[ สุขใจ ดอท คอม บ้านหลังเล็กอันแสนอบอุ่น ] ธรรมะ พุทธประวัติ ฟังธรรม ดูหนัง ฟังเพลง เกมส์ เบาสมอง ดูดวง สุขภาพ สารพันความรู้
04 กรกฎาคม 2568 22:16:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก   เวบบอร์ด   ช่วยเหลือ ห้องเกม ปฏิทิน Tags เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก ห้องสนทนา  

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: [ข่าวมาแรง] - แกะรอยวิธีคิดรัฐไทยรับมือชุมนุมสาธารณะอย่างไรกับนักกฎหมายชุมนุม  (อ่าน 189 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
สุขใจ ข่าวสด
I'm Robot
สุขใจ บอทนักข่าว
นักโพสท์ระดับ 15
****

คะแนนความดี: +101/-0
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
Italy Italy

กระทู้: มากเกินบรรยาย


บอท @ สุขใจ


ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« เมื่อ: 15 กันยายน 2566 17:49:32 »

แกะรอยวิธีคิดรัฐไทยรับมือชุมนุมสาธารณะอย่างไรกับนักกฎหมายชุมนุม
 


<span class="submitted-by">Submitted on Fri, 2023-09-15 16:14</span><div class="field field-name-field-byline field-type-text-long field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even"><p>สรวุฒิ วงวศ์ศรานนท์ สัมภาษณ์ </p>
<p>เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Protect The Protest ที่ประชาไทร่วมทำกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย</p>
</div></div></div><div class="field field-name-body field-type-text-with-summary field-label-hidden"><div class="field-items"><div class="field-item even" property="content:encoded"><div class="summary-box">
<ul>
<li style="margin: 0in 0in 8pt;">การจัดการควบคุมดูแลการชุมนุมสาธารณะขึ้นอยู่ระดับความเป็นประชาธิปไตยของแต่ละประเทศเพราะส่งผลต่อการออกมาตรการที่จะรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากน้อยแค่ไหน</li>
<li style="margin: 0in 0in 8pt;">แต่ประเทศกึ่งประชาธิปไตยกึ่งอำนาจนิยมอย่างไทยมาตรการที่ออกมามักเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจมากแต่ถูกตรวจสอบน้อย และตำรวจก็สามารถเลือกบทว่าจะเป็นตำรวจในระบอบประชาธิปไตยหรือตำรวจในระบอบอำนาจนิยมก็ได้โดยเลือกใช้มาตรการขึ้นกับเนื้อหาของการชุมนุม</li>
<li style="margin: 0in 0in 8pt;">การตรวจสอบของไทยมักจะดูแค่ว่าเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ แต่ไม่ตรวจสอบว่ามาตรการต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่ใช้นั้นได้สัดส่วนกับสถานการณ์การชุมนุมหรือไม่ และไม่มีการลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย</li>
<li style="margin: 0in 0in 8pt;">ทางออกนอกจากจะต้องแก้กฎหมายแล้ว ไทยควรจะต้องถูกตรวจสอบจากกลไกขององค์กรระหว่างประเทศว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากลหรือไม่</li>
</ul>
</div>
<p style="margin:0in 0in 8pt">ประชาไทชวน พัชร์ นิยมศิลป อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุยทบทวนถึงการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมาเพื่อสำรวจแนวคิดของเจ้าหน้าที่รัฐไทยในการจัดการกับการชุมนุมสาธารณะช่วง 3 ปีที่ผ่านมาว่าเหมือนหรือต่างอย่างไรกับมาตรฐานสากล ปัจจัยอะไรที่ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้กำลังในการปราบปราบการชุมนุมโดยที่ไม่ต้องถูกตรวจสอบ </p>
<p style="margin:0in 0in 8pt"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/53188910328_b1f27c6a2f_b.jpg" /></p>
<p style="margin: 0in 0in 8pt; text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">พัชร์ นิยมศิลป</span></p>
<p style="margin:0in 0in 8pt">พัชร์เล่าว่าเหตุที่ทำให้เขามาสนใจในประเด็นกฎหมายการชุมนุมสาธารณะที่เริ่มมาจากความหงุดหงิดใจเมื่อต้องเจอการวนลูปของสถานการณ์การเมืองไทยร่วมสมัยที่มักเกิดการชุมนุมสาธารณะ ความรุนแรง แล้วก็รัฐประหาร แล้วก็มาชุมนุมใหม่ ก็เกิดคำถามว่าจะออกจากลูปนี้อย่างไร ทำให้ในปี 2558 เขาเลือกไปเรียนกฎหมายต่อที่อังกฤษและได้ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายชุมนุมกับความเป็นประชาธิปไตยในกลุ่มประเทศที่ยังเป็นประชาธิปไตยแบบลูกผสมกับระบอบอำนาจนิยม (Hybrid Democracy)</p>
