[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
18 กรกฎาคม 2568 21:41:19 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ท้องถิ่นและอาหารกลางวันนักเรียน: ปัญหา อุปสรรค เสียงผู้มีส่วนได้-เสีย  (อ่าน 195 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 03 กันยายน 2567 17:12:53 »

ท้องถิ่นและอาหารกลางวันนักเรียน: ปัญหา อุปสรรค เสียงผู้มีส่วนได้-เสีย
 


<span>ท้องถิ่นและอาหารกลางวันนักเรียน: ปัญหา อุปสรรค เสียงผู้มีส่วนได้-เสีย </span>
<span><span>auser15</span></span>
<span><time datetime="2024-09-01T20:24:22+07:00" title="Sunday, September 1, 2024 - 20:24">Sun, 2024-09-01 - 20:24</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p><strong>The Glocal – ท้องถิ่นเคลื่อนโลก</strong></p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53963334694_529dcbd710_o_d.jpg" width="800" height="600" loading="lazy">
แฟ้มภาพ สำนักงาน ป.ป.ช.</p><p>น้อยคนที่จะรู้ว่าประเทศไทยมีโครงการอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียนมาเป็นเวลานานถึง 72 ปีแล้ว แต่เชื่อได้ว่านักเรียนในรุ่นนั้นและรุ่นต่อ ๆ มาเพียงไม่กี่คนที่จะมีโอกาสได้ลิ้มลองรสชาติของอาหารกลางวันที่มีการจัดหามา ส่วนใหญ่ถ้าไม่ห่อมาจากบ้านก็หาซื้อในร้านอาหารของโรงเรียนหรือไม่ก็ผูกปิ่นโตจ่ายเป็นรายเดือนกับทางโรงเรียนนั่นแหละ</p><p>แต่ก็เพิ่งเมื่อประมาณ&nbsp;30 ปีนี่เองที่นักเรียนหลายคนของโรงเรียนบางแห่งในประเทศไทยซึ่งรัฐเห็นว่าขาดแคลนที่จะมีอาหารกลางวันโดยที่ผู้ปกครองไม่ต้องเสียเงิน และนั่นก็กลายเป็นที่มาของสารพัดปัญหาที่สะท้อนออกมาจากหัวข่าวของสื่อมวลชนเกี่ยวกับคุณภาพ ปริมาณ รวมตลอดไปถึงการทุจริตค่าอาหารกลางวันของนักเรียนในหมู่ข้าราชการและนักการศึกษาทั้งหลายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เรื่องราวประเภท ผู้ปกครองโวยโรงเรียน อาหารกลางวันไม่พอกิน บางวันข้าวแฉะ บางวันอาหารบูด เด็ก ๆ เจ็บป่วยกันเป็นหมู่คณะ นานๆก็จะมีข่าวว่า รัฐบาลจัดงบประมาณหลายพันล้านบาทเลี้ยงอาหารกลางวันนักเรียน ถึงอย่างนั้นก็ยังมีข่าวประเภทว่า คุณครูใจดีควักเงินส่วนตัวลงทุนทำอาหารกลางวันให้นักเรียนด้วยตัวเองเพื่อให้ลูกศิษย์ได้กินอิ่ม</p><p>รายงาน&nbsp;2 ตอนจบนี้จะได้กล่าวถึงโครงการอาหารกลางวันนักเรียนที่อุดหนุนโดยภาครัฐเฉพาะอย่างยิ่งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อสำรวจตรวจสอบระบบการทำงาน การปฏิบัติการ สภาพ ปัญหาและแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยจะมีตัวอย่างของต่างประเทศว่า ประเทศที่เจริญก้าวหน้าเขาเลี้ยงดูนักเรียนที่เป็นอนาคตของชาติกันอย่างไร</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>ท้องถิ่นและอาหารกลางวันนักเรียน: ปัญหา อุปสรรค เสียงผู้มีส่วนได้-เสีย</li><li>ท้องถิ่นและอาหารกลางวันนักเรียน: ข้อเสนอแนะและตัวอย่างจากต่างประเทศ</li></ul></div><h2><strong>ความเป็นมาของโครงการอาหารกลางวัน</strong></h2><p>ข้อมูลจาก&nbsp;สำนักงานกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน ระบุว่าโครงการอาหารกลางวันเกิดขึ้นจากความตระหนักของรัฐบาลในการแก้ปัญหาทุพโภชนาการของเด็กนักเรียนประถมศึกษา ซึ่งมักขาดแคลนอาหารกลางวัน หรือได้รับอาหารที่ไม่เพียงพอทั้งปริมาณและคุณค่าทางโภชนาการ ส่งผลให้การเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข</p><p>โครงการอาหารกลางวันริเริ่มในปี พ.ศ. 2495 โดยกระทรวงศึกษาธิการ แต่ประสบปัญหาขาดงบประมาณ ทำให้ไม่สามารถจัดสรรอาหารแก่นักเรียนขาดแคลนได้อย่างทั่วถึง ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติตระหนักถึงความสำคัญของโครงการนี้ จึงกำหนดนโยบายให้ทุกโรงเรียนดำเนินโครงการอาหารกลางวัน</p><p>ต่อมาในช่วงปลายปีงบประมาณ พ.ศ.2534 รัฐบาลเร่งรัดช่วยเหลือเด็ก ในระดับประถมศึกษาที่มีภาวะทุพโภชนาการและขาดแคลนอาหารกลางวัน กำหนดให้มี&nbsp;พ.