“หนูเปล่านะ เขามาเอง” จับตา ‘เพื่อไทย’ แก้เกมรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ
<span>“หนูเปล่านะ เขามาเอง” จับตา ‘เพื่อไทย’ แก้เกมรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ</span>
<span><span>auser15</span></span>
<span><time datetime="2025-07-15T13:00:18+07:00" title="Tuesday, July 15, 2025 - 13:00">Tue, 2025-07-15 - 13:00</time>
</span>
<div class="field field--name-body field--type-text-with-summary field--label-hidden field-item"><p>รัฐธรรมนูญ 2560 ออกแบบระบบการเมืองให้ได้รัฐบาลผสมหลายพรรค พรรคตัวแปรหลักอย่าง ‘ภูมิใจไทย’ ออกจากการร่วมรัฐบาล ทำให้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยเผชิญ ‘เสียงปริ่มน้ำ’ จนล่าสุดต้องถอนร่างเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ออกไปก่อน เพราะเจอศึกหลายทาง การถอนร่างดังกล่าวที่บรรจุในวาระไว้แล้วต้องได้รับการโหวตเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของสภา คือ 248 เสียง ผลออกมา 253:67 เกินกึ่งหนึ่งมาเพียง 5 เสียง ซึ่งมี สส.ภูมิใจไทยโหวตสวนมติพรรคมาด้วย 3 เสียง ขณะที่ ‘ทักษิณ’ กล่าวว่ารัฐบาลยังอยู่ได้ และแก้ปัญหาแบบ ‘บริหารไป เพิ่มเสียงไป’ พร้อมร้องเพลง “หนูเปล่านะ เขามาเอง” จึงเป็นที่จับตามองอย่างมากกว่าเพื่อไทยจะเติมเสียงได้อย่างไร แค่ไหน ‘ธรรมนัส พรหมเผ่า’ และพรรคกล้าธรรมจึงเป็นที่จับอย่างยิ่งในทางการเมืองในฐานะ ‘มือประสาน 10 ทิศ’ ไม่เพียงการโหวตผ่านเรื่องสำคัญๆ ของรัฐบาลเท่านั้นที่เป็นความท้าทาย รัฐบาลเพื่อไทยยังเผชิญสถานการณ์เปราะบางยิงขึ้น เมื่อมีคดี ป.ป.ช.หลายคดีให้รอลุ้น </p><img src="
https://prachatai.com/sites/default/files/styles/super_cover_upload/public/files-super-cover-upload/2025/2025-07/ccove.jpg.webp?itok=HpVhmnvc" width="1400" height="700" loading="lazy"><p>ใจหายใจคว่ำกันไปสำหรับพรรครัฐบาล เพราะการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 9 ก.ค.2568 เจอเกมฝ่ายค้านนำโดย พรรคภูมิใจไทยและพรรคประชาชน ชงให้อภิปราย ก่อนถอนร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. …. (เอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์) ออกจากระเบียบวาระการประชุม</p><p>ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ลุกขึ้นอภิปรายถามหาเหตุผลของการถอนร่างดังกล่าว เพราะรัฐบาลเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้มีปัญหาจริงๆ หรือ เป็นเพราะว่ารัฐบาลกลัวว่าวันนี้เสียงรัฐบาลไม่พอและจะถูกโหวตคว่ำในสภาฯ จึงอยากจะขอฟังเหตุผล ตัวแทนจากทางคณะรัฐมนตรีว่าวันนี้ถอนด้วยเหตุผลอะไร</p><p>“ต้องการถอนร่างกฎหมายฉบับนี้ เพราะเล็งเห็นถึงเหตุผลนั้นจริงๆ ต้องรับปากกับพวกเราว่ารัฐมนตรีวันนี้ถอนร่างนี้ออกไปแล้ว ไม่เสนอร่างนี้กลับเข้ามาอีก อย่างน้อยๆ จนกว่าจะมีการศึกษากฎหมายฉบับนี้อย่างดีเพียงพอ” หัวหน้าพรรคประชาชน กล่าว</p><p>แม้จะเจอการอภิปรายจาก สส.