'ไบร์ท' ชินวัตร ถูกจำคุก 3 ปี ไม่รอลงอาญา คดี ม.112-116 ปราศรัย #ม็อบ29พฤศจิกา63
<span class="submitted-by">Submitted on Sat, 2024-03-16 13:04</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>ภาพปก: #29พฤศจิกาไปราบ11 </p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><p>ศูนย์ทนายฯ รายงานจำคุก 6 ปี ก่อนลดเหลือ 3 ปี เหตุรับสารภาพ ปรับพินัย 1,100 บาท 'ไบรท์' ชินวัตร จันทร์กระจ่าง คดี ม.112 และ 116 ปราศรัย #ม็อบ29พฤศจิกา63 หน้าราบ 11 ส่วนจำเลยอีก 7 คน อัยการแยกฟ้องใหม่แล้ว</p>
<p> </p>
<p>16 มี.ค. 2567 เ
ว็บไซต์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้รับรายงานวานนี้ (15 มี.ค.) ศาลอาญา รัชดาภิเษก กรุงเทพฯ มีคำพิพากษาในคดี ชินวัตร จันทร์กระจ่าง หรือไบร์ท ข้อหามาตรา 112 กรณีปราศรัยในการชุมนุม #ม็อบ29พฤศจิกา63 "ปลดอาวุธศักดินาไทย" หน้ากรมทหารราบที่ 11</p>
<p style="text-align: center;"> </p>
<blockquote class="twitter-tweet"><p dir="ltr" lang="th" xml:lang="th">จำคุก 3 ปี ปรับพินัย 1,100 บาท “ไบรท์” คดี
#ม112 #ม116 ปราศรัยใน
#ม็อบ29พฤศจิกา63 หน้าราบ 11 ส่วนจำเลยอีก 7 คน อัยการแยกฟ้องใหม่แล้ว</p>
<p>ศูนย์ทนายฯ ได้รับรายงานว่า ศาลอาญามีคำพิพากษาในคดี ของ “ไบรท์”ชินวัตร ซึ่งมีข้อหาหลักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กรณีปราศรัยในการชุมนุม…
pic.twitter.com/FobPy71jAJ</p>
<p>— TLHR / ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (@TLHR2014)
March 15, 2024</p>
<script async="" src="
https://platform.twitter.com/widgets.js" charset="utf-8"></script><p> </p>
<div class="more-story">
<p>ข่าวที่เกี่ยวข้อง</p>
<ul>
<li>
ประมวล #29พฤศจิกาไปราบ11 : ขบวนเป็ดถึงราบ 11 ย้ำ 'กษัตริย์ไม่จำเป็นต้องมีกองกำลังส่วนตัว'</li>
<li>
ศาลให้ประกันทั้ง 4 คนจากคดี #ม็อบ29พฤศจิกาไปราบ11-'แหวน ณัฏฐธิดา' ตั้ง 'ทนายอานนท์' ช่วยว่าความ</li>
<li>
<p>
"กล้ามาก" สน.บางเขนแจ้งข้อหา 112 'ทราย เจริญปุระ' และผู้ปราศรัยหน้ากรมทหารราบที่ 11</p>
</li>
</ul>
</div>
<p>ศาลพิพากษาว่า ชินวัตร มีความผิดใน 8 ข้อหา จำคุก 6 ปี ปรับเป็นพินัย 2,200 บาท แต่จำเลยรับสารภาพ จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 3 ปี ปรับเป็นพินัย 1,100 บาท ส่วนจำเลยอีก 7 คน ที่ต่อสู้คดีอยู่ ศาลสั่งจำหน่ายคดีและให้พนักงานอัยการแยกฟ้องเข้ามาใหม่</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ชินวัตร ภายหลังเปลี่ยนคำให้การเป็น "รับสารภาพ" ศาลพิพากษาจำคุก 3 ปี</span></h2>
<p>กรณีนี้เดิมมีผู้ถูกดำเนินคดีทั้งหมด 8 ราย ได้แก่ อานนท์ นำภา, พริษฐ์ ชิวารักษ์, ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, สมยศ พฤกษาเกษมสุข, พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ, ณัฎฐธิดา มีวังปลา, พรหมศร วีระธรรมจารี, อินทิรา เจริญปุระ โดยทั้งหมดเป็นผู้ปราศรัยในการชุมนุมดังกล่าว ยกเว้น อินทิรา ที่ไม่ได้ขึ้นปราศรัยใดๆ </p>
<p>ผู้ถูกกล่าวหาทั้งแปดได้เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในคดีนี้ที่ สน.บางเขน เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2563 โดยพนักงานสอบสวนได้แจ้ง 10 ข้อหา แก่ 7 ผู้ปราศรัย ได้แก่ ข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, มาตรา 116, มาตรา 215, มาตรา 216, มาตรา 385, ฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ไม่แจ้งการชุมนุมสาธารณะ ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมฯ, เททิ้งปฏิกูล มูลฝอยลงบนถนน ตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ, และข้อหาใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต ต่อมามีการแจ้งข้อหาตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ เข้ามาด้วย</p>
