[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
07 กรกฎาคม 2568 14:40:53 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - พลัดถิ่นในไทย ชีวิตแรงงานครีเอทีฟพม่าหลังรัฐประหาร  (อ่าน 164 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 01 สิงหาคม 2567 14:29:37 »

พลัดถิ่นในไทย ชีวิตแรงงานครีเอทีฟพม่าหลังรัฐประหาร
 


<span>พลัดถิ่นในไทย ชีวิตแรงงานครีเอทีฟพม่าหลังรัฐประหาร</span>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2024-07-31T19:36:43+07:00" title="Wednesday, July 31, 2024 - 19:36">Wed, 2024-07-31 - 19:36</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>เรื่อง: ศิชา รุ่งโรจน์ธนกุล</p><p>ภาพปก: กิตติยา อรอินทร์</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p dir="ltr">นับตั้งแต่มีการรัฐประหารในปี 2564 คนทำงานครีเอทีฟในพม่าจำนวนหนึ่งได้หนีภัยเข้ามาใช้ชีวิตในประเทศไทย ประชาไทคุยกับ 2 แรงงานสร้างสรรค์จากพม่าถึงชีวิตในเมืองไทย โอกาสในด้านการทำงานและคุณภาพชีวิตที่ต่างขึ้นอยู่กับสถานะทางกฎหมายของแต่ละบุคคล</p><h2>งานอิสระ</h2><p dir="ltr">“ความที่ผมต้องอยู่อย่างหลบๆ ซ่อนๆ มันทำให้ผมไม่สามารถออกไปถ่ายรูปข้างนอกเหมือนเดิมได้ และผมก็กังวลด้วยว่าคนที่เข้ามาติดต่องานอาจเป็นฝ่ายเผด็จการพม่า”</p><p dir="ltr"><strong>เดวิด (นามสมมติ)</strong> ช่างภาพอิสระจากนครย่างกุ้งผู้มีประสบการณ์กว่า 10 ปีในอาชีพนี้ เล่าให้ประชาไทฟังถึงเส้นทางอาชีพที่จำต้องสะดุดลง หลังจากที่เขาหลบหนีการปราบปรามทางการเมืองมาอยู่เมืองไทยตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว</p><p dir="ltr">ย้อนกลับไปสมัยอยู่ที่พม่า เดวิดเป็นเป็นชาวพม่าเชื้อสายจีนที่ไม่เกี่ยงงานมาแต่ไหนแต่ไร ซึ่งมันห่างไกลจากสภาพที่เขาต้องไร้งานเป็นเวลานานต่อเนื่องแบบนี้</p><p dir="ltr">ก่อนจะเป็นช่างภาพ เขาเคยทำงานมาหลายประเภท รวมถึงงานซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า จนวันหนึ่งเขาเข้าร่วมอบรมการถ่ายภาพและมีโอกาสถ่ายภาพในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่จัดขึ้นที่ประเทศพม่าในปี 2556 ภาพที่เดวิดถ่ายได้เผยแพร่ในนิตยสารหลายเล่ม ซึ่งแจ้งเกิดเส้นทางการเป็นช่างภาพของเขานับแต่นั้น</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53893262313_ab7a3b2700_b.jpg" width="640" height="960" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ภาพขณะเดวิดทำงานในพม่า</p><p class="picture-with-caption">&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53892107912_43eee66e50_b.jpg" width="960" height="681" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">พิธีปิดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ที่จัดขึ้นที่ประเทศพม่าในปี 