[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
01 พฤศจิกายน 2567 06:36:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ‘พริษฐ์’ ชี้ผลสอบ PISA สะท้อนวิกฤติการศึกษาไทย-เสนอผ่าตัดหัวใจงบ 4 ห้อง หวังกระจาย  (อ่าน 120 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 05 มกราคม 2567 22:25:29 »

‘พริษฐ์’ ชี้ผลสอบ PISA สะท้อนวิกฤติการศึกษาไทย-เสนอผ่าตัดหัวใจงบ 4 ห้อง หวังกระจายอำนาจให้โรงเรียน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-01-05 21:30</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>5 ม.ค. 2566 TP Channel ถ่ายทอดสดออนไลน์ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 5 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายภาพรวมงบประมาณด้านการศึกษา ในการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วันสุดท้าย</p>
<p>พริษฐ์ตั้งคำถามถึงประเด็นที่รัฐบาลบอกว่าประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤติ แต่ทำไมการจัดสรรงบประมาณที่เกิดขึ้นกลับไม่สอดคล้องกับวิกฤติ  เสมือนไม่มีอยู่จริง แม้แต่ละพรรคจะมีมุมมองต่อวิกฤติมากมายที่ต่างกัน บางวิกฤติอาจเป็นเรื่องเร่งด่วนสำหรับบางคน แต่พริษฐ์เชื่อว่า ‘วิกฤติการศึกษา’ เป็นวิกฤติเร่งด่วนที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันมากที่สุด</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">3 วิกฤติการศึกษาไทย: ทักษะถดถอย ความเหลื่อมล้ำ และความเป็นอยู่ของเด็ก</span></h2>
<p><font color="#2980b9"><a data-flickr-embed="true" href="https://www.flickr.com/photos/199800059@N04/53444132208/in/dateposted-public/" title="1"><img alt="1" height="576" src="https://live.staticflickr.com/65535/53444132208_6fa14cb539_b.jpg" width="1024" />[/url]</font></p>
<p>จากผลการประเมิน PISA ซึ่งวัดคุณภาพของระบบการศึกษาแต่ละประเทศทั่วโลก ถูกเผยแพร่ล่าสุดเมื่อปลายปี 2566 ได้ตอกย้ำ 3 วิกฤตการศึกษาไทยที่เรื้อรังมานาน ได้แก่ สมรรถนะ ความเหลื่อมล้ำ และความเป็นอยู่</p>
<ul>
<li>‘สมรรถนะ’ ที่เด็กมีทักษะสู้ต่างชาติไม่ได้ ผ่านการถดถอยทางทักษะอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการอ่าน</li>
<li>‘ความเหลื่อมล้ำ’ จากโอกาสทางการศึกษาที่ไม่เท่ากัน คือ เด็กที่ผู้ปกครองมีกำลังส่งเข้าโรงเรียนชั้นนำมักมีทักษะเทียบเคียงกับเด็กต่างประเทศ แต่จากผลการประเมินพบว่าเด็กส่วนใหญ่ของประเทศยังขาดทักษะในการนำความรู้มาใช้งานได้จริง </li>
<li>‘ความเป็นอยู่’ ที่ทำให้เด็กไทยไม่มีความสุขในโรงเรียนทั้งสุขภาพกายและใจ คือ เด็กไทยต้องอดอาหารเป็นอันดับ 4 ของโลก เกือบ 3 ใน 10 ต้องอดอาหารอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์เพราะไม่มีเงินซื้ออาหาร นอกจากนั้น เด็กไทยยังรู้สึกไม่ปลอดภัยในโรงเรียนสูงเป็นอันดับ 4 ของโลกเช่นกัน ทั้งสองปัจจัยนี้ส่งผลให้เด็กไทยต้องเข้าเรียนท่ามกลางความรู้สึกหวาดกลัวและหิวโหย ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน</li>
</ul>