<p>ต่อมา เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2564 พนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องคดีของทั้ง 8 คนต่อศาลอาญา สำหรับจำเลย 7 ราย ยกเว้น อินทิรา ที่ไม่ได้ถูกฟ้องในข้อหาตามมาตรา 112</p>
<p>กระทั่ง วันที่ 1 ก.พ. 2567 ซึ่งเป็นนัดสืบพยานโจทก์ ชินวัตรตัดสินใจถอนคำให้การเดิมจาก "ปฏิเสธ" เป็นรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา คดีจึงเสร็จการพิจารณาในส่วนของชินวัตร และนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 12 มี.ค. 2567</p>
<p>ในวันดังกล่าว ชินวัตร ได้ถูกเบิกตัวไปสืบพยานคดีชุมนุมอีกคดีหนึ่ง ที่ศาลแขวงพระนครเหนือ ศาลอาญา จึงเลื่อนอ่านคำพิพากษาไปในช่วงบ่าย</p>
<p>ต่อมา พบว่าศาลมีคำพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้อง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ มาตรา 112 จำคุก 4 ปี, มาตรา 116, ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ, ฐานร่วมกันเป็นหัวหน้าในการมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป, ฐานเมื่อเจ้าหน้าที่สั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก และฐานร่วมกันกีดขวางการจราจร เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชน ตามมาตรา 116 อันเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 2 ปี</p>
<p>ฐานร่วมกันทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงดัวยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ปรับเป็นพินัย 200 บาท ฐานกระทำให้ปรากฏด้วยประการใดๆ ซึ่งข้อความ ภาพ หรือรูปรอยใดๆ บนถนนสาธารณะ ให้ปรับเป็นพินัย 2,000 บาท</p>
<p>จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ม.112 คงจำคุก 2 ปี ฐานร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชน คงจำคุก 1 ปี ฐานร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงดัวยกำลังไฟฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาต คงปรับเป็นพินัย 100 บาท ฐานกระทำให้ปรากฏด้วยประการใดๆ ซึ่งข้อความ ภาพ หรือรูปรอยใดๆ บนถนนสาธารณะ คงปรับเป็นพินัย 1,000 บาท รวมจำคุก 3 ปี และปรับเป็นพินัย 1,100 บาท โดยให้นับโทษจำคุกต่อจากคดีที่ศาลมีคำพิพากษาก่อนหน้านี้</p>
<p>จนถึงปัจจุบัน ในคดีมาตรา 112 ของ ชินวัตร จันทร์กระจ่าง ที่เขาเปลี่ยนคำให้การเป็นรับสารภาพ ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาออกมาทั้งหมด 5 คดีแล้ว โดยมี 1 คดีที่ศาลพิพากษาให้รอลงอาญา ขณะที่อีก 4 คดีศาลลงโทษจำคุกโดยไม่รอลงอาญาทั้งหมด ได้แก่ 1. คดีชุมนุม #2ธันวาไปห้าแยกลาดพร้าว ลงโทษจำคุก 3 ปี, 2. คดีชุมนุม #25พฤศจิกาไปSCB ลงโทษจำคุก 3 ปี, 3. คดีปราศรัยหน้า สน.บางเขน ลงโทษจำคุก 1 ปี 6 เดือน และ 4. ล่าสุดคดีนี้ปราศรัยหน้าราบ 11 #ม็อบ29พฤศจิกา63</p>
<p>หากนับโทษจำคุกในสี่คดีที่ไม่รอลงอาญานี้ ชินวัตร จันทร์กระจ่าง มีโทษจำคุกจากคำพิพากษา รวม 10 ปี 6 เดือน แต่ทั้งนี้ในแต่ละคดีจะมีการอุทธรณ์คำพิพากษาต่อไป</p>
<p>ปัจจุบัน ชินวัตร จันทร์กระจ่าง ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เป็นเวลา 16 วันแล้ว</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">อัยการแยกฟ้องจำเลยอีก 7 รายใหม่ ศาลนัดตรวจพยาน 26 ส.ค. 2567</span></h2>
