เปิดความเห็นพ้องของคนพุทธ-มุสลิมชายแดนใต้ 10 ปี Peace Survey พูดคุยสันติภาพ คือความต้องการของประชาชน
<span>เปิดความเห็นพ้องของคนพุทธ-มุสลิมชายแดนใต้ 10 ปี Peace Survey พูดคุยสันติภาพ คือความต้องการของประชาชน</span>
<div class="field field--name-field-byline field--type-text-long field--label-hidden field-item"><p>มูฮำหมัด ดือราแม</p></div>
<span><span>See Think</span></span>
<span><time datetime="2025-07-11T18:18:44+07:00" title="Friday, July 11, 2025 - 18:18">Fri, 2025-07-11 - 18:18</time>
</span>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>‘ประชาชนเชื่อมั่นสันติภาพมาก แต่กระบวนการพูดคุยกลับคืบหน้าน้อย’ เป็นส่วนหนึ่งของการประมวลผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน PEACE SURVEY 7 ครั้ง ระหว่างปี 2559 – 2566 ของเครือข่ายวิชาการ PEACE SURVEY</p><p>โดยเครือข่ายวิชาการ PEACE SURVEY รวม 25 องค์กร ได้เปิดเวทีข้อเสนอเชิงนโยบาย “โครงการขับเคลื่อนผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชนต่อกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้” ที่คณะวิทยาการอิสลามนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันอังคารที่ 8 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา</p><p>แม้การสำรวจครั้งล่าสุด (ครั้งที่ 7) ผ่านมา 2 ปีที่แล้ว แต่สถานการณ์ส่วนใหญ่ยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ยกเว้นบางเรื่องที่ก้าวหน้า เช่น การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญของรัฐสภา เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างสันติภาพ </p><p>ยิ่งรัฐบาลปัจจุบันที่ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อนโยบายสันติภาพชายแดนใต้มากนัก ทั้งที่ “ประชาชนอยากฟังข้อมูลการพูดคุยสันติภาพ/สันติสุขจากรัฐบาลมากที่สุด” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งข้อสรุปจาก PEACE SURVEY</p><p>ประกอบกับ ปัญหาต่าง ๆ ที่รุมเร้ารัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร อยู่ขณะนี้ แล้วรัฐบาลจะสนใจปัญหาและการสร้างสันติภาพได้แค่ไหน ความหวังสันติภาพของประชาชนจะมีเหมือนเดิมหรือไม่ ขณะที่ความรุนแรงและการสูญเสียยังเกิดขึ้นทุกวัน</p><p>ปัจจุบันเครือข่าย PEACE SURVEY ทำงานร่วมกันมาถึงปีที่ 10 แล้วและเตรียมสำรวจความเห็นครั้งที่ 8 เร็วๆนี้</p><h2>ประมวลข้อเสนอ 10 ปี Peace Survey</h2><p>สำหรับ PEACE SURVEY ทั้ง 7 ครั้งที่ผ่านมา รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 10,582 คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของสงขลา แยกเป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 77.10 และศาสนาพุทธร้อยละ 22.30 ซึ่งเป็นไปตามสัดส่วนประชากรในพื้นที่ และจากการสัมภาษณ์ผู้นำ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาชนกลุ่มต่าง ๆ 14 กลุ่ม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบเข้มข้น</p><p>ผศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ เป็นผู้นำการเสนอครั้งนี้ นำเสนอว่า จากการประมวลความคิดเห็นในช่วง 10 ปีของการสำรวจทั้ง 7 ครั้ง พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 62.7 รู้สึกว่าสถานการณ์เหมือนเดิม/แย่ลง แต่มีร้อยละ 33.5 ที่รู้สึกว่าสถานการณ์ดีขึ้น</p><p>จากการประมวลผลทั้งหมด แบ่งเป็น 8 ข้อเสนอ โดยแต่ละข้อเสนอมีประเด็นสำคัญๆ ดังนี้</p><h2>ชาวพุทธ-มุสลิมเห็นพ้อง “ปรึกษาหารือสาธารณะ ลงนามเอกสารสันติภาพ คุยรูปแบบการปกครอง”</h2><p>ข้อเสนอแรก คือ การลดความรุนแรงและป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีประเด็นที่ประชาชนทั้งพุทธและมุสลิมมีทั้งความเห็นที่ “เหมือนกันและต่างกัน”</p><p>โดยประเด็นที่เห็นพ้องต้องกันอย่างชัดเจน 3 ข้อ โดยมีคะแนนใกล้เคียงกันมาก ได้แก่ (1) การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในการเข้าร่วมการปรึกษาหารือสาธารณะโดยไม่ถูกภัยคุกคาม (พุทธ 3.35 คะแนน, มุสลิม 3.48 คะแนน)</p><p>(2) การให้คู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายลงนามในเอกสารการพูดคุยสันติภาพอย่างเป็นทางการ (พุทธ 3.05 คะแนน, มุสลิม 3 คะแนน) และ (3) การพูดคุยถึงรูปแบบการเมืองการปกครองที่เหมาะสมในการจัดการท้องถิ่น (พุทธ 3.05 คะแนน, มุสลิม 3.03 คะแนน)</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54646597672_4710b4315a_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><p> </p><h2>5 ข้อที่เห็นต่าง มีทั้งสิทธิความเป็นเจ้าของพื้นที่-วิสามัญฆาตกรรม และการยกเลิกกฎหมายพิเศษ</h2><p>ส่วนประเด็นที่คนพุทธและมุสลิมเห็นต่างกัน หมายถึง ชาวพุทธไม่เห็นด้วย แต่ชาวมุสลิมต้องการ ได้แก่ (1) การพูดคุยกันถึงสิทธิความเป็นเจ้าของพื้นที่ของชาวมลายูปาตานี และ (2) เจ้าหน้าที่พยายามหลีกเลี่ยงวิสามัญฆาตกรรมผู้มีความเห็นต่างจากรัฐระหว่างการปิดล้อมตรวจค้น</p><p>ส่วนอีก 3 ข้อที่เห็นต่างกันมาก คือ (3) การพักโทษนักโทษคดีความมั่นคงเพื่อสร้างบรรยากาศการพูดคุย (4) การยกเลิกกฎหมายพิเศษ (กฎอัยการศึก/พรก.ฉุกเฉินฯ/พรบ.ความมั่นคงฯ) และ (5) การลดปฏิบัติการทางทหารของทั้งสองฝ่าย</p><h2>นี่คือเจตจำนงทางการเมืองของประชาชน เป็นตัวช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง</h2><p>ผศ.ดร.ศรีสมภพ ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า จุดร่วมที่คนพุทธและมุสลิมต้องการ คือให้หลีกเลี่ยงการก่อเหตุกับเป้าหมายอ่อนแอ พลเรือนผู้บริสุทธิ์ มีคะแนนที่สูงมากจากทั้ง 2 ศาสนาและจากทุกกลุ่มอายุ ถือเป็นความรู้สึกร่วมที่ใกล้กันมาก ส่วนข้อที่ต่างกันมาก เช่น ยกเลิกกฎหมายพิเศษ หรือยกเลิกปฏิบัติการทางทหาร จึงทำให้มีปัญหากันมาก</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54647671599_3ab82f2c37_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><p>“ประเด็นต่อมา ที่ทั้งสองศาสนาเห็นด้วยว่าควรเร่งหาทางออกทางการเมือง คือการพูดคุยเรื่องรูปแบบการปกครองในพื้นที่ เช่นเดียวกับเรื่องเสรีภาพในการปรึกษาหารือโดยไม่ถูกภัยคุกคามก็มีคะแนนที่ใกล้เคียงกันมาก”</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54647671574_e37a72464d_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><p>ข้อสุดท้ายที่ทั้งสองศาสนาเห็นพ้องกัน คือการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของความรุนแรงในพื้นที่ มีคะแนนใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้น ทั้งสองฝ่ายยอมรับว่า ต้องหาข้อเท็จจริงว่าเกิดอะไรขึ้น ใครเป็นคนทำ เพื่อแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งให้ได้ นี่คือสิ่งที่จะช่วยในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54647671599_3ab82f2c37_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><p>“ดังนั้น โดยสรุป PEACE SURVEY เป็นการยืนยันเจตจำนงทางการเมืองของประชาชนที่เข้มแข็ง ประชาชนต้องการสันติภาพและสันติภาพเชิงบวกที่ต้องการได้รับการตอบสนอง เพราะฉะนั้น เจตจำนงทางการเมืองของประชาชน ชัดเจน แต่เจตจำนงทางการเมืองของรัฐยังไม่ชัดเจน” ผศ.