หลวงพ่อเต๋ คงฺสุวณฺโณ ถ้ากล่าวถึงจังหวัดนครปฐมแล้ว เราคงนับเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง รวมถึงวัตรปฏิบัติที่น่ากราบไหว้กันได้ไม่หมด
ไม่ว่าจะเป็นหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก
หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว รองลงมาก็
หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว และอีกนับไม่ถ้วน
เกจิอาจารย์ที่กลางเก่ากลางใหม่ที่เมื่อกล่าวถึงแล้วทุกคนร้องอ๋อ หลวงพ่อเต๋ คงทองก็เป็นหนึ่งในนั้น
หลวงพ่อเต๋ท่านเป็นพระที่มีความน่าเลื่อมใสศรัทธา และน่าจะกล่าวถึงอัตถะประวัติของท่านให้ได้รู้แจ้งกัน หลวงพ่อเต๋
ท่านเป็นชาวอำเภอสามง่ามโดยกำเนิด ท่านเกิดวันจันทร์ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๗ ปีเถาะ ตรงกับวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๔๓๔
บิดาชื่อ นายจันทร์ มารดาชื่อบู่ นามสกุล สามงามน้อย ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕ ในบรรดาเครือญาติทั้งหมด ๗ คน
หลวงพ่อเต๋ มีลุงคนหนึ่งชื่อแดงบวชอยู่วัดกาหลง เป็นอาจารย์ดีองค์หนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดัง วันหนึ่งท่านมาเยี่ยมญาติที่
บ้านสามง่าม ได้พบหลวงพ่อเต๋ ซึ่งขณะนั้นอายุได้เพียง ๗ ขวบ คงจะเห็นว่าหน้าตาดีแวว ขากลับจึงชวนไปอยู่ด้วย
ที่วัดกาหลง นับเป็นการจากบ้านเป็นครั้งแรกของหลวงพ่อ ท่านก็ได้มาเรียนหนังสือ เรียนธรรม เรียนมนต์ต่อมาเมื่อ
อายุได้ ๑๕ ปี หลวงลุงท่านให้บวชเป็นสามเณรที่สำนักสงฆ์สามง่าม เป็นสำนักสงฆ์ที่หลวงลุงแดงร่วมใจกันกับชาวบ้าน
คิดจะพัฒนาขึ้นเป็นวัด ซึ่งขณะนั้นยังมิได้ สร้างขึ้นเป็นวัดอย่างทุกวันนี้
จนกระทั่งปีพ.ศ.๒๔๕๔ ท่านอายุได้ ๒๑ ปี จึงเข้ารับการอุปสมบท ณ วัดสามง่าม โดยมีหลวงพ่อทาวัดพะเนียงแตก
เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระสมุห์เทศ วัดทุ่งผักกูด และเจ้าอธิการจอม วัดลำเหย เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า
“คงฺสุวณฺโณ” และเมื่อหลวงลุงแดงท่านได้มรณภาพลง หลวงพ่อเต๋ท่านก็ได้ไปเล่าเรียนวิชากับหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก
และยังได้ออกธุดงค์รุกขมูลไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลา ๑๗ ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๕๕-๒๔๗๒ นอกจากจะออกธุดงค์
รุกขมูลเพื่อฝึกกรรมฐานแล้ว ท่านยังได้ไปร่ำเรียนวิชากับหลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง หลวงพ่อกอน วัดตะกั่ว กับฆราวาส
ชาวเขมรเคยเป็นอดีตแม่ทัพเขมร
ภายหลังหลวงพ่อเต๋ ท่านได้กลับมาทำนุบำรุงวัดสามง่ามตามที่หลวงลุงแดงได้ฝากฝังไว้ ซึ่งหลวงพ่อท่านก็ทำจนวัดสามง่าม
เป็นที่เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงทุกวันนี้ ทางด้านวัตถุมงคลที่หลวงพ่อเต๋ได้ทำแจกแก่ลูกศิษย์ลูกหาก็มีมากมาย ทั้งเหรียญต่างๆ
พระเนื้อดิน เครื่องรางของขลัง แต่ที่ขึ้นชื่อลือชาในเรื่อง มหาอุดแล้วคงหนีไม่พ้นตะกรุด ๓ ห่วง ๒ ห่วงของท่าน
เพราะลูกศิษย์ที่นำไปบูชาติดตัวกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าเยี่ยม และวัตถุมงคลที่จะลืมไม่ได้อีกอย่างหนึ่งของหลวงพ่อคือ
กุมารทอง และนางกวัก ตามประวัติไม่แน่ชัดว่าหลวงพ่อท่านได้ร่ำเรียนมาจากไหน บางท่านกล่าวว่าได้ไปร่ำเรียนมาจากหลวงพ่อแช่ม
บางท่านก็ว่าได้ไปร่ำเรียนมาตอนที่ได้เดินธุดงค์ แต่จากการประติดประต่อจากคำบอกเล่าของหลวงพ่อเต้า วัดเกาะวังไทร ซึ่งเป็นศิษย์
ของหลวงพ่อแช่ม และยังเป็นศิษย์รุ่นน้องของหลวงพ่อเต๋ได้บอกกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า เรื่องการเรียนตุ๊กตาทองนั้น หลวงพ่อเต๋
ท่านได้ร่ำเรียนมาจากตำราของครูบาอาจารย์ที่วัดกุฏีเดียว จังหวัดนครปฐม ซึ่งตำราเล่มนั้นยังตกทอดสู่หลวงพ่อแย้ม แห่งวัดสามง่าม
หลวงพ่อเต๋ คงทอง ได้ถึงกาลมรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๔ นับเป็นการสูญเสียพระดีแห่งเมืองนครปฐมอีกหนึ่งรูป
แต่ยังดีที่หลวงพ่อเต๋ คงทอง ท่านยังมีผู้สืบทอดวิชาการทำกุมารทอง และนางกวัก ไว้อีกหนึ่งนั่นก็คือ หลวงพ่อแย้มแห่งวัดสามง่าม
ซึ่งปัจจุบันท่านก็มีอายุมากแล้ว แต่กุมารทอง และนางกวัก รุ่นต่างๆ ที่ท่านได้สร้างไว้ ท่านยังคงทำตามที่ท่านได้ร่ำเรียนมาจาก
หลวงพ่อเต๋คงทอง มิผิดเพี้ยน
พระขุนแผนซุ้มเรือนแก้ว หลวงพ่อเต๋ เนื้อดินเผา หายาก
ยันต์หลวงพ่อเต๋