[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
09 กรกฎาคม 2568 04:13:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - รพ.ไทยมีแผน 12 ข้อ ช่วยผู้ลี้ภัยป่วยชายแดน ปล่อยเกิดวิกฤตมนุษยธรรมไม่ได้  (อ่าน 93 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 31 มกราคม 2568 00:47:29 »

รพ.ไทยมีแผน 12 ข้อ ช่วยผู้ลี้ภัยป่วยชายแดน ปล่อยเกิดวิกฤตมนุษยธรรมไม่ได้
 


<span>รพ.ไทยมีแผน 12 ข้อ ช่วยผู้ลี้ภัยป่วยชายแดน ปล่อยเกิดวิกฤตมนุษยธรรมไม่ได้</span>
<span><span>admin666</span></span>
<span><time datetime="2025-01-30T21:45:16+07:00" title="Thursday, January 30, 2025 - 21:45">Thu, 2025-01-30 - 21:45</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ศิชา รุ่งโรจน์ธนกุล / สรวุฒิ วงศ์ศรานนท์ รายงาน</p><p>ภาพ เด็กในค่ายผู้ลี้ภัยบ้านแม่หละเมื่อปี 2565</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ผอ.รพ.อุ้มผาง เผยแผนงาน 12 ข้อที่ต้องรับช่วงต่อ หวังให้&nbsp;UNHCR เข้ามาช่วยหาเอ็นจีโอรับช่วงต่อ แต่ไม่มีก็ต้องทำปล่อยให้เกิดวิฤตมนุษยธรรมไม่ได้ หากเกิดโรคระบาดแพร่กระจายหรือเจ็บป่วยหนักยิ่งต้องใช้งบประมาณ เบื้องต้นใช้ทรัพยากรบุคคลสถานที่ของ IRC ได้และเจ้าหน้าที่ สธ.เข้าพื้นที่ได้แล้วไม่มีข้อจำกัด</p><p>30 ม.ค.2568 นพ.วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล (รพ.) อุ้มผาง จังหวัดตาก ให้สัมภาษณ์ถึงผลการประชุมแผนงานเพื่อรองรับสถานการณ์ที่โรงพยาบาลในศูนย์ผู้อพยพตามแนวชายแดนไทย-พม่าที่อยู่ในการดูแลของคณะกรรมการกู้ภัยระหว่างประเทศ International Rescue Committee (IRC)&nbsp;ต้องปิดตัวลงไปเนื่องจากผลของคำสั่งพิเศษ (Executive Order)ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ออกมาให้ตัดงบประมาณช่วยเหลือที่มอบให้ต่างประเทศทันที 90 วัน</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>‘ทรัมป์’ เซ็นปุ๊บป่วนปั๊บ ลอยแพผู้ลี้ภัยป่วยชายแดน รพ.ไทยยังไหว ชูทางออก</li></ul></div><p>ศูนย์อพยพทั้ง&nbsp;3 ศูนย์ของจังหวัดตาก ได้แก่ ศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านนุโพ อ.อุ้มผาง จ.ตาก,&nbsp;พื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านแม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก, พื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านอุ้มเปี้ยม อ.พบพระ จ.ตาก</p><p>นพ.วรวิทย์เล่าถึงผลการประชุมวางแผนช่วงเช้าวันนี้หลังจากเพิ่งกลับจากการเข้าไปตรวจสอบสถานการณ์ในศูนย์นุโพ</p><p>ผอ.รพ.