2556 หนึ่งในภาพที่เดวิดถ่าย</p><p dir="ltr">นับตั้งแต่ที่มีการรัฐประหารในปี 2564 เขาเป็นหนึ่งในคนหนุ่มสาวที่เข้าร่วมการประท้วงต่อต้านเผด็จการพม่า ต่อมาเขาได้รับหมายจับและไม่สามารถอยู่ในประเทศได้อีกต่อไป</p><p dir="ltr">จากนั้นเขาหลบเข้ามาอาศัยที่เมืองชายแดนไทยเพื่อเข้ากระบวนการไปประเทศที่สาม โดยได้รับการคุ้มครองจากองค์การระหว่างประเทศ ทว่าหลังจากอยู่มาระยะหนึ่งและยังไม่มีวี่แววว่าจะเห็นปลายทางในเร็ววัน บวกกับสภาพเมืองที่ไม่เป็นมิตรกับผู้ลี้ภัย เขาตัดสินใจพาตัวเองออกจากที่นั่นโดยมุ่งหน้าสู่กรุงเทพฯ</p><p dir="ltr">“ผมต้องอยู่ที่นั่น (เมืองชายแดน) แบบไม่ออกไปไหนเลย ต้องปิดประตูไว้ ผมกับเพื่อนรวม 4 คนตื่นขึ้นมาก็เจอกันแค่นี้ ถ้าอยากออกไปข้างนอก คือออกไปข้างหลังบ้านได้แค่นิดเดียว ตอนหลบอยู่ในย่างกุ้งก็แบบนี้แหละ เราต้องอยู่ให้เหมือนไม่มีคน ตอนนั้นผมรู้สึกโดดเดี่ยวมาก” เดวิดเล่าถึงสภาพความเป็นอยู่อันหดหู่จนทำให้เขาในขณะนั้นเริ่มสูบบุหรี่</p><p dir="ltr">หลังจากย้ายมาเมืองไทย งานส่วนใหญ่ของเดวิดคือการถ่ายภาพเพื่อใช้ในกิจกรรมของกลุ่มต่อต้านเผด็จการ เดิมช่างภาพคนนี้เคยมีกล้องถึง 5 ตัว แต่หลังจากที่เขาส่งต่อกล้องเกือบทั้งหมดให้กับขบวนการปฏิวัติ เหลือไว้ใช้เองเพียงตัวเดียว ด้วยเหตุผลเรื่องความปลอดภัย เขาร่วมงานได้แค่กับคนที่หนีมาในลักษณะเดียวกัน ทำให้มีงานแค่ 1-2 งานต่อเดือนเท่านั้น</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53892162907_4ed43d2c10_b.jpg" width="960" height="548" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">เดวิดและกล้องหลายตัว</p><p dir="ltr">ในกรณีของบุคคลที่รอไปประเทศที่สามอย่างเดวิด เขาไม่สามารถทำบัตรสีชมพูและบัตร CI เหมือนกับแรงงานข้ามชาติทั่วๆ ไปได้ นั่นทำให้เขามีความผิดตามกฎหมายทั้งการเข้าเมืองและการอยู่อาศัย ทั้งยังเข้าไม่ถึงสิทธิด้านสุขภาพ</p><p dir="ltr">ขณะที่เขาอยู่ในเมืองชายแดน เขาตรวจพบวัณโรคและต่อมาได้รับความช่วยเหลือด้านการรักษาจากองค์การระหว่างประเทศ</p><h2>งานบริษัท</h2><p dir="ltr">ชีวิตของเดวิดอยู่ท่ามกลางความเสี่ยงในหลายมิติ แตกต่างจาก&nbsp;<strong>เอ (นามสมมติ)</strong> ศิลปินอิสระจากนครย่างกุ้งที่หลบเข้ามาเมืองไทยอย่างถูกกฎหมายพร้อมกับสามี</p><p dir="ltr">เวลาผ่านไป 2 ปี เอได้งานเป็นกราฟิกดีไซเนอร์เพื่อการตลาดในบริษัทต่างชาติแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ การมีใบอนุญาตทำงานและวีซ่าธุรกิจทำให้เธอรู้สึกถึงชีวิตที่มั่นคงขึ้น</p><p dir="ltr">“ฉันทำงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการเมืองมาตั้งแต่ก่อนที่จะมีรัฐประหารด้วยซ้ำ แต่สภาพการเมืองแบบนี้ ฉันไม่มีแรงบันดาลใจอะไรอีกแล้ว มีคนบาดเจ็บล้มตายจริง ฉันไม่รู้สึกไม่สนุกเวลาวาดรูป