[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
08 กรกฎาคม 2568 16:09:10 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - คุยกับภาค ปชช. ทำไมพื้นที่คุ้มครองวิถีชาติพันธุ์ ควรงดเว้นจาก กม.ที่เป็นอุปสรร  (อ่าน 103 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 05 กุมภาพันธ์ 2568 22:05:47 »

คุยกับภาค ปชช. ทำไมพื้นที่คุ้มครองวิถีชาติพันธุ์ ควรงดเว้นจาก กม.ที่เป็นอุปสรรค
 


<span>คุยกับภาค ปชช. ทำไมพื้นที่คุ้มครองวิถีชาติพันธุ์ ควรงดเว้นจาก กม.ที่เป็นอุปสรรค</span>
<span><span>XmasUser</span></span>
<span><time datetime="2025-02-05T14:51:00+07:00" title="Wednesday, February 5, 2025 - 14:51">Wed, 2025-02-05 - 14:51</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ภาพปก: บรรยากาศชุมนุมของเครือข่ายชาติพันธุ์และ P-move&nbsp;</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ประชาไทคุยกับกลุ่มภาคประชาสังคม-เครือข่ายชาติพันธุ์ ที่มาร่วมผลักดัน ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์ หน้ารัฐสภา โดยเฉพาะประเด็นที่มีการถกเถียงอย่างหนัก คือพื้นที่วิถีชีวิตชาติพันธุ์ควรได้รับการยกเว้นจากกฎหมายป่าไม้ กฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และกฎหมายอื่นๆ ที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาในพื้นที่หรือไม่</p><p>&nbsp;</p><p>5 ก.พ. 2568 ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-move) และเครือข่ายชาติพันธุ์ต่างๆ ได้นัดชุมนุมหน้ารัฐสภา เพื่อผลักดันให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร รับรองมติแก้ไขรายมาตรา ของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์ (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ชั้นวาระที่ 2 โดยประเด็นที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดช่วงที่ผ่านมาคือมาตรา 27 หรือพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตชาติพันธุ์</p><p>ข้อความเดิมของ หมวด 5 มาตรา 27 ระบุว่า แผนแม่บทและแผนที่ที่จัดทำขึ้นตามความตกลงวรรค 2 ต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อให้กลุ่มชาติพันธุ์สามารถอยู่อาศัยและใช้ประโยชน์ในพื้นที่&nbsp;โดยไม่ต้องนำหลักเกณฑ์การอยู่อาศัยและการใช้ประโยชน์ตามกฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ มาบังคับใช้กับพื้นที่ดังกล่าว เท่าที่ไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ สุขภาพของประชาชน หรือกระทบต่อระบบนิเวศหรือความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต</p><p>ในส่วนประเด็นที่ให้พื้นที่เขตคุ้มครองวิถีชีวิตชาติพันธุ์ ได้รับการยกเว้นกฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ&nbsp;ได้ถูก สส.บางส่วนคัดค้านอย่างหนัก โดยอ้างว่าอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ และไม่เหมาะสมเนื่องจากมีประโยคที่ยกเว้นไม่ต้องนำกฎหมายมาใช้ในพื้นที่คุ้มครอง ส่งผลให้เกิดการเลื่อนพิจารณากฎหมายฉบับนี้ถึง 2 ครั้ง และมาพิจารณาวาระที่ 2 อีกครั้งในวันนี้ (5 ก.