อุ้มผางชี้แจงถึงแผนงานที่โรงพยาบาลในพื้นที่จะต้องรับช่วงต่อออกเป็น 12&nbsp;ข้อ</p><ol><li>งานสาธารณสุข: ป้องกัน-ควบคุมโรค และดูแลสิ่งแวดล้อม</li></ol><ul type="disc"><li>เติมคลอรีนในน้ำประปาเพื่อป้องกันอหิวาตกโรค</li><li>จัดการขยะ</li><li>ควบคุมแมลงก่อโรค ได้แก่ ยุง,&nbsp;แมลงวัน</li><li>งานน้ำดื่ม, &nbsp;น้ำใช้</li></ul><ol start="2"><li>การดูแลผู้ป่วยนอก (OPD)&nbsp;หรือคนไข้ทั่วไปที่ไม่ต้องนอนพักใน รพ.</li></ol><ul type="disc"><li>ค่ายแม่หละประมาณ&nbsp;300&nbsp;คนต่อวัน</li><li>ค่ายนุโพและค่ายอุ้มเปี้ยม แห่งละประมาณ&nbsp;150-200&nbsp;คน</li></ul><ol start="3"><li>คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs):&nbsp;ดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อ อาทิ โรคเบาหวาน,&nbsp;โรคความดันโลหิตสูง,&nbsp;โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน</li><li>ยาต้านเอชไอวี (HIV)&nbsp;และวัณโรค (Tuberculosis:TB):&nbsp;ได้รับการสนับสนุนยาจากกองทุนโลก กระทรวงสาธารณสุข</li><li>คลินิกจิตเวช: คนไข้จิตเภทในแต่ละศูนย์มีประมาณ&nbsp;50-100 คน โดยมีมากเป็นพิเศษที่ศูนย์แม่หละ</li><li>วัคซีนในเด็ก: ปกติแล้วค่ายนุโพมีการให้บริการวัคซีน&nbsp;3&nbsp;วันต่อสัปดาห์ หลังจากนี้ รพ.อุ้มผาง จะเข้าไปสานงานต่อ โดยมีวัคซีนที่จะให้บริการ เช่น วัคซีนป้องกันโรคหัด,&nbsp;ปอดอักเสบ,&nbsp;คอตีบ,&nbsp;ไอกรน</li><li>คลินิกรับฝากท้อง (Antenatal Care: ANC)&nbsp;และการวางแผนครอบครัว: ขณะนี้อยู่ในระหว่างขอข้อมูลจำนวนหญิงตั้งครรภ์เท่าไหร่</li><li>งานแพทย์ฉุกเฉิน สำหรับค่ายนุโพ: มีการ&nbsp;consult&nbsp;ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ แต่อาจต้องพัฒนาเรื่องสัญญาณอินเตอร์เน็ต ส่วนในการส่งต่อคนไข้ด้วยรถพยาบาล ได้ อส.จากกระทรวงมหาดไทยเข้ามาช่วย</li><li>การคลอด ค่ายนุโพ: ตอนนี้อยู่ในระหว่างทำห้องคลอดใหม่ จึงจะใช้ระบบการส่งต่อคนไข้มาคลอดที่โรงพยาบาลอุ้มผางทั้งหมด ไม่น่าใช้เวลาเกินหนึ่งสัปดาห์ หลังจากนั้นอาจจะคลอดที่ในศูนย์ได้เอง</li><li>การรักษาโรคไต ทุกศูนย์อพยพมีมีคนไข้ที่ต้องล้างไต ขณะนี้อยู่ในระหว่างประสานงาน&nbsp;3&nbsp;โรงพยาบาลนี้มีห้องล้างไต ได้แก่ รพ.แม่สอด,&nbsp;รพ.แม่ระมาด และ รพ.อุ้มผาง ว่าจะสามารถรองรับผู้ป่วยได้มากน้อยเพียงใด</li><li>ผู้ป่วยในทั่วไป</li><li>การดูแลระยะยาว (Long Term Care)&nbsp;เช่น ผู้ป่วยติดเตียง,&nbsp;ผู้ป่วยเรื้อรัง</li></ol><p>ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่ ผอ.รพ.