วิเคราะห์เมืองดอกบัว จากศึก อบจ.อุบล สู่เลือกตั้งใหญ่ จับตาขั้วอำนาจใหม่ ‘หวังศุภกิจโกศล’
<span>วิเคราะห์เมืองดอกบัว จากศึก อบจ.อุบล สู่เลือกตั้งใหญ่ จับตาขั้วอำนาจใหม่ ‘หวังศุภกิจโกศล’</span>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2024-12-25T14:39:43+07:00" title="Wednesday, December 25, 2024 - 14:39">Wed, 2024-12-25 - 14:39</time>
</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>เรื่อง: ทีมข่าวการเมือง</p><p>มัลติมีเดีย: กิตติยา อรอินทร์</p></div>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><h2>เลือกตั้งท้องถิ่นรอบนี้ทำไมถูกจับจ้องมาก </h2><ul><li aria-level="1">การเลือกตั้งนายก อบจ.กลายเป็นข่าวระดับประเทศ เพราะอย่างแรก- พรรคการเมืองเปิดหน้าชัดเจนว่าส่งใครลงสมัครในจังหวัดใดบ้างอย่างไม่เคยมีมาก่อน และพากันส่ง ‘ตัวตึง’ ลงหาเสียง สังคมจึงจับตาการวัดพลังของพรรคต่างๆ เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มผลการเลือกตั้งครั้งหน้าในปี 2570 </li><li aria-level="1"><p>อย่างที่สอง- ผลเลือกตั้งปี 2566 มีการเปลี่ยนแปลงสูงและดูเหมือนยังไม่นิ่ง โดยเฉพาะ ‘
ภาคอีสาน’ ซึ่งเคยเป็นฐานสำคัญของพรรคเพื่อไทย เมื่อเทียบปี 62 กับปี 66 ปรากฏว่าเพื่อไทยเคยได้สส.รวม 84 ที่นั่ง ลดเหลือ 73 ที่นั่ง ขณะที่พรรคภูมิใจไทยจาก 16 ที่นั่ง เพิ่มเป็นสองเท่า 35 ที่นั่ง พรรคก้าวไกลที่เคยได้ 1 ก็ขยับเป็น 8 ที่นั่ง ไทยสร้างไทย 5 ที่นั่ง พรรคน้องใหม่อย่าง เพื่อไทรวมพลัง (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ไทรวมพลัง) ส่ง สส. 2 คน ได้ทั้ง 2 คนที่อุบลราชธานี</p><p> </p></li></ul><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54225791259_068c743f8e_b.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy"><p> </p><h2>อุบลเลือกหลากหลาย หวาดเสียวดุลอำนาจเปลี่ยน </h2><ul><li aria-level="1">อุบลเป็นจังหวัดที่น่าสนใจ เพราะมีความหลากหลายของการเลือก สส. จากที่เพื่อไทยมักเป็นเจ้าของพื้นที่ ได้ สส.เยอะโดยตลอด เช่น ปี 62 เคยได้ 8 เขต แบ่งให้ภูมิใจไทย 1 เขต ประชาธิปัตย์ 1 เขต มาถึงปี 66 เพื่อไทยได้ สส.เพียง 4 เขต ภูมิใจไทย 3 เขต เพื่อไทรวมพลัง 2 เขต ไทยสร้างไทย 1 เขต ประชาธิปัตย์ 1 เขต
</li><li aria-level="1">ศึก อบจ.อุบลเมื่อ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมาจึงเคี่ยวข้นยิ่งนัก แข่งกันอยู่ 3 เบอร์หลัก คือ
เบอร์ 1 กานต์ จากตระกูล ‘กัลป์ตินันท์’ เจ้าของพื้นที่ และเป็นนายก อบจ.สมัยที่แล้วและก่อนหน้า ลงสมัครไม่ใช่ในนามพรรคโดยตรง แต่ในนาม ‘สมาชิกพรรคเพื่อไทย’
เบอร์ 2 สิทธิพล เลาหะวนิช อดีตรองนายก อบจ.สมัยที่แล้วที่แยกตัวออกมาลงในนาม ‘พรรคประชาชน’
เบอร์ 3 จิตรวรรณ หรือ ‘มาดามกบ’ ลงสมัครในนาม ‘อิสระ’ เธอเป็นน้องสะใภ้ของกำนันป้อ-วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล ซึ่งสื่อชอบเรียก ‘เสี่ยแป้งมัน’ เพราะทำธุรกิจใหญ่รับซื้อมันสำปะหลังจากชาวบ้านหลายจังหวัด และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังกำเนิดพรรคไทรวมพลัง </li></ul><p> </p><ul><li aria-level="1">ตัวเต็งคือ เบอร์ 1 กับ เบอร์ 3 หรือพูดง่ายๆ ว่าคนเก่าเจ้าของพื้นที่ กับน้องใหม่ไฟแรง ซึ่งปี 66 กลุ่มกำนันป้อซึ่งย้ายจากภูมิใจไทยมาลงสมัครในนามเพื่อไทย ได้ สส.เขตในโคราชถึง 12 ที่นั่ง ส่วนอุบลก็ได้มา 2 ที่นั่ง
