[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 มิถุนายน 2567 15:00:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร  (อ่าน 6777 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ใบบุญ
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 12
*

คะแนนความดี: +0/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

Thailand Thailand

กระทู้: 2342


ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 04 กันยายน 2557 17:59:31 »

.

http://www.ngthai.com/Images/Albums/Album-117-IMG-1301.jpg
พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร

ภาพ : พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร
ภาพโดย : ริชาร์ด บาร์นส์
คำบรรยายภาพ : พระรูปหล่อของจักรพรรดิเนโรประดิษฐาน ณ เมืองอันซีโอ ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระองค์

พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร

Story

ภาพลักษณ์ของราชันจอมโหดแห่งโรมกำลังได้รับการกอบกู้

จักรพรรดิเนโร ทรงสังหารมเหสีสององค์ และอาจรวมถึงพระมารดาด้วย และยังอาจทรงรู้เห็นกับการเผากรุงโรมทว่าพระองค์ไม่เคยทรงไวโอลินขณะทอดพระเนตรโรมมอดไหม้ และปัจจุบันนักวิชาการบางคนกล่าวว่า พระองค์ไม่ได้ร้ายกาจไปเสียทุกเรื่อง

“เนโรเป็นประเภทหนังทำเงินครับ” โรแบร์โต แจร์วาโซ บอก ชายวัย 77 ปีผู้นี้เป็นผู้ประพันธ์นวนิยายอิงชีวประวัติเรื่อง เนโรเน (Nerone) เมื่อปี 1978 “มีคนสร้างหนังเกี่ยวกับเนโรมากมาย และอดไม่ได้ที่จะดึงเอาแต่ด้านวิปริตของพระองค์มาสร้าง ซึ่งไม่จำเป็นเลยครับ เพราะตัวพระองค์เองก็ออกจะพิกลมากพออยู่แล้ว”

เรานั่งกันอยู่ข้างนอกภัตตาคารออสเตเรียดาเนโรเน ห่างจากพระราชวังโดมุสเอาเรอา (Domus Aurea) หรือพระราชวังทองคำซึ่งเนโรทรงออกแบบและโปรดให้สร้างขึ้นเพียงหนึ่งร้อยเมตร ที่นี่เป็นหนึ่งในอาคารไม่กี่แห่งในกรุงโรมที่ตั้งชื่อตามจักรพรรดิพระองค์นี้ “พระองค์คือจอมวายร้าย แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมด ผู้ปกครองที่มาก่อนหรือหลังพระองค์ก็ไม่ได้ดีไปกว่ากัน แม้กระทั่งทุกวันนี้ ต้องยอมรับว่าพระองค์ทรงมีหัวศิลปะที่ก้าวล้ำเกินยุคสมัยครับ” แจร์วาโซร่ายยาว

“ผมเขียนหนังสือเล่มนี้มาครบ 35 ปีพอดี เพราะต้องการจะกอบกู้ภาพลักษณ์ของพระองค์ ผมว่าบางทีคุณอาจทำอะไรได้มากกว่านี้”

นั่นคงหนักหนาสาหัสเอาการสำหรับคนที่จะมา “กอบกู้ภาพลักษณ์” ของบุรุษผู้ซึ่งประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่ามีพระบัญชาให้สังหารออกตาเวีย  มเหสีองค์แรก ทรงเตะปอปไปอา มเหสีองค์ที่สอง จนสิ้นพระชนม์พร้อมทารกในพระครรภ์มีรับสั่งให้ลอบปลงพระชนม์พระมารดา  และบางทีอาจทรงลอบสังหารบริตันนิคุส พระอนุชาต่างมารดา  ทรงสั่งเซเนกา ผู้เป็นพระอาจารย์ให้กระทำอัตวินิบาตกรรม  ทรงจับเด็กหนุ่มวัยรุ่นคนหนึ่งตอน จากนั้นก็ทรงเสกสมรสกับเด็กหนุ่มคนนี้ทรงรู้เห็นกับการวางเพลิงเผาทั่วกรุงโรมเมื่อปี ค.ศ. 64 แล้วใส่ร้ายป้ายสีว่าเป็นฝีมือของกลุ่มชาวคริสต์  (รวมทั้งนักบุญเปโตรและนักบุญเปาโล) จนนำไปสู่การไล่ล่าและตัดศีรษะ หรือไม่ก็ถูกจับตรึงกางเขนและจุดไฟเผา แต่ทว่า...

