[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
29 พฤษภาคม 2567 13:54:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  
บุคคลทั่วไป, คุณถูกห้ามตั้งกระทู้หรือส่งข้อความส่วนตัวในฟอรั่มนี้
Fuck Advertise !!

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: การห่มจีวรของพระในพุทธศาสนา  (อ่าน 5493 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 5511


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
MS Internet Explorer 9.0 MS Internet Explorer 9.0


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 26 มีนาคม 2558 14:53:12 »

.



การห่มจีวรของพระในพุทธศาสนา

เกี่ยวกับการห่มจีวรของพระภิกษุ ศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย รวบรวมเรียบเรียงไว้ เริ่มจากนิกายเถรวาท ว่า การห่มจีวรของพระในนิกายเถรวาทมีหลักฐานที่แน่ชัดมากขึ้นในราวศตวรรษที่ ๑๒ หรือราวปี พ.ศ. ๑๗๐๐-๑๘๐๐ ศูนย์กลางสำคัญของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทในขณะนั้นมีอยู่ ๓ แห่งด้วยกัน แต่ละแห่งเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน แต่ใช้บาลีเช่นเดียวกัน มีการแลกเปลี่ยนอุปัชฌาย์และคัมภีร์ต่างๆ ระหว่างกัน อันได้แก่ วัดมหาวิหารในศรีลังกาแห่งหนึ่ง อาณาจักรของชาวพยู ทางตอนเหนือของพม่าแห่งหนึ่ง และอาณาจักรทวารวดีแถวลุ่มน้ำเจ้าพระยาแห่งหนึ่ง

ต่อมาชาวพยูประสบภัยพิบัติ ผู้คนล้มตายจากโรคระบาดครั้งใหญ่ ชาวมอญเข้าไปครอบครองพร้อมรับวัฒนธรรมพยูไปด้วย คัมภีร์เก่าแก่ของชาวพยูถูกแปลเป็นภาษามอญ และเมื่อพม่าแผ่อิทธิพลเข้าครอบครองดินแดน ก็ได้แปลคัมภีร์เหล่านั้นเป็นภาษาพม่าในสมัยต่อมา โดยสิ่งที่น่าจะเป็นผลโดยตรงคือการเกิดวิธีการห่มผ้าของพระพม่าและมอญที่แตกต่างไปจากศรีลังกา ทั้งสีของผ้าจีวรก็หลากหลายออกไป

การห่มจีวรของพระในประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากทั้ง ๒ ประเทศ คือ ศรีลังกา และมอญ ส่วนการห่มผ้าของภิกษุที่มีผ้าประคดอกและสังฆาฏิพาดไหล่ อาจจะเก่าแก่กว่าวิธีการห่มจากลังกา และอาจเป็นวิธีการห่มผ้าของภิกษุกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การห่มผ้าในลักษณะเช่นนี้ยังพบกันมากในแถบสิบสองปันนาและยูนนาน สำหรับธรรมยุติกนิกาย ห่มผ้าลูกบวบหมุนซ้ายได้รับอิทธิพลจากพระมอญซึ่งอพยพเข้ามามากในสมัยรัชกาลที่ ๒ และได้รับการปรับปรุงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยที่พระองค์ทรงผนวช

ในประเทศไทย พระภิกษุแต่เดิมครองจีวรแบบที่เรียกว่า ห่มมังกร หมุนผ้าลูกบวบทางขวาเวลาออกนอกวัด เมื่อถึงเวลาทำสังฆกรรมจะห่มผ้ารัดประคดคาดที่หน้าอก มีผ้าสังฆาฏิพาดที่ไหล่ซ้าย การห่มผ้าในลักษณะเช่นนี้ปัจจุบันมีน้อยวัด เนื่องจากมีคำสั่งของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ให้พระภิกษุทั่วสังฆมณฑลห่มผ้าตามแบบของธรรมยุติกนิกายทั้งหมด พระภิกษุส่วนใหญ่จึงห่มผ้าแบบธรรมยุติกนิกายตั้งแต่นั้นเรื่อยมา ปัจจุบันแม้มีความแตกต่างกันบ้างก็ถือว่าเป็นการห่มแบบพระสงฆ์ไทย คืออยู่ในวัดห่มเฉวียงบ่า เวลาออกนอกวัดห่มคลุมไหล่ทั้งสองข้าง



   สำหรับการห่มจีวรของพระในนิกายมหายานชาติต่างๆ เมื่อพระพุทธศาสนาจากอินเดียเผยแผ่เข้าไปในจีน เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเรื่องสีของจีวร ด้วยสีเหลืองเป็นสีของฮ่องเต้ คนธรรมดาใครสวมใส่ชุดสีเหลืองต้องได้รับโทษ พระจีนต้องเปลี่ยนสีจีวรเป็นสีน้ำตาล หรือน้ำตาลไหม้ และสีดำสำหรับเณร นอกจากนี้อากาศที่หนาวเย็นทำให้พระจีนต้องมีชุดกันหนาวข้างในและสวมรองเท้ามิดชิด ขณะที่ในเวียดนาม แม้จะได้รับพระพุทธศาสนามาจากจีน แต่ก็มีเอกลักษณ์ของตนเองที่ห่มจีวรสีเหลืองเปล่งปลั่ง ส่วนในทิเบตเกิดการเปลี่ยนแปลงทำนองเดียวกันในเรื่องชุดกันหนาว พระลามะสวมเสื้อกั๊กกันหนาวข้างใน หมวกและจีวรเป็นผ้าหนาหรือขนสัตว์ สีจีวรเป็นสีแดงปนม่วงซึ่งเป็นสีของชนเผ่าทั้งหลายที่อยู่ในที่ราบสูง ด้วยเป็นสีที่ตัดกับสีของท้องฟ้าทำให้เห็นได้แต่ไกล นับเป็นสีแห่งความปลอดภัยในพื้นที่แถบเทือกเขาหิมาลัย





