'ก้าวไกล' ชี้งบแก้ไขปัญหาที่ดินปี'67 น้อย เกษตรกรไร้เอกสารสิทธิ์เสี่ยงเจอ 2 วิกฤต
<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-01-05 13:11</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>'เลาฟั้ง' สส.ชาติพันธุ์ พรรคก้าวไกล ส่องงบ 6 หน่วยงานแก้ปัญหาที่ดินปี'67 น้อยจนต้องถามหาความจริงใจ เกษตรกรไร้เอกสารสิทธิ์เสี่ยงเผชิญ 2 วิกฤต เอลนิญโญ-EUDR พร้อมเสนอแนะต้องเปลี่ยนวิธีจัดสรรงบฯ ใหม่ ให้ชาวบ้านเข้าถึงสิทธิที่ดินทำกินอย่างทั่วถึง</p>
<p> </p>
<p>5 ม.ค. 2567 ยูทูบ
TPchannel ถ่ายทอดสดออนไลน์วานนี้ (4 ม.ค.) การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 2 (สมัยสามัญที่ 2) ประจำวันที่ 4 ม.ค.2566 ที่รัฐสภา เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สส.แบบบัญชีรายชื่อ สัดส่วนชาติพันธุ์ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่าเขาไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2567 เนื่องจากส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขที่ดิน ไม่ตอบโจทย์การแก้ไขวิกฤตของประชาชนได้จริง</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="
https://www.youtube.com/embed/V2p3o3RiOeM?si=jkRAzfCPbV1WN6hi" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ปัญหาเชิงโครงสร้าง ทำคนไร้สิทธิที่ดินทำกิน</span></h2>
<p>เลาฟั้ง ยกกรณีของ 'แสง' (นามสมมติ) วัยกลางคน รายหนึ่ง เธออาศัยที่บ้านแม่เลาะ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เธอและสามีมีบุตรด้วยกัน 4 คน มีอาชีพเป็นเกษตรกร มีที่ดิน 2 แปลง แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ เนื่องจากอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ครอบครัวแสงและสามีปลูกข้าว และถั่วเหลือง ไว้กินและขายเป็นเงินสำหรับเลี้ยงดูครอบครัว</p>
<p>ในปี 2558 คสช. (คณะรักษาความสงบแห่งชาติ) มีนโยบาย “ทวงคืนผืนป่า” เจ้าหน้าที่ป่าไม้และทหารสนธิกำลังเข้าตรวจยึดที่ดินของชาวบ้านที่หมู่บ้านแม่เลาะ และที่ดินของแสง ถูกยึดไป 1 แปลง โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นพื้นที่บุกรุกป่า เมื่อเหลือที่ดินทำกินแปลงเดียว แสงจึงใช้ปลูกถั่วเหลือง เพื่อนำเงินไปซื้อข้าว แต่ปลูกได้เฉพาะหน้าฝนเท่านั้น เนื่องจากไม่มีนา เมื่อไม่สามารถที่จะปลูกได้และขายได้เงินน้อย ประกอบกับลูกสาวคนโตป่วยเป็นโรคไต และต้องพาไปฟอกไตที่จังหวัดเชียงใหม่ เดือนละ 1 ครั้ง ทำให้แต่ละเดือนต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น สามีของแสง ต้องไปทำงานรับจ้างในจังหวัดเชียงใหม่ ขณะนี้เวลาได้ผ่านไป 8 ปี ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่ดินที่ถูกยึด เหมือนว่าจะถูกยึดถาวร ที่ดินที่เหลืออยู่ไม่มีท่าทีว่าจะได้รับเอกสารสิทธิ์ ไม่มีระบบชลประทานทำให้หน้าแล้งไม่มีน้ำ ไม่มีการช่วยเหลือใดๆ จากรัฐ</p>
