้าง มากกว่า การใช้วิธีเก็บภาษีหุ่นยนต์และภาษีเอไอ เพราะการเก็บภาษีอาจไปสกัดกั้นการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีได้ 
 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107094
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 508 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 548 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 424 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 436 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 322 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.232 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 12 มีนาคม 2567 09:50:54