ท้องถิ่นและอาหารกลางวันนักเรียน: ข้อเสนอแนะและตัวอย่างจากต่างประเทศ
<span>ท้องถิ่นและอาหารกลางวันนักเรียน: ข้อเสนอแนะและตัวอย่างจากต่างประเทศ </span>
<span><span>auser15</span></span>
<span><time datetime="2024-09-03T11:45:55+07:00" title="Tuesday, September 3, 2024 - 11:45">Tue, 2024-09-03 - 11:45</time>
</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p><strong>The Glocal – ท้องถิ่นเคลื่อนโลก</strong></p></div>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53967995850_20932edb89_o_d.jpg" width="1479" height="1109" loading="lazy">
แฟ้มภาพ สำนักงาน ป.ป.ช.</p><p>จากปัญหาที่ได้นำเสนอเกี่ยวกับโครงการอาหารกลางวันในตอนแรกนั้น ปัจจุบันมีทั้งงานศึกษา หน่วยงานกำกับดูแล ตลอดจนนักวิชาการและนักการเมือง ที่ให้ความสนใจและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างหลากหลาย เพื่อให้โครงการอาหารกลางวันบรรลุวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อเด็กนักเรียนในประเทศไทย</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>
ท้องถิ่นและอาหารกลางวันนักเรียน: ปัญหา อุปสรรค เสียงผู้มีส่วนได้-เสีย</li><li>
ท้องถิ่นและอาหารกลางวันนักเรียน: ข้อเสนอแนะและตัวอย่างจากต่างประเทศ </li></ul></div><h2><strong>ปรับปรุง พ.ร.บ.กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน พ.ศ. 2535</strong></h2><p>จากรายงาน 'ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันนักเรียน' โดยสำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เมื่อปี 2564 มีข้อเสนอดังนี้</p><p><strong>(1) </strong>รูปแบบและวิธีการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเป็นเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันนักเรียนเพื่อให้การบริหารจัดการเงินค่าอาหารกลางวันมีประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเกิดประสิทธิผลต่อการบรรลุวัตถุประสงค์โครงการ ดังนั้น รูปแบบการสนับสนุนงบประมาณค่าอาหารกลางวันให้แก่ต้นทุนผันแปร (ค่าวัตถุดิบและค่าโสหุ้ย) ควรจัดสรรผ่านหน่วยรับงบประมาณเหมือนเดิม สำหรับต้นทุนคงที่ (ค่าจ้างผู้ประกอบอาหาร) มีข้อเสนอทางเลือก ได้แก่ รูปแบบที่ 1 เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยจัดตั้งคณะกรรมการระดับท้องถิ่นมากำกับดูแล ข้อดี คือ ลดภาระงบประมาณรัฐบาล เอื้อต่อการบูรณาการ ความโปร่งใส และเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของ อปท. ข้อเสีย คือ เพิ่มภาระงบประมาณ อปท. โดยเฉพาะ อปท. ที่มีข้อจำกัดด้านฐานะทางการคลัง และ รูปแบบที่ 2 รัฐบาลยังเป็นผู้รับผิดชอบจัดสรรงบประมาณสาหรับต้นทุนคงที่เหมือนเดิม (เป็นส่วนหนึ่งของค่าบริหารจัดการต่อหัวนักเรียนและตามขนาดโรงเรียน) ข้อดี คือ ไม่เป็นภาระงบประมาณ อปท. ข้อเสีย คือ จากข้อจำกัดด้านวงเงินของรัฐบาลซึ่งอาจทำให้ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณตามต้นทุนคงที่ที่เกิดขึ้นจริงได้</p><p><strong>(2) </strong>การป้องกันและแก้ไขปัญหาของกองทุนเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนต่อการสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันนักเรียน จากผลการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการกองทุนเพื่ออาหารกลางวันซึ่งพบปัญหาการบริหารจัดการกองทุน คือ การจัดสรรงบประมาณมีความล่าช้าและมีข้อเสนอแนะให้มีการจัดสรรงบประมาณให้โรงเรียนโดยตรง รวมทั้งจากที่กองทุนจัดสรรเงินดอกผลแก่โรงเรียนได้ค่อนข้างน้อยหรือร้อยละ 12.66 ของความต้องการ ดังนั้น สมควรพิจารณาปรับปรุง พ.ร.บ.กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ. 