<p>เลาฟั้ง ระบุว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นของแสง เกี่ยวอะไรกับงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลที่เรากำลังพูดถึงนี้ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวชาติพันธุ์หมู่บ้านแม่เลาะไม่ได้เกิดขึ้นกับคนโชคร้ายเพียงบางคน หากแต่มีคนไทยจำนวนมากกว่า 2 ล้านครอบครัวกำลังตกอยู่สถานการณ์เดียวกับแสง และครอบครัว </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ไม่ได้มีแค่ชาติพันธุ์บ้านแม่เลาะคนเดียว</span></h2>
<p>เลาฟั้ง กล่าวต่อว่า ข้อมูลที่ปรากฏอย่างเป็นทางการขณะนี้มีคนไทยที่ถือครองที่ดินอยู่อาศัย และทำกิน โดยไม่มีเอกสารสิทธิ์ ซึ่งรัฐเรียกว่าบุกรุกป่าจำนวน 16.7 ล้านไร่ สำหรับกลุ่มที่มีสถานะดีขึ้นมาหน่อย มีโอกาสที่จะได้รับเอกสารสิทธิ์ แต่เจ้าหน้าที่ไม่ไปทำให้ คือกลุ่มที่ถือเอกสาร สค.1 จำนวน 1.5 ล้านไร่ และกลุ่มที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดิน 14 ล้านไร่ และกลุ่มไร้ที่ดิน 120,000 ครอบครัว สถานะนี้ทำให้พวกเขาเหมือนบุกรุกป่าในที่ดินของตัวเอง เขาสามารถถูกตรวจยึดและดำเนินคดีเมื่อไรก็ได้ </p>
<p>“แสงไม่ได้โชคร้าย แต่เป็นคนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายไม่เป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นการละเลย หรือจงใจของผู้มีอำนาจ นี่เป็นวิกฤตของคนจน คนกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่เคยถูกมองเห็น” เลาฟั้ง กล่าว</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53443432331_606d43de56_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จริงใจแก้ไขปัญหาออกเอกสารสิทธิ์หรือไม่ ลองดูที่งบฯ</span></h2>
<p>เลาฟั้ง ระบุต่อว่า เราจะดูว่ารัฐบาลจริงใจต่อการแก้ไขปัญหาที่ดินที่ไม่มีเอกสิทธิ์หรือไม่ ต้องดูที่งบฯ จัดทำเอกสารสิทธิ์แก่ประชาชนหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ถ้าตั้งน้อย หรือสอดไส้ แสดงว่ารัฐบาลตั้งใจที่จะไม่ทำ</p>
<p>เลาฟั้ง ตรวจสอบเอกสารงบประมาณที่เกี่ยวกับที่ดินกระจายอยู่อย่างน้อย 6 หน่วยงาน พบปัญหาว่าบางหน่วยงานได้งบฯ น้อยมาก ขณะเดียวกัน หน่วยงานอย่าง กรมที่ดิน ได้งบประมาณเยอะ แต่งบฯ ที่เกี่ยวกับการรังวัดที่ดิน และออกเอกสารสิทธิ์กลับมีน้อย และถูกแบ่งเป็นงบฯ ก่อสร้างอาหาร ทำให้มีความเคลือบแคลงเรื่องการแก้ไขปัญหาให้ประชาชน จะสามารถทำได้จริงหรือไม่</p>
<p>ยกตัวอย่าง กรณีกรมที่ดิน มี 2 โครงการ 1. โครงการออกโฉนดที่ดิน งบประมาณ 220 ล้านบาท และ 2. โครงการจัดที่ดินเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ 149 ล้านบาท รวม 369 ล้านบาท ซึ่งเหมือนจะเยอะ แต่งบฯ ใช้สำรวจรังวัดและจัดทำที่ดินทำกิน แก้ไขปัญหาที่ดิน มีแค่ 235 ล้านบาท หรือ 68% ที่เหลือเป็นงบก่อสร้าง</p>
<p>โครงการจัดที่ดินเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ปกติใช้จัดที่ดินให้ชาวบ้านเพียง 32 ล้านบาท หรือ 21% ของงบฯ เท่านั้น ที่เหลือ 79 % เอาไปใช้ก่อสร้าง นอกจากนั้นเมื่อดูสถิติเทียบย้อนหลังก็ชวนให้ตั้งคำถาม เพราะงบฯ ปี 2567 ถูกตั้งไว้กว่าช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่กลับลดพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการลง</p>