<p>แต่ในปีเดียวกันกับที่พัชร์ไปเรียนกฎหมายชุมนุมสาธารณะของไทยฉบับแรกก็ถูกประกาศใช้พอดีในช่วงรัฐบาลทหาร แม้ว่าเรื่องกฎหมายการชุมนุมสาธารณะจะเป็นเรื่องที่หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าควรจะต้องมีแล้วก็มีการคุยเรื่องนี้มานานมากกว่า 10 ปีก่อนที่พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 จะถูกประกาศใช้ และเขาเองก็เคยเป็นคณะกรรมการร่างกฎหมายชุมนุมสาธารณะของ ปปช. มาก่อน แต่สุดท้ายร่างที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ก็เป็นฉบับที่ร่างขึ้นมาโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ</p>
<p>แม้ว่ากฎหมายจะออกมาตั้งแต่ปี 2558 แต่ก็ไม่ได้ถูกใช้อย่างจริงจังจนกระทั่ง 2560 ถึงเริ่มมีการยกเลิกประกาศและคำสั่ง หัวหน้า คสช.ที่มีเรื่องห้ามการชุมนุมทางการเมืองอยู่ไป แต่พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะก็ใช้กันอยู่ได้ไม่นานเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ระบาดรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ก็ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในการควบคุมการชุมนุมแทนอีก พัชร์มองว่าสถานการณ์แบบนี้ทำให้พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ ไม่ได้ถูกใช้จนได้เห็นว่าเวิร์คหรือไม่เวิร์ค เพราะระยะเวลาที่มีการใช้กฎหมายฉบับนี้ยังถือว่าน้อย และยังมีคดีที่มีการใช้กฎหมายฉบับนี้ฉบับเดียวก็ยังน้อยอีกทั้งยังไม่มีคำพิพากษาของศาลฎีกาที่จะมาวางแนวการใช้กฎหมายด้วย</p>
<p>แต่ที่เขาสนใจศึกษาเรื่องกฎหมายชุมนุมในกลุ่มประเทศที่เป็นกึ่งประชาธิปไตย เพราะในกลุ่มประเทศเหล่านี้มีความเป็นประชาธิปไตยบางอย่างอยู่ แล้วพ่วงกับกลไกที่ไม่เป็นประชาธิปไตยหรืออำนาจนิยมจึงศึกษากรณีของรัสเซียที่มีการใช้กฎหมายชุมุนมสาธารณะและรูปแบบการปฏิบัติของตำรวจกับผู้ชุมนุมเพื่อรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล แล้วก็ใช้เรื่องนี้มาเปรียบเทียบกับประเทศในตะวันออกเฉียงใต้คือ ไทย กัมพูชา และมาเลเซีย ก็พบว่าประเทศในกลุ่มนี้มีอาการเดียวกัน</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">เสรีภาพการชุมนุมในระบอบประชาธิปไตย</span></h2>
<p>“เราแสดงตัวนะว่าเป็นประชาธิปไตย แต่จริงๆ โดยเนื้อหามันมีกลไกบางอย่างที่ทำให้ ตำรวจสามารถสวิตช์ได้ระหว่างตำรวจประชาธิปไตยกับตำรวจในอำนาจนิยม ง่ายๆ ก็คือกฎหมายเปิดช่องให้สองมาตรฐานแล้วตำรวจเองก็มีบุคลิกที่สามารถเปลี่ยนไปมาระหว่างมาตรฐานทั้งสองด้วย”</p>
<p>พัชร์ชี้ว่ากลไกระหว่างประเทศและในกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยรับรองเฉพาะแค่การชุมนุมสาธารณะที่สงบเท่านั้นและลบการชุมนุมที่มีความรุนแรงออกไปจนหมด เขาอธิบายเรื่องนี้ว่าโดยเริ่มจากอธิบายกลไกในระบบประชาธิปไตยที่ใช้ในการตัดสินปัญหาของบ้านเมืองหรือกดดันรัฐบาลที่ตัวเองเลือกเข้าไปคือการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยมีอยู่ 2 ส่วนหลักๆ คือมีการเลือกตั้งตามรอบเมื่อถึงเวลาเลือกตั้งประชาชนต้องไปเลือกตั้งเมื่อถึงเวลารัฐบาลเก่าต้องหมดอายุ ถ้าไม่มีการเลือกตั้งตามรอบก็จะเริ่มไม่เป็นประชิปไตยเพราะอำนาจจต้องคืนสู่ประชาชนให้ประชาชนเลือกเข้าไปใหม่ สองคืออำนาจของประชาชนที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมืองตลอดเวลา การมีส่วนร่วมนี้ก็จะมีอยู่ 3 เสรีภาพ</p>
<p>หนึ่ง เสรีภาพในการแสดงออก เพื่อที่ประชาชนจะได้บอกว่าต้องการอะไรมีความเห็นอย่างไรเพื่อสร้างแรงกดดันทางสังคมต่อพรรคการเมืองที่ถูกเลือกเข้าไป ประเทศควรจะเป็นอย่างไร รัฐบาลประชิปไตยไม่รับรองสิทธินี้ไม่ได้</p>
<p>สอง เสรีภาพในการชุมนุมเพราะเวลาคนตัวเล็กตัวน้อย มีต้นทุนทางสังคมไม่มากพูดคนเดียวเสียงไม่ดังพอ จึงต้องมารวมตัวกันเยอะๆ ยิ่งรวมตัวกันได้มากเท่าไหร่เสียงยิ่งมีพลัง</p>