<p>พริษฐ์ตั้งคำถามว่าทำไมปัญหาเหล่านี้ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ถึงยังไม่ถูกแก้ไข และชวน สส. ร่วมคิดหาทางออกของวิกฤติที่เกิดขึ้นจนเป็นปัญหาเรื้อรังในระบบการศึกษาไทย เนื่องจากตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา นักเรียนไทยได้ขึ้นชื่อว่า ‘เรียนหนัก’ และมีชั่วโมงเรียนเยอะเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ด้านครูก็มีภาระงานที่นอกเหนือจากการสอนในห้องเรียน เช่น เป็นภารโรง นักบัญชี พ่อครัว-แม่ครัว เป็นต้น นอกจากนั้น ประเทศไทยยังมีการลงทุนด้านงบประมาณการศึกษาไม่น้อยไปกว่าประเทศอื่น</p>
<p>“ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นชัดว่า ปัญหาหลักของระบบการศึกษาไทยนั้นไม่ใช่เรื่องปริมาณของทรัพยากร แต่ปัญหาหลักของระบบการศึกษาไทยนั้นอยู่ที่ประสิทธิภาพของการจัดสรรทรัพยากรต่างหาก” พริษฐ์กล่าว</p>

<h2><span style="color:#2980b9;">เร่งแก้วิธีจัดสรรทรัพยากรผ่านการผ่าตัดหัวใจงบ 4 ห้อง</span></h2>
<p>พริษฐ์เน้นย้ำว่า ตนเองไม่ได้ไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มงบประมาณด้านการศึกษา แต่อยากให้เร่งแก้วิธีการจัดสรรทรัพยากรหรืองบประมาณด้านการศึกษามากกว่า เพราะถ้าต้นเหตุไม่ถูกแก้ไขไม่ว่าจะเพิ่มงบประมาณไปอีกกี่ล้านบาทก็ไม่สามารถแก้ปัญหาระบบการศึกษาไทยได้</p>
<p>“เหมือนกับคนไข้ที่มีปัญหาที่หัวใจ จะให้เลือดเขาเพิ่มแค่ไหน ก็ไม่สามารถช่วยชีวิตเขาได้ หากเราไม่ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเขา… ดังนั้น วันนี้จึงอยากเชิญชวนประธานและเพื่อนสมาชิกทุกคน มาร่วมกันผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจที่ชื่อว่า งบประมาณด้านการศึกษา”</p>

<p><a data-flickr-embed="true" href="https://www.flickr.com/photos/199800059@N04/53444313954/in/dateposted-public/" title="4"><img alt="4" height="576" src="https://live.staticflickr.com/65535/53444313954_da2076cdd7_b.jpg" width="1024" />[/url]</p>
<script async="" src="//embedr.flickr.com/assets/client-code.js" charset="utf-8"></script>
<p>พริษฐ์เปรียบงบประมาณด้านการศึกษาเป็นหัวใจที่มี 4 ห้อง ตามภารกิจหรือประเภทการใช้จ่าย ได้แก่ ‘งบบุคลากร’ ที่ครอบคลุมค่าตอบแทนของครูและบุคลากรในโรงเรียนทั่วประเทศ รวมถึงผู้ทำงานในหน่วยงานส่วนกลางทั้งระดับเขต จังหวัด และพื้นที่  ‘เงินอุดหนุนนักเรียน’ ครอบคลุมเงินอุดหนุนโรงเรียนผ่านโครงการเรียนฟรี 15 ปี และการอุดหนุนให้กับนักเรียน-ผู้ปกครองโดยตรงผ่าน กสศ. ‘งบลงทุน’ ในโครงสร้างพื้นฐาน  เช่น อุปกรณ์ทางการศึกษา รถโรงเรียน อาคารเรียน สนามกีฬา เป็นต้น และสุดท้ายห้องที่ 4 ‘งบนโยบาย’ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในโครงการที่รัฐบาล ณ เวลานั้น เห็นว่าสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา</p>
<p>เมื่อแบ่งงบประมาณเป็น 4 ส่วน ทำให้เห็นภาพรวมของงบประมาณการศึกษาที่ค่อนข้างคงที่ คือ เพิ่มขึ้นเพียง 0.3% หรือประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่ยังเห็นความพยายามของรัฐบาลในการปรับลดงบลงทุนลง 23% หรือกว่า 3,600 ล้านบาท เพื่อเอามาเพิ่มในส่วนอื่น ๆ โดยเฉพาะเงินอุดหนุนนักเรียน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">‘งบนโยบาย’ ขึ้นกับอำนาจของรัฐบาล หวังเห็นการจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่</span></h2>