ภิกษุมองโกเลียได้รับอิทธิพลจากทิเบต ยุครุ่นหลานของเจงกิสข่าน หลานชายของจักรพรรดิเลื่อมใสพระทิเบตรูปหนึ่ง นิมนต์มาเป็นพระอาจารย์ในราชสำนัก แต่งตั้งเป็นทะไลลามะ

ต่อมาการห่มจีวรก็ได้พัฒนาไปเช่นกัน พระมองโกเลียสวมหมวก ห่มจีวรคล้ายพระทิเบตแต่มีลวดลายศิลปะของราชสำนักมองโกล ส่วนที่เกาหลีและญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาจากจีน สีจีวรจึงคล้ายกัน ทั้งสวมเสื้อ กางเกงและรองเท้าป้องกันความหนาวเย็น ก่อนจะมีวิวัฒนาการอย่างมากในพระญี่ปุ่น โดยเฉพาะนิกายชิงกง หรือวัชรยาน ที่นำมาทอและวาดลวดลายวิจิตรพิสดาร แต่ยังคงลักษณะรูปคันนาเป็นตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้าใหญ่น้อย

ในญี่ปุ่น การทำจีวรพระเป็นศาสตร์ที่ตกทอดกันมาในวงศ์ตระกูล จีวรพระญี่ปุ่นที่สั่งทำพิเศษสำหรับเจ้าอาวาสนั้นมีราคาแพงมาก มีทั้งลวดลายและสีสันละเอียดอ่อน เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่เก่าแก่มีอายุนับพันปี พระญี่ปุ่นยังได้พัฒนาจีวรไปไกลกว่านั้นอีกมาก บางนิกายย่อจีวรให้เล็กลงจนเหลือเป็นเพียงผ้าผืนเล็กนิดเดียว คล้องเหมือนผ้ากันเปื้อนไขว้คอ กว้างประมาณคืบหนึ่งยาวประมาณคืบเศษๆ แต่ยังคงลักษณะลายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบคันนาให้เห็นอยู่ บางนิกายย่อเล็กยิ่งไปกว่านั้น เป็นผ้าขนาดจิ๋วปะอยู่ด้านในของสูทสากล ลักษณะเหมือนป้ายยี่ห้อร้านตัดเสื้อทั่วไป เพื่อความสะดวกในสังคมสมัยใหม่ที่ต้องการความเรียบง่าย



    การห่มจีวรของพระในนิกายมหายานมีรูปแบบหลากหลายมาก คือ พระลามะใส่จีวรสีแดงสด ส่วนการจะแยกว่าอยู่นิกายไหนให้ดูที่สีผ้าอังสะ เช่น สีเหลืองนิกายเกลุก สีแสดหรือสีแดงนิกายศากยะ เป็นต้น ขณะที่พระในนิกายเนนบุทสุซุจากญี่ปุ่น สวมกางเกงและห่มจีวรเหลืองแก่คล้ายพระไทย ส่วนพระในนิกายเซน สวมกางเกงสีกรมท่า สวมเสื้อและห่มจีวรสีกรมท่า

โดยรวมก็คือพระในนิกายเถรวาทยังรักษารูปแบบการห่มจีวรไว้ตามแบบพระเถระในอดีต ส่วนในนิกายมหายานมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามความเหมาะสม บางนิกาย สีของจีวรอาจบ่งบอกถึงตำแหน่งฐานะทางการบริหาร เช่น พระจีน พระเกาหลี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้จีวรหลายสี การแต่งกายหลายรูปแบบ และรายละเอียดปลีกย่อยอาจจะแตกต่างกันบ้าง แต่ก็มีพระพุทธเจ้าองค์เดียวกันคือพระศากยโคตมะพุทธเจ้า

การแต่งกายของภิกษุในพระพุทธศาสนาทั้งสองนิกายคือมหายานและเถรวาทมีความแตกต่างกัน อาจจะเป็นเพราะสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศทำให้เครื่องแต่งกายต้องเปลี่ยนไปด้วย เช่นพระลามะในทิเบต อากาศหนาวมาก จึงต้องห่มจีวรสีแดง มองเห็นได้แต่ไกล ส่วนพระจีน เกาหลี ญี่ปุ่นต้องใส่กางเกงแทนสบง แต่เมื่อพระทั้งสองนิกายมาชุมนุมกัน ภาพที่มองจากมุมกว้างอาจจะมองเห็นแปลกแยก แต่เป็นความแตกต่างที่ลงตัว สีของจีวร รูปแบบการนุ่งห่ม ความเห็นที่แตกต่างได้รับการประสานและสรุปเพื่อเป้าหมายสืบทอดและเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป



ที่มา (ภาพ-ข้อมูล) : หนังสือพิมพ์ข่าวสด

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 กันยายน 2558 10:08:14 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.296 วินาที กับ 29 คำสั่ง

Google visited last this page วานนี้