ภาคประชาชนยื่น 43,826 รายชื่อ เสนอร่าง กม. เพิ่มเงินบำนาญถ้วนหน้า เป็น 3 พันบาท
<span class="submitted-by">Submitted on Thu, 2023-12-21 18:18</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก/ภาพประกอบ: สหภาพคนทำงาน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ภาคประชาชนยื่น 43,826 รายชื่อ เสนอ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุและบำนาญแห่งชาติ แก้ ม. 11(11) เปลี่ยนสงเคราะห์เป็น ‘ถ้วนหน้า’ เพิ่มบำนาญเป็น 3,000 บาท ขอรองประธานสภาฯ ช่วยดันให้ผ่านด่านนายกฯ</p>
<p>21 ธ.ค. 2566 เพจเฟซบุ๊ก "
สภาองค์กรของผู้บริโภค" ถ่ายทอดสดออนไลน์วันนี้ (21 ธ.ค.) ที่อาคารรัฐสภา เมื่อเวลา 10.44 น.โดยประมาณ ภาคประชาชนหลากหลายกลุ่มยื่น 43,826 รายชื่อ เสนอ พ.ร.บ. ร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ พ.ศ. … ต่อปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร </p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="314" scrolling="no" src="
https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=314&href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Ftccthailand%2Fvideos%2F1103063787516287%2F&show_text=false&width=560&t=0" style="border:none;overflow:hidden" width="560"></iframe></p>
<p>ภาคประชาชนเชื่อว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้เปรียบเสมือนเครื่องมือช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เราเลยจะขอ รองประธานสภาฯ ว่าช่วยเชียร์ และส่งเสียงถึงนายกฯ เพราะว่ามันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องการเงิน ซึ่งต้องผ่านนายกฯ ก่อน และอยากให้มันถึงสภาฯ ให้ได้สภาฯ คุยกัน </p>
<p>นอกจากนี้ ทางภาคประชาสังคมเชื่อมั่นในตัวรองประธานสภาฯ เพราะว่าก่อนหน้านี้พรรค (พรรคก้าวไกล) ของปดิพัทธ์ หาเสียงเลือกตั้งชูนโยบายเรื่องนี้มาโดยตลอด เลยตั้งความหวังว่า ทางรองประธานสภาฯ จะช่วยส่งเสียงถึงนายกฯ ด้วยให้ผ่านร่างดังกล่าวด้วย</p>
<p>หลังจากนั้น ภาคประชาชนได้ยื่น 4 หมื่นรายชื่อ เสนอร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติฯ ให้กับ ปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎร </p>
<p>สำหรับความสำคัญของ พ.ร.บ.นี้ จะเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และจะแก้ไขไม่กี่มาตรา 11 (11) เดิมเขียนว่า ผู้สูงอายุจะได้เงินสงเคราะห์เพียงพอต่อการยังชีพ เขียนไว้แค่นี้เอง แต่สิ่งที่เราจะแก้ไข เราจะแก้ไขเป็น “ผู้สูงอายุต้องได้บำนาญถ้วนหน้า 3,000 บาท บนเส้นความยากจนที่เพียงพอ และจะขอให้มีการปรับเรทบำนาญทุกๆ 3 ปี” แก้มาตรานี้มาตราเดียว ขอมาตรานี้ก่อน สำหรับเส้นความยากจนปัจจุบัน อยู่ที่ 2,997 บาท ซึ่งอีก 3 บาท จะเท่ากับข้อเสนอบำนาญพื้นฐานแห่งชาติแล้ว </p>