<p>สำหรับจำเลยอีก 7 ราย ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี และให้พนักงานอัยการแยกฟ้องจำเลยทั้งหมดเข้ามาใหม่ ซึ่งพนักงานอัยการได้สั่งฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญาใหม่แล้ว เมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2567 โดยจำเลยทั้งหมดต้องทำการประกันตัวใหม่อีกครั้ง และยืนยันให้การปฏิเสธข้อกล่าวหา ศาลได้นัดตรวจพยานหลักฐานต่อไปในวันที่ 26 ส.ค. 2567 </p>
<p>สำหรับเนื้อหาในคำฟ้อง ธนานนท์ รัตนาเดชาชัย พนักงานอัยการ บรรยายฟ้องโดยสรุปในหลายข้อหา ดังนี้</p>
<p><strong>จำเลยทั้ง 7 คนเป็นผู้จัดการชุมนุม ไม่แจ้งการชุมนุมต่อเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558</strong></p>
<p>จำเลยทั้ง 7 และชินวัตร จันทร์กระจ่าง ร่วมกันและแยกกันกระทำความผิดต่อกฎหมายหลายบทหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2563 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 29 พ.ย. 2563 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ต่อเนื่องกัน จำเลยทั้งเจ็ดกับพวกร่วมกันเป็นผู้จัดการชุมนุมสาธารณะ โดยประกาศชักชวนประชาชนมาชุมนุมทางการเมืองผ่านช่องทางต่างๆ และสื่อออนไลน์ โดยใช้หลายบัญชีโพสต์ข้อความประกาศชักชวนให้ประชาชนโดยทั่วไปออกมาร่วมชุมนุม ‘ปลดอาวุธศักดินาไทย’ ในวันที่ 29 พ.ย. 2563 เวลา 15.00 น. ที่กรมทหารราบที่ 11 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์</p>
<p>จำเลยที่ 1 ถึง 5 กับพวก ได้ร่วมกันกล่าวปราศรัยเรียกร้องเชิญชวนประชาชนให้ร่วมกันต่อสู้เปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ในที่สาธารณะ โดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้กำกับการ สน.บางเขน ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง</p>
<p><strong>จำเลยที่ 1-6 ร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป-เจ้าพนักงานสั่งให้เลิกมั่วสุมแล้วไม่เลิก ตาม ปอ. มาตรา 215 และ มาตรา 216 </strong></p>
<p>จำเลยที่ 1 ถึง 6 กับพวก ร่วมกันชุมนุมมั่วสุมตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายและกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง โดยเข้าร่วมกิจกรรมการรวมตัวกันชุมนุมทางการเมือง ซึ่งมีประชาชนทั่วไปประมาณ 2,000 คน โดยรวมตัวกันปิดการจราจรบริเวณวงเวียนบางเขน ซึ่งเป็นทางสาธารณะ, ดันรถโดยสารเก่าและทำการรื้อลวดหนามของเจ้าหน้าที่ออก, เคลื่อนขบวนพร้อมรถบรรทุกติดเครื่องขยายเสียงและขนย้ายเป็ดลมยางไปตามทางช่องทางจราจร, นำที่กั้นแบริเออร์สีส้มและกรวยยางปิดการจราจร และปราศรัยบนถนนสาธารณะ </p>
<p>พ.ต.อ.อรรถพล มีเสียง ผู้กำกับ สน.บางเขน ซึ่งปฏิบัติหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยและควบคุมสถานการณ์การจัดการชุมนุม ได้แจ้งให้จำเลยทั้งหกกับพวกว่า การชุมนุมเป็นการชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และให้ผู้ชุมนุมยุติการชุมนุม แต่จำเลยทั้งหกกับพวกไม่ยอมเลิก</p>
<p>นอกจากนี้ พนักงานอัยการยังระบุว่า จำเลยที่ 1 ถึง 5 เป็นหัวหน้าหรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการร่วมกันมั่วสุมอีกด้วย</p>
<p><strong>จำเลยที่ 1-6 ร่วมกันกีดขวางการจราจรและกีดขวางทางสาธารณะ ตาม ป.อ. มาตรา 385-พ.ร.บ.จราจรฯ</strong></p>
<p>การกระทำของจำเลยทั้งหกกับพวกเป็นการกระทำด้วยประการใดๆ ในลักษณะที่เป็นการกีดขวางการจราจรและกีดขวางทางสาธารณะ ประชาชนทั่วไปไม่สามารถสัญจรไปมาได้ จนเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจรของประชาชนทั่วไปโดยไม่มีเหตุอันสมควร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน</p>