</li><li aria-level="1"><span class="text-color-blue">“การเลือกตั้ง อบจ.รอบนี้สำคัญมาก ถ้าคนใหม่ชนะ ดุลอำนาจในอุบลจะเปลี่ยน และจะส่งผลต่อการเลือกตั้งเทศบาลนครที่จะเกิดขึ้น รวมถึงการต่อสู้ของ สส.ทั้ง 11 เขตในการเลือกตั้งใหญ่รอบหน้าด้วย”</span>
ดร.ประเทือง ม่วงอ่อน จาก ม.อุบลฯ วิเคราะห์ไว้ก่อนเลือกตั้ง สอดคล้องกับ active citizen อย่าง สรวีย์ ฤทธิชัย เจ้าของร้าน ‘สามชัย’ แห่งเมืองอุบล ที่บอกว่า ไทรวมพลังเป็นพรรคที่มีศักยภาพยิ่ง และหากชนะศึก อบจ.ก็จะส่งผลต่อท้องถิ่นส่วนอื่นๆ แน่นอน</li></ul><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54224646797_48499f39d1_b.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ดร.ประเทือง ม่วงอ่อน</p><h2>สำรวจก่อนเลือกตั้ง เบอร์ 3 มาแรงมาก</h2><ul><li aria-level="1"><p>‘ประชาไท’ มีโอกาสลงสำรวจพื้นที่อุบล 1-2 วันก่อนมีการเลือกตั้ง อบจ.ได้พูดคุยกับนักวิชาการท้องถิ่น, ประชาชนผู้สนับสนุนหลายพรรคในเขตเมืองอุบล และพื้นที่รอบนอก อย่างบ้านตามุยและบ้านท่าล้ง ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม พบว่ากระแสของ เบอร์ 3 มาแรงมาก หลายคนประเมินว่า “น่าจะล้มแชมป์” เหตุผลหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ คนอยากเปลี่ยน อยากลองของใหม่ อันเป็นโจทย์คลาสสิคของผู้ที่อยู่ในตำแหน่งมานาน</p><p><span class="text-color-blue">“ผมเลือกสีส้ม คนรุ่นใหม่ก็เลือกสีส้ม คะแนนเยอะอยู่นะ … แต่ผมคำนวณแล้วว่า เบอร์ 3 ได้ รอบนอกน่าจะได้เยอะเลย ส่วนในเมืองสีส้มน่าจะได้”</span> ไชยา ดีแสง ช่างเย็บผ้าและอดีตคนเสื้อแดง วัย 60 ปีกล่าวไว้ก่อนจะมีการเลือกตั้ง
<span class="text-color-blue">“เบอร์ 3 น่าจะมาเที่ยวนี้ ผมก็ไม่รู้จักส่วนตัว แต่ผมดูการขับเคลื่อนมวลชน ดูพิเชษฐ์ ทาบุดดา (ดีเจต้อย กลุ่มชักธงรบ) แล้วก็ดูการทำงานของสุพล ฟองงาม, อดุลย์ นิลเปรม, วิฑูรย์ นามบุตร, รำพูล ตันติวณิชชานนท์ คิดว่าพวกนี้อยู่ทีมทำงานของมาดามกบ ชาวบ้านเขาอยากเปลี่ยน กระแสนี้มาแรง”</span> เจ้าของร้านกาแฟ-อาหาร ‘สามชัย’ ร้านเก่าแก่ที่ชาวอุบลรู้จักดี วิเคราะห์ไว้ก่อนการเลือกตั้ง พูดง่ายๆ ว่า มีเหล่าบ้านใหญ่และอดีต สส.จากภูมิใจไทย ไทยสร้างไทย ประชาธิปัตย์ หนุนมาดามกบ
<span class="text-color-blue">“ใจผมชอบก้าวไกล แต่เบอร์ 3 เห็นรถเขาไปทั่ว ที่นี่ก็มา แล้วคนเขาก็เบื่อๆ ของเก่าแล้ว ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง แต่จริงๆ แล้วผมว่าพรรคไหน คนไหนก็เหมือนกัน ไม่เคยมีใครแก้ปัญหาให้กับชุมชนเราได้ เจอกันเฉพาะตอนหาเสียง”</span> หนึ่งในชาวบ้านแห่งบ้านตามุย ชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขงใน อ.โขงเจียม ซึ่งมีปัญหาไม่มีเอกสารสิทธิในที่อยู่อาศัยทั้งที่เป็นชุมชนเก่าแก่ แสดงความเห็นไว้ก่อนเลือกตั้ง