<p>เลาฟั้ง ระบุต่อว่า เมื่อดูจำนวนการออกโฉนดที่ดินของกรมที่ดินที่ผ่านมา จำนวนเอกสาร และโฉนดที่ดิน เพิ่มขึ้น 3.2 ล้านแปลง แต่ตัวเลขพื้นที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย แสดงว่าการออกโฉนดที่ดินทำแต่เพียงการรังวัด เพื่อซอยแบ่งแปลงโฉนดเดิม อาจเพื่อทำบ้านจัดสรร แบ่งมรดกที่ดิน และซอยที่ดินเพื่อแบ่งขาย ไม่ได้รังวัดสำรวจที่ดินเพื่อออกโฉนดรายใหม่ให้กับประชาชนที่ต้องการ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53443842830_eab17ee3df_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ธนาคารที่ดิน ความหวังคนจน ได้งบฯ ไม่ถึงครึ่ง</span></h2>
<p>สำหรับธนาคารที่ดิน หรือสถาบันบริหารจัดการที่ดิน (บจท.) ถือเป็นความหวังของคนจนที่มีจำนวนมากกว่า 620,000 ครอบครัว ให้สามารถเข้าถึงสิทธิในที่ดิน และเป็นกลไกป้องกันให้ที่ดินเกษตรกรไม่หลุดไปยังนายทุน แต่เมื่อดูร่างแผนงบประมาณแล้วตั้งงบฯ 500 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายดำเนินการ 15 พื้นที่ ดูเหมือนเยอะ แต่เมื่อดูจากยุทธศาสตร์ 5 ปีของ บจท. แล้ว งบกลับไม่ถึงครึ่งหนึ่งตามยุทธศาสตร์ที่ บจท.วางไว้</p>
<p>สส.ชาติพันธุ์ พรรคก้าวไกล ระบุต่อว่า ธนาคารที่ดินมีความสำคัญในการกระจายการถือครองที่ดินให้ประชาชน เพราะฉะนั้น ควรได้รับเงินสนับสนุนอย่างเพียงพอจากรัฐบาล อย่างน้อยต้องตั้งงบประมาณสมทบธนาคารที่ดินไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาทตามยุทธศาสตร์ของ บจท. ถ้ายังตั้งงบฯ น้อยอย่างนี้จะเป็นความหวังของคนจนได้อย่างไร</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">งบฯ กรมป่าไม้-อุทยาน เน้นสร้าง แล้วประชาชนอยู่ไหน</span></h2>
<p>เลาฟั้ง ระบุว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานที่มีที่ดินที่ต้องดำเนินการเร่งรัดออกเอกสารสิทธิ์ให้กับประชาชนให้มากที่สุด 16.7 ล้านไร่เป็นอย่างน้อย เป็นกลุ่มที่ถูกจัดเป็นผู้บุกรุกป่าในที่ดินของตัวเอง และไร้ซึ่งสิทธิทั้งปวง ขณะนี้นโยบายอนุญาตให้ทำประโยชน์ชั่วคราวแบบมีเงื่อนไข มีลักษณะเดียวกับการเช่าที่ให้เขตป่า ชาวบ้านเรียกว่ามัดมือชก</p>
<p>'กรมป่าไม้' ตั้งงบประมาณแก้ไขปัญหาที่ดิน 1,300 ล้านบาท แต่ถูกสำนักงบประมาณ ตัดเหลือ 292 ล้านบาท หรือได้แค่ 13% ของที่ขอไป ในจำนวนนี้ใช้แก้ไขปัญหาที่ดินจริงๆ 84 ล้านบาท หรือ 28 % งบฯ ส่วนใหญ่ถูกใช้ในการซื้อรถ และก่อสร้าง ซึ่งไม่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาที่ดินให้ชาวบ้าน</p>
<p>สำหรับกรมอุทยาน ตั้งงบฯ แก้ไขปัญหาที่ดินเอาไว้ 321 ล้านบาท เป็นงบฯ สำหรับเตรียมข้อมูลเพื่อออกหนังสืออนุญาตให้ทำประโยชน์ 106 ล้านบาท โดยมีพื้นที่เป้าหมายดำเนินการ 250 ชุมชน นอกจากนี้ พบด้วยว่า 214 ล้านบาท หรือ 66% ถูกนำไปใช้ซื้อรถ และก่อสร้าง ที่ไม่เกี่ยวกับออกเอกสารสิทธิ์ให้กับประชาชน </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53442506777_e6b50fd181_b.jpg" /></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เสนอโยกงบฯ ปราบปราม มาแก้ไขปัญหาที่ดิน</span></h2>