<p>ตัวแทนของเครือข่ายผู้บริโภค ระบุว่า ประเทศต้องเดินไปข้างหน้า แต่การพัฒนา ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องอุตสาหกรรม และด้านวัตถุ แต่วันนี้เรามายื่นหนังสือ เพราะว่ามองว่าถึงเวลาที่เราต้องพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้สามารถอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ใช่วันละ 20 บาท วันนี้คิดว่า บำนาญพื้นฐานแห่งชาติ ต้องเพิ่มเป็น 3 พันบาท </p>
<p>เครือข่ายสลัม4ภาค กล่าวว่า เราทำเรื่องบำนาญเพื่อผู้สูงอายุมานานแล้วตั้งแต่ปี 2546 และคิดว่า ผู้สูงอายุในชุมชน หรือที่อื่นๆ เขาเสียภาษีมาตั้งแต่อายุยังเป็นวัยรุ่น พอเป็นผู้สูงอายุแล้ว บำนาญ 3 พันบาท น่าจะเกิดขึ้นได้แล้ว เราเคยไปยื่นมา 2 ครั้งแล้ว แต่นายกฯ เซ็นปัดตกทุกครั้ง ครั้งนี้มาใหม่เป็นครั้งที่ 3 เราอยากให้เพิ่มเงินบำนาญเป็น 3 พันบาทได้แล้ว เพื่อเป็นการประกันรายได้ให้ผู้สูงอายุ และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก และอยากให้นายกฯ เซ็นอนุมัติได้แล้ว</p>
<p>เครือข่ายพลังผู้สูงวัย กล่าวว่า ดิฉันยื่นบำนาญมากนานแล้ว แต่ถูกปัดตกตลอด ไม่รู้จะทำได้อีกนานเท่าไร ต่อให้ไม่ทันรุ่นเราก็อยากให้ทันรุ่นหลานเรา ก็จะได้สบายกว่านี้ จะได้ไม่มานั่งอดๆ อยากๆ ลูกบางคนไม่ได้มีกำลังทรัพย์มากมายเลี้ยงพ่อแม่ เพราะว่าเขามีภาระทางครอบครัวจะมาหวังจากเขาไม่ได้หรอก ยังไงฝากผ่านกฎหมายด้วย </p>
<p>ปดิพัทธ์ กล่าวว่า แม้ว่าภาคประชาชนจะเห็นตรงกันว่า ควรมีการแก้ไข พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ และเพิ่มเงินบำนาญ แต่ในรัฐธรรมนูญ ระบุว่า ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงินไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ต้องให้ฝ่ายบริหารเขาเป็นคนรับรองก่อนว่าจะเอาเข้าสภาฯ ได้หรือเปล่า และเราเองต้องทำตามรัฐธรรมนูญ แต่เขาอยากเรียกร้องนายกฯ ผ่านร่างดังกล่าว เพื่อให้มีการนำมาถกเถียงกันในสภาฯ ช่วยกันดูงบประมาณภาพรวม</p>
<p>"แต่ผมอยากจะเรียกร้องไปยังฝ่ายบริหารด้วยว่า เพราะตอนนี้มีกฎหมายที่ถูกตีความว่าเป็นการเงินจำนวนมาก ไม่ใช่เรื่องบำนาญอย่างเดียว แต่ 10 กว่าฉบับที่ถูกตีความว่าเป็นการเงิน ยังไม่ได้ถูกรับรอง ให้เข้ามาถกเถียงในสภาฯ ซึ่งเราเชื่อว่าจริงๆ แล้วต่อให้มันเป็นภาระทางการคลัง การได้เข้ามาถกเถียงในสภาฯ และช่วยกันดูงบประมาณภาพรวมว่าจะปรับลดอะไรตรงไหนได้บ้าง ส่วนนี้น่าจะถูกนำเข้ามาถกเถียงอะไรกันได้" รองประธานสภาฯ กล่าว</p>
<p>ปดิพัทธ์ กล่าวด้วยว่า แม้ว่าจะยื่นหนังสือให้สภาฯ แล้ว แต่ยังสามารถเข้าชื่อได้อยู่ผ่านช่องทางออนไลน์ และยิ่งเข้าชื่อมากเท่าไร จะยิ่งเน้นย้ำความสำคัญที่ประชาชนมีต่อร่างต่างๆ ด้วย </p>
<p>นอกจากนี้ ทางภาคประชาสังคมจะยื่นหนังสือถึง วันมูฮะหมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร และณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ประธานกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม สภาผู้แทนราษฎร</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53411773906_52f1a21678_b.jpg" style="width: 1024px; height: 768px;" /></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2023/12/107322