</p><p class="picture-with-caption"><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54225791284_4c8706e7a7_b.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy"> ประชาชนในพื้นที่บ้านตามุย อ.โขงเจียม </p></li><li aria-level="1"><p>22 ธ.ค.2567 สิ้นแสงตะวัน ผลการเลือกตั้ง ผู้ชนะคือ ‘กัลป์ตินันท์’ ที่ยังรักษาพื้นที่ไว้ได้ และคะแนนก็ค่อนข้างขาด หักปากกาเซียนในพื้นที่หลายแท่ง</p><ul><li aria-level="1">387,456 คะแนน เบอร์ 1 กานต์ กัลป์ตินันท์</li><li aria-level="1">138,837 คะแนน เบอร์ 2 สิทธิพล เลาหะวนิช</li><li aria-level="1">322,986 คะแนน เบอร์ 3 จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล</li><li aria-level="1">3,620 คะแนน เบอร์ 4 อธิปไตย ศุ้ย ศรีมงคล</li></ul><p> </p></li></ul><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54225957110_cf9e7d1646_b.jpg" width="681" height="1024" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ที่มา: องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี (22 ธ.ค.67)</p><p class="picture-with-caption">หมายเหตุ: ตัวแทนพรรคประชาชนในพื้นที่แจ้งว่า ตารางคะแนนคลาดเคลื่อน 2 จุด คือ อำเภอนาตาล เบอร์ 1 ได้ 8,283 คะแนน และ อำเภอ โขงเจียม เบอร์ 3 ได้ 6,608 คะแนน</p><h2>จับตาขั้วอำนาจใหม่ ‘หวังศุภกิจโกศล’</h2><ul><li aria-level="1">แม้พรรคเพื่อไทยไม่ได้ส่งกานต์ในนาม “พรรค” แต่เป็นในนาม “สมาชิกพรรค” แปลความได้ว่าอยู่ในระดับเป็นพันธมิตรกัน แต่กระนั้น ทักษิณ ชินวัตร ก็มาขึ้นเวทีปราศรัย จากที่ตอนแรกมีข่าวว่าจะลงพื้นที่แบบไม่ขึ้นเวทีปราศรัย นักวิเคราะห์ทุกสายต่างเห็นตรงกันว่า การขึ้นปราศรัยของทักษิณยัง ‘ได้ผล’ และเป็นการส่งสัญญาณหนุนคนเก่า ‘กัลป์ตินันท์’ กลายๆ สังเกตได้จากเจ้าตัวปราศรัยไม่ดุเดือดเหมือนจังหวัดอื่น เพียงระบุว่ามาเพราะความสัมพันธ์กับ ‘เกรียง กัลป์ตินันท์’ ผู้ไม่เคยทิ้งไปไหนในยามยาก เรียกว่าสนับสนุนแบบไม่ทำลายความสัมพันธ์กับ ‘หวังศุกกิจโกศล’ ไปในเวลาเดียวกัน </li><li aria-level="1"><p>แม้ท้ายที่สุด ‘กัลป์ตินันท์’ ยังรักษาพื้นที่ไว้ได้ แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งคือ เบอร์ 3 ผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทรวมพลัง ซึ่งกวาดคะแนนได้กว่า 320,000 คะแนน </p><p>ถ้าดูจากฐานคะแนนพรรคไทรวมพลัง จะพบว่าคะแนนเลือกตั้ง สส.ที่ส่ง 2 เขต ได้ทั้ง 2 เขต รวมกันอยู่ที่ 94,345 คะแนนปาร์ตี้ลิสต์อยู่ที่ 14,029 คะแนน แล้วคะแนน อบจ.พุ่งเป็น 3 แสนกว่าได้อย่างไร ศักยภาพของพรรคนี้มาจากไหน ที่ทางทางการเมืองอยู่ ‘ฝ่ายไหน’ บางคนบอกว่าไทรวมพลังเป็นตัวของตัวเอง มีความเป็นพรรคท้องถิ่น และเป็น ‘พรรคพี่พรรคน้อง’ กับเพื่อไทย บางส่วนมองว่า ใกล้ชิดและเป็นตัวแทนของภูมิใจไทย อีกบางคนบอกว่า ศึกนี้คือการชิงกันเองระหว่างคนเก่า-คนใหม่ในค่ายเพื่อไทยว่าใครจะเป็นใหญ่ในอุบล</p></li></ul><h2>สงครามตัวแทน เพื่อไทย VS ภูมิใจไทย</h2><ul><li><p>อาจารย์ประเทืองจาก ม.อุบลฯ เป็นผู้ที่ทำวิจัยเรื่องการเลือกตั้งในอุบลฯ เก็บสะสมข้อมูลมากว่า 10 ปี ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ วิเคราะห์ให้ฟังก่อนการเลือกตั้งโดยมองว่า ‘หวังศุภกิจโกศล’ นั้น ออกจากพรรคภูมิใจไทยแล้วก็จริง แต่ในการเลือกตั้ง อบจ. รอบนี้ ข้อมูลในพื้นที่พบว่า เบอร์ 3 ยังคงใช้เครื่องมือของพรรคภูมิใจไทย มี สส.ของพรรคสนับสนุนหลายเขต เช่น เขตเดชอุดม เอารถ สส.