[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
07 กรกฎาคม 2568 11:52:52 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ประจักษ์ ก้องกีรติ: หาฉันทามติทางการเมืองหยุดยั้ง 'ตุลาการธิปไตย'  (อ่าน 163 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 19 สิงหาคม 2567 17:23:06 »

ประจักษ์ ก้องกีรติ: หาฉันทามติทางการเมืองหยุดยั้ง 'ตุลาการธิปไตย'
 


<span>ประจักษ์ ก้องกีรติ: หาฉันทามติทางการเมืองหยุดยั้ง 'ตุลาการธิปไตย'</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2024-08-17T11:28:00+07:00" title="Saturday, August 17, 2024 - 11:28">Sat, 2024-08-17 - 11:28</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>สัมภาษณ์: ณัฐพล เมฆโสภณ</p><p>กราฟิก: กิตติยา อรอินทร์</p><p>หมายเหตุ แก้พาดหัว เมื่อ 17 ส.ค. 2567 เวลา 19.17 น.</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p dir="ltr">14 ส.ค. 2567 ที่ผ่านมา คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญสร้างประวัติศาสตร์การเมืองไทยอีกครั้ง โดยการลงมติ 5 ต่อ 4 ถอดถอนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน จากปมแต่งตั้ง พิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ นำมาซึ่งคำถามต่อขอบเขตของอำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่ดูเหมือนจะขยายเพิ่มขึ้นอย่างไม่รู้จุดจบ สั่นคลอนเสถียรภาพทางการเมืองไทย และทางแก้ไขปัญหานี้จะทำได้อย่างไร เพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยกลับมาเป็นปกติ</p><p dir="ltr">ประชาไท สัมภาษณ์ ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อมาร่วมมองปัญหารัฐประหารโดยตุลาการผ่านการขยายอำนาจก้าวล่วงฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร เบื้องหลังความคิดของชนชั้นนำ และวิธีการแก้ไขที่อาจอยู่ที่การกลับมาจับมือกันอีกครั้งของ 2 ขั้ว พรรคประชาชน-เพื่อไทย สร้างฉันทามติแก้ไขรัฐธรรมนูญจำกัดอำนาจขององค์กรอิสระ&nbsp;</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>'ศาลรัฐธรรมนูญ' วินิจฉัย 'เศรษฐา' พ้นจากตำแหน่งนายกฯ คดี 40 สว. ร้องถอดถอน</li><li>'พรรคประชาชน' แถลงไม่เห็นด้วย ศาลสั่งปลด 'เศรษฐา' หลุดนายกฯ เป็นเรื่องที่ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน</li><li>ศาล รธน.มติเอกฉันท์ 9-0 ยุบ 'ก้าวไกล' ตัดสิทธิ์การเมืองกรรมการ 11 คน 10 ปี</li><li>'พรรคประชาชน' แถลงไม่เห็นด้วย ศาลสั่งปลด 'เศรษฐา' หลุดนายกฯ เป็นเรื่องที่ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน</li></ul></div><p>&nbsp;</p><h2>ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจทำรัฐประหารเงียบ ก้าวข้ามอำนาจบริหาร-นิติบัญญัติ ส่งสัญญาณอันตายต่อเสถียรภาพการเมืองไทย</h2><p dir="ltr">ประจักษ์ มองว่า ถ้าจะให้ความเห็นกรณีศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำแถลงวินิจฉัยถอดถอนตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ต้องมองต่อเนื่องกันจากการยุบพรรคการเมืองเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (7 ส.