ร.บ.กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน ในโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2535 สาระสำคัญคือ จัดตั้งกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่าย สำหรับการสนับสนุนและช่วยเหลือภาวะโภชนาการของนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา และการประชาสัมพันธ์ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็ก</p><p>ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2536 คณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน ตามมาตรา 7 ของกฎหมายดังกล่าวข้างต้น ได้มีการกำหนดให้กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันเป็นนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการและนักเรียนที่ขาดแคลนอาหารกลางวัน และเห็นชอบให้มีการจัดสรรเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวตามโครงการอาหารกลางวัน ปีการศึกษาละ 200 วัน ๆ ละ 5 บาทต่อคน ซึ่งเป็นอัตราราคาต่อหน่วยเริ่มต้นของการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดอาหารกลางวันนักเรียน และมีการพิจารณาปรับเพิ่มอัตราราคาดังกล่าวตามปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับ</p><p>ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของอาหาร ปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาไม่สามารถดำเนินโครงการอาหารกลางวันแต่เพียงลำพังได้ ส่งผลกระทบต่อนักเรียนโดยเฉพาะมีนักเรียนที่ขาดแคลนอีกจำนวนหนึ่งที่ตกหล่นหรือไม่สามารถเข้าถึงและยังไม่ได้รับประทานอาหารกลางวันตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนั้น&nbsp;คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2542 ให้ถือว่าการส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวันอิ่มทุกวันเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยเห็นชอบไห้มีความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารอิ่มทุกวัน ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้การสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ</p><h2><strong>โครงการอาหารกลางวันภายใต้การอุดหนุนผ่านท้องถิ่น</strong></h2><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53962117437_477ac0eb71_o_d.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">
แฟ้มภาพ สำนักงาน ป.ป.ช.</p><p>ทั้งนี้ จุดเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการจัดสรรงบประมาณเป็นค่าอาหารกลางวัน กล่าวคือภายใต้การตรา&nbsp;พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542</p><p>ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 กระทรวงศึกษาธิการได้ถ่ายโอนงบประมาณค่าอาหารกลางวันให้กระทรวงมหาดไทย ซึ่งกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ ต่อมาเมื่อจัดตั้งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) เป็นหน่วยงานใหม่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทย สถ. ได้รับบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนา อปท. ในด้านต่างๆ รวมถึงการจัดสรรงบประมาณ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 สถ. จึงรับหน้าที่จัดทำงบประมาณเงินอุดหนุนให้แก่ อปท. ซึ่งครอบคลุมถึงเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันนักเรียนด้วย</p><p>การเปลี่ยนแปลงของการจัดสรรงบประมาณเป็นค่าอาหารกลางวันเกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 แทนที่&nbsp;พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณหลายประการ ซึ่งรวมถึงการจัดสรรงบประมาณให้แก่ อปท. กล่าวคือ มาตรา 4 ของกฎหมายได้บัญญัตินิยาม&nbsp;“หน่วยรับงบประมาณ” เป็นการเฉพาะ โดยให้หมายความถึงหน่วยงานของรัฐที่ขอรับหรือได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่าย และได้เพิ่มเติมนิยาม หน่วยงานของรัฐให้ครอบคลุมหน่วยงาน 7 ประเภท ซึ่งรวมถึง อปท.