ตวงทิพย์ จินตะเวช มาหาเสียง มีการขึ้นปราศัย เขตวารินฯ ก็เอาสุพล ฟองงาม ขึ้นเวทีปราศัย เขตศรีเมืองใหม่ โขงเจียม ก็เอาตี๋เล็ก-เชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ ขึ้นเวที รวมทั้งการใช้หัวคะแนนก็พบว่า ใช้หัวคะแนนเดียวกับพรรคภูมิใจไทย</p><p><span class="text-color-blue">“มันเชื่อมโยงกับการเมืองของโคราชด้วย ในการต่อรองการต่อสู้ของพรรคเพื่อไทยในโคราชเองว่าจะให้ใครลงสมัคร มีการประลองกำลังกันอย่างหนัก ส่งผลให้พื้นที่อุบลนั้นสำคัญ เหมือน proxy war สงครามตัวแทน ฝั่งภูมิใจไทยก็ดันเบอร์ 3 ฝั่งเพื่อไทยสนับสนุนเบอร์ 1”</span> อ.ประเทืองให้ความเห็น</p></li><li aria-level="1"><p>นอกจากนี้ อ.ประเทืองยังอ้างอิงถึงงานวิจัยในปี 2562 ว่าเคยเก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์จิตรวรรณสมัยที่มีบทบาทสูงในการคัดคนลงสมัครในนามพรรคภูมิใจไทย แต่วันนั้นกลับพ่ายแพ้อย่างหมดรูปในอุบล ซึ่งเจ้าตัวบอกว่ากำลังถอดบทเรียน ซึ่งคงคิดได้ว่า กระแสพรรคมีผลมากๆ จึงได้ข้อสรุปในการออกมาสร้างฐานเอง ตั้งพรรรคเองก่อนในอุบล และพยายามอิงกับเพื่อไทย ดูจากสัญลักษณ์ของพรรค สีโลโก้ในช่วงแรก เรียกว่าถามชาวบ้าน ชาวบ้านยังคิดว่าเป็นพรรคเดียวกัน</p><p><span class="text-color-blue">“กระแสการต่อต้านภูมิใจไทยในพื้นที่ที่เคยเข้มข้น (ช่วงประยุทธ์) เริ่มเจือจางลง ประชาชนยอมรับได้ พอๆ กับกระแสความนิยมของเพื่อไทยเองก็ดรอปลงเหมือนกัน ดังนั้น พรรคเพื่อไทยเจอข้าศึกสองด้าน ด้านแรก คู่แข่งที่เปิดหน้าชนตรงๆ คือ พรรคภูมิใจไทย ด้านที่สองคู่แข่งที่มาแย่งฐานคะแนนตัวเองคือ พรรคประชาชน”</span> นักวิชาการจาก ม.อุบลวิเคราะห์ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง อบจ.</p></li></ul><h2>พรรคพี่พรรคน้องที่แข็งแกร่ง รอวันจับมือ 3 พรรค</h2><ul><li aria-level="1">ในขณะที่เจ้าของร้านสามชัย มองว่าไทรวมพลังหรือสายหวังศุภกิจโกศลทั้งหมด คือ พรรคพี่พรรคน้องกับพรรคเพื่อไทย
<span class="text-color-blue">“ผมมั่นใจว่าไทรวมพลังจะขยายตัวอีก มวลชนเขาแข็งแรง เขาดูแลดี เขาสร้างตัวเองขึ้นมาแล้ว เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของอีสาน เขาจะกลับไปภูมิใจไทยเพื่ออะไร ตอนนี้ฐานการเมืองมี สส.เกือบ 20 คนแล้ว (รวมที่โคราช)”</span>
<span class="text-color-blue">“ผมมองอย่างนี้ เพื่อไทยกับไทรวมพลัง เป็นพี่น้องกันอยู่แล้ว ส่วนพรรคประชาชนกับเพื่อไทย สักวันก็ต้องจับมือกัน ขณะที่ภูมิใจไทยนั้นไม่น่าไว้วางใจ เราเห็นว่า 3 พรรค เพื่อไทย ไทรวมพลัง พรรคประชาชน จับมือกันก็เพียงพอแล้ว สักวันหนึ่งเขาอาจจับมือกันได้ การเมืองไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร ผมอยากเห็นเขาจับมือกัน”</span> เจ้าของร้านชื่อดังผู้ออกตัวว่าไม่สนใจการเมืองตั้งความหวัง</li></ul><h2>
เกิดการแข่งขันย่อมเป็นเรื่องดี</h2><ul><li aria-level="1"><p>ส่วนนักวิชาการหญิงอีกคนหนึ่งจาก ม.อุบล เห็นว่า ไทรวมพลังน่าจะตั้งตนเป็นพรรคท้องถิ่นที่พยายามไม่วางตัวเองเป็นคู่ขัดแย้งกับใคร อย่างไรก็ตาม ไม่อยากให้มองเรื่องของการมีพรรคนี้ว่าอยู่ค่ายไหนมากกว่าเรื่องการทำพื้นที่ของนักการเมือง อย่างไทรวมพลังก็มีฐานจากการลงช่วยชาวบ้านเยอะตั้งแต่ช่วงโควิดระบาด
