[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 กรกฎาคม 2568 18:43:22 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ฤๅษีดัดตน  (อ่าน 1251 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
Kimleng
'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น อะไรที่ชอบก็บอกของนั้นดี
สุขใจ๊ สุขใจ
นักโพสท์ระดับ 14
*

คะแนนความดี: +5/-0
ออนไลน์ ออนไลน์

เพศ: หญิง
Thailand Thailand

กระทู้: 6107


'อกุศลธรรม' เป็นสิ่งเกิดขึ้นจากการตามใจคนทั้งนั้น

ระบบปฏิบัติการ:
Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
เวบเบราเซอร์:
Mozilla รองรับ Mozilla รองรับ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 14 มีนาคม 2560 14:50:16 »


 

ฤๅษีดัดตน
เรื่อง : kimleng

ฤๅษี หมายถึงบุคคลประเภทหนึ่งที่มีบทบาทอยู่ในสังคมไทยสมัยโบราณและมีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมบางสาขาของไทยเราอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวสัมพันธ์กับอินเดียโบราณ แสดงถึงความสืบเนื่องติดต่อทางวัฒนธรรมระหว่างสองประเทศนี้อย่างชัดเจน

ในตำนานหรือนิทานโบราณมักจะเรียกผู้ที่เป็นนักบวชว่า “ฤษี” หรือ “ฤๅษี

คำว่า ฤษี มาจาก ฤษิ แปลว่า ผู้เห็น หมายถึง การแลเห็นด้วยความรู้พิเศษอันเกิดจากญาน  สามารถแลเห็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งรวมเรียกว่า ตฺริกาลชฺญ แปลว่า ผู้รู้กาลทั้งสาม ในวรรณคดีพุทธศาสนามีข้อความเปรียบเทียบกำลังความรู้เรื่องในอดีตที่เรียกว่า “ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ” ของฤๅษีกับของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าแตกต่างกัน กล่าวคือ ฤๅษีมีความรู้ระลึกอดีตชาติได้ไม่เกินแปดสิบชาติ แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ารู้ระลึกอดีตชาติได้มากมายอันหาที่สุดมิได้ และด้วยคุณธรรมข้อนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้เลิศกว่าฤๅษีทั้งปวง ดังข้อความในเถรคาถาแห่งขุททกนิกายว่า “พระองค์เป็นผู้ประเสริฐกว่าฤๅษีทั้งหลาย”  

ว่าโดยการแต่งกายของฤๅษี มีแบบแตกต่างกัน เช่น นุ่งห่มด้วยหนังสัตว์ (หนังสือ) นุ่งห่มด้วยผ้าเปลือกไม้ ผ้าย้อมน้ำฝาด เป็นต้น ในมหาเวสสันดรชาดก เมื่อพระเวสสันดรผนวชเป็นฤๅษีก็นุ่งห่มด้วยหนังเสือ  และมีอีกประเภทหนึ่งนุ่งห่มด้วยผ้าขาวล้วน เรียกว่า ชีปะขาว หรือปะขาวดาบส กล่าวว่า ชูชกเมื่อปลอมตนเป็นฤๅษีดาบส เดินทางจากเมืองเชตุดร มารับสองกุมาร กัณหา-ชาลี ในป่าที่พระเวสสันดรบำเพ็ญเพียร ก็นุ่งห่มด้วยผ้าขาว

ในคัมภีร์พระเวท คัมภีร์ปุราณะต่างๆ คัมภีร์ภควัทคีตา กาพย์มหาภารตะ วรรณคดีสันสกฤต มีเรื่องราวเกี่ยวกับฤๅษีเป็นอันมาก แสดงถึงความสำคัญของฤๅษีที่มีอยู่ในสังคมทั้งของสวรรค์และโลกมนุษย์ แม้แต่ในพระไตรปิฎกมีการอ้างถึงบุคคลโดยโคตร เช่น พวกเสฏฐโคตร หมายถึงผู้สืบเชื้อสายมาจากฤๅษีวศิษฐ์  ภารัทวาชโคตร หมายถึงผู้สืบเชื้อสายมาจากฤๅษีภรัทวาช และแม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระสมณโคดมก็ทรงอยู่ในเคาตมโคตร หมายถึงอยู่ในตระกูลอันสืบเชื้อสายมากจากฤๅษีเคาตมหรือโคดม

ฤๅษีดัดตน
การปั้นรูปฤๅษีไม่มีหลักฐานว่าลอกแบบมาจากที่ใด แต่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าคนไทยเคารพนับถือฤๅษีเป็นครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาแพทย์แผนโบราณหรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นผู้บอกตำรายาที่ปรุงจากสมุนไพรต่างๆ เพราะฤๅษีเป็นผู้อยู่ป่าและท่องเที่ยวไปในป่า ย่อมรู้จักสมุนไพรนานาชนิดได้ดี ในเมืองไทยหมอยาแผนโบราณต้องปั้นรูปฤๅษีไว้บูชาในฐานะครูแพทย์