<p>สาม เสรีภาพในการสมาคม เสรีภาพนี้จะทำให้การชุมนุมสาธารณะหรือการเคลื่อนไหวทางสังคมต่างๆ เป็นไปได้อย่างต่อเนื่องและยาวนานพอที่จะกดดันรัฐบาลได้ ซึ่งความสำคัญของเสรีภาพนี้ก็คือหากมีเพียง 2 เสรีภาพแรกก็จะทำให้การชุมนุมประท้วงเพียงผ่านมาแล้วก็ผ่านไปทำได้แค่ชี้ว่าอะไรคือปัญหา มีอะไรที่ผิดปกติ แต่ไม่สามารถพัฒนาไปสู่กลไกอื่นๆ เช่น การเคลื่อนไหวเพื่อการแก้รัฐธรรมนูญ คณะกรรมการต่างๆ ที่ภาคประชาสังคมสามารถขับดันเป้าหมายระยะยาวหรือความเปลี่ยนแปลงในระยะยาว</p>
<p>เสรีภาพในการสมาคมจึงทำให้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมมีประสิทธิภาพมากขึ้น อยู่ได้ยาวนานขึ้น สามารถพัฒนาไปสู่การเคลื่อนไหวในรูปแบบอื่นได้ และเมื่อเกิดการชุมนุมขึ้นมาก็จะมีการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ชุมนุม มีการรวมตัวมีการแบ่งปันข้อมูลกัน ทำให้ความแหลมคมของข้อเรียกร้องก็จะดีขึ้นเมื่อประสบการณ์ของผู้ชุมนุมมีมากขึ้นก็จะกลายเป็นสถาบันขึ้นมา อย่างเช่นกรณีของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือกรณีของกลุ่มคนเสื้อแดง รวมไปถึงสหภาพแรงงานด้วยเพราะการนัดหยุดงานหรือรวมตัวออกไปประท้วงเป็นผลลัพธ์แต่แรงงานจะต้องรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงานขึ้นมาให้ได้ก่อน</p>
<p>พัชร์อธิบายต่อว่า ในกฎหมายระหว่างประเทศจึงรวมเสรีภาพทั้งสามอย่างนี้รวมกันเป็นก้อนเดียวกันและรับรองเพียงการชุมนุมที่สงบเท่านั้น  เพราะการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงจะตกเข้าสู่ตรรกะอีกชุดหนึ่งก็คือ ถ้าต้องการให้การชุมนุมมีประสิทธิภาพหรือเสียงดังมากขึ้นก็ต้องมีกำลังและจำนวนคนที่เยอะแล้วเมื่อเป็นการชุมนุมที่ใช้ความรุนแรงแล้วจะเป็นการปฏิเสธหรือยับยั้งสิทธิการแสดงออกของคนอื่น</p>
<p>“ถ้าอยากเสียงดังคุณก็ตบโต๊ะให้ดังคนอื่นจะได้ไม่พูด ถ้าผมมีกำลังคนเยอะมีความสามารถในการใช้ความรุนแรงได้เยอะ ไอ้คนกลุ่มน้อยๆ จะไม่มีโอกาสได้ชุมนุมเลย เวลาเกิดการชุมนุมขึ้นมาแล้วฉันไม่ชอบฉันจะเอาการชุมนุมของฉันไปถมแล้วพวกนั้นก็จะพูดอะไรไม่ได้ แล้วเมื่อสังคมเป็นแบบนี้แนวคิดเรื่องสังคมประชาธิปไตยก็จะไม่เกิดก็จะมีคนที่พูดได้คนเดียวคือคนที่มีกำลังสูงสุดในรัฐนั้น หรือมีคนจำนวนมากที่มีกำลังพอที่จะไปสร้างการคุกคามคนอื่น ถ้ามองในอีกแง่หนึ่งที่เป็นอำนาจนิยมแบบเต็มที่ตำรวจก็คือตัวนั้น คือคุณจะชุมนุมฉันจัดตำรวจไป 3-4 กองร้อยไปถมพื้นที่ตรงนั้นแล้วคนอื่นก็ใช้อะไรไม่ได้แล้ว”</p>
<p style="margin:0in 0in 8pt"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50493851541_f3f252dd34_b.jpg" style="width: 1023px; height: 682px;" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ตำตรวจที่เข้าปิดกั้นแยกราชประสงค์เมื่อวันที่ 16 ต.ค.2563 ทำให้การผู้ชุมนุมไปรวมตัวกันที่แยกปทุมวันที่อยู่ใกล้เคียงก่อนนำไปสู่เหตุการณ์ตำรวจเข้าใช้กำลังสลายการชุมนุมในช่วงค่ำวันเดียวกัน</span></p>
<h2><span style="color:#2980b9;">กฎหมายเปิดกว้างให้ใช้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจแต่พร่องการตรวจสอบ</span></h2>
<p>แต่สำหรับการปกครองแบบกึ่งประชาธิปไตยกึ่งอำนาจนิยมแบบไทยเรื่องนี้ก็จะซับซ้อนขึ้น คือเมื่อรัฐมีไม้ที่ไว้ใช้ความรุนแรงก็จะมีกฎหมายที่เอื้อให้กับการเอาไม้ไปใช้ด้วย</p>
<p>พัชร์กล่าวว่ากลไกของการปกครองแบบผสมจะต้องการมีเลือกตั้งตามรอบเพราะถ้าไม่มีเลือกตั้งตามรอบก็จะกลายเป็นเผด็จการ แต่เมื่อมีการเลือกตั้งตามรอบแล้วก็ต้องมีสิ่งที่รับประกันได้ว่าจะชนะเลือกตั้งอย่างไร จึงมีการสร้างระบบที่เป็นเกราะป้องกัน 2 ส่วน ส่วนแรกคือสร้างเกราะป้องกันในระบบการเลือกตั้งที่ทำอย่างไรก็ได้ให้ดูเป็นการเลือกตั้งที่เป็นธรรมแต่จริงๆ แล้วไม่ยุติธรรมเลย ทำให้พรรคฝ่ายค้านหรือพรรคเล็กที่ต่อให้ชนะเลือกตั้งก็เป็นรัฐบาลไม่ได้</p>
<p>แต่ส่วนที่เขาสนใจศึกษาคือส่วนที่สอง คือการสร้างเกราะป้องกันจากการชุมนุมบนถนน เพราะเมื่อระบอบประชาธิปไตยต้องเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและเปิดให้มีการชุมนุมสาธารณะได้ แต่จะเปิดให้มีชุมนุมอย่างไรในขณะที่รัฐสามารถใช้อำนาจตบได้หรือทำให้การชุมนุมไม่กระทบต่อการปกครองของรัฐ รัฐจึงต้องสร้างเครื่องมือพิเศษขึ้นมาผ่านกฎหมาย</p>