<p><strong>จำเลยที่ 1-6 ร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโฆษณากล่าวปราศรัย ตาม พ.ร.บ.เครื่องขยายเสียงฯ </strong></p>
<p>จำเลยที่ 1-6 กับพวกร่วมกันใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้าโฆษณากล่าวปราศรัยบนเวทีหรือขบวนรถบรรทุกติดตั้งเครื่องขยายเสียงแก่ประชาชนทั่วไป โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่</p>
<p><strong>จำเลยที่ 1-6 ร่วมกันทำให้ปรากฏด้วยประการใดๆ ซึ่งข้อความ ภาพ หรือรูปรอยในที่สาธารณะ ตาม พ.ร.บ.ความสะอาดฯ </strong></p>
<p>จำเลยที่ 1-6 กับพวกร่วมกันเทสีลงและขีดเขียนข้อความลงบนพื้นถนน อันเป็นทางสาธารณะและทรัพย์สินต่างๆ ของทางราชการ อันเป็นการขูด ขีด เขียน พ่นสี หรือทำให้ปรากฏด้วยประการใด ๆ ซึ่งข้อความ ภาพ หรือรูปรอยใดที่กำแพงที่ติดกับถนน บนถนนที่ต้นไม้ หรือส่วนใดของอาคารที่อยู่ติดกับถนนหรืออยู่ในที่สาธารณะ โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับการยกเว้น</p>
<div style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/50659679518_bc02803d0b_b.jpg" /></div>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#d35400;">บรรยากาศการชุมนุมเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2563</span></p>
<p><strong>จำเลยที่ 1-6 ร่วมกันทำกิจกรรมหรือการมั่วสุมกันในสถานที่แออัด เสี่ยงต่อการแพร่โรค ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ</strong></p>
<p>จำเลยที่ 1-6 ร่วมกันทำกิจกรรมหรือมั่วสุมกัน ณ สถานที่ใด ๆ ที่แออัดและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่ายในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคในเขตพื้นที่ที่หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงประกาศกำหนด</p>
<p>นอกจากนี้ พนักงานอัยการยังระบุว่า จำเลยที่ 1 ถึง 5 กับพวกไม่ได้จำกัดทางเข้า-ออกในการเข้าร่วมกิจกรรมการรวมกลุ่ม เพื่อชุมนุมทางการเมือง และไม่จัดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้า และไม่จัดให้มีการเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค อันเป็นการจัดกิจกรรมการรวมกลุ่มเพื่อชุมนุมทางการเมืองโดยไม่จัดให้มีมาตรการป้องกันโรคโควิด-19</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">จำเลยที่ 1-6 ถูกตั้งข้อหา ม.112 เหตุปราศรัยเรียกร้องให้ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์</span> </h2>
<p>จำเลยที่ 1-6 กับพวกเป็นตัวการร่วมกันหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ โดยร่วมกันผลัดเปลี่ยนกันใช้เครื่องขยายเสียง พูดหรือปราศรัยแก่ประชาชนหลายคนในระหว่างการชุมนุมสาธารณะ สามารถสรุปรายละเอียดคำปราศรัยได้ดังนี้</p>
<p>อานนท์ นำภา ปราศรัยตั้งคำถามถึงการโอนกองกำลังทหารให้ไปอยู่ใต้องค์พระมหากษัตริย์ และย้ำข้อเรียกร้องขอให้สถาบันกษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ</p>
<p>พริษฐ์ ปราศรัยถึงสถาบันกษัตริย์ไม่มีความจำเป็นต้องมีกองกำลังส่วนตัว และไม่ควรแทรกแซงอำนาจของประชาชน </p>
<p>สมยศ ปราศรัยถึงประวัติที่มาของกองพลทหารราบที่ 11 ว่า ตั้งขึ้นมาเพื่อรักษาความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 พร้อมตั้งคำถามว่า เพราะเหตุใดจึงไม่มีทหารเพื่อประชาชน และเรียกร้องถึงการตรวจสอบสถาบันกษัตริย์ได้อย่างโปร่งใส
