[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
05 กรกฎาคม 2568 14:02:29 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - ข้อมูลคนไทยหลุดซ้ำๆ หน่วยงานไทยยังถูกโจมตีหนัก 1 ปี 3 เดือนไทยเจอภัยกว่า 2,700 ครั้  (อ่าน 118 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 04 เมษายน 2568 15:31:05 »

ข้อมูลคนไทยหลุดซ้ำๆ หน่วยงานไทยยังถูกโจมตีหนัก 1 ปี 3 เดือนไทยเจอภัยกว่า 2,700 ครั้ง
 


<span>ข้อมูลคนไทยหลุดซ้ำๆ หน่วยงานไทยยังถูกโจมตีหนัก 1 ปี 3 เดือนไทยเจอภัยกว่า 2,700 ครั้ง</span>
<span><span>admin666</span></span>
<span><time datetime="2025-04-04T10:22:04+07:00" title="Friday, April 4, 2025 - 10:22">Fri, 2025-04-04 - 10:22</time>
</span>

            <div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>ทีมข่าวไอที</p></div>
     
            <div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>ก่อนที่ไทยจะเผชิญเหตุแผ่นดินไหวเพียงหนึ่งวัน (27 มี.ค.2568) มีข่าวว่าข้อมูลคนไทยหลุดออกมาขายซ้ำอีกครั้ง โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ออกมาแถลงข่าวกรณีข้อมูลคนไข้ในระบบ A-Med Care Plus 1.3 แสนรายถูกโจรกรรมเอาไปขายบนเว็บบอร์ดซื้อขายข้อมูลแห่งหนึ่งว่า ไม่ได้หลุดจากระบบ แต่เกิดขึ้นระหว่างโอนถ่ายข้อมูล</p><p>ล่าสุดเมื่อวานนี้<a href="https://www.facebook.com/thailandpost.co.th/posts/pfbid02SSe2jV1aQLnKh1YCvJopCA3h4AC9c4xsDNRcCvT4RAam6fEhzy9nUAkCnV1SiMfFl?__cft__
  • =AZVw-F66LnsU7WPi7d0TLZOurze-TnlvKGHKBDMvJB1_RTjzgNXIbIPKDEfbKxEK8u7B3k80tQGUC4M4TOL-sZ1FxMaBRwzkPIR85VOMCGSNTlWlCtVWQXxn0vbbn0TN3iMW0w87lxdKG8pxdGCEodUrrSOmpPvXW9j7BFaZU3pnHQ&amp;__tn__=%2CO*F">ไปรษณีย์ไทhttps://live.staticflickr.com/65535/54427987528_d867101172_b.jpg" width="1024" height="531" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ประกาศขายข้อมูล Health Data Center ของไทยบนเว็บบอร์ด Breachforums</p><p>ผู้ประกาศขายข้อมูลดังกล่าวใช้ชื่อในเว็บบอร์ดว่า “Satisfie” เขาได้ระบุว่าข้อมูลที่นำมาขายนั้นมีข้อมูลส่วนตัวของบุคคล ได้แก่ บัตรประชาชน ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด เพศ ที่อยู่อาศัย เบอร์โทรศัพท์ และอื่นๆ อย่างไรก็ตามผู้ขายระบุด้วยว่าเมื่อตัดข้อมูลซ้ำออกตามข้อมูลบัตรประชาชนแล้วจะเหลือ 76,373,357 รายการ</p><p>นอกจากนั้นข้อมูลที่นำมาขายนี้ยังรวมไปถึงข้อมูลการวินิจฉัยโรค ข้อมูลการวิจัย ข้อมูลการตลาด ข้อมูลประกันและข้อมูลทางธุรกิจด้วย อย่างไรก็ตามผู้ขายไม่ได้ระบุว่าได้ข้อมูลเหล่านี้มาด้วยวิธีการใด แต่เขาได้โพสต์ตัวอย่างข้อมูลแนบไว้ด้วย โดยมีภาพที่ระบุว่าเป็น Health Data Center ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูลอยู่ด้วย</p><p>Satisfie ระบุราคาข้อมูลที่นำมาขายเป็นจำนวน 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ (2,035,800 บาท) โดยรับแลกเปลี่ยนเป็นเงินคริปโตในสกุล XMR หรือ BTC</p><p>ผู้สื่อข่าวได้นำประเภทไฟล์และลักษณะการบันทึกข้อมูลไปสอบถามผู้เกี่ยวข้อง ทราบว่าเป็นข้อมูล Hospital Information Service ซึ่งเป็นข้อมูลจากโปรแกรมที่ทางโรงพยาบาลต่างๆ ส่งให้ “หมอพร้อม”</p><p>แต่นี่เป็นเพียงอีก 1 กรณีเท่านั้น เพราะเมื่อค้นหากระทู้ขายข้อมูลที่เกี่ยวกับประเทศไทยยังมีข้อมูลของหน่วยงานอื่นๆ อีก เช่น ข้อมูลของกระทรวงการคลังขนาด 5.9 เทระไบต์ กรมการขนส่งทางบก(ตัวย่อ DLT) มหาวิทยาลัยต่างๆ ไปจนถึงบริษัทประกัน