[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 กรกฎาคม 2568 22:42:43 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - เวทีวิชาการของ สวรส. สะท้อนปัญหาแรงงานข้ามชาติยังเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพ ระบบ  (อ่าน 250 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 27 ธันวาคม 2566 06:59:54 »

เวทีวิชาการของ สวรส.  สะท้อนปัญหาแรงงานข้ามชาติยังเข้าไม่ถึงบริการสุขภาพ ระบบข้อมูลยังไม่เชื่อมกัน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Tue, 2023-12-26 14:03</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>แฟ้มภาพ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ประชุมวิชาการของ สวรส. สะท้อนปัญหายังมีแรงงานข้ามชาติที่เข้าไม่ถึงบริการรักษาสุขภาพแม้ไทยจะมีหลักประกันสุขภาพให้แรงงานข้ามชาติ แต่ก็ยังมีคนที่ตกหล่นจากปัญหาต่างๆ แม้ว่าแรงงานข้ามชาติเหล่านี้จะมีส่วนในการสร้าง GDP ให้ไทยเป็นสัดส่วนถึงประมาณ 6.2%</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53420589217_d235c88e25_b.jpg" /></p>
<p>26 ธ.ค.2566 ฝ่ายสื่อสารของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) รายงานประชุมวิชาการเรื่อง สุขภาพประชากรข้ามชาติ ขึ้น เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2566 เนื่องในวาระ‘วันผู้อพยพผู้ย้ายถิ่นฐานสากล’ หรือ International Migrants Day เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์และองค์ความรู้ด้านสุขภาพประชากรข้ามชาติระหว่างภาคนโยบาย ภาคปฏิบัติ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านสุขภาพประชากรข้ามชาติ โดยงานประชุมนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่าง สวรส., องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) องค์การอนามัยโลก (WHO) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงสาธารณสุข</p>
<p>ดร.สุรสักย์ ธไนศวรรยางค์กูร ที่ปรึกษาแผนงานสุขภาพประชากรข้ามชาติ สวรส. อธิบายว่า Migrant คือผู้ที่ไม่ใช่สัญชาติไทย (Non-Thai citizen) ที่อยู่ในประเทศไทย โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ 1) ผู้ที่มีเอกสารถูกต้อง ซึ่งมักเป็นแรงงานที่มีทักษะ เป็นผู้ที่เข้ามาประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ และเข้าเมืองมาแบบถูกกฎหมาย 2) แรงงานที่เข้ามาทำงานผ่านการทำ MOU กับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งสัญชาติเมียนมา ลาว กัมพูชา ซึ่งเข้าเมืองมาแบบถูกกฎหมาย และ 3) กลุ่มผู้ที่ไม่มีเอกสารใดๆ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเข้าเมืองผิดกฎหมาย แต่ก็มีกฎหมายบางมาตราที่เปิดช่องให้คนกลุ่มนี้ทำงานได้ชั่วคราว</p>
<p>อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากสำนักบริหารจัดการต่างด้าว กรมการจัดหางาน เมื่อเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีแรงงานข้ามชาติที่ลงทะเบียน 2.59 ล้านคน แบ่งเป็น เมียนมา 1.72 ล้านคน กัมพูชา 3.79 แสนคน ลาว 2.27 แสนคน เวียดนาม 1,398 คน และประเทศอื่นๆ 2.58 แสนคน ในจำนวนนี้มีถึง 54.6% หรือ 1.41 ล้านคน ที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล</p>