</p><p>จากผลทางกฎหมายที่ทำให้ อปท. เป็นหน่วยรับงบประมาณที่ยื่นคำขอตั้งและได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีของหน่วยงานตนเองเป็นเงินอุดหนุนได้โดยตรง ซึ่งรายการค่าอาหารกลางวันนักเรียนเป็นเงินอุดหนุนประเภทหนึ่งที่ อปท. ยื่นคำขอตั้งและได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวด้วย โดยเมื่อ อปท. ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเป็นค่าอาหารกลางวันนักเรียนแล้ว อปท.ในฐานะหน่วยรับงบประมาณซึ่งเป็นเจ้าของงบประมาณจะดำเนินการจัดสรรต่อให้โรงเรียนหรือสถานศึกษา และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแล้วแต่กรณี ซึ่งเป็นหน่วยดำเนินการที่สังกัด อปท. หรือหน่วยงานอื่น เพื่อดำเนินโครงการอาหารกลางวันนักเรียนต่อไป</p><p>สำหรับนักเรียนทั่วประเทศที่เป็นกลุ่มเป้าหมายตามโครงการอาหารกลางวัน อยู่ภายใต้สังกัดของโรงเรียนและสถานศึกษาต่าง ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้หน่วยงานต้นสังกัดที่หลากหลาย ดังนั้น การจัดสรรงบประมาณเป็นค่าอาหารกลางวันนักเรียนจึงดำเนินการผ่านหน่วยรับงบประมาณซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของโรงเรียนหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบเด็กนักเรียนได้แก่ เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (ศพด.) เด็กอนุบาล และเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6&nbsp;โดยที่ในปัจจุบันหน่วยงานที่มีภารกิจและรับผิดชอบนักเรียนมีหลากหลายหน่วยงาน เช่น โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โรงเรียนประถมศึกษาเอกชนตาม พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับควบคุมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนประถมศึกษาหรือสถานศึกษาในสังกัดมหาวิทยาลัย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โรงเรียนประถมศึกษาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ตลอดจนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของหน่วยงานในสังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (ศูนย์รับเลี้ยงเด็กของกรมประชาสงเคราะห์เดิม) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นต้น</p><h2><strong>รอบ 31 ปี งบอุดหนุนอาหารกลางวันเพิ่มเพียง 17 บาท จาก 5 บาทเป็น 22 บาท</strong></h2><p>จากการรวบรวมข้อมูลงบประมาณอุดหนุนอาหารกลางวัน พบว่าเริ่มมีการอุดหนุนครั้งแรกในปี พ.ศ.&nbsp;2536 ปีการศึกษาละ 200 วัน 5 บาท/คน/วัน จนถึงปี พ.ศ.&nbsp;2567 เงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันอยู่ที่ 22-36 บาท/คน/วัน (แล้วแต่ขนาดของโรงเรียน) รวมระยะเวลา&nbsp;31 ปี งบประมาณอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันนี้เพิ่มมาเพียง&nbsp;17 บาทเท่านั้น</p><table border="1" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr><td colspan="2" width="601"><p class="text-align-center"><strong>ไทม์ไลน์โครงการอาหารกลางวัน พ.ศ. 2495-2567</strong></p></td></tr><tr><td width="75"><p class="text-align-center"><strong>ปี พ.ศ.</strong></p></td><td width="526"><p class="text-align-center"><strong>เหตุการณ์สำคัญ</strong></p></td></tr><tr><td width="75"><p class="text-align-center">2495</p></td><td width="526">กระทรวงศึกษาธิการได้ทดลองจัดอาหารกลางวันแก่นักเรียนในสังกัด แต่พบว่าโรงเรียนขาดงบประมาณทำให้ไม่สามารถจัดอาหารกลางวันได้อย่างทั่วถึง</td></tr><tr><td width="75"><p class="text-align-center">2520</p></td><td width="526">รัฐบาลบรรจุแผนอาหารและโภชนาการไว้ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524)</td></tr><tr><td width="75"><p class="text-align-center">2530</p></td><td width="526">สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ให้โรงเรียนในสังกัดดำเนินโครงการอาหารกลางวันทั้งหมดก่อนวันที่ 5 ธ.