อุ้มผางมองว่าควรจะเพิ่มเข้าไปหากสามารถจัดการงานทั้ง 12 ข้อได้แล้ว ก็คือการทำทันตกรรมที่จะเป็นตัวช่วยเสริมเข้าไป เพราะที่ผ่านมาเด็กที่อยู่ในศูนย์ของ&nbsp;IRC ก็ไม่ได้ทำเพราะทำไม่ไหวอยู่แล้ว ก็จะเข้าไปทําเพื่อให้คนในศูนย์หรือว่าเด็กรุ่นใหม่ๆ&nbsp; &nbsp;มีสุขภาพที่ดีขึ้น</p><p>ส่วนประเด็นข้อจำกัดการเข้าไปในศูนย์ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและการนำผู้ป่วยจากในศูนย์ออกมารักษา ผอ.รพ.อุ้มผางกล่าวว่าจากการประชุม ในส่วนของกระทรวงมหาดไทยผู้ว่าราชการจังหวัดตากก็ยอมรับแผนข้างต้นแล้วและได้ขอกับทางอำเภอแล้วว่าให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสามารถเข้าออกได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจากทางฝ่ายปกครองแล้วและยังรวมไปถึงให้ผู้ป่วยในศูนย์อพยพสามารถออกมารักษานอกศูนย์ได้โดยอัตโนมัติ</p><p>“ผมก็เข้าใจเขานะว่าเขามีกฎระเบียบในการเข้าออกศูนย์ของคนในศูนย์ เขาจะมีระเบียบอยู่แล้ว แต่ตอนนี้เราก็ขอเรียบร้อยได้แล้วไม่มีปัญหา&nbsp;ไม่มีข้อจํากัดตรงนี้แล้ว”</p><p>นอกจากนั้นการรับส่งคนเข้าออกก็จะมีกองอาสารักษาดินแดน หรือ อส.ของกระทรวงมหาดไทยที่เป็นผู้ดูแลค่ายอพยพอยู่ในการดำเนินการช่วยขับรถส่งผู้ป่วยโดยใช้รถของทางโรงพยาบาลที่ได้รับบริจาคมาก่อนหน้านี้แต่น้ำมันยังคงต้องเป็นทางโรงพยาบาลดูแล</p><h2>ค่าใช้จ่ายในการรักษา</h2><p>นพ.วรวิทย์ กล่าวว่าทางโรงพยาบาลที่รับช่วงดูแลมาก็ต้องทำข้อมูลค่าใช้จ่ายไว้ตามจริง แล้วก็เอามารวบรวมไว้เช่น เรื่องยา น้ำมัน แต่เรื่องอาหารการกินทางศูนย์อพยพก็มีโรงครัวอยู่แล้ว เมื่อมีข้อมูลค่าใช้จ่ายเอาไว้ก็อาจจะขอรับบริจาคตามค่าจ่ายตามจริง ตรงไหนที่ขาดก็อาจจะใช้ทรัพยากรที่โรงพยาบาลมีไปก่อน ตามคนไข้ที่มีก็จะเห็นต้นทุนที่แท้จริง</p><p>“ถ้าเราทําอย่างมีประสิทธิภาพดี ๆ ผมว่ามันไม่มากครับ การป้องกันมันดีกว่าการมาคอยรักษาอยู่แล้ว”</p><p>ผอ.รพ.อุ้มผางมองว่า ต้นทุนของการรักษาเมื่อป่วยไข้มาแล้วหรือเกิดโรคระบาดนั้นใช้มากมหาศาล ดังนั้นการลงทุนเรื่องอนามัยครอบครัวหรือการดูแลระดับปฐมภูมิดีกว่าการคอยรักษาเมื่อป่วยหนักหรือเกิดโรคระบาด และถ้าเกิดการระบาดของโรคแล้วจะไม่สามารถรับมือได้ การป้องกันจึงมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า</p><p>“ผมยกตัวอย่างงานสาธารณสุข มันเน้นงานป้องกันมากกว่าการรักษาอยู่แล้ว เหมือนไฟป่าที่ลอสแองเจลิส ถ้าไฟไหม้น้อยๆ&nbsp; แล้วเรารีบไปดับมันเร็วๆ ก็เหมือนการควบคุมไม่ให้ไฟมันไหม้ แต่ถ้าเราปล่อยมันไปที ทีนี้มันยาวแล้วมันใหญ่เลยควบคุมไม่ได้ โรคระบาดก็เหมือนกันมันลามเหมือนไฟ” นพ.