รวมถึงไปรษณีย์ไทยรอบล่าสุดนี้ด้วย</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54427987533_082be5921b_b.jpg" width="1024" height="537" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">กระทู้ขายข้อมูลเฉพาะที่เกี่ยวกับประเทศไทยบนเว็บบอร์ด Breachforums</p><h2>ข้อมูลยังหลุดมาขายบนเว็บเดิมๆ</h2><p>นอกจาก 3 กรณีล่าสุดนี้แล้ว ที่ผ่านมาข้อมูลส่วนตัวบุคคลด้านสาธารณสุขของไทยก็หลุดมาก่อนแล้วหลายครั้งและเป็นข่าวใหญ่ทุกครั้ง</p><p>ช่วงกันยายนปี 2564 มีกรณีข้อมูลคนไข้ของกระทรวงสาธารณสุขกว่า 16 ล้านรายการถูกประกาศขายมีทั้งข้อมูลเลขทะเบียนผู้ป่วย ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด หมายเลขโทรศัพท์ ชื่อแพทย์เจ้าของไข้ โรงพยาบาล และรายละเอียดผู้ป่วยต่างๆ ถูกประกาศขายในราคา 500 ดอลลาร์สหรัฐ</p><p>กรณี 9Near เมื่อมีนาคม 2566 ที่ประกาศขายข้อมูลคนไทยจำนวน 55 ล้านคนแม้ว่าตอนแรกจะไม่ได้บอกว่าได้มาจากหน่วยงานใด แต่หลังจากเป็นข่าวและหน่วยงานรัฐออกมาปฏิเสธ เขาก็ได้ออกมายืนยันว่าได้มาจากหน่วยงานรัฐและภายหลังปรากฏว่ามาจากระบบ ‘หมอพร้อม’ สุดท้ายกรณีนี้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและกระทรวงดิจิทัลฯ สามารถติดตามจับกุมมาได้พบว่าเป็นทหารยศสิบโทพร้อมภรรยาที่เป็นพยาบาล</p><p>หลังกรณี 9Near ยังมีกรณีตามมาอีกในเดือนมีนาคมปีที่แล้ว Infamous ประกาศขายข้อมูลคนไทยที่ได้มาจากหน่วยงานสาธารณสุขจำนวน 2.2 ล้านรายการในราคา 10,000 ดอลล่าร์สหรัฐ แม้ว่าหลังเกิดเหตุชลน่าน ศรีแก้ว ที่นั่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขอยู่จะบอกว่า ไม่ได้เป็นข้อมูลมาจากกระทรวงและไม่ทราบว่ามาจากหน่วยงานใด จนตอนหลังผู้ขายข้อมูลเปิดตัวอย่างข้อมูลออกมา ทำให้ทราบว่าเป็นชุดข้อมูลที่ใช้กันภายในโรงพยาบาล</p><p>อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่สามารถเห็นชุดข้อมูลจริงๆ ของผู้ขายเหล่านี้ได้ ทำให้ไม่ทราบว่าข้อมูลที่นำมาขายเป็นชุดเดียวกันที่เอามาวนทยอยปล่อยขายหรือเป็นข้อมูลที่รั่วออกมาใหม่</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>ข้อมูลส่วนบุคคลไทยขายเกลื่อน DES เผยเอาผิดได้ไม่เต็มที่ เหตุ กม.เลื่อนบังคับใช้</li><li>แถลงกรณี 9near พบเป็นทหาร ประสานต้นสังกัดแล้วแต่ยังไม่ได้ตัวมา รั่วจากไหนทำทำไม ขอให้ได้ตัวมาก่อน</li><li>‘Infamous’ ลงตัวอย่างข้อมูลเพิ่ม ยืนยันได้ข้อมูลคนไทย 2.2 ล้านคน มาจาก สธ.จริง</li></ul></div><p>แม้ว่าจะไม่สามารถบอกได้ว่าข้อมูลเหล่านี้มีการประกาศขายที่ไหนบ้างหรือมีวิธีการได้ข้อมูลมาที่แน่ชัดนัก แต่พบว่าหลายครั้งที่ปรากฏข่าวข้อมูลของหน่วยงานรัฐไทยหรือเอกชนไทยหลุดขายบนเว็บไซต์ มักปรากฏอยู่ในเว็บบอร์ดที่ใช้ชื่อว่า Breachforums ที่มีการย้ายเว็บไซต์มาบ้างแล้วแต่ยังคงใช้ชื่อเหมือนเดิม หรือก่อนหน้านี้ก็เคยมีเว็บบอร์ดชื่อ Raidforums ซึ่งมีดีไซน์ใกล้เคียงกันแต่เจ้าของเว็บบอร์ดรายนี้ปรากฏข่าวว่าถูกจับกุมไปเมื่อปี 2565</p><p>ทั้งนี้เว็บบอร์ดทั้ง 2 แห่งนี้ ที่ผ่านมาสามารถค้นหาพบได้ผ่านเซิร์ชเอนจิ้นทั่วๆ ไปอย่างบริการของ Google และบุคคลทั่วไปสามารถกดเข้าไปดูได้โดยไม่ต้องมีล็อกอินเพื่อเข้าไปดูข้อมูลการขาย แต่หลังจากกรณี Infamous เป็นต้นมาพบว่า Breachforums ได้ย้ายที่อยู่ของเว็บและการจะเข้าไปดูข้อมูลการขายจำเป็นต้องผ่านขั้นตอนล็อกอินเข้าสู่ระบบของเว็บบอร์ด และคาดหมายได้ว่าในอนาคตผู้ให้บริการก็อาจจะย้ายที่อยู่ของเว็บบอร์ดได้อีก</p><p>แม้ว่ากระทรวงสาธารณสุขจะตกเป็นข่าวบ่อย แต่ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เปิดเผยสถิติปี 2567 และ 3 เดือนแรกของปี 2568 ถึงจำนวนครั้งที่หน่วยงานรัฐและเอกชนเผชิญปัญหาการโจมตีระบบออนไลน์ไว้</p><p>หากเข้าไปดูในเว็บบอร์ดดังกล่าว