'ขอให้เสียงดนตรีรับใช้ประชาชน' อ่องเพียะโซน นักดนตรีพม่า ผู้ต่อต้านระบอบเผด็จการ
<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2024-02-02 16:17</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: อ่องเพียะโซน </p>
<p>สัมภาษณ์: ณัฐพล เมฆโสภณ</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>นับตั้งแต่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD ซึ่งมีหัวหน้าพรรคคนสำคัญคือ อองซานซูจี สามารถเอาชนะการเลือกตั้ง และเป็นรัฐบาลเมื่อปี 2015-2020 ชาวพม่าหลายคนมองว่า นี่เป็นช่วงเวลาแห่งความหวัง และความฝันของพวกเขา เพราะประเทศเขากำลังเดินเข้าสู่เส้นทางการเป็นประชาธิปไตยเต็มใบ </li>
<li>อย่างไรก็ตาม ความฝันของชาวพม่าต้องสะดุดลง เพราะเมื่อหลังจากพรรค NLD ชนะการเลือกตั้งปลายปี 2020 กลับถูกกองทัพพม่านำโดย พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพพม่า ทำการรัฐประหารยึดอำนาจ และขึ้นมาเป็นผู้บริหารประเทศพม่าในนามสภาบริหารแห่งรัฐ หรือ SAC ประชาชนออกมาต่อต้านทั่วประเทศ ประเทศพม่าเข้าสู่วิกฤตทางการเมือง และสงครามกลางเมือง</li>
</ul>
</div>
<p>หลังการทำรัฐประหารเมื่อปี 2564 เป็นต้นมา การประท้วงจากชาวพม่าต่อกองทัพ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับประชาชนทั่วไป แต่ข้าราชการได้ออกมาร่วมขบวนการหยุดงานประท้วง ภายใต้ชื่อขบวนการ 'Civil Disobedience Movement - CDM' รวมถึงศิลปินเพลงและนักดนตรีชาวพม่า ก็ได้ออกมาประท้วงร่วมกับประชาชนด้วยเช่นกัน</p>
<p>'อ่องเพียะโซน' นักดนตรีพื้นเมือง มือบรรเลงพิณพม่า หรือ 'ซองเกาะ' จากนครย่างกุ้ง อายุ 40 ปี เป็นหนึ่งในศิลปินที่ได้ออกมาประท้วงต่อต้านกองทัพพม่าร่วมกับประชาชนอื่นๆ เขายังตัดสินใจทำลายรางวัลทุกอย่างที่เขาเคยได้รับมาจากช่วงรัฐบาลทหาร เพื่อประกาศเจตนารมณ์ว่าจะไม่ขออยู่ใต้ระบอบกองทัพ</p>
<p>จนกระทั่งวันที่ อ่องเพียะโซน เริ่มมองแล้วว่าประเทศพม่าของเขาเป็นประเทศที่สิ้นหวัง หากอยู่ในการปกครองของระบอบเผด็จการ เขาจึงลี้ภัยออกจากบ้านเกิด เป็นผู้ลี้ภัยไปประเทศที่สาม เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าเพื่อครอบครัว</p>
<p>รายงานสัมภาษณ์อ่องเพียะโซน นักดนตรีชาวพม่าต่อชีวิต และความฝัน เหตุผลที่ชาวพม่าออกมาต่อต้านกองทัพ ปัญหาด้านเสรีภาพศิลปะ การเลือกตัดสินใจเป็นผู้ลี้ภัย ปณิธานที่ตั้งใจจะช่วยเหลือและสนับสนุนการปฏิวัติ</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53504187504_7ef7b51630_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">อ่องเพียะโซน ขณะออกมาต่อต้านการทำรัฐประหาร</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ผมไม่ต้องการรางวัลที่ได้มาช่วงรัฐบาลทหารอีกต่อไป</span></h2>