ค.) ซึ่งจะเห็นว่าตอนนี้เราเห็นรัฐธรรมนูญทำรัฐประหาร 2 ครั้งภายในสัปดาห์เดียว</p><p dir="ltr">ประจักษ์ ระบุว่า การทำรัฐประหารครั้งแรก พรรคก้าวไกล ใช้อำนาจของตัวเอง และเป็นอำนาจที่ชอบธรรม เพื่อแก้ไขกฎหมายตามอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าทำไม่ได้ และถูกตีความว่าล้มล้างการปกครอง นำมาสู่การยุบพรรคการเมือง ซึ่งเป็นสถาบันสำคัญในการทำหน้าที่ในฝ่ายนิติบัญญัติ ทำให้เสียงของประชาชน 14 ล้านเสียงไม่มีความหมาย ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรผิดเลย อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติไม่ว่าในประเทศไหนก็ตามทั่วโลกต้องแก้ไขกฎหมายได้ กฎหมายมาตรา 112 ไม่ได้ระบุว่าห้ามแก้ไข ในเมื่อมันไม่มีการเขียนตรงไหนว่าห้ามแก้ไข ทุกพรรคการเมืองควรมีสิทธินำมาพิจารณาว่าจะแก้ไขหรือไม่แก้ไข นี่คือการที่ศาลรัฐธรรมนูญก้าวข้ามอำนาจนิติบัญญัติเข้ามา</p><p class="picture-with-caption" dir="ltr"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53927760770_0e73549d7a_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">แฟ้มภาพ เศรษฐา ทวีสิน (ที่มา: เฟซบุ๊ก เศรษฐา ทวีสิน <a href="https://www.facebook.com/photo.php?fbid=430178820015628&amp;set=pb.100090705406699.-2207520000&amp;type=3" role="link" tabindex="0">- Srettha Thavisin[/url])</p><p dir="ltr">อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวต่อว่า เมื่อวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา เราเห็นอำนาจตุลาการก้าวล่วงเข้าไปในอำนาจฝ่ายบริหาร คือปกติการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีเป็นสิทธิโดยชอบธรรมของนายกรัฐมนตรี และไม่ได้เป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่รัฐธรรมนูญระบุถึงการที่เศรษฐา ผิดจริยธรรมเข้ามา ซึ่งเป็นคำที่กำกวม และถกเถียงกันได้ ซึ่งถ้าการแต่งตั้งไม่เหมาะสมก็มีการทักท้วง หรือฝ่ายค้านหรือฝ่ายนิติบัญญัติสามารถอภิปรายคัดค้านได้ในสภาฯ สังคมก็วิพากษ์วิจารณ์ สื่อก็วิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งผลอาจจะทำให้นายกฯ เปลี่ยนใจไม่ตั้งเป็น รมต. แต่ไม่ควรที่จะมีอำนาจเข้าไปทำให้ฝ่ายบริหารหมดอำนาจด้วยข้อหาที่มันกำกวม</p><p dir="ltr">โดยอาจารย์รัฐศาสตร์ มองว่าทั้ง 2 กรณี สังคมไทยกำลังเผชิญหน้ากับสิ่งที่เรียกว่า "ตุลาการธิปไตย" หรือสภาวะที่ตุลาการเป็นใหญ่มีอำนาจสูงสุดเด็ดขาดเหนือฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ซึ่งปกติ 3 อำนาจ ประกอบด้วยฝ่ายนิติบัญญัติ (พรรคการเมือง-สภาฯ) ฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) และตุลาการต้องถ่วงดุลกัน