วรวิทย์กล่าวและเป็นเรื่องที่คอยบอกกับคนทำงานสาธารณสุขในพื้นที่แบบนี้ได้ทำประโยชน์ให้กับชาวบ้านไม่ต้องเสียชีวิตหรือเจ็บป่วยโดยไม่จำเป็น</p><h2>ไฟฟ้า เนต จำเป็นเพื่อ Telemedicine</h2><p>นพ.วรวิทย์กล่าวถึง โครงสร้างพื้นฐานบางอย่างเช่น ไฟฟ้าและอินเอร์เนตที่ต้องเตรียมไว้เพื่อนำระบบการแพทย์ทางไกลหรือ Telemedicine เพื่อให้การทํางานมันสะดวกขึ้น ซึ่งจะขอกับทาง&nbsp;NT ส่วนเรื่องไฟฟ้าก็จะเข้าไปเพิ่มโซลาร์เซลล์จาก 5 กิโลวัตต์เป็น 10 กิโลวัตต์เพื่อไม่ต้องเอาน้ำมันไปปั่นไฟ&nbsp; แต่เบื้องต้นอาจต้องใช้เครื่องปั่นไฟที่ใช้น้ำมันไปก่อน&nbsp; &nbsp;</p><p>นอกจากนั้นยังต้องปรับปรุงเรื่องอาคารสถานที่และบุคลากรของ&nbsp;IRC ก็จะรับช่วงต่อมาใช้ได้ไม่มีข้อจำกัดอะไรแล้ว โดยบุคลากรของ&nbsp;IRC ก็จะรับค่าตอบแทนจาก&nbsp;IRC แต่แค่ทำงานในนามของ IRC ต่อไม่ได้ ซึ่งประเด็นเหล่านี้คาดว่าจะสามารถจัดการได้ในเวลาอันสั้นและสําเร็จได้&nbsp; &nbsp;</p><p>อย่างไรก็ตาม นพ.วรวิทย์กล่าวว่าอาจจะมีศูนย์อพยพที่แม่หละที่อาจจะจัดการได้ยากเพราะว่ามีจำนวนผู้อพยพมากที่สุดคือประมาณ 30,000 กว่าคน โดย รพ.ท่าสองยางและ รพ.แม่ระมาดที่ดูแลด้วยกันเพราะคนเยอะ แต่ศูนย์ที่อุ้มเตี้ยมกับนุโพที่มีประชากรพอกันโรงพยาบาลเดียวน่าจะไม่น่ามีอะไรที่ควบคุมไม่ได้ส่วนรายละเอียดและบริบทแต่ละที่อาจจะแตกต่างกัน อย่างเช่น ศูนย์ที่พบพระถ้ามีผู้หญิงที่จะคลอดบุตรอาจจะให้ ASMRU&nbsp;ที่เป็นได้รับทุนจากทางอังกฤษมาช่วยดูแล หรือหน่วยมาลาเรีย หรือหน่วยที่ดูเรื่องการควบคุมโรคเข้ามาช่วยดูแล ไปจนถึงอาจใช้คนจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเข้ามาช่วย เป็นต้น</p><p>นพ.วรวิทย์ กล่าวถึงผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนว่าคงมีมากแค่ช่วง 2 วันแรกที่ทาง รพ.ท่าสองยางรับ&nbsp;4 คน ส่วนทาง รพ.อุ้มผางรับคนท้องที่มาคลอดไว้&nbsp;2 คน ซึ่งเขาคิดว่าวันจันทร์ที่จะถึงนี้สถานการณ์น่าจะนิ่งแล้วเพราะทางแพทย์สนามในศูนย์และอาคารของ IRC ถูกส่งต่อมาแล้ว</p><p>ผอ.รพ.อุ้มผางกล่าวเสริมว่า ปกติแล้วการรักษาโรคต่างๆ ตามที่เขากล่าวไปทั้ง 12 ข้อข้างต้นนั้นก็เป็นการรักษาพยาบาลในศูนย์อพยพ แต่ในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินจากศูนย์อพยพก็มาที่โรงพยาบาลอยู่แล้วทั้งไส้ติ่งอักเสบหรือการทำคลอดที่ต้องผ่าออกซึ่งต้องใช้ห้องผ่าตัด เครื่องรมยาสลบ แล้วแพทย์ผ่าตัดที่ในศูนย์อพยพก็ไม่มี</p><p>นพ.