[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
02 กรกฎาคม 2568 00:52:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: "อุเตา" : เตารีดโบราณ (เตารีดถ่าน)  (อ่าน 780 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 6104


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
เวบเบราเซอร์:
Chrome 109.0.0.0 Chrome 109.0.0.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 11 ธันวาคม 2566 15:11:19 »





เตารีดโบราณ (เตารีดถ่าน)

เตารีดโบราณ หรือ เตารีดถ่าน เดิมเรียกว่า อุดเตา ทำด้วยเหล็กหรือทองเหลือง น้ำหนักมาก รูปร่างคล้ายเรือ มีหูทำด้วยไม้สำหรับจับไถหรือรีด ด้านในมีช่องสำหรับใส่ถ่านไฟ และเจาะช่องระบายความร้อนรอบตัว ในพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ “เรื่องเที่ยวมณฑลเพ็ชร์บูรณ์” พ.ศ.๒๔๔๗ กล่าวถึง “อุเตา” หรือ อุดเตา ว่าเป็นอุปกรณ์ใช้ในการรีดเครื่องนุ่งห่มและเครื่องนอนให้แห้งสนิทเช่นเดียวกับการตากแดด

สันนิษฐานว่าเตารีดโบราณพัฒนามาจากอุปกรณ์การรีดผ้าแบบดั้งเดิมของจีนที่มีลักษณะคล้ายหม้อหรือถ้วยก้นแบน สำหรับใส่ถ่านไฟ มีขอบสูง และมีด้ามจับเพื่อป้องกันความร้อน

การทำให้ผ้าเรียบเป็นความพยายามของมนุษย์ที่มีมาช้านานแล้ว เพื่อให้ผ้าที่สวมใส่ดูเรียบร้อยและพิถีพิถัน ในวัฒนธรรมจีนโบราณรวมไปถึงยุคกลางของยุโรป มีการนำก้อนถ่านร้อนๆ มาใส่ในภาชนะรูปร่างคล้ายหม้อหรือถ้วยมีด้ามจับ ก้นเรียบ นำไปรีดบนผืนผ้าเพื่อลดรอยยับ

ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ (พุทธศตวรรษที่ ๒๒ - ๒๓) เตารีดเหล็กที่เรียกว่า Sad Iron ใช้กันแพร่หลายในยุโรปและอเมริกา Sad เป็นคำในภาษาอังกฤษโบราณ หมายถึง Solid โดยอ้างอิงถึงลักษณะของเตารีดที่ทำด้วยเหล็ก หนาหนัก และมีความแข็ง อาจเรียกอีกชื่อว่า Flat Iron ตามลักษณะพื้นเตารีดที่แบน

ในประเทศไทยก็มีการใช้เตารีดลักษณะคล้ายกับ Flat Iron เป็นเตารีดที่มีรูปร่างคล้ายเรือ ทำด้วยเหล็กหรือทองเหลือง  มีหูทำด้วยไม้สำหรับจับไถหรือรีด ด้านในมีช่องสำหรับใส่ถ่านไฟ และเจาะช่องระบายความร้อนรอบตัว ในพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ “เรื่องเที่ยวมณฑลเพ็ชรบูรณ์” (พ.ศ.๒๔๔๗) เรียกเตารีดชนิดนี้ว่า ‘อุเตา’ หรือ อุดเตา โดยกล่าวถึงว่าเป็นอุปกรณ์ใช้ในการรีดเครื่องนุ่มห่มและเครื่องนอนให้แห้งสนิทเช่นเดียวกับการตากแดด

เตารีดไฟฟ้าเริ่มปรากฏขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ (พุทธศตวรรษที่ ๒๔) หลังจาก Henry Seely White ชาวอเมริกันได้จดสิทธิบัตรเตารีดไฟฟ้าเป็นคนแรก ทำให้ในเวลาต่อมาเกิดการพัฒนาเตารีดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากเตารีดไฟฟ้าของ Henry White ที่ร้อนได้เฉพาะเมื่ออยู่บนแท่นรองเท่านั้น มาเป็นเตารีดที่สามารถปรับเพิ่ม-ลดอุณหภูมิได้โดยไม่ต้องวางกลับไปบนแท่นรอง และเปลี่ยนพื้นเตาจากเหล็กเป็นอะลูมิเนียมซึ่งไม่ทำให้เกิดสนิม

ปัจจุบัน มีการคิดค้นและพัฒนาเตารีดขึ้นหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเตารีดไอน้ำ เตารีดพกพา เตารีดแรงดันไอน้ำ หรือเตารีดไอน้ำแบบยืน ทุกอย่างล้วนต่อยอดมาจากภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษที่คิดค้นและทดลองให้ได้มาซึ่งอุปกรณ์เครื่องใช้ที่เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่คนรุ่นหลัง



ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช (ที่มาข้อมูลและภาพประกอบ)

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.344 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 28 มิถุนายน 2568 08:23:27