<p>ในแง่ประกันสุขภาพ จากการสำรวจในพื้นที่กรุงเทพมหานครพบว่า มีผู้ที่มีหลักประกันสุขภาพประมาณ 91% และในจำนวนนี้แบ่งเป็นเข้าสู่ระบบประกันสังคม 87% และซื้อบัตรประกันสุขภาพ 13% ซึ่งความท้าทายในเรื่องนี้ก็คือ การที่จะทำให้ประชากรข้ามชาติเข้าถึงหลักประกันสุขภาพได้นั้น รากฐานสำคัญคือระบบการเงินและงบประมาณ ถัดจากนั้นคือเรื่องนโยบายของประเทศ โดยต้องพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) ให้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนเชื่อมต่อระบบบริการระหว่างผู้ให้บริการสุขภาพกับประชากรข้ามชาติ ตลอดจนพัฒนาทัศนคติของผู้ให้บริการและระบบบริการให้มีความเข้าใจประชากรข้ามชาติ รวมถึงจัดทำระบบข้อมูลสุขภาพประชากรข้ามชาติให้มีความชัดเจน</p>
<p>ขณะที่ข้อมูลของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปัญหาสาธารณสุขชายแดนและพื้นที่เฉพาะ มีความซับซ้อนและเชื่อมโยงกับหลายปัจจัย ทั้งความไม่สงบของประเทศเพื่อนบ้าน การเคลื่อนย้ายประชากร โรคระบาดตามแนวชายแดน อาทิ อุจจาระร่วง ปอดอักเสบ ติดเชื้อเอชไอวี ไข้เลือดออก วัณโรค มาลาเรีย ตลอดจนปัญหาภาระค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บไม่ได้ของประชากรข้ามชาติ ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บไม่ได้ในสถานบริการสาธารณสุขของรัฐพื้นที่ชายแดน เฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 2,500 ล้านบาท</p>
<p>นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการ สวรส. กล่าวถึงความท้าทายและทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนของสุขภาพประชากรข้ามชาติ ตอนหนึ่งว่า การขับเคลื่อนแผนงานสุขภาพประชากรข้ามชาติของ สวรส. ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ CCS ถือเป็นกลไกที่ช่วยผลักดันให้เรื่องนี้เกิดการขับเคลื่อนที่เป็นรูปธรรม เนื่องจากเป็นกลไกความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสุขภาพประชากรข้ามชาติทั้งในและต่างประเทศ โดยมีการระดมงบประมาณจากแต่ละหน่วยงาน เพื่อสนับสนุนส่งเสริมสิทธิและความเป็นธรรมด้านสุขภาพในการเข้าถึงบริการสุขภาพของประชากรข้ามชาติและผู้ไม่มีสัญชาติไทยที่อยู่บนผืนแผ่นดินไทย ตลอดจนเสริมสร้างความเข้มแข็งในระบบการบริหารจัดการด้านสุขภาพสำหรับกลุ่มประชากรข้ามชาติ ซึ่งทำให้เห็นภาพของการขับเคลื่อนงานเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางมากขึ้น โดยการดำเนินงานในระยะถัดไป สวรส.จะขยับการทำงานจากการให้ทุนวิจัย สร้างองค์ความรู้ เป็นการเดินหน้าไปสู่การชักชวนเครือข่ายให้ลงมือปฏิบัติมากขึ้น พร้อมชวนผู้คนที่เกี่ยวข้องเร่งผลักดันเรื่องนี้ให้เห็นเป็นรูปธรรมต่อไป</p>
<p>นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า ตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมาของการดำเนินงานสร้างระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย สามารถช่วยให้ประชากรไม่ต้องล้มละลายจากค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล แต่คำถามที่เกิดขึ้นถัดมาคือ ระบบหลักประกันสุขภาพจะสามารถครอบคลุมคนได้มากกว่านี้อีกหรือไม่ ซึ่งอันที่จริงแล้วตามเป้าหมายสูงสุดของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มองไปถึงการดูแลทุกคนบนผืนแผ่นดินไทย ไม่ว่าจะเป็นสัญชาติใดก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงในปัจจุบันคือคนที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่เข้ามาอยู่อาศัยใช้ชีวิตอยู่ในประเทศ ซึ่งน่าจะมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 ล้านคน โดยมีทั้งกลุ่มที่เข้ามาอย่างถูกต้องตามระบบและมีหลักประกันสุขภาพ และกลุ่มที่เข้ามาอยู่ แต่ไม่สามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ ทั้งที่แรงงานข้ามชาติเหล่านี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้ต่อหัวของประชากรไทย หรือ<a name="_Hlk154491331" id="_Hlk154491331">จีดีพี คิดเป็นสัดส่วนถึงประมาณ 6.2%[/url]</p>