พรรคภูมิใจไทย ภราดร ปริศนานันทกุล แต่จนแล้วจนรอด รัฐบาลก็สามารถ ‘ถอน’ ออกร่างกฎหมายออกมาได้สำเร็จ ด้วยคะแนนเสียง 253 ต่อ 67 เสียง ฉิวเฉียดเกินกึ่งหนึ่งจำนวน 248 เสียงมาเพียงนิดเดียว หรือ 5 เสียงเท่านั้น</p><p>แม้ว่าร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร จะจบลงไปแล้ว แต่สิ่งที่น่าสนใจที่สะท้อนผ่านการลงมติครั้งนั้นคือ เสียงรัฐบาลที่ยังคง ‘ปริ่มน้ำ’ หลังจากพรรคภูมิใจไทยขอย้ายข้างไปอยู่ฝ่ายค้าน ทำให้โจทย์ของรัฐบาลตอนนี้อาจจะเป็นการหาเสียงมาเติม เพื่อให้การทำงานผลักดันร่างกฎหมายทำได้สะดวกโยธิน ไม่ต้องให้รัฐมนตรีย้ายกระทรวงมาทำงานที่รัฐสภา มีพื้นที่หายใจหายคอ ประคองนาวารัฐบาลให้ได้จนหมดวาระ
โดยมีกระแสข่าวบอกว่า เป้าหมายอยู่ที่ 270 เสียง </p><p>ย้อนไปในช่วงการยกมือโหวตถอนร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร ก็มี สส.จากพรรคอื่นมาร่วมยกมือให้ และที่น่าจับตามองคือมี สส.พรรคภูมิใจไทย 3 คนสวนมติพรรค โหวตสนับสนุนรัฐบาล ซึ่งเป็นการแตกแถวครั้งแรกของพรรคอีกด้วย</p><p>ทั้งนี้ สส.พรรคภูมิใจไทย ที่มาร่วมโหวตสนับสนุนให้ถอนร่าง พ.ร.บ.สถานบันเทิงครบวงจร ประกอบด้วย</p><p>1. ชูกัน กุลวงษา สส.นครพนม</p><p>2. ประภา เฮงไพบูลย์ สส.กาฬสินธุ์</p><p>3. อรอุมา บุญศิริ สส.บึงกาฬ</p><p>ขณะที่หลังการโหวต
ไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่าการลงมติเป็นเอกสิทธิ์ของ สส. แต่ยังไม่ได้คุยกับทั้ง 3 คนเรื่องจุดยืน ซึ่งตอนนี้ยังไม่ถึงขั้นเรียกว่า ‘งูเห่า’</p><p>ทั้งนี้ นอกจากรายชื่อของ 3 สส.พรรคภูมิใจไทย ก็ยังมี สส.จากพรรคอื่นๆ มาร่วมโหวต ประกอบด้วย</p><ul><li aria-level="1">กฤษฎิ์ ชีวะธรรมานนท์ สส.ชลบุรี ที่ตัวอยู่พรรคประชาชน แต่ใจไปที่พรรคกล้าธรรมแล้ว</li><li aria-level="1">สส.พรรคไทยสร้างไทย ประกอบด้วย ฐากร ตัณฑสิทธิ์ สส.บัญชีรายชื่อ และ สุภาพร สลับศรี สส.ยโสธร</li><li aria-level="1">
ไชยามพวาน มั่นเพียรจิตต์ สส.กทม. พรรคไทยก้าวหน้า แต่ว่าเมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา สำนักข่าวไทยรัฐจับภาพได้ว่า สส.ไชยามพวาน ก็ได้มาปรากฏตัวในงานสัมมนาของพรรคกล้าธรรม ที่ จ.ชลบุรี </li></ul><h2>คณิตศาสตร์การเมือง เสียงรัฐบาลมีเท่าไร</h2><p>เข้าสู่คาบเรียนคณิตศาสตร์การเมืองอีกครั้ง แท้จริงรัฐบาลมีเสียงในมือเท่าไร อ้างอิงจากรายงาน