ติดอยู่ในสภาพที่คิดสร้างสรรค์อะไรไม่ออกตั้งแต่เหตุการณ์รัฐประหาร”</p><p dir="ltr">หลังจากที่มีการรัฐประหาร เอเลือกช่วยเหลือพวกองค์กรเยาวชนด้วยฝีมือการทำกราฟิกของเธอ ด้วยเหตุผลที่ว่าองค์กรเหล่านี้มักไม่เป็นที่รู้จักและต้องการทุนสนับสนุนที่มากกว่า</p><p dir="ltr">นอกจากนี้ เธอออกแบบสื่อรณรงค์ในรูปแบบต่างๆ เช่น โปสเตอร์ กราฟิก และเผยแพร่มันทางออนไลน์เพื่อให้ใครก็ตามนำไปใช้ได้เมื่อออกไปประท้วง ทั้งหมดนี้เป็นการทำโดยไม่เปิดเผยตัวตน</p><p dir="ltr">ลักษณะงานของเอมีความปลอดภัยระดับหนึ่ง แตกต่างกับสามีของเธอที่แม้เป็นศิลปินอิสระเช่นเดียวกันแต่หน้างานมีความเสี่ยงมากกว่า วันหนึ่งรูมเมตและเพื่อนร่วมงานของสามีถูกจับ นั่นเป็นจุดที่ทำให้เอและสามีรีบหนีเข้ามายังฝั่งไทย มากกว่าชีวิตที่ต้องรักษาคืออนาคตที่ดีกว่า</p><p dir="ltr">หลังจากย้ายมาที่กรุงเทพฯ เอใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะเริ่มปรับตัวได้ เธอเลี้ยงชีพด้วยงานฟรีแลนซ์ ซึ่งเป็นงานศิลปะเช่นเดิม เพียงแต่ปรับรูปแบบตามสถานการณ์ทางการเมืองที่เปลี่ยนไป โดยมากจะอยู่ในรูปแบบของภาพประกอบรีพอร์ต วารสาร หรืองานวิจัยต่างๆ</p><p dir="ltr">“ฉันเหมือนกับปลาในบ่อที่ว่ายออกมาสู่แม่น้ำ โลกข้างนอกมีอะไรอีกมากมาย ตอนที่ฉันไปแถวๆ สยามแล้วเห็นวัยรุ่นออกมาเที่ยวเล่น ชอปปิง ฉันน้ำตาแตกด้วยความรู้สึกท่วมท้น มันสนุกที่ได้เห็นอะไรแบบนี้ แต่ก็เสียใจกับประเทศตัวเองมากๆ</p><p dir="ltr">เราเป็นประเทศที่อยู่ติดกันแต่ชีวิตผู้คนช่างต่างกันเหลือเกิน ที่พม่า เยาวชนเสียโอกาสด้านการศึกษา ชีวิตพังจนต้องเริ่มจากศูนย์ ฉันเสียใจกับคนรุ่นใหม่ พวกเขาไม่ควรเจอเรื่องแบบนี้”</p><p dir="ltr">ขณะที่เออยู่ในไทยได้ตามกฎหมาย แต่สามีของเธออยู่เกิน (overstay)&nbsp; เนื่องจากเขาอยู่ในระหว่างรอไปประเทศที่สาม สถานะทางกฎหมายเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดคุณภาพชีวิตของผู้หนีภัย</p><p dir="ltr">“เราต้องรอดไปด้วยกัน หนึ่งในพวกเราต้องอยู่ที่นี่อย่างถูกกฎหมายและมีงานที่มั่นคง นั่นเป็นเหตุผลให้ฉันต้องไปทำงานออฟฟิศ ตอนนี้สามีฉันเป็นทำงานเป็นศิลปินเต็มตัวเพื่อการปฏิวัติ ส่วนฉันทำงานบริษัทและเป็นศิลปินได้ในเวลาว่าง พวกเราเป็นทีมเดียวกัน”</p><p dir="ltr">บริษัทที่เอทำงานตั้งอยู่ชานเมืองกรุงเทพฯ เช่นเดียวกับที่พักของเธอ การได้ทำงานบริษัทช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้นเหมือนกับได้ยกภูเขาออกจากอก แม้ยังเป็นหนี้ก้อนโตจากค่าใช้จ่ายในกระบวนการขอวีซ่า</p><p dir="ltr">ในสภาพแวดล้อมการทำงาน มีบ้างที่เธอรู้สึกโดดเดี่ยวจากการเป็นคนสัญชาติพม่าเพียงคนเดียวในบริษัท เพื่อนร่วมงานไทยและต่างชาติคอยถามไถ่สารทุกข์สุขดิบเธอเสมอ แต่มันก็หนักหนาเกินกว่าใครจะมาเข้าใจ</p><p dir="ltr">“เพื่อนร่วมงานมักถามฉันว่าทำไมฉันดูเศร้าอยู่ตลอด