ค. 2530 เพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสครบรอบ 60 พรรษาของ ร.9 ภายใต้คำขวัญ&nbsp;“ฉลอง 60 พรรษามหาราชา เด็กประถมศึกษาไม่หิวโหย” ทั้งนี้โรงเรียนทั้งหมดดังกล่าวจึงได้ดำเนินโครงการอาหารกลางวันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา</td></tr><tr><td width="75"><p class="text-align-center">2535</p></td><td width="526">มีการออก พ.ร.บ.กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา พ.ศ.2535 สาระสำคัญคือจัดตั้งกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา</td></tr><tr><td width="75"><p class="text-align-center">2536</p></td><td width="526">มีการจัดสรรเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวตามโครงการอาหารกลางวัน ปีการศึกษาละ 200 วัน 5 บาท/คน/วัน</td></tr><tr><td width="75"><p class="text-align-center">2542</p></td><td width="526">คณะรัฐมนตรีมีมติให้ถือว่า&nbsp;‘การส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวันอิ่มทุกวัน’ (Universal Free School Lunch) เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล&nbsp;- นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันเป็น&nbsp;6 บาท/คน/วัน</td></tr><tr><td width="75"><p class="text-align-center">2544</p></td><td width="526">กระทรวงศึกษาธิการได้ถ่ายโอนงบประมาณค่าอาหารกลางวันไปให้กระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นต้นสังกัดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ</td></tr><tr><td width="75"><p class="text-align-center">2545</p></td><td width="526">คณะรัฐมนตรีมีมติให้เพิ่มเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันเป็น 10 บาท/คน/วัน</td></tr><tr><td width="75"><p class="text-align-center">2546</p></td><td width="526">กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ถูกมอบหมายให้เป็นหน่วยรับงบประมาณอุดหนุนค่าอาหารกลางวันนักเรียน</td></tr><tr><td width="75"><p class="text-align-center">2551</p></td><td width="526">คณะรัฐมนตรีมีมติให้เพิ่มเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันเป็น 13 บาท/คน/วัน</td></tr><tr><td width="75"><p class="text-align-center">2556</p></td><td width="526">คณะรัฐมนตรีมีมติให้เพิ่มเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันเป็น 20 บาท/คน/วัน</td></tr><tr><td width="75"><p class="text-align-center">2564</p></td><td width="526">คณะรัฐมนตรีมีมติให้เพิ่มเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันเป็น &nbsp;21 บาท/คน/วัน</td></tr><tr><td width="75"><p class="text-align-center">2565</p></td><td width="526">คณะรัฐมนตรีมีมติให้เพิ่มเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันเป็น 22-36 บาท/คน/วัน (แล้วแต่ขนาดของโรงเรียน)</td></tr><tr><td width="75"><p class="text-align-center">2567</p></td><td width="526">คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบอาหารกลางวันให้นักเรียน ม.1-3 โรงเรียนขยายโอกาสทุกสังกัด</td></tr></tbody></table><h2><strong>แต่ละโรงเรียนจัดการอาหารกลางวันอย่างไร?