สำนักข่าวเนชั่น เมื่อวันที่ 12 ก.ค.2568 ประเมินว่า รัฐบาลมีเสียงในมือทั้งหมด 262 เสียง จาก สส. ในสภาฯ ทั้งหมด 495 คน โดยเสียงกึ่งหนึ่งอยู่ที่ 248 เสียง</p><p><strong>พรรครัฐบาล 12 พรรค จำนวน 262 เสียง ประกอบด้วย</strong></p><ul><li aria-level="1">พรรคเพื่อไทย 142 เสียง</li><li aria-level="1">พรรครวมไทยสร้างชาติ 36 เสียง (แบ่งเป็นก๊กพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค และสุชาติ ชมกลิ่น คนละ 18 เสียง)</li><li aria-level="1">พรรคกล้าธรรม 27 เสียง (++ ที่ต้องบวกเพราะว่ายังมี สส.ที่ยังต้องอยู่พรรคเดิม แต่ใจย้ายมาที่พรรคกล้าธรรม)</li><li aria-level="1">พรรคประชาธิปัตย์ 25 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคชาติไทยพัฒนา 10 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคประชาชาติ 9 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคไทยสร้างไทย 5 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคชาติพัฒนา 3 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคเสรีรวมไทย 1 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคไทยรวมพลัง 2 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคไทยก้าวหน้า 1 เสียง</li></ul><p><strong>พรรคฝ่ายค้าน 5 พรรค 233 เสียง ประกอบด้วย</strong></p><ul><li aria-level="1">พรรคประชาชน 143 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคภูมิใจไทย 69 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคไทยสร้างไทย 1 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคเป็นธรรม 1 เสียง</li><li aria-level="1">พรรคพลังประชารัฐ 19 เสียง</li></ul><h2>องค์กรอิสระอาจเขย่าเสถียรภาพรัฐบาล</h2><p>เสียง สส.ของฝ่ายพรรครัฐบาลเกินเสียงกึ่งหนึ่งมาเพียง 14 เสียงเท่านั้น ทำให้สถานการณ์ที่เป็นตอนนี้ไม่ค่อยน่าไว้วางใจมากเท่าไรนัก ไม่รู้ว่าจะทำงานยังไง และมากกว่านั้นอีกดาบหนึ่งที่รอง้างอยู่คือคดีที่ สส.พรรครัฐบาล ถูกดำเนินคดีอยู่ในองค์กรอิสระ โดยเฉพาะคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)</p><p><strong>พรรคเพื่อไทย</strong></p><ul><li aria-level="1">คดีมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญงบภัยแล้ง‑ฝนทิ้งช่วง ปี 2568</li></ul><p>ป.ป.ช.มีมติรับไต่สวนแล้ว กรณีประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ถูกกล่าวหาว่า ในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มีการจัดสรรงบประมาณแก้ไขปัญหาภัยแล้งวงเงินราว 51,584 ล้านบาท ให้ สส.เพื่อไทยดำเนินโครงการในพื้นที่คนละ 50 ล้านบาท เป็นการขัดต่อมาตรา 144 ของรัฐธรรมนูญ โดยมีการระบุถึงชื่อของ สส.เพื่อไทยบางราย เช่น สาโรจน์ หงษ์ชูเวช และพิษณุ หัตถสงเคราะห์ อดีต ส.ส.ของพรรคเพื่อไทย รวมถึง อนันต์ แก้วกำเนิด ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อย่างไรก็ตาม
เจ้าตัวยืนยันว่าไม่ได้มีการแปรญัตติเพื่อเอื้อให้เอาไปลงพื้นที่ สส.ของพรรค และยังให้หน่วยงานต่างๆ