นอกจากข้อมูลที่ตกเป็นข่าวบ่อยๆ แล้วก็ยังจะพบอีกว่ายังมีข้อมูลของหน่วยงานรัฐอื่นๆ เช่นกระทรวงการคลังที่มีคนเอามาประกาศขายว่ามีขนาดไฟล์รวมถึง 5.9 เทอร์ราไบต์ ข้อมูลผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ หรือข้อมูลของบริษัทเอกชนอย่างบริษัทประกันอลิอันซ์ กรมขนส่งทางบก เป็นต้น</p><img src="https://live.staticflickr.com/65535/54427744151_3d9c97526d_b.jpg" width="1024" height="574" loading="lazy"><p class="picture-with-caption">ข้อมูลของกระทรวงการคลังที่ถูกเอามาขาย</p><p>ในสถิติของ สกมช.พบว่า 3 อันดับแรก คือ หน่วยงานด้านการศึกษามีสถิติสูงที่สุด ส่วนรองลงมาคือการเงินการธนาคาร (ถ้าตัดส่วนที่เป็นหน่วยงานรัฐอื่นๆ ที่รวมกันแล้วเป็นรองลงมา) และผู้ประกอบการเอกชนสัญชาติไทย ส่วนหน่วยงานด้านสาธารณสุขมาเป็นอันดับ 7</p><div align="left"><table><tbody><tr><td><p class="text-align-center"><strong>หน่วยงานที่ถูกโจมตี</strong></p></td><td><p class="text-align-center"><strong>ปี 2567</strong></p></td><td><p class="text-align-center"><strong>ปี 2568(ม.ค.-มี.ค.)</strong></p></td><td><p class="text-align-center"><strong>รวม 67-68</strong></p></td></tr><tr><td>การศึกษา</td><td><p class="text-align-center">555</p></td><td><p class="text-align-center">149</p></td><td><p class="text-align-center">704</p></td></tr><tr><td>หน่วยงานของรัฐ ด้านอื่นๆ</td><td><p class="text-align-center">475</p></td><td><p class="text-align-center">106</p></td><td><p class="text-align-center">581</p></td></tr><tr><td>การเงินการธนาคาร</td><td><p class="text-align-center">231</p></td><td><p class="text-align-center">105</p></td><td><p class="text-align-center">336</p></td></tr><tr><td>ผู้ประกอบการพาณิชย์ที่เป็นบริษัทเอกชน สัญชาติไทย</td><td><p class="text-align-center">183</p></td><td><p class="text-align-center">56</p></td><td><p class="text-align-center">239</p></td></tr><tr><td>พลังงานและสาธารณูปโภค</td><td><p class="text-align-center">118</p></td><td><p class="text-align-center">8</p></td><td><p class="text-align-center">126</p></td></tr><tr><td>แจ้งเตือนทุกหน่วยงานภายใต้ พ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ</td><td><p class="text-align-center">87</p></td><td><p class="text-align-center">20</p></td><td><p class="text-align-center">107</p></td></tr><tr><td>สาธารณสุข</td><td><p class="text-align-center">75</p></td><td><p class="text-align-center">32</p></td><td><p class="text-align-center">107</p></td></tr><tr><td>ความมั่นคง</td><td><p class="text-align-center">75</p></td><td><p class="text-align-center">23</p></td><td><p class="text-align-center">98</p></td></tr><tr><td>ขนส่งและโลจิสติกส์</td><td><p class="text-align-center">79</p></td><td><p class="text-align-center">13</p></td><td><p class="text-align-center">92</p></td></tr><tr><td>เทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม</td><td><p class="text-align-center">67</p></td><td><p class="text-align-center">14</p></td><td><p class="text-align-center">81</p></td></tr><tr><td>อื่นๆ</td><td><p class="text-align-center">40</p></td><td><p class="text-align-center">16</p></td><td><p class="text-align-center">56</p></td></tr><tr><td>ผู้ประกอบการพาณิชต่างประเทศที่มีที่ตั้งในประเทศไทย</td><td><p