ดร.ศรีสมภพ กล่าว</p><h2>คนรุ่นใหม่ Gen X และ Y มีความตื่นตัวมากที่สุด</h2><p>เมื่อพิจารณาแยกเป็นกลุ่มอายุ ได้แก่ ผู้ตอบที่มีอายุระหว่าง 18-25 ปี (Gen Z) กลุ่มอายุ 26-43 ปี (Gen Y) กลุ่มอายุ 44-58 (Gen X) และกลุ่มอายุ 59 ปีขึ้นไป (Gen B/Boomer) จะพบว่า คนรุ่นใหม่ ทั้ง Gen X และ Y เป็นกลุ่มที่มีความตื่นตัวในการแสดงความคิดเห็นและให้ความสำคัญกับข้อเสนอทั้ง 5 ด้านมากกว่าคนกลุ่มวัยอื่น ๆ</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54646597667_dea5bd102a_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><h2>เกินครึ่งสนับสนุนพูดคุยสันติภาพ ย้ำเป็นเจตนารมณ์ของประชาชน</h2><p>ข้อเสนอ เรื่อง สานต่อกระบวนการพูดคุยสันติภาพ/สันติสุขที่ครอบคลุมทุกฝ่าย และมีกลไกรับรองให้การพูดคุยฯ มีเสถียรภาพ<strong> </strong>นำเสนอโดย ผศ.ดร.กุสุมา กูใหญ่ ผู้อำนวยการสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์</p><p>พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 59.3 สนับสนุนการพูดคุย/เจรจาเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่มวัยสนับสนุนข้อนี้ มีเพียงร้อยละ 6-7 เท่านั้นที่ระบุว่าไม่สนับสนุน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนในพื้นที่เรียกร้องแนวทางสันติวิธีและต้องการให้กระบวนการพูดคุยสันติภาพ/สันติสุขเดินหน้าต่อ และควรมีกลไกรองรับให้การพูดคุยมีเสถียรภาพและต่อเนื่อง</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54646597712_74eda68eda_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><h2>ประชาชนเชื่อมั่นสันติภาพมาก แต่กระบวนการพูดคุยกลับคืบหน้าน้อย</h2><p>จากการสำรวจทั้ง 7 ครั้ง แสดงให้เห็นว่า ประชาชนสนับสนุนและเชื่อมั่นต่อกระบวนการพูดคุยฯ มากขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดระยะเวลา 10 ปีของกระบวนการพูดคุยฯ และยังหวังว่ากระบวนการพูดคุยจะนำไปสู่การสร้างสันติภาพในพื้นที่ได้ในอนาคต ถึงแม้ว่าความก้าวหน้าของการพูดคุยจะยังมีไม่มากก็ตาม</p><p>ผศ.ดร.กุสุมา กล่าวว่า ดังนั้น รัฐบาลควรสานต่อกระบวนการพูดคุยสันติภาพ/สันติสุขที่ครอบคลุมทุกฝ่ายอันเป็นเจตนารมณ์และความคาดหวังของประชาชน</p><p>“เรื่องนี้ประชาชนพร้อมมาก อยู่ที่ฝ่ายเกี่ยวข้องว่าจะพร้อมแค่ไหน ความเชื่อมั่นของประชาชนขยับขึ้น แต่ความคืบหน้าของการพูดคุยมีน้อยมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขอเรียกร้องว่า <strong>เสียงของประชาชนมีความหมาย ฉะนั้นการพูดคุยจึงน่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการแสวงหาทางออกที่ยั่งยืน</strong>” ผศ.ดร.กุสุมา กล่าว</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54647441871_7c18b47c8b_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><h2>รัฐสภา พื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยปัญหาความขัดแย้ง</h2><p>ส่วนกลไกทางการเมืองและกฎหมาย เพื่อให้กระบวนการพูดคุยฯมีเสถียรภาพนั้น มีข้อเสนอให้ใช้รัฐสภาเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุยปัญหาความขัดแย้ง และออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.