ซึ่งกรณีนี้ไม่ได้เป็นตุลาการทั้งหมดอย่างศาลยุติธรรมต่างๆ เฉพาะแค่ตัวศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระ ไม่ได้มีที่มายึดโยงจากประชาชน แต่กลับมีอำนาจเหนือกว่าฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ซึ่งมีที่มายึดโยงกับประชาชนมากกว่า นี่จึงเป็นสภาวะที่น่ากลัวมากของสังคมการเมืองไทย โดยเฉพาะเสถียรภาพทางการเมือง และระบอบประชาธิปไตย</p><h2>มองเบื้องหลังชนชั้นนำผ่านการใช้อำนาจตุลาการธิปไตย</h2><p dir="ltr">ประจักษ์ กล่าวว่า เบื้องต้น ศาลรัฐธรรมนูญมีขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกในการสร้างให้มันเกิดการตรวจสอบถ่วงดุลเป็นต้นมา แต่ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน (2567) ศาลรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือ หรือทางการเมืองของชนชั้นนำในการขัดขวางพัฒนาการทางประชาธิปไตย ถ้าเราเห็นแพตเทิร์นหรือแบบแผนการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมดมันไม่อาจปฏิเสธได้ที่มันจะนำมาสู่ข้อสรุปนี้&nbsp;</p><p dir="ltr">ประจักษ์ กล่าวต่อว่า ก่อนมีศาลรัฐธรรมนูญ ชนชั้นนำมีเครื่องมือเดียวในการที่จะล้มล้างประชาธิปไตยก็คือการทำรัฐประหาร แต่เมื่อการทำรัฐประหารมีต้นทุนที่สูงขึ้น และมันโจ่งแจ้งและโดนบอยคอตจากทั่วโลกเมื่อคุณทำรัฐประหาร ชนชั้นนำไทยเลยมาใช้เครื่องมืออันหนึ่งที่แนบเนียนกว่าก็คือ "เครื่องมือทางกฎหมายผ่านศาลรัฐธรรมนูญ" โดยใช้คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในการเปลี่ยนดุลอำนาจในสังคม ซึ่งมันก็คือเท่ากับการยึดอำนาจโดยไม่ต้องเอารถถังออกมา เช่น คุณยุบพรรคที่ได้เสียงถล่มทลายที่ได้ใจประชาชนมากที่สุด โดยไม่ต้องไปทำรัฐประหารยึดอำนาจ ตัดสิทธิ์นายกฯ ก็ตัดสิทธิ์มาแล้วหลายครั้งนี่ไม่ใช่ครั้งแรก มันคือการเปลี่ยนอำนาจที่มันแนบเนียนมากขึ้น ซึ่งถ้าเราไม่รู้เท่าทันตรงนี้และเราไปวิเคราะห์แค่ในมางกฎหมาย ปัจจุบัน มันไม่ได้เป็นเรื่องของหลักนิติศาสตร์อีกต่อไปแล้ว แต่เรามองรัฐธรรมนูญในฐานะความสัมพันธ์ทางอำนาจ และเกมการเมืองของชนชั้นนำในการควบคุมดุลอำนาจทางการเมือง</p><p class="picture-with-caption" dir="ltr"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/49955800223_19f0bd3de5_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ประจักษ์ ก้องกีรติ&nbsp;</p><h2>"บางทีเราอาจต้องยอมสรุปว่า ชนชั้นนำไทยไม่ค่อยมีเหตุผล"</h2><p dir="ltr">เบื้องหลังการถอดถอนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเศรษฐา และยุบพรรคก้าวไกล ประจักษ์ มองว่า เราไม่มีทางรู้ได้เลย เวลาเราเข้าสู่พรมแดนทางความคิดของชนชั้นนำไทย มันดูไม่เป็นเหตุเป็นผล ถ้าสมมติเราวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองอย่างเดียวโดยอยู่บนหลักอำนาจล้วนๆ เราจะไม่เห็นประโยชน์ของการยุบพรรคก้าวไกล ทั้งที่ชนชั้นนำประสบความสำเร็จในการสกัดพรรคก้าวไกลไม่ให้ขึ้นมาเป็นฝ่ายบริหาร