<p>พัชร์ชี้ว่ากฎหมายในระบอบกึ่งประชาธิปไตยกึ่งอำนาจนิยมนี้จะเปิดให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจได้สูงโดยที่มีการตรวจสอบน้อย ตำรวจจะสามารถคิดมาตรการอะไรออกมาก็ได้หรือวางเกณฑ์อย่างไรก็ได้ที่กฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ เมื่อกฎหมายเปิดให้ตำรวจใช้ดุลพินิจได้มากก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้บังคับบัญชาสั่งมาอย่างไร เช่น กรณีการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่เหมือนตีเช็คเปล่าให้กับเจ้าหน้าที่ และพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังมีการตรวจสอบที่น้อยโดยตัดอำนาจของศาลปกครองออกแล้วให้คดีอยู่ในศาลยุติธรรมทั้งหมด</p>
<p>พัชร์อธิบายว่าตัวศาลปกครองเองถูกออกแบบมาเพราะมองว่าอำนาจรัฐกับประชาชนมีไม่เท่ากัน และเมื่อคดีต้องเข้าสู่ศาลยุติธรรมทำให้ต้นทุนในการสู้คดีของประชาชนสูงขึ้นมากและผู้พิพากษาก็ถูกฝึกมาคนละแบบในเรื่องของการรักษาสิทธิและเสรีภาพ ผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมจะมองว่าประชาชนกับรัฐมีสิทธิเท่ากันหมด แต่ศาลปกครองมีมุมมองที่เห็นว่ารัฐมีอำนาจมากกว่า อย่างเช่นเรื่องการพิสูจน์ข้อมูลที่ข้อมูลอยู่ในมือของรัฐหมดประชาชนจะเอาอะไรไปสู้แล้วจะไปเอาข้อมูลมาสู้คดีอย่างไร</p>
<p>ดังนั้นแล้วเมื่อรัฐเลือกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินทำให้การตรวจสอบเกณฑ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ทำได้ยากขึ้น เพราะพอเป็นการออกข้อกำหนดตามมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ข้อกำหนดบางฉบับก็ห้ามชุมนุมเลย เช่นห้ามชุมนุมในสถานที่แออัด ซึ่งเป็นการสร้างกลไกบางอย่างเข้าไปข้างใน ถ้าใช้เพื่อป้องกันโควิดก็อาจจะเวิร์คแต่ก็แผงบางอย่างเข้าไปซึ่งก็มีจุดประสงค์เพื่อไม่ให้มีการชุมนุม แต่อะไรเป็นสิ่งยืนยันว่าเขาไม่ได้ห้ามหมด</p>
<p>“ถ้าห้ามหมดก็โอเค แต่ผมกำลังบอกว่ามันอยู่ใน Hybrid Regime ไงสามารถสวิตช์ไปสวิตช์มาได้ จะเจออาการแบบนี้ คำถามคือเวลาห้ามเขาเลือกที่จะห้ามตามเนื้อหาหรือห้ามตามรูปแบบที่ออกมาชุมนุม ห้ามรูปแบบยังโอเคนะ เพราะบางรูปแบบมันแฝงด้วยความรุนแรงอยู่ก็เข้าไปห้าม แต่บางทีเป็นการใช้เนื้อหาในการเข้ามาห้ามไง” เขาได้ยกตัวอย่างการกิจกรรม 2 งานที่เป็นการรวมตัวกันในที่สาธารณะเพื่อการแสดงออกเหมือนกันเมื่อวันที่ 28 มี.ค.2564 ที่มีเนื้อหาแตกต่างกันมากแต่อยู่ภายใต้สถานการณ์ที่รัฐประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 เหมือนกัน</p>
<p>กรณีแรกคือการชุมนุมของกลุ่มทะลุฟ้าที่ข้างทำเนียบรัฐบาลที่ออกมาเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาต้องลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี และแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 การชุมนุมนี้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชนเข้าสลายการชุมนุมถึง 2 ครั้งในวันเดียวกันรอบแรกในตอนเช้ามืด และรอบเย็นที่ผู้ชุมนุมมาทำการนอนเฉยๆ ในพื้นที่เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวคนที่ถูกจับกุมในตอนเช้า โดยทั้งหมดนี้เจ้าหน้าที่อ้างว่าการชุมนุมเป็นการฝ่าฝืนประกาศห้ามชุมนุมเพื่อป้องกันการระบาดของโควิด-19</p>
<p><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/51009281535_1db84f8559_o_d.jpg" style="width: 1280px; height: 960px;" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">ผู้ชุมนุมหมู่บ้านทะลุฟ้านอนเฉยๆ เรียกร้องปล่อยตัวเพื่อนที่ถูกจับกุมในตอนเช้า ภาพก่อนที่พวกเขาจะถูกตำรวจ คฝ.ที่อยู่รายรอบเข้าจับกุมตัว</span></p>