ผู้วายชนม์ไม่ได้เขียนประวัติของตนเอง นักเขียนชีวประวัติของเนโรสองคนแรกคือ ซูเอโตนีอุส และตาซีตุส มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสภาขุนนางโรมันผู้สูงศักดิ์ และมักวาดภาพให้คนจดจำรัชสมัยของเนโรด้วยความเกลียดชัง

“ทุกวันนี้เราประณามพฤติกรรมของพระองค์” มารีซา รานีเอรี ปาเนตตา นักวารสารศาสตร์ด้านโบราณคดี กล่าว “แต่ลองมองคอนสแตนติน จักรพรรดิชาวคริสต์ผู้ยิ่งใหญ่ดูสิคะ พระองค์มีพระบัญชาให้ลอบสังหารพระโอรสองค์โต พระมเหสีองค์ที่สอง และพระสัสสุระ (พ่อตา) จะตัดสินว่าคนหนึ่งเป็นนักบุญ อีกคนเป็นปีศาจคงไม่ได้”

http://www.ngthai.com/Images/Albums/Album-117-IMG-1302.jpg
พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร

ภาพ : พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร
ภาพโดย : ริชาร์ด บาร์นส์
คำบรรยายภาพ : บรรดาจักรพรรดิผู้ครองราชย์สืบต่อจากเนโรกลบฝังมรดกส่วนใหญ่ของพระองค์ไว้จากสายตา ใต้เนินเขาออปเปียน
(ทางซ้าย) คือซากพระราชวังของพระองค์ที่ไม่เปิดให้สาธารณชนเข้าชม ต่างจากโคลอสเซียมซึ่งต้อนรับนักท่องเที่ยววันละกว่าหมื่นคน


รานีเอรี ปาเนตตา เป็นหนึ่งในเสียงเรียกร้องให้มีการประเมินภาพลักษณ์ของเนโรเสียใหม่ แม้เสียงนี้จะดังขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วย “การกอบกู้ที่ว่าหรือกระบวนการที่นักประวัติศาสตร์กลุ่มเล็กๆพยายามจะเปลี่ยนเหล่าผู้ปกครองให้กลายเป็นสุภาพบุรุษนี้ ดูเป็นเรื่องไม่เข้าท่าสำหรับผมครับ” อันเดรอา การันดีนี นักโบราณคดีชาวโรมผู้โด่งดังให้ทรรศนะ “ตัวอย่างเช่น นักวิชาการที่เอาจริงเอาจังกลุ่มหนึ่งออกมาบอกว่า ไฟนั่นไม่ใช่ความผิดของเนโร แต่พระองค์จะทรงสร้างโดมุสเอาเรอาได้อย่างไร ถ้าไม่เผาเมือง ช่วยอธิบายให้ผมฟังหน่อย ไม่ว่าจะทรงเป็นต้นเพลิงหรือไม่ พระองค์ก็ทรงได้ประโยชน์จากความวอดวายนั้นอย่างแน่นอน”