</strong></h2><p>ตามข้อมูลจาก&nbsp;คู่มือการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน ประจำปีการศึกษา 2567 ระบุถึงแนวทางการขอรับงบประมาณเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวัน และแนวทางการจัดหาอาหารกลางวันของแต่ละโรงเรียนไว้ดังนี้</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53962117422_717079d4b7_o_d.png" width="846" height="406" loading="lazy"><p>ขั้นตอนการขอรับงบประมาณเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันเริ่มต้นด้วยโรงเรียนเสนอโครงการไปยัง อปท. โดยแจ้งจำนวนนักเรียนตามช่วงเวลาที่กำหนด คือวันที่ 10 พฤศจิกายน สำหรับภาคเรียนที่ 1 และวันที่ 10 มิถุนายน สำหรับภาคเรียนที่ 2 หากมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนนักเรียนภายหลัง ให้แจ้งเพิ่มเติม การนับจำนวนนักเรียนครอบคลุมตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็กถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากนั้น อปท. จะบรรจุโครงการเข้าแผนพัฒนาท้องถิ่นและจัดตั้งงบประมาณ เมื่ออนุมัติแล้วจะแจ้งให้โรงเรียนทราบ โรงเรียนจะนำงบประมาณที่ได้รับไปจัดซื้อจัดจ้างอาหารกลางวัน และต้องรายงานผลการดำเนินงานภายใน 30 วันหลังจากโครงการเสร็จสิ้น พร้อมคืนเงินเหลือจ่าย (ถ้ามี) ให้แก่ อปท.</p><p>สำหรับแนวทางการจัดหาอาหารกลางวันมี&nbsp;3 วิธีได้แก่</p><p>1. การจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการประกอบอาหารเอง<strong>&nbsp;</strong>ครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวัน จัดทำรายการอาหารกลางวัน เป็นรายสัปดาห์ รายเดือน หรือรายภาคเรียน โดยมีการจัดทำประมาณการวัตถุดิบ และคุณลักษณะเฉพาะของวัตถุดิบ โดยคำนึงถึงคุณค่าทางอาหารหรือโภชนาการที่จำเป็น ตามรอบการจัดซื้อ ทั้งนี้หากวงเงินเกิน 500,000 บาท จะต้องจัดทำรายงานขอซื้อ โดยใช้วิธีประกาศเชิญชวน ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) หรือวิธีคัดเลือก เสนอผู้อำนวยการโรงเรียนอนุมัติรายการขอซื้อ ตามแบบในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP)</p><p>2. การจ้างบุคคลเพื่อประกอบอาหาร กรณีการจ้างบุคคลเพื่อประกอบอาหารให้เจ้าหน้าที่จัดทำรายงานขอจ้างเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและ การบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 22 วรรคหนึ่ง โดยให้ถือว่ารายงานขอจ้างดังกล่าวเป็นรายงานขอจ้างบุคคลเพื่อการประกอบอาหารในแต่ละครั้ง ตลอดการจัดจ้าง โดยให้ดำเนินการจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง (2) (ข) แห่ง พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ซึ่งจะจัดจ้างเป็นรายสัปดาห์ รายเดือน รายภาคเรียน หรือรายปีงบประมาณ /รายปีการศึกษา ก็ได้ โดยวิธีการนี้ผู้จัดซื้อวัตถุดิบ (โรงเรียน) จะส่งมอบวัตถุดิบเพื่อใช้ในการประกอบอาหาร พร้อมรายการของเมนูอาหารที่จะต้องประกอบอาหารในแต่ละวันให้กับผู้รับจ้าง</p><p>3. การจ้างเหมาประกอบอาหาร (ปรุงสำเร็จ<strong>)</strong> ครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวัน จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะและขอบเขตของงาน (TOR) แล้วจัดทำรายงานขอจ้างสนอผู้อำนวยการโรงเรียนอนุมัติรายการขอจ้าง แต่ในกรณีวงเงินเกินกว่า 500,000 บาท จะต้องจัดทำรายงานขอจ้าง โดยใช้วิธีประกาศเชิญชวน ประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) หรือวิธีคัดเลือก เสนอผู้อำนวยการโรงเรียนอนุมัติรายการขอจ้างตามแบบในระบ จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-GP)</p><h2><strong>‘ปัญหา-อุปสรรค’ ของโครงการอาหารกลางวัน</strong></h2><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53963257388_e20b2a4b95_o_d.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy">