ความฝันอะไรที่เคยเสนอเอาไว้ก็ผลักดันไม่ได้ กฎหมายมาตรา 112 ไม่มีทางได้แก้ไขถ้าดุลอำนาจยังเป็นแบบนี้ การยุบพรรคยิ่งไม่สมเหตุสมผล เพราะว่ามันยิ่งไปเพิ่มแรงโกรธแค้นให้กับประชาชน และทำให้พรรคก้าวไกล (ปัจจุบันคือพรรคประชาชน) ได้รับการสนับสนุนมากขึ้น</p><p dir="ltr">ประจักษ์ กล่าวต่อว่า การตัดสิทธิ์นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ก็ไม่สมเหตุสมผลเช่นกัน การตั้งรัฐบาลข้ามขั้วขึ้นมาระหว่างพรรคเพื่อไทย และพลเอกประยุทธ์ หรือก็คือฝ่ายคณะรัฐประหารเก่า ชนชั้นนำทางการเมืองไทยได้ประสบความสำเร็จในการตั้งรัฐบาลที่ปลอดภัยที่สุดไปแล้วเท่าที่จะเป็นไปได้ เลยไม่เข้าใจว่าทำไมจะต้องไป “คว่ำเรือ” เพราะเขาตั้งรัฐนาวานี้ขึ้นมาเอง มันต่อมาจาก 'เรือแป๊ะ' ถ้าใช้ภาษาของวิษณุ เครืองาม (ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน) ต่อเนื่องมาจากระบอบประยุทธ์ จันทร์โอชา และพรรคเพื่อไทยไม่ได้มีท่าทีแตกหักหรือท้าทายโครงสร้างเดิมเลย และมันตั้งขึ้นมาได้เพราะว่าชนชั้นนำอนุญาตให้มันตั้งขึ้นมาได้ โดยการสกัดพรรคก้าวไกล เป็นรัฐบาลที่เซฟแล้วที่จะไม่ไปรื้อถอนโครงสร้างอำนาจเดิม มันเลยไม่สมเหตุสมผลว่า จะเอานายกรัฐมนตรีเศรษฐา ลงจากตำแหน่งทำไม และมันทำให้ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นอีกตอนนี้ในการที่จะตั้งรัฐบาลรูปโฉมใหม่อย่างไรที่มันจะสนองผลประโยชน์ของชนชั้นนำได้ดีกว่านายกรัฐมนตรีเศรษฐา "บางทีเราก็ต้องยอมสรุปว่าชนชั้นนำไทยไม่ค่อยมีเหตุผล"</p><p dir="ltr">อาจารย์รัฐศาสตร์ มองว่า ผลกระทบจากการถอดถอนเศรษฐา ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขามองไม่เห็นผลดีจากเรื่องดังกล่าว ทั้งผลกกระทบในเรื่องเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นความศรัทธาของกระบวนการยุติธรรมที่สูญเสียไปในสังคมไทย&nbsp; มันก็เลยไม่เข้าใจว่าทำไปทำไมเพราะชนชั้นนำไทยควบคุมได้ทุกอย่างอยู่แล้ว</p><h2>'ชนะเลือกตั้งมันยาก ทำรัฐประหารมันง่าย'</h2><p dir="ltr">ต่อประเด็นที่ทำไมชนชั้นนำไทยมักใช้วิธีการทำรัฐประหารทั้งผ่านทหาร หรือผ่านตุลาการ ประจักษ์ กล่าวว่า การเลือกตั้งมันคือการชนะใจประชาชน และถ้าจะชนะอันดับหนึ่งต้องเอาชนะใจประชาชนเป็น 10 ล้านคน แต่ถ้าจะทำรัฐประหารคุณแค่ไปควบคุมนายพลไม่กี่คนก็พอ ถ้าจะเล่นเกมนิติสงครามก็ไปควบคุมตุลาการ 9 คน ง่ายกว่ากันเยอะ การจะชนะใจคนเป็นสิบๆ ล้านมันต้องลงทุนลงแรงเหนื่อยยากลำบาก สู้ไปหากลวิธีควบคุม 9 คน ให้มารับใช้คุณมันง่ายกว่า มันทำให้การเมืองไทยมันเลยวนเวียนอยู่อย่างนี้ เพราะว่าชนชั้นนำชนะเลือกตั้งไม่ได้ ก็ต้องมาใช้ 2 เครื่องมือนี้คือ รัฐประหารโดยทหาร หรือรัฐประหารโดยตุลาการ</p><h2>หากต้องการ 'เสถียรภาพทางการเมือง' โจทย์แรกต้องจัดการขอบเขตอำนาจองค์กรอิสระ</h2><p dir="ltr">อาจารย์รัฐศาสตร์ กล่าวว่า ชัดเจนว่าถ้าเราไม่แก้โจทย์เรื่อง "ตุลาการธิปไตย" ซึ่งมันไม่ใช่แค่ศาลรัฐธรรมนูญ แต่มันคือองค์กรอิสระอื่นๆ ด้วย กกต. (กรรมการการเลือกตั้ง) รวมถึง ป.