<p>เลาฟั้ง กล่าวว่า ส่วนงบฯ ปกป้องและปราบปรามไว้สูงมาก โดยปี 2567 ตั้งรวมกัน 3,722 ล้านบาท สูงกว่างบฯ แก้ไขปัญหาที่ดิน 6 เท่า คำถามคือทำไมไม่เอางบประมาณส่วนนี้ไปไว้ในงบฯ แก้ไขปัญหาที่ดิน เพราะหากสามารถจัดทำรังวัดแนวเขต ออกเอกสารสิทธิ์ให้แก่ประชาชนแล้วเสร็จ ก็จะไม่มีใครสามารถบุกรุกแผ้วถางป่าได้อีกต่อไป</p>
<p>อีกงบประมาณที่อยากให้รัฐบาลทบทวน คืองบฯ ฟื้นฟูป่า 1,160 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายฟื้นฟู 63,000 ไร่ ฟังแล้วเหมือนจะดูดี เพราะจะทำให้ประเทศไทย มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น 6 หมื่นไร่ แต่พอไปสืบค้นดู พบว่าพื้นที่เป้าหมายปลูกป่านั้นไปโผล่ในพื้นที่ดินทำกินของชาวบ้าน นี่คืองบประมาณแย่งยึดสิทธิของชาวบ้านนี่เอง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">กระทรวงเกษตรฯ งบออก สปก. เปลี่ยน สปก.เป็นที่ดินการเกษตร น้อย</span></h2>
<p>กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบในที่ดิน สปก. และนิคมสหกรณ์ สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม ได้ตั้งงบประมาณเกี่ยวกับการออก สปก.ทั้งหมด 186 ล้านบาท ในการดำเนินการในพื้นที่ สปก.มี 2 ประการ การเปลี่ยน สปก.ให้เป็นโฉนดการเกษตร ตามนโยบายของรัฐบาล และดำเนินการรังวัดเพื่อออก สปก.รายใหม่ มีทั้งหมด 14 ล้านไร่ทั่วประเทศ ขณะที่การเปลี่ยน สปก.ให้เป็นโฉนดที่ดินเพื่อการเกษตร ไม่พบการตั้งงบประมาณไว้ สำหรับดำเนินการเป็นการเฉพาะ </p>
<p>การรังวัดและออก สปก.ใหม่ให้กับประชาชนนั้นควรร่างแผนงบประมาณไม่ได้กำหนดชัดว่าตั้งเป้าหมายว่าจะดำเนินการกี่ราย กี่แปลง หรือใช้งบประมาณเท่าไร หมายความว่าการเปลี่ยน สปก.ให้เป็นโฉนดการเกษตร การออก สปก.รายใหม่ การตรวจสอบที่ดิน สปก. ล้วนอยู่ในงบประมาณก้อนนี้ทั้งหมด และเฉลี่ยแล้วตกจังหวัดละ 2.4 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณที่น้อย รัฐบาลจะเปลี่ยนโฉมหน้า สปก.ให้มีสถานะเทียบเท่ากับโฉนด แต่ตั้งงบฯ ไว้น้อย คำถามคือตกลงจะทำจริงหรือเปล่า</p>
<p>นอกจากนี้ เลาฟั้ง อภิปรายถึงปัญหางบฯ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่ได้งบฯ แก้ไขที่ดินทำกินในนิคมสหกรณ์ น้อยมาก โดยได้ 2.2 ล้านบาท จาก 13 แห่ง</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ทำ One Map ล่าช้า</span></h2>
<p>หน่วยงานที่ 5 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ตั้งงบฯ 19 ล้านบาท สำหรับทำการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ ที่เรียกว่า "One Map" การปรับปรุงแผนที่ One Map เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานราชการ และประชาชน โดยเฉพาะกรณีที่มีแนวเขตที่ทับซ้อนกับป่า เช่น แนวเขตปฏิรูปที่ดินทับซ้อนกับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ เจ้าหน้าที่จะไม่ไปออก สปก.ให้ หากไม่มีการเพิกถอนพื้นที่แนวเขตป่าส่วนที่ทับซ้อนเสียก่อน ซึ่งความจริงแล้ว ตามแผนปฏิบัติเดิม ต้องทำให้แล้วเสร็จ พ.ศ. 2535 แต่ปัจจุบัน ผ่านไปแล้ว 7 ปี ใช้งบประมาณแล้ว 5 พันล้านบาท ดำเนินการแล้วเสร็จ 33 จังหวัด เฉลี่ยแล้วใช้งบฯ 178 ล้านบาท </p>