แฟ้มภาพ สำนักงาน ป.ป.ช.</p><p>สำหรับปัญหาโครงการอาหารกลางวัน นอกจากกรณีทุจริตที่ปรากฏในสื่อเป็นระยะ ยังพบว่าการดำเนินงานยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2563 พบว่านักเรียนในโครงการทั่วประเทศ 884,670 คน จากทั้งหมด 3,831,367 คน หรือ 23.08% มีภาวะทุพโภชนาการ สะท้อนว่าโครงการนี้ยังคงประสบปัญหาอยู่</p><p><strong>การศึกษาของสำนักงานกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน เมื่อปี พ.ศ.&nbsp;2561</strong> ระบุถึงปัญหาของโครงการอาหารกลางวันไว้ ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณมีความล่าช้า มีการนำข้อมูลสารสนเทศของโครงการอาหารกลางวันมาใช้ในการดำเนินงานน้อย ขาดการวางแผนและเข้ามามีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สถานศึกษาขาดการบริหารจัดการกองทุนอาหารกลางวันที่มีประสิทธิภาพ</p><p><strong>การศึกษาขององค์การยูนิเซฟประจำประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2563</strong> พบว่างบประมาณต่อหัว เป็นค่าประมาณการที่ไม่สะท้อนต้นทุนรวมของการประกอบอาหารกลางวันนักเรียนซึ่งมีต้นทุนผันแปรที่แตกต่างกันของสภาพแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเปลี่ยนแปลงของดัชนีค่าครองชีพในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ รวมทั้งไม่สอดคล้องต่อความแตกต่างกันของปริมาณความต้องการพลังงานและสารอาหารของนักเรียนตามช่วงอายุ</p><p>ในงานศึกษา&nbsp;<strong>'แนวทางการบริหารจัดการกองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน' โดย สุบัน พรเวียง และมนต์นภัส มโนการณ์ เผยแพร่เมื่อปี 2564</strong> ที่ได้ทำการศึกษาสภาพปัญหาจากผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 216 คน พบสภาพปัญหาการดําเนินงานโครงการอาหารกลางวัน ได้แก่การจัดสรรงบประมาณมีความล่าช้าสถานศึกษามีการนําข้อมูลสารสนเทศของโครงการอาหารกลางวันมาใช้ในการดําเนินงานน้อยขาดการประชุมชี้แจง และวางแผนร่วมกันของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อทําความเข้าใจการดําเนินงานโครงการอาหารกลางวันขาดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดําเนินงานโครงการอาหารกลางวัน ขาดการประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบด้านผลผลิต กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันและสถานศึกษาขาดแนวทางการบริหารจัดการกองทุนอาหารกลางวันที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน</p><p><strong>รายงานของสำนักงบประมาณของรัฐสภาเมื่อปี พ.ศ. 2564</strong> พบปัญหาการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันนักเรียนทั้งในระดับภาพรวม และระดับพื้นที่เฉพาะ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านงบประมาณ พบว่า โรงเรียนหรือหน่วยงานที่ดำเนินโครงการมีปัญหาอุปสรรคได้รับจัดสรรงบประมาณผ่านส่วนราชการ มีจำนวนไม่เพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนกลุ่มเป้าหมายและต้นทุนการดำเนินงาน และได้รับจัดสรรเงินงบประมาณล่าช้า</p><p><strong>ข้อมูลจากผู้ตรวจการแผ่นดินเมื่อปี พ.ศ.2565</strong> ชี้ถึงปัญหาของโครงการอาหารกลางวันไว้ว่ายังไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเท่าที่ควรเนื่องจากปัญหาหลายประการที่เป็นอุปสรรคข้อขัดข้องสำคัญ ดังนี้</p><p>1. การเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีประเภทเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันให้แก่สถานศึกษาหลายแห่งทั่วประเทศล่าช้าไม่ทันกำหนดเปิดภาคการศึกษา ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการอาหารกลางวันของโรงเรียนที่ไม่สามารถจัดซื้อจัดจ้างได้ทันหรือไม่มีเงินเพียงพอในการจัดทำอาหารกลางวัน จำต้องลดปริมาณและคุณภาพ ทำให้คุณค่าทางโภชนาการของอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนลดลง</p><p>2. การละเลยไม่ดำเนินการให้มีนักโภชนาการชุมชนครบในทุกท้องถิ่นทั่วประเทศให้สอดรับกับมาตรการป้องกันการทุจริตงบประมาณค่าอาหารกลางวันเด็กนักเรียน ซึ่งกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นกำหนด ทำให้ขาดนักโภชนาการดูแลคุณค่าด้านโภชนาการและแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็กนักเรียนในหลายท้องถิ่นทั่วประเทศ</p><p>3. ค่าเฉลี่ยอาหารกลางวันในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาลดลงต่ำกว่าเงินอุดหนุน