ทำไมฉันดูไม่เข้าสังคม ทำไมฉันดูเครียดจังเลย ฉันไม่ได้เครียดนะ ฉันแค่เหนื่อย ฉันกำลังพยายามที่จะมีความสุข</p><p dir="ltr">หัวหน้าของฉันเคยพูดประมาณว่า เฮ้ คุณมีงาน มีใบอนุญาตทำงาน เราทำวีซ่าธุรกิจให้คุณ ทำไมคุณถึงยังไม่มีความสุขล่ะ… ใช่ ฉันมีความสุข แต่คนๆ หนึ่งจะมีความสุขเต็มที่ได้ยังไงในเมื่อประเทศของเขายังอยู่ในสภาพนี้”&nbsp;</p><p dir="ltr">ในมุมมองของเอที่เลือกอยู่ในกรุงเทพฯ เห็นว่าความพิเศษของเมืองหลวงแห่งนี้ มี 3 ข้อหลักๆ คือ สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยป้ายโฆษณาและบิลบอร์ด และคอมมูนิตี้ศิลปินชาวไทย โดยอย่างแรกมันช่วยกระตุ้นให้เธอมีไอเดียผลิตงานเชิงพาณิชย์ ส่วนอย่างที่สอง ช่วยให้เธอมีโอกาสจัดแสดงนิทรรศการเป็นครั้งแรก</p><p dir="ltr">ส่วนเหตุผลที่สาม เธอต้องการเป็นอิสระจากทัศนคติที่เป็นพิษของคนในวงการศิลปะที่มักจะอยู่กันในเมืองชายแดน</p><p dir="ltr">ศิลปินรุ่นใหญ่ที่นั่นเคยเป็นคนที่มีอิทธิพลต่อเธอในอดีต พวกเขาสามารถทุ่มเวลาให้กับการปฏิวัติอย่างเต็มตัว บางคนมีความคิดทำนองว่าเราควรเลิกทำงานศิลปะไปเลย เพราะในสภาพการเมืองแบบนี้ เราควรจะไปโฟกัสที่การปฏิวัติก่อน</p><p dir="ltr">แต่เอไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เนื่องจากความที่ไม่ได้สังกัดองค์กรใดและยังต้องส่งเสียครอบครัว</p><p dir="ltr">“ฉันเห็นคนรุ่นเดียวกันทำงานศิลปะได้ดี แต่พวกรุ่นพี่ก็เอาแต่พล่ามให้หยุดทำงานศิลปะได้แล้วถ้ามันไม่ได้เกี่ยวกับการปฏิวัติ ฉันว่าความคิดแบบนี้แม่งโคตรท็อกซิกเลย”</p><p dir="ltr">“ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เราไม่ควรหยุดทำงานศิลปะ ไม่เกี่ยวกับว่างานนั้นจะเกี่ยวกับการปฏิวัติหรือไม่ ตราบใดที่งานนั้นไม่ได้เป็นการสนับสนุนเผด็จการทหาร มันเท่ออกนะ”</p><p dir="ltr">สำหรับนิทรรศการครั้งแรกของเอในเมืองไทยเป็นนิทรรศการกลุ่มที่จัดแสดงร่วมกับศิลปินคนอื่นๆ มีภาพวาดของเอ 3 ภาพในธีมการปฏิวัติ ภาพหนึ่งเป็นเรื่องการปิดกั้นสื่อมวลชน ส่วนอีกสองภาพเป็นสไตล์ป๊อปอาร์ต</p><p dir="ltr">“มันไม่สำคัญว่าเราจะทำอะไร เราจะมีชีวิตที่สบายขึ้นแล้วขนาดไหน หรือเราจะทำงานบริษัทอยู่หรือไม่ แต่เราจะลืมเรื่องการปฏิวัติไปไม่ได้…ความเป็นขบถมันไม่ได้หายไปจากเรา มันยังอยู่ตรงนั้น ฉันเลือกที่จะทำงานศิลปะต่อไปแบบนี้แหละ เพราะว่ามันคือชีวิตของฉัน” เอกล่าว</p><p dir="ltr">&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53893437940_3d0a945946_b.jpg" width="819" height="1024" loading="lazy"><p class="picture-with-caption" dir="ltr">“นี่คือรูปเค้กวันเกิด แต่ฉันวาดให้มันเป็นเค้กแห่งความตาย เอากระสุนปืนมาปักเป็นเทียน มีเลือดบนหน้าเค้กแบบท่วมๆ พร้อมกับเขียน “สุขสันต์วันรัฐประหาร” บนหน้าเค้ก” เอบอกประชาไท