<p>ข้อสังเกตก็คือว่าช่วงที่ผ่านมาทำงานช้ากว่ากำหนดมาก แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่อยากให้แล้วเสร็จ เพราะการทำแผนที่ One Map ประชาชนได้ประโยชน์ แต่ผู้มีอำนาจและนายทุนที่ดินเสียผลประโยชน์ เมื่อดูร่างแผนงบประมาณ 2567 รัฐบาลกำหนดเป้าหมายเพียง 27 จังหวัด ทั้งที่สามารถทำให้แล้วเสร็จได้ทั่วประเทศเลยก็ได้ เพราะการทำแผนที่ One Map ใช้วิธีการบูรณาการให้แต่ละจังหวัด โดยผู้ว่าฯ เป็นเจ้าภาพ บูรณาการทำจังหวัดใครจังหวัดมัน ที่เหลือ 40 กว่าจังหวัด สามารถทำได้พร้อมๆ กันเลยก็ได้ ไม่ต้องรอ หรือรัฐบาลนี้ไม่ต้องการทำให้แล้วเสร็จเช่นกัน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ผู้มีอำนาจหรือนายทุนที่ดิน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ชาวบ้านไร้เอกสารสิทธิ์ เสี่ยงเผชิญ 2 วิกฤตเอลนิญโญ-ระเบียบโลกใหม่ 'EUDR' </span></h2>
<p>สส.พรรคก้าวไกล ระบุว่า การออกเอกสารสิทธิ์ให้ประชาชนล่าช้า นอกจากประชาชนสูญเสียโอกาสการใช้ที่ดิน และการช่วยเหลือจากรัฐ ในระยะเวลาอันใกล้นี้ต้องเผชิญวิกฤตที่ดินอย่างน้อย 2 ประการ </p>
<p>1. วิกฤตภัยแล้งจากปรากฏการณ์ เอลนิญโญ ที่รุนแรงและต่อเนื่องยาวนานกว่า 2 ปี และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ เกษตรกร และรัฐจะจำกัดการช่วยเหลือเฉพาะที่ๆ มีเอกสารสิทธิ์ สำหรับพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์กว่า 30 ล้านไร่ และไม่มีโอกาสเข้าถึงโครงความช่วยช่วยเหลือจากภาครัฐ</p>
<p>2. วิกฤตระเบียบโลกใหม่ด้านสิ่งแวดล้อม จะไม่อนุญาตให้มีการค้าขายสินค้าที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำลายป่า ซึ่งหมายความรวมถึงผลผลิตที่มาจากที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ด้วย</p>
<p>เมื่อเดือน มิ.ย. 2566 สหภาพยุโรป ได้ประกาศปลอดสินค้าที่มาจากการทำลายป่า เรียกว่า EUDR (กฎระเบียบที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป) กำหนดให้การนำเข้าสินค้า 7 ประเภท ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ กาแฟ โกโก้ และถั่วเหลือง รวมถึงผลิตภัณฑ์จากสินค้าแปรรูป ต้องไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดไม้ทำลายป่า หรือมาจากพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์</p>
<p>จากการศึกษาของธนาคารกรุงศรีฯ ระบุว่า กฎหมาย "EUDR" จะกระทบภาคการเกษตรของไทยอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสินค้า 7 ประเภทนี้ ซึ่งมีมูลค่ารวมถึง 64,000 ล้านบาท เนื่องจากพื้นที่เกษตรกรรมของไทยจำนวนมากไม่มีเอกสารรับรองสิทธิ์</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เร่งรัดการทำเอกสารสิทธิ์ ลดงบฯ รายจ่ายไม่จำเป็น </span></h2>