<p>'อ่องเพียะโซน' เขาเริ่มเล่นพิณพม่าตั้งแต่อายุเพียง 7 ปี เนื่องจากรักและสนใจเครื่องดนตรีชิ้นนี้ ประกอบกับพ่อของเขาเป็นครูสอนพิณพม่า และเป็น 'ศิลปินแห่งชาติ' ของประเทศเมียนมา นอกจากนี้ พ่อของอ่องเพียะโซน เคยได้เข้าฉากภาพยนตร์เรื่อง "ถึงคน… ไม่คิดถึง" หรือ "From Bangkok to Mandalay" กำกับโดย ชาติชาย เกษนัส ฉายเมื่อปี 2559 อีกด้วย</p>
<p>ขณะที่อ่องเพียะโซน ก็คงเรียกว่าไม่ได้เป็นคนอื่นคนไกลจากประเทศไทยมากนัก เขาเป็นนักดนตรีดาวรุ่งของพม่า และในปี 2559 อ่องเพียะโซนเคยเดินทางมาที่ประเทศไทย เพื่อแสดงดนตรี และแลกเปลี่ยนเรื่องศิลปวัฒนธรรมกับศิลปินในอาเซียนคนอื่นๆ ในโครงการ "ASEAN Music and Dance Connectivity 2016" และครูพิณพม่าผู้นี้ได้บรรเลงเพลง "เวชยันต์วิมาน" ในรายการ
"ศิลป์สโมสร" ออกอากาศทางช่องไทยพีบีเอส เมื่อ 8 มิ.ย. 2559 </p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="accelerometer; autoplay; clipboard-write; encrypted-media; gyroscope; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="" frameborder="0" height="315" src="
https://www.youtube.com/embed/o0LA5v3sfkc?si=urw8kWUXeT5z-Ss7" title="YouTube video player" width="560"></iframe></p>
<p>อ่องเพียะโซน กล่าวว่า หลังกองทัพพม่าทำรัฐประหาร เขาตัดสินใจเผารางวัลทั้งหมดที่ได้รับมาช่วงรัฐบาลทหารทั้งในสมัยของนายพลตันฉ่วย (ประธานาธิบดีของพม่าปี 2535-2546) และนายพลขิ่นยุ้น (ประธานาธิบดีของพม่า เมื่อปี 2547)</p>
<p>อัญชลี อิสมันยี นักดนตรีชาวไทยจากวงคีตาญชลี และเป็นเพื่อนของอ่องเพียะโซน เล่าให้ฟังว่า นักดนตรีพื้นเมืองหรือในวงมโหรีพม่านั้น บ่อยครั้งจะถูกจ้างวานจากรัฐบาลให้เล่นในพิธีการสำคัญต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรม และอีกด้านหนึ่งเพื่อส่งเสริมแนวคิดชาตินิยมของพม่า ดังนั้น การที่อ่องเพียะโซนเลือกเผารางวัลที่ได้มาจากรัฐบาลทหาร จึงเปรียบเสมือนการตั้งใจอันแน่วแน่ถึงการปฏิเสธระบอบเผด็จการ</p>
<p style="text-align: center;">
<iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="476" scrolling="no" src="
https://www.facebook.com/plugins/video.php?height=476&href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2F100009665260388%2Fvideos%2F1393416194323876%2F&show_text=false&width=267&t=0" style="border:none;overflow:hidden" width="267"></iframe></p>
<p style="text-align: center;">
<span style="color:#d35400;">วิดีโอ ขณะที่อ่องเพียะโซน กำลังทำลายรางวัล</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เสรีภาพทางศิลปะอันหดแคบ</span></h2>
<p>ในมุมมองของอ่องเพียะโซน ทำไมถึงต้องปฏิเสธระบอบการปกครองของกองทัพพม่า นักดนตรีวัย 40 ปี กล่าวว่า เขาเติบโตมาในสมัยรัฐบาลทหาร และได้อ่านหนังสือจำนวนมาก ทำให้เขาเข้าใจว่ารัฐบาลทหารแย่ขนาดไหน ซึ่งเขาตระหนักถึงเรื่องนี้ตั้งแต่สมัยอายุ 17-20 ปี และตั้งใจว่าไม่ว่ายังไงก็จะไม่เอาการปกครองโดย 'ทหารพม่า' </p>