2535 เพื่อให้สอดคล้องตามบริบทปัจจุบันและเพื่อให้สามารถบริหารเงินทุนหมุนเวียนอย่างคล่องตัว คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และสนับสนุนเงินเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่กองทุนอาหารกลางวันโรงเรียนให้เกิดความยั่งยืนด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เพื่อให้กองทุนมีบทบาทสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันให้บรรลุวัตถุประสงค์เป็นรูปธรรมอย่างมีคุณภาพต่อไป</p><p><strong>(3) </strong>การพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการและบริหารงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันนักเรียน จากการประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนพบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินโครงการและบริหารงบประมาณค่าอาหารกลางวัน คือ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ของผู้บริหารโรงเรียน ดังนั้น ควรพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดการความรู้การจัดการอาหารกลางวันและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายความรู้เพื่อสร้างความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินโครงการและบริหารงบประมาณค่าอาหารกลางวันและควรเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุนเพื่อลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งเพื่อนำเงินที่ประหยัดได้มาใช้ในการดำเนินโครงการ</p><p><strong>(4) </strong>การพัฒนาโครงการอาหารกลางวันนักเรียนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กนักเรียนได้รับพลังงานและสารอาหารที่มีปริมาณและคุณค่าทางโภชนาการที่เพียงพอ เนื่องจากโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารและภาวะทุพโภชนาการในเด็กนักเรียน ดังนั้น เพื่อให้เป็นกลุ่มเป้าหมายโครงการได้รับพลังงานและสารอาหารที่มีปริมาณและคุณค่าทางโภชนาการที่เพียงพอตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด จึงมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ได้แก่ การจัดทำโครงการอาหารเช้านักเรียนเพื่อขยายผลการแก้ไขปัญหาจากโครงการอาหารกลางวัน และการสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความรู้ทางโภชนาการและให้มีการสร้างนักโภชนาการในระดับท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันนักเรียน</p><h2><strong>เสนอจัดสรรแบบวงเงินรวม (block grant) ให้แต่ละโรงเรียนมีอิสระในการบริหารจัดการมากขึ้น</strong></h2><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53967792663_a3645d478f_o_d.jpg" width="1440" height="960" loading="lazy">
ปารมี ไวจงเจริญ สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน กรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร</p><p>ปารมี ไวจงเจริญ สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน กรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร เสนอว่ากระทรวงศึกษาควรเปลี่ยนการจัดสรรแบบรายหัวมาเป็นการจัดสรรแบบวงเงินรวม (block grant) เพื่อให้แต่ละโรงเรียนมีอิสระในการบริหารจัดการมากขึ้น</p><p>“กระทรวงศึกษาเป็นอะไรที่แข็งตัวมาก มีอิสระน้อยมาก ทางที่ดีควรจัดสรรให้โรงเรียนไปเลย ให้เขาบริหารเอง ไม่ใช่แผนการใช้งบทุกอย่างเป็นแบบเดียวกันทั่วทั้งประเทศ มันจะทำให้เขาจัดสรรทุกอย่างได้เหมาะสมกับบริบทตัวเอง ไม่ใช่ตัดเสื้อตัวเดียวให้ใส่เหมือนกันทั้งประเทศ” ปารมี กล่าว</p><p>ปารมียกตัวอย่างว่า บางโรงเรียนอาจมีเอกชนในพื้นที่สนับสนุนอุปกรณ์กีฬาแล้ว ดังนั้นจึงสามารถโยกงบประมาณเกี่ยวกับกีฬาไปเติมในส่วนอื่นที่ขาดหรือเติมในงบอาหารกลางวันได้ บางโรงเรียนมีผู้สนับสนุนวัตถุดิบอาหารสดบางส่วน ก็อาจไม่ต้องซื้อส่วนนี้แล้วนำงบไปใช้อย่างอื่นที่ขาดแคลนกว่า</p><p>“ปัจจุบันกระทรวงศึกษาใช้วิธีบริหารงบแบบรายหัว ซึ่งแม้จะเชื่อว่าป้องกันการทุจริตได้ แต่สุดท้ายมันยังมีช่องโหว่ให้ทุจริตกันอยู่ดี กลับกันการจ่ายรายหัวยิ่งเป็นปัญหากับโรงเรียนขนาดเล็ก ดิฉันคิดว่าควรเปลี่ยนมาเป็นการจัดสรรแบบ block grant คือให้เป็นก้อน แล้วกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนว่าแต่ละโรงเรียนที่บริบทไม่เหมือนกันจะได้ต่างกันอย่างไร บางแห่งที่อยู่ทุรกันดารจะมีตัวคูณเพิ่มอย่างไร เหล่านี้เราออกแบบด้วยกันได้ แล้วประกาศให้โปร่งใส นี่เป็นหนึ่งในการกระจายอำนาจ ให้อิสระแก่โรงเรียน” ปารมี กล่าว “เรื่องนี้ควรเปลี่ยน แม้เป็นเรื่องใหญ่ในทางโครงสร้างระบบงบประมาณ ถ้ายังเปลี่ยนไม่ได้ เพราะโรงเรียนในสังกัด สพฐ.มีตั้ง 29,000 แห่ง เราอาจเริ่มทดลองในโรงเรียนขนาดเล็กก่อนก็ได้”</p><p>เรื่องสุดท้าย การบริหารจัดการและระบบตรวจสอบ ปารมีกล่าวว่าเป็นไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้เกิดการทุจริตสูงมาก และมีจำนวนมากที่ไม่เป็นข่าว “เราคงเคยได้ยินเรื่อง ‘ตั๋วช้าง’ ในวงการตำรวจ แต่มันไม่ได้มีแค่นั้น ในวงการการศึกษาก็มีเช่นกัน การเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนใหญ่นั้นมักมีการจ่ายใต้โต๊ะเป็นชั้น ๆ แล้วแต่ความดังของโรงเรียน นี่เป็นเหตุให้ถึงที่สุดก็ต้องมีการถอนทุนคืน ดังนั้น การทุจริตคอร์รัปชันจึงมีสูงเช่นกันในวงการการศึกษา” ปารมี กล่าว</p><p>สส.พรรคประชาชนเสนอว่า นอกจากผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาจะต้องเปลี่ยนชุดความคิดเสียใหม่ ไม่หวงอำนาจไว้ที่ตัวกระทรวง แต่ควรให้อิสระกับโรงเรียนมากขึ้น รวมทั้งแก้ปัญหาเรื่องตั๋วช้าง อีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้คือ ภาคประชาสังคมและชุมชนรอบโรงเรียนต้องเข้มแข็งในการตรวจสอบโรงเรียน ผู้ปกครองใส่ใจกับโรงเรียนของบุตรหลานมากขึ้น รวมทั้งทำให้คณะกรรมการสถานศึกษามีความเข้มแข็งมากขึ้น</p><p>“โครงสร้างกระทรวงศึกษาไทยยังบิดเบี้ยว บอร์ดโรงเรียนเหมือนตรายาง เหมือนเสือกระดาษ ที่ไม่มีอำนาจหน้าที่อะไร ควรแก้กฎระเบียบให้บอร์ดโรงเรียนมีอำนาจตรวจสอบมากขึ้นเพื่อถ่วงดุลกับผู้บริหารโรงเรียน” ปารมี กล่าว</p><p>อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงศึกษาพยายามแก้ปัญหาเกี่ยวกับโครงการอาหารกลางวันอยู่โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น การสร้างเว็บไซต์ Thai School Lunch เพื่อรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับอาหารกลางวันเด็กนักเรียน ปารมีบอกว่าเรื่องนี้น่าส่งเสริม แต่ปรากฏว่าการเข้าถึงก็ยังเป็นเรื่องยาก ระบบมีความซับซ้อนและไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวาง ควรต้องปรับปรุงให้ใช้งานง่ายและติดตามผลอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับสังคม สื่อมวลชนต้องช่วยกันเป็นหูเป็นตา สิ่งเหล่านี้น่าจะทำให้ทุกฝ่ายตื่นตัวต่อเรื่องนี้มากขึ้น</p><p>นอกจากนี้ปารมียังชี้ถึงช่องแห่งโอกาสในการเปลี่ยนแปลงอีกว่า ยังมีโรงเรียนจำนวนมากที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดย อปท.ใหญ่ ๆ หลายแห่งก็สามารถหารายได้ได้พอสมควร จึงอาจจะนำเงินมาสมทบกับงบรายหัวอาหารกลางวันเพิ่มเติมได้ หรือกระทั่งสามารถออกแบบหลักสูตร ออกแบบการบริหารจัดการภายในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของผู้เรียนมากขึ้นได้ เพราะท้องถิ่นมีทรัพยากรและอันที่จริงตามกฎหมายก็มีช่องของความเป็นอิสระในการบริหารจัดการหลักสูตรอยู่พอสมควร หรือแม้กระทั่งโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เองที่ค่อนข้างแข็งตัว ก็มีบางแห่งที่พยายามออกแบบหลักสูตรให้เหมาะกับผู้เรียน เช่น การแบ่งชั้นเรียนมัธยมปลายตามสายอาชีพเพื่อให้มีโฟกัสที่ชัดเจน เป็นต้น</p><h2><strong>เสนอแนวคิดให้ ‘เอกชนไม่แสวงกำไร’ จัดการ ‘รัฐ-ท้องถิ่น’ สนับสนุนและตรวจสอบ</strong></h2><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53967545541_5b849c80da_o_d.jpg" width="1000" height="668" loading="lazy">