พ.)&nbsp;</p><h2>ภาคประชาชนไม่ถอยให้แล้ว</h2><p>ที่หน้ารัฐสภา พชร คำชำนาญ สมาชิกของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-Move) และในฐานะสมาชิก กมธ.ร่างกฎหมายฯ ให้สัมภาษณ์ก่อนการพิจารณาร่างกฎหมายวาระที่ 2 ถึงที่มาที่ไปของพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตชาติพันธุ์ว่า จริงๆ นโยบายเขตวิถีชีวิตชาติพันธุ์ต่อสู้มานานมาก แต่มาเป็นรูปธรรมชัดเจนในมติ ครม. 2 มิ.ย. 2553 เรื่องการคุ้มครองวิถีชีวิตของชาวเล และมติ ครม. 3 ส.ค. 2553 เรื่องการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาติพันธุ์กะเหรี่ยง เพราะรัฐบาลในตอนนั้นถือว่ากลุ่มชาติพันธุ์ 2 กลุ่มนี้เป็นกลุ่มเปราะบางที่สุด โดยเฉพาะสิทธิที่ดินทำกินที่พวกเขาถูกรัฐประกาศทับที่ หรือนายทุนออกเอกสารสิทธิทับที่ดิน โดยมติ ครม. เมื่อปี 2553 ระบุว่าสามารถให้ชุมชนประกาศเขตพื้นที่วัฒนธรรมพิเศษได้ รวมถึงมีมาตรการว่าถ้าชุมชนอยู่มาก่อนเขตป่า ให้มีการเพิกถอนเขตป่า</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54308390880_a3171ded6e_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">พชร คำชำนาญ</p><p>พชร ระบุต่อว่า แม้ว่าจะมีมติ ครม. แต่ไม่เกิดผลในทางปฏิบัติ เพราะช่วงปลายปี 2553 ก็เกิดยุทธการตะนาวศรี ไล่ที่เผาบ้านชาวบ้านบางกลอย ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามติ ครม.ถึงจะเป็นแนวนโยบายของรัฐ ก็ไม่มีผลในทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานของรัฐ</p><p>ในยุคประยุทธ์ จันทร์โอชา ปี 2561-2562 มีแผนปฏิรูปประเทศด้านสังคม ซึ่งระบุว่ากฎหมายชาติพันธุ์เป็นกฎหมายเร่งด่วน ตอนแถลงนโยบายปี 2562 ก็พูดว่าจะทำกฎหมายชาติพันธุ์ ต่อมาภาคประชาชนก็มีการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย โดยสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศ ได้ทำร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ส่วน P-move มีร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง แต่กฎหมาย 2 ฉบับนี้ถูกดองตลอดสมัยประยุทธ์ เพราะประธานสภาตอนนั้นบอกว่าเป็นร่างการเงิน ต้องให้นายกฯ เซ็นก่อน ซึ่งก็ไม่เซ็นจนหมดสมัย</p><p>พอมาถึงรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย ก็มีการมาชุมนุมที่ทำเนียบ 2 ครั้ง (ต.ค. 2566 และ ก.พ. 2567) กว่าเศรษฐา จะเซ็นรับรองร่าง 2 ฉบับนี้ก็ได้ประกบไปกับร่างของ ครม. พรรคเพื่อไทย และพรรคก้าวไกล เท่ากับว่าผ่านไป 5 ร่าง</p><p>หลังจากนั้นก็มีการตั้งคณะกรรมาธิการฯ ทำงานกันมาตั้งแต่ มี.