ป.ช. (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) เราอย่าลืมว่ามันยังมีคดีที่ ป.ป.ช.จะตัดสินคดี สส.ก้าวไกล 44 คนที่ยื่นร่างกฎหมาย (แก้ไข/ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112) อีก ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระทั้งหมดเหมือนกลายเป็นผู้ถืออำนาจอธิปไตยสูงสุดตัดสินชะตาชีวิตของประเทศได้เลยโดยไม่ต้องสนใจเสียงของประชาชน กระทั่งตีความหลักกฎหมายของตัวเองผิดๆ เพี้ยนๆ ที่ตัวเองร่างเองด้วยซ้ำ</p><p dir="ltr">ก็หมายความว่าถ้าไม่แก้โจทย์อันนี้เรื่องตุลาการเป็นใหญ่แล้วมีอำนาจจนล้นพ้นเกินไปสังคมไทยก็ไม่สามารถมีประชาธิปไตยได้ กระทั่งไม่สามารถมีเสถียรภาพทางการเมืองได้เพราะว่ามันยิ่งไปเพิ่มความขัดแย้ง</p>
<p dir="ltr">"มองไปข้างหน้าก็เห็นแต่ความขัดแย้งอยู่ข้างหน้า เพราะว่าเลือกตั้งกันมาพรรคที่ชนะอันดับหนึ่งไม่ได้ตั้งรัฐบาล ตอนนี้มันไม่ใช่แค่นั้นพรรคอันดับ 2 อุตส่าห์ข้ามขั้วกับฝ่ายอำนาจเก่าเพื่อตั้งรัฐบาลแล้ว พรรคเพื่อไทยก็เสียต้นทุนไปเยอะแยะ ก็ยังมาโดนกำจัดอีกก็คือมันไม่มีหลักเกณฑ์อะไรแล้ว เท่ากับการเลือกตั้งไม่มีความหมายโดยสิ้นเชิงเลยตอนนี้ทั้งพรรคอันดับ 1 อันดับ 2 ตกเป็นเหยื่อของอำนาจตุลาการที่มันควบคุมไม่ได้" ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมือง กล่าว</p>
<p dir="ltr">ประจักษ์ เสนอว่า ถ้าเราไม่แก้โจทย์นี้ พรรคเพื่อไทยกับก้าวไกลยังไม่เห็นว่ามันมีปัญหาร่วมกันแล้วมาจับมือกันเปลี่ยนโครงสร้างการเมืองตรงนี้ไม่มีทางที่สังคมจะเดินหน้าไปได้ แล้วมันก็ควรมีบทเรียนแล้วว่าถ้าคุณไม่แก้โครงสร้างการเมืองคุณแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องไม่ได้</p>
<p dir="ltr">"ที่บอกว่าเศรษฐกิจปากท้องมาก่อน แก้เรื่องนี้ก่อนการเมืองค่อยมาทีหลัง มัวแต่แก้เรื่องการเมืองเดี๋ยวไม่ได้แก้เรื่องเศรษฐกิจปากท้อง สิ่งที่เกิดขึ้นภายในสัปดาห์เดียวมันบอกให้เห็นว่า ความเชื่อเรื่องนี้มันไม่จริง มันต้องกลับกันถ้าคุณไม่แก้เรื่องโครงสร้างการเมืองคุณไม่มีทางได้ไปทำเรื่องอื่น" อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าว</p>
<h2>ฝ่ายนิติบัญญัติถึงเวลาสร้างฉันทามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำกัดอำนาจองค์กรอิสระ&nbsp;</h2><p dir="ltr">ประจักษ์ เสนอว่า ถ้าพรรคใดพรรคหนึ่งผลักดันมันไม่เพียงพอ มันต้องเป็นฉันทามติจากภาคการเมือง ถ้าพรรคการเมืองหลักๆ ที่สำคัญเอาด้วยกัน เอาแค่เพื่อไทยกับพรรคประชาชนตอนนี้ที่เป็นพรรคอันดับหนึ่งกับสองจับมือกันก็มีเสียงเกินครึ่งในสภา มันก็สามารถผลักดันเรื่องนี้ได้ คือพูดง่ายๆ ว่ามีเอกภาพหรือเปล่า ถ้าคุณไม่มีเอกภาพจากภาคการเมืองเองคุณก็ไม่สามารถแก้ได้ ก็ถูกแบ่งแยกแล้วปกครองอย่างที่เป็นอยู่ซึ่งพอถูกแบ่งแยกแล้วมวลชนก็แตกสลายพรรคการเมืองที่เคยต่อสู้มาด้วยกันมาทะเลาะกันเอง พอเป็นแบบนี้ก็ตกเป็นเหยื่ออย่างที่เกิดขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา (7-14 ส.