สันติภาพชายแดนใต้ การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณากระบวนการสันติภาพชายแดนใต้ซึ่งก็มีแล้ว การยกเลิกการใช้กฎอัยการศึก และการปฏิรูประบบราชการที่มีความโปร่งใสและเป็นธรรม</p><h2>ต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม</h2><p>ข้อเสนอ เรื่อง สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม ส่วนใหญ่ตอบว่า รู้สึกปลอดภัยในการอยู่ในพื้นที่สาธารณะ เช่น ศาสนสถาน การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา สถานที่ราชการ ตลาด ร้านน้ำชา</p><p>แต่อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังรู้สึกไม่ปลอดภัยในการแสดงออกทางความคิด ไม่ว่าจะเป็นการพูดถึงขบวนการฯ การวิจารณ์ขบวนการฯ การวิจารณ์ภาครัฐ อยู่ใกล้เจ้าหน้าที่รัฐที่มีอาวุธ การชุมนุมเรียกร้องด้วยสันติวิธี และการพบปะคนแปลกหน้า</p><h2>สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เริ่มที่ชุมชน</h2><p>เมื่อพิจารณาถึงบริบทของพื้นที่ปลอดภัยดังกล่าว จำแนกได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ <strong>พื้นที่สาธารณะของประชาชนโดยทั่วไป พื้นที่ของรัฐ และ พื้นที่แสดงออกทางความคิด</strong> พบว่า ทั้งสามพื้นที่เป็นปัจจัยให้ประชาชนที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน มีความรู้สึกปลอดภัยในการอยู่ในพื้นที่เหล่านั้นแตกต่างกันด้วย คือ</p><p>พื้นที่สาธารณะต้องปลอดภัยสำหรับประชาชน คือในศาสนสถานของตัวเอง ประชาชนรู้สึกปลอดภัยที่สุด ในขณะที่ตลาด ร้านอาหาร อยู่ในระดับปานกาง ส่วนพื้นที่ของรัฐนั้นไม่ควรทำให้ประชาชนรู้สึกว่าถูกคุกคาม และ พื้นที่แสดงออกทางความคิดควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยของความเห็นต่างที่สร้างสรรค์</p><p>ในประเด็นนี้ นางสาวคนึงนิต มากชูชิต ผู้นำเสนอมีข้อเสนอว่า ถ้าจะสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เริ่มที่ชุมชน เพราะประชาชนจะรู้พื้นที่ของตัวเองดี แล้วขยายไปสู่ระดับตำบล อำเภอ โดยประชาชนมีส่วนร่วม</p><h2>เพิ่มบทบาทประชาชน สร้างการมีส่วนร่วมอย่างครอบคลุมทุกฝ่าย</h2><p>ข้อเสนอ เรื่อง เพิ่มบทบาทของประชาชน สร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างครอบคลุมทุกฝ่าย หรือ Inclusivity<strong> </strong>ส่วนใหญ่ระบุว่า เป็นเรื่องเร่งด่วนและเร่งด่วนอย่างยิ่งในเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน และการมีส่วนร่วมกับทุกฝ่าย คือประชาชนมีสิทธิและเสรีภาพในการเข้าร่วมการปรึกษาหารือสาธารณะโดยไม่ถูกภัยคุกคาม</p><p>ให้ตั้งคณะกรรมการที่ประกอบด้วยบุคคลหลายฝ่ายในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ความรุนแรง มีผู้ตอบว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนและเร่งด่วนอย่างยิ่ง รวมกันมากถึงร้อยละ 66.8</p><h2>ตั้งคณะกรรมการร่วม ฝ่ายรัฐบาล ฝ่าย BRN และภาคประชาสังคม</h2><p>ส่วนการตั้งกรรมการร่วมระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่าย BRN และภาคประชาสังคมเพื่อจัดการปรึกษาหารือสาธารณะในรูปแบบต่างๆ นั้น เห็นว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนและเร่งด่วนอย่างยิ่ง รวมกันถึงร้อยละ 52.9</p><p>นอกจากนี้ มีการให้ข้อสังเกตว่า อยากให้เยาวชนมีส่วนร่วมมากขึ้น แต่เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างไม่ครอบคลุมเด็กและเยาวชนอายุต่ำว่า 18 ปี จึงทำให้ข้อเสนอนี้ไม่ออกมา