คุยกับภาคประชาชน ร่าง รธน.ใหม่ยังไปต่อได้ มีกี่จุดต้องผลักดัน
<span>คุยกับภาคประชาชน ร่าง รธน.ใหม่ยังไปต่อได้ มีกี่จุดต้องผลักดัน</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2024-11-23T14:45:27+07:00" title="Saturday, November 23, 2024 - 14:45">Sat, 2024-11-23 - 14:45</time>
</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ภาพปก: ณัชปกร นามเมือง </p></div>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>หลัง กมธ.ร่วมเพื่อพิจารณา พ.ร.บ.ประชามติ มีมติไม่เอกฉันท์ คงหลักเกณฑ์ 2 ชั้น เมื่อ 20 พ.ย. 2567 และมีโอกาสสูงมากที่ร่าง กม.จะถูกดองต่ออีก 180 วัน หากสภาใดสภาหนึ่งไม่ยอมรับมติของ กมธ.ร่วมฯ</p><p>การยืดเวลาออกไป 180 วันออกไป ส่งผลต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จทันภายในสมัยรัฐบาล 'แพทองธาร' ยังคงมีแต่ความไม่แน่นอน แล้วประชาชนยังพอมีความหวังที่จะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในปี 2570 หรือไม่</p><p>ประชาไทคุยกับณัชปกร นามเมือง จากเครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ พบว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ให้เสร็จทันปี 2570 ยังเป็นไปได้ แม้ไม่ง่ายนัก และจุดผลักดันที่ประชาชนต้องทำต่อ ทั้งกดดันฝากฝั่งบริหาร-นิติบัญญัติอย่างประธานสภาฯ ฝ่ายค้าน และสำคัญที่สุดคือ สว.-ภูมิใจไทย ให้สนับสนุนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยให้ได้</p><p> </p><p>ณัชปกร นามเมือง สมาชิกเครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ และสมาชิกกรรมาธิการร่วม (กมธ.ร่วม) เพื่อพิจารณาศึกษาพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... ให้สัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์หลังจาก กมธ.ร่วมฯ มีมติคงหลักเกณฑ์ 2 ชั้น (Double Majority) เมื่อ 20 พ.ย. 2567 โดยเขามองว่า ประชาชนยังมีความหวังแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เสร็จภายในสมัยรัฐบาลนี้ผ่านข้อเสนอภาคประชาชนในการจัดทำประชามติเพียง 2 ครั้ง แต่อุปสรรคสำคัญคือการเจรจากับพรรคภูมิใจไทย ที่กุมเสียงของวุฒิสภา ให้สนับสนุนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ โดยที่สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มาจากการเลือกตั้ง 100%</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53138474864_9f465430e5_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ณัชปกร นามเมือง</p><div class="note-box"><p>หลักเกณฑ์การผ่านประชามติ 2 ชั้น คือ ถ้าจะผ่านประชามติต้อง 1. ต้องมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง และ 2. ต้องมีผู้ออกเสียง ‘เห็นชอบ’ เกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิออกเสียงลงประชามติ</p><p>ก่อนหน้านี้ สว.อ้างว่า ที่ต้องคงหลักเกณฑ์ 2 ชั้น เพราะว่าเป็นเรื่องความชอบธรรม และการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องใหญ่ จึงต้องให้มีประชาชนออกมาใช้สิทธิให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้</p></div><h2>ต่อให้ สส.มาครบก็สู้ฝั่งหลักเกณฑ์ 2 ชั้นไม่ไหว</h2><p>เมื่อ 20 พ.ย. ที่ผ่านมา การประชุมคณะ กมธ.ร่วมเพื่อพิจารณาร่างแก้ไข พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ มี สส.ขาดประชุมถึง 3 คน แต่ในกรณีที่ตัวแทนฝั่ง สส.เข้าประชุมครบทุกคน จะสามารถเปลี่ยนแปลงผลการลงมติหรือไม่นั้น ณัชปกร มองประเด็นนี้ว่า ต่อให้ฝั่ง สส.