<p>"ตอนเราเติบโตช่วงยุครัฐบาลทหาร เรารู้ดีว่าการเรียนหรืออะไรหลายๆ อย่างมันล้าหลัง และชีวิตมันไม่มีอะไรดี การรัฐประหารในครั้งนี้ทำให้เรารู้ล่วงหน้าว่า ชีวิตมันจะกลับมาแย่อีกครั้งแล้ว พอเรามีลูกก็ไม่อยากให้เขาต้องมาเจอในสิ่งที่ตัวเองเคยเจอมาก่อน นี่แหละเป็นจุดสำคัญที่เราต้องออกมาต่อต้านทหาร" ครูพิณพม่า กล่าว</p>
<p>อ่องเพียะโซน เล่าให้ฟังว่า เขาอยากยกตัวอย่างเรื่องเสรีภาพด้านศิลปะและดนตรีสมัยรัฐบาลทหาร เขามีความฝันอยากลองประยุกต์ดนตรีและเพลงพื้นเมืองให้ทันสมัยมากขึ้น แต่เจ้าหน้าที่หรือคนในยุคสมัยนั้นไม่อนุญาตให้ใครก็ตามใช้เพลงหรือดนตรีพื้นเมืองประยุกต์เข้าเพลงตะวันตก หรือเพลงสมัยใหม่โดยเด็ดขาด ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือแตะต้องได้ </p>
<p>แม้ว่าทางกฎหมายอาจไม่ได้มีการเอาผิดคนที่ประยุกต์เพลงพื้นเมือง แต่อ่องเพียะโซน และเพื่อน เคยถูกสถาบันสอนดนตรีพม่าชื่อว่า 'มหาคีตา' เรียกตัวไปคุย เนื่องจากพวกเขาจากการพยายามประยุกต์เพลงพื้นเมือง พวกเขาถูกต่อว่าราวกับว่ากำลังทำลายวัฒนธรรมดนตรีพม่า และให้เซ็นสัญญาด้วยว่าจะไม่ทำแบบนี้อีก</p>
<div class="note-box">
<p>ทั้งนี้ นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีเรื่องว่า รัฐบาลทหารพม่าเข้มงวดกับการประยุกต์ดนตรีพื้นเมืองของพม่า บทความ "
ปลุกชีวิตศิลปะพม่าร่วมสมัย จากยุคฟิล์มขาว-ดำ ถึงร็อกแอนด์โรลที่รัฐไม่ปลื้ม" เผยแพร่บนเว็บไซต์ The Momentum เมื่อปี 2561 ประเทศพม่าช่วงทศวรรษที่ 1970-1980 ซึ่งเป็นห้วงเวลาของรัฐบาลทหารพม่า ขณะนั้นรัฐบาลมีนโยบายที่เข้มงวด เรื่องการประยุกต์ และดัดแปลงเพลงพื้นเมืองเมียนมา โดยไม่อนุญาตให้มีการประยุกต์เพลงพื้นเมืองของพม่าเข้ากับดนตรีตะวันตกเลย</p>
<p>ชาวพม่าหลายคนได้นำเอาเพลงพื้นเมืองมาผสมผสานกับดนตรีร็อกแอนด์โรลของตะวันตก ทั้งการแต่งเนื้อร้อง และภาษาที่ใช้ แต่พวกเขาโดนรัฐบาลทหารต่อต้านอย่างหนัก และต้องไปทำเป็นเพลงใต้ดิน นอกจากนี้ ยังมีเรื่องเล่าที่ว่า ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นคนไว้ผมยาวแบบร็อคเกอร์จะถูกจับตัดผม หรือถ้าเล่นกีตาร์อยู่ข้างถนน และตำรวจมาเจอ ก็จะถูกยึดกีตาร์ด้วย</p>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">ถึงวันที่ตัดสินใจเดินทางออกจากพม่า</span></h2>
<p>อ่องเพียะโซน เล่าให้ฟังว่า เขายังคงเข้าร่วมการประท้วงอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา จนกระทั่งกองทัพพม่าเริ่มใช้ความรุนแรงในการกดปราบผู้ชุมนุมในช่วงมีนาคมจนถึงเมษายน 2564 ซึ่งช่วงเวลานั้นเริ่มมีข่าวผู้ชุมนุมเสียชีวิตจากการใช้อาวุธสงคราม </p>
