[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
16 มิถุนายน 2567 16:15:18 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - งานวิจัยชี้นโยบายป่าไม้ในยุค คสช.และ BCG เป็นข้ออ้างแย่งยึดที่ดิน-ป่าของชุมชน  (อ่าน 54 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 03 มีนาคม 2567 11:32:47 »

งานวิจัยชี้นโยบายป่าไม้ในยุค คสช.และ BCG เป็นข้ออ้างแย่งยึดที่ดิน-ป่าของชุมชน
 


<span class="submitted-by">Submitted on Sun, 2024-03-03 10:24</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>งานวิจัยโดยกลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลาย ระบุนโยบายป่าไม้ในยุค คสช.และโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นข้ออ้างเพื่อปิดล้อมและแย่งยึดที่ดิน - พื้นที่ป่าของชุมชน ก่อให้เกิดสภาวะความยากจนฉับพลันและเรื้อรังข้ามรุ่น</p>
<p>https://live.staticflickr.com/65535/53564181171_d526b6b866_k_d.jpg</p>
<p>เมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2567 กลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลายร่วมกับเครือข่ายภาคประชาสังคม ได้แก่ มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม (EnLaw) Protection International (PI) โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านทรัพยากรแร่ (PPM) นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และกรีนพีซ ประเทศไทย จัดเวทีเสวนา ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร  เพื่อนำเสนอข้อค้นพบจากรายงานวิจัย “การแย่งยึดที่ดินจากนโยบายป่าไม้ในยุคทหาร คสช. กับการผลิตซ้ำความจนเรื้อรัง กรณีป่าสงวนแห่งชาติดงหมู แปลง 2” <span style="color:#3498db;">[1]</span> และข้อเสนอนโยบายสาธารณะที่เป็นรูปธรรมต่อหน่วยงานของรัฐด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม</p>
<p>กว่า 9 ปีที่ราษฎรในชุมชนคำป่าหลาย จ.มุกดาหาร รวมตัวกันในนามนักปกป้องสิทธิ์ “กลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคําป่าหลาย”เพื่อปกป้องที่ดินทำกินและทรัพยากรธรรมชาติจากการถูกแย่งยึดโดยนโยบายของรัฐนับจากนโยบายป่าไม้ในยุค คสช.โครงการเหมืองแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินทรายเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างมาจนถึงโครงการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมโดยอ้างนโยบายโมเดลเศรษฐกิจ BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy)</p>
<p>ข้อค้นพบหลักจากงานวิจัยรวมถึง ;</p>
<ul>
<li>นโยบายป่าไม้ในยุค คสช ที่อ้างว่าเป็นการทวงคืนผืนป่า คือวาทกรรมของรัฐบาล คสช. ในการ สร้างความชอบธรรมในการแย่งยึดที่ดินของราษฎรเพื่อเปลี่ยนที่ดินและพื้นที่ป่าไม้เป็นพื้นที่เชิงเศรษฐกิจ เปิดโอกาสให้ทุนเข้ามาเปลี่ยนทรัพยากรไปเป็นสินค้าหรือการทำให้ธรรมชาติกลายเป็นทุน (Capitalisation of nature) ไม่ว่าจะเป็นการใช้พื้นที่ป่าเพื่อทำเหมืองหินทรายอุตสาหกรรมและโครงการไฟฟ้าพลังงานลม เป็นต้น โดยใช้ความคลุมเครือของเอกสารสิทธิ์ กรณีพื้นที่ประกาศเขตป่าทับซ้อนที่ยังอยู่ระหว่างกระบวนการพิสูจน์สิทธิ หรือกรณีพิพาทระหว่างรัฐและชุมชน และอำนาจกฏหมายตลอดจนการใช้ความรุนแรงมาบีบบังคับ แย่งยึดเอาที่ดินให้อยู่ภายใต้อำนาจของรัฐอย่างเบ็ดเสร็จ</li>