ผศ.ดร.ภาคภูมิ แสงกนกกุล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่</p><p>ด้าน<strong> </strong>ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาคภูมิ แสงกนกกุล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสนอว่าสวัสดิการที่ภาครัฐจัดหามาให้ประชาชนสามารถเป็นในรูปเงินโอน เงินช่วยเหลือ หรือรัฐจะผลิตเป็นสินค้าและบริการเองก็ได้แต่ว่าแต่ละรูปแบบก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน และต้องเลือกใช้ตามสถานการณ์ที่เหมาะสม อย่างกรณีความช่วยเหลือด้านอาหาร ในอดีต หลาย ๆ ประเทศก็มีการให้รัฐเป็นผู้ผลิตอาหารกลางวันให้ แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเนื่องจาก เนื่องจากมื้ออาหารไม่หลากหลาย ไม่ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์รายวัน ทำให้มีการเปิดให้เอกชนเข้ามาจัดการ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากกว่า</p><p>"เรื่องอาหารการกินเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในแต่ละวัน สุดท้าย การให้เอกชนเข้ามาจัดการก็จะมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยรัฐเปลี่ยนเป็นสนับสนุนด้านการเงินแทน" ภาคภูมิ กล่าว</p><p>ส่วนการให้เงินสนับสนุน ปรากฏว่าการให้เงินแก่ผู้ปกครอง เงินดังกล่าวอาจจะไม่แปรเปลี่ยนเป็นอาหารถึงมือเด็ก เพราะแต่ละครอบครัวก็มีความจำเป็นเงื่อนไขไม่เหมือนกัน อีกทั้งถ้าให้เป็นรูปเงินก็ต้องมีกลไกตลาดขายอาหารที่ดีให้กับนักเรียนด้วย ซึ่งในที่ห่างไกลตลาดอาหารดี ๆ ก็หายาก อีกทั้งเด็กอาจไม่ได้ตัดสินใจเลือกซื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพตนเองด้วย ดังนั้นสวัสดิการอาหารแก่เด็กนักเรียนจึงควรอยู่ในรูปมื้ออาหารรายวัน ตัดสินใจแทนตัวเด็กเลยว่าแต่ละวันจะมีอาหารอะไร โดยให้เอกชนไม่แสวงกำไรเป็นผู้รับผิดชอบผลิต และภาครัฐทำหน้าที่สนับสนุนการเงิน และตรวจสอบความปลอดภัยของอาหาร</p><p>"รัฐก็ควรกระจายอำนาจความรับผิดชอบไปที่ อปท. ให้มีอิสระในการจัดการ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องจัดการทันทีเป็นรายวัน ต้องการความคล่องตัว ทั้งในเรื่องการคิดเมนูอาหาร คำนวณคุณค่าทางโภชนาการ ตรวจสอบความปลอดภัยอาหาร แต่อย่างไรก็ตามการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ก็ไม่ได้เป็นสูตรสำเร็จตายตัวว่า จะสำเร็จทันทีขึ้นอยู่กับสมรรถนะของ อปท. ในที่นั้น ๆ ด้วย" ภาคภูมิ กล่าว</p><p>ภาคภูมิ ยกตัวอย่างว่าในประเทศฝรั่งเศสมีการสร้างความร่วมมือระหว่าง อปท. เขตต่าง ๆ ด้วย รวมถึงมีการให้ภาคธุรกิจ และผู้ผลิตท้องถิ่นมีส่วนร่วมรับผิดชอบคุณภาพชีวิตของลูกหลานตนเอง ของสดที่จะหมดอายุในห้างสรรพสินค้าก็จะถูกบริจาคให้โรงครัวกลาง เพื่อผลิตอาหารให้นักเรียน หรือผลิตภัณฑ์การเกษตรจากท้องถิ่นก็นำมาเป็นส่วนผสม ทำอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น</p><p>ซึ่งนอกจากระบบจัดการที่ดีแล้ว เรื่องนี้มันก็ต้องอาศัยจิตสำนึกส่วนบุคคลด้วย ต้องมองว่า การที่ลูกหลานเราได้รับอาหารที่ดี คุณค่าสารอาหารเพียงพอ ปลอดภัย ช่วยให้พวกเขาพัฒนาทั้งทางร่างกายและอารมณ์ "ยิ่งช่วงวัยประถมเป็นช่วงวัยสำคัญด้านพัฒนาการแล้ว ยิ่งต้องให้ความสำคัญมาก" ภาคภูมิ กล่าว</p><h2><strong>ตัวอย่างในต่างประเทศ พบ ‘โครงการอาหารกลางวัน’ มักเชื่อมโยงกับ ‘ท้องถิ่น’</strong></h2><p>
Coalition for Healthy School Food ระบุว่าในปัจจุบัน เด็กนักเรียนมากกว่า 388 ล้านคนทั่วโลก จากอย่างน้อย 161 ประเทศ ได้รับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือได้รับการอุดหนุนบางส่วน โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนนี้ไม่เพียงแต่ช่วยบรรเทาภาระทางการเงินของครอบครัว แต่ยังส่งเสริมโภชนาการที่ดีและสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก ๆ อีกด้วย สำหรับตัวอย่างโครงการอาหารกลางวันที่น่าสนใจจากทั่วโลกมีดังนี้</p><p><strong>ญี่ปุ่น</strong></p><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53967545531_00ec11eba6_o_d.jpg" width="960" height="640" loading="lazy">