เหตุผลของการันดีนีนั้นน่าคิด ในเมื่อเนโรทรงได้ประโยชน์จากเพลิงที่เผาผลาญกรุงโรม พระองค์จึงทรงเป็นต้นเพลิงเสียเอง “แต่แม้กระทั่งตาซีตุส ผู้กล่าวโทษเนโรคนสำคัญ ยังบันทึกไว้ว่า ไม่มีใครทราบว่าไฟที่เผากรุงโรมมาจากการวางเพลิงหรือความบังเอิญกันแน่” รานีเอรี ปาเนตตา ยกหลักฐานขึ้นมาคัดค้านและเสริมว่า “ถนนหนทางในกรุงโรมสมัยเนโรนั้นคับแคบมาก” และมีอาคารสูงที่ชั้นบนเป็นไม้ปลูกอยู่หนาแน่น “ไฟเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการให้แสงสว่าง ทำอาหาร และสร้างความอบอุ่น จึงมักเกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นในแทบทุกรัชสมัย” และบังเอิญว่าขณะที่มหาอัคคีภัยเปิดฉากขึ้น เนโรไม่ได้ประทับอยู่ในกรุงโรม พระองค์รีบเสด็จกลับสู่กรุงโรม ส่วนเรื่องที่ทรงโปรดการเล่นเครื่องสายซึ่งเรียกว่า คีทารา (kithara) นั้นน่าจะเป็นเรื่องจริง แต่การกล่าวหาเป็นครั้งแรกว่า พระองค์ทรงคีทารา ขณะทอดพระเนตรเปลวเพลิงกลืนกินมหานครนั้นเขียนขึ้นโดยคัสซีอุส ดีโอ หลังเหตุการณ์ผ่านไปแล้ว 150 ปี  ตาซีตุส ผู้มีชีวิตอยู่ในสมัยของเนโร กลับบันทึกว่า ทรงโปรดให้จัดหาที่พักแก่ผู้ไร้บ้าน ทรงเสนอเงินรางวัลให้คนที่สามารถสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ได้อย่างฉับไว รวมทั้งออกกฎระเบียบและดูแลความปลอดภัยด้านอัคคีภัยอย่างเป็นผล...

...และมีพระบัญชาให้ไล่ล่าชาวคริสต์ซึ่งขณะนั้นเป็นที่เกลียดชังมากล่าวโทษและจับตรึงกางเขน แล้วทรงยึดซากที่เหลือเพียงเถ้าถ่านของนครอมตะแห่งนี้เพื่อเป็นที่สร้างพระราชวังทองคำขึ้นในอนาคต


http://www.ngthai.com/Images/Albums/Album-117-IMG-1303.jpg
พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร

ภาพโดย : อเล็กซ์ มาโยลี
คำบรรยายภาพ : ที่วิสตา คลับใกล้กับเนินเขาออปเปียน นักแสดงนาม “ดอกเตอร์ วินเทจ” กำลังเปิดการแสดงรอบดึก
จักรพรรดิเนโรทรงเป็นนักแสดงเช่นกัน ทรงร้องเพลงและเล่นพิณ มีหลักฐานว่าพระองค์ทรงออกไปสำราญพระทัยยามราตรี
ตามท้องถนนในกรุงโรม ซึ่งเป็นที่สิ่งนักเขียนชีวประวัติร่วมสมัยกับพระองค์ตำหนิติเตียน


ในปี 2007 ขณะศึกษาผลกระทบของรถไฟใต้ดินสายใหม่ที่จะแล่นผ่านใจกลางเมือง เฟโดรา ฟีลิปปี นักโบราณคดีชาวโรมกำลังขุดค้นเข้าไปใต้ถนนกอร์โซวิตตอรีโอเอมานูเอเลที่สองอันจอแจ เธอพบฐานของเสาต้นหนึ่ง และเมื่อขุดต่อไปอีก เธอก็พบหน้ามุข และใกล้ๆกันเป็นขอบของบ่อน้ำ เธอได้ค้นพบโรงฝึกกีฬาสาธารณะขนาดมหึมาที่เนโรโปรดให้สร้างขึ้นไม่กี่ปีก่อนหน้ามหาอัคคีภัยเมื่อปี ค.ศ. 64