<p>กรณีที่สองที่เกิดขึ้นในวันเดียวกัน มีกลุ่มประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมสวมชุดไทยเล่นเซิร์ฟสเก็ตในกิจกรรม “รัตนโกเซิร์ฟ” ที่จัดขึ้นที่บริเวณลานคนเมืองหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานครและเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ระยะทางกว่า 4 กิโลเมตรซึ่งอยู่ไม่ไกลจากพื้นที่ชุมนุมหมู่บ้านทะลุฟ้า โดยในงานดังกล่าวมีทั้งดารานักร้อง นักการเมือง เข้าร่วมและมีหน่วยงานรัฐร่วมสนับสนุนด้วย เช่น กระทรวงวัฒนธรรม จากรายงานข่าวระบุว่ามีคนเข้าร่วม 300 คนและภาพที่ปรากฏออกมามีผู้เข้าร่วมจำนวนมากไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัยขณะทำกิจกรรม อย่างไรก็ตามแม้จะถูกวิจารณ์เรื่องแต่เรื่องนี้จบลงเพียงการแถลงชี้แจงของสองผู้จัดอย่าง อภิสิทธิ์ โอภาสเอี่ยมลิขิต หรือ “โจอี้ บอย” และวทันยา วงษ์โอภาสี ที่ตอนนั้นยังเป็น ส.ส.ของพรรคพลังประชารัฐอยู่ว่ามีการป้องกันการระบาดของโรคแล้วและมีความจำเป็นต้องถอดหน้ากากเพราะเป็นกิจกรรมกีฬาอีกทั้งได้ขออนุญาตจัดกับ ศบค.แล้ว</p>
<p>“ทำไมสองกลุ่มนี้ถูกดูแลไม่เหมือนกัน ถ้าเราไปดูก็จะเจอว่าคนจัดมันคนละพวกกันเนื้อหาที่แสดงออกมันคนละเนื้อหากัน รูปแบบไม่เหมือนกัน แต่ถ้ามองในมุมของการป้องกันโรคมันควรจะมีมาตรฐานใกล้ๆ กันนะ ถ้าเกิดมันไม่มีมาตรฐานก็เป็นหน้าที่รัฐในการเข้าไปจัดการให้มันมีมาตรฐาน”</p>
<p>นอกจากนั้นเขายังยกกรณีที่กลุ่มเยาวชนปลดแอกนัดชุมนุมกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยแล้วก็มีผู้ชุมนุมของอีกฝ่ายที่มาจัดชุมนุมต่อต้านการชุมนุมของเยาวชนปลดแอกแต่สุดท้ายแล้วกลับมีคนที่ถูกดำเนินคดีอยู่แค่มวลชนฝั่งเดียว ซึ่งทำให้เห็นว่าถ้าเป็นการชุมนุมที่มาเชียร์สนับสนุนรัฐ รัฐก็จะให้จัดได้แต่ถ้ามาชุมนุมคัดค้านรัฐก็จะดำเนินคดี ไปจนถึงการออกข้อกำหนดที่ยกเว้นให้กับการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มที่รัฐอนุญาตได้ ซึ่งก็ทำให้มีคำถามตามมาว่าแล้วถ้าเป็นกิจกรรมที่รัฐจัดอย่างเช่นการจัดคนมาต้อนรับนายกรัฐมนตรีหรือมีการจัดรับขบวนเสด็จก็จัดได้ใช่หรือไม่</p>
<p>“ถ้าตอบโดยเมคเซนซ์คือถ้ารับเสด็จแล้วไม่ติดโรคเหรอ มันก็ติด ฉะนั้นเมื่อเป็นการรวมกลุ่มประชาชนคุณก็เอามาตรการเข้าไปใส่”</p>
<p style="margin:0in 0in 8pt"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50476222457_2f04cac255_b.jpg" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">กลุ่มคนเสื้อเหลืองที่มารอรับเสด็จในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่มารวมตัวกันที่วงเวียนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อ </span><span style="color:#e67e22;">14 ต.ค.256</span><span style="color:#e67e22;">3 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่กลุ่มราษฎรนัดรวมตัวชุมนุมในบริเวณเดียวกัน </span></p>
<p>พัชร์เห็นว่าถ้ารัฐจะอ้างเรื่องการควบคุมโรคก็ควรจะต้องใช้มาตรการเดียวกัน แต่พฤติกรรมการเลือกใช้กฎหมายแบบนี้ถือเป็นเรื่องไม่พึงประสงค์ในกฎหมายเพราะเมื่อออกกฎหมายมาแล้วก็ควรต้องใช้เกณฑ์เดียวกันทั้งหมด เจ้าหน้าที่จะเลือกใช้กฎหมายไม่เหมือนกันแบบนี้ไม่ได้</p>
<p>พัชร์ย้ำว่าตามหลักในระบอบประชาธิปไตยรัฐจะต้องทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยมีการคุ้มครองเสรีภาพเสรีภาพการแสดงออก เสรีภาพในการชุมนุมและเสรีภาพในการรวมกลุ่ม เพื่อทำให้ประชาชนสามารถรวมกลุ่มและออกมาเรียกร้องได้โดยการเรียกร้องดังกล่าวต้องเป็นไปโดยสงบปราศจากอาวุธ และต้องมีมาตรการทางกฎหมายทำให้เกิดความสงบ</p>
<p>ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงมีหน้าที่ 2 อย่างคือจะต้องอำนวยความสะดวกไม่แทรกแซงการชุมนุมที่สงบและต้องคุ้มครองผู้ชุมนุมที่ชุมนุมโดยสงบ แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์รุนแรงตำรวจก็ต้องเข้ามาทำให้สงบโดยการจำกัดตัวคนที่ใช้ความรุนแรงให้ยุติการกระทำและแยกคนที่ใช้ความรุนแรงออกไปจากพื้นที่</p>
<p>“ถ้ามีความรุนแรงอยู่ที่เดียวกับความสงบอยู่ ตำรวจต้องคั่นระหว่างกลางแล้วก็ใช้กำลังกับคนที่กำลังใช้ความรุนแรง”</p>
<h2><span style="color:#2980b9;">มาตรการของเจ้าหน้าที่ได้สัดส่วนหรือไม่</span></h2>