และอยากให้พี่น้องภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมมากขึ้น เนื่องจากองค์ภาคประชาสังคมมีบทบาทหลากหลายถึง 12-14 ประเด็น เช่น ด้านเด็ก ผู้หญิง สิทธิมนุษยชน กระบวนการยุติธรรม สันติภาพ โดยมีประมาณ 500 กว่าองค์กร เพราะการขยายตัวมากขึ้น</p><h2>บทบาทผู้หญิงในการสร้างสันติภาพและการเยียวยา</h2><p>ด้านบทบาทของผู้หญิงในการสร้างสันติภาพ จากการสำรวจครั้งที่ 7 ประชาชนเสนอว่า บทบาทของผู้หญิงในด้านการเยียวยาฟื้นฟูและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบควรมีเป็นอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 68.6) รองลงมาคือ การผลักดันเรื่องพื้นที่ปลอดภัย (ร้อยละ 64.3) การปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การถูกซ้อมทรมานและการเรียกร้องความยุติธรรม (ร้อยละ 57.7) และควรมีส่วนร่วมบนโต๊ะเจรจาสันติภาพ (ร้อยละ 48.2)</p><h2>ปรับโครงสร้างรัฐเน้นแก้ปัญหาด้วยมิติสันติภาพประชาธิปไตย</h2><p>ผลจากการสำรวจเชิงปริมาณดังกล่าวสอดคล้องกับผลจากการสัมภาษณ์ด้านลึก คือ ประชาชนต้องการให้ปรับโครงสร้างอำนาจรัฐจากเดิมที่ยังเน้นการแก้ไขปัญหาด้วยมิติความมั่นคงของชาติและขับเคลื่อนการแก้ปัญหาแบบรัฐราชการ มาเน้นที่มิติของการสร้างสันติภาพที่เป็นประชาธิปไตยเป็นธงนำ โดยการเปิดกว้างในการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนทุกกลุ่ม (Inclusivity)</p><h2>รูปแบบการปกครอง เลือกตั้งผู้ว่าฯ หรือเขตปกครองพิเศษ</h2><p>ข้อเสนอ เรื่อง กระจายอำนาจการปกครองมากขึ้นให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของพื้นที่ ประมวลจากกลุ่มคำถามเกี่ยวกับรูปแบบการปกครอง พบว่า ประชาชนที่อยากให้มีการปกครองแบบกระจายอำนาจมากขึ้น โดยโครงสร้างการปกครองเฉพาะพื้นที่ภายใต้กฎหมายไทย เช่น การเลือกตั้งผู้ว่าฯ หรือเขตปกครองพิเศษ (ร้อยละ 26.5)</p><p>ส่วนรูปแบบที่เป็นอิสระจากประเทศไทยนั้น มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 13.2 แต่ที่น่าสังเกตคือ มีผู้ตอบว่าไม่รู้/ขอไม่ตอบ สูงถึงร้อยละ 37.4 เนื่องจากเป็นประเด็นค่อนข้างอ่อนไหว</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54647684953_f6d5f1575e_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><h2>ยิ่งคนอายุน้อย ยิ่งสนับสนุนแนวทางกระจายอำนาจ</h2><p>นอกจากนี้ ยังพบว่า ในกลุ่มคำถามเกี่ยวกับรูปแบบการปกครองเปรียบเทียบ 4 รูแปบบนั้น ยิ่งผู้ตอบแบบสอบถามอายุน้อยก็ยิ่งสนับสนุนการกระจายอำนาจ จึงสามารถคาดการณ์ในอนาคตได้ว่า จะเป็นไปในแนวทางนี้มากขึ้น เพราะกลุ่มคนเหล่านี้จะเติบโตขึ้น ถ้ายังไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดไปเป็นอย่างอื่นเสียก่อน</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54647671604_568362de96_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><h2>ประชาชนอยากฟังข้อมูลการพูดคุยสันติภาพจากรัฐบาลมากที่สุด</h2><p>ข้อเสนอ เรื่อง พัฒนาและปรับปรุงกลไกการสื่อสาร เพื่อสร้างการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ประสานความเข้าใจระหว่างผู้คนต่างวัฒนธรรม/พื้นที่ พบว่า ร้อยละ 33.6 ไม่เคยได้ยินข่าวการพูดคุยสันติภาพ/สันติสุข ซึ่งการสื่อสารเป็นข้อท้าทายสำคัญ และการปรึกษาหารือสาธารณะเป็นกลไกการสื่อสารระหว่างคู่เจรจากับประชาชน</p><p>ฝ่ายที่ประชาชนอยากฟังข้อมูลมากที่สุดคือ รัฐบาล (ร้อยละ 55.4) รองลงมาคือ นักวิชาการ (ร้อยละ 50) และภาคประชาสังคม (ร้อยละ 49.8)</p><p>นอกจากนี้ ต้องมีการสื่อสารไปยังคนในและนอกพื้นที่ได้เข้าใจและรับรู้เท่าทันในประเด็นที่เป็นข้อตกลงหรือข้อที่ยังเป็นที่ถกถียง</p><img src="