<p>อ่องเพียะโซน เล่าต่อว่า ตอนนั้นลูกสาวเขาเพิ่งเกิดอีกด้วย ทำให้ตัวเขาไม่สามารถออกหน้าประท้วงได้เหมือนเมื่อก่อน เพื่อความปลอดภัยของครอบครัว แต่เลือกวิธีช่วยเหลืออย่างหลบๆ ซ่อนๆ ด้านเงินทุนแก่เพื่อนๆ ที่ต้องการต่อต้านกองทัพพม่า </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53504036078_ba2205ef7f_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">ตัวของอ่องเพียะโซนและลูกสาว</span></p>
<p>จนกระทั่ง ครูพิณพม่า เริ่มรู้สึกกับประเทศตัวเองว่า ไร้ความหวัง และมองไม่เห็นอนาคต หากยังปล่อยให้รัฐบาลทหารพม่าบริหารประเทศต่อไป เขารู้สึกว่ามันอาจจะดีกว่าถ้าเราเดินทางไปต่างประเทศ เพื่อว่าวันหนึ่งเขาจะได้พาครอบครัวออกมา ลูกจะได้รับการศึกษาและอนาคตที่มีความหวังมากกว่าในประเทศพม่า</p>
<p>"ถ้าถามถึงครอบครัว พ่อ-แม่แน่นอนไม่เห็นด้วย เขารู้สึกไม่สบายใจที่เห็นเราจะออกไป ด้วยความเป็นห่วง …แต่ภรรยาสน้บสนุนเต็มที่ในการที่เขาจะออกมาลี้ภัยนอกประเทศ ก็ลูกๆ ก็เพิ่งจะคุยได้นิดๆ หน่อยๆ วิดีโอคอลทุกวัน" อ่องเพียะโซน กล่าว</p>
<p>ปัจจุบัน อ่องเพียะโซน ได้ลี้ภัยในประเทศฝรั่งเศส โดยอาศัยแถบนอกเมืองหลวงปารีส ทำงานรับจ้างด้านการเกษตร และรับจ้างอื่นๆ ทั่วไป เพื่อเลี้ยงชีพตัวเอง แต่ตัวเขาก็ยังติดเครื่องดนตรีที่เขาเล่นมาค่อนชีวิตมาด้วยคือ 'ซองเกาะ' </p>
<p>ในระยะสั้นอ่องเพียะโซนตั้งใจจะอยู่ในฝรั่งเศส ครบ 2 ปี เพื่อที่เขาจะได้พาครอบครัวและลูกมาอยู่อาศัยที่ฝรั่งเศสตามกฎหมาย และเขาหวังว่าลูกของเขาจะได้รับการศึกษาที่ดีต่อไป</p>
<p>ครูพิณชาวพม่า เล่าให้ฟังว่า ตอนมาอยู่ที่ฝรั่งเศสใหม่ๆ ตอนแรกเขาเครียดและคิดถึงลูกมากๆ เพราะลูกเขายังเล็กอยู่ อายุ 2 ขวบเท่านั้นเองตอนจากมา และเรื่องอาหารการกินมันไม่ได้เป็นรสชาติที่เราเคยทาน ขณะที่ไลฟ์สไตล์ของอ่องเพียะโซน ก็ไม่เหมือนเดิมนัก เพราะเขาต้องรับจ้างทำงานเกษตร แทนการเล่นดนตรี</p>
<p>"ไลฟ์สไตล์จากเดิมที่เล่นดนตรี 'พิณพม่า' ตอนนี้ต้องมาทำงานจับจอบ ทำงานเท่าที่ทำได้ มีความเครียด และกดดัน แต่ต้องมาปลอบใจตัวเองว่า สิ่งที่ฉันทำ และเหนื่อยตอนนี้ เพื่ออนาคตของลูก และครอบครัวของฉัน" อ่องเพียะโซน กล่าว </p>
<p>เมื่อสอบถามว่าคิดถึงการเล่นดนตรีหรือไม่ พอมาอยู่ในต่างแดน อ่องเพียะโซน กล่าวว่า เขาได้เล่นบ้าง แต่ไม่ได้ฝึกซ้อมเป็นประจำเหมือนเมื่อก่อน ถ้ามีงานที่เชิญเขาไปเล่นเช่นงานของผู้ลี้ภัยพม่าในฝรั่งเศส เขาก็ยินดีไปร่วม นอกจากนี้ เขาวางแผนว่า ถ้าเก็บเงินได้ และมีห้องส่วนตัว คงได้กลับมาซ้อมบ่อยขึ้น </p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53504306245_9d36cd61db_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">อ่องเพียะโซน ขณะเล่นพิณพม่าที่ฝรั่งเศส</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ยังคงสนับสนุนการต่อสู้ของชาวพม่าจากต่างประเทศ</span></h2>