เธอมองว่า การเมืองท้องถิ่นมีความสลับซับซ้อนของตัวบุคคลที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กันไปมาระหว่างพรรค และอยู่ที่เงื่อนไขของแต่ละพื้นที่ บางคนอยากขอลงกับพรรคนี้แต่กลุ่มเครือข่ายเจ้าของพื้นที่ไม่เห็นด้วย ก็ต้องไปหาช่องทางอื่น ยังไม่นับรวมว่า บางทีก็เป็นปัญหาความขัดแย้งภายในกลุ่ม จากที่เคยอยู่ด้วยกันก็แยกทางกันก็มี</p><p><span class="text-color-blue">“ชอบมองอะไรเป็นพลวัต เราไม่รู้หรอกว่ามันดีหรือไม่ดี (ที่พรรคไทรวมพลังโตขึ้นเรื่อยๆ) แต่มันมีการแข่งขัน การแข่งขันมันดีทั้งนั้น และไม่ว่าใครจะเข้ามาต้องทำงานระดับหนึ่ง มันไม่ใช่เรื่องว่าใครจะเอาเงินมาเทแล้วได้”</span>
<span class="text-color-blue">“และด้วย dynamics ของอะไรที่มีมาก่อน บางทีการเกิดใหม่ในพื้นที่ที่พร้อมในทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องทรัพยากร ถ้าคิดในเชิงหลักการและความเป็นไปได้ มันก็อาจจะง่ายที่จะมีพรรคของตัวเอง แต่เป็นพรรคขนาดเล็ก แล้วไม่ position ในขั้วขัดแย้งใด เน้นการทำพื้นที่ ทำผลงาน แล้วในอนาคต หากพรรคใหญ่เห็นผลงานและแนวทางตรงกัน ก็เป็นอีกเรื่อง อีกขั้น”</span> นักวิชาการหญิงสรุป </p></li></ul><h2>
วิธีคิดต่างจากเลือก สส. - ท้องถิ่นชาวบ้านเน้น ‘ตัวบุคคล’ </h2><ul><li aria-level="1">อาจารย์ประเทือง จาก ม.อุบลฯ เป็นผู้ที่ทำวิจัยเรื่องการเลือกตั้งในอุบลฯ มานาน อธิบายวิธีตัดสินใจของชาวบ้าน โดยอ้างอิงจากโพลในพื้นที่ที่ทำไว้นับหมื่นตัวอย่างว่า การตัดสินใจเลือกตั้ง สส.ระดับชาติ ประชาชนจะเลือกที่พรรค พร้อมทั้งดูว่าพรรคจะส่งใครเป็นนายกฯ ส่วนการเลือกตั้งท้องถิ่นนั้นจะดูที่ ‘ตัวบุคคล’ เป็นหลัก ธรรมชาติเป็นเช่นนั้น เรียกว่าต้องการสิ่งจับต้องได้ ดูจากคนที่รู้จัก ได้เห็นการทำงานในพื้นที่ หรือได้ฟังจากเครือข่ายมาว่าเวิร์ก
</li><li aria-level="1"><p>จากการสอบถามคนในพื้นที่ก่อนเลือกตั้งนายก อบจ. ได้รับเสียงสะท้อนว่าทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชนในศึก อบจ. ต่างมีข้อวิจารณ์ที่ ‘ตัวบุคคล’ อาจเพราะเป็นคนหน้าเก่าย่อมมีข้อวิจารณ์ได้เยอะกว่าคนหน้าใหม่
<span class="text-color-blue">“ผมเลือกเพราะพรรคเลย บุคคลคนนี้ก็ไม่ได้ชอบ แต่ก่อนอยู่เพื่อไทย ผมก็งงว่าทำไมเอาคนนี้มา ถ้าเป็นคนอื่นอาจจะดีกว่านี้”</span> ไชยา ช่างเย็บผ้ายังยืนยันว่า แม้จะติดที่ตัวคนแต่ก็มองข้ามได้
ไชยาเคยเป็นคนเสื้อแดงและเผชิญชะตากรรมต้องติดคุกติดตาราง เขาเคยเลือกพรรคเพื่อไทยมาตลอด ด้วยเหตุผลว่าไม่มีตัวเลือกที่ดีกว่า และร่วมชุมนุม นปช.เพราะโกรธที่ ‘เสธ.แดง’ ถูกยิง เนื่องจากเขาเคยเป็นทหารที่ได้มีโอกาสร่วมรบในสมรภูมิช่องบก หลังออกจากคุกเขาเปลี่ยนไปเป็น ‘สีส้ม’ เพราะอยากเปลี่ยนแปลง และมองว่าคนในพื้นที่ของเพื่อไทยนั้นเชื่อถือไม่ได้ ทั้งจากการที่เขาไม่ได้รับความช่วยเหลือในยามยากลำบาก รวมถึงการจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้วรอบล่าสุด เขาบอกด้วยว่า คนเสื้อแดงในกลุ่มก๊วนเขาหลายคนก็เปลี่ยนเป็นสีส้มเช่นเดียวกัน
<span class="text-color-blue">“พรรคประชาชน ผมชอบเกี่ยวกับทหาร เรื่องให้สมัครเอา ไม่ต้องไปเกณฑ์ ผมเคยเป็นทหาร ผมรู้ หนักอยู่นะ เหมือนขี้ข้าทำทุกอย่าง แต่เสียอย่างเดียว ผมไม่สนับสนุนให้แก้ 112 จริงๆ เสื้อแดงกลุ่มผมก็ติดเรื่อง 112 ไม่อยากให้ยุ่งเรื่องนี้ ผมเคยเป็นทหาร รักชาติ เคยรบเคยอะไรด้วย”</span> ไชยาว่า </p><p>ขณะที่เจ้าของร้านสามชัยเห็นว่า คน 80% เวลาเลือกท้องถิ่นจะดูที่ตัวบุคคลเป็นหลัก