วรวิทย์ประเมินว่า จากที่เข้าไปดูสถานที่ศูนย์นุโพวันนี้เขามองว่าจะสามารถจัดบริการให้ดีกว่าที่เคยเป็นอยู่ด้วยเทคโนโลยีที่ดีกว่าและทำให้มีต้นทุนต่ำกว่าได้ ซึ่งจากประสบการณ์ทำงานนี้มาตลอดทั้งชีวิตก็ทำให้รู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง เช่นเรื่องการคุมกำเนิด การฝากท้องตั้งครรภ์ก็สามารถทำอัลตร้าซาวด์ได้ทำให้รู้สภาพเด็กทารกในครรภ์ว่าเคสไหนต้องผ่าก็ส่งมาที่โรงพยาบาลเลยก็ทำให้จัดการผู้ป่วยได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องรอจนถึงครบกำหนดคลอดแล้วค่อยส่งมา</p><h2>ปล่อยให้เกิดวิกฤตมนุษยธรรมไม่ได้ แต่ถ้ามีเอ็นจีโอที่อื่นมาก็ส่งไม้ต่อได้</h2><p>แม้ว่า นพ.วรวิทย์จะมองว่าการเข้ามาช่วยเหลือครั้งนี้เหมือนเข้าไปรับช่วงต่อกิจการมา แต่เขาก็บอกว่าถ้ามีองค์กรเอ็นจีโอจากที่อื่นจะเข้ามาก็ส่งไม้ต่อให้ได้ แต่ตอนนี้ก็ไม่สามารถประเมินได้ว่าจะต้องรับสถานการณ์นี้นานแค่ไหนเพราะแม้ว่าจะคุยกับทาง IRC&nbsp;แล้วแต่ทาง IRC เองก็ยังอยู่ในช่วงสับสนไม่สามารถประเมินได้เหมือนกันเพราะไม่เคยเจอสถานการณ์แบบนี้แม้ว่าคำสั่งบริหารของรัฐบาลทรัมป์จะยังให้หยุดชั่วคราวไว้ 90 วันก็ตามและสถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งอาจเป็นไปได้ที่&nbsp;IRC จะได้กลับมาหรือไม่ได้กลับมาดำเนินการต่อ หรือทางการไทยอาจจะต้องเข้ามาจัดการตรงนี้ไปตลอดเลยก็ได้</p><p>ส่วนเรื่องงบประมาณที่ต้องใช้ตอนนี้ ผอ.รพ.อุ้มผางยังต้องขอทดลองทำงานดูสัก 1 สัปดาห์ก่อนเพื่อประเมินเรื่องงบประมาณที่ต้องใช้ในการจัดการ</p><p>“ส่วนตัวความคิดผมการดูแลผู้ลี้ภัยในศูนย์ต่างๆ ที่ส่วนมากเป็นศูนย์อพยพชั่วคราว ผู้รับผิดชอบหลักก็คือ&nbsp;UNHCR เขาก็ต้องพยายามหาเอ็นจีโอมาดูแลต่อตรงนี้ เพราะฉะนั้นโรงพยาบาลของรัฐไทยที่เข้าไปดูแลกิจการนี้เราก็อาจจะส่งไม้ต่อให้เอ็นจีโอที่เข้ามาดูแลต่อจาก IRC&nbsp; แต่ตอนนี้เราต้องรับไม้ต่อไปก่อน”</p><p>นพ.วรวิทย์ประเมินต่อไปว่าเรื่องนี้เป็นข่าวระดับประเทศที่จะไปสู่ต่างประเทศก็น่าจะมีความช่วยเหลือเข้ามาบ้างและทางกระทรวงมหาดไทยและสาธารณสุขก็น่าจะสื่อสารกับ UNHCR ก็น่าจะรู้กันว่าปล่อยสถานการณ์เป็นอย่างนี้ต่อไปไม่ดีแน่ UNHCR ที่ดูแลเรื่องผู้ลี้ภัยทั่วโลกอยู่แล้วก็น่าจะมีบทบาทในการหาเอ็นจีโออื่นเช่นจากทางยุโรปเข้ามาดูแลแทน</p><p>อย่างไรก็ตาม ผอ.รพ.อุ้มผางก็ยังว่ามองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงอยู่เช่นกันว่าในสถานการณ์ที่รัสเซียกับยูเครนยังคงทำสงครามกันอยู่ เศรษฐกิจทางยุโรปก็ประสบปัญหาเช่นกันนี้ก็อาจจะทำให้สถานการณ์เอ็นจีโอทางฝั่งยุโรปไม่ต่างกัน และเป็นสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้</p><p>“ปัจจัยภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้ทั้งหลายอาจจะทําให้เราคาดการณ์ผิดได้&nbsp; &nbsp;คือ&nbsp;UNHCR อาจจะอยากให้เอ็นจีโอของยุโรปเข้ามา&nbsp; แต่ข้อจํากัดมันก็คือว่าประเทศยุโรปเขาก็ไม่มีงบประมาณให้เอ็นจีโออาจจะต้องทําแบบแบบอเมริกาใช่ไหม เขาก็จํากัดลิมิตกันหมด”</p><p>นพ.