ใส่ข้อมูลเข้าไปในระบบไทยวอเตอร์แพลน และนำข้อมูลไปคณะกรรมการระดับจังหวัดพิจารณาต่ออีกทีตามกระบวนการ</p><p>หลัง ป.ป.ช.รับเรื่อง ทางสำนักงบประมาณมีคำสั่งด่วนแจ้งไปถึงนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)
ให้ถอนเรื่องโครงการบริหารจัดการน้ำเพื่อรับมือภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงปี 2568 ไปเมื่อ 12 มิ.ย.2568</p><p><strong>คดีโดนหลายพรรค</strong></p><ul><li aria-level="1">มาตรา 144 ย้ายงบไปแจกเงินหมื่น</li></ul><p>นอกจากคดีที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคโดนเล่นงานกันมากมายแล้ว ยังมีคดีใหญ่อีก 1 คดีที่อาจกระทบต่อทั้ง สส.และ สว. คือคดีที่ตั้งเรื่องมาจาก
ชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับคณะที่มี สมชาย แสวงการ อดีต สว., นิติธร ล้ำเหลือ หรือทนายนกเขา และเจษฎ์ โทณะวณิก อดีตที่ปรึกษากรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ ไปยื่นร้องเรื่องจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 จากส่วนที่จะต้องนำไปใช้หนี้ให้กับ 5 ธนาคารตามมาตรา 28 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐไปใช้กับโครงการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาทของรัฐบาล</p><p>คำร้องดังกล่าวได้ขอให้ ป.ป.ช.ไต่สวนย้อนไปตั้งแต่ ครม.เศรษฐา และแพทองธาร และยังรวมถึงคณะกรรมาธิการงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2568 สส. และ สว. ที่ลงมติให้ตัดงบ 35,000 ล้านบาทไปเข้าโครงการ</p><ul><li aria-level="1">คดี 44 สส. + 2 ข้าราชการ แจกกล้วยซื้องูเห่า</li></ul><p>คดีที่เริ่มตั้งแต่ปี 2565 แต่ในช่วงเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ป.ป.ช.มีมติตั้งคณะกรรมการไต่สวนกรณีนี้ ตามที่ปรากฏในรายงานข่าวมีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีมากถึง 131 คน แต่มีการเปิดเผยชื่อบุคคลที่เป็นทั้งอดีต สส. และ สส.ในปัจจุบันรวม 44 คน แต่เมื่อตรวจสอบรายชื่อแล้วมีเพียง 12 คนที่ยังเหลือเป็น สส.ในขณะนี้ ซึ่งปัจจุบันกระจายอยู่ตามพรรคต่างๆ ตามรายชื่อด้านล่าง</p><p><strong>พรรคกล้าธรรม</strong></p><ol><li aria-level="1">ภาคภูมิ บูลย์ประมุข เดิมอยู่ พรรคพลังประชารัฐ</li><li aria-level="1">จีรเดช ศรีวิราช เดิมอยู่ พรรคเศรษฐกิจไทย</li><li aria-level="1">สะถิระ เผือกประพันธุ์ เดิมอยู่ พรรคเศรษฐกิจไทย</li><li aria-level="1">เอกราช ช่างเหลา เดิมอยู่ ภูมิใจไทย</li></ol><p><strong>พลังประชารัฐ</strong></p><ol><li aria-level="1">จักรัตน์ พั้วช่วย</li><li aria-level="1">โชติวุฒิ ธนาคมานุสรณ์</li></ol><p><strong>รวมไทยสร้างชาติ</strong></p><ol><li aria-level="1">ศาสตรา ศรีปาน เดิมอยู่ พรรคพลังประชารัฐ</li><li aria-level="1">วัชระ ยาวอหะซัน</li></ol><p><strong>พรรคเพื่อไทย</strong></p><ol><li aria-level="1">เชิงชาย ชาลีรินทร์ เดิมอยู่ พรรคพลังประชารัฐ</li><li aria-level="1">นิคม บุญวิเศษ เดิมอยู่ พรรคพลังปวงชนไทย</li></ol><p><strong>พรรคภูมิใจไทย</strong></p><ol><li aria-level="1">สัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ เดิมอยู่ พรรคพลังประชารัฐ</li></ol><p><strong>พรรคประชาธิปไตยใหม่</strong></p><ol><li aria-level="1">สุรทิน พิจารณ์ ยังอยู่กับพรรคประชาธิปไตยใหม่</li></ol><p>คดีทั้งหมดยังคงต้องจับตากันต่อ หาก ป.ป.ช.ชี้ว่ามีมูล เรื่องก็จะถูกส่งไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อวินิจฉัยต่อไป ซึ่งก็อาจจะนำมาสู่การประหารชีวิตทางการเมือง สส.อีกรายหลาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องย้ำว่าทั้งหมดนี้เป็นปัญหาที่มีต้นตอมาจากรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เปิดช่องให้อำนาจองค์กรอิสระสามารถประหารชีวิตทางการเมืองของ สส.ได้</p><div class="more-story"><p><strong>เรื่องที่เกี่ยวข้อง</strong></p><ul><li>
รวมคดีพรรคการเมือง
เสถียรภาพการเมืองไทย ในมือศาล-องค์กรอิสระ</li></ul></div><h2>‘ทักษิณ’ เปรยแก้สถานการณ์ ‘บริหารไป เพิ่มเสียงไป’</h2><p>ภายใต้สภาวะที่ไม่มั่นคงของรัฐบาล
ทักษิณ ชินวัตร หัวเรือใหญ่ของพรรคเพื่อไทย ก็ได้พูดในรายการ 55 ปีเครือเนชั่น เมื่อ 9 ก.ค.2568 ในบางช่วงบางตอนว่าจะใช้วิธี “ก็บริหารและก็เพิ่มคนไป” แต่ว่าจะเพิ่มคนด้วยวิธีการไหนนั้น ไม่ได้มีการเอ่ยถึง</p><p>“เดี๋ยวก็ต้องร้องเพลง หนูเปล่านะ เขามาเอง และพวกเราเป็นเบิร์ด (ธงไชย แมคอินไตย์) รักทุกๆ คน” ทักษิณ กล่าวติดตลก</p><p>ทักษิณ กล่าวต่อว่า เขาประเมินอยู่แล้วว่าถ้าพรรคภูมิใจไทยออก รัฐบาลจะเจอสถานการณ์ยุ่งยาก แต่เดิมรัฐบาลไม่ได้อยากให้ภูมิใจไทยออกจากพรรคร่วม แต่พรรคภูมิใจไทยเขาออกเอง พยายามเสนอกระทรวงใหม่แล้ว เขาก็ไม่เอา สำหรับเหตุผลการแตกหักครั้งนี้ทักษิณระบุว่า รัฐบาลเพื่อไทยต้องมีผลงานเพราะชอบสู้ด้วยนโยบาย แต่ผลักแล้วตันที่กระทรวงมหาดไทย เช่น ยาเสพติด ปัญหาหนี้ บ้านเพื่อคนไทย ล้วนต้องอาศัยกลไกมหาดไทยทั้งสิ้น จึงขอกระทรวงมหาดไทยคืน</p><p>ส่วนพรรคเพื่อไทยจะจับมือกับภูมิใจไทยรอบที่ 3 หรือไม่ อดีตนายกฯ เผยว่า “การเมืองไทยมันไม่มีมิตรแท้ และศัตรูถาวร” เนื่องจากการเมืองออกแบบมาให้เป็นแบบนี้ ไม่สามารถตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้อีกต่อไป เขาเน้นย้ำว่านี่เป็นกติกาการออกแบบการเมืองที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่ทหารทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 เพราะสูตรคณิตศาสตร์ไม่สามารถตั้งรัฐบาลแบบพรรคเดียวได้ เมื่อไรถ้าคณิตศาสตร์มีความจำเป็น ก็ต้องกลืนเลือดกันสัก 3-4 ปี๊บ</p><p>ส่วนพรรคเพื่อไทยจะไปร่วมกับพรรคประชาชนหรือไม่ ทักษิณ วิเคราะห์ว่า ในวันนี้ยังไม่มีความจำเป็น แต่ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นศัตรูกับพรรคใดพรรคหนึ่ง แต่การทำงานกับใคร ต้องดูว่าเราไปด้วยกันได้ อย่างน้อยนโยบายหลักต้องไม่ขัดกัน โดยเฉพาะเรื่องสถาบันกษัตริย์ เพราะเขาได้รับพระเมตตาสูงสุด ดังนั้น เขาจะไม่ทำงานกับใครที่จะไปทำอะไรที่กระทบกับสถาบันฯ</p><p>เมื่อพิธีกรรายการ 55 ปี เนชั่น ถามว่า ตอนนี้พรรคประชาชนไม่ได้มีนโยบายเกี่ยวกับมาตรา 112 แสดงว่าร่วมงานกันได้แล้วใช่หรือไม่ ทักษิณ บอกว่า “ไม่ทราบ ไม่ได้คุยกันเลย”</p><p>ต่อประเด็นที่พิธีกรชวนวิเคราะห์ว่าโอกาสที่พรรคภูมิใจไทย และพรรคประชาชน จะร่วมมือกันได้มีหรือไม่ อดีตนายกฯ ประเมินว่าสามารถจับกันได้อย่างหลวมๆ เพราะว่าเป็นปลาคนละน้ำ</p><p>อดีตนายกฯ ย้ำว่าพรรครัฐบาลยังไม่มีปัญหา สามารถทำงานร่วมกันได้ แต่ต้องช่วยกันอุ้ม ไม่โดดสภาฯ กัน แล้วที่เหลือคือ “หนูเปล่านะเขามาเอง”</p><p>นอกจากนี้ ทักษิณ ประเมินฉากทัศน์ทางการเมืองไทยมีด้วยกัน 3 ออปชัน คือ ถ้ากรณีนายกฯ แพทองธาร ชินวัตร รอดจากศาลรัฐธรรมนูญ ก็อยู่ยาวแน่นอน พร้อมดันนโยบายทั้งหมดที่มีอยู่ แต่ถ้าสมมติว่าไม่รอด ก็มีทางเลือก 2 อย่าง ก็จะให้ชัยเกษม นิติสิริ แคนดิเดตนายกฯ พรรคเพื่อไทย ขึ้นมาเป็นนายกฯ หรือไม่ก็ยุบสภาฯ </p><h2>มือประสาน 10 ทิศว่ายังไง</h2><p>เวลาที่บอกว่า “บริหารไป เพิ่มเสียงไป” หลายคนคงจับตาดูความเคลื่อนไหวของพรรคกล้าธรรม ซึ่งมี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ประธานที่ปรึกษาพรรคกล้าธรรม และเจ้าของฉายา “มือประสาน 10 ทิศ” ว่าจะหาเสียงมาเติมให้รัฐบาลได้มากน้อยขนาดไหน เพราะก่อนหน้านี้ก็เอา สส.จากหลายๆ พรรคฝ่ายค้าน ทั้งพรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาชน พรรคไทยสร้างไทย และอื่นๆ เข้ามาร่วมรัฐบาลมาแล้ว</p><p>เมื่อ 12 ก.ค.ที่ผ่านมา
ธรรมนัส นำทีมพรรคกล้าธรรม ร่วมสัมมนาใหญ่ของพรรคฯ ที่พัทยา จ.ชลบุรี ให้สัมภาษณ์กับสื่อปฏิเสธการดึงเสียง 3 สส.พรรคภูมิใจไทยมาโหวตให้รัฐบาลในการถอนร่างกฎหมายเอ็นเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ โดยกล่าวว่าเป็นเอกสิทธิ์ของ สส.ที่จะโหวต และย้ำว่าปัญหาเสียงปริ่มน้ำตอนนี้เป็นเวลาที่ สส.พรรครัฐบาลต้องสามัคคีกัน</p><p>