เธอวาดภาพนี้ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ และครั้งต่อมาที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยนำภาพไปไว้ที่บาร์แห่งหนึ่งที่นั่น</p><p class="picture-with-caption" dir="ltr">&nbsp;</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53893437930_65ea9442dd_b.jpg" width="819" height="1024" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ภาพวาดของเอสื่อถึงการปิดกั้นสื่อของรัฐบาลทหารพม่า</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53893026091_834baf5f66_b.jpg" width="819" height="1024" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">อีกหนึ่งภาพในซีรีส์เดียวกันที่ได้จัดแสดงในนิทรรศการ</p><div class="note-box"><p><strong>รายงานชิ้นนี้เป็นผลงานจากกิจกรรมที่จัดขึ้นโดย Borders &amp; Broader Conversations Initiative</strong></p></div><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>จากพม่าถึงไทย: 3 ปีที่ต้องลี้ภัยของนักร้อง Gen Z</li><li>วิบากกรรม ‘นักข่าวหญิงพลัดถิ่น’ จากพม่าถึงไทยปลอดภัยพอหรือยัง</li></ul></div><p>&nbsp;</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C" hreflang="th">สัมภาษณhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99" hreflang="th">แรงงาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเทhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">พม่http://prachatai.com/category/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2" hreflang="th">ผู้ลี้ภัhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%8C" hreflang="th">แรงงานสร้างสรรคhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">แรงงานข้ามชาตhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%99" hreflang="th">ศิลปิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">รัฐประหารพม่http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0" hreflang="th">ข่าวเจาhttp://prachatai.com/category/depth" hreflang="th">depth[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/in-depth" hreflang="th">in-depth[/url]</li>
      </ul>
</div> <!--/.node-taxonomy-container -->

            <div class="field field--name-field-promote-end field--type-string field--label-hidden field-item">ติดตาม "ประชาไท Prachatai.com" ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้า https://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/07/110152
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.538 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 13 สิงหาคม 2567 15:57:52