<p>พัชร์กล่าวว่าในประเด็นการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่นั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลการชุมนุมสาธารณะ ซึ่งจะมีมาตรฐานของการใช้กำลังอยู่ แต่โดยหลักแล้วจะใช้กำลังกับการชุมนุมที่สงบไม่ได้ จะใช้กำลังได้แต่การชุมนุมที่ไม่สงบ</p>
<p>การจะใช้กำลังต้องจำเป็นและได้สัดส่วน ทำให้ต้องมาพิจารณาบทบาทของตำรวจต่อว่าการใช้กำลังนั้นเหมาะสมกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นหรือไม่ และมีความจำเป็นต้องสลายการชุมนุมตั้งแต่ต้นหรือไม่</p>
<p>อย่างไรก็ตามในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามักจะได้เห็นว่าหลายครั้งการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่เป็นผลสืบต่อเนื่องกันมาจากสถานการณ์ที่ผู้ชุมนุมเดินขบวนเพื่อไปสถานที่เป้าหมายเช่น ทำเนียบหรือบ้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แต่ถูกเจ้าหน้าที่ตั้งด่านสกัดกั้นทำให้ฝั่งผู้ชุมนุมเองก็พยายามจะฝ่าไปจนสุดท้ายเกิดความชุลมุนขึ้นมาแล้วเจ้าหน้าที่ก็ใช้กำลังกับผู้ชุมนุม</p>
<p>พัชร์มองประเด็นนี้ว่าตำรวจทำให้เกิดความรุนแรงในการชุมนุมสาธารณะเองไม่ได้ แต่ตำรวจในระบอบแบบ Hybrid Regime มักจะกลายเป็นตัวจุดความรุนแรงขึ้นมา และเมื่อเกิดความรุนแรงขึ้นมาตำรวจก็ไม่ได้แยกว่าจะสลายใคร</p>
<p>พัชร์อธิบายว่าการตั้งกำลังของตำรวจต้องทำไปเพื่อให้การชุมนุมทำได้โดยสะดวกและสงบไปพร้อมกับทำให้คนที่ไม่ได้ร่วมชุมนุมได้รับผลกระทบน้อยที่สุด แม้ว่าการชุมนุมโดยสงบจะทำให้เกิดผลกระทบกับคนอื่นอยู่บ้างเพราะว่าไม่มีทางที่จะทำให้การชุมนุมโดยสงบไม่เกิดผลกระทบกับคนอื่นเลยเพราะเท่ากับทำให้เสรีภาพในการชุมนุมเกิดขึ้นไม่ได้</p>
<p>“คุณไปตะโกนกลางทุ่งนา หรือจัดชุมนุมกลางทุ่งนาคิดว่าไม่กระทบกับใครแล้วนะ แต่ถามว่าผู้ชุมนุมไปยังไง ถ้าไปจากเมืองต้องใช้ถนนไปใช่ไหม? แล้วคนที่อยู่ระหว่างถนนเส้นนั้นได้รับผลกระทบมั้ย? ก็กระทบอยู่ดี คนมารวมตัวกันมันวุ่นวายโดยสภาพอยู่แล้ว ดังนั้นหน้าที่ของตำรวจในเรื่องนี้คือเข้ามาอำนวยความสะดวก”</p>
<p>พัชร์ย้อนกลับมาในกรณีการชุมนุมของ REDEM ในช่วงปี 2564 ที่ผู้ชุมนุมเดินผ่านไปทางบ้านประยุทธ์ที่อยู่ข้างในกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (ร.1 รอ.) ถนนวิภาวดีรังสิตว่าปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ในการรับมือผู้ชุมนุมครั้งนั้นต้องพิจารณาถึงว่าการชุมนุมได้ทำให้เกิดความวุ่นวายแค่ไหนอย่างไรและมีมูลเหตุให้ต้องตั้งแนวคอนเทนเนอร์และรั้วลวดหนามมากั้นถนนหรือไม่</p>
<p>เขามองว่ากรณีนี้พิจารณาได้ง่ายจากในทางกฎหมายเพราะพื้นที่นั้นเป็นเขตทหารที่มีรั้วรอบขอบชิดอยู่แล้วการจะมีภาพว่าผู้ชุมนุมบุกเขตทหารคงเป็นภาพที่เกิดขึ้นได้ยาก อีกทั้งการตั้งรับในพื้นที่ภายในเขตค่ายทหารก็ทำได้ง่ายกว่าการเอาตู้คอนเทนเนอร์มาตั้งกั้นถนนด้านหน้าและวางลวดหนาม</p>
<p>“ประชาชนบุกค่ายทหารผมนึกไม่ออกจริงๆ แค่มองเข้าไปในค่ายทหารก็มีรั้วลวดหนาม มีป้อม มีปืน มันไม่เมคเซนส์ที่จะบุกเข้าไป”</p>
<p>พัชร์ย้อนกลับมาตั้งคำถามถึงหลักความจำเป็นของการใช้มาตรการวางคอนเทนเนอร์พร้อมลวดหนามนี้ โดยสมมติว่าถ้าปล่อยให้การชุมนุมของ REDEM เดินผ่านไปโดยมีตำรวจอำนวยความสะดวกให้การชุมนุมเดินทางผ่านไปได้ก็จะไม่เกิดความรุนแรงหรือต่อให้ผู้ชุมนุมหยุดอยู่หน้าค่ายเหตุการณ์ก็อาจจะเหมือนการชุมนุมที่หน้ากรมทหารราบที่ 11 เมื่อวันที่ 29 พ.ย.2563 ที่ในเหตุการณ์มีเพียงการปักหลักปราศรัยหรือแม้แต่กรณีที่มีผู้ชุมนุมไปสาดสีปาไข่ที่ ม.พัน 4 พล.1 รอ. ตรงข้ามรัฐสภาก็ยังเป็นกรณีที่นักกิจกรรมบางคนปีนรั้วแล้วโดนทหารดึงเข้าไป แต่ก็ไม่เคยเกิดกรณีที่ผู้ชุมนุมยกพวกเข้าไปบุกค่ายทหาร</p>
<p style="margin:0in 0in 8pt"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50659679518_bc02803d0b_b.jpg" style="width: 1024px; height: 768px;" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">การชุมนุมที่กรมทหารราบที่ 11 </span><span style="color:#e67e22;">เมื่อ 29 พ.ย.2563</span><span style="color:#e67e22;"> </span></p>
<p>ทั้งนี้คำถามต่อมาการตั้งแนวกั้นแบบนี้กลายเป็นตัวจุดฉนวนความรุนแรงได้หรือไม่</p>