ไผ่ ลิกค์ เลขาธิการพรรคกล้าธรรม และอดีต สส.พรรคพลังประชารัฐ ให้สัมภาษณ์เมื่อ 12 ก.ค. 2568 เผยว่าตอนนี้ยังไง สส.พรรครัฐบาลเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง และการทำงานของรัฐมนตรีต้องเข้ามาที่สภาฯ มากขึ้น อย่างไรก็ดี เจ้าตัวยังไม่ยอมเผยว่าตอนนี้เสียง สส.ของรัฐบาลมีในมือเท่าไร แต่เชื่อว่าจะสามารถฝ่าสถานการณ์เสียงปริ่มน้ำไปได้ อย่างที่เคยทำในสมัยรัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา</p><p>“เราเคยเสียงปริ่มมากกว่านี้เราก็ผ่านมาแล้ว ตรงนี้ได้คุยกับเพื่อนๆ พี่ๆ สส.จากพรรคเพื่อไทย พรรครวมไทยสร้างชาติ จากพรรคที่ร่วมกับเราทั้งหมด เรารู้สึกอบอุ่นมากกว่าเดิม การพูดคุยชัดเจนกว่าเดิมเยอะ” ไผ่ ลิกค์ กล่าว</p><p>เลขาฯ พรรคกล้าธรรม ยังกล่าวด้วยว่า เนื่องด้วยระยะเวลาที่จะมีการเลือกตั้งอีก 1 ปีครึ่ง หรือ 2 ปี เดี๋ยวจะมี สส.ไหลเข้ามาอีก ไม่ต้องไปหา สส.เพิ่มเลย เพราะว่าช่วงก่อนหาเสียงเลือกตั้ง ทุกคนอยากมีงบประมาณ หรือโครงการต่างๆ ลงไปในพื้นที่ แก้ปัญหาให้ประชาชน</p><p>ส่วนข้อครหาว่าพรรคกล้าธรรมจะกลายเป็น ‘รังงูเห่า’ หรือเป็นผู้ข่วยพรรคเพื่อไทยในการเติมเสียงนั้น ไผ่ มองว่า สส.ทุกคนอยากมาร่วมงานกับพรรคกล้าธรรม เพราะว่าใครๆ มองเข้ามาก็เห็นบ้านอบอุ่น ทำงานแบบครอบครัว แต่เวลาเราออกไปต่อสู้ให้ประชาชน เราทำเต็มที่ ใครมองเข้ามาก็เห็น และได้อยู่บ้านที่สามารถตอบสนองให้ประชาชน</p><p>ฟังท่วงทำนองการให้สัมภาษณ์ของ ‘ไผ่’ ก็ได้แต่ร้องว่า ‘หนูเปล่านะ เขามาเอง’</p><p>ต้องจับตาดูกันต่อว่าพรรคเพื่อไทยจะแก้ไขปัญหาเสียงปริ่มน้ำอย่างไร กลับไปจับมือพรรคภูมิใจไทยอีกคำรบหนึ่ง จับมือกับพรรคประชาชนแล้วยอมรับเงื่อนไข 7 ข้อ เพื่อให้สุดท้ายนำไปสู่การยุบสภาฯ หรือหาเสียง สส.มาเพิ่มให้รัฐบาลจากพรรคฝ่ายค้าน เพื่อประคองรัฐนาวาไปจนถึงเลือกตั้งครั้งหน้า ซึ่งไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็วขนาดไหน </p></div>
<div class="node-taxonomy-container">
<ul class="taxonomy-terms">
<li class="taxonomy-term"><a href="
http://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9" hreflang="th">รายงานพิเศ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87" hreflang="th">การเมือ
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">พรรคเพื่อไท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93-%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3" hreflang="th">ทักษิณ ชินวัต
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1" hreflang="th">พรรคกล้าธรร
http://prachatai.com/category/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%AA-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2" hreflang="th">ธรรมนัส พรหมเผ่
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2" hreflang="th">พรรคภูมิใจไท
http://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B8%A5" hreflang="th">อนุทิน ชาญวีรกู
http://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99" hreflang="th">พรรคประชาช
http://prachatai.com/journal/2025/07/113732 