พิมพ์สิริ ปราศรัยถึงหน้าที่ของกองทัพและสถาบันในการทำรัฐประหารของไทย พร้อมกล่าวถึงข้อคิดเห็นของผู้รายงานพิเศษของสหประชาชาติว่าไม่มีการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทกษัตริย์ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ย้ำว่ากฎหมายมาตรา 112 มีปัญหาและควรยกเลิก </p>
<p>ณัฎฐธิดา ปราศรัยว่า "มึงยัด 112 ให้กู ซึ่งกูไม่เคยรู้เรื่อง 112 จากพวกมึงเลย" และ "เมื่อถามคนบนฟ้าใครสั่งยิงก็ไม่ตอบ"</p>
<p>พรหมศร ปราศรัยตั้งคำถามว่า เพราะเหตุใดจึงต้องมีทหารส่วนพระองค์ และเหตุใดจึงต้องมีผู้แทนพระองค์แทนสำนักงานทรัพย์สิน และต้องการให้สถาบันกษัตริย์สามารถตรวจสอบได้</p>
<p>พนักงานอัยการยังระบุว่า จำเลยที่ 1-6 กับพวกมีเจตนาทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนชาวไทย ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพต่อพระมหากษัตริย์ซึ่งอยู่ในฐานะที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้</p>
<p><strong>จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันยุยงปลุกปั่น ให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ตาม ป.อ. มาตรา 116</strong></p>
<p>จำเลยทั้งเจ็ดกับพวกได้ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีการอื่นใด อันมิเป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญหรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริตเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะเกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน </p>
<p>การกระทำของจำเลยทั้งเจ็ดคนเป็นการชักชวน ยุยงให้ประชาชนเข้าชุมนุมมั่วสุมขณะที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในภาวะที่มีการระบาดของโควิด-19 เป็นการกระทำใด ๆ อันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยและไม่ได้กระทำภายในขอบเขตการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ จัดการชุมนุมโดยไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้รับแจ้งและไม่แจ้งให้ผู้ชุมนุมปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้ชุมนุม ตามมาตรา 16 พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ</p>
<p>จำเลยที่ 1 ถึง 6 กับพวกจัดปราศรัยต่อประชาชนจำนวนมากโดยมีสาระสำคัญมุ่งโจมตีรัฐบาลและสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เปลี่ยนแปลงกฎหมายแผ่นดิน ให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีเจตนาบิดเบือนเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ทำให้พระมหากษัตริย์เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยและความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่องต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข </p>
<p>ถึงขนาดยุยงปลุกปั่นให้ประชาชนไปชุมนุม ประท้วง เรียกร้อง ขู่เข็ญ หรือบังคับกดดันรัฐบาลและรัฐสภา ขู่เข็ญหรือบังคับให้พระมหากษัตริย์อยู่ใต้ประชาชน ให้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายเพื่อจำกัดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในด้านต่างๆ ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอันจะก่อให้เกิดความแตกแยก ความไม่สงบในราชอาณาจักร ทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะ อันเป็นความผิดต่อพระมหากษัตริย์ </p>
<p>เป็นเหตุให้ประชาชนที่ได้เข้าร่วมการชุมนุมมีการแสดงความคิดเห็นร่วมตะโกน ตอบโต้ โห่ร้อง ปรบมือสนับสนุน อันเป็นการทำให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2024/03/108444 