<p>“ถ้าเกิดเขาเดินผ่านหน้าบ้านประยุทธ์ไปเนี่ย มันไม่มีอะไรบอกเลยว่าจะมีความรุนแรงเกิดขึ้น ก็ปล่อยเขาเดินไปดิ แล้วคุณก็จัดระเบียบข้างนอก คุณเอาเครื่องมือป้องกันไปตั้งไว้ทำไมเยอะแยะ เอาคอนเทนเนอร์เอารั้วลวดหนามไปกั้นถนนวิภาวดี กันทางเดินเขาทำไม ถ้าเขาไม่มีเจตนาจะเข้าไปอยู่แล้วคุณไปตั้งด่านไว้ทำไม แล้วทำไมต้องกันข้างนอก เวลากั้นถึงไม่กั้นเข้ามาข้างใน ถ้าต้องการป้องกันการบุกเข้าไปทำไมไม่กั้นรั้วในค่ายทหาร เอาคอนเทนเนอร์เข้าไปปิดในกำแพง”</p>
<p><iframe allow="autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share" allowfullscreen="true" frameborder="0" height="772" scrolling="no" src="https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FiLawClub%2Fposts%2Fpfbid02x88L1RccXE6Zzfk2eMiADGQEdRkkn57oXuFs96ZwNucKnx3P8kYBrNn9SD3Nzopsl&amp;show_text=true&amp;width=500" style="border:none;overflow:hidden" width="500"></iframe></p>
<p>พัชร์เทียบกรณีการจัดการป้องกันที่บ้านประยุทธ์กับการจัดการป้องกันของสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ต่างกัน ในกรณีของ สตช.เจ้าหน้าที่ไม่ได้ปิดกั้นถนนพระราม 1 แต่ป้องกันข้างในหลังรั้วกำแพงของ สตช.แทนเพื่อกันการขว้างของ ส่วนพระบรมฉายาลักษณ์ถ้าไม่คลุมไว้ก็ถอดออกไปเลย ทำให้เกิดคำถามว่าทำไมกรณีของชุมนุมบ้านประยุทธ์ถึงจัดการแตกต่างกัน เพราะว่าถ้าผู้ชุมนุมเชื่อว่าเขามีสิทธิที่จะเดินเขาก็จะฝ่าก็กลายเป็นการจุดฉนวนให้เกิดการปะทะ</p>
<p>เพราะฉะนั้นจึงคำถามตามมาอีกว่ามาตรการต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ทั้งการป้องกันและการใช้กำลังเป็นไปตามมาตรฐานสากลหรือไม่ เพราะตามมาตรฐานสากลแล้วจะกำหนดว่าเจ้าหน้าที่จะต้องอำนวยความสะดวก แล้วก็วางข้อจำกัดไว้แล้วก็จะมีการตรวจสอบตามหลังถึงการวางข้อจำกัดดังกล่าว และจะต้องมีการตรวจสอบตามเช็คลิสต์ 3 ข้อ</p>
<ol>
<li>กฎหมายให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ไว้หรือไม่</li>
<li>การดำเนินงานของตำรวจเป็นไปตามจุดประสงค์ของกฎหมายหรือไม่</li>
<li>การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่นั้นได้สัดส่วนหรือไม่</li>
</ol>
<p>ประเด็นเรื่องกฎหมายให้อำนาจไว้หรือไม่ กรณีของไทยก็อาจจะอ้างว่าใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินอยู่และถูกเอามาใช้แบบครอบจักรวาล</p>
<p>ประเด็นที่สอง จุดประสงค์ในการใช้มาตรการเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ อย่างการอ้างใช้มาตรการเพื่อป้องกันโรคระบาดแต่การเอาน้ำไปฉีดเกี่ยวอย่างไรกับจุดประสงค์ของกฎหมายแล้วยิ่งเอาน้ำไปฉีดในช่วงที่โรคกำลังระบาดก็ยิ่งทำให้เชื้อกระจายออกไปมากขึ้นหรือการใช้แก๊สน้ำตาก็ทำให้คนที่โดนต้องถอดหน้ากากออกมาล้างก็ทำให้โรคกระจาย</p>
<p>ประเด็นที่สาม เรื่องความได้สัดส่วนนี้ พัชร์ยกตัวอย่างการใช้รถเมล์แดงที่เป็นรถเก่าติดไฟได้ง่ายเพราะมีส่วนประกอบของไม้มาใช้ในการปิดกั้นเส้นทาง ซึ่งก็เคยเห็นกันมาแล้วว่ารถชนิดนี้ถูกเผาได้ง่ายจากเหตุการณ์เมื่อพฤษภาคมปี 2535 ไปจนถึงการใช้รถเมล์ ปอ.ที่เป็นรถแก๊สที่ระเบิดได้มาใช้ ทั้งที่เจ้าหน้าที่เองก็มีแบริเออร์ที่ปลอดภัยกว่าอยู่แล้วก็ตาม หรือเรื่องการใช้ลวดหนามของเจ้าหน้าที่เองก็ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ไม่ให้ใช้ลวดหนามด้วยด้วยเช่นกันเพราะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ แต่ถ้าจะต้องใช้จริงๆ ก็ต้องเป็นกรณีเกิดจลาจลแล้วเท่านั้น</p>
<p style="margin:0in 0in 8pt"><img alt="" src="https://live.staticflickr.com/65535/50515766787_89a4ba107d_b.jpg" style="width: 1024px; height: 576px;" /></p>
<p style="text-align: center;"><span style="color:#e67e22;">การชุมนุมของกลุ่มราษฎรเมื่อ 21 ต.ค.2563 ที่บริเวณสะพานชมัยมรุเชษฐ์ </span><span style="color:#e67e22;">แฟ้มภาพ</span></p>