เนื่องจากงบประมาณโครงการอาหารกลางวันไม่ครอบคลุมถึงเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (โรงเรียนประถมศึกษาที่จัดการศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษา)</p><p>4. การนำวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ตาม พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 มาใช้บังคับแก่กรณีการใช้จ่ายเงินงบประมาณอุดหนุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียนที่เกินกว่า 500,000 บาท ทำให้ค่าอาหารกลางวันเด็กเฉลี่ยต่อรายเพิ่มสูงขึ้นจากการบวกกำไรเพิ่มของ ผู้ประมูล ส่งผลให้ค่าเฉลี่ยอาหารกลางวันเด็กต่อรายทั้งโรงเรียนมีจำนวนลดลงต่ำกว่าเงินอุดหนุน เป็นเหตุให้คุณภาพของอาหารกลางวันลดลงอย่างมีนัยสำคัญ</p><p>5. หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเงินอุดหนุนโครงการอาหารกลางวันกรณีเงินเหลือจ่าย ที่กระทรวงการคลังและสถานศึกษาหลายแห่งยึดถือไม่สอดคล้องกับที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยึดถือ เป็นเหตุให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องใช้เวลาพิจารณาในการสนับสนุนงบประมาณสำหรับเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันในคราวถัดไป ส่งผลให้สถานศึกษาบางแห่งได้รับเงินจัดสรรโครงการอาหารกลางวันขาดช่วง กระทบต่อการจัดหาอาหารกลางวันเด็กนักเรียนให้มีคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม</p><p><strong>ปารมี ไวจงเจริญ สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาชน และกรรมาธิการและที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร</strong> แจกแจงถึงปัญหาหลักของ&nbsp;‘โครงการอาหารกลางวัน’ ของไทยว่า มี 3 เรื่องหลัก คือ คน เงิน และการบริหารจัดการ</p><p>"เรื่องคนประสบกับปัญหาคลาสสิคคือ คนไม่เพียงพอ โรงเรียนส่วนใหญ่ให้ครูดูแล บางแห่งให้ครูทำอาหารกลางวันเอง บางแห่งให้ครูควบคุมการจัดซื้อจัดจ้าง คุมบัญชี ทั้งที่ครูไม่มีทักษะเหล่านี้อีกทั้งยังมีภาระการสอนมากอยู่แล้ว ดังนั้นทางออกคือ โรงเรียนควรเพิ่มบุคลากรอีก 2 ส่วนคือ คนที่ทำงานด้านการจัดซื้อจัดจ้าง-ทำบัญชีของโรงเรียน กับแม่ครัวที่ทำอาหารกลางวัน" ปารมี กล่าว</p><p>สส.พรรคประชาชน กล่าวต่อว่า เรื่องงบประมาณมีปัญหาทั้งความไม่เพียงพอและความไม่ครอบคลุม ปัจจุบันแม้ ครม.มีมติขยายอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนระดับมัธยมต้นด้วยแล้ว แต่ก็ยังครอบคลุมเพียงโรงเรียนขยายโอกาสเท่านั้น ส่วนเรื่องงบรายหัวแม้ล่าสุดกระทรวงศึกษาธิการจะอนุมัติเพิ่ม จนเรทปัจจุบันอยู่ที่ต่ำสุด 22 บาทต่อหัวต่อวัน สูงสุด 36 บาทต่อหัวต่อวัน ตามแต่ขนาดโรงเรียน แต่ก็ยังไม่เพียงพอ และโดยงบประมาณที่มีอยู่ยืนยันว่าสามารถทำได้มากกว่านี้</p><p>ทั้งนี้จากการที่มีโอกาสเป็นรองประธานอนุกรรมาธิการงบการศึกษา ในคณะกรรมาธิการงบประมาณประจำปี 2567-2568 ปารมีมั่นใจว่าไทยเราอาจสามารถบริหารจัดการได้ดีกว่าที่เป็นอยู่นี้</p><p>"งบอาหารกลางวันสามารถเพิ่มได้มากกว่านี้ เพราะการจัดสรรงบที่เป็นอยู่ไม่มีประสิทธิภาพมากนัก มีโครงการไม่จำเป็นต่อนักเรียน ไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนโดยตรงจำนวนมาก เช่น บรรดาโครงการอบรมต่าง ๆ จึงเห็นว่าควรลดงบพวกนี้แล้วใส่ไปในโครงการที่ได้ประโยชน์โดยตรง" ปารมี กล่าว</p><h2><strong>เสียง ‘ผู้เกี่ยวข้อง-มีส่วนได้ส่วนเสีย’ จากโครงการอาหารกลางวัน</strong></h2><p class="text-align-center picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/53963334679_fcc356e73a_o_d.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy">