<p>สส.ชาติพันธ์ุ ระบุว่า เขามีข้อเสนอถึงรัฐบาลดังนี้</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53443752244_774d4564a2_b.jpg" /></p>
<p><strong>ปัญหาการออกเอกสารสิทธิ์</strong></p>
<ul>
<li>กรณีที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ให้เพิ่มงบฯ สำหรับจัดซื้อเครื่องมือสำหรับรังวัดจัดทำแนวเขตที่ดินทันสมัย</li>
<li>เพิ่มงบฯ ลงพื้นที่สำหรับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการให้สามารถลงพื้นที่ ที่สำคัญที่สุดต้องตัดงบฯ ซื้อรถยนต์และงบที่ไม่จำเป็นออก แก้ไขปัญหาที่ดิน แต่เอาไปสร้างอะไรที่ไม่เกี่ยวกับการทำงาน</li>
</ul>
<p><strong>ไร้ที่ดินทำกิน</strong></p>
<ul>
<li>กรณีช่วยเหลือคนไร้ที่ดิน 620,000 ครอบครัว ให้ตั้งงบประมาณสำหรับเร่งรัดออก พ.ร.บ.จัดตั้งธนาคารที่ดิน พร้อมระเบียบต่างๆ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2567 </li>
<li>ต้องเร่งตั้งงบประมาณตามยุทธศาสตร์ที่ดิน ของ บจท. อย่างน้อย 1,000-1500 ล้านบาท งบประมาณนี้ถูกกำหนดไว้ในแผน บจท.แล้ว แต่รัฐบาลไม่ให้ความสำคัญ สำหรับรัฐบาลชุดนี้ให้เพียงแค่ไม่ถึงครึ่ง</li>
</ul>
<p><strong>ปัญหาที่ดินทับซ้อน</strong></p>
<ul>
<li>แนวเขตที่ดินทับซ้อน ต้องตั้งงบประมาณให้กระทรวงมหาดไทยเร่งบูรณาการจัดทำแผนที่ One Map ให้แล้วเสร็จ อย่าลืมว่ามีที่ดินของประชาชนที่ถูกพื้นที่ป่าทับจำนวนมาก ถ้าสามารถที่จะแก้ไขปัญหาตรงนี้ได้ จะทำให้พื้นที่จำนวนมากของประชาชนดำเนินการออกเอกสารสิทธิ์ได้ </li>
<li>พัฒนาติดตั้งระบบสารสนเทศที่ดินสำหรับการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ และให้บริการแก่ประชาชน </li>
</ul>
<p>"รัฐบาลเคยประกาศนโยบายออกเอกสารสิทธิ์ 50 ล้านไร่ทั่วประเทศ และมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิในที่ดินจริง จำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการจัดงบประมาณใหม่ เพราะหากยังจัดสรรงบประมาณแบบเดิม งบฯ แบบเดิมๆ แบบนี้เราคงไม่มีโอกาสที่จะมองเห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ เอกสารสิทธิ์ที่ดินที่จะตกถึงมือของประชาชนอย่างถ้วนหน้าได้จริงคงไม่เกิดขึ้น คนชายขอบ คนชาติพันธุ์ คงไม่มีโอกาสที่จะได้รับสิทธิในที่ดินอย่างแท้จริง และวิกฤตที่ดินจะแก้ไขได้อย่างไร" เลาฟั้ง ทิ้งท้าย</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">/url]</div><div class="field-item odd"><a href="/category/%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%9B%E0%B8%B5-2567" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">อภิปรายงบประมาณปี 2567[/url]</div></div></div><div class="field field-name-field-promote-end field-type-text field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even">ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2024/01/107506 