<p>“หากมองด้วยความเป็นธรรม ประชากรข้ามชาติเข้ามาทำงาน และเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้ประเทศ ซึ่งในหลายประเทศมีการให้บริการบางอย่างฟรีกับคนทุกคน เช่น การให้วัคซีน เนื่องจากไม่ได้เป็นประโยชน์เฉพาะคนที่ได้รับเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์กับชุมชนและคนรอบข้างด้วย หรืออย่างวัณโรค วิธีจัดการโรคคือการหาผู้ป่วยให้เจอและรักษาให้หายขาด เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่กระจายต่อ ฉะนั้นการให้บริการสุขภาพ จึงจำเป็นต้องดูแลทุกคนที่อยู่ในแผ่นดินไทย” นพ.ศุภกิจ กล่าว</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53421510311_f9d67c2d2c_b.jpg" /></p>
<p>ขณะที่ บุณยวีร์ เอื้อศิริวรรณ ผู้จัดการงานวิจัย และผู้จัดการแผนงานสุขภาพประชากรข้ามชาติ สวรส. ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า การระดมทุนจากหลายองค์กรมารวมกันไว้ที่เดียว(Pooled fund) เพื่อดำเนินการตามแผนสุขภาพประชากรข้ามชาตินั้น มีเจ้าภาพใหญ่ๆ ประกอบด้วย WHO สสส. และ สวรส. โดยนำเงินมารวมกันในบัญชีเดียวกัน และมีคณะกรรมการกำกับทิศ ทำหน้าที่กำหนดทิศทาง ติดตาม กำกับดูแลการดำเนินงานของแผนงาน ซึ่งประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับประเด็นปัญหาทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมในการขับเคลื่อน ทั้งนี้การดำเนินงานในระยะแรกของแผนงานสุขภาพประชากรข้ามชาติ สวรส. เน้นหนักไปที่การศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้ในมิติต่างๆ อาทิ การศึกษาปัจจัยระบบสุขภาพที่ส่งผลต่อการเข้าถึง ความเข้าใจและการประเมินข้อมูลสุขภาพของพนักงานและอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าวภายใต้การบริการที่เป็นมิตรสำหรับคนต่างด้าว, การสำรวจสถานการณ์แรงงานข้ามชาติในเมืองใหญ่และการส่งเสริมบทบาทภาคเอกชนในการพัฒนาระบบสุขภาพแรงงานข้ามชาติ และอื่นๆ  ส่วนการดำเนินงานในระยะถัดไป จะเน้นไปที่การทำงานเชิงรุก เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การส่งเสริมสนับสนุนสิทธิและความเป็นธรรมของประชากรข้ามชาติ โดย สวรส. จะผลักดันให้เกิดการเข้าถึงบริการของประชากรข้ามชาติ โดยเฉพาะการพัฒนาให้เกิดระบบหลักประกันสุขภาพสำหรับประชากรข้ามชาติ</p>
<p>“จากการประเมินการดำเนินงานในระยะแรก (ปี 2560-2564) พบความท้าทายที่ยังคงปรากฎอยู่คือ 1) ปัญหาการเข้าถึงบริการสุขภาพ ทั้งที่มาจากประชากรข้ามชาติเอง และจากผู้ให้บริการ, ภาษา, วัฒนธรรม 2) ปัญหาเชิงโครงสร้างและการจัดการของภาครัฐที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการ 3) การขาดความเชื่อมโยงของฐานข้อมูลประชากรข้ามชาติอย่างบูรณาการ ฉะนั้นในการดำเนินงานระยะถัดไป จะพยายามอุดช่องว่างเหล่านี้ให้ได้มากที่สุด ด้วยการจับมือกับภาคีในการทำงาน ตลอดจนการบูรณาการหน่วยงานกรม,กองต่างๆ ในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อจัดทำข้อมูลให้เป็นเอกภาพ แล้วจึงนำไปสู่การวิเคราะห์และการตัดสินใจเชิงนโยบายต่อไป รวมทั้งการบริหารจัดการเรื่องวัคซีนที่สำคัญสำหรับประชากรข้ามชาติด้วย” บุณยวีร์ ระบุ</p>