https://live.staticflickr.com/65535/54647758885_ba6d4f271b_o.jpg" width="1280" height="720" loading="lazy"><h2>เปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ พัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้ดังกว่าความรุนแรง</h2><p>ข้อเสนอ เรื่อง พัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทุนทางสังคมและวัฒนธรรมของพื้นที่ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน</p><p>ส่วนใหญ่ตอบว่า มีรายได้ต่อเดือนประมาณ 5,001-10,000 บาท รองลงมามีรายได้ตั้งแต่ 5,000 บาทลงไปจนถึงไม่มีรายได้ รวมกว่าร้อยละ 90 สะท้อนว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อยและประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างลำบาก ทำให้นโยบายแก้ปัญหาความยากจนเป็นเหตุผลหนึ่งในการเลือก สส.เมื่อปี 2566</p><p>จากการประมวล มีข้อเสนอให้ส่งเสริมกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว กิจกรรมสร้างสรรค์คือการเปิดพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่ได้ส่งเสียงและแสดงความสามารถให้ดังกว่าเสียงแห่งความรุนแรง ใช้ฐานทุนทางสังคม วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของพื้นที่ในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์</p><h2>โอกาสทางการศึกษาและคุณภาพชีวิต ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข</h2><p>ด้านการยกระดับคุณภาพชีวิตและการศึกษา ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนในพื้นที่ยังขาดโอกาสทางการศึกษาและเป็นปัญหาหนึ่งของความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ข้อมูลจากการสำรวจครั้งที่ 7 กลุ่มตัวอย่างมองว่า ปัญหาสังคมและการขาดโอกาสในการมีคุณภาพชีวิตที่ดียังไม่ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้น การลดความรุนแรงเชิงโครงสร้าง จึงควรพิจารณาถึงมุมมองต่อสาเหตุความรุนแรงและปัญหาสังคมที่ประชาชนกำลังเผชิญอยู่</p><p>จากการสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.5 เห็นว่า ความรุนแรงในพื้นที่เกิดจากกลุ่มอิทธิพล ยาเสพติด และค้าของเถื่อน ดังนั้น แนวทางแก้ไขจึงควรให้ความสำคัญกับการขยายโอกาสทางการศึกษา ยกระดับคุณภาพการศึกษาและการแก้ปัญหาสังคม</p><h2>ส่งเสริมการเคารพสิทธิทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์</h2><p>ข้อเสนอ เรื่อง ส่งเสริมการเคารพสิทธิทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ คือการยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ ได้แก่ การแต่งกาย อาหาร ภาษา และ ประวัติศาสตร์ ข้อเสนอคือ เปิดพื้นที่ให้ประชาชนสามารถแสดงออกทางอัตลักษณ์และวัฒนธรรมของตนเองโดยไม่ถูกคุกคาม ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ข้ามวัฒนธรรม ไม่ใช่แค่การจับผู้นำศาสนาสองศาสนามาพูดคุยกันบนเวที เพื่อรักต่างศาสนา เป็นต้น</p><p>สนับสนุนการพัฒนาทักษะด้านภาษาที่มีความหลากหลาย (ภาษามลายู ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาถิ่นใต้ ฯลฯ) เพื่อการสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม แต่ก็พบว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการใช้ภาษามลายูลดลง แต่ใช้ภาษามลายูบนไทยมากขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ เนื่องหลักสูตรการศึกษาไทย และการใช้สื่อภาษาไทย</p><div class="note-box"><p><strong>เครือข่ายวิชาการ PEACE SURVEY</strong></p><p>ประกอบด้วยสถาบันวิชาการและองค์กรภาคประชาชน 25 องค์กรจากทั้งในและนอกพื้นที่ ดังนี้ </p><p>1) สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า</p><p>2) สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้</p><p>สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่</p><p>3) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่</p><p>4) ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการสื่อสารสันติภาพ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</p><p>5) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</p><p>6) คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</p><p>7) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</p><p>8) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี</p><p>9) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา</p><p>10) สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล</p><p>11) สถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยฟาฏอนี </p><p>12) สถาบันอิสลามและอาหรับศึกษา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์</p><p>13) สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่</p><p>14) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล</p><p>15) ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</p><p>16) ศูนย์ศึกษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย</p><p>17) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านผู้หญิงและความมั่นคงทางสังคม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์</p><p>18) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล</p><p>19) ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์</p><p>20) สภาประชาสังคมชายแดนใต้</p><p>21) ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ </p><p>22) ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ </p><p>23) เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพ</p><p>24) สมาคมร่วมสร้างชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา</p><p>25) วิทยาลัยประชาชน</p></div></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7" hreflang="th">ข่า
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1" hreflang="th">สังค
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">สิทธิมนุษยช
http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95" hreflang="th">คุณภาพชีวิ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8" hreflang="th">ต่างประเท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%87" hreflang="th">ความมั่นค
http://prachatai.com/category/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" hreflang="th">ชายแดนใต
http://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89" hreflang="th">จังหวัดชายแดนใต
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E" hreflang="th">กระบวนการพูดคุยสันติภา
http://prachatai.com/journal/2025/07/113679 