<li>นโยบายป่าไม้ในยุค คสช ไม่เพียงเป็นการแย่งยึดที่ดินทำกินแต่ยังเปลี่ยนชาวบ้านจากผู้บุกเบิก ผู้อยู่อาศัย และใช้ประโยชน์ให้กลายเป็น “นอมินี” หรือ ตัวแทนผู้กระทำการแทนนายทุนในการเข้าบุกรุกทำลายป่า เป็นการสร้างสำนวนโวหารใหม่ในการพรากที่ดินจากราษฎร และเพื่อซ่อนเร้นผลกระทบจากนโยบายดังกล่าวจากการรับรู้ของสาธารณะ โดยพบว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายป่าไม้ในยุคคสช.เกือบทั้งหมดไม่ใช่นายทุนหรือผู้มีอิทธิพล เป็นเพียงเกษตรกร เป็นราษฎรที่พยายามดิ้นรนเพื่อให้หลุดพ้นจากความยากจนและต้องการจะมีชีวิตที่ดีกว่าเดิม</li>
<li>นโยบายป่าไม้ในยุคคสช.สัมพันธ์กับ “ความยากจน” อย่างแนบแน่น ทั้งนี้ ข้ออ้างเพื่อนำที่ดินไปขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำให้กับเกษตรกรผู้ยากไร้นั้นเป็นเรื่องหลอกลวง งานวิจัยพบว่า การแย่งยึดที่ดินก่อให้เกิดสภาวะ “ความยากจนฉับพลัน” และนำไปสู่ภาวะ “ความยากจนเรื้อรัง” ในระยะต่อไป เนื่องจากที่ดินที่ถูกยึดไปเกือบทั้งหมดเป็นที่ดินทำกินและเครื่องมือในการสร้างตัวของครอบครัว การสูญเสียที่ดินเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้ราษฎรไม่อาจวางแผนรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ทัน การอาศัยอำนาจกองทัพและบรรยากาศรัฐประหารมากดดันสร้างความหวาดกลัวจนราษฎรไม่กล้าต่อรอง และเรียกร้องการเยียวยาจากรัฐ เกิดวิฤตการเงินของครัวเรือนซึ่งเป็นผลจากการหายไปของรายได้ที่เคยได้จากผลผลิตทางการเกษตรบนที่ดินที่ถูกยึด รายได้ที่ลดลงอย่างฉับพลันนำไปสู่การเป็นหนี้เพิ่มโดยการกู้ยืมเงินทั้งจากสถาบันการเงินในระบบและ นอกระบบเพื่อใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคในชีวิตประจำวัน บางส่วนนำมาหมุนหนี้ ซึ่งเป็นการบริหารจัดการเงินที่มีความเสี่ยงสูง งานวิจัยยังพบว่า ครัวเรือนจำนวนไม่น้อยไม่มีศักยภาพในการใช้หนี้ได้ตามสัญญา เนื่องจากรายได้ที่หายไปเป็นเงินก้อนสำคัญที่ใช้ “หมุนหนี้” สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดภาวะ “ปัญหาหนี้ข้ามรุ่น” และ “ความยากจนข้ามรุ่น” จากการขาดศักยภาพในการพึ่งตนเองเนื่องจากกลายเป็นครัวเรือนไร้ที่ดิน  </li>
<li>โครงการไฟฟ้าพลังงานลมภายใต้ BCG Model กลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแย่งยึดที่ดินและการเปลี่ยนทรัพยากรเป็นสินค้าผ่านกลไกทุนนิยมระดับ โลก การทำกังหันลมต้องถากถางพื้นที่ป่าเพื่อติดตั้งเสา 14 ต้น ใช้พื้นที่ต้นละ 6 ไร่รวมพื้นที่ 84 ไร่ จะมีการทำถนนเชื่อมต่อระหว่างเสาแต่ละต้นกว้าง 10 เมตรโดยแบ่งเป็นพื้นที่ถนน 8 เมตรไหล่ถนนฝั่งละ 1 เมตร ในส่วนของโรงไฟฟ้าซึ่งจะมีกำลังการผลิตที่ 80 เมกกะวัตต์จะใช้พื้นที่ราว 20 ไร่ <span style="color:#3498db;">[2]</span></li>
<li>กระบวนการแย่งยึดที่ดินที่อาศัยกระแสสิ่งแวดล้อมโลกไม่เพียงก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างประชาชนในประเทศเท่านั้น แต่ยังสร้างความไม่เท่าเทียมกันระหว่างกลุ่มประเทศศูนย์กลางอำนาจและกลุ่มประเทศชายขอบ การออกแบบให้ธรรมชาติกลายเป็นสินค้าในตลาดคาร์บอนเอื้อให้กลุ่มอุตสาหกรรม ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไปได้ตราบเท่าที่จ่ายเงินชดเชยให้กับกลุ่มประเทศที่มีพื้นที่ป่าสมบูรณ์ ระบบคิดดังกล่าวก่อให้เกิดการขูดรีดธรรมชาติและผลักภาระให้ชุมชนท้องถิ่นในซีกโลกใต้ในสองลักษณะคือ (1) กีดกันและขับไล่ชุมชนท้องถิ่นออกจากทรัพยากรที่เคยพึ่งพิงและใช้ประโยชน์ เพื่อทำให้พื้นที่ป่ากลายเป็นพื้นที่บริสุทธิ์ มีศักยภาพในการดูดซับคาร์บอนได้อย่างเต็มที่ เป็นการทำลายดุลยภาพและความสัมพันธ์ระหว่างคนและระบบนิเวศธรรมชาติ และ (2) ขูดรีดศักยภาพของชุมชนในการพึ่งตนเอง การแย่งยึดเพื่อเปลี่ยนพื้นที่ป่าให้กลายเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ เปลี่ยนทรัพยากรให้เป็นสินค้าได้ทำลายศักยภาพในการพึ่งตนเองของชุมชนไปอย่างไม่สนใจใยดี</li>
</ul>
<p><strong>กิติมา ขุนทอง นักวิจัยโครงการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร </strong>กล่าวว่า “นโยบายทวงคืนผืนป่าได้สร้างความทุกข์จนทางเศรษฐกิจไปพร้อมกับความทุกข์ตรมทางอารมณ์แก่ชาวบ้านผู้ถูกแย่งยึดที่ดิน รัฐต้องรื้อถอนกรอบคิดเรื่องธรรมชาติเป็นพื้นที่บริสุทธิ์ โดยพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพ และตระหนักว่าความสัมพันธ์และการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติไม่ได้อยู่ในลักษณะคู่ตรงข้ามหรือมุ่งทำลายล้างทรัพยากรธรรมชาติแต่เพียงด้านเดียว”</p>
<p>ข้อเรียกร้องจากนักปกป้องสิทธิกลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลายมีดังนี้</p>
<ul>
<li>ยกเลิกแผนแม่บทแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ 2557 รัฐต้องยอมรับว่าการปฏิบัติการนโยบายดังกล่าวไม่ได้วางอยู่บนหลักการอันชอบธรรมทางกฏหมายและสิทธิมนุษยชน รวมถึงข้อเท็จจริงในพื้นที่จนทำให้เกิดสถานการณ์แย่งยึดป่าไม้และที่ดิน ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพของราษฎรโดยเฉพาะเกิดความยากจน เกิดความทุกข์ทนเชิงสังคมและอารมณ์</li>
<li>ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากนโยบายป่าไม้ในยุค คสช เพื่อแก้ไขปัญหา และเยียวยาในระดับจังหวัดและระดับประเทศ พร้อมให้ดำเนินการสำรวจรังวัดแนวเขตใหม่โดยใช้ความเป็นธรรมทางกฏหมายและข้อเท็จจริงในพื้นที่ ให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบมีสิทธิพิสูจน์สิทธิการใช้ประโยชน์ แนวทางการแก้ไขปัญหาไม่ควรถูกบีบให้แคบอยู่ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งในการแย่งยึดที่ดินของประชาชน</li>
<li>เปิดให้ประชาชนเสนอแนวทางการจัดการที่ดินตามบริบทของพื้นที่และสอดคล้องกับการใช้ที่ดินเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ในระหว่างแก้ไขปัญหา (1) ให้คืนสิทธิและยกเลิกคดี ให้สามารถเข้าใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่ต้องวิตกกังวลเรื่องความปลอดภัยทางกฏหมาย (2) คืนเอกสารสิทธิประชาชน (สปก. 4-01) ที่รัฐริบไป</li>
<li>ตั้ง “กองทุนฟื้นฟูและเยียวยา” ประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน ตั้งแต่ระยะสั้นจนถึงระยะยาว และการเยียวยาโดยครอบคลุมทุกมิติโดยเฉพาะการสูญเสียรายได้ รวมทั้งต้องนับรวมต้นทุนการต่อสู้เพื่อทวงคืนสิทธิเป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบ</li>