<p>พริษฐ์เริ่มขยายการอภิปรายงบประมาณจากห้องที่ 4 คือ ‘งบนโยบาย’ เป็นห้องที่รัฐบาลมีอำนาจในการปรับและจัดสรรได้ทันที แต่น่าเสียดายที่รัฐบาลไม่ได้คว้าโอกาสนี้ไว้ได้มากเท่าที่ควร เนื่องจากโครงสร้างของงบประมาณส่วนนี้ไม่ต่างกับงบประมาณของปีที่ผ่านมามากนัก  เกินครึ่งหนึ่งของงบถูกใช้ไปกับโครงการขนาดเล็ก ส่วนโครงการใหม่ที่เกิดขึ้นเป็นงบที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเรียนรู้ควบคู่กับแพลตฟอร์มดิจิทัลรวมกว่า 600 ล้านบาท  </p>
<p>ทั้งนี้ พริษฐ์ยังเรียกร้องการรับประกันจากรัฐบาลในการใช้งบประมาณเพื่อสร้างแพลตฟอร์มส่งเสริมการเรียนรู้ว่า ขอให้แพลตฟอร์มที่ถูกพัฒนาไม่มีความซ้ำซ้อนกันเองระหว่างแต่ละหน่วยงานและทรัพยากรเดิม และขอให้กระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแพลตฟอร์มนั้นเป็นไปอย่างโปร่งใส ทั้งการคัดเลือกบริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มจากผลงานและความคุ้มค่าในการลงทุน</p>
<p>พริษฐ์ได้แบ่งประเภทของโครงการในส่วนของงบประมาณการศึกษาเป็น 2 ประเภท ดังนี้</p>
<p>ประเภทแรก ‘โครงการที่ไม่ควรมีแต่ยังมีต่อ’ ได้แก่ การเขียนรายงานโครงการที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงฯ ที่กลายเป็นภาระงานของครูและกระทบกับการสอน โครงการรวมมิตรความดีกับการปลูกฝัง ‘ไม่เลว ไม่โกง ไม่เสพยา’ ที่ใช้งบประมาณกว่า 160 ล้านบาทในการปลูกฝังจริยธรรมและต้านการทุจริต ขณะที่อีก 115 ล้านบาท เป็นโครงการต่อต้านยาเสพติด ซึ่งเป็นจำนวนที่มากขึ้นจากปีที่ผ่านมา นอกจากนั้น ยังมีโครงการใหม่ที่ใช้เงินอุดหนุนกว่า 273 ล้านบาท คือ ‘โครงการส่งเสริมการสร้างคนดีตามหลักการทางศาสนาที่ถูกต้อง เพื่อสืบสาน และรักษาสังคมพหุวัฒนธรรมที่ดีงามของจังหวัดชายแดนภาคใต้’</p>
<p>ทั้งนี้ พริษฐ์มองว่าการลงทุนงบประมาณไปกับโครงการด้านคุณธรรมและจริยธรรมนั้นไม่ใช่การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพที่สุด พร้อมเสนอให้ครูแทรกซึมประเด็นเหล่านี้เข้าไปในการเรียนการสอนมากกว่าการสร้างโครงการโดยกระทรวงฯ ทั้งอยากให้ผู้ใหญ่หันกลับมาทบทวนพฤติกรรมของตนเองว่า สามารถปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างเด็กได้หรือไม่</p>
<p>“มันอาจจะถึงเวลาแล้ว ที่เราต้องหันมาทบทวนพฤติกรรมของผู้ใหญ่อย่างพวกเรากันเอง เราจะคาดหวังให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการต่อต้านการทุจริตได้อย่างไร หากเรายังมีโรงเรียนที่เรียกเงินแป๊ะเจี๊ยะหรือรับเงินใต้โต๊ะจากผู้รับเหมา เราจะคาดหวังให้นักเรียนหยุด บูลลี่ (Bully) หรือกลั่นแกล้งกันได้อย่างไร หากเรายังไม่กล้าลงโทษครูที่กลั่นแกล้ง ทำร้ายร่างกาย และละเมิดสิทธินักเรียน และเราจะคาดหวังให้นักเรียนไม่ลอกการเพื่อน ลอกการบ้านกันและกันได้อย่างไร  หากเรายังมีคนออกข้อสอบการเข้ามหาวิทยาลัยในประเทศไทย ที่ลอกข้อสอบจากต่างประเทศ” พริษฐ์</p>
<p>ความคืบหน้าที่ทำให้เห็นว่ารัฐบาลได้เห็นถึงปัญหาการอบรมครูโดยส่วนกลางผ่านการพยายามปรับลดงบประมาณส่วนนี้ลง 20-30% พริษฐ์เสนอให้รัฐบาลกระจายงบอบรมครูจากส่วนกลางไปให้แต่ละโรงเรียนโดยลง เพื่อให้ตอบวัตถุประสงค์ของแต่ละพื้นที่มากที่สุด</p>