class="text-align-center">30</p></td><td><p class="text-align-center">21</p></td><td><p class="text-align-center">51</p></td></tr><tr><td>บริการภาครัฐ</td><td><p class="text-align-center">34</p></td><td><p class="text-align-center">2</p></td><td><p class="text-align-center">36</p></td></tr><tr><td>ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ระบบ หรืออุปกรณ์ทางเทคโนโลยี</td><td><p class="text-align-center">30</p></td><td><p class="text-align-center">6</p></td><td><p class="text-align-center">36</p></td></tr><tr><td>ผู้ประกอบกิจการให้เช่าพื้นที่เว็บไซต์หรือที่เป็นดาต้าเซ็นเตอร์</td><td><p class="text-align-center">13</p></td><td><p class="text-align-center">13</p></td><td><p class="text-align-center">26</p></td></tr><tr><td>ผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซ</td><td><p class="text-align-center">20</p></td><td><p class="text-align-center">1</p></td><td><p class="text-align-center">21</p></td></tr><tr><td>กลุ่มจัดตั้ง ชมรม สมาคม</td><td><p class="text-align-center">9</p></td><td><p class="text-align-center">4</p></td><td><p class="text-align-center">13</p></td></tr><tr><td>ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดีย</td><td><p class="text-align-center">9</p></td><td><p class="text-align-center">0</p></td><td><p class="text-align-center">9</p></td></tr><tr><td>เว็บไซต์ที่มีการสมาชิกหรือใช้เป็นเว็บบอร์ด</td><td><p class="text-align-center">5</p></td><td><p class="text-align-center">0</p></td><td><p class="text-align-center">5</p></td></tr><tr><td><p class="text-align-center"><strong>รวม</strong></p></td><td><p class="text-align-center"><strong>2,135</strong></p></td><td><p class="text-align-center"><strong>589</strong></p></td><td><p class="text-align-center"><strong>2,724</strong></p></td></tr></tbody></table></div><p class="picture-with-caption">หมายเหตุ - ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ปี&nbsp;2567 และ&nbsp;2568 เรียงตามลำดับของหน่วยงานที่ถูกโจมตีมากไปน้อย</p><p>นอกจากนั้นยังให้สถิติประเภทของภัยที่เกิดต่อระบบไว้ด้วย โดยจำนวนที่มีมากที่สุดคือ “ความพยายามเจาะระบบ” มีจำนวนมากที่สุดคือ 1,161 ครั้ง แต่เป็นกรณีที่ถูกบุกเจาะได้ 205 ครั้ง (ปีนี้ยังไม่มีครั้งที่สำเร็จ) และถ้าหากดูประเภทการโจมตีต่างๆ จะพบว่า นอกจาการเจาะระบบแล้วการโจมตีบางประเภทก็สามารถทำให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลได้ด้วย เช่นการหลอกลวงให้กดลิงก์เพื่อขโมยบัญชี (Fraud) หรือการถูกโจมตีด้วยโทรจันที่ทำให้อุปกรณ์ถูกผู้ที่พยายามเจาะระบบสามารถยึดเครื่องได้ตามมา</p><div align="left"><table><tbody><tr><td><p class="text-align-center"><strong>รูปแบบภัยคุกคาม</strong></p></td><td><p class="text-align-center"><strong>2567</strong></p></td><td><p class="text-align-center"><strong>2568(ม.ค.-มี.ค.)