แฟ้มภาพ สำนักงาน ป.ป.ช.</p><p><strong>ครูรายหนึ่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในจังหวัดเชียงใหม่&nbsp;</strong>ระบุว่าโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนกำลังเผชิญความท้าทายด้านงบประมาณและการบริหารจัดการ โดยเฉพาะในโรงเรียนขนาดเล็ก งบประมาณรายหัวที่จำกัดไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งค่าวัตถุดิบ อุปกรณ์ และค่าจ้างแม่ครัว ส่งผลให้ครูต้องรับภาระเพิ่มเติมในการจัดการโครงการ ซึ่งรวมถึงการจัดซื้อ การประกอบอาหาร และการทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง</p><p>ภาระงานเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อเวลาและทรัพยากรที่ครูควรทุ่มเทให้กับการสอน จึงอยากเสนอให้แยกการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันออกจากหน้าที่ของครู โดยให้หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาดูแล พร้อมทั้งกำหนดมาตรการตรวจสอบความโปร่งใส เพื่อให้ครูสามารถมุ่งเน้นที่การสอนซึ่งเป็นหน้าที่หลัก และเพื่อการบริหารจัดการโครงการอาหารกลางวันที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น</p><p>“นอกจากให้งบประมาณมาแล้ว ก็อยากให้ อปท. จัดคนมาดูแลตรงนี้ไปเลย ให้ ป.ป.ช. ช่วยแนะนำท้องถิ่นไปเลยว่าควรทำยังไงกับอาหารกลางวันนักเรียน อยากให้เอาภาระตรงนี้มีหน่วยงานดูแลแยกออกไป ให้ครูได้ทุ่มเทกับการสอนหนังสือ ยิ่งช่วงไหนที่ ป.ป.ช. จะมาตรวจโครงการอาหารกลางวัน ครูที่ดูแลเรื่องนี้แทบจะไม่ได้สอนเด็กเลย” ครูรายนี้กล่าว</p><p><strong>ครูอีกรายหนึ่ง สังกัดสถานศึกษาสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน (ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบนพื้นที่ราบสูง) ในจังหวัดเชียงใหม่&nbsp;</strong>ได้ให้ภาพสะท้อนความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ปรากฏชัดเจน แม้โรงเรียนจะได้รับงบประมาณเท่าเทียมกัน แต่โรงเรียนบนดอยกลับเผชิญอุปสรรคมากมาย ทั้งความยากลำบากในการสรรหาผู้รับเหมาหรือผู้รับจ้างทำอาหารกลางวัน อีกทั้งข้อจำกัดด้านวัตถุดิบในการประกอบอาหาร ซึ่งมีความหลากหลายน้อยกว่าในเขตเมืองอย่างเห็นได้ชัด</p><p>“นอกจากโรงเรียนมีนักเรียนน้อย ทำให้ไม่มีใครอยากมารับเหมาหรือมารับจ้างทำอาหารให้แล้ว การที่ครูจะทำอาหารให้นักเรียน ชุมชนบนดอยไม่มีร้านที่ขายวัตถุดิบหลากหลาย ต้องเดินทางมาซื้อข้างล่าง แล้วมันก็เสี่ยงอยู่แล้วการเดินทางขึ้นลงดอย เช่นในปี 2564 ที่อำเภอแม่แจ่ม มีเหตุการณ์ภารโรงและภรรยาขับรถกระบะลงดอยพาครูไปจ่ายตลาดหมู่บ้านอื่นเพื่อซื้อของทำอาหารกลางวันให้เด็ก แต่ระหว่างทางรถเสียหลักพุ่งตกอ่างเก็บน้ำทำให้เสียชีวิตทั้ง 3 คน นี่คือความเสี่ยงที่ครูบนดอยต้องเจอ” ครูรายนี้กล่าว</p><p><strong>ผู้รับเหมารายหนึ่ง ที่รับเหมาทำอาหารกลางวันให้กับโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเชียงใหม่&nbsp;</strong>ที่รับเหมาทำอาหารกลางวันมาตั้งแต่งบอุดหนุนหัวละ 20 บาท (ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2564) จนมาถึงปี พ.ศ. 2567 ขึ้นมาเป็น 22 บาท ทั้งนี้โรงเรียนแห่งนี้ยังมีนักเรียนมัธยมที่เป็นนักเรียนขยายโอกาส ผู้อำนวยการได้ขอความร่วมมือเธอให้จัดอาหารกลางวันให้นักเรียนมัธยมกลุ่มนี้ด้วยงบประมาณจำนวนเดิมที่ได้รับการจัดสรรมาจาก อปท. ซึ่งเมื่อมาเกลี่ยเงินต่อหัวกันจริง ๆ แล้ว นักเรียนทุกคนในโรงเรียน (เด็กเล็ก-ม.3) ก็จะได้ไม่ถึงหัวละ 22 บาท</p><p>“สมมติเราเหมามาหัวละ 22 เราอาจจะเอากำไรถ้านักเรียนเยอะเราก็พออยู่ได้ แต่นี่ยังต้องเกลี่ยเงินต่อหัวไปให้เด็กมัธยมอีก” ผู้รับเหมารายนี้กล่าว</p><p>แต่เมื่อปี 2566 ที่ผ่านครูคนหนึ่งในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดทางอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานกระทำความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เนื่องจากเกลี่ยงบประมาณอาหารกลางวันไปให้นักเรียนมัธยมขยายโอกาส ทำให้โรงเรียนทั่วจังหวัดเชียงใหม่เลิกเกลี่ยเงินต่อหัวไปให้เด็กมัธยม เนื่องจากกลัว

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.15 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 09 กรกฎาคม 2568 21:03:12