[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
07 กรกฎาคม 2568 10:42:31 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ความทรงจำนอกมิติ : สไปรัลไดนามิกส์ก็เป็นวิวัฒนาการของจิต  (อ่าน 1843 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มดเอ๊ก
สุขใจ คนพิเศษ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +8/-1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 5162


ระบบปฏิบัติการ:
Windows XP Windows XP
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 7.0 MS Internet Explorer 7.0


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 17 มิถุนายน 2553 20:46:52 »




นักการศึกษานักวิชาการชาวตะวันตกอาจเพิ่งตระหนักว่าตนมัวเมาอยู่กับทฤษฎีทางจิตวิทยาพฤติกรรมศาสตร์ของฟรอยด์


ที่ตั้งบนหลักการทางกายภาพสองประการ - ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องของจิตวิวัฒนาการแท้ๆ - คือวัตถุกับแยกส่วน ดังนั้น ฟรอยด์จึงมีส่วนอย่างสำคัญในการสรรค์สร้างจิตวิทยาที่ทำให้จิตกลายเป็นส่วนของกายเป็นส่วนของสมอง จิตวิทยาที่เน้นความแปลกแยกแตกต่างระหว่างสังคม พร้อมๆ กับตอกย้ำพฤติกรรมของกามกิเลสว่าเป็นนอร์มของมนุษย์ ที่ในเวลาต่อมานำความรู้ที่ขาดตกบกพร่องมาผลิตสร้างระบบและรูปแบบของสังคม โดยเฉพาะด้านการศึกษาที่สร้างจิตวิทยาทางการเมืองจนเกิดพฤติกรรมของมนุษย์และสังคมให้เห็นแก่ตัวจนผิดธรรมชาติจนพิกลพิการ - ที่มีผลต่อไปอีกที - ในการก่อวิกฤติและปัญหานานัปการให้กับสังคมโลก โดยเฉพาะกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติดังที่เรากำลังประสบพบกับผลพวงของมันอยู่ในปัจจุบันนี้ - โดยไม่รู้ตัว

เมื่อจิตเป็นผลผลิตของวัตถุของสมอง เมื่อทุกสิ่งแปลกต่าง - ต่างคนต่างอยู่ - วิธีคิดกับการคิดของนักวิชาการเท่าที่ผ่านมาส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องของความพยายามทำเรื่องของจิตให้เป็นกายให้ได้ พยายามเอาอายตนะทางกายภายนอกไปจับไปอธิบายเรื่องของจิตวิญญาณให้ได้ - ด้วยการอาศัยหลักการและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์คลาสสิก ที่ไม่รู้ว่าเป็นคลาสสิกที่ตรงไหน? - ตรงใช้จิตของมนุษย์ตัดสินธรรมชาติทั้งหมดกระนั้นหรือ? หรือว่าเพราะมนุษย์มีภาษาและพูดได้? หรือว่าตาและหูของมมุษย์คือเครื่องมือที่ถ่ายทอดความจริงแท้ให้มนุษย์เท่านั้นรับรู้? หรือเพราะกรอบของวัฒนธรรมกรอบของศาสนาที่ครอบงำความคิดของนักวิทยาศาสตร์ ที่จริงๆ แล้ว บางที่อาจจะเป็นผลของการแปลพระวาจา หรือการเปิดเผยของสวรรค์บนความรู้ความเข้าใจของผู้แปลในเวลานั้น จนทำให้คำแปลขาดความสมบูรณ์? ดังนั้นการที่พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์เช่นภาพลักษณ์ (image) ของพระองค์นั้น แม้ที่จริงอาจไม่ใช่เป็นภาพทางกายหากเป็นจิตเป็นสาระที่อยู่ภายในก็ได้? หรือบางทีที่คิดว่าสวรรค์บัญชาให้มนุษย์ครอบครองและเป็นเจ้าของ (dominion) ธรรมชาติ อาจไม่ได้เป็นเรื่องของการทำลายหรือทำอย่างไรก็ได้ตามใจชอบ หากเป็นเรื่องของหน้าที่ของการดูแลปกป้องธรรมชาติก็ได้?