ค. 2567 จนถึงวันนี้กฎหมายพิจารณาเสร็จแล้ว แต่ยังติดในวาระ 2 ว่าสภาฯ จะเห็นชอบมั้ย มีหลายมาตราที่สำคัญมาก แต่ถูกปัดตกไปแล้ว เช่น คำว่า “ชนเผ่าพื้นเมือง” ที่ไม่มีอยู่เลยในกฎหมายฉบับนื้ หรือเรื่องบทลงโทษสำหรับคนที่ละเมิดสิทธิกลุ่มชาติพันธุ์ ก็ถูกตัดออก ก็เลยเหลือแค่เรื่องพื้นที่คุ้มครองวัฒนธรรมที่เราคงยอมถอยไม่ได้อีกแล้ว</p><p>"เราคงยอมถอยไม่ได้อีกแล้ว เพราะการถอยเรื่องนี้คือการถอยเพื่อตกเหวแล้ว ไม่มีที่ทางให้พวกเราถอยอีกแล้ว นอกจากจะไม่มีที่ยืนในสังคมในเชิงนามธรรมแล้ว ในเชิงรูปธรรมเราก็จะไม่มีที่ดินทำกิน" พชร กล่าว</p><h2>ทำไมการมีพื้นที่คุ้มครองชาติพันธุ์ถึงสำคัญ</h2><p>พชร กล่าวว่า การมีพื้นที่คุ้มครองฯ จะทำให้พี่น้องมีสิทธิในการจัดการที่ดินและทรัพยากร ประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนใหญ่มีความผูกพันกับที่ดินและฐานทรัพยากร เช่น ดิน น้ำ ป่า และทะเล เพียงแค่เขามีสิทธิเพิ่มขึ้นในการจัดการ เขาก็จะมีความมั่นคงในชีวิตมากขึ้น คราวนี้ก็จะไม่เปลืองงบประมาณที่รัฐจะต้องเอาไปอุดในส่วนที่ด้อยโอกาส สมมติว่าประสบภัยพิบัติ หรืออยู่ในช่วงที่มีโรคระบาดอย่างโควิด-19 ถ้าเขามีสิทธิที่จะสามารถจัดการตนเอง มีความมั่นคงในชีวิตและความมั่นคงทางอาหารได้ มันก็จะเป็นการงบประมาณที่ต้องใช้ในการให้ความช่วยเหลือ</p><p>เรื่องที่ 2 คือเป็นเรื่องของความเสมอภาค สถานการณ์เรื่องที่ดินที่เขาเจออยู่ไม่ใช่สถานการณ์ที่คนทั่วไปเจอ ไม่มี สส.สักคนในสภาฯ ที่อยู่ในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ อยู่ในที่ของรัฐที่จะถูกไล่เมื่อไหร่ก็ได้ ดังนั้น ต้องเข้าใจว่าเขาไม่ใช่อภิสิทธิ์ชน เขาไม่เท่าเราตั้งแต่แรก แค่บ้านของเขายังเป็นของรัฐ เพราะที่ดินถูกประกาศให้เป็นของรัฐ เท่ากับว่าเขาไม่มีที่ดินอยู่เลย ถ้ามีพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิต ก็จะเป็นการสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมในสังคม</p><p>เรื่องที่ 3 คือคิดว่ามันสำคัญมากในแง่ของการต่อยอดและส่งเสริมศักยภาพของพี่น้องให้เป็นต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญมากๆ ของประเทศ เราไม่สามารถพูดได้ว่าเรื่องที่ดินและเรื่องวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์มันแยกจากกัน ถ้าทำให้เขามีสิทธิ มีความเสมอภาค เขาก็จะสามารถเอาทุนทางภูมิปัญญาของเขาไปพัฒนาประเทศได้ด้วย ซึ่งก็ตรงกับแนวนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ (soft power) ของรัฐบาล ยังไม่รวมถึงเรื่องทรัพยากร ถ้าพี่น้องมีสิทธิในการจัดการทรัพยากร เขาก็จะมีสิทธิเต็มที่ตามกฎหมายฉบับนี้ในการปกป้องผืนดินตรงนั้นจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่อย่างเหมือง อุโมงค์ผันน้ำ หรือเขื่อน ที่จะไปทับที่เขา แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีกฎหมายฉบับไหนให้สิทธิเขา</p><h2>กฎหมายไม่มีผลเพิกถอนพื้นที่อุทยาน</h2><p>พชร กล่าวต่อว่า กฎหมายไม่ได้จะไปเพิกถอนพื้นที่อุทยาน เรารู้ว่ายังไงก็จะโดนคัดค้าน เราแค่อยากสร้างความร่วมมือ ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ ‘เราไม่ได้มองเจ้าหน้าที่รัฐเป็นศัตรูในแง่นี้’ หลักเกณฑ์ที่เราพยายามทำเป็นการยกเว้นหลักเกณฑ์บางประการที่จะมีผลกระทบกับชาวบ้านในพื้นที่คุ้มครอง คือ กฎหมายป่าไม้ กฎหมายอุทยาน กมฎหมายเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ซึ่งก็ยกเว้นแค่บางประการ เช่นเรื่องที่ดินทำกินที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น จำกัดเขตพื้นที่และเวลาทำกิน ห้ามทำไร่หมุนเวียน หรือห้ามส่งต่อที่ดินของบรรพบุรุษ ไม่ได้เพิกถอนสภาพ แต่ซ้อนทับเข้าไปจัดการในพื้นที่ตรงนี้ ไม่ได้ถึงกับยกเลิกพื้นที่อุทยาน แค่ยกเว้นกฎหมายบางตัว แต่การทำพื้นที่คุ้มครองมันยากมาก ต้องทำแผนแม่บทโดยมีการตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับชาวบ้านว่าเขาจะใช้พื้นที่ตรงนั้นอย่างไร ต้องมีคณะกรรมการกลางที่เข้ามากลั่นกรองอีกว่าพื้นที่นั้นเหมาะสมหรือไม่ และถ้าชาวบ้านทำผิดหลักเกณฑ์ เขาอาจจะถูกเพิกถอนพื้นที่คุ้มครองได้ หรือถ้าทำผิดมากๆ เช่นบอกว่าห้ามตัดไม้ แต่ว่าไปตัดไม้ไปขาย ก็จะมีความผิดตามกฎหมายของพื้นที่นั้น เช่น พ.ร.บ.ป่าสงวน ฯลฯ เราพยายามบูรณาการร่วมกัน ไม่ได้ไปขัดแย้ง แต่ต้องยอมรับว่ากฎหมายที่ผ่านมาไม่ได้ให้สิทธิเขา</p><p>“สภาฯ จะปรับมุมมองต่อกลุ่มชาติพันธุ์ใหม่ เราควรยอมรับว่าเขาเป็นคนติดแผ่นดิน เป็นคนไทยเหมือนพวกเรา ต่างกันที่เขามีความเป็นเผ่าพันธ์ที่เขาสืบทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญามาและเขาแสดงออกมาผ่านร่างกาย ภาษา เครื่องแต่งกาย การทำกิน ต้องเข้าใจว่าเขาไม่ใช่อภิสิทธิชน เขาเป็นกลุ่มเปราะบาง ซึ่งเป็นไปตามที่รัฐบาลแถลงไว้ทั้งหมดว่ากลุ่มชาติพันธุ์คือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่รัฐบาลจะต้องคุ้มครอง อยากให้ปรับมุมมองต่อการจัดการพื้นที่ตามวิถีชาติพันธุ์ เรื่องนี้ไม่ได้กระทบทรัพยากรหรือความมั่นคง ไม่มีใครอยากประกาศพื้นที่คุ้มครองเพื่อจะแบ่งแยกดินแดนหรือปกครองตัวเอง ทำพื้นที่ปกครองพิเศษ ถ้าเทียบกันก็ถามว่าทำไมพื้นเขตเศรษฐกิจพิเศษมัน overrule (ลบล้าง) ได้ทุกกฎหมาย แต่ทำไมเวลาทำเหมือง สามารถเข้า ครม.แล้วเพิกถอนความเป็นพื้นที่ป่าสงวนได้ แต่กลุ่มชาติพันธุ์ก็แค่ดูแลและจัดการมัน อยากให้ สส. ปรับมุมมองและทำให้สภาเป็นที่ปลอบประโลมความเจ็บปวดความทุกข์ยากของพี่น้อง” พชร สะท้อนความหวังถึงสภาฯ&nbsp;</p><h2>เขตคุ้มครองชาติพันธุ์ไม่ไปไหน เพราะติด กม.</h2><p>นิราพร จะพอ อายุ 23 ปี ชาวชุมชนปกาเกอะญอบ้านห้วยหินลาด จ.เชียงราย กล่าวว่า สำหรับเธอที่อยู่ในพื้นที่คุ้มครองวัฒนธรรม มองว่าถ้าไม่มีพื้นที่ตรงส่วนนี้ วัฒนธรรมและความเชื่อของชาวชาติพันธุ์จะไม่มีความยั่งยืน มีพื้นที่ให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกับป่า และดูแลรักษาป่า ซึ่งก็จะทำให้ป่ายั่งยืนด้วย แต่ปัญหาช่วงที่ผ่านมา แม้ว่าบ้านห้วยหินลาดในจะได้เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ตามมติ ครม.เมื่อปี 2553 แต่ว่าการพัฒนาในพื้นที่กลับติดพัน พ.ร.บ.ป่าสงวน พ.ร.บ.อุทยาน พ.ร.บ.พวกนี้จำกัดการพัฒนา ถึงมติ ครม.จะเขียนเรื่องการพัฒนาศักยภาพต่างๆ แต่ทำไม่ได้จริง เราถึงหวังว่ามาตรา 27 เรื่องพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตชาติพันธุ์ จะมีการยกเว้น พ.ร.