<p><a data-flickr-embed="true" href="https://www.flickr.com/photos/199800059@N04/53444132048/in/dateposted-public/" title="5"><img alt="5" height="576" src="https://live.staticflickr.com/65535/53444132048_a29c88920f_b.jpg" width="1024" />[/url]</p>
<script async="" src="//embedr.flickr.com/assets/client-code.js" charset="utf-8"></script>
<p>ประเภทที่ 2 ‘โครงการที่ควรมีแต่กลับยังไม่มี’ คือ การจัดทำหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับใหม่ที่เน้นการเสริมสร้างสมรรถนะ ซึ่งหลักสูตรการศึกษาเดิมของประเทศไทยนั้นมีการปรับแก้ครั้งล่าสุด คือ พ.ศ. 2551 หากเปรียบเทียบกับการปรับหลักสูตรในต่างประเทศที่มีการปรับหลักสูตรครั้งใหญ่ต่อเนื่อง 5-10 ปี พริษฐ์มองว่าการปรับหลักสูตรสามารถทำได้ง่ายเนื่องจากมีสารตั้งต้นหลักสูตรใหม่ทั้งจากฝ่ายวิชาการหรือภาคประชาสังคมที่มีการนำไปปรับใช้ในโรงเรียนบางแห่ง </p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ปรับลด ‘งบลงทุน’ เพิ่ม ‘เงินอุดหนุนนักเรียน’ </span></h2>
<p><span style="color:#2980b9;"><a data-flickr-embed="true" href="https://www.flickr.com/photos/199800059@N04/53444132033/in/dateposted-public/" title="6"><img alt="6" height="576" src="https://live.staticflickr.com/65535/53444132033_1d096cd6cf_b.jpg" width="1024" />[/url]</span></p>
<script async="" src="//embedr.flickr.com/assets/client-code.js" charset="utf-8"></script><p></p>
<p>การปรับลดงบลงทุนลง 23% ในหัวใจห้องที่ 3 เพื่อนำไปใช้เป็นงบอุดหนุนนักเรียนนั้น พริษฐ์ได้ตั้งคำถามถึงเกณฑ์พิจารณางบประมาณ เพราะกลุ่มงบลงทุนในการก่อสร้างอาคารนั้นได้กระทบต่อกลุ่มเด็กด้อยโอกาสและเด็กพิการมากที่สุด ซึ่งการลดงบส่วนนี้อาจเพิ่มความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการศึกษาของเด็กไทยมากกว่าเดิม นอกจากนั้น งบลงทุนด้านอาชีวศึกษายังมีลักษณะการกระจายตัวที่น่าสงสัย คือ  7 ใน 8 จังหวัดแรกที่ได้งบลงทุนเยอะที่สุด (ไม่นับ กทม.) เป็นจังหวัดที่มี สส. เขต พรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นพรรคเดียวกับ พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ</p>
<p>ห้องที่ 2 ‘เงินอุดหนุนนักเรียน’ ที่มีการจัดสรรงบเพิ่มขึ้นถึง 5.2% แม้จะเป็นเรื่องน่ายินดีแต่ยังมีข้อกังวลต่อผู้ปกครองที่ต้องควักเงินหลายพันบาทต่อปีมาใช้ในการศึกษาของลูก โดยเฉพาะในกลุ่มครอบครัวที่มีรายได้ต่ำ พริษฐ์ได้เสนอให้มีการเพิ่มเงินอุดหนุนต่อนักเรียนยากจนที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดที่จะหลุดจากระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมปลาย การเพิ่มเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวัน การตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเพื่อลดภาระของผู้ปกครอง เช่น การบังคับใส่ชุดลูกเสือเป็นการให้ใส่ชุดพละหรือชุดลำลองแทน พร้อมเสนอให้มีการปรับวิธีการอุดหนุนเงินโรงเรียนเป็นแบบไม่กำหนดวัตถุประสงค์</p>
<p>งบบุคลากรในห้องที่ 1 ได้เสนอให้มีการปรับแก้ ‘ครูกระจุก โรงเรียนกระจาย’ และ ‘อำนาจกระจุก การทำงานกระจัดกระจาย’  โดยการปฏิรูปโครงสร้างกระทรวง ให้มีการทำงานที่ซ้ำซ้อนกันน้อยลงและมีการกระจายอำนาจสู่สถานศึกษามากขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน </p>