<p>ทั้งนี้ในเวทีดังกล่าว ยังมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการศึกษาวิจัยสุขภาพประชากรข้ามชาติ เช่น การศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์ด้านจิตเวช สำหรับคนต่างชาติและประกันสุขภาพบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิในประเทศ ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจาก สวรส. โดยงานวิจัยดังกล่าวพบว่า ปัญหาสุขภาพจิตถือเป็นปัญหาสำคัญในกลุ่มแรงงานต่างด้าวและบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ โดยสาเหตุหลักเป็นผลมาจากปัจจัยเชิงโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจ เช่น การไม่มีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย สภาพแวดล้อมที่ทำงานเสื่อมโทรม ส่งผลเสียต่อสุขภาพ รวมถึงการย้ายถิ่น ทำให้ต้องปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างทางภาษาและวัฒนธรรม</p>
<p>แม้ว่าประเทศไทยจะมีนโยบายที่เปิดให้คนไม่มีสัญชาติไทยเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ (UHC) รวมถึงมีนโยบายขายประกันสุขภาพให้คนไม่มีสัญชาติไทย แต่ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ยังมีคนที่ตกหล่น ไม่มีหลักประกันสุขภาพอยู่จำนวนไม่น้อย นอกจากนี้ แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะมีมาตรการและแนวทางการดำเนินงานตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวและผู้ติดตาม แต่ในการประกันสุขภาพไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มผู้ป่วยจิตเวช สถานพยาบาลส่วนใหญ่ที่รับรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เพราะผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่สามารถชำระค่ารักษาพยาบาลได้ และไม่มีประกันสุขภาพใดรองรับ</p>
<p>ด้านข้อเสนอจากงานวิจัยเพื่อการปรับปรุงชุดสิทธิประโยชน์ มี 3 ประเด็น</p>
<p>1) สิทธิประโยชน์และความครอบคลุมประกันสุขภาพ โดยเสนอให้กองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ ซึ่งทำหน้าที่ดูแลบัตรประกันสุขภาพคนต่างด้าวและกองทุนบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ พิจารณาปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้ครอบคลุมเรื่องโรคที่สำคัญๆ เช่น โรคทางจิตเวช รวมถึงอาจพิจารณาเพิ่มมาตรการด้านการเงินอื่นๆ เพื่อให้สอดคล้องหรือเพียงพอกับค่าใช้จ่ายภายใต้สิทธิประโยชน์ นอกจากนี้ควรมีนโยบายและแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินงานด้านการคัดกรองโรคจิตเวชเชิงรุกในชุมชน รวมถึงมาตรการด้านงบประมาณที่ชัดเจน</p>
<p>2) สร้างองค์ความรู้ให้กับ อสต. ควรมีการพัฒนาหลักสูตรการเข้าถึงบริการและดูแลผู้ป่วยโรคจิตเวชสำหรับ อสต. เพื่อให้ อสต. เฝ้าระวัง คัดกรอง ติดตามช่วยเหลือในชุมชน และควรพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาผู้ป่วยจิตเวช</p>
<p>3) การเพิ่มช่องทางการสื่อสารสิทธิด้านสุขภาพและการเข้ารับบริการ โดยกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการปรับรูปแบบการสื่อสารด้านสิทธิประโยชน์ของประกันสุขภาพคนต่างด้าวให้หลากหลายขึ้น เช่น การลงพื้นที่เพื่อสื่อสารเชิงรุก ควรสนับสนุนการจัดจ้างล่ามในโรงพยาบาลที่มีคนต่างด้าวมาใช้บริการ มีสื่อฉบับแปลภาษา พร้อมกันนี้นายจ้างหรือสถานประกอบการควรมีการแจ้งสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลให้กับลูกจ้างมากขึ้น</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2023/12/107387
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.934 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 01 กรกฎาคม 2568 13:16:24