มากันครบ ก็ยังโหวตแพ้เสียงจากสมาชิกวุฒิสภา เพราะว่า 2 สส.พรรคภูมิใจไทย แสดงจุดยืนอยู่ข้าง สว.ตั้งแต่การประชุมครั้งแรกเลือกประธาน กมธ.ร่วมฯ</p><p>"ผลมันรู้ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เพราะว่าตอนเลือกประธานกรรมาธิการฯ ตอนนั้นทุกคนเข้าครบ แล้วเสียงฝั่ง สว.เขาได้ 16 แต้ม ทั้งที่มี สว.แค่ 14 คน ก็คือสามารถอนุมานได้ว่า พรรคภูมิใจไทยโหวตให้ สว.เป็นประธานฯ เพราะฉะนั้น เสียงมันไม่เท่ากันตั้งแต่แรก เพราะว่ามันมีเสียงภูมิใจไทย 2 คนเป็นฝั่งเดียวกัน เพราะฉะนั้น ต่อให้ สส.เข้ากันครบ มันก็ไม่ได้เปลี่ยนผลลัพธ์" ณัชปกร กล่าว</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54159035279_399cebef26_b.jpg" width="1000" height="667" loading="lazy">โฆษกคณะกรรมาธิการร่วม พ.ร.บ.ประชาชาติ แถลงข่าวเสียงส่วนใหญ่ในที่ประชุมเห็นชอบตามที่วุฒิสภาแก้ไขให้มีการออกเสียงประชามติ 2 ชั้นเมื่อ 20 พ.ย. 2567 (ที่มา:
เว็บไซต์สภาผู้แทนราษฎร) </p><div class="note-box"><h2>รายชื่อผู้ที่อยู่ใน กมธ.ร่วม วันตัดสินหลักเกณธ์ประชามติ</h2><p><strong>ฝั่งตัวแทนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)</strong></p><p>1. ประยุทธ์ ศิริพานิชย์</p><p>2. ณัฐวุฒิ บัวประทุม (ลา)</p><p>3. วิทยา แก้วภราดัย</p><p>4. ยุทธการ รัตนมาศ (ลา)</p><p>5. กรวีร์ ปริศนานันทกุล (งดออกเสียง)</p><p>6. ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ (ลา)</p><p>7. ไชยชนก ชิดชอบ (งดออกเสียง)</p><p>8. นพดล ปัทมะ</p><p>9. พริษฐ์ วัชรสินธุ</p><p>10. นิกร จำนง</p><p>11. จาตุรนต์ ฉายแสง</p><p>12. กฤช เอื้อวงศ์</p><p>13. ณัชปกร นามเมือง</p><p>14. ปกป้อง จันวิทย์</p><p><strong>ฝั่งสมาชิกวุฒิสภา (สว.)</strong></p><p>1. ชีวะภาพ ชีวะธรรม</p><p>2. กอบ อัจนากิตติ</p><p>3. ธวัช สุระบาล</p><p>4. วุฒิชาติ กัลยาณมิตร</p><p>5. นิเวศ พันธ์เจริญวรกุล</p><p>6. บุญจันทร์ นวลสาย</p><p>7. ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล</p><p>8. พิชาญ พรศิริประทาน</p><p>9. พิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์</p><p>10. สิทธิกร ธงยศ</p><p>11. อภิชาติ งามกมล</p><p>12. เอนก วีระพจนานันท์</p><p>13. ฉัตรวรรษ แสงเพชร (งดออกเสียง ในฐานะประธาน กมธ.ร่วม)</p><p>14. กมล รอดคล้าย</p></div><h2>มีโอกาสถูกยับยั้งร่าง กม. ไว้ 180 วัน</h2><p>กระบวนการหลังจาก กมธ.ร่วมฯ รับรองร่างกฎหมายแล้ว จะมีการยื่นร่างเข้าไปแต่ละสภาฯ คือวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร โดยคาดว่าพิจารณาในต้นเดือน ธ.ค.นี้ หากสภาใดสภาหนึ่งไม่รับรอง ร่างกฎหมายจะถูกพับเก็บไว้ 180 วัน (6 เดือน) และจะนำมายื่นให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาใหม่ได้เมื่อครบกำหนดเวลา</p><p>ณัชปกร ให้ความเห็นว่า สส.มีโอกาสมากที่จะไม่ยอมรับหลักเกณฑ์ประชามติ 2 ชั้น และน่าจะมีผลทำให้ร่างประชามติถูกยับยั้งไว้ 180 วัน ซึ่งคาดว่าจะกลับมาพิจารณาอีกครั้งประมาณ มิ.ย.-ก.ค. 2568 โดยถ้าผลออกมาเป็นแบบนี้จะไม่มีประชามติจัดทำรัฐธรรมนูญ พร้อมกับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดใน ก.พ. 2568 อย่างแน่นอน</p><p>สมาชิกเครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ มองว่า อย่างไรก็ดี การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ยังมีโอกาสทันภายในสมัยรัฐบาลนี้ โดยข้อเสนอของภาคประชาชนคือจัดทำประชามติ 2 ครั้ง (แตกต่างจากของมติ ครม.