<li>รัฐต้องยอมรับว่าการใช้กลไกตลาดมาเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงระหว่างการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติกับการแสวงประโยชน์จากพื้นป่าและทรัพยากรธรรมชาตินั้นไปด้วยกันไม่ได้ รังแต่จะก่อให้เกิดการแย่งชิงและกีดกันชุมชนออกจากทรัพยากรที่พึ่งพิงและใช้ประโยชน์ ผลักภาระให้ธรรมชาติและราษฎรต้องแบกรับแทนภาคการผลิตอุตสาหกรรมอย่างไม่ยุติธรรม ท้ายที่สุดจะนำไปสู่การถ่างกว้างของปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ</li>
<li>รัฐต้องยุติการข่มขู่ คุกคาม และปกป้องคุ้มครองผู้หญิงและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ที่ลุกขึ้นมายืนหยัดถึงสิทธิในที่ดิน สิทธิในทรัพยากรและสิทธิชุมชน</li>
</ul>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53563322412_9e6042321c_k_d.jpg" /></p>
<p>ทั้งนี้เครือข่ายภาคประชาสังคม ฯ ได้จัดแสดงนิทรรศการ “BCG แย่งยึดอะไรที่คำป่าหลาย  นโยบายฟอกเขียวในนามความยั่งยืนหรือการแย่งยึดแผ่นดินราษฎร” สะท้อนเรื่องราววิถีชีวิต และผลกระทบจากนโยบายของภาครัฐที่มีต่อราษฎรกลุ่มอนุรักษ์น้ำซับคำป่าหลายตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน  เปิดให้ประชาชนทั่วไปสามารถเยี่ยมชมนิทรรศการได้ที่ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) วันที่ 27 ก.พ. - 10 มี.ค. 2567 เวลา 10.00-20.00 น.</p>
<p><strong>หมายเหตุ</strong>
<span style="color:#3498db;">[1] </span><span style="color:#3498db;">สรุปรายงานวิจัย “การแย่งยึดที่ดินจากนโยบายป่าไม้ในยุคทหาร คสช. กับการผลิตซ้ำความจนเรื้อรัง กรณีป่าสงวนแห่งชาติดงหมู แปลง 2”</span><span style="color:#3498db;">
[2] </span><span style="color:#3498db;">เอกสารสรุปข้อมูลโครงการผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม</span></p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
 

https://prachatai.com/journal/2024/03/108285
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน


หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้
หัวข้อ เริ่มโดย ตอบ อ่าน กระทู้ล่าสุด
[ข่าวมาแรง] - ศาลอนุมัติหมายจับเจ้าของโกดังเก็บดอกไม้เพลิงมูโนะ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 521 กระทู้ล่าสุด 02 สิงหาคม 2566 14:49:17
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - องค์กรพิทักษ์สัตว์เรียกร้องให้เพิ่มเรื่องสวัสดิภาพสัตว์และห้ามใช้ยาปฏิชีวน
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 560 กระทู้ล่าสุด 05 สิงหาคม 2566 15:31:10
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - คาดแบงก์พาณิชย์ไทยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย กนง.
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 443 กระทู้ล่าสุด 06 สิงหาคม 2566 18:04:42
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - ประเทศไทยกำลังเดินถอยหลังเรื่องความคุ้มครองความยากจนผู้สูงอายุ
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 459 กระทู้ล่าสุด 17 สิงหาคม 2566 17:55:22
โดย สุขใจ ข่าวสด
[ข่าวมาแรง] - เผยนักกิจกรรมชายแดนใต้ถูกคุกคามหลังไลฟ์สดการปิดล้อม
สุขใจ ร้านน้ำชา
สุขใจ ข่าวสด 0 325 กระทู้ล่าสุด 20 สิงหาคม 2566 15:35:02
โดย สุขใจ ข่าวสด
Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.573 วินาที กับ 33 คำสั่ง

Google visited last this page 30 พฤษภาคม 2567 19:37:45