ดังนั้นเองงานค้นคว้าวิจัยในเรื่องต่างๆ ของนักวิชาการ แม้แต่เรื่องวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ฟิสิกส์แควนตัมเมคานิกส์เองที่พิสูจน์ความจริงทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างสมบูรณ์ยิ่ง แต่พอมาพบว่าความจริงทางแควนตัมนั้นเกิดไปสอดคล้องแนบขนานกับกระบวนการทางจิตเป็นอย่างยิ่ง นักวิชาการส่วนหนึ่งที่ติดวัตถุและแยกส่วนที่รับเรื่องจิตวิญญาณไม่ได้ก็พยายามทำให้มันเป็นเรื่องของกายทั้งหมดให้ได้ นักการศึกษาที่ศึกษาเรื่องของการจัดกลุ่มปัญญา (intelligent) ส่วนใหญ่ก็เช่นเดียวกันที่ติดวัตถุ ที่หากนักวิชาการเหล่านี้วิพากษ์จิตด้วยปรัชญาที่ต่อยอดบนฟิสิกส์แห่งยุคใหม่และบนวิทยาศาสตร์แห่งจิตวิญญาณบ้างก็จะสามารถมองเห็นได้ว่า ที่มาและกระบวนการสู่การรู้ (ontology and epistemology) ของปัญญาที่มีหลากหลายนั้นน่าจะมาจากจิตไร้สำนึกนอกสมองหรือจากจิตร่วมของจักรวาลที่เข้ามาทำงานในสมองมนุษย์ แต่กระนั้นนักวิชาการก็พยายามอธิบายให้เป็นวิวัฒนาการโผล่ปรากฏในทางกายภาพทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการอธิบายพหุปัญญาโดยเฮาวาร์ด การ์ดเนอร์ หรือปัญญาแห่งอารมณ์ของแดเนียล โคลแมน หรือแม้แต่การอธิบายจิตปัญญาสามหน้าของอีเลน เดอ โบพอร์ต เองที่พูดถึงจิตทั้งหมดแต่ก็อดไม่ได้ที่เอากายเข้าไปจับ

และทุกวันนี้ ทฤษฎีสไปรัลไดนามิกส์ (spiral dynamics) ที่มีแหล่งที่มาจากหลักการและกระบวนการโผล่ปรากฏที่เป็นวัฎจักรธรรมชาติ และเป็นเรื่องของจิตวิวัฒนาการที่แสดงด้วยรูปแบบก้นหอย (torus) เช่นพายุหมุนหรือวังน้ำวน (vortices and whirl pools) ที่เป็นกระบวนการของระบบธรรมชาติทั้งหมดนี้ ซึ่งก็คือรูปแบบพื้นฐานของวัฏสงสารนั้นเอง ทุกวันนี้มีนักวิชาการนำทฤษฎีนี้มาประยุกต์ใช้อธิบายกระบวนการของวัฒนธรรมหรือคุณค่าสังคม - ที่แม้จะมีเรื่องของจิตไร้สำนึกก่อประกอบเป็นเนื้อใน และมีนักปรัชญาสายจิตวิญญาณหรือนักวิทยาศาสตร์ทางจิตอธิบายไปในด้านของจิตที่อาจดูสอดคล้องกับอภิปรัชญาของศาสนาที่อุบัติจากทางตะวันออกเช่นศาสนาพุทธของเราอยู่บ้าง - แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์อีกฝ่ายหนึ่งพยายามอธิบายสไปรัลไดนามิกส์ในเชิงวิวัฒนาการของสังคม ให้มันเป็นเรื่องของกายเฉกเช่นเดียวกัน เหมือนกับความพยายามที่จะอธิบายวิวัฒนาการของปัญญาที่มีอยู่หลากหลายให้เป็นเรื่องของอุบัติการโผล่ปรากฏของการทำงานที่ซับซ้อนในสมองที่ซับซ้อนของมนุษย์ (epiphenomenon)