วรวิทย์กล่าวว่าปัญหานี้เป็นเรื่องมนุษยธรรม แม้ว่าอาจมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันไปจนถึงอาจจะขาดเงินงบประมาณในการช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเหล่านี้อยู่ แต่เขามองว่าจะปล่อยให้เกิดวิกฤตมนุษยธรรมไม่ได้ และเป็นเรื่องที่เขารู้สึกรับไม่ได้ที่จะปล่อยให้เกิด</p><p>“เราจะปล่อยให้วิกฤตมนุษยธรรมมันเกิดไม่ได้ วิกฤตมนุษยธรรมมันทําลายจิตใจเราเลยนะ มันทําลายตัวตนของเรา ทําลายวิชาชีพทางด้านการแพทย์การสาธารณสุข ผมอายุเยอะแล้วผมปล่อยให้มันเกิดตรงนั้นไม่ได้ เราจะปล่อยให้คนตายเสียชีวิต&nbsp; &nbsp;หรือโรคภัยไข้เจ็บมันแพร่กระจายไปแล้วลามไปทั่วเหมือนไฟไหม้ผมรับไม่ได้&nbsp; &nbsp;เราต้องพยายามควบคุมไม่ให้มันเกิดตรงนั้น” นพ.วรวิทย์กล่าวในฐานะที่ต้องทำงานเผชิญเหตุอยู่ในพื้นที่มาตั้งแต่ปี 2534 และเคยเกิดโรคระบาดในพื้นที่จึงไม่อยากปล่อยให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้นขึ้นอีก แต่ความเห็นที่วิพากษ์วิจารณ์ก็เป็นเรื่องปกติที่คิดต่างกันได้</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2" hreflang="th">ผู้ลี้ภัhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B9%8C-%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B9%8C" hreflang="th">โดนัลด์ ทรัมปhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">พม่http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C" hreflang="th">เมียนมารhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">ชายแดนไทย-พม่http://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C" hreflang="th">วรวิทย์ ตันติวัฒนทรัพยhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B2%E0%B8%87" hreflang="th">อุ้มผาhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%94" hreflang="th">แม่สอhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%81" hreflang="th">ตาhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2025/01/112054
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.162 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 02 กรกฎาคม 2568 07:09:17