ที่มาภาพ: The Government of Japan</p><p>โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนของญี่ปุ่น (Japan's school food program - SFP) เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ.1954 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความหิวโหยและภาวะทุพโภชนาการในเด็กนักเรียนที่ยากจน โครงการนี้ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ และอาหารกลางวันในโรงเรียนในปัจจุบันถือเป็น "ตำราเรียนที่มีชีวิต" ที่นอกจากจะให้นักเรียนได้อิ่มท้องแล้ว ยังให้ความรู้ด้านวัฒนธรรมและอาหารท้องถิ่น ปลูกฝังความกตัญญู และให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิต การกระจาย และการบริโภคอาหาร</p><p>จุดเด่นของ SFP ของญี่ปุ่นคือเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการศึกษาเรื่องอาหารและโภชนาการที่ครอบคลุมทั่วประเทศที่เรียกว่า "โชกุอิกุ" กฎหมายขั้นพื้นฐานว่าด้วยโชกุอิกุ ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ.2005 ได้กำหนดให้มีการส่งเสริมการศึกษาเรื่องอาหารและโภชนาการในโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก ที่บ้านและในชุมชน โดยอาศัยการประสานงานและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชน ทั้งนี้กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายและเป้าหมายสำหรับการส่งเสริมโชกุอิกุ ในขณะที่กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานหลักที่กำกับดูแลการดำเนินงานอาหารกลางวันในโรงเรียนและโชกุอิกุในโรงเรียน</p><p>SFP มาจากการจัดสรรงบประมาณร่วมกันระหว่างรัฐบาลกลาง จังหวัด และท้องถิ่น โดยมีส่วนร่วมจากผู้ปกครองด้วย โดยทั่วไปแล้วผู้ปกครองจะจ่ายค่าอาหารเป็นรายเดือนโดยตรง อย่างไรก็ตามท้องถิ่นหลายแห่งให้เงินอุดหนุนเพื่อครอบคลุมค่าอาหารครึ่งหนึ่ง และโรงเรียนประถมและมัธยมศึกษาตอนต้นประมาณ 4.4% ให้บริการอาหารฟรี</p><p>หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของ SFP ของญี่ปุ่นคือ “โชกุอิกุโทบัน” ซึ่งนักเรียนมีหน้าที่ในการเสิร์ฟอาหารกลางวันให้กับเพื่อนร่วมชั้นและครู กิจกรรมนี้ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับคุณค่าของวัฒนธรรมอาหารและปลูกฝังความกตัญญูต่ออาหาร อาหารกลางวันในโรงเรียนของญี่ปุ่นจัดทำขึ้นที่ครัวกลาง (คิดเป็นสัดส่วน 55%) และครัวในโรงเรียน (คิดเป็นสัดส่วน 42%) โดยทั่วไปแล้ว อาหารกลางวันในโรงเรียนของญี่ปุ่นจะประกอบด้วยข้าว ขนมปัง หรือบะหมี่เป็นอาหารจานหลัก พร้อมด้วยนมและซุป อาหารจะแตกต่างกันไปในแต่ละวัน และไม่มีการใช้เมนูซ้ำๆ</p><p>แม้ว่า SFP ของญี่ปุ่นจะได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง แต่ก็ยังคงเผชิญกับความท้าทาย เช่น ความยากลำบากในการจ้างครูโภชนาการในบางภูมิภาค การขาดแคลนภาคเกษตรในประเทศเพื่อสนับสนุนเป้าหมายการจัดหาอาหารในท้องถิ่น และค่าใช้จ่ายด้านงบประมาณที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม SFP ของญี่ปุ่นมีประโยชน์มากมาย เช่น มาตรฐานด้านโภชนาการที่เข้มงวด โครงการศึกษาเรื่องอาหารในโรงเรียนที่ครอบคลุม และความไว้วางใจและการสนับสนุนจากสาธารณชนในระดับสูง</p><p><strong>อังกฤษ</strong></p><p>นโยบายอาหารในโรงเรียนของอังกฤษ (UK's School Food Program) มีรากฐานมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1906 โดยมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายและโครงการต่าง ๆ เรื่อยมา จนกระทั่งในปี ค.