เลขาฯ ครม.แจง 'ประชาไท' ปมประกาศพระราชทานเครื่องราชฯให้ชาวต่างปท.ไม่ปรากฎชื่อผู้รับสนองฯ ถูกต้องแล้ว
<span class="submitted-by">Submitted on Mon, 2024-04-01 18:25</span><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li>สำนักเลขาฯ ครม. แจง 'ประชาไท' ปมประกาศพระราชทานเครื่องราชฯให้แก่ชาวต่างประเทศ ไม่ปรากฎชื่อผู้รับสนองพระบรมราชโองการเหมือนก่อนหน้านั้น ถูกต้องแล้ว ย้ำเป็นพระราชอํานาจ ตามรัฐธรรมนูญ ม.9 </li>
<li>พร้อมย้อนดูการเปลี่ยนจากประกาศสำนักนายกฯ โดยมีนายกฯ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนาม เป็นพระบรมราชโองการ 3 ฉบับล่าสุด ที่ไม่ปรากฎชื่อผู้รับสนองพระบรมราชโองการ </li>
</ul>
</div>
<p>จากกรณีตัวแทนกองบรรณาธิการข่าวประชาไท ยื่นหนังสือถึง เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เพื่อสอบถามถึงเหตุผลที่ไม่ปรากฏชื่อนายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ 2 ฉบับล่าสุด รวมทั้งเหตุใด 2 ฉบับดังกล่าวถึงไม่ออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเหมือนฉบับก่อนหน้านี้ นั้น</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53625114930_99cae1d340_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53625001474_1b0d69833b_b.jpg" /></p>
<p>ล่าสุด วันนี้ (1 เม.ย.67) สารบรรรณกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ส่งหนังสือ เลขที่ นร0508/ท1747 ผ่านอีเมล
saraban@soc.go.th ถึง เทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการบริหารประชาไท เรื่อง ขอทราบหลักเกณฑ์การลงประกาศในราชกิจจานุเบกษากรณีการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ ลงวันที่ 29 มี.ค. 2567 ลงชื่อ นรุตม์ ธัญวงษ์ ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ระบุว่า การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศดังกล่าวเป็นไป ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 9 ซึ่งบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ทรงไว้ซึ่งพระราชอํานาจที่จะพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประกอบระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2564 ข้อ 7 ซึ่งกําหนดให้เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่บุคคลใดให้สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป </p>
<p>พร้อมยืนยันว่า ในการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษาสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ดําเนินการตามหลักเกณฑ์ของระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2566 ข้อ 9 และข้อ 12 รายละเอียดตามสิ่งที่มาด้วย 2 ซึ่งเห็นว่า ถูกต้องแล้ว</p>
<p>ซึ่งหนังสือดังกล่าวยังแนบ
ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2564 และ
ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจา นุเบกษา พ.ศ. 2566 มาด้วย</p>
<div class="more-story">
<ul>
<li>
‘ประชาไท’ ส่งจม.ถาม ‘สุรยุทธ์’ ปมไม่ปรากฏชื่อลงนามรับสนองฯ ตั้ง ‘ประยุทธ์’ เป็นองคมนตรี และ 2 คนก่อน</li>
<li>
พบประกาศพระราชทานเครื่องราชฯ ให้แก่ชาวต่างปท. เปลี่ยนจากนายกฯ เป็นผู้รับสนองฯ เป็นไม่ปรากฎชื่อ</li>
<li>
<p>
สนง.ปลัดสำนักนายกฯ แจ้ง 'ประชาไท' ส่งคำถามปมไม่ปรากฏชื่อนายกฯ ลงนามรับสนองฯ ให้ สำนักเลขาฯ ครม.แล้ว</p>
</li>
</ul>
</div>
<p>ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2564 ข้อ 7 บัญญัติไว้ว่า</p>
<div class="ืnote-box">
<div class="note-box">
<p style="margin-left: 40px;">ข้อ 7 เครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นเครื่องหมายแห่งเกียรติยศ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานแก่ผู้กระทำควำมดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ราชการหรือสาธารณชน ตามที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควร เพื่อเป็นบำเหน็จความชอบและเครื่องหมายเชิดชู เกียรติยศอย่างสูงแก่ผู้ได้รับพระราชทาน</p>
<p style="margin-left: 40px;">เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่บุคคลใด ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป</p>
</div>
</div>
<p>ระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2566 ข้อ 9 และข้อ 12 บัญญัติว่า</p>
<div class="note-box">
<p style="margin-left: 40px;">ข้อ 9 หน่วยงานเจ้าของเรื่องหน่วยงานใดมีเรื่องที่ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา ถ้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดเป็นอย่างอื่น ให้ส่งเรื่องพร้อมทั้งเอกสารแนบ (ถ้ามี) ที่ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีก่อนวันที่ประสงค์ จะให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจส่งล่วงหน้าได้ ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องประสานกับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเป็นกรณี ๆ ไป</p>
<p style="margin-left: 40px;">ในกรณีเรื่องที่ส่งมาประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นเรื่องที่ต้องมีลายมือชื่อของผู้มีอำนาจ ในการทำเรื่องนั้น ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องส่งเอกสารที่เป็นต้นฉบับที่มีลายมือชื่อของผู้มีอานาจดังกล่าว ให้สานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพร้อมกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งด้วย</p>