“โรงฝึกกีฬานี้เป็นส่วนหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ที่เนโรทรงนำมาสู่กรุงโรมค่ะ” ฟีลิปปีอธิบาย “พระองค์ทรงนำแนวคิดทางวัฒนธรรมของกรีกเข้ามา ซึ่งรวมถึงแนวคิดเรื่องการศึกษาทั้งทางร่างกายและสติปัญญาของคนหนุ่มสาวไม่ช้าแนวคิดดังกล่าวก็แพร่หลายไปทั่วจักรวรรดิ ก่อนหน้านั้น โรงอาบน้ำเช่นนี้มีไว้สำหรับชนชั้นสูงเท่านั้น แต่โรงฝึกกีฬาได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางสังคม เพราะทำให้ทุกคนเท่าเทียมกัน ตั้งแต่สมาชิกสภาขุนนางไปจนถึงคนเลี้ยงม้า”

นอกจากยิมเนเซียมเนโรนิส (Gymnasium Neronis) หรือโรงฝึกกีฬาแล้ว สิ่งก่อสร้างสาธารณะอื่นๆที่เป็นผลงานของจักรพรรดิหนุ่มพระองค์นี้ยังรวมถึงสนามกีฬารูปวงกลม ตลาดขายเนื้อ และคลองที่ทรงวางแผนให้ขุดซึ่งจะเชื่อมนครเนเปิลส์กับท่าเรือของโรมที่เมืองออสเตีย  เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินเรือผ่านน่านน้ำที่กระแสน้ำไม่อาจคาดเดา และมั่นใจได้ว่ามีเส้นทางขนส่งที่ปลอดภัยสำหรับเสบียงหล่อเลี้ยงกรุงโรม แน่นอนว่าการสร้างสิ่งเหล่านี้ต้องสิ้นเปลืองมาก ปกติจักรพรรดิโรมันจะได้เงินมาจากการปล้นบ้านเมืองอื่น แต่ในรัชสมัยที่ปราศจากสงครามของเนโร นี่ไม่ใช่ทางเลือก พระองค์ทรงใช้วิธีรีดภาษีทรัพย์สินจากคนรวยแทน และยังทรงพยายามยึดที่ดินของคนเหล่านั้นเพื่อขุดคลองสำหรับการเดินเรืออีกด้วย เมื่อสภาขุนนาง    ไม่ยอมโอนอ่อนผ่อนตาม ก็ทรงใช้เพทุบายสารพัดกับสมาชิกสภาขุนนาง “พระองค์ทรงสร้างเรื่องใส่ความเพื่อจับพวกคนมั่งมีมาไต่สวนและปรับอย่างหนัก” ไฮนซ์-เยอร์เกน เบสเต นักโบราณคดี เล่า เนโรทรงสร้างศัตรูอย่างรวดเร็ว หนึ่งในนั้นคืออากริปปีนา พระมารดาผู้ไม่พอพระทัยที่สูญเสียอิทธิพล จึงอาจทรงวางแผนให้บริตันนิคุส พระโอรสเลี้ยง ขึ้นเป็นรัชทายาทสืบราชบัลลังก์แทน อีกคนหนึ่งคือเซเนกา ผู้เป็นพระอาจารย์ และถูกกล่าวหาว่ามีส่วนในการวางแผนลอบปลงพระชนม์เนโร พอถึงปี ค.ศ. 65 ทั้งพระมารดา พระอนุชาต่างมารดา และพระอาจารย์ที่ปรึกษาล้วนถูกสังหารสิ้น

เนโรจึงทรงมีอิสระเต็มที่ที่จะเป็นเนโร และนั่นคือการปิดฉากช่วงเวลาที่ดีที่สุดในรัชสมัยของพระองค์ ตามมาด้วยขวบปีที่มีเรียม กริฟฟิน นักประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เขียนไว้ว่า “เนโรทรงหลบลี้เข้าสู่โลกแห่งความเพ้อฝันมากขึ้นทุกที” จนกระทั่งความเป็นจริงทำลายพระองค์


http://www.ngthai.com/Images/Albums/Album-117-IMG-1304.jpg
พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร

คำบรรยายภาพ : ภาพวาดกรุงโรมในทะเลเพลิงเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 64 “THE FIRE OF ROME
ราวปี 1770-1790 โดยฮิวเบิร์ต โรเบิร์ต, MUSÉE ANDRÉ MALRAUX, เอริช เลสซิง, ART RESOURCE



http://www.ngthai.com/Images/Albums/Album-117-IMG-1305.jpg
พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร

ภาพโดย : ริชาร์ด บาร์นส์
คำบรรยายภาพ : คนงานบูรณะห้องแปดเหลี่ยมในพระราชวังโดมุสเอาเรอาของเนโร
พระองค์อาจทรงใช้ห้องนี้เป็นสถานที่จัดเลี้ยง พระกระยาหารค่ำ พื้นผิวทั้งหมดน่าจะตกแต่งอย่างวิจิตร
ชิ้นกระจกสีน้ำเงิน เขียว และขาวซึ่งพบในบริเวณที่ขุดค้น อาจเป็นส่วนหนึ่งของภาพโมเสกระยิบระยับที่ประดับอยู่รอบโดม



http://www.ngthai.com/Images/Albums/Album-117-IMG-1306.jpg
พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร

ภาพโดย : ริชาร์ด บาร์นส์
คำบรรยายภาพ : วิลลาโอพลอนติสอาจเคยเป็นที่พำนักของปอปไปอี ซึ่งเป็นตระกูลของปอปไปอา ซาบีนา
มเหสีองค์ที่สอง ผู้เป็นรักแท้ของเนโร พระองค์ทรงเตะพระนางจนสิ้นพระชนม์เมื่อ ค.ศ. 65 ขณะกำลังทรงพระครรภ์
อันเป็นการกระทำหนึ่งที่มองว่าเป็นข้อบ่งชี้ถึงความวิกลจริตของพระอง



http://www.ngthai.com/Images/Albums/Album-117-IMG-1307.jpg
พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร

ภาพโดย : ริชาร์ด บาร์นส์
คำบรรยายภาพ : วิลลาโอพลอนติสอาจเคยเป็นที่พำนักของปอปไปอี ซึ่งเป็นตระกูลของปอปไปอา ซาบีนา
มเหสีองค์ที่สอง ผู้เป็นรักแท้ของเนโร พระองค์ทรงเตะพระนางจนสิ้นพระชนม์เมื่อ ค.ศ. 65 ขณะกำลังทรงพระครรภ์
อันเป็นการกระทำหนึ่งที่มองว่าเป็นข้อบ่งชี้ถึงความวิกลจริตของพระองค์



http://www.ngthai.com/Images/Albums/Album-117-IMG-1308.jpg
พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร

ภาพโดย : ริชาร์ด บาร์นส์
คำบรรยายภาพ : วิลลาโอพลอนติสอาจเคยเป็นที่พำนักของปอปไปอี ซึ่งเป็นตระกูลของปอปไปอา ซาบีนา
มเหสีองค์ที่สอง ผู้เป็นรักแท้ของเนโร พระองค์ทรงเตะพระนางจนสิ้นพระชนม์เมื่อ ค.ศ. 65
ขณะกำลังทรงพระครรภ์ อันเป็นการกระทำหนึ่งที่มองว่าเป็นข้อบ่งชี้ถึงความวิกลจริตของพระองค์



http://www.ngthai.com/Images/Albums/Album-117-IMG-1309.jpg
พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร

ภาพโดย : ริชาร์ด บาร์นส์
คำบรรยายภาพ : เนโรทรงว่าจ้างให้สร้างรูปหล่อสำริดขนาดยักษ์ซึ่งน่าจะมีลักษณะคล้ายสุริยเทพ
และพระพักตร์ละม้ายพระองค์ พระหัตถ์ ถือหางเสือเรือปักอยู่บนลูกโลก เป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจ
เหนือผืนแผ่นดินและท้องทะเล รูปหล่อนี้มีชื่อว่า โคลอสซุสเนโรนิส (Colossus Neronis)
โดยทรงต้องการให้ต้อนรับผู้มาเยือน และให้ชาวเมืองมองเห็นได้ผ่านเสาที่เรียงราย เนื่องจากไม่มีรูปจำลองใดๆ
หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน รูปวาดนี้เกิดจากการตีความของศิลปิน



http://www.ngthai.com/Images/Albums/Album-117-IMG-1310.jpg
พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร

ภาพโดย : อเล็กซ์ มาโยลี
คำบรรยายภาพ : การใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานเป็นอุปนิสัยหนึ่งของเนโร - รวมทั้งของโรมทุกวันนี้
บรรดาเศรษฐีชาวโรมมาร่วมงานเลี้ยงฉลองวันเกิดแบบไฮโซ



http://www.ngthai.com/Images/Albums/Album-117-IMG-1312.jpg
พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร

ภาพโดย : อเล็กซ์ มาโยลี
 คำบรรยายภาพ : ดาราหญิงแซนดรา มิโล วัย 81 ปี กำลังโพสท่าให้ปาปารัสซีถ่ายภาพ
(ขวาล่างสุด) บนถนนเดียวกับที่กล่าวกันว่าเนโร ทรงแต่งองค์งดงามมาสนุกสนานกับชาวเมือง



http://www.ngthai.com/Images/Albums/Album-117-IMG-1313.jpg
พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร

ภาพโดย : อเล็กซ์ มาโยลี
คำบรรยายภาพ : เนโรทรงเป็นนักนิยมประชาชนผู้โปรดปรานสิ่งงดงามแปลกตา
สิ่งนี้ยังคงอยู่ในตัวนักมวยอเลสซิโอ “ลีเจนารีอุส” ซาการา ที่สักสัญลักษณ์ของอาณาจักรโรมันไว้อย่างละเอียดสวยงาม



http://www.ngthai.com/Images/Albums/Album-117-IMG-1314.jpg
พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร

ภาพโดย : อเล็กซ์ มาโยลี
คำบรรยายภาพ : สนามกีฬาสตาดิโอ เดอี มาร์มิ ที่สร้างขึ้นในสมัยมุสโสลีนีใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันเทนนิส



http://www.ngthai.com/Images/Albums/Album-117-IMG-1315.jpg
พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร

ภาพโดย : อเล็กซ์ มาโยลี
คำบรรยายภาพ : นักรบผู้สร้างความพึงพอใจให้นักท่องเที่ยวสะบัดเสื้อคลุมของเขาที่บริเวณสวนสาธารณะของโคลอสเซียม
สนามกีฬาเลื่องชื่อแห่งนี้สร้างขึ้นแทนที่ทะเลสาบเทียมของพระราชวังโดมุส ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกของจักรพรรดิเนโร



http://www.ngthai.com/Images/Albums/Album-117-IMG-1316.jpg
พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร

ภาพโดย : อเล็กซ์ มาโยลี
คำบรรยายภาพ : นักท่องเที่ยวและชาวเมืองมาชุมนุมกันที่จัตุรัสปีอาซซา เดล โปโปโลซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่ฝังพระศพของจักรพรรดิเนโร



http://www.ngthai.com/Images/Albums/Album-117-IMG-1317.jpg
พลิกประวัติจักรพรรดิเนโร

ภาพโดย : อเล็กซ์ มาโยลี
คำบรรยายภาพ : ผู้อพยพเข้าเมืองตกปลาอยู่ท่ามกลางแสงสว่างจากสุสานจักรพรรดิโรมันเฮเดรียน
ปัจจุบันเรียกว่าปราสาทซันตันเจโล บนฝั่งแม่น้ำไทเบอร์ ณ อมตะนครแห่งนี้ ประวัติศาสตร์ก็คือปัจจุบันตลอดกาล



ขอขอบคุณ ngthai.com

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.607 วินาที กับ 32 คำสั่ง

Google visited last this page 15 เมษายน 2567 23:24:26