ศ. 2014 ได้มีการกำหนดมาตรฐานอาหารในโรงเรียน หรือ School Food Standards ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมโภชนาการที่ดีให้กับนักเรียน</p><p>'School Food Standards' ครอบคลุมอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิดที่โรงเรียนจัดหาให้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารกลางวัน อาหารเช้า ของว่าง และอาหารหลังเลิกเรียน โดยมีรายละเอียดที่ครอบคลุมถึงประเภทอาหาร ปริมาณที่เหมาะสม และข้อจำกัดในการเสิร์ฟอาหารบางประเภท เช่น อาหารทอด อาหารที่มีส่วนผสมของแป้งทอดกรอบ และอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล และเกลือสูง นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดให้โรงเรียนต้องจัดหาน้ำดื่มสะอาดให้แก่นักเรียนอย่างเพียงพอตลอดเวลา ส่วน 'โครงการอาหารกลางวันโรงเรียนฟรี' ในอังกฤษปัจจุบันมีอยู่ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการที่พิจารณาจากรายได้ของครอบครัว และโครงการ Universal Infant Free School Meal ซึ่งเป็นโครงการอาหารกลางวันฟรีสำหรับนักเรียนในช่วง 3 ปีแรกของการศึกษา</p><p>แม้จะมี School Food Standards และโครงการอาหารกลางวันฟรี แต่ระบบอาหารในโรงเรียนของอังกฤษยังคงเผชิญกับความท้าทายหลายประการ เช่น เกณฑ์รายได้สำหรับครอบครัวที่เข้าข่ายได้รับอาหารกลางวันฟรียังคงต่ำเกินไป ส่งผลให้เด็กยากจนจำนวนหนึ่งไม่ได้รับสิทธิ์นี้ นอกจากนี้ ยังขาดการตรวจสอบและประเมินคุณภาพอาหารอย่างจริงจัง ทำให้อาหารในบางโรงเรียนไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด</p><p><strong>สกอตแลนด์</strong></p><p>โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนของสกอตแลนด์ (Scotland’s school food program) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 รัฐบาลสกอตแลนด์ได้กำหนดให้โรงเรียนจัดอาหารที่สมดุลและมีคุณค่าทางโภชนาการให้แก่นักเรียน โดยในปี ค.ศ. 2015 ได้ริเริ่มโครงการอาหารกลางวันฟรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ปัจจุบัน โรงเรียนในสกอตแลนด์ให้บริการอาหารกลางวันเฉลี่ยวันละ 350,000 มื้อ โดย 145,000 มื้อ เป็นอาหารฟรีสำหรับนักเรียนที่มีสิทธิ์</p><p>นโยบายอาหารโรงเรียนของสกอตแลนด์มีรากฐานมาจากความมุ่งมั่นที่จะยกระดับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของเด็กและเยาวชน โครงการนี้เกิดขึ้นจากความกังวลที่ว่าอาหารของเด็กและเยาวชนจำนวนมากในสกอตแลนด์ยังไม่สอดคล้องกับคำแนะนำด้านโภชนาการแห่งชาติ ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของโภชนาการที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้และสุขภาพของนักเรียน รัฐบาลสกอตแลนด์จึงได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ รวมถึงการจัดอาหารกลางวันฟรีในโรงเรียน แม้จะมีความพยายามเหล่านี้ แต่อัตราการรับประทานอาหารกลางวันในโรงเรียนยังคงเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปัจจัยหนึ่งที่อาจส่งผลกระทบคือค่าใช้จ่าย ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2.15 ปอนด์ต่อมื้อ</p><p>รัฐบาลสกอตแลนด์ยังคงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียน โดยสำรวจกลยุทธ์ต่าง ๆ และพยายามแก้ไขปัญหาที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการรับประทานอาหารกลางวันฟรีของนักเรียน ทั้งนี้ เพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับสุขภาพและการเรียนรู้ของเยาวชนสกอตแลนด์ในระยะยาว</p><p><strong>เยอรมนี</strong></p><p>โครงการอาหารกลางวันในเยอรมนี ดำเนินการภายใต้นโยบายกระจายอำนาจ โดยแต่ละรัฐมีอิสระในการบริหารจัดการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียน ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มีโครงการอาหารกลางวันระดับชาติ ส่งผลให้คุณภาพและการจัดบริการอาหารกลางวันมีความแตกต่างกันไปในแต่ละโรงเรียน</p><p>แม้จะไม่มีโครงการระดับชาติ แต่หน่วยงานรัฐบาลกลางหลายแห่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายด้านโภชนาการในสถานศึกษา โดยร่วมมือกันพัฒนามาตรฐานอาหารเพื่อสุขภาพและความยั่งยืนในโรงเรียน นอกจากนี้ รัฐบาลกลางยังให้การสนับสนุนด้านงบประมาณสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงโรงอาหารของโรงเรียน อย่างไรก็ตาม ความรับผิดชอบหลักในการดำเนินโครงการอาหารกลางวันตกอยู่กับหน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งมีหน้าที่ในการก่อสร้างโรงเรียน จัดจ้างผู้ให้บริการอาหาร และบริหารจัดการด้านการเงินของโครงการ</p><p>โดยทั่วไป ผู้ปกครองเป็นผู้รับภาระค่าอาหารกลางวันของบุตรหลาน แต่รัฐบาลได้จัดให้มีโครงการ "การศึกษาและการมีส่วนร่วม" (Education and Participation) เพื่อสนับสนุนอาหารกลางวันฟรีสำหรับเด็กจากครอบครัวผู้มีรายได้น้อย ทว่า มีเพียงส่วนน้อยของผู้มีสิทธิ์ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ เนื่องจากความยุ่งยากในกระบวนการสมัครและการขาดการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึง ในขณะเดียวกัน กรุงเบอร์ลินได้ริเริ่มโครงการอาหารกลางวันฟรีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา โดยมุ่งหวังให้เด็กทุกคนได้รับอาหารที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง</p><p>แม้จะมีความพยายามในการจัดบริการอาหารกลางวันที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้แก่นักเรียนทุกคน แต่โรงเรียนในเยอรมนียังคงเผชิญกับความท้าทายหลายประการ การขาดโครงการอาหารกลางวันระดับชาติก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงและคุณภาพของอาหาร นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอื่น ๆ เช่น ข้อจำกัดด้านงบประมาณ การขาดแคลนบุคลากร และอัตราการมีส่วนร่วมของนักเรียนที่ต่ำ อีกทั้งการแข่งขันจากร้านค้าบริเวณใกล้เคียงที่จำหน่ายอาหารที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพ ยังเป็นอุปสรรคสำคัญในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ดีในกลุ่มนักเรียน</p><p><strong>เดนมาร์ก</strong></p><p>เดนมาร์กไม่มีโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนระดับชาติ แต่เทศบาลนครโคเปนเฮเกนได้เป็นผู้บุกเบิกริเริ่มโครงการอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนขึ้นในปี ค.ศ.2007 โครงการนี้มีเป้าหมายสำคัญสองประการ คือ ส่งเสริมสุขภาวะที่ดีในกลุ่มนักเรียน และปรับเปลี่ยนทัศนคติของสังคมต่อวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร ความสำเร็จของโครงการนี้เห็นได้ชัดเจน โดยปัจจุบันมีโรงเรียนในโคเปนเฮเกนถึง 59 แห่งจากทั้งหมด 9,000 แห่งที่สามารถจัดบริการอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนได้ทุกวัน ส่งผลให้นักเรียนในเมืองหลวงกว่า 9,000 คนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณภาพเป็นประจำ นอกจากนี้ ยังพบว่า 87% ของนักเรียนระดับประถมศึกษาในโคเปนเฮเกนสามารถเข้าถึงบริการอาหารกลางวันได้อย่างทั่วถึง</p><p>อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโครงการของโคเปนเฮเกนจะประสบความสำเร็จอย่างน่าชื่นชม แต่ก็ยังคงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผลักดันให้เกิดโครงการอาหารกลางวันในระดับชาติ เนื่องจากในเมืองอื่น ๆ ส่วนใหญ่ของเดนมาร์ก วัฒนธรรมการนำอาหารกลางวันใส่กล่องมาโรงเรียนยังคงฝังรากลึกในสังคม</p><p>โครงการอาหารกลางเรียนของโคเปนเฮเกนมี 2 รูปแบบคือ Food Schools และ EAT</p><p>Food Schools เป็นโรงเรียนที่มีครัวของตัวเองและให้อาหารกลางวันที่ปรุงสดใหม่ อาหารส่วนใหญ่เป็นอาหารออร์แกนิกตามฤดูกาล ปรุงจากวัตถุดิบสดใหม่ Food Schools ยังมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มพูนความรู้ด้านอาหารโดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนเมนูและกระบวนการประกอบอาหารประจำวัน ปัจจุบัน Food Schools มีอยู่ 16 แห่งในโคเปนเฮเกน รวมถึงโรงเรียนของรัฐ 12 แห่งและโรงเรียนสำหรับเด็กพิเศษ 4 แห่ง</p><p>EAT