ในปี 1976 ริชาด ดอว์กินส์ นักชีวิทยาศาสตร์ที่สนใจด้านชีววิวัฒนาการได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่ง (Richard Dawkins ; The Selfish Genes, 1976) ได้บัญญัติคำว่า "มีมส์" (memes) ขึ้นมาใช้อธิบายวิวัฒนาการของสังคมปัจจุบัน ที่เป็นพหุสังคม มีมส์ก็เหมือนกับยีนที่กำหนดพันธุกรรมในทางชีววิทยา แต่ในกรณีนี้เป็นประหนึ่งเมล็ดพันธุ์ทางวัฒนธรรมที่แพร่ความคิดหรือรูปแบบใหม่หนึ่งใดที่จะไปเปลี่ยนค่านิยมเดิมให้เป็นค่านิยมใหม่หรือสรรค์สร้างวัฒนธรรมใหม่ "หน่วยใหม่" ขึ้นมาแทนวัฒนธรรมเดิม (units of cultural transmission) แต่จะคงคุณสมบัติเดิมเอาไว้ในพื้นฐานของรูปแบบใหม่ ดอว์กินส์ได้ยกตัวอย่างการแพร่ระบาดของปรสิตที่ฝังเอาไว้ในสมองของคนผู้หนึ่งแล้วคอยเวลาให้คนหรือพาหะนำตัวปรสิตหรือเชื้อโรคแพร่ระบาดสู่สมองของคนอื่นๆ ต่อไป หรือยกตัวอย่างของยีนในระดับที่เราสามารถเห็นกันได้ง่ายๆ เป็นต้นว่าเรื่องของเพลง การละเล่นและกีฬา หรือรูปแบบของเสื้อผ้า • สายเดี่ยวเกาะอกหรือไมโครสเกิร์ต หรือไล่ไปถึงความคิดและอุดมการณ์ที่กลายเป็นค่านิยมหรือคุณค่าทางสังคมในเวลาหนึ่งใดนั้นๆ

แต่นั่นจะต้องอาศัยเครื่องมือหรือตัวช่วยที่จะเร่งเร้าให้มีมส์ ซึ่งเครื่องมือที่ว่าก็ไม่ได้แตกต่าง • โดยหลักการ • ไปจากตัวดึงดูดหรือตัวแอ็ตแทร็กเตอร์ที่ต้องอาศัยตัวแปรเร่งปฏิกิริยาให้การจัดองค์กรสำเร็จได้เร็วขึ้น หรือเป็นไปในทางที่สังคมปรารถนา มีมส์จึงขึ้นต่อตัวช่วยแพร่กระจายเหมือนการระบาดของโรคระบาด ที่ต้องอาศัยสภาพการณ์ของภูมิศาสตร์หรืออาหารการกินหรือโดยเฉพาะพึ่ง "พาหะ" ให้ช่วยทำให้โรคระบาดอย่างรวดเร็ว ดังที่แอรอน ลินช์ นำมาขยายในหนังสือ (Aaron Lynch ; Thought Contagion, 1996) ซึ่งในด้านของวัฒนธรรมนั้นตัวช่วยเร่งอาจเป็นพ่อแม่ หรือครู หรือผู้ปกครอง หรือผู้นำประเทศที่มีความสามารถเป็นพิเศษ เช่น เจ็งกิสข่าน หรือฮิตเลอร์



ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้ ได้มีการพูดกันมากในเรื่องของสไปรัลไดนามิกส์หรือ (spiral dynamics) พลวัตรรูปก้นหอย (vortices) ซึ่งก็คือรูปแบบที่ได้มาจากกระบวนการจัดองค์กรทาง "วัฒนธรรม" ร่วมของมนุษยชาติ ที่สอดคล้องกับมีมส์ หรือที่เรียกว่าปัญญาร่วมของสังคมหรือจิตแห่งวัฒนธรรม โดยเจ้าทฤษฎีคนสำคัญในเรื่องนี้ ดอน เบ็ก (Don Beck and Christopher Cowan ; Spiral Dynamics, Mastering Values. Leaderships and Chance, 1996) แม้ว่าดอน เบ็ก จะอ้างว่าเขาได้ความคิดมาจากเพื่อนที่ทำงานเรื่องนี้ด้วยกันชื่อ แคลร์ เกรฟส์ (Clare Graves) ที่ล่วงลับไปแล้วที่พูดไว้ในขั้นตอนของวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ที่มี 8 ระดับนั้น - อาจมีเรื่องของวิญญาณที่ล้ำลึกเป็นแกนใน - "เรากำลังเปลี่ยนแปลงอย่างยิ่งใหญ่ และครั้งนี้ไม่ใช่เพียงก้าวไปสู่อีกระดับหนึ่งของการดำรงอยู่ แต่เป็นเรื่องใหม่การเคลื่อนไหวใหม่เช่นบทเคลื่อนไหวใหม่ (movement) ของเพลงซิมโฟนีที่ชื่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ" ดอน เบ็ก ได้ศึกษาวิจัยลักษณะของระดับ หรือเกลียวทั้งแปดมีมส์ทางวัฒนธรรม และพบว่าแต่ละเกลียวแต่ละระดับที่วิวัฒนาการขึ้นมาใหม่จะมีเนื้อหาสาระหรือลักษณะของระดับเดิมม้วนซ่อนเร้นเป็นเนื้อใน พร้อมๆ กับที่จะมีลักษณะใหม่โผล่ปรากฏขึ้นมา (transcend and include) นอกจากนั้นดอน เบ็ก ยังพบว่าเกลียวหรือมีมส์แต่ละระดับให้รูปแบบของมีมส์หรือวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับสีต่างๆ - ที่เป็นสัญลักษณ์ที่ส่อนิสัยค่านิยมหรือพฤติกรรมของคนให้มีความแตกต่างกันไล่ขึ้นมาตามขั้นตอนของวิวัฒนาการด้วย โดยจะมีสีทั้งหมด 8 สีด้วยกันไล่ขึ้นมาเป็นเกลียวก้นหอย ที่จะแบ่งเป็นช่วงตอนหรือสองลำดับ ตอนแรกหรือขั้นต่ำมีหกเกลียว ตอนบนหรือลำดับสูงมีเพียงสองเกลียว - ไล่ขึ้นมาจากเกลียวล่างสุดอันเป็นวัฒนธรรมเริ่มแรกของมนุษยชาติ - วัฒนธรรมแห่งการสนองตอบ หรือสัญชาตญาณดิบของมนุษย์ดึกดำบรรพ์ที่มีเมื่อหนึ่งแสนปีก่อน ซึ่งจะมีมีมส์เป็นสีของดินปนทรายหรือสีน้ำตาลอ่อน (beige) เป็นสัญลักษณ์ ถัดขึ้นมาเป็นสีม่วงแก่ สีแดง สีส้มและสีเขียว ส่วนช่วงตอนที่สองที่มีเพียงเกลียวเท่านั้นจะเป็นเกลียวสีเหลืองกับสีหยกคราม (terquoise) ทั้งสองมีมส์นี้จะเป็นวัฒนธรรมสูงสุดของมนุษยชาติในอนาคต