<p>พัชร์ตั้งคำถามว่าการใช้มาตรการต่างๆ ของเจ้าหน้าที่นั้นนอกจากจะไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลแล้วยังกลายตัวจุดฉนวนความไม่พอใจของผู้ชุมนุมด้วยหรือไม่ เพราะเมื่อประชาชนเชื่อว่าเขามีสิทธิ์ที่เดินไปสถานที่นั้นได้โดยสงบแต่เมื่อมีการกั้นเส้นทางไว้ทางเจ้าหน้าที่เองได้คิดถึงสถานการณ์ที่จะเกิดต่อจากนั้นไว้หรือไม่ว่าจะเป็นอย่างไรและจะกลายเป็นว่าฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐเองเป็นคนสร้างเงื่อนไขที่ทำให้เกิดสถานการณ์รุนแรง หรือไม่</p>
<p>อย่างไรก็ตาม เมื่อมีมาตรวัดแล้วก็ต้องตรวจสอบว่าเจ้าหน้าที่ได้ทำตามมาตรวัดนั้นหรือไม่</p>
<p>พัชร์เห็นว่าในส่วนที่ของประเด็นเรื่องเจ้าหน้าที่ทำหน้าที่ไปตามจุดมุ่งหมายของกฎหมายหรือไม่นั้น บางครั้งศาลที่มีหน้าที่ตรวจสอบครั้งก็ไม่ทำและการที่ศาลไม่ตรวจสอบก็เป็นปัญหา ถึงแม้ว่าในหลายคดีศาลจะตรวจสอบว่าการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ไม่ได้เป็นไปตามจุดประสงค์เรื่องการป้องกันโรคตามข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ดังนั้นที่ผู้ชุมนุมฝ่าฝืนจึงไม่ผิดและศาลก็มีคำพิพากษาในเรื่องนี้ออกมาบ้างแล้ว แต่ยังมีกรณีที่ศาลพิพากษาหลุดแนวไปเลยคือมองว่าเมื่อจำเลยในคดีไปอยู่ในที่ชุมนุมที่เจ้าหน้าที่ห้ามชุมนุมแล้วจึงถือว่าได้กระทำความผิดแล้ว ในกรณีแบบนี้เท่ากับว่าศาลไม่ได้ทำการตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่เลย</p>
<p>แต่พัชร์กล่าวว่าที่ผ่านมาส่วนที่ไม่เคยถูกตรวจสอบโดยศาลเลยคคือ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มีความจำเป็นและได้สัดส่วนหรือไม่ โดยในการตรวจสอบส่วนนี้คือการดำเนินการของเจ้าหน้าที่จะต้องผ่าน 2 ข้อแรกมาแล้ว</p>
<p>“แม้คุณจะทำถูกกฎหมายตามคู่มือและกฎหมายเขียนทุกอย่าง ศาลก็ต้องเข้ามาเช็คอยู่ดีว่ามันจำเป็นมั้ย มันได้สัดส่วนมั้ย ซึ่งตรงนี้เป็นดุลพินิจที่องค์กรตุลาการมาเซ็ตมาตรฐานว่าอย่างไหนถึงเรียกว่าจำเป็น อย่างไหนถึงเรียกว่าได้สัดส่วน”</p>
<p>อย่างไรก็ตาม ศาลเองก็มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องตรวจสอบตั้งแต่ก่อนเจ้าหน้าที่จะใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมด้วย จึงเกิดคำถามว่าในกรณีที่เจ้าหน้าที่ใช้กำลังในการสกัดกั้นและสลายขบวนเดินของผู้ชุมนุมนั้นจะต้องมีการขอหมายศาลก่อนหรือไม่</p>
<p>พัชร์ตอบในประเด็นนี้ว่าการ “สลายการชุมนุม” คือการทำให้พื้นที่ที่กำหนดไว้ไม่มีผู้ชุมนุมอยู่ สมมติว่ามีคนอยู่ 5 คนชุมนุมอยู่ตามจำนวนที่กฎหมายระบุไว้แล้วมีตำรวจเข้าไปจับทั้งหมดเลย 5 คนก็นับเป็นการสลายการชุมนุม หรือแม้ว่าจะมีผู้ชุมนุมอยู่แค่ 2 คนแล้วตำรวจจับไปหมดเลยเขามองว่าในทางกฎหมายแล้วต้องถือว่าเป็นการสลายการชุมนุมด้วยเช่นกัน และเมื่อถือว่าเป็นการสลายการชุมนุมแล้วเจ้าหน้าที่ก็ต้องไปขอหมายศาลมาก่อน</p>
<p>คำถามต่อมาคือแล้วถ้าเป็นการชุมนุมที่ไม่สงบจะสามารถสลายการชุมนุมได้ตามแผนการใช้กำลังของตำรวจเลยหรือไม่?</p>
<p>พัชร์กล่าวว่าถ้ามองตามมุมของผู้ชุมนุมคือถ้าชุมนุมโดยสงบตำรวจจะสลายการชุมนุมได้ก็ต้องไปข

Share this topic on AskShare this topic on DiggShare this topic on FacebookShare this topic on GoogleShare this topic on LiveShare this topic on RedditShare this topic on TwitterShare this topic on YahooShare this topic on Google buzz

บันทึกการเข้า

นักข่าวหัวเห็ด แห่งเวบสุขใจ
อัพเดตข่าวทันใจ ตลอด 24 ชั่วโมง

>> http://www.SookJai.com <<
คำค้น:
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  


คุณ ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความได้
BBCode เปิดใช้งาน
Smilies เปิดใช้งาน
[img] เปิดใช้งาน
HTML เปิดใช้งาน

Powered by MySQL Powered by PHP
Bookmark and Share

www.SookJai.com Created By Mckaforce | Sookjai.com Sitemap | CopyRight All Rights Reserved
Mckaforce Group | Sookjai Group
Best viewed with IE 7.0 , Chrome , Opera , Firefox 3.5
Compatible All OS , Resolution 1024 x 768 Or Higher
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 1.044 วินาที กับ 28 คำสั่ง

Google visited last this page 30 ตุลาคม 2567 09:30:42