</strong></p></td><td><p class="text-align-center"><strong>รวม 67-68</strong></p></td></tr><tr><td>ความพยายามในการบุกรุก (Intrusion Attempts)</td><td><p class="text-align-center">913</p></td><td><p class="text-align-center">248</p></td><td><p class="text-align-center">1,161</p></td></tr><tr><td>การฉ้อโกง (Fraud)</td><td><p class="text-align-center">525</p></td><td><p class="text-align-center">191</p></td><td><p class="text-align-center">716</p></td></tr><tr><td>ความปลอดภัยของเนื้อหาข้อมูล (Information Content Security)</td><td><p class="text-align-center">309</p></td><td><p class="text-align-center">87</p></td><td><p class="text-align-center">396</p></td></tr><tr><td>การบุกรุกระบบ (Intrusions)</td><td><p class="text-align-center">205</p></td><td><p class="text-align-center">0</p></td><td><p class="text-align-center">205</p></td></tr><tr><td>ความพร้อมใช้งานของระบบ (Availability)</td><td><p class="text-align-center">109</p></td><td><p class="text-align-center">23</p></td><td><p class="text-align-center">132</p></td></tr><tr><td>ไวรัส โทรจัน หรือ แรนซัมแวร์ ฯลฯ (Malicious Code)</td><td><p class="text-align-center">73</p></td><td><p class="text-align-center">40</p></td><td><p class="text-align-center">113</p></td></tr><tr><td>เนื้อหาที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นภัย (Abusive Content)</td><td><p class="text-align-center">1</p></td><td><p class="text-align-center">0</p></td><td><p class="text-align-center">1</p></td></tr><tr><td><p class="text-align-center"><strong>รวม</strong></p></td><td><p class="text-align-center"><strong>2,135</strong></p></td><td><p class="text-align-center"><strong>589</strong></p></td><td><p class="text-align-center"><strong>2,724</strong></p></td></tr></tbody></table></div><p class="picture-with-caption">หมายเหตุ - ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ปี&nbsp;2567 และ&nbsp;2568</p><p>อย่างไรก็ตาม ในการเผยแพร่สถิติของ สกมช. ไม่ได้แยกข้อมูลว่าแต่ละหน่วยงานเผชิญปัญหาความปลอดภัยรูปแบบใดบ้างเอาไว้ ทำให้บอกไม่ได้ว่าหน่วยงานที่เกิดปัญหาความปลอดภัยของข้อมูลมากที่สุดถูกโจมตีระบบกี่ครั้ง</p><p>เราจะเห็นว่าการไล่ปิดเว็บขายไล่จับคนขโมยคงไม่เพียงพอในเกมแมวไล่จับหนูนี้ และแม้จะมีการวางระบบป้องกันอาจจะไม่ได้ทำให้ปัญหาข้อมูลหลุดหมดสิ้นไป แต่อย่างน้อยก็อาจพอจะลดความเสียหายลงได้บ้าง</p></div>
     <div class="node-taxonomy-container">
    <ul class="taxonomy-terms">
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่าhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87" hreflang="th">ความมั่นคhttp://prachatai.com/category/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5" hreflang="th">ไอซีทhttp://prachatai.com/category/breachforums" hreflang="th">BreachForums[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/raidforums" hreflang="th">RaidForums[/url]</li>
          <li class="taxonomy-term"><a href="http://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A" hreflang="th">เจาะระบhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A5" hreflang="th">ข้อมูลรั่วไหhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5" hreflang="th">ขายข้อมูhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%A5" hreflang="th">ข้อมูลส่วนบุคคhttp://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">อาชญากรรhttps://prachataistore.net</div>
     
 

http://prachatai.com/journal/2025/04/112536
 

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.189 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page 9 ชั่วโมงที่แล้ว