ในวัฒนธรรมตะวันออก รวมทั้งวัฒนธรรมบุพกาลไม่ว่าของเผ่าพันธุ์ไหนที่ใดในโลกช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม เราสามารถจะพบกับรูปแบบของวิวัฒนาการของวัฒนธรรมหรือวิวัฒนาการของจิตร่วมของมวลชนในชุมชนสังคมของเผ่าพันธุ์นั้นๆ คล้ายๆ กับวิวัฒนาการทางจิตวิญญาณที่ยอมรับทางวิชาการ โดยนักจิตวิทยาหรือนักวิทยาศาสตร์ทางจิตจำนวนหนึ่งของปัจจุบัน เค็น วิลเบอร์ ในหนังสือเล่มแรกๆ ของเขา เขาได้จัดแบ่งระดับจิตของมนุษย์เป็นปัจเจกที่เป็นไปตามกระบวนการวิวัฒนาการ และกระบวนการจัดองค์กรตัวเองของธรรมชาติที่เรียกว่าระดับ หรือสเป็กตรัมของจิต (Ken Wilber ; Spectrum of Consciousness, 1977) ที่มีทั้งหมด 8 ระดับตามขั้นตอนของวิวัฒนาการไล่ขึ้นมาตามลำดับ (ในหนังสือเล่มหลังๆ เคน วิลเบอร์ จะพูดถึงจิตร่วมหรือวัฒนธรรม (the left hand or interior quadrants of emergence of human nature ที่มีมากกว่า 8 ระดับ) เช่นเดียวกันกับที่ดอน เบ็ก จัดสรร เคน วิลเบอร์ จะจัดระดับจิตวิญญาณของมนุษยชาติทั้ง 8 ระดับที่ว่าโดยจัดแบ่งออกเป็นสามช่วง ช่วงแรกมีสี่ระดับ ช่วงที่สองและช่วงที่สามจะมีช่วงละสองระดับ ซึ่งสี่ระดับสูงสุดท้ายนี้ เคน วิลเบอร์ เรียกชื่อตามระดับจิตในอรูปฌานของพุทธศาสนาสายทิเบต (นิรมานกาย สัมโภคกาย ธรรมกาย และอันติมะ หรือเสาวภาวิขกาย See Ken Wilber ; Uip form Eden, 1975)

แต่จริงๆ แล้ว เชื่อว่าเคน วิลเบอร์ ได้ความคิดในเรื่องระดับของจิตวิวัฒนาการมาจากมหายานพุทธศาสนาด้วยโดยเฉพาะจากเซ็นพุทธศาสนา ที่มีฮุยหนิน หรือเว่ยหล่าน สังฆราชองค์ที่หกในนิกายเซ็นหรือฌาน (Zen or Ch' an Buddhism) อ้างจากปัตฐานสูต (Platform Sutra) ที่ประกอบด้วยจิตหยาบทั้งห้าระดับ (5 vjinannas) มโนวิญญาณ มนัสและอาลัยวิญญาณ - สนามแห่งจิตบริสุทธิ์ - ที่เชื่อมโยงเป็นสิ่งเดียวกับ จิตพุทธะ หรือ จิตหนึ่ง (Buddha nature or Citta) ซึ่งระดับจิตทั้ง 8 ของเซ็นพุทธศาสนาที่กล่าวมานี้ หมุนวนเป็นเกลียวสว่านวิวัฒนาการสอดคล้องกับระดับจิตหรือสเป็กตรัมทั้ง 8 ของวิลเบอร์ (External World, Senses, Shadow, Ego, Biosocial, Existential, Transpersonal and Infinity)

วิวัฒนาการของมีมส์ หรือวัฒนธรรม ที่มีรูปลักษณ์เป็นเกลียวก้นห้อยหรือสไปรัลไดนามิกส์ของดอน เบ็ก ที่มี 8 มีมส์ ซึ่งดอน เบ็ก เองก็ได้นำความคิดของเคน วิลเบอร์ อย่างน้อยส่วนหนึ่ง มาอ้างอิงเอาไว้ในหนังสือของเขา ดังนั้น สไปรัลไดนามิกส์ของดอน เบ็ก แม้ว่าจะเป็นเรื่องของวิวัฒนการของวัฒนธรรมที่มีกลิ่นอายไปทางด้านกายภาพ แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นวิวัฒนาการของคุณค่าและความหมายของสังคม - ที่แน่นอนต้องมีจิตวิญญาณเป็นเนื้อใน.


- ความทรงจำนอกมิติ จาก ไทยโพสต์ -

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

ทิ นัง มิไฮ นัง มิจะนัง ทิกุนัง แปลว่า
ที่นั่ง มีให้นั่ง มึงจะนั่ง ที่กูนั่ง ทิ้งไว้เป็น
ปริศนาธรรม นะตะเอง
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.001 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้