<p style="margin-left: 40px;">การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามลักษณะ รูปแบบ ขนาด วิธีการ และหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะรัฐมนตรีกาหนด</p>
<p style="margin-left: 40px;">ข้อ 12 เมื่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้รับเรื่องที่จะประกาศในราชกิจจานุเบกษา จากหน่วยงานเจ้าของเรื่องที่ถูกต้องครบถ้วนและสมบูรณ์แล้ว ให้ดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยเร็วซึ่งต้องไม่ช้ากว่าเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง เว้นแต่เลขำธิการคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรประกาศ ภายหลังกำหนดเวลาดังกล่าวหรือหน่วยงานเจ้าของเรื่องกำหนดวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไว้เป็นการเฉพาะ ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต้องจัดให้มีระบบในการสืบค้นจากประเภท ลักษณะ ชื่อของข้อมูล เนื้อเรื่อง ความเกี่ยวข้อง หรือเรื่องอื่นๆ ที่จะทำให้สะดวกและรวดเร็วในการค้นหาด้วย</p>
</div>
<p>ทั้งนี้เมื่อวันที่ 22 ธ.ค.2566 ตัวแทนกองบรรณาธิการข่าวประชาไทเข้ายื่นหนังสือถึง เศรษฐา นายกรัฐมนตรี ผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกของรัฐบาล 1111 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อสอบถามถึงเหตุผลที่ไม่ปรากฏชื่อนายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ 2 ฉบับล่าสุด รวมทั้งเหตุใด 2 ฉบับดังกล่าวถึงไม่ออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเหมือนฉบับก่อนหน้านี้ โดยการยื่นหนังสือดังกล่าว ได้รับหมายเลขรับเรื่อง นร01660004370 จนต่อมา นลินี มหาขันธ์ ผอ.ศูนย์บริการประชาชน ปฏิบัติราชการแทนปลัดสำนักนายกฯ ลงวันที่ 5 ม.ค.ที่ผ่านมา ว่าทางสำนักงานปลัดสำนักนายกฯ ได้ประสานส่งเรื่องให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจรับผิดชอบกรณีที่ กองบรรณาธิการข่าวประชาไท ได้มีหนังสือคำร้องมาเพื่อพิจารณา โดยขอให้แจ้งผลให้ท่านทราบโดยตรงด้วยแล้ว นั้น</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">ย้อนดูการเปลี่ยนจากประกาศสำนักนายกฯ โดยมีนายกฯ เป็นผู้ลงนามรับสนองฯ มาเป็น 3 ฉบับล่าสุด</span></h2>
<p>ก่อนหน้านั้น 13 พ.ย. 2566 ประชาไท พบว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ [1. นางทาเลีย เจรัลดีน ลิน (Mrs. Thalia Geraldine Lyn) 1. นายโฮเซ กิเยร์โม โรโม โรเมโร (Mr. José Guillermo Romo Romero)] ซึ่งเปลี่ยนจากประกาศสำนักนายกฯ โดยมีนายกฯ เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนาม เป็นพระบรมราชโองการ และไม่ปรากาฎชื่อผู้รับสนองพระบรมราชโองการเหมือนก่อนหน้า </p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53331583110_9a685d8704_h.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">เปรียบเทียบประกาศพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ จาก 21 เม.ย.2566 และก่อนหน้านั้น ที่ออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี และมีนายกฯ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ กับประกาศเมื่อวันที่ 13 พ.ย.2566 ออกเป็นพระบรมราชโองการ และไม่ปรากาฎชื่อผู้รับสนองพระบรมราชโองการเหมือนก่อนหน้า</span></p>
<p>และจากการสืบค้นในเว็บไซต์เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา พบว่า ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ พบ 3 ครั้งล่าสุดนี้ ไม่มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ โดยครั้งก่อนหน้าคือวันที่ 10 ต.ค.2566 ในพระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ [1. นางทาเลีย เจรัลดีน ลิน (Mrs. Thalia Geraldine Lyn) 2. นายโฮเซ กิเยร์โม โรโม โรเมโร (Mr. José Guillermo Romo Romero)] และล่าสุดเมื่อวันที่ 26 มี.ค.2567
พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ [นายตีแยรี มาตู (Mr. Thierry Mathou) ก็ไม่ปรากฏชื่อผู้ลงนามรับสนองฯ</p>
<p style="text-align: center;"><img alt="" src="
https://live.staticflickr.com/65535/53331351923_ebf518dbb5_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ภาพตัวอย่างการสืบค้น ประกาศพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ จากเว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ย้อนหลัง</span></p>
<p>ทั้งที่ก่อนหน้านั้นออกเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี และมีนายกฯ เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ เช่น เมื่อวันที่ 21 เม.ย.2566 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ [จำนวน 4 ราย 1.นายว็อล์ฟกัง คีสลิง (Mr. Wolfgang Kiessling) ฯลฯ] 19 ม.ค.2566 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ [จำนวน 3 ราย 1. นายอาคิลเล เบนัซโซ (Mr. Achille Benazzo) ฯลฯ] หรือ 31 พ.ค.2565 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ชาวต่างประเทศ [จำนวน 5 ราย 1. นายโยะชิฮิโระ มิวะ (Mr. Yoshihiro Miwa) ฯลฯ] เป็นต้น</p>
</div></div></div><div class="field field-name-field-variety field-type-taxonomy-term-reference field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><a href="/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" typeof="skos:Concept" property="rdfs:label skos:prefLabel" datatype="">ข
https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์
https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai</div></div></div>
https://prachatai.com/journal/2024/04/108659 