เป็นครัวกลางที่จัดส่งอาหารไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ทุกวัน อาหารจะถูกบรรจุและขนส่งไปยังโรงเรียน ซึ่งนักเรียนจะรับประทานในห้องเรียน EAT ให้บริการอาหารเดนมาร์กที่คุ้นเคยผสมกับอาหารต่างประเทศและอาหารมังสวิรัติ โดยหนึ่งในสองจานหลักที่ผลิตในแต่ละวันจะเป็นอาหารมังสวิรัติเสมอ ปัจจุบัน EAT มีให้บริการใน 45 โรงเรียนและให้อาหารแก่นักเรียนประมาณ 4,000 ถึง 6,000 คนต่อวัน</p><p>แม้ว่าทั้ง EAT และ Food Schools จะให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการผลิต/เสิร์ฟอาหาร แต่นักเรียนใน Food Schools มีส่วนร่วมในกระบวนการประกอบอาหารและได้รับความรู้ด้านอาหารมากกว่า ความท้าทายประการหนึ่งสำหรับโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนของโคเปนเฮเกนคือการขยายไปยังนักเรียนมัธยมศึกษาและนักศึกษาระดับสูงกว่า นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นที่ครูจะต้องเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อพัฒนาวัฒนธรรมและความรู้ด้านอาหารของเดนมาร์กต่อไป</p><p><strong>อิตาลี</strong></p><p>โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนของอิตาลีอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งนำไปสู่ความแตกต่างอย่างมากในการดำเนินงานและมาตรฐานทั่วประเทศ รัฐบาลกลางไม่ได้ให้เงินทุนสำหรับโครงการอาหารในโรงเรียน ยกเว้นเงินอุดหนุนที่กระทรวงเกษตรมอบให้กับโรงอาหารในโรงเรียนที่ใช้อาหารออร์แกนิกอย่างน้อย 80% ส่วนใหญ่แล้วเทศบาลจะจ้างบริษัทจัดเลี้ยงให้บริการอาหารในโรงเรียน แม้ว่านโยบายระดับชาติจะมีอยู่ แต่แต่ละภูมิภาคก็รับผิดชอบโครงการอาหารในโรงเรียนของตนเอง</p><p>โดยทั่วไปแล้ว ค่าอาหารกลางวันจะอยู่ที่ 2.20 ถึง 6.60 ยูโรต่อมื้อ ขึ้นอยู่กับประเภทของเมนูและคุณภาพอาหาร ผู้ปกครองบางคนพยายามเรียกร้องสิทธิในการให้นักเรียนนำอาหารกลางวันมาจากบ้าน เนื่องจากอาหารในโรงเรียนค่อนข้างแพง อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาสั่งว่าโรงเรียนมีสิทธิที่จะตัดสินใจว่าอนุญาตให้นำอาหารกลางวันมาจากบ้านได้หรือไม่</p><p>อิตาลีให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับแนวทางของโรงเรียน กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางระดับชาติสำหรับอาหารกลางวันในโรงเรียน กำหนดปริมาณสารอาหารที่ได้รับต่อวันสำหรับกลุ่มอายุต่าง ๆ และกระทรวงสิ่งแวดล้อมได้ส่งเสริมให้โรงอาหารในโรงเรียนมีความยั่งยืนมากขึ้น ตัวอย่างเช่น กำหนดให้อาหารออร์แกนิกอย่างน้อย 50% และกำหนดให้ใช้จานที่ล้างทำความสะอาดได้ นอกจากนี้ 'คณะกรรมาธิการโรงอาหาร' (Commissione Mensa) ซึ่งประกอบด้วยผู้ปกครอง ได้รับการแต่งตั้งจากแต่ละโรงเรียนเพื่อตรวจสอบและประเมินคุณภาพของบริการอาหาร ครูสนับสนุนความพยายามนี้โดยเชื่อมโยงอาหารกลางวันกับเนื้อหาในชั้นเรียนที่ครอบคลุมด้านต่าง ๆ เช่น อาหาร โภชนาการ การดำรงชีวิต เกษตรกรรม คุณภาพอาหาร และวัฒนธรรมอาหารอิตาลี</p><p>แนวทางของอิตาลีเน้นย้ำถึงความสำคัญของอาหารที่จัดหาในระดับท้องถิ่นและความยั่งยืน ซึ่งสะท้อนให้เห็นในกฎหมายส่งเสริมผลิตภัณฑ์อาหารออร์แกนิกที่มีคุณภาพดีในโรงอาหารสาธารณะ แม้จะมีความพยายามเหล่านี้ แต่คุณภาพของโรงอาหารในโรงเรียนยังคงแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคและท้องถิ่น ในขณะที่โรงอาหารบางแห่งให้บริการอาหารรสเลิศและดีต่อสุขภาพ แต่ก็มีโรงอาหารที่เสนอเมนูอาหารแปรรูปมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกัน</p><p><strong>บราซิล</strong></p><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53966657237_2c553cee0c_o_d.jpg" width="1650" height="1100" loading="lazy">
ที่มาภาพ: Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO)</p><p>โครงการอาหารกลางวันโรงเรียนแห่งชาติของบราซิล (Brazilian National School Food Program - PNAE) ก่อตั้งขึ้นใน