<span class="text-color-blue">“คิดต่างกันนะ การเมืองระดับชาติคือการดูแลโดยรวมทั้งประเทศ ท้องถิ่นก็ดูแลเฉพาะท้องถิ่น สำหรับ อบจ.ผมจะเลือกคนทำงานเป็น ไม่ใช่เลือกพรรค เลือกคน แต่ถ้าเลือก สส. ผมจะเลือกพรรค ไม่ได้เลือกคน”</span></p><p>นอกจากนี้เจ้าของร้านสามชัยยังวิจารณ์ตัวบุคคลทั้งเบอร์ 1 เบอร์ 2
สำหรับเบอร์ 1 นั้นเจ้าของร้านสามชัยซึ่งมักจะชงกาแฟไป พูดออกเครื่องเสียงไป ในร้านของตัวเองเพื่อให้ลูกค้าได้ฟังการเมืองยามเช้า อันเป็นสไตล์เฉพาะตัว เขาพูดระหว่างขายของในเช้าวันหนึ่งวิจารณ์ เบอร์ 1 ที่ลาออกจากนายก อบจ. ก่อนพ้นวาระ ทำให้ไม่สามารถเลือกพร้อม สจ. ในเดือน ก.พ.ปีหน้าได้</p><p><span class="text-color-blue">“เราพูดตรงๆ เรื่องการลาออกก่อนกำหนด ต้องใช้งบประมาณเพิ่ม จาก 50 ล้านเป็น 100 ล้าน ก็ต้องพูด และที่ผ่านมาก็ไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน… กรณีเลือกตั้งเอาพรรคเพื่อไทยมาใช้แบบนี้ เราก็ไม่เห็นด้วย ที่จริงพรรคอย่าวุ่นวายกับการเมืองท้องถิ่นจะดีกว่า ให้เขาเล่นไปตามเกมเขา”</span>
<span class="text-color-blue">“ส่วนพรรคก้าวไกลตอนปี 66 กระแสแรงมาก จนทุกวันนี้ พวก สจ.ที่สอบตกก็วิ่งไปอยู่กับก้าวไกล ถามจริงๆ ว่าพรรคก้าวไกลคัดคนได้ไหม เอา สจ.สอบตกหลายๆ พรรคไปเป็นพวก แล้วคนในพื้นที่จะคิดยังไง แทนที่จะเอาคนรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ จริงๆ ผมชอบก้าวไกลมากนะ”</span> </p><p>เรื่องการคัดตัวบุคคลของพรรคประชาชน โดยระบบแล้วจะขึ้นอยู่กับคณะกรรมการระดับจังหวัด และโดยปรัชญาของพรรคก็มีแนวโน้มไม่เน้น ‘ตัวบุคคล’ ซึ่งในเรื่องนี้อาจารย์ประเทืองให้ข้อมูลเสริมว่า นั่นอาจเป็นจุดอ่อน เพราะทำให้การทำพื้นที่ไม่ต่อเนื่อง ความต่อเนื่องในการลงพื้นที่ของบุคคลเป็นรากฐานสำคัญมากสำหรับต่างจังหวัด</p></li></ul><p> </p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54225552846_fdbd26ee78_b.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">สรวีย์ ฤทธิชัย เจ้าของร้าน ‘สามชัย’ แห่งเมืองอุบล </p><h2>‘ทรัพยากร’ สำคัญ แต่ไม่ใช่ปัจจัยทั้งหมด</h2><ul><li aria-level="1"><p>เมื่อถามว่า ประเด็น ‘กระสุน’ หรือ ‘ทรัพยากร’ เป็นจุดสำคัญไหม ในมุมนักวิชาการที่เก็บข้อมูลในพื้นที่ยาวนาน อ.ประเทืองระบุว่า ปฏิเสธไม่ได้ว่าสำคัญในทุกระดับเลือกตั้ง แต่มันก็ไม่ใช่ปัจจัยทั้งหมด เพราะยังมีเรื่องพรรค เรื่องตัวบุคคล เรื่องความใกล้ชิดกับประชาชนในพื้นที่ประกอบด้วย
<span class="text-color-blue">“ผมไม่ได้มองมันเลวร้าย มันเกิดจากข้อจำกัดของการนำเสนอนโยบาย พอผู้สมัครมีข้อจำกัดในการออกนโยบายใหม่ๆ ติดระเบียบ ติดแผนว่าต้องสอดคล้องกับจังหวัด กลุ่มจังหวัด ผมจึงมองเป็นเรื่องการกระจายอำนาจที่ไม่กระจายเท่าที่ควร งบไม่กระจาย อำนาจไม่กระจาย มิหนำซ้ำยังถูกแทรกแซงจากการปกครองส่วนภูมิภาคด้วย ทำให้ท้องถิ่น โดยเฉพาะ อบจ.มีข้อจำกัดในการออกแบบนโยบายมาแข่งขันกัน จะทำอะไรที่พลิกฟ้า หรือส่งผลกระทบต่อวงกว้างก็ทำไม่ได้ ทำให้คนไปพิจารณาที่ตัวบุคคลและการให้รางวัลตอบแทนอื่นๆ เพราะชาวบ้านบอกว่าเลือกใครไปนโยบายก็ไม่ต่างกัน รอบนี้นโยบายก็ไม่ต่างกัน ประปาดื่มได้ ส่งเสริมการเกษตร โครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น ถ้าเราอยากจะแก้ปัญหานี้ การกระจายอำนาจอย่างจริงจังต้องเกิดขึ้นได้แล้ว เพื่อให้เกิดการแข่งขันนโยบายกันอย่างจริงจัง”</span> อ.