ที่ให้จัดทำ 3 ครั้ง) โดยช่วงระหว่าง 180 วันที่รอพิจารณา พ.ร.บ.ประชามติ ใหม่อีกครั้ง ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 คู่ขนาน เพื่อไม่ให้เสียเวลา และเพื่อให้หลังจากพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ของสภาฯ เสร็จสิ้นแล้ว จะได้ทำประชามติครั้งแรกได้เลยภายในปี 2568</p><p>หลังจากนั้น ปี 2569 ให้มีการจัดเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) และก็ใช้ปี 2569 ทั้งปีทำรัฐธรรมนูญใหม่ และในปี 2570 ต้องมีการทำประชามติครั้งที่ 2 เพื่อรับรองร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่จัดทำโดย ส.ส.ร.</p><h2>จับตา ปธ.สภาฯ บรรจุวาระ - สว.หนุนแก้ รธน. มาตรา 256</h2><p>ณัชปกร กล่าวต่อว่า 2 ประเด็นที่ต้องจับตาดูต่อวันมูหะมัดนอร์ มะทา (วันนอร์) ประธานรัฐสภา บรรจุร่างแก้ไขกฎหมาย รัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เข้าสภาฯ เมื่อไร เพราะว่าก่อนหน้านี้ วันนอร์ไม่บรรจุวาระฯ เพราะโดนทักท้วงจากฝ่ายกฎหมายรัฐสภาว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่ให้บรรจุวาระ และประเด็นต่อมา คือการให้ สว. และพรรคภูมิใจไทย เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญจาก ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 100%</p><p>แม้ว่าพรรคภูมิใจไทยประกาศอย่างชัดเจนว่า “เห็นด้วย” กับการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ แต่เราก็เห็นกระบวนการเตะถ่วงของฝั่ง สว.สีน้ำเงินมาโดยตลอด โดยเฉพาะการแก้ พ.ร.บ.ประชามติให้กลับไปใช้หลักเกณฑ์ 2 ชั้น, ช่วงตั้ง กมธ.ร่วม 2 สภา สว.มีการเตะถ่วงเลื่อนการประชุม ทำให้เสียเวลาเกือบ 2 อาทิตย์, หรือการยืนยันร่างประชามติหลักเกณฑ์ 2 ชั้น ทั้งที่ทราบอยู่แล้วว่ามีโอกาสถูกยับยั้ง 180 วัน ดังนั้น มันเลยเป็นความท้าทายของปี 2568 ว่าเราจะทำโรดแมปประชามติได้หรือไม่ </p><p>ทั้งนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องอาศัยเสียง 1 ใน 3 จากสมาชิกวุฒิสภา ถึงจะสามารถแก้ไขได้ แต่ตลอดมาก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า สว.กลุ่มใหญ่มักมีแนวโน้มเอนเอียงไปทางเดียวกับมติ หรือความเห็นของพรรคภูมิใจไทย</p><p>เมื่อ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา
พริษฐ์ วัชรสินธุ ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ได้เข้าหารืออย่างไม่เป็นทางการกับประธานศาลรัฐธรรมนูญ ปมคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 ซึ่งได้ความเห็นว่าไม่จำเป็นต้องจัดทำประชามติ 3 ครั้ง และพริษฐ์ มีแผนว่าจะเข้าหารือประธานสภาฯ ให้บรรจุวาระร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ภายใน 27 พ.ย.นี้ </p><p>ขณะเดียวกัน
ชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์สื่อ เสนอว่า หากร่าง พ.ร.บ.ประชามติ ถูกตีความเป็นร่างกฎหมายการเงิน เพราะว่าการจัดทำประชามติต้องใช้งบประมาณ จะส่งผลให้ร่างไปผ่านการรับรองจากนายกรัฐมนตรี ซึ่งอาจช่วยร่นระยะเวลาจาก 180 วัน เหลือเพียง 10 วันได้ และอาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้จัดทำประชามติได้ 3 ครั้งตามมติ ครม.