<p>อ่องเพียะโซน กล่าวต่อว่า อนาคตจะทำเรื่องการต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าเรื่อยๆ ในตอนที่อยู่ที่ฝรั่งเศส ถ้าทางรัฐบาล NUG (รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ - National Unity Government) หรือขบวนการ CDM (ขบวนการอารยขัดขืน หรือ Civil Disobedience Movement) ที่เคลื่อนไหวในฝรั่งเศสชวนเขาไปเล่นดนตรี เขาก็ยังไปอยู่ อนาคตถ้าสถานะการเงินดีขึ้นแล้ว เขาจะช่วยระดมทุนช่วยเหลือสนับสนุนการต่อสู้กับกองทัพพม่าต่อไป</p>
<p>ครูพิณพม่าวัย 40 ปี ระบุด้วยว่า เขารู้สึกว่า ตัดสินใจไม่ผิดเลย และไม่รู้สึกผิดอะไรที่ลี้ภัยออกมานอกประเทศ เพราะเขาไม่รู้ว่า 10-15 ปีต่อไปพม่าจะเป็นอย่างไร หรือแนวโน้มจะเป็นอย่างไร แต่แน่นอนว่าการออกมาข้างนอก เราก็ยังสู้อยู่ ดูว่าเราพอจะสู้อะไรได้ แน่นอนว่าคนในประเทศพม่าเขาก็สู้กันในแบบของเขา มันต้องทำควบคู่กันทั้งในประเทศ และนอกประเทศ ทั้งสองแบบนี้ว่าเราจะช่วยกันสนับสนุนยังไง</p>
<p>"สำหรับตัวเองก็ไม่ได้สิ้นหวัง และไม่รู้สึกท้อแท้ ยังมีความหวังอยู่เต็มที่ และไม่มีเหตุผลอะไรที่จะลดกำลังใจ หรือว่าที่จะหมดหวังหรือว่าท้อ ตอนนี้ที่ออกมา ก็ใช่ว่าเราจะห่างจากตรงนั้น แต่ว่ามันมีเหตุผลส่วนตัวกัน ออกมาข้างนอก ใช่ว่าเราจะไม่ได้ทำอะไรเลย เราก็ยังจะทำจากสิ่งที่เราทำได้ สนับสนุนได้ เพื่ออนาคตอีกหลายๆ คน ไม่ใช่แค่ลูกเรา แต่อนาคตหลายคนของคนในประเทศพม่า ที่ต้องทำเพื่อให้ไปถึงเส้นชัยให้ได้ แน่นอนว่าไม่ท้อ และยังมีความหวัง" อ่องเพียะโซน กล่าว</p>
<p>อ่องเพียะโซน เล่าให้ฟังด้วยว่า นอกจากตัวเขาแล้ว มีเพื่อนนักดนตรีจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับระบอบเผด็จการ และเลือกลี้ภัยออกไปประเทศที่ 3 ขณะที่บางคนยังอยู่ในป่าเช่นในฝั่งรัฐกะเหรี่ยง ทางตะวันออกของเมียนมา รวมถึงมีนักดนตรีที่เล่นเก่งๆ ที่ยังต้องหนีอยู่</p>
<div class="note-box">
<p>ทั้งนี้ นับตั้งแต่มีการทำรัฐประหารเมียนมา เมื่อปี 2564 ส่งผลให้เกิดผู้พลัดถิ่นภายใน และผู้ลี้ภัยจำนวนมาก
ตัวเลขจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) เปิดเผยว่า ช่วงระหว่าง 1 ก.พ. 2564 จนถึง พ.ย. 2566 มีจำนวนผู้พลัดถิ่นภายใน (IDP) เพิ่มขึ้น 1,858,600 ราย ขณะที่ผู้ที่ลี้ภัยไปประเทศเพื่อนบ้าน นับตั้งแต่ 1 ก.พ. 2564 จนถึง มิ.ย. 2566 เพิ่มขึ้น 104,100 ราย</p>
</div>
<h2><span style="color:#2980b9;">การเมืองในฝัน อยากให้กลับคืนสู่ประชาธิปไตย</span></h2>
<p>สำหรับการเมืองในฝันของอ่องเพียะโซน เขาระบุว่า "มากกว่าความฝัน คาดหวังอย่างน้อย อยากให้มันกลับไปอยู่เหมือนช่วงปี 2015-2020 แม้ว่าจะไม่ได้เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ แต่ว่าพม่าเริ่มเป็นหนทางที่ประชาธิปไตยในพม่าเริ่มเบิกบาน แม้ว่าจะไม่ได้เป็นประชาธิปไตย 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะว่าถ้าเรามองในสภาผู้แทนราษฎร แน่นอนว่ารัฐธรรมนูญกำหนดให้มีที่นั่งของทหาร อยู่ 25 เปอร์เซ็นต์ แต่มันยังดีกว่ายุคก่อนหน้านั้น ที่ผ่านมาว่าเราเห็นถึงความเปลี่ยนแปลง และก็เห็นว่ากลิ่นไอของคำว่า 'ประชาธิปไตย' มันเป็นอย่างไร อย่างน้อยเราคาดหวังว่าให้มันกลับมาเป็นแบบนั้น ช่วงเริ่มต้นการเป็นประชาธิปไตย คาดหวังแบบนี้</p>