ประเทืองกล่าว</p><p>หรือแม้กระทั่งการจ่ายเงินให้คนไปฟังปราศรัยหลักร้อยบาทที่พรรคการเมืองต่างๆ มักทำกัน ผู้สังเกตการณ์ใกล้ชิดในพื้นที่ก็ไม่ได้มีมุมมองเชิงลบ เพราะมองเห็นสภาพบริบทของชาวบ้าน พร้อมนำเสนอให้พรรคการเมืองต่างๆ สามารถสนับสนุนได้อย่างเปิดเผยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางการเมือง</p><p><span class="text-color-blue">“อย่างการการจ่ายเงินมาฟังปราศรัย มันไม่ใช่สิ่งที่มีความเสียหายอะไร เพราะอย่างชาวบ้านบางทีเขาไม่มีเงินจริงๆ เวลาเขาเอารถออกมามันมีต้นทุน โครงสร้างพื้นฐานก็ไม่มี รถโดยสารสาธารณะก็ไม่สะดวกจริงๆ สุดท้ายก็ต้องจ่ายค่ารถ อยากไปฟังแต่ว่าไม่มีค่ารถ ส่วนนี้ผมมองว่ามันสามารถที่จะซัพพอร์ตได้ เพราะว่าการไปฟังแต่ละครั้งมันมีต้นทุนของประชาชน ผมมองว่ามันควรจะเป็นสิ่งที่ควรจะให้ด้วยซ้ำไป เพื่อเป็นการให้ประชาชนเขามีส่วนร่วมทางการเมือง”</span> อาจารย์ประเทืองกล่าว</p><p>ด้านนักวิชาการหญิงจาก ม.อุบลฯ กล่าวถึงประเด็นเรื่องการแจกเงิน ซึ่งหลังเลือกตั้ง อบจ.ดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องถกเถียงกันเล็กน้อยอยู่ในโลกโซเชียล ว่า อยากให้มองเห็นความสลับซับซ้อนของพื้นที่สักนิด
<span class="text-color-blue">“การแจกเงินมันไม่ใช่หลักประกันว่าคุณจะได้คะแนน มันอยู่ที่ว่าผู้เลือกเขาตัดสินใจไปกับใคร เป็นเรื่องความสัมพันธ์ด้วย รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น ชาวบ้านบอกอยากลองเปลี่ยน ชาวบ้านเห็นผลงาน บางคนชอบหรือไม่ชอบตัวบุคคล เหตุผลมันหลากหลายมากกว่าแค่ว่าเงิน คุณคิดว่าเบอร์ไหนซื้อเสียง คุณไม่ขายก็ได้ หัวคะแนนธรรมชาติแบบ traditional เขาก็ยังมี หัวคะแนนในพื้นที่ก็คนในครอบครัว นี่มันก็ตรรกะเดียวกันกับหัวคะแนนออแกนิคแบบคนรุ่นใหม่ที่แนะนำคนในครอบครัว ปี 66 ที่เสียงของลูกหลานค่อนข้างจะดัง ได้ผลนะ เสียงคนอื่นๆ จะดังด้วยก็ไม่แปลก เรื่องนี้เป็นสิ่งดีด้วยซ้ำที่เราปัจเจกพยายามขยาย พยายามโน้มน้าวคนอื่นๆ ในสิ่งที่เราเชื่อ ประเด็นก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างคนมันมีผล แต่เราอย่าลดทอนความสัมพันธ์ของคนเจน (เจเนอเรชั่น) อื่น มันเวิร์กในตรรกะเดียวกัน”</span></p><p>คำอธิบายนี้สอดคล้องกับชาวบ้านตามุยคนหนึ่งที่เล่าว่า เวลาเลือกตั้งแต่ละที หัวคะแนนแต่ละเบอร์ก็จะมาหา ต่างคนต่างบอกว่าเลือกเบอร์นี้หน่อย และทั้งหมดล้วนเป็นเครือญาติลูกหลานทั้งนั้น คุณลุงจึงใช้วิธีว่าในบ้านมี 4 คน แบ่งกันเลือกคนละเบอร์ จบปัญหาการเลือกปฏิบัติกับลูกหลาน
</p></li></ul><h2>เสียงรากหญ้า วิธีดีลกับการซื้อเสียงของ ‘คนจน’</h2><ul><li aria-level="1"><p>ขณะที่เสียงจากชาวบ้าน อย่างสายสมร ลครวงษ์ อดีตผู้ใหญ่บ้าน (2544-2549) บ้านท่าล้ง ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม มองว่า การใช้เงินนั้นมีอยู่ แต่จากประสบการณ์ของเขาชาวบ้านมีความหลากหลาย บางคนอาจเลือกคนที่ให้มากที่สุด แต่บางคนแม้ให้เงินมากก็ไม่เลือกถ้าไม่ชอบ นอกจากนี้บรรดาผู้ใหญ่บ้านก็ไม่สามารถชี้นำชาวบ้านได้ง่าย เหมือน 20-30 ปีก่อน เพราะเทคโนโลยีก้าวหน้า เท่าทันกันหมด พวกเขามีความคิดของตัวเอง ตัดสินใจเอง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ๆ ยิ่งแล้วใหญ่