</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/53146548722_84dba9019e_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">ชูศักดิ์ ศิรินิล</p><h2>ฉันทามติประชาชนส้ม-แดงจะเป็นคีย์สำคัญ</h2><p>ณัชปกร ตั้งข้อสังเกต เขาไม่คิดว่าพรรคภูมิใจไทยไม่อยากแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะว่าสถานภาพตอนนี้ใครขึ้นมาเป็นรัฐบาลก็อ่อนแอมากๆ แต่สิ่งที่พรรคภูมิใจไทยพยายามทำคือ ทำยังไงที่จะเข้าไปแทรกแซงกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ผ่านการใช้กลไกวุฒิสภา</p><p>"ผมกลัวว่ามันจะเกิดเหมือนกับสมัยที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ คือมี ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งจริง แต่ว่ามีแต่งตั้งผสมมาด้วย และมีช่องทางให้พลพรรคของตัวเองเข้าช่องมาได้ ซึ่งมันจะทำให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่กลายเป็นเพียง 'พิธีกรรม'" ณัชปกร กล่าว</p><p>เบื้องต้น คีย์แมนคนสำคัญที่อาจจะพอกดดันพรรคภูมิใจไทยได้มีด้วยกัน 2 ตัวแสดง คือ ฝ่ายรัฐบาล และภาคประชาชน</p><p>สมาชิกเครือข่ายรณรงค์รัฐธรรมนูญ มองว่า นายกรัฐมนตรีอาจต้องพิจารณาว่า หากพรรคภูมิใจไทยเป็นอุปสรรคในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ นายกฯ อาจต้องยื่นเงื่อนไขปรับ ครม. เข้าไป แต่ไม่ทราบว่าจะประสบความสำเร็จในการกดดันมากแค่ไหน เพราะเสถียรภาพของรัฐบาลที่ยังมีแต่คำถาม</p><p>อีกตัวแสดงสำคัญคือ ‘ภาคประชาชน’ ที่อาจจะต้องกดดันวุฒิสภาให้หนักข้อมากขึ้น เหมือนกับสมัย สว. 250 คนที่มาจากคณะรัฐประหาร อย่างไรก็ดี ณัชปกร มองว่าโจทย์ตอนนี้คือยังไงให้ประชาชนเห็นปัญหาของ ‘สว.สีน้ำเงิน’ มากยิ่งขึ้น และโจทย์ข้างหน้าคือ ประชาชนต้องคิดต่อว่าทำยังไงให้เขาเข้าไปอยู่ในสมการทางอำนาจในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้ได้ เพราะว่าตอนนี้ประชาชนไม่ได้อยู่ในสมการอำนาจนี้เลย</p><p>"ถ้าเราอยากเห็นการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ผมคิดว่าการเคลื่อนไหวของประชาชนคนทั่วไป ภาคประชาสังคม หรือสื่อมวลชน อันนี้แหละเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะทำให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่มันเดินหน้า เพราะคาดหวังกับพรรคเพื่อไทยตอนนี้ก็ยาก เพราะว่าเขาก็เปราะบาง เราจะไปเจรจาต่อรองกับภูมิใจไทยก็ยาก เพราะเขารู้สึกว่าเขาถือไพ่เหนือกว่า เราจะไปคาดหวังกับพรรคฝ่ายค้าน ก็ยากเข้าไปใหญ่ เพราะว่ามีจำนวน สส.จริง แต่ไม่มีอำนาจมากขนาดนั้น เพราะฉะนั้น ประชาชนทุกภาคส่วนมันต้องจับมือกันและกดดันให้ 3 องคาพยพ มันเดินหน้าต่อไปได้" ณัชปกร กล่าวทิ้งท้าย</p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C" hreflang="th">สัมภาษณ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือ
http://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D" hreflang="th">แก้รัฐธรรมนู
http://prachatai.com/category/%E0%B8%93%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%A3-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">ณัชปกร นามเมือ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B4" hreflang="th">กฎหมายประชามต
http://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A5" hreflang="th">ชูศักดิ์ ศิรินิ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2" hreflang="th">วุฒิสภ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8" hreflang="th">พริษฐ์ วัชรสินธ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">พรรคภูมิใจไท
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2024/11/111467 