<p>"ช่วงสมัยนายพลเต่งเส่ง เศรษฐกิจมันแย่ การศึกษามันไม่ได้ดี แต่พอในปี 2015 จากคนที่ไม่มีงานเล่นดนตรีแน่นอน เริ่มมีงาน เริ่มมีหนทาง เรื่องดนตรีที่เขากลับมาเล่น การอยู่การกินดีขึ้นในแง่ของเศรษฐกิจ เพราะว่าเขาเปิดโอกาส เพราะถ้ามองตัวอย่างง่ายๆ ในเรื่องการใช้อินเทอร์เน็ต เรื่องของการใช้การสื่อสารกับข้างนอก ในปี 2015 หลัง 2015-2020 มันเปลี่ยนแปลงไปเยอะมากเลยนะพม่า ในการติดต่อสื่อสาร และอื่นๆ" อ่องเพียะโซน กล่าว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ดนตรีเพื่อประชาชน</span></h2>
<p>ท้ายสุด เราชวนอ่องเพียะโซน คุยเรื่องเสรีภาพดนตรี และการเมือง ซึ่งมือพิณวัย 40 ปี ชี้ให้เห็นว่าศิลปะ ดนตรี และการเมือง เป็นเรื่องใกล้กันเสมอ </p>
<p>"ศิลปะกับการเมือง มันเชื่อมต่อกันอยู่แล้ว</p>
<p>"คำว่าเพลงชาติ ดนตรีชาติ ที่เอามาใช้ในการเมืองอะไรต่างๆ เลยมองว่าศิลปะแขนงต่างๆ มันต้องมีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับการเมืองอยู่แล้ว ซึ่งมันเป็นเสรีภาพที่จะแสดงออกได้ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง หรือแม้กระทั่งทำดนตรีจารีตประเพณี และอยากจะมามิกซ์สมัยใหม่ มันมีเสรีภาพในการแสดงออกได้" อ่องเพียะโซน ระบุ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53504220469_d2c9207d86_b.jpg" /></p>
<p>อ่องเพียะโซน มองว่า ดนตรีเป็นของทุกคน และทุกคนควรมีสิทธิที่จะได้ฟัง แต่เป็นสิทธิของคนฟังที่จะนำไปฟังตีความว่าเป็นสายทหาร หรือประชาธิปไตยมากกว่า แต่ถ้าถามว่าเขาอยากทำดนตรีเพื่อใคร เขาอยากทำดนตรีในสิ่งที่เขาเชื่อคือ เขาอยากจะทำดนตรีให้กับฝ่ายประชาธิปไตย และไม่ทำดนตรีให้กับฝั่งทหารแน่นอน </p>
<p>เมื่อถามว่าอ่องเพียะโซนอยากฝากอะไรทิ้งท้ายถึงคนที่ยังต่อต้านกองทัพหรือไม่ อ่องเพียะโซน กล่าวว่า เขาฝากความหวังและกำลังใจถึงชาวพม่าทุกคนที่ต่อต้านระบอบเผด็จการ และเขาจะขอสู้ไปด้วยกันจนสามารถขับไล่เผด็จการพม่าออกจากการเมืองให้ได้ </p>
<p>"อย่างแรกสุด อยากฝากว่าไม่ว่าจะยังไงต่อไปใน อนาคตอยากจะให้สู้ต่อไปโดยไม่ท้อ ไม่มีการวางมือ เราจะสู้กันอย่างเต็มที่ เพราะว่าเผด็จการและทหารไม่ว่าจะที่ไหน มันไม่มีเผด็จการที่ดีหรอก เพราะฉะนั้น เราจะต้องต่อต้านจนกว่าเผด็จการจะออกไป และสู้ต่อไปโดยไม่วางมือ ไม่ท้อใจ สู้ด้วยกันต่อไปจนจบ" มือพิณพม่า ทิ้งท้ายบทสนทนา</p>
<div class="note-box">
<p>หมายเหตุ : การสัมภาษณ์ครั้งนี้ได้รับการช่วยเหลือด้านการแปลภาษาจากคุณ 'เชอร์รี' สมาชิกมูลนิธิเสมสิกขาลัย</p>
</div>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C-0" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">สัมภ
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2024/02/107887 