บ. อุทยาน ป่าสงวน อนุรักษ์สัตว์ป่าต่างๆ เพราะถ้ายังมีกฎหมายพวกนี้ทับเราอยู่ ในฐานะที่เป็นพื้นที่คุ้มครอง เราไม่สามารถพัฒนาได้เลย ทำอะไรไม่ได้เลย</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54308212203_910fe64f8c_b.jpg" width="1024" height="683" loading="lazy">นิราพร จะพอ</p><p>นิราพร กล่าวต่อว่า อยากให้กฎหมายผ่านและใช้ได้จริง แต่ถ้าผ่านโดยใช้ไม่ได้จริงก็ไม่อยากได้ ถ้าไม่ผ่านมาตรา 27 ก็ใช้ไม่ได้แน่นอน เพราะมันก็เหมือนมติ ครม.ที่มีในอดีต แต่ว่าทำอะไรไม่ได้ มาตรา 27 คือหัวใจสำคัญของชาติพันธุ์</p><p>"กฎหมายนี้เขียนมาเพื่อให้เราเท่าเทียมกับคนในเมืองเฉยๆ ไม่ใช่อภิสิทธิชน ไม่ได้เหนือกว่าใคร เพราะที่ผ่านมาเราก็ต่ำกว่าทุกคนมาตลอด เราแค่ทำกฎหมายนี้เพื่อให้เรากลับไปเท่ากับคนในเมือง อยากให้คนในเมืองที่เห็นถึงสิทธิและความเท่าเทียม ถ้าอยากเห็นสังคมไทยที่ทุกคนเท่ากันก็ต้องช่วยกันผลักดัน พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้ชาติพันธุ์เท่าเทียมกับคนไทยทุกคน" นิราพร กล่าว</p><p>สุพรรณษา จันทร์ไทย ผู้ประสานงานเครือข่ายเด็กและเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมืองชาวไททรงดำ จ.เพชรบุรี เผยว่า พื้นที่คุ้มครองฯ มันเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชนเผ่าพื้นเมืองในทุกพื้นที่ ทุกชนเผ่ามีพื้นที่ที่เขาแสดงออกถึงวัฒนธรรมและวิถีชีวิต รวมถึงเป็นที่ทำกินและอยู่อาศัยด้วย ถ้าพื้นที่ตรงนั้นมันหายไป เราก็กังวลว่าวัฒนธรรมและตัวตนทั้งหมดของชนเผ่าพื้นเมืองมันหายไปด้วย หากว่ากฎหมายผ่านและใช้ได้จริง มันก็จะเป็นการคืนชีวิตให้พี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองและชาติพันธุ์ เขาจะสามารถดำเนินชีวิตตามวิถีของตัวเองได้</p><p>"มันไม่ใช่การที่เราคืนพื้นที่ให้เขาแล้วประเทศจะล้าหลัง แต่จะเป็นการปรับวิถีชีวิตเข้ากับกระแสยุคใหม่ เขาจะกลายเป็นคน 2 วัฒนธรรมที่มีคุณภาพและยังมีวิถีชีวิตดั้งเดิม และพื้นที่คุ้มครองตรงนี้ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศให้ยั่งยืน เพราะว่าชนเผ่าพื้นเมืองมีภูมิปัญญาดั้งเดิมในการรักษาทรัพยากรให้อยู่กับเขามาได้เรื่อยๆ ช่วยกันทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งชุมชนและภาครัฐที่ต้องการอนุรักษ์" สุพรรณษา กล่าว</p><p>สุพรรณษา ระบุต่อว่า มันมีความยั่งยืนและประสบความสำเร็จอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือมันมี พ.ร.บ.ต่างๆ ของอุทยานหรือพื้นที่ป่าสงวน ทำให้ชุมชนไม่สามารถจัดการตัวเองในการดูแลรักษาพื้นที่ตรงนั้นไว้ได้ ไม่สามารถทำกิจกรรมที่เป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนในพื้นที่คุ้มครองตรงนี้ได้ เกิดการเสียสมดุลของการรักษาทรัพยากรตรงนี้ไว้ เห็นมาตลอดว่าวิถีชีวิตของชุมชนสามารถรักษาพื้นที่ตรงนี้ไว้ได้อย่างดีมาโดยตลอด ถ้ามาตรา 27 ผ่านและชุมชนสามารถกลับมารักษาวิถีชีวิตของตัวเองไว้ได้ จัดการทรัพยากรในพื้นที่ของตัวเองได้ ทรัพยากรของเราก็จะยังอยู่ไปเรื่อยๆ ส่งต่อกันไปรุ่นสู่รุ่นได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น</p><p>"อยากให้กฎหมายฉบับนี้ผ่านเข้าไปได้จริงๆ และพอกฎหมายตัวนี้ออกมา มันสามารถเข้าถึงและใช้ได้จริงในทุกชุมชน เท่าเทียมกันในทุกพื้นที่ของชนเผ่าพื้นเมือง ไม่ว่าจะเป็นภูมิภาคไหนหรือประเด็นไหนที่อาจจะแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่กฎหมายฉบับนี้จะครอบคลุม บังคับใช้ในทุกพื้นที่ และทำให้พี่น้องได้มีตัวตนในการแสดงออกทางอัตลักษณ์ วิถีชีวิตของตัวเองได้ชัดเจนมากขึ้น</p><p>"อยากบอกว่าชนเผ่าพื้นเมืองอาจจะดูมีอคติบางอย่างที่คนภายนอกมอง เช่นมองว่าเป็นภัยความมั่นคง แต่จริงๆ เราแยกตัวออกไปจัดการตัวเองไม่ได้จริงๆ คำว่าจัดการตัวเองหมายถึงการที่เราจะมีสิทธิในการดูแลจัดการพื้นที่ วิถีชีวิตของตัวเองในพื้นที่ของตัวเองได้อย่างชัดเจน โดยที่ไม่ผิดกฎหมายใดๆ อยากให้มองว่าจริงๆ แล้วชนเผ่าพื้นเมืองไม่ได้มีสิทธิพิเศษกว่าคนไทยคนอื่น อยากให้มองว่าทุกคนเป็นคนไทยเท่าเทียมกัน และกฎหมายฉบับนี้จะเข้ามาตอบโจทย์เรื่องซอฟต์พาวเวอร์อย่างหนึ่ง จะได้เห็นว่าประเทศไทยมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อัตลักษณ์และวิถีชีวิต ทำให้คนภายนอกเห็นความสำคัญของไทยมากขึ้นและเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น และจะเป็นการรักษาวิถีชีวิตและทรัพยากรในประเทศของเราได้ดีมากขึ้น" สุพรรณษา กล่าว</p><h2>สภาฯ มีมติใช้มาตรา 27 ตาม กมธ.เสียงข้างน้อย</h2><p>ความคืบหน้าล่าสุด เมื่อเวลาประมาณ 14.26 น. ที่ประชุมสภาฯ ได้ลงมติ 'ไม่เห็นชอบ' การแก้ไขมาตรา 27 ว่าด้วยพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตชาติพันธุ์ ฉบับ กมธ.เสียงข้างมาก ด้วย 152 คะแนน ต่อ 246 คะแนน งดออกเสียง 2 คน และไม่ลงคะแนนเสียง 4 คน จากจำนวนผู้ลงมติ 422 คน เป็นผลให้ใช้ข้อความในมาตรา 27 ตามข้อเสนอของ กมธ.เสียงข้างน้อย&nbsp;</p><p class="picture-with-caption"><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54307218097_5369a855f4_b.jpg" width="1024" height="576" loading="lazy">ที่มา: TP Channel</p></div>
      <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยชhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C" hreflang="th">พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%8A%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8D" hreflang="th">พชร คำชำนาhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3-%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%AD" hreflang="th">นิราพร จะพhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C" hreflang="th">ชาติพันธุhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C" hreflang="th">พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2025/02/112092
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.185 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 24 มิถุนายน 2568 03:09:47