ค.)</p><p dir="ltr">พอแบ่งแยกแล้วปกครอง ชนชั้นนำจะทำยังไงก็ได้ ก็คือคุณพาตัวเองไปอยู่ในจุดที่ไม่มีอำนาจต่อรองทำตัวเองอ่อนแอ ถ้าอย่างน้อยกลับมามีจุดร่วมกันในเรื่องนี้ เรื่องอื่นก็เห็นต่างกันไป มันไม่จำเป็นต้องเห็นตรงกันทุกเรื่อง แต่อย่างน้อยต้องมีจุดร่วมกันว่าต้องแก้โครงสร้างการเมือง ต้องแก้รัฐธรรมนูญ แก้กฎหมายยุบพรรคกับแก้อำนาจของศาลรัฐธรรมนญและองค์กรอิสระทั้งหลายเรื่องขอบเขตอำนาจ เพื่อให้ประชาธิปไตยกลับมาเป็นปกติ แล้วแข่งกันเองในเกมที่ยุติธรรม (Fair) กว่านี้ พรรคการเมืองต่างๆ ก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อแบบที่เราเห็นช่วงที่ผ่านมา</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/52906368671_f290848ca2_h.jpg" width="1600" height="927" loading="lazy">วันแถลงตั้งรัฐบาลประชาชน ของพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย เมื่อ 18 พ.ค. 2566</p><h2>ฝากถึงชนชั้นนำ อย่าคิดว่าประชาชนรู้ไม่ทัน</h2><p dir="ltr">อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทิ้งท้ายถึงชนชั้นนำทางการเมืองที่กำลังใช้อำนาจตุลาการธิปไตยว่า ประชาชนรู้เท่าทันรัฐประหารโดยฝ่ายตุลาการ อย่าคิดว่าคนรู้ไม่เท่าทัน ปัจจุบันไม่มีใครเชื่ออีกแล้วว่ารัฐประหารโดยกองทัพแล้วทำให้สังคมไทยดีขึ้น ตอนนี้คนไทยกำลังมาถึงข้อสรุปอีกข้อหนึ่งแล้วเช่นกันว่าเรากำลังเผชิญกับการรัฐประหารโดยกฎหมาย คนรู้แล้ว คนรู้เท่าทันแล้ว คุณใช้บ่อยเกินไปแล้วใช้แบบไม่แนบเนียนอีกต่อไปแล้ว มันโจ่งแจ้งเกินไป</p>
<p dir="ltr">"ชนชั้นนำกำลังจะหมดเครื่องมือในการรักษาอำนาจแบบเดิมๆ และถึงเวลาที่ชนชั้นนำทางการเมืองไทยต้องปรับตัว ชนชั้นนำในหลายประเทศยังรักษาอำนาจต่อไปโดยคุณต้องปรับตัว และแบ่งผลประโยชน์ให้กับสังคม ไม่ใช่ว่ารวบทุกอย่างไว้ในฝ่ายเดียวตามอำเภอใจ ไม่ยั่งยืน เขาอาจจะรู้สึกว่ายุบใครก็ได้ ตัดสิทธิ์ใครก็ได้ ไม่ต้องสนใจผลการเลือกตั้ง ไม่ต้องสนใจเสียงประชาชน ถ้าวันหนึ่งประชาชนหมดความอดทนแบบที่เคยอดทนมาหลายครั้งในประวัติศาสตร์ไทย พอถึงวันนั้นประชาชนจะต่อสู้ขึ้นมา" ประจักษ์ กล่าวทิ้งท้าย</p>
</div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C" hreflang="th">สัมภาษณhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">ศาลรัฐธรรมนูhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99" hreflang="th">เศรษฐา ทวีสิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">ประจักษ์ ก้องกีรตhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">พรรคเพื่อไทhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">พรรคประชาชhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2024/08/110368
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.167 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 24 สิงหาคม 2567 17:08:41