<span class="text-color-blue">“ผมโสเหล่อยู่ศาลาเรื่องนี่แหละ บ่น่าจะไปว่าเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียง นักกฎหมายน่าจะเปิดให้เขาซื้อโลด อยากรู้เงินมันหลายปานใด๋ คนมันตื่นโตแล้วมื้อนี้ หัวละ 200-300 มันน้อย แข่งกันโลด เงินหลายก็เอามา ซื้อผมห้าพันบาท ใครจะไปซื้อร้อยสองร้อย คนเขาว่ามันก็ซื้อแล้วจะไปโกง แต่ผมว่าการโกงมันหนีบ่ได้จากคนไทย ถึงไม่ซื้อเสียงมันก็กิน ในความคิดของผม เขาก็ต้องไปหาผลประโยชน์อยู่แล้ว เพียงแต่ทำให้ชาวบ้านด้วย</span>
<span class="text-color-blue">คนชนชั้นกลางเขามี จะว่ายังไงก็ได้ พออยู่พอกิน แล้วไปว่าคนรากหญ้า เขาบ่มี เขาเอาเงินมาก็มีไปซื้อของซื้อมาม่าให้ลูกให้เต้าเขากิน บ่แม่นเขามาขาย อันนี้มีคนเขาเอามาให้ คนในเมืองบอกบ้านนอกขายเสียง ผมเห็นตามข่าวอยู่ ก็คิดว่า อย่าไปว่าเขา เขาก็มีเกียรติมีศักดิ์ศรีของเขา บางทีเขาเอาเงินแล้วไม่กาก็มี รู้ไหม ได้เข้าคูหากับเขาหรือว่าเขากาอะไร ผมไม่อยากให้ว่าแบบนั้น”</span> </p><p> </p></li></ul><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54224646752_8945463f36_b.jpg" width="1024" height="768" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">สายสมร ลครวงษ์</p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังค
http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A" hreflang="th">ท้องถิ่นสร้างสื่อสอ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5" hreflang="th">อุบลราชธาน
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">พรรคเพื่อไท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">พรรคภูมิใจไท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5" hreflang="th">พรรคก้าวไก
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87" hreflang="th">พรรคเพื่อไทรวมพลั
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C" hreflang="th">กานต์ กัลป์ตินันท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93-%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%A5" hreflang="th">จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%A5-%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%8A" hreflang="th">สิทธิพล เลาหะวนิ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99" hreflang="th">ประเทือง ม่วงอ่อ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87" hreflang="th">การซื้อเสีย
http://prachatai.com/category/%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87" hreflang="th">ซื้อเสีย
http://prachatai.com/category/depth" hreflang="th">depth[/url]</li>
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0" hreflang="th">ข่าวเจา
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5" hreflang="th">อบจ.อุบลราชธาน
http://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99" hreflang="th">ท้องถิ่
https://prachataistore.net</div>
http://prachatai.com/journal/2024/12/111828 