ฤๅษีดัดตน
ในสังคมไทยในอดีต มีนักบวช “ฤๅษี” แสวงหาความสงบ บำเพ็ญเพียร นั่งสมาธิ อยู่ตามป่าเขา พอนั่งนานๆ อาจมีอาการเมื่อยขบ เมื่อทดลองขยับเขยื้อนร่างกาย การยึดข้อพับและเกร็งตัวดัดตน ทำให้เกิดท่าทางต่างๆ แล้วทำให้อาการเจ็บป่วยเมื่อยขบบรรเทาหายไป จึงได้สรุปประสบการณ์บอกเล่าสืบต่อกันมา และระบุชื่อฤๅษีผู้คิดท่าซึ่งอาจเป็นกลวิธีทำให้เกิดความขลัง เพราะผู้ฝึกต้องมาฝึกทำท่ากับรูปปั้นเท่ากับฝึกหัดกับครู เพราะฤๅษีเป็นครูของศิลปะวิทยาการทุกสาขา

หมอโบราณบางคนพยายามเชื่อมโยงว่าคนไทยเลียนแบบโยคะของอินเดีย เมื่อดูตามตำราต่างๆ ของโยคะแล้วไม่เหมือนกัน และท่าดัดตนของไทยไม่ใช่ท่าผาดโผนหรือฝืนคนจนเกินไป ส่วนใหญ่เป็นท่าดัดตามอิริยาบถของคนไทย ที่มีความสุภาพ และสามารถปฏิบัติได้โดยคนทั่วๆ ไป อย่างไรก็ตามในจำนวนท่าฤๅษีดัดตน ๘๐ ท่า มีท่าแบบจีน ๑ ท่า แบบแขก ๑ ท่า ท่าดัดคู่ ๑ ท่า แสดงถึงการแลกเปลี่ยนความรู้กัน และมีการระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นของต่างชาติ

ฤๅษีดัดตน นอกจากมีสรรพคุณในการรักษาโรคแล้ว ยังเป็นการบริหารร่างกาย ทำให้ร่างกายตื่นตัวแข็งแรง และเป็นการพักผ่อน

ประโยชน์ของการฝึกท่าฤๅษีดัดตนคือ
๑.ช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของแขนขาหรือข้อต่างๆ ให้เป็นไปอย่างคล่องแคล่ว
๒.ทำให้โลหิตหมุนเวียนเลือดลมเดินสะดวก
๓.เป็นการต่อต้านโรคภัย บำรุงรักษาสุขภาพให้มีอายุยืนยาว
๔.ช่วยยกระดับจิตใจให้พ้นอารมณ์ขุ่นมัว หงุดหงิด ความง่วง ความท้อแท้ ความเครียด เป็นต้น

การฝึกท่าฤๅษีดัดตนในตำรามิได้มีการระบุชัดเจนเกี่ยวกับการหายใจ อย่างไรก็ตามในพุทธศาสนามีการนั่งสมาธิ โดยการฝึกการบริหารลมหายใจเช่นกัน ดังนั้น ท่าฤๅษีดัดตนจึงน่าจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดลมหายใจและการกลั้นลมหายใจด้วย









ภาพ : ประติมากรรมฤๅษีดัดตน ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
สมัยโบราณ คนไทยสมัยก่อนมักไม่ค่อยได้เรียนรู้หนังสือ เพราะไม่มีสถานที่เรียน
รัชกาลที่ ๓ จึงโปรดฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตที่มีความรู้ความชำนาญแต่ละสาขาวิชา
จดตำราให้นายช่างจารึกไว้ในแผ่นศิลาหรือปั้นรูปแสดงท่าทางต่างๆ ให้เห็นเด่นชัด
เพื่อจะได้เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ แม้คนที่อ่านหนังสือไม่ออกก็สามารถเรียนรู้หรือทำได้ถูกต้อง
เท่ากับสร้างอุปกรณ์ทำการสอนไว้แก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน



อ่านความรู้เพิ่มเติมที่
http://www.sookjai.com/index.php?topic=177557.msg208000#msg208000
(กดอ่านที่ตัวอักษรสีเทาค่ะ)

facebook : กิมเล้ง สุขใจดอทคอม

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 มีนาคม 2560 20:20:23 โดย กิมเล้ง » บันทึกการเข้า



กิมเล้ง @ สุขใจ ดอท คอม
สูตรอาหาร ทำกับข้าว เที่ยวไปทั่ว
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.487 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 15 มิถุนายน 2568 17:50:08