<p>พริษฐ์เชื่อว่าข้อเสนอเหล่านี้สามารถพิจารณาให้มีการปรับแก้ได้เลยทั้งในชั้นกรรมาธิการหรือการพิจารณางบประมาณในวาระที่ 2 หรือ 3 ของงบประมาณ พ.ศ. 2567 การผ่าตัดหัวใจทั้ง 4 ห้องนี้ นอกจากทำให้เกิดความแข็งแรงในโครงสร้างการศึกษาแล้วยังช่วยส่งเสริมความสมดุลในแต่ละห้อง เพราะทุกงบที่มีการปรับลดนั้นสามารถปรับย้ายมาเป็นงบอุดหนุนการศึกษา นอกจากนั้น ยังเป็นการให้อำนาจกับโรงเรียนและนักเรียนในการตัดสินใจว่าจะใช้งบแต่ละส่วนไปกับอะไร </p>
<p><a data-flickr-embed="true" href="https://www.flickr.com/photos/199800059@N04/53443066492/in/dateposted-public/" title="cover"><img alt="cover" height="576" src="https://live.staticflickr.com/65535/53443066492_df898a382d_b.jpg" width="1024" />[/url]</p>
<script async="" src="//embedr.flickr.com/assets/client-code.js" charset="utf-8"></script>
<p>“ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อเสนอที่ผมและพรรคก้าวไกลได้อภิปราย จะไม่เป็นข้อเสนอ ที่ต้องรอพรรคก้าวไกลมาเป็นรัฐบาลถึงจะได้เริ่มทำ แต่เป็นข้อเสนอที่รัฐบาลชุดนี้ จะเห็นด้วยและรับไปพิจารณาดำเนินการ เพื่อร่วมกันผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ที่มีชื่อว่างบประมาณการศึกษาและสร้างอนาคตการศึกษาไทยที่ดีขึ้น สำหรับลูกหลานเราทุกคน” พริษฐ์กล่าว</p>
<p> </p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ขhttps://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/01/107519
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - 'พริษฐ์' ไม่ขอตอบปมสมาชิกพรรคขู่ลาออก 'ดิสเครดิต' หรือไม่ แต่ยินดีฟังคำวิ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 152 กระทู้ล่าสุด 21 พฤศจิกายน 2566 07:01:09
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'พริษฐ์' แจงร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับก้าวไกล จะเป็นจุดเริ่มต้นยุติความขัดแย้
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 164 กระทู้ล่าสุด 02 ธันวาคม 2566 02:35:37
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'พริษฐ์' เผย 3 แนวทางที่มา 'สสร.' จากการเลือกตั้งหมด ตัวแทนพื้นที่ – ผู้เชี่
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 137 กระทู้ล่าสุด 04 ธันวาคม 2566 18:07:55
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - 'โฆษกก้าวไกล' ห่วงผลสอบ PISA การศึกษาไทยลดทั้งกระดาน แนะพัฒนาทักษะ-สมรรถนะที่น
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 162 กระทู้ล่าสุด 06 ธันวาคม 2566 13:58:05
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ‘พริษฐ์’ ชี้ผลสอบ PISA สะท้อนวิกฤติการศึกษาไทย-เสนอผ่าตัดหัวใจงบ 4 ห้อง หวังกระจาย
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 137 กระทู้ล่าสุด 06